การพัฒนาห้องสมุดจะเป็นไปในทิศทางใดขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย
เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญ นั่นก็คือ ผู้บริหารห้องสมุดหรือผู้บริหารองค์กร นั่นเอง
คุณเห็นด้วยกับประโยคที่ผมกำลังจะกล่าวหรือไม่
“ตราบใดที่บรรณารักษ์เสนอโครงการมากมายแต่ถ้าผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญ
ก็มักจะทำให้ห้องสมุดถูกปล่อยปล่ะละเลยอยู่เสมอๆ ไม่ได้รับการพัฒนา”
เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าความสำคัญของห้องสมุดในแง่ความคิดระหว่างบรรณารักษ์ กับ ผู้บริหาร ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาห้องสมุด
ลองคิดดูนะครับว่า ถ้าหากสอดคล้องกัน คือ ผู้บริหารกับบรรณารักษ์เข้าใจในกระบวนงานของห้องสมุดเหมือนกัน และทิศทางเดียวกัน
ผมคิดว่าห้องสมุดนั้นคงจะทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะว่าผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงานต่างเข้าใจในกระบวนงาน และกระบวนการทำงานนั่นเอง
แต่ถ้าสมมุติว่า หากเกิดความไม่เข้าใจในเรื่องของการทำงานหรือการให้ความสำคัญหล่ะ มันก็อาจจะส่งผลในทางตรงข้ามได้เช่นกัน
ตัวอย่างเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ผู้บริหารก็มักจะถามว่าจำเป็นด้วยหรอ บรรณารักษ์ก็จะตอบว่าจำเป็น ผู้บริหารก็บอกว่าพัฒนาเองไม่ได้หรอ ทำไมต้องซื้อราคาแพงๆ บรรณารักษ์ก็บอกว่าพัฒนาเองได้ แต่คงไม่มีความเสถียรพอหรือใช้ไปอาจจะไม่เป็นมาตรฐาน เนื่องจากบรรณารักษ์ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ ผู้บริหารก็บอกต่อว่างั้นก็ให้โปรแกรมเมอร์เป็นคนออกแบบสิ โปรแกรมเมอร์ก็ออกแบบมาให้ บรรณารักษ์ใช้ไม่ได้เนื่องจากโปรแกรมเมอร์ก็ไม่เข้าใจกระบวนงานของ บรรณารักษ์ ที่แน่ๆ โปรแกรมเมอร์คงไม่รู้จัก MARC Format พอออกแบบเสร็จก็เลยเกิดปัญหาตามมาต่างๆ แทนที่จะได้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติก็เลย ต้องรอต่อไปครับ?..นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆ
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้คงแก้ได้ไม่ยาก หากผู้บริหารและบรรณารักษ์ปรับความคิดให้เข้าใจซึ่งกันและกัน
เนื่องจากห้อง สมุดก็เป็นแหล่งเรียนรู้ของทุกๆ คน ไม่มีใครที่สำคัญกว่าผู้ใช้บริการของพวกเราถูกมั้ยครับ
ทีนี้เลยอยากทราบว่าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการของเราเคยเจอปัญหานี้บ้างมั้ย
มีอะไรแนะนำกันบ้างนะครับ เพื่อวงการบรรณารักษ์และการพัฒนาห้องสมุดอย่างยั้งยืน?
ปล. ผมขอส่งท้ายด้วยบทความเรื่อง การจัดตั้งห้องสมุดอุดมศึกษา โดย Chelie M. harn Cooper
ลองอ่านดูนะครับเป็นบทความของเว็บวิชาการ 2 หน้า
ที่พูดถึงเรื่อง การการดำเนินงานห้องสมุดในระดับสากล และ วิสัยทัศน์ ของผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับห้องสมุด