เมื่ออินเทอร์เน็ตมีบทบาทมากกว่าหนังสือพิมพ์

วันนี้ผมขอนำเสนอกรณีศึกษาเรื่องการใช้อินเทอรืเน็ตกับการอ่านหนังสือพิมพ์หน่อยนะครับ
บทความนี้จริงๆ มาจากเรื่อง “อินเทอร์เน็ตกำลังแย่งผู้อ่านไปจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น” จาก blognone นะครับ
ต้นฉบับเนื้อหาภาษาอังกฤษ อ่านได้ที่ “Internet use could kill off local newspapers, study finds” จาก physorg
แต่ผมขอนำมาเพิ่มในส่วนที่ผมวิเคราะห์และวิจารณ์ลงไปด้วยครับ

internet-use

————————————————————————————————–

การศึกษาในเรื่อง สื่อออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการบริโภคข่าวสารของผู้ใช้โดยทั่วไป
โดยผลการศึกษานี้สรุปเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

1. ในปีที่ผ่านมา (2007) ยอดการอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับกระดาษมียอดที่ลดลง
ทำให้สูญเสียผู้ อ่านไปนับล้านคน แต่ยอดการดูข่าวในอินเทอร์เน็ตกลับเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

2. รูปแบบของข่าวที่นำเสนอในอินเทอร์เน็ตมาจาก เว็บ Search Engine ต่างๆ
ข่าวสารในบล็อกต่างๆ / เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ที่ดังๆ รวมถึงเว็บไซต์ของสถานีโทรทัศน์ด้วย

3. Google, Yahoo, AOL และ MSN มีคนเข้าใช้ในแต่ละเดือนประมาณ 100 ล้านคน
แต่เว็บของสถานีโทรทัศน์กลับมีเพียง 7.4 ล้านคนเท่านั้นเอง
และเว็บของหนังสือพิมพ์ดังๆ ที่ติดตลาด เช่น New York Times มีผู้ใช้ประมาณ 8.5 ล้านต่อเดือน

4. หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหรือหนังสือพิมพ์เล็กๆ พยายามปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการนำเสนอข่าวแล้ว
แต่ก็เป็นการยากที่จะดึงลูกค้าจากกลุ่มต่างๆ ในข้อที่ 3 มาได้
ดังนั้นผลกระทบโดยตรงนี้จึงตกอยู่กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นต่างๆ ที่ต้องรีบหาทางแก้ไข ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการนำเสนอข่าว

5. ในบทความนี้แนะนำว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นควรจะปรับกลยุทธ์โดยการให้นำเสนอ
ข่าวในแนวที่กว้างขึ้นและคงความเป็นสากลของหนังสือพิมพ์จึงจะพิชิตอุปสรรค ต่างๆ ได้

————————————————————————————————–

ผลการศึกษาที่ผมยกมานี้หากเรามามองในแง่ของความเป็นบรรณารักษ์
บางคนคงเริ่มเข้าใจแล้วว่าทำไมผู้ใช้จึงมีจำนวนลดลงบ้าง

ถึงแม้ว่าในบทความนี้กล่าวถึงประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในประเทศไทยหลายคนอาจจะบอกว่า
ไม่มีทางหรอกยังไงคนไทยก็ติดความเป็นกระดาษมากกว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้ว

แต่ในความคิดของผมที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยยังไม่ได้รับความนิยม
ประเด็นหลักผมคิดว่ามาจากสื่อประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งทำให้เกิดความยากในการที่จะนำมาใช้
บางคนไม่ชอบภาษาอังกฤษพอเห็นอะไรนิดหน่อยที่เป็นภาษาอังกฤษ จึงเกิดอาการต่อต้าน

แต่ผมก็คิดในหลักง่ายๆ ว่า แล้วถ้าสื่อเหล่านี้เป็นภาษาไทยหล่ะ
จะทำให้ผู้ใช้หันไปใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์หรือไม่
เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ห้องสมุดคงต้องมีการปรับปรุงครั้งใหญ่โดยทันที

ผมเอาสรุปสถิติของการเข้าชมเว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็นที่นิยมของคนไทยมาให้ดูกันคร่าวๆ ดีกว่า
แล้วให้พวกเราลองเปรียบเทียบในแง่ของห้องสมุดว่าห้องสมุดมีคนเข้าใช้จำนวน แค่ไหน

www.sanook.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 223,597
www.kapook.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 142,020
teenee.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 74,811
www.mthai.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 73,752

ข้อมูลจาก truehits.net

เอาเป็นว่าห้องสมุดที่ไหนบ้างในเมืองไทยที่มีการเข้าใช้จำนวนมากเหมือนเว็บไซต์
ใครรู้ช่วยบอกผมทีนะครับ

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*