ห้องสมุดเพื่อผู้ใช้บริการหรือเพื่อบรรณารักษ์กันแน่

ในการจัดตั้งห้องสมุดไม่ว่าที่ไหนก็ตาม จุดมุ่งหมายสำคัญที่บรรณารักษ์ได้ยินมาตลอดคือ “เพื่อผู้ใช้บริการ”
ประโยคนี้ผมก็ได้ยินตั้งแต่สมัยที่ผมยังเรียนบรรณารักษ์เหมือนกัน
ในเรื่องของการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ “ผู้ใช้บริการเหมือนพระเจ้า” ก็ว่าได้

libraryforuser

แต่พอเราลองมองย้อนดูเวลาทำงานเราตอบสนองให้กับผู้ใช้จริงๆ หรือปล่าว
อันนี้ต้องคิดดูอีกทีนะครับ เพราะเท่าที่ผมเคยใช้บริการและเป็นบรรณารักษ์ในห้องสมุดหลายๆ ที่
ผมก็คิดอยู่เสมอว่าทำไมบางครั้งการสั่งหนังสือ หรือการบริการต่างๆ บรรณารักษ์ยังอิงความเป็นบรรณารักษ์
และตอบสนองผู้ใช้ได้ไม่เต็มที่ การวิเคราะห์เพื่อให้เข้าถึงความเข้าใจของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ยากมาก

ในบางครั้งจึงอาจมีการถกเถียงกันว่า…
ความจริงแล้วเราทำเพื่อผู้ใช้จริงหรือ หรือเป็นเพียงการบริการที่ทำให้บรรณารักษ์สบาย

—————————————————

กรณีการสืบค้นหนังสือในห้องสมุด

ห้องสมุด ก. เวลาผมไปห้องสมุดนี้ทีไรต้องการสืบค้นหนังสือผมก็จะเข้าไปถามบรรณารักษ์ว่า
หนังสือที่ผมต้องการหาอยู่ตรงไหน” แต่กลับได้รับคำตอบว่า “ไปหาในคอมพิวเตอร์ดู

ซึ่งทำเอาผมงงไปชั่วขณะ…
จากนั้นผมเดินไปทางมุมสืบค้นคอมพิวเตอร์บ้าง ปรากฎว่าไม่มีคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่เลย
ผมจึงเดินกลับไปถามบรรณารักษ์ใหม่อีกรอบว่า “ที่มุมสืบค้นไม่เห็นมีคอมพิวเตอร์เลย
บรรณารักษ์คนนั้นก็ตอบกลับมาอีกว่า “คอมพิวเตอร์เสีย” “งั้นไปใช้บัตรรายการดูแล้วกัน

ประมาณว่าจะขอความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์ เขาก็บอกให้ไปใช้คอมพิวเตอร์
แถมพอคอมพิวเตอรืเสียก็แนะนำไปให้ใช้อย่างอื่น

สรุปว่าบรรณารักษ์เป็นคนที่คอบให้ความช่วยเหลือในห้องสมุดจริงหรือ


—————————————————

ผมขอแถมให้อ่านอีกสักตัวอย่างแล้วกัน

—————————————————

ตัวอย่างกรณีการสั่งหนังสือเข้าห้องสมุด

ห้องสมุด ข. อันนี้ผมเคยทำงานอยู่แล้วกันแต่ไม่ขอเอ่ยชื่ออีก
ในการสั่งหนังสือแต่ละครั้งทางบรรณารักษ์จะนำแบบฟอร์มแล้วให้ผู้ใช้เขียนเสนอแนะรายชื่อหนังสือ
แต่พอรวบรวมเสร็จทีไร ไม่เคยเอารายชื่อนั้นมาส่งให้สำนักพิมพ์สักที

ผมจึงได้เข้าไปสอบถามว่า “ทำไมเราไม่เอารายชื่อหนังสือที่ผู้ใช้บริการเสนอไปสั่งสำนักพิมพ์หล่ะ
บรรณารักษ์ผู้ที่รับผิดชอบงานนั้นก็ตอบอย่างหน้าตาเฉยว่า
ทำอย่างนั้นจะทำให้เสียเวลาต้องมาแยกสำนักพิมพ์ที่สั่งอีก มันจะไม่สะดวกและเพิ่มภาระงานนะ
เอางี้เราก็ให้ทางสำนักพิมพ์ส่งรายชื่อมาให้เราดีกว่าแล้วเราเลือกเรื่องที่มีหรือที่ใกล้เคียงก็ได้

ผมจึงถามต่อไปว่า “ถ้าสมมุติว่าผู้ใช้บริการเดินเข้ามาถามหาหนังสือที่เขาเสนอไว้หล่ะ จะทำอย่างไร
บรรณารักษ์คนเดิมก็ตอบว่า “ก็บอกไปว่าหนังสือเล่มนั้นทางสำนักพิมพ์แจ้งว่าขาดตลาด

ผมก็ได้แต่นั่งคิดว่า “ทำไปได้นะคนเรา

สั่งหนังสือเพื่อการทำงานของบรรณารักษ์ หรือ เพื่อผู้ใช้บริการเนี้ย

—————————————————

จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาเป็นเพียงส่วนน้อยของห้องสมุดหล่ะมั้งครับ
ผมเชื่อว่าด้วยจรรยาบรรณของความเป็นวิชาชีพบรรณารักษ์จะยังอยู่กับทุกคนที่ประกอบอาชีพนี้อยู่
เพียงแต่ก็อยากฝากบอกเพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพทุกคนว่า ผู้ใช้ของเราสำคัญที่สุด
การบริการด้วยใจ (Service mind) ทุกคนคงมีอยู่ในสายเลือดนะครับ

ก่อนจบขอฝากบทความเรื่อง service mind ให้ลองอ่านดูนะครับ

การมีหัวใจบริการ (Service Mind)

เทคนิคการสร้างจิตสำนึกในงานบริการ ( Service Mind)

การมีหัวใจบริการ (Service Mind)

แรงบันดาลใจที่ทำให้อยากเป็นบรรณารักษ์

เรื่องเก่าขอเล่าใหม่เกี่ยวกับบทความหนึ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้หลายๆ คนอยากเป็นบรรณารักษ์
หลายๆ คนจะต้องนึกถึงบทความเรื่องนี้ “โตขึ้นหนูอยากเป็น – บรรณารักษ์” (คุ้นๆ กันบ้างหรือปล่าว)

librarian

ลองอ่านต้นฉบับได้ที่ โตขึ้นหนูอยากเป็น – บรรณารักษ์

ผมขอสรุปเนื้อหาในบทความนี้

– ในปัจจุบันเป็นยุคของสังคมสารสนเทศ มีข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นในแต่ละวันมากมาย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีผลต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้ในการตัดสินใจ ใช้ทำธุรกิจ ต่างๆ แต่ในบางครั้งเราไม่สามารถใช้สารสนเทศได้อย่างเต็มที่ เหมือนกับปลาในมหาสมุทรซึ่งมีอยู่มากมาย หากแต่เราไม่มีเครื่องมือในการจับปลาและไม่รู้จักวิธีในการจับปลานั่นเอง ดังนั้น บรรณารักษ์จึงทำหน้าที่เสือนชาวประมงซึ่งรู้วิธีจับปลาและมีอุปกรณ์ในการจับปลานั่นเอง

– หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาชีพนี้มีชื่อเรียกต่างๆ มากมาย เช่น บรรณารักษศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์, สารนิเทศศึกษา, สารสนเทศศาสตร์, การจัดการสารสนเทศ เป็นต้น

– บรรณารักษ์ไม่ใช่แค่คนจัดชั้นแต่บรรณารักษ์เป็นคนที่ดูแลและจัดการหนังสือแต่ละเล่มให้อยู่ในระบบห้องสมุด

– อาชีพที่บรรณารักษืสามารถทำได้มีมากมายเช่น บรรณารักษ์, นักจัดการข้อมูลในศูนย์ข้อมูลต่างๆ หรือเรียกว่าศูนย์สารสนเทศขององค์กรต่างๆ นักข่าว, ฝ่ายข้อมูลบริษัทโฆษณา, เว็บมาสเตอร์, เจ้าหน้าที่บริการงานทั่ว?ไป, นักวิชาการสารสนเทศ, อาจารย์ หรือแม้กระทั่งเป็นเจ้าของร้านทองก็เป็นร้านทอง IT เป็นต้น

– จุดเด่นของสาขาบรรณารักษ์ก็คือสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาชีพอื่นๆ ได้ ทำให้มีความยืดหยุ่นในเรื่องการทำงาน

ประโยคทิ้งท้ายของบทความนี้ผมชอบมากๆ เลย นั่นก็คือ
“เมื่อรู้เช่นนี้แล้วกรุณา อย่าคิดว่าจบบรรณารักษ์แล้วต้องจัดชั้นหนังสืออีกไม่เช่นนั้นคราวหน้าจะเอา LC SUBJECT HEADING ฟาดหัวเสียให้เข็ด”

เพราะว่าคนที่เรียนหรือทำงานในด้านนี้จะรู้ครับว่า หนังสือ “LC SUBJECT HEADING” มันเล่มใหญ่มาก
ถ้าเอาตาฟาดหัวคนคงมีหวังสลบไปหลายวันเลยครับ อิอิ

เมื่ออ่านบทความนี้จบผมขอแสดงความคิดเห็นสักนิดนะครับ ว่า
ผมเห็นด้วยอย่างมากกับบทความนี้ เพราะวิชาชีพนี้ทำให้ผมเป็นคนที่อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น
ต้องตามข่าวสารให้ทันอยู่เสมอๆ มีนิสัยการรักการอ่าน และทำให้เข้าศาสตร์ของวิชาอื่นๆ ได้ดี

อ่านแล้วรู้สึกอยากเป็นบรรณารักษ์ขึ้นมาเลยหรือปล่าวครับ อิอิ