อัพเดทข้อมูลงาน #TWTparty – 30/12/2009

หลังจากการประชุมกันนอกรอบของผู้ที่ร่วมจัดงาน #TWTparty

twtparty

ผลสรุปเรื่องกิจกรรม เวลา สถานที่ และผู้ที่เข้าร่วมงานมีดังนี้

1. กิจกรรมที่จะจัดในงาน #TWTparty
– พบปะสังสรรค์ พูดคุย และทักทายกัน
– รับประทานอาหารร่วมกัน (ร้าน Kin Ramen)
– ถ่ายรูปร่วมกัน (หน้าอาคาร Q-house ลุมพินี)
– มอบของขวัญแด่กันในโอกาสปีใหม่ (แล้วแต่ว่าใครจะเตรียมมาก็ได้)

2. เวลาในการจัดงาน #TWTparty ในวันที่ 30 ธันวาคม 2552
18.30 รวมตัวกันที่หน้าลานน้ำพุ สยามพารากอน
19.00 รับประทานอาหารที่ร้าน Kin Ramen
21.00 เดินทางไปที่ Q house ลุมพินี และถ่ายรูป #Twtphotocamp
22.30 แยกย้ายกันกลับบ้าน

ปล. สำหรับคนที่ไม่สามารถมาร่วมรับประทานอาหารแล้วสนใจจะมาถ่ายรูปก็ขอเชิญนะครับ

3. สถานที่ที่จัดงาน #TWTparty

Kin Ramen ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่น ชั้นบนของร้าน R BURGER อยู่ติดกับธนาคารกรุงเทพ (อยู่หน้าสยามสแควร์ซอย 5)

พิกัดของสถานที่

shop_kinramen_map

– อาคาร Q-house ลุมพินี (สำหรับถ่ายรูป)

พิกัดของสถานที่

map_qhouselumpini_new

4. รายชื่อผู้ที่เข้าร่วมงาน #TWTparty confirm แล้ว
– @ylibraryhub
– @junesis
– @jaaja
– @bankkung
– @jazzanovalerm
– @jenospot
– @tomorn
– @maeyingzine
– @ladynile
– @aircoolsa
– @oiil
– @CCCheezEEE
– @zetsuboublogger
– @exzign
– @eCybermania

สรุปจำนวนล่าสุดที่คอนเฟิม ณ วันนี้มีจำนวน 15 คนครับ
หากใครที่สนใจเพิ่มก็ติดต่อผมมาได้นะครับ แต่อย่าเกินวันอังคารนะครับ เพราะต้องยืนยันกับทางร้านด้วย

รวมบล็อกที่รีวิวร้านที่พวกเราจะไปกินกัน – Kin Ramen
บุฟเฟต์อาหารญี่ปุ่นกลางสยาม @ Kin Ramen
บุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น Kin Ramen @ Siam Square
@ป๋าเดียชวนชิม@ .. บุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น ที่ Kin Ramen ณ SiamSquare

ขอสรุปง่ายๆ เลยนะครับ ในวันนั้น 18.30 น. เราจะเจอกันหน้าลานน้ำพุสยามพารากอน
และเราจะเริ่มเข้าร้าน kin Ramen เวลา 19.00 น. หากใครมาแล้วไม่เจอผมกรุณา DM มาหาได้ครับ

อัพเดทเพิ่มรายชื่อ @muenue @neokain @goople @lwkl @pimoooo @MeetTrend @dominixz

เมื่ออินเทอร์เน็ตมีบทบาทมากกว่าหนังสือพิมพ์

วันนี้ผมขอนำเสนอกรณีศึกษาเรื่องการใช้อินเทอรืเน็ตกับการอ่านหนังสือพิมพ์หน่อยนะครับ
บทความนี้จริงๆ มาจากเรื่อง “อินเทอร์เน็ตกำลังแย่งผู้อ่านไปจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น” จาก blognone นะครับ
ต้นฉบับเนื้อหาภาษาอังกฤษ อ่านได้ที่ “Internet use could kill off local newspapers, study finds” จาก physorg
แต่ผมขอนำมาเพิ่มในส่วนที่ผมวิเคราะห์และวิจารณ์ลงไปด้วยครับ

internet-use

————————————————————————————————–

การศึกษาในเรื่อง สื่อออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการบริโภคข่าวสารของผู้ใช้โดยทั่วไป
โดยผลการศึกษานี้สรุปเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

1. ในปีที่ผ่านมา (2007) ยอดการอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับกระดาษมียอดที่ลดลง
ทำให้สูญเสียผู้ อ่านไปนับล้านคน แต่ยอดการดูข่าวในอินเทอร์เน็ตกลับเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

2. รูปแบบของข่าวที่นำเสนอในอินเทอร์เน็ตมาจาก เว็บ Search Engine ต่างๆ
ข่าวสารในบล็อกต่างๆ / เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ที่ดังๆ รวมถึงเว็บไซต์ของสถานีโทรทัศน์ด้วย

3. Google, Yahoo, AOL และ MSN มีคนเข้าใช้ในแต่ละเดือนประมาณ 100 ล้านคน
แต่เว็บของสถานีโทรทัศน์กลับมีเพียง 7.4 ล้านคนเท่านั้นเอง
และเว็บของหนังสือพิมพ์ดังๆ ที่ติดตลาด เช่น New York Times มีผู้ใช้ประมาณ 8.5 ล้านต่อเดือน

4. หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหรือหนังสือพิมพ์เล็กๆ พยายามปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการนำเสนอข่าวแล้ว
แต่ก็เป็นการยากที่จะดึงลูกค้าจากกลุ่มต่างๆ ในข้อที่ 3 มาได้
ดังนั้นผลกระทบโดยตรงนี้จึงตกอยู่กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นต่างๆ ที่ต้องรีบหาทางแก้ไข ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการนำเสนอข่าว

5. ในบทความนี้แนะนำว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นควรจะปรับกลยุทธ์โดยการให้นำเสนอ
ข่าวในแนวที่กว้างขึ้นและคงความเป็นสากลของหนังสือพิมพ์จึงจะพิชิตอุปสรรค ต่างๆ ได้

————————————————————————————————–

ผลการศึกษาที่ผมยกมานี้หากเรามามองในแง่ของความเป็นบรรณารักษ์
บางคนคงเริ่มเข้าใจแล้วว่าทำไมผู้ใช้จึงมีจำนวนลดลงบ้าง

ถึงแม้ว่าในบทความนี้กล่าวถึงประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในประเทศไทยหลายคนอาจจะบอกว่า
ไม่มีทางหรอกยังไงคนไทยก็ติดความเป็นกระดาษมากกว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้ว

แต่ในความคิดของผมที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยยังไม่ได้รับความนิยม
ประเด็นหลักผมคิดว่ามาจากสื่อประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งทำให้เกิดความยากในการที่จะนำมาใช้
บางคนไม่ชอบภาษาอังกฤษพอเห็นอะไรนิดหน่อยที่เป็นภาษาอังกฤษ จึงเกิดอาการต่อต้าน

แต่ผมก็คิดในหลักง่ายๆ ว่า แล้วถ้าสื่อเหล่านี้เป็นภาษาไทยหล่ะ
จะทำให้ผู้ใช้หันไปใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์หรือไม่
เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ห้องสมุดคงต้องมีการปรับปรุงครั้งใหญ่โดยทันที

ผมเอาสรุปสถิติของการเข้าชมเว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็นที่นิยมของคนไทยมาให้ดูกันคร่าวๆ ดีกว่า
แล้วให้พวกเราลองเปรียบเทียบในแง่ของห้องสมุดว่าห้องสมุดมีคนเข้าใช้จำนวน แค่ไหน

www.sanook.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 223,597
www.kapook.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 142,020
teenee.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 74,811
www.mthai.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 73,752

ข้อมูลจาก truehits.net

เอาเป็นว่าห้องสมุดที่ไหนบ้างในเมืองไทยที่มีการเข้าใช้จำนวนมากเหมือนเว็บไซต์
ใครรู้ช่วยบอกผมทีนะครับ

การค้นหาหนังสือในเว็บไซต์ห้องสมุดด้วย OPAC

ปัจจุบันการค้นหาหนังสือในห้องสมุดดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากนะครับ
จากบัตรรายการมาเป็น OPAC หรือ WEBPAC ซึ่งทำให้เราค้นหาหนังสือได้จากทุกที่ทุกเวลา
แต่การค้นหาทุกๆ อย่างก็มีข้อจำกัดของมัน วันนี้ผมขอเขียนถึง OPAC แล้วกันนะครับ

libraryopac

OPAC (Online Public Access Catalog) เป็นระบบค้นหารายการหนังสือในห้องสมุด
โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ แทนที่ระบบแบบเก่าที่เป็นบัตรกระดาษผู้ใช้บริการห้องสมุดหรือบรรณารักษ์
ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด หรือว่าใช้คอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

หลายคนคงคุ้นเคยกับการใช้งาน OPAC กันแล้วนะครับ
ในเว็บของห้องสมุดเกือบทุกที่จะมีบริการสืบค้นหนังสือออนไลน์ (OPAC / WEBPAC)
และหลายๆ คนคงคิดว่าระบบ OPAC นี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นหนังสือได้ทุกที่ทุกเวลา

แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกคุณเคยคิดมั้ยว่า…
เวลาเราค้นหนังสือเจอใน OPAC แล้วเราทำไงต่อ

ระบบ OPAC นี้สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาก็จริงแต่พอค้นหนังสือเจอแล้วแต่ก็อ่านไม่ได้
สิ่งที่เราได้คือเรารู้ว่ามันเก็บอยู่ที่ไหนเพียงเท่านั้นและบอกว่าหนังสือนั้นอยู่ในห้องสมุดหรือปล่าว

หากเราต้องการหนังสือเราก็ต้องเดินทางมาที่ห้องสมุดอยู่ดี
ระบบ OPAC อาจจะใช้งานได้ในทุกที่ทุกเวลาก็จริง
แต่ถ้าเราค้นหาหนังสือตอนห้องสมุดปิดบริการหล่ะ เราจะทำยังไง

ผมขอยกตัวอย่างปัญหาสักนิดมาให้อ่านนะครับ

ตัวอย่างที่ 1 นาย ก. สืบค้นหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
นาย ก. จึงเปิดเข้าไปในเว็บห้องสมุดในเวลาเที่ยงคืนของวันอาทิตย์แล้วพิมพ์คำค้นว่า ระบบสารสนเทศ นาย ก.
ได้รายชื่อหนังสือที่เกี่ยวกับสารสนเทศโดยมีหนังสืออยู่ที่ห้องสมุดกลาง จำนวน 3 เล่ม
แทนที่นาย ก.จะอ่านได้เลยแต่นาย ก.กลับต้องรอวันจันทร์วันที่ห้องสมุดเปิดทำการ
จึงจะสามารถไปที่ห้องสมุดแล้ว ยืมได้ – – – นี่แหละระบบที่ตอบสนองทุกที่ทุกเวลาแต่สถานที่ไม่ใช่

ตัวอย่างที่ 2 ในวันจันทร์ นาย ก.คนเดิมที่ได้รายชื่อหนังสือแล้วเข้าไปที่ห้องสมุดไปหาหนังสือที่ตนเองค้น ไว้
ผลปรากฎว่าหนังสือที่ค้นเนื้อหาด้านในไม่ตรงกับสิ่งที่ นาย ก.ต้องใช้
สรุปก็ต้องหาใหม่ – – – นี่แหละเห็นรายการแต่ไม่เห็น content

แล้วอย่างนี้จะแก้ปัญหาได้อย่างไร

สมมุติถ้านาย ก. หาข้อมูลใน Search Engine แต่แรก
คงได้อ่านตั้งแต่คืนวันอาทิตย์แล้ว ไม่ต้องเสียเวลามาที่ห้องสมุดด้วย

เอาเป็นว่าอย่างที่ผมบอก ไม่มี solution ไหนที่ดีที่สุดสำหรับห้องสมุด
เพียงแต่เราต้องหาทางแก้ไขและปรับปรุงการให้บริการของเราให้ดีขึ้นต่างหาก

ทางแก้ของเรื่องนี้อยู่ผมจะนำมาเขียนเล่าให้ฟังวันหลังนะครับ
เกี่ยวกับเรื่องการปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการเชิงรุกของห้องสมุดบ้าง
ว่าเพื่อนๆ จะต้องทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้

ปล.ที่เขียนเรื่องนี้มาไม่ใช่ว่าต้องการจะล้มระบบ OPAC หรอกนะครับ? และไม่ได้มีเจตนาในการเปรียบเทียบแต่อย่างใด