การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ (NLM Classification)

การจัดหมวดหมู่หนังสือตามมาตรฐานของห้องสมุดมีอยู่หลายรูปแบบ
แล้วแต่ว่าเพื่อนๆ จะเอาไปปรับใช้ให้เข้ากับห้องสมุดของเพื่อนๆ เอง
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอการจัดหมวดหมู่ทางการแพทย์ให้เพื่อนๆ รู้จักนะครับ

nlm

การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ หรือที่หลายๆ คนรู้จักในนาม NLM
หรือชื่อเต็มๆ คือ National Library of Medicine นั่นเอง

ประวัติของการจัดหมวดหมู่แบบ NLM
เกิดจาก Army Medical Library ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับเรื่องการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดในปี 1944
ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่หนังสือโดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลข (ลักษณะการจัดหมวดหมู่ของแอลซี)
และได้เสนอแนะให้ห้องสมุดทางการแพทย์มีการจัดหมวดหมู่ในลักษณะดังกล่าว
จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดการจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ขึ้น

ซึ่งทำให้ได้แม่แบบในการจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ฉบับแรกขึ้น ในปี 1948
โดยพัฒนามาจากการจัดหมวดหมู่แบบแอลซีนั่นเอง

การปรับปรุงหมวดหมู่ต่างๆ ใน NLM Classification ก็มีการปรับปรุงมาโดยตลอด
เนื่องจากในวงการแพทย์ก็มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดเช่นเดียวกับด้านเทคโนโลยี

ในปี 2002 ก็มีการจัดทำเว็บไซต์และตีพิมพ์ข้อมูลของการจัดหมวดหมู่ทางการแพทย์ขึ้น
ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.nlm.nih.gov/class/index.html

การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ โดยทั่วไปจะใช้ตัวอักษรหลัก 2 ตัว คือ Q และ W

โดยแต่ละตัวอักษรสามารถแบ่งหมวดย่อยลงไปอีกระดับได้ ซึ่งเหมือนกับการจัดหมวดหมู่แบบแอลซี เช่น
หมวดหลัก Q – Preclinical Sciences (วิชาว่าด้วยสุขภาวะเบื้องต้น)
หมวดย่อย QS – Human Anatomy กายวิภาคศาสตร์มนุษย์
หมวดย่อย QT – Physiology สรีรวิทยา
หมวดย่อย QU – Biochemistry ชีวเคมี
หมวดย่อย QV – Pharmacology เภสัชวิทยา

หมวดหลัก W – Medicine and Related Subjects (การแพทย์และเรื่องที่เกี่ยวข้อง)
หมวดย่อย WA – Public Health สาธารณสุขศาสตร์
หมวดย่อย WB – Practice of Medicine แพทยศาสตร์
หมวดย่อย WC – Communicable Diseases โรคติดต่อ

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างแค่บางหมวดหมู่เท่านั้น หากจะดูหมวดแบบเต็มๆ ลองเข้าไปดูที่
http://wwwcf.nlm.nih.gov/class/OutlineofNLMClassificationSchedule.html

หลังจากที่ได้หมวดหมู่แล้ว หลังจากนี้ก็ต้องใช้การเปิดตารางดัชนี
เพื่อกำหนดเลขอารบิค 1 – 999 เพื่อให้ได้หมวดหมู่และรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้นๆ

เช่น หากต้องการพจนานุกรมเกี่ยวกับโรคติดต่อ ก็ต้องไปดูเลขเฉพาะของหมวดนั้นๆ ลงไปอีก
ซึ่งจะได้ หมวดโรคติดต่อ + พจนานุกรม = WC + 13
ดังนั้น พจนานุกรมเกี่ยวกับโรคติดต่อ = WC13

และถ้าอยากได้รายละเอียดมากกว่านี้ ก็จะต้องมีเลขผู้แต่ง และปีพิมพ์ของหนังสือเล่มนั้นด้วย

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับเรื่องราวการจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์
มันก็มีความซับซ้อนไม่ต่างจากการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบอื่นๆ เช่นกัน

รู้รึยังครับการงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดไม่ใช่เรื่องง่ายจริงๆ

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*