TWTparty งานเลี้ยงสังสรรค์ก่อนสิ้นปี 2552

จากการที่เพื่อนๆ หลายคนอยากให้มีการจัดงาน Twtparty ในวันที่ 30 ธันวาคม ช่วงเย็น
และต่างคนต่างเริ่มสับสนว่าเอาไงแน่ จัดจริงปล่าว จัดที่ไหน ใครมาบ้าง
ผมจึงขอเขียนเรื่องนี้เพื่อ ย้ำตวามมั่นใจให้เพื่อนๆ ทุกคนอีกครั้งว่า “จัดจริงๆ ครับ”

twtparty

ในงาน Twtparty เป็นงานเลี้ยงส่งท้ายปี 2552 ครับ
เป็นงานพบปะสังสรรค์กินข้าวกัน ถ่ายรูปกัน และกิจกรรมอื่นๆ ที่พอจะคิดออก

ทำไมต้องจัดวันที่ 30 ธันวาคม ????
เพราะว่าวันที่ 31 ธันวาคม หลายๆ คนคงจะกินเลี้ยงหรือ countdown อยู่ที่บ้านนั่นสิครับ
หรือไม่ก็ไปเที่ยวต่างจังหวัดกัน ดังนั้นถ้าจัดวันนั้นคงไม่สะดวก

นอกจากนี้ผมจึงขอสำรวจความต้องการของเพื่อนๆ ที่ต้องการมาร่วมกันหน่อยนะ
เริ่มจากสถานที่เพื่อนๆ อยากให้จัดที่ไหน

[poll id=”13″]

อ๋อ อีกกิจกรรมที่ผมคิดว่าน่าจะมีคือกิจกรรมการจับฉลากกัน
เพื่อนๆ คิดยังไงช่วยตอบด้วยนะ จะได้รู้ว่าจะจัดดีมั้ย

[poll id=”14″]

อ๋อ ถ้าจะจับฉลากของขวัญ ผมอยากรู้ว่าราคาของขวัญขั้นต่ำคือเท่าไหร่ดี

[poll id=”15″]

กิจกรรมที่ผมอยากให้มีในวันนั้น คือ
– พบปะพูดคุยกัน (แนะนำตัว)
– กินข้าว (ดินเนอร์ร่วมกัน)
– ถ่ายรูป (เก็บภาพความทรงจำ)
– คาราโอเกะ (ถ้าเป็นไปได้)
– จับฉลากแลกของขวัญ (ถ้าเป็นไปได้)

อ๋อ ที่สำคัญผมอยากรู้ว่าใครจะมาร่วมบ้าง ดังนั้นกรุณาลงชื่อใน Comment ด้นล่างนี้ด้วยนะครับ
รอกชื่อ username (ใน twitter ก็ดี)
กรอกอีเมล์ของเพื่อนๆ ไว้ด้วย เพื่อจะส่งข่าวยืนยันการจัดงานครับ
ส่วนในช่อง URL ให้เอา URL ใน twitter ก็ได้ เช่น http://twitter.com/Ylibraryhub

ขอบคุณทุกคนนะครับ

สุขสันต์วันคริสต์มาสนะครับ (Merry Christmas)

วันนี้วันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งทุกปีเราจะเรียกวันนี้ว่า “วันคริสต์มาส” ครับ
เทศกาลแห่งความสุขก่อนปีใหม่เริ่มมาแล้วนะครับ วันนี้ผมขอเขียนเรื่องตามกระแสนะครับ

christmas2009

การ์ดอวยพรด้านบนนี้ผมขอมอบให้เพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
(ที่มา : http://www1.bluemountain.com/display.pd?prodnum=3151686&path=108104)

วันนี้วันศุกร์ด้วย แถมด้วยวันคริสต์มาสด้วย
ช่างเป็นวันที่มีความสุขมากมายเลย เพื่อนๆ ว่ามั้ยครับ

เอาเป็นว่าเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศวันคริสต์มาส
ผมขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับวันคริสต์มาสมาให้เพื่อนๆ อ่านดีกว่า
ลองเข้าไปดู link จากด้านล่างนี้เลยนะครับ

—————————————————————————————————

ข้อมูลเกี่ยวกับวันคริสต์มาสใน wikipedia

บทความวันคริสต์มาส 25 ธันวาคม จาก Sanook.com

บทความวันคริสต์มาส จาก Kapook.com

ความเป็นมาของวันคริสต์มาส จาก Mthai

—————————————————————————————————

นอกจากสาระความรู้เกี่ยวกับวันคริสต์มาสแล้ว ผมขอแถมด้วยเพลง Jingle Bell แล้วกันนะครับ
แต่เพลง jingle bell ของผมที่เอามาให้ฟังนี้เป็น version ของ Crazy Frog

เนื้อเพลง Jingle bell นะครับ

Dashing through the snow
On a one-horse open sleigh,
Over the fields we go,
Laughing all the way;
Bells on bob-tail ring,
making spirits bright,
What fun it is to ride and sing
A sleighing song tonight

Jingle bells, jingle bells,
jingle all the way!
O what fun it is to ride
In a one-horse open sleigh

A day or two ago,
I thought I’d take a ride,
And soon Miss Fanny Bright
Was seated by my side;
The horse was lean and lank;
Misfortune seemed his lot;
He got into a drifted bank,
And we, we got up sot.

Jingle Bells, Jingle Bells,
Jingle all the way!
What fun it is to ride
In a one-horse open sleigh.

A day or two ago,
the story I must tell
I went out on the snow
And on my back I fell;
A gent was riding by
In a one-horse open sleigh,
He laughed as there
I sprawling lie,
But quickly drove away.

Jingle Bells, Jingle Bells,
Jingle all the way!
What fun it is to ride
In a one-horse open sleigh.

Now the ground is white
Go it while you’re young,
Take the girls tonight
And sing this sleighing song;
Just get a bob-tailed bay
two-forty as his speed
Hitch him to an open sleigh
And crack! you’ll take the lead.

Jingle Bells, Jingle Bells,
Jingle all the way!
What fun it is to ride
In a one-horse open sleigh.

เอาเป็นว่าสุดท้ายนี้ผมก็ขอให้เพื่อนๆ มีความสุขในวันคริสต์มาสนะครับ
Merry Christmas 2009

ห้องสมุดประชาชนยุคใหม่ในอเมริกา

บทความนี้เขียนไว้ตั้งแต่บล็อกเก่าของผม (http://projectlib.wordpress.com) แต่ขอเรียบเรียงใหม่
เป็นบทความที่เขียนลงในเว็บไซต์ Voice of America ภาคภาษาไทย

publiclibrary

บทความนี้ได้เขียนถึงเรื่องห้องสมุดสาธารณะ (ผมว่าน่าจะใช้คำว่าห้องสมุดประชาชนมากกว่านะ) ยุคใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
เนื้อหาในบทความนี้เป็นการกลายถึงการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในห้องสมุด

ไม่ว่าจะเป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลบรรณานุกรม (โปรแกรมห้องสมุด) แทนบัตรรายการ
หรือจะเป็นเรื่องการเข้าถึงสารสนเทศได้จากที่ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

บทความนี้อ่านแล้วเข้าใจง่าย และเป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อน ผมเลยขอคัดลอกมาให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ
หากต้องการอ่านจากต้นฉบับให้เข้าไปดูที่ ห้องสมุดสาธารณะยุคใหม่ (เนื้อหาข่าว)

———————————————————————————————————————–

เนื้อหาของบทความ (ฉบับคัดลอก) – ห้องสมุดสาธารณะยุคใหม่

เมื่อก่อนนั้นห้องสมุดชุมชนในอเมริกาคือสถาน ที่ที่สมาชิกในชุมชนพากันมาพบปะ พูดคุย และแลกเปลี่ยนหนังสือกัน แต่ปัจจุบันภาพเหล่านั้นเปลี่ยนไปแล้ว ห้องสมุดทุกวันนี้กลายเป็นศูนย์ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ มีการนำบันทึกรายชื่อหนังสือทางอินเตอร์เนตเข้ามาแทนที่บัตรรายการแบบเก่า หนังสือและข้อมูลจำนวนมากถูกนำไปเก็บเป็นแผ่นซีดีและดีวีดี และผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นหาข้อมูลที่ตนต้องการเหล่านั้นได้ทางอินเตอร์เนต

ปัจจุบันหน้าที่หลักของบรรณารักษ์คือการแนะนำวิธีให้ผู้ใช้บริการสามารถ ค้นหาข่าวสารที่ต้องการจากแหล่งข้อมูลมหาศาลนั้นได้ บรรณารักษ์ต้องมีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่มีอยู่ และตัดสินใจว่า ฐานข้อมูลชนิดไหนที่ผู้มาใช้บริการต้องการ เมื่อผู้ใช้บริการพบข้อมูลดังกล่าวแล้วก็เพียงแค่ส่งอีเมลข้อมูลนั้นไปยัง คอมพิวเตอร์ที่บ้านโดยไม่ต้องหอบหนังสือกลับไปเหมือนสมัยก่อน

นอกจากนี้ผู้มาใช้บริการยังสามารถใช้บริการห้องสมุดจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านที่ไหนๆ ก็ได้ในโลกผ่านทางอินเตอร์เนต

เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ช่วยให้ห้องสมุดสามารถเสนอบริการใหม่ให้แก่ผู้มาใช้บริการได้คือการถามคำถาม หรือขอความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์ผ่านหน้าเวบไซต์ได้ ด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายเชื่อมต่ออินเตอร์เนตไร้สายที่กำลังขยายตัวอย่างรวด เร็วในสหรัฐทำให้ห้องสมุดสาธารณะส่วนใหญ่ในปัจจุบันสามารถให้บริการผ่านทาง คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคเพื่อช่วยหาข้อมูลในการทำการบ้าน ทำรายงาน ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยส่วนตัว

สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสายตาจอคอมพิวเตอร์สามารถปรับขนาดตัวหนังสือให้ ใหญ่ขึ้นได้ตามที่ต้องการ และสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนห้องสมุดยังมีบริการหนังสือเสียงไว้ให้เด็กๆ ฟังเป็นการเตรียมตัวสู่โลกแห่งการเรียนรู้ตั้งแต่เนิ่นๆ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ห้องสมุดชุมชนสามารถให้บริการทั้งด้าน ความรู้และความบันเทิงแก่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

ทุกวันนี้ห้องสมุดในอเมริกานั้น ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการอินเตอร์เนตที่รวดเร็วได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้ จ่ายใดๆ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ มากมาย คุณตา คุณยายที่มาใช้บริการห้องสมุดหลายคนก็ยังยินดีที่จะมานั่งเปิดหนังสือเล่ม เก่าๆ ทีละหน้าเหมือนที่เคยทำมาจนชิน

———————————————————————————————————————–

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับบทความที่ผมนำมาให้อ่าน
อ๋อ ลืมบอกไปถ้าเพื่อนๆ ขี้เกียจอ่าน ผมขอแนะนำให้ฟังเป็นเสียงครับ ลองเข้าไปดูที่ ห้องสมุดสาธารณะยุคใหม่ (ไฟล์เสียง)

สำหรับวันนี้ก็ขอฝากไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ

Groovle – สร้างหน้า Search Engine ส่วนตัว

เพื่อนๆ อยากมีหน้า Search engine เป็นของตัวเองหรือปล่าวครับ
ถ้าอยากลองเข้ามาดูที่ เว็บไซต์ Groovle นะครับ

groovle

เว็บไซต์นี้มีฟีเจอร์หลักๆ คือ การค้นหาเว็บไซต์ ค้นหารูป ค้นหาข่าว ฯลฯ (ผลการค้นเหมือน google)
แต่ที่เด็ดกว่า google คือ เราสามารถตกแต่งเว็บไซต์นี้ให้สวยงามได้
โดยการปรับรูปแบบการนำเสนอใหม่ ใส่รูปภาพสวยๆ ได้ เปลี่ยน theme ได้

เอาเป็นว่าลองเล่นกันดูเลยดีกว่าครับ
โดยเข้าไปที่
http://www.groovle.com/create/

groovle1

จากนั้นก็อัพโหลดรูปที่ต้องการลงไปครับ เพียงเท่านี้เพื่อนๆ ก็มีเว็บไซต์สวยๆ ได้แล้ว

ผมเองก็ขอลองบ้างดีกว่า เพื่อนลองเข้าไปดูได้ที่
http://www.groovle.com/custom/homepage/cb2e8f391e4bab46d66971a6c9293c28/

groovle2

เป็นยังไงกันบ้างครับ ง่ายมากเลยใช่มั้ยครับ
เอาเป็นว่าใครที่ลองเล่นแล้ว เอา url มาโพสให้ผมเข้าไปดูหน่อยนะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอแนะนำของเล่นแต่เพียงเท่านี้ครับ

เข้าท่าดี…เก้าอี้เดินได้ในห้องสมุด

วันนี้มีคลิปวีดีโอมานำเสนอเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่น่าสนใจในห้องสมุด
ถ้าคลิปนี้ทำได้จริงๆ คงจะดีไม่ใช่น้อยเลยนะครับ (เอาใจเชียร์ให้มีจริงๆ)

takeaseat

เอาเป็นว่าลองไปชมกันก่อนดีกว่า เดี๋ยวค่อยวิจารณ์ให้อ่านนะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=2Dgaz6NIUFk[/youtube]

เป็นยังไงบ้างครับกับคลิปวีดีโอนี้

เทคโนโลยีที่เห็นในคลิปวีดีโอนี้เป็นเพียงแนวความคิดเท่านั้นนะครับ ยังไม่มีที่ไหนทำมาก่อนจริงๆ
แต่เพียงแค่แนวความคิดมันก็แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาด้านเทคโนโลยี
วัตถุประสงค์ก็เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในห้องสมุดนั่นเอง

ลองคิดดูสิครับว่า “ถ้าเพื่อนๆ เข้าห้องสมุดแล้วมีที่นั่งเดินตามอยากอ่านตรงไหนก็ได้”
มันคงจะดีไม่ใช่น้อยเลยนะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ผมจะขอวิจารณ์หน่อยแล้วกัน

การมีเก้าอี้แบบนี้จะส่งผลอะไรกับห้องสมุดบ้าง
– ต้องใช้เงินในการจัดหาอุปกรณ์ที่ค่อนข้างแพง
– การอ่านหนังสือโดยนั่งที่เก้าอี้นี้อาจจะไม่เหมาะต่อการอ่านหนังสือแบบนานๆ
– อาจจะเป็นการรบกวนผู้อื่นได้ (นั่งขวางทางคนอื่น) เนื่องจากอยากนั่งตรงไหนก็นั่ง
– ยากต่อการควบคุมและการดูแล

เอาเป็นว่าถ้าหากจะต้องมีเทคโนโลยีนี้จริงๆ ในห้องสมุด
บรรณารักษ์และฝ่ายไอทีคงต้องวางแผนกันให้รอบครอบมากๆ

เพื่อนๆ ว่าเก้าอี้แบบนี้ดีหรือไม่ดีครับ…

GM Group กำลังรับสมัครบรรณารักษ์

ประกาศ ประกาศ รับสมัครงานบรรณารักษ์มาอีกแล้ว
คนที่กำลังหางานด้านบรรณารักษ์โปรดอ่านเรื่องนี้เลยนะครับ
เพราะว่าบริษัทที่รับสมัครบรรณารักษ์ตอนนี้คือ บริษัทในกลุ่ม GM (GM Group)

gmgroup

ตำแหน่งที่ GM Group ต้องการ คือ Information Officer and Librarian
หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า? “เจ้าหน้าที่สารสนเทศ และ บรรณารักษ์” นั่นเอง

หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบของตำแหน่งนี้
– งานด้านห้องสมุด
– งานจัดเก็บและรวบรวมไฟล์งานต่างๆ ของบริษัท
– งานจัดหาไฟล์ข้อมูลต่างๆ

ซึ่งเมื่อพิจารณาจากภาระงานและภาพรวมขององค์กร
คงตอบได้ง่ายๆ ว่าเป็นการจัดการห้องสมุดเพื่อใช้ภายในองค์กรเท่านั้น

สำหรับผู้ที่สนใจในตำแหน่งนี้จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
– จบปริญญาตรีสาขาบรรณารักษศาสตร์, สารสนเทศศาสตร์, คอมพิวเตอร์
– ประสบการณ์ทำงานต้องไม่ต่ำกว่า 1 ปี
– สามารถใช้โปรแกรมพื้นฐานคอมพิวเตอร์ได้
– สามารถใช้โปรแกรมตัดแต่งรูปภาพ photoshop ได้
– มีความรับผิดชอบและรอบคอบ
– มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

เอาเป็นว่านานๆ ทีผมจะเห็นว่าบริษัทใหญ่ๆ ประกาศรับบรรณารักษ์
ดังนั้นถ้าเพื่อนๆ มีโอกาสก็อยากให้ลองไปสมัครกันดูนะครับ

และถ้าเพื่อนๆ สนใจทางบริษัทก็ให้กรอกข้อมูลใบสมัครในเว็บไซต์ได้เลยครับ
ที่ http://www.gmgroup.in.th/main/formjob.php?najor1=Information%20Officer%20and%20Librarian

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่
http://www.gmgroup.in.th/main/job.php

ก็ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนโชคดี

งานประชุมวิชาการด้านเทคโนโลยีห้องสมุด (Computer in Libraries 2009)

วันนี้ผมขอเขียนเรื่องย้อนหลังไปเมื่อเดือนมีนาคม – เมษายน ที่ผ่านมานะครับ
ในช่วงเดือนนั้นมีงานประชุมวิชาการครั้งใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีในห้องสมุด หรือที่เราเรียกกันว่า Computer in Libraries 2009

cil2009

Computer in Libraries 2009 หรือที่ในวงการเรียกย่อๆ ว่า CiL 2009
งานนี้ถือว่าเป็นงานประชุมด้านเทคโนโลยีสำหรับบรรณารักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือเลยก็ว่าได้
กำหนดการของงานนี้เริ่มในวันที่ 30 มีนาคม ถึง 1 เมษายน 2009

ข้อมูลทั่วไปของงาน CIL2009
ชื่องาน : Computer in Libraries
จัดมาแล้วเป็นครั้งที่ : 24
วันที่จัด : 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2552
สถานที่ : Hyatt Regency Crystal City (จัดในประเทศสหรัฐอเมริกานะครับ)

สโลแกนของงานนี้
?CREATING TOMORROW : SPREADING IDEAS & LEARNING?
มาสร้างวันพรุ่งนี้กันดีกว่า ด้วยการกระจายไอเดียและกระจายการเรียนรู้ (แชร์ไอเดียร่วมกัน)

งานนี้ไม่ได้จัดโดยห้องสมุดใดห้องสมุดหนึ่งนะครับ
แต่องค์กรหลักที่เป็นผู้จัดงานนี้คือ บริษัท Information Today

เอาเป็นว่ามาดูหัวข้อเด่นๆ ในงานแบบเต็มๆ กันเลยดีกว่า

cil2009-book

โดยในงานนี้จะแบ่งออกเป็น 5 ห้อง โดยเริ่มจาก Track A – Track E
ซึ่งผู้เข้าประชุมจะต้องเลือกเข้า 1 Track ซึ่งแต่ละ Track จะมีเนื้อหาที่ไม่เหมือนกัน
โดยเนื้อหาของแต่ละ Track มีดังนี้

TRACK A
– INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– SEARCH & SEARCH ENGINES

TRACK B
– WEB DESIGN & DEVELOPMENT
– OPEN LIBRARIES
– NEW WORLDS: MOBILE, VIRTUAL, & GAMES

TRACK C
– COMMUNITIES & COLLABORATION
– SOCIAL SOFTWARE
– CONTENT MANAGEMENT (CM)

TRACK D
– DIGITAL LIBRARIES
– SERVICES & VIRTUAL REFERENCE
– LEARNING

TRACK E
– INNOVATION IN SMALLER LIBRARIES
– NEXT GEN CATALOGS
– 2.0 PLANNING & MANAGING

?????????????????????-

นอกจากนั้นในแต่ละหัวข้อของ Track ต่างๆ? ก็จะมีผู้บรรยายมาพูดในหัวข้อที่เกี่ยวกับ Track ต่างๆ ดังนี้

สำหรับหัวข้อใน Track A

INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– Super Searcher Search Tips
– Searching Conversations: Twitter, Facebook, & the Social Web
– What?s New & Hot: The Best Resource Shelf
– Searching Google Earth
– Information Discovery: Science & Health

CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– New Strategies for Digital Natives
– Designing the Digital Experience
– Googlization & Gadget Support for the Library
– Library Transformation With Robotics
– Innovative Services & Practices

SEARCH & SEARCH ENGINES
– The Future of Federated Search
– Federated Search: Growing Your Own Tools
– Mobile Search
– What?s Hot in RSS
– Emerging Search Technologies

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track B

WEB DESIGN & DEVELOPMENT
– Website Redesign Pitfalls
– Help Your Library Be Omnipresent Without Spending a Dime
– 40-Plus New Tools & Gadgets for Library Webmasters
– What Have We Learned Lately About Academic Library Users
– Library Facebook Applications

OPEN LIBRARIES
– Open Source Software
– Open Source Browsers
– Unconferences
– Open Source Library Implementations
– Open Access: Green and Gold

NEW WORLDS: MOBILE, VIRTUAL, & GAMES
– Mobile Practices & Search: What?s Hot!
– Mobile Usability: Tips, Research, & Practices
– Mobile Library Apps
– Real Librarians in Virtual Worlds
– Gaming & Learning

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track C

COMMUNITIES & COLLABORATION
– Who Put the Blawg in My Collection?
– Building Community Partnerships: 25 Ideas in 40 Minutes
– Building Communities: Wikis & Ning
– Flickr Commons for Libraries & Museums
– Continued Online Community Engagement

SOCIAL SOFTWARE
– The Best of the Web
– Social Network Profile Management
– Web 2.x Training for Customers & Staff
– Evaluating, Recommending, & Justifying 2.0 Tools
– Pecha Kucha: 2.0 Top Tips

CONTENT MANAGEMENT (CM)
– CM Tools: Drupal, Joomla, & Rumba
– Implementing CMS: Academic
– Implementing CMS: Public
– Customized Content Portals
– Content Collage: Institutional Repositories

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track D

DIGITAL LIBRARIES
– Digital Preservation, E-Government & ERM
– Digital Rights Management (DRM) Copyright, & Creative Commons
– Moving Libraries to the Cloud
– Developing a Sustainable Library IT Environment
– Achieving the Dream to Go Green


SERVICES & VIRTUAL REFERENCE

– Next Gen Digital Reference Tools
– Reference Odyssey: Still Dealing with Real People
– Embedding Services: Go Where the Client Is
– More than Just Cruising: SL & Web 2.0
– Service at Point of Need: SharePoint & Mobile Tools

LEARNING
– Learning Solutions Through Technology
– Enhancing Learning Anytime, Anywhere: Spread Your Reach
– E-Learning: Trends, Tools & Interoperability
– Embedding Ourselves: Using Web 2.0 and Second Life for Instructional Presence
– Dynamic Learning Spaces & Places

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track E

INNOVATION IN SMALLER LIBRARIES
– I Wanna Be 2.0 Too!: Web Services for Underfunded Libraries
– Tiny Libraries, Tiny Tech, Innovative Services
– Social Software Solutions for Smaller Libraries
– Obstacle or Opportunity? It’s Your Choice!
– Blogs as Websites

NEXT GEN CATALOGS
– Global Library Automation Scene
– Library Automation Highlights
– Library Website & Library Catalog: One-Stop!
– Open Source Implementations
– Cooperative Systems Trump Integrated Systems

2.0 PLANNING & MANAGING
– Setting Up a Trends Analysis Program
– What’s the Return on Investment for Your Library?
– Future Space: The Changing Shape of Libraries
– Successful Online Collaborative: A Tale of Three Libraries
– New Tools for Metrics & Measures

?????????????????????-

เป็นยังไงกันบ้างครับกับงานประชุมวิชาการของวงการบรรณารักษ์ในต่างประเทศ
ในเมืองไทยผมก็จะพยายามจัดให้ได้ถ้ามีโอกาสนะครับ

CTWphotocamp รอบสองยังสนุกเหมือนเดิม

หลังจากที่มีการจัด #CTWphotocamp รอบแรกไปแล้ว (อ่านได้ที่ CTWphotocamp งานถ่ายรูปที่ไม่มีทางเหงา)
ก็มีเสียงเรียกร้องให้จัด #CTWphotocamp ขึ้นอีกรอบ ดังนั้นงาน #CTWphotocamp จึงกลับมาอีกครั้ง

ctwphotocamp1

งาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2 นี้จัดในวันที่ 12 ธันวาคม 2552
โดยยังคง concept เหมือนเดิมครับ คือ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว และไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า

ctwphotocamp209 ctwphotocamp202

วันนั้นพวกเรานัดเจอกันตอน 1 ทุ่มที่หน้า CTW ครับ
ก็เริ่มถ่ายรูปเล่นไปเรื่อยๆ โดยนางแบบหลักเห็นทีว่าคงจะไม่พ้น @jaaja
ถ่ายไปเรื่อยๆ คนก็เพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ ครับ และที่สำคัญ hilight เด็ด คือ มีคนพาสุนัขมาเดินด้วย ไปไปมามา สุนัขเด่นกว่าคน

ctwphotocamp219 ctwphotocamp220

พอถ่ายกันจนเหนื่อย พวกเราก็เริ่มหาของกินกันที่ Food hall ของ CTW ครับ
และก็มีสมาชิกมาเพิ่มอีก 3 คน ก็นั่งกินกันจนท้องตึง เราก็มีพลังในการถ่ายรูปต่อ
พอลงมาถึงสมาชิกใหม่ก็เดินทางมาเติมกันต่อครับ

ctwphotocamp244 ctwphotocamp258

ครั้งนี้นอกจากวิวหน้า CTW แล้วพวกเราก็ยังเดินถ่ายไปจนถึงหน้า Gaysorn Plaza แนะ
และไปจบกันที่ Amarin Plaza ครับ นับว่าเป็นการถ่ายรูปที่สนุกมากๆ อีกครั้งหนึ่งเลย

ctwphotocamp266 ctwphotocamp260 ctwphotocamp251 ctwphotocamp239

สรุปรายชื่อของผู้ที่เข้าร่วมงาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2 มีจำนวน 21 คน ดังนี้
@ylibraryhub @junesis @neokain @rawitat @Rujji @bankkung @zetsuboublogger @eCybermania @KimhunCPE @jaaja @jazzanovalerm @nauticalmiles @tanseven @ladynile @izeyizey @iwhale @dekunderkover @ubyi @kajeaw @WizardPunchZz @yashimaexteen

ctwphotocamp276 ctwphotocamp278

ผมก็ขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่มาแจมถ่ายรูปกันในครั้งนี้ด้วยนะครับ
นี่แหละครับคือพลังแห่งความสร้างสรรค์บน Social Network ครับ

รวมภาพถ่ายในงาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2

ภาพงาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2 โดย ylibraryhub (multiply)

ภาพงาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2 โดย ylibraryhub (Facebook)

ภาพงาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2 โดย kimhuncpe

บรรณารักษ์และผู้บริหารห้องสมุดต้องพูดคุยกันบ้าง…

การพัฒนาห้องสมุดจะเป็นไปในทิศทางใดขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย
เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญ นั่นก็คือ ผู้บริหารห้องสมุดหรือผู้บริหารองค์กร นั่นเอง

admin-library

คุณเห็นด้วยกับประโยคที่ผมกำลังจะกล่าวหรือไม่

“ตราบใดที่บรรณารักษ์เสนอโครงการมากมายแต่ถ้าผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญ
ก็มักจะทำให้ห้องสมุดถูกปล่อยปล่ะละเลยอยู่เสมอๆ ไม่ได้รับการพัฒนา”

เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าความสำคัญของห้องสมุดในแง่ความคิดระหว่างบรรณารักษ์ กับ ผู้บริหาร ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาห้องสมุด
ลองคิดดูนะครับว่า ถ้าหากสอดคล้องกัน คือ ผู้บริหารกับบรรณารักษ์เข้าใจในกระบวนงานของห้องสมุดเหมือนกัน และทิศทางเดียวกัน
ผมคิดว่าห้องสมุดนั้นคงจะทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะว่าผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงานต่างเข้าใจในกระบวนงาน และกระบวนการทำงานนั่นเอง
แต่ถ้าสมมุติว่า หากเกิดความไม่เข้าใจในเรื่องของการทำงานหรือการให้ความสำคัญหล่ะ มันก็อาจจะส่งผลในทางตรงข้ามได้เช่นกัน

ตัวอย่างเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ผู้บริหารก็มักจะถามว่าจำเป็นด้วยหรอ บรรณารักษ์ก็จะตอบว่าจำเป็น ผู้บริหารก็บอกว่าพัฒนาเองไม่ได้หรอ ทำไมต้องซื้อราคาแพงๆ บรรณารักษ์ก็บอกว่าพัฒนาเองได้ แต่คงไม่มีความเสถียรพอหรือใช้ไปอาจจะไม่เป็นมาตรฐาน เนื่องจากบรรณารักษ์ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ ผู้บริหารก็บอกต่อว่างั้นก็ให้โปรแกรมเมอร์เป็นคนออกแบบสิ โปรแกรมเมอร์ก็ออกแบบมาให้ บรรณารักษ์ใช้ไม่ได้เนื่องจากโปรแกรมเมอร์ก็ไม่เข้าใจกระบวนงานของ บรรณารักษ์ ที่แน่ๆ โปรแกรมเมอร์คงไม่รู้จัก MARC Format พอออกแบบเสร็จก็เลยเกิดปัญหาตามมาต่างๆ แทนที่จะได้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติก็เลย ต้องรอต่อไปครับ?..นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆ

ปัญหาต่างๆ เหล่านี้คงแก้ได้ไม่ยาก หากผู้บริหารและบรรณารักษ์ปรับความคิดให้เข้าใจซึ่งกันและกัน
เนื่องจากห้อง สมุดก็เป็นแหล่งเรียนรู้ของทุกๆ คน ไม่มีใครที่สำคัญกว่าผู้ใช้บริการของพวกเราถูกมั้ยครับ

ทีนี้เลยอยากทราบว่าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการของเราเคยเจอปัญหานี้บ้างมั้ย
มีอะไรแนะนำกันบ้างนะครับ เพื่อวงการบรรณารักษ์และการพัฒนาห้องสมุดอย่างยั้งยืน?

ปล. ผมขอส่งท้ายด้วยบทความเรื่อง การจัดตั้งห้องสมุดอุดมศึกษา โดย Chelie M. harn Cooper
ลองอ่านดูนะครับเป็นบทความของเว็บวิชาการ 2 หน้า
ที่พูดถึงเรื่อง การการดำเนินงานห้องสมุดในระดับสากล และ วิสัยทัศน์ ของผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับห้องสมุด

โครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

วันนี้ผมขอแนะนำโครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ
จริงๆ ผมเองก็ไม่ค่อยรู้จักหรอก อาศัยแต่การค้นหาข้อมูลบนเว็บแล้วนำมาเรียบเรียงให้อ่านแล้วกันนะ

encyclopedia-library-thai

ข่าวการเปิดโครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนแห่งที่ 2 ทำให้ผมรู้จักโครงการนี้มากขึ้น

พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ (องคมนตรี) ซึ่งเป็นประธานโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
ได้กล่าวข้อความบทหนึ่งในงานเปิดตัวห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนแห่งที่ 2 ว่า

“การหาความรู้ไม่ใช่มีแต่ในห้องเรียน แต่นักเรียนยังสามารถหาความรู้ได้จากห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดสารานุกรมไทยฯนั้น จะหาความรู้ได้ทั้งเรื่องฟ้าร้อง สึนามิ หรือโรคภัยต่าง ๆ ซึ่งการที่เยาวชนไทยรู้จักหาความรู้จากห้องสมุด จะเป็นการปลูกฝังพื้นฐานให้เยาวชนได้ศึกษาหาความรู้จนกระทั่งเติบโตเป็น ผู้ใหญ่ และควรใช้ห้องสมุดให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่”

โครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน จะดำเนินการ 10 แห่ง ดังนี้
– หอสมุดแห่งชาติ จังหวัดนครราชสีมา
โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม จังหวัดกรุงเทพฯ
– โรงเรียนเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
– โรงเรียนโยธินบูรณะ จังหวัดเพชรบุรี
– ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครสวรรค์
– โรงเรียนในจังหวัดตรัง 2 แห่ง
– โรงเรียนในจังหวัดเชียงราย
– โรงเรียนในจังหวัดกรุงเทพฯ อีก 2 แห่ง

โดยมี collection หลักๆ ในห้องสมุดแห่งนี้ ก็ก็คือหนังสือสารานุกรมทุกฉบับ
ไม่ว่าจะเป็นสารานุกรมแบบธรรมดา หรือ สารานุกรมฉบับส่งเสริมความรู้

นอกจากจะดำเนินพัฒนาด้านสถานที่แล้ว โครงการนี้ยังได้จัดสร้างรถตู้ห้องสมุดสารานุกรมไทยฯ อีก 1 คัน
เพื่อนำหนังสือสารานุกรมไทยฯ ไปเผยแพร่ให้แก่เยาวชนและประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศไทยอีกด้วย

—————————————-
ขอประชาสัมพันธ์อีกรอบนะครับ (เพื่อนผมฝากมา @gnret)

ประกาศห้องสมุดประชาชนนครสวรรค์

ห้องสมุดประชาชนฯ จะหยุดให้บริการเป็นเวลา 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2553 โดยปรับปรุงพื้นที่ชั้นล่าง ห้องสมุดใหม่ โดยการสนับสนุนจากสโมสรไลออนส์ในจังหวัดนครสวรรค์ 4 สโมสร คือ นครสวรรค์ สี่แควนครสวรรค์ เมืองพระบางนครสวรรค์ ปากน้ำโพนครสวรรค์

และเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น ห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครสวรรค์ (ตึกปรีดา)

ในเร็วๆ นี้ กับรูปโฉมใหม่ โอ่งโถง สะอาด สงบ และ งามตา
—————————————-

เป็นไงกันบ้างครับ โครงการที่มีประโยชน์แบบนี้ผมก็ขอประชาสัมพันธ์เต็มร้อยเลยนะครับ

สำหรับรายละเอียดของโครงการ หากเพื่อนๆ มีข้อมูลเพิ่มเติม
หรือผูที่ดำเนินการในส่วนนี้ได้ผ่านมาเห็นบล็อกนี้ ผมก็ขอให้ส่งรายละเอียดเพิ่มเติมมาให้ผมด้วย
อยากจะช่วยประชาสัมพันธ์จริงๆ ครับ ส่งมาได้ที่ dcy_4430323@hotmail.com