สรุปสไลด์การบริหารจัดการห้องสมุดดิจิตอล

วันนี้ว่างๆ ไม่มีอะไรทำเลยขอขุดสไลด์เก่าๆ มานั่งอ่านและทำความเข้าใจ
ซึ่งจริงๆ แล้วสไลด์เหล่านี้ก็มีความรู้ดีๆ และแง่คิดดีๆ แฝงไว้เยอะมาก

สไลด์ที่ผมอ่าน มีชื่อเรื่องว่า ?นโยบาย กลยุทธ์ และแนวทางในการจัดการห้องสมุดดิจิตอล?
ซึ่งเป็นสไลด์ของรองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ครับ

slide-digital-library

โดยเนื้อหาในสไลด์ได้มีการพูดถึงเรื่องแนวโน้มของสังคมที่เปลี่ยนจาก
ยุคอุตสาหกรรมไปเป็นยุคสารสนเทศว่ามีความแตกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น
ในยุคของอุตสาหกรรมมีการใช้ข้อมูลแบบตัวใครตัวมัน
ส่วนในยุคสารสนเทศจะเน้นการใช้ข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูล

ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ในยุคสารสนเทศจะทำให้เกิดกฎระเบียบใหม่ / พฤติกรรมใหม่ / รูปแบบความสัมพันธ์แบบใหม่
สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดคลื่นของการเปลี่ยนแปลงทางการเรียนรู้ครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นมานะครับ
คลื่นที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ บทบาทของอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นที่เชื่อมโยงและเป็นชุมชนความรู้ขนาดใหญ่

จากสิ่งที่ได้กล่าวมาทำให้มีการออกแบบห้องสมุดในรูปแบบใหม่ๆ
ทำให้เกิด ห้องสมุดเสมือนจริง, ห้องสมุดดิจิตอล และอื่นๆ
อาจารย์ยืน ยังได้ให้นิยามของห้องสมุดเสมือนจริงว่า

1. ห้องสมุดจะให้บริการได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา
2. การให้บริการสื่อดิจิตอลจะเพิ่มมากขึ้น
3. ข้อมูล สารสนเทศ และควารู้จะมีความหลากหลายและอยู่บนเครือข่าย
4. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริการ
5. การบริการเสมือนจริงโดยการนำเว็บ 2.0 เข้ามาใช้เพื่อพัฒนางานต่างๆ
6. มีการสร้างความร่วมมือเพื่อแบ่งปันข้อมูลและสร้างสังคมความรู้

หลังจากนั้นอาจารย์ยืนได้กล่าวถึงเทคโนโลยีของเว็บ 2.0
และได้ยกคำพูของ Bill Gates ที่พูดว่า ?อนาคตการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทำได้จากทุกที่?

——————————————————————————–

สรุปอีกทีนะครับ(ความคิดของผม)
ดูจากนิยามแล้วมันคล้ายๆ กับ นิยามของ Library 2.0 นะครับ
เช่นเอาเว็บ 2.0 มาประยุกต์ใช้และอีกอย่างจุดประสงค์ผมว่ามันก็คล้ายๆ กัน
คือ ?ทำอย่างไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด?
อีกเรื่องที่ผมชอบคือการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ดังนั้นเราควรจะเริ่มจากสังคมวิชาชีพของตัวเองให้มั่นคงก่อน แล้วค่อยๆ สร้างสังคมอื่นๆ ต่อไป?

สำหรับสไลด์ชุดนี้โหลดได้ที่ http://tla.or.th/004.ppt

เทคโนโลยีของห้องสมุดตั้งแต่ปี 1968 – 2007

เรื่องเก่าเล่าใหม่อีกครั้งสำหรับเรื่องเทคโนโลยีในห้องสมุด โดยเฉพาะระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
จากบทความเรื่อง? 2007 Library Technology Guides Automation Trend Survey
ซึ่งเป็นผลสำรวจที่มาจากเว็บไซต์ Library Technology Guides

libtech-copy

ลองเข้าไปดูกันนะว่าพัฒนาการของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดว่ามีอะไรบ้าง
ผมว่ามันน่าสนใจดีนะครับ เพราะบอกช่วงเวลาให้ด้วย

ซึ่งพอได้เห็นภาพว่าห้องสมุดเริ่มมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ตั้งแต่ ปี 1968
ซึ่งเทคโนโลยีตัวแรกที่มีการนำมาใช้ในห้องสมุด นั่นคือ ?NOTIS Systems?
ซึ่งได้รับการพัฒนาโดย Northwestern University

แล้ว NOTIS Systems คืออะไร ผมก็ลองเข้าไปค้นหาคำตอบดู
ในยุคแรกของ NOTIS Systems เป็นเพียงซอฟต์แวร์ที่จัดเก็บข้อมูลรายการบรรณานุกรม
แต่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ

นอกจากเทคโนโลนีแรกของห้องสมุดแล้ว แผนภาพนี้ยังแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีห้องสมุดในยุค 2007 ด้วย
ซึ่งมีระบบห้องสมุดอัตโนมัติชั้นนำอยู่ด้วย เช่น SirsiDynix, Ex Libris, VTLS ฯลฯ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ สนใจก็ต้องไปลองเปิดดูครับ

รูปเต็มดูได้ที่ http://www.librarytechnology.org/automationhistory.pl?SID=20091214577484130

IBSN – Internet Blog Serial Number

เลขมาตรฐานที่คนในวงการบรรณารักษ์ต้องรู้ เช่น ISBN, ISSN
แต่วันนี้ผมขอนำเสนอเลขมาตรฐานอีกอย่างนึงให้เพื่อนๆ รู้จัก นั่นก็คือ IBSN

libraryhub

IBSN คืออะไร

“The IBSN (Internet Blog Serial Number) is created on February 2, 2006 in answer to a denial from current administration to assign ISSN numbers to Internet blogs.”

แปลให้อ่านง่ายๆ ครับ IBSN คือ
เลขมาตรฐานสำหรับบล็อกบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2006
เพื่อเป็นเลขที่ใช้ชี้หรืออ้างอิงบล็อกบนอินเทอร์เน็ต

การสมัครก็ง่ายๆ ครับ ไปที่หน้า http://ibsn.org/register.php ได้เลย

แล้วกรอกตัวเลขในช่องที่ปรากฎซึ่งต้องเป็นเลข 10 หลัก และจะขีดขั้น (-) ตรงไหนก็ได้ 4 ขีด

register

จากนั้นก็ให้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกตามภาพเลยนะครับ

blogggg

URL del blog : ใส่ URL ของบล็อกคุณในช่องนี้
Nombre del blog : ใส่ชื่อของ blog คุณในช่องนี้
e-mail : กรอกอีเมล์ของคุณ
Comentario : ใส่รายละเอียดและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบล็อกของคุณในช่องนี้

จากนั้นให้กดตรงปุ่ม Solicitar แล้วก็จะได้เลข IBSN ครับ

Libraryhub ของผมก็ไปจดเลข IBSN มาแล้วนะ ไม่เชื่อดูดิ

libraryhub_ibsn

เลข IBSN ของผม คือ 0-29-09-19820

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมลองเข้าไปดูที่
http://ibsn.org

เมื่อบรรณารักษ์บางกลุ่มพูดว่า “ห้องสมุดของเราไม่มีทางเจ๊งหรอก”

มีหลายเรื่องที่ผมวิตกและกังวลเกี่ยวกับทัศนคติของบรรณารักษ์บางกลุ่มในประเทศไทย
ซึ่งผมกำลังหาทางออกและวิธีแก้ปัญหาอยู่ เลยอยากเล่าให้เพื่อนๆ ฟังเพื่อว่าจะมีใครเสนอแนวทางดีๆ ให้ผมบ้าง

question

เรื่องที่ผมจะยกมาให้อ่านในวันนี้อาจจะดูแรงไปสักหน่อยแต่มันเกิดขึ้นจริงนะครับ
เป็นเรื่องที่มีเพื่อนบรรณารักษ์คนนึงโทรมาปรึกษาผมเกี่ยวกับการทำงานบรรณารักษ์ของเขา
เอาเป็นว่าผมขอแทนชื่อเขาว่า “นายบัน” ก็แล้วกันนะครับ

ห้องสมุดที่ “นายบัน” ทำงานอยู่มีบรรณารักษ์กลุ่มหนึ่งที่ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม (ไม่ได้หมายถึงรัฐบาลอย่างเดียวนะ)
วันๆ บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะรอคอยเวลาเลิกงานในแต่ละวัน พอใกล้จะถึงเวลาเลิกงานก็จะรีบเก็บของโดยไม่สนใจผู้ใช้บริการ

“นายบัน” ก็รู้สึกว่าห้องสมุดไม่มีอะไรใหม่ๆ เลย ดังนั้นเขาก็เสนอโครงการใหม่ๆ ขึ้นไปให้หัวหน้า
ซึ่งหัวหน้าก็ค่อนข้างชอบโครงการใหม่ๆ นี้ และคิดว่าจะนำมาใช้กับห้องสมุด

แต่โครงการใหม่ๆ ดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาครับ เพราะว่ากลุ่มบรรณารักษ์กลุ่มนี้ไม่พอใจ
เนื่องจากเป็นการสร้างภาระงานใหม่ๆ ในห้องสมุด และต้องใช้เทคโนโลยีมากขึ้น (อินเทอร์เน็ต)
ดังนั้น “นายบัน” ก็เลยโดยเรียกไปต่อว่า “หาว่าชอบหาเรื่องใส่ตัว” “งานสบายๆ ไม่ชอบหรือไง”
“นายบัน” พยายามจะบอกว่า “บรรณารักษ์อย่างพวกเราต้องเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่ให้เข้ากับยุคปัจจุบันนะ”

แต่บรรณารักษ์กลุ่มนี้กลับนิ่งเงียบ แล้วย้อนคำถามมาว่า
“แล้วเราต้องเปลี่ยนด้วยหรอ ในเมื่อห้องสมุดของเรายังไงนักศึกษาก็ต้องใช้บริการอยู่แล้ว ห้องสมุดของเราไม่มีทางเจ๊งหรอก”

พอผมฟังจบก็รู้สึกอารมณ์ขึ้นมากๆ เลยครับ และวิตกกังวลถึงอนาคตบรรณารักษ์เมืองไทยจัง
“ปลาเน่าเพียงตัวเดียวก็ทำให้ทั้งคอกเหม็นได้แล้ว” ประโยคนี้คงจะจริง

สุดท้ายผมก็ได้แค่ปลอบเพื่อนผมไปว่า สิ่งต่างๆ เหล่านี้มันต้องค่อยๆ ปรับกันไป
ถ้าเราไปคล้อยตามประโยคแบบนี้แล้วไม่ทำงาน วงการบรรณารักษ์เราก็จะจบลงแบบเน่าๆ ต่อไป
ดังนั้นถ้าคิดว่าอะไรที่ดีต่อห้องสมุดทำไปเถอะอย่าสนใจเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องเลย

ผมก็หวังว่าเรื่องนี้คงเป็นเพียงส่วนน้อยของวงการบรรณารักษ์นะครับ
เพื่อนๆ อ่านจบแล้ว คิดยังไงกันบ้าง มีไอเดียจะเสนอผมบ้างหรือปล่าวครับ….

CTWphotocamp งานถ่ายรูปที่ไม่มีทางเหงา

เหตุการณ์นี้คงเกิดที่หน้าห้าง Central world บ่อยๆ นะครับ
“เดินมาคนเดียวจะถ่ายรูปก็รู้สึกไม่สนุก”
“มากันเป็นคู่ๆ แต่เวลาถ่ายคู่ต้องขอให้คนอื่นช่วยถ่าย หรือไม่ก็ถ่ายเองแต่ไม่ถนัด”

june01

ดังนั้นจากอุปสรรคดังกล่าว จึงทำให้ผมเกิดความคิดว่า
“แล้วทำไมเราไม่ชวนเพื่อนๆ กลุ่มใหญ่ๆ มาถ่ายหล่ะ”

จากการรวมตัวของเพื่อนสนิทใน Twitter
@Ylibraryhub @junesis @maeyingzine @ladynile
จึงเกิดการชวนกัน โดย Tweet ชวนเพื่อนๆ และกระแส Tweet ก็ได้ผล
เมื่อเพื่อนๆ จำนวนหนึ่งได้สนใจ และเข้าร่วมกับกิจกรรมการถ่ายรูปของพวกเรา

กำเนิด Tag #CTWphotocamp
CTW = Central World
Photo = การถ่ายรูป
Camp = การเข้าร่วม (คนไอทีอย่างพวกเรารู้จัก Camp มากมาย เลยขอใช้คำนี้พ่วงด้วย)

เมื่อรวมคำต่างๆ ก็ได้ความหมายว่า การรวมตัวกันเพื่อถ่ายรูปหน้า Central World นั่นเอง

งานนี้ไม่มีกำหนดการ ไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆ ไม่ต้องลงทะเบียน ไม่มีค่าใช้จ่าย
จะมากี่โมงกลับกี่โมงก็ได้ จะพาใครมาเพิ่มก็ได้ จะไปต่อที่ไหนก็ได้

บางคนถามว่าต้องมาถ่ายรูปอย่างเดียวหรอ ถ้าไม่มีกล้องก็ถ่ายไม่ได้สิ
ผมขอบอกว่างานนี้ไม่จำเป็นต้องถ่ายรูปเองครับ มาเป็นนางแบบ นายแบบก็ได้ แล้วแต่ใจชอบ
บางคนอาจจะถนัดถ่ายก็ถ่ายไป บางคนถนัดโพสก็โพสไป

จะกล้องรุ่นไหนเราไม่สน กล้องมือถือ กล้องดิจิตอล กล้องเทพ ใช้ได้หมดเลยครับ

เอาหล่ะเกริ่นมาเยอะแล้ว ทีนี้เราไปดูรูปภาพที่ผมถ่ายในงานนี้ดีกว่า #CTWphotocamp

[nggallery id=17]

รวม Link Gallery ของผู้ที่ไปร่วมงาน #CTWphotocamp

ภาพงาน #CTWphotocamp โดย godzeelus

ภาพงาน #CTWphotocamp โดย Tomorn

ภาพงาน #CTWphotocamp โดย Thangman22

ภาพงาน #CTWphotocamp โดย notingcpe

ภาพงาน #CTWphotocamp โดย kimhuncpe

ภาพงาน #CTWphotocamp โดย Pimoooo

รับบรรณารักษ์ ณ วิทยาลัยนานาชาติ ม.บูรพา

ช่วงนี้ผมเห็นประกาศรับสมัครบรรณารักษ์เยอะมากๆ เลย
ดังนั้นเพื่อนๆ คนไหนที่กำลังหางานก็อย่าพลาดไปลองสมัครกันดูนะครับ

joblibrarian

งานที่ผมจะแนะนำในวันนี้เป็นงานบรรณารักษ์ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพาครับ
ตำแหน่งเป็นพนักงานวิทยาลัย และรับแค่ 1 อัตราเท่านั้น
เรื่องเงินเดือนของตำแหน่งนี้ คือ 10,560 บาท (ปริญญตรี)

เอาเป็นว่าลองอ่านคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนดีกว่า
– จบปริญญาตรีสาขาบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์
– มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในระดับดี

รายละเอียดของงานที่ต้องทำ
– พิจารณาการจัดหาหนังสือเข้าห้องสมุด ให้เลขหมู่หนังสือ ทำดรรชนี บรรณานุกรม สารสังเขป กฤตภาค
– เก็บรวมรวมสถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับห้องสมุด
– ให้คำแนะนำปรึกษา และบริการในการค้นหาหนังสือแก่นิสิต คณาจารย์ และผู้สนใจอื่นๆ
– จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

การรับสมัครตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 18 ธันวาคม 2552 นะครับ
การสอบจะสอบคัดเลือกในวันที่ 22 ธันวาคม 2552 โดยข้อสอบจะเป็นภาษาอังกฤษนะครับ
ยังพอมีเวลาให้เพื่อนๆ ได้เตรียมตัวและฟิตภาษาอังกฤษกันสักนิดนึงครับ

หากสนใจในตำแหน่งนี้ให้ติดต่อไปที่
สำนักงานคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ ชั้น 1 อาคารวิทยาลัยนานาชาติ ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ อุปถัมภ์
หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่เบอร์ 0-3810-2571-2

เอาเป็นว่าโอกาสมาถึงแล้วก็อย่าลืมไขว่ขว้ากันนะครับ

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่งนี้ อ่านต่อได้ที่
http://news.buu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=429

เครื่องปรับอากาศในห้องสมุดก็เสียงดังไม่ได้เด็ดขาด

เสียงรบกวนในห้องสมุดเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การพูดคุยกัน การไม่ปิดโทรศัพท์ แต่นั้นคือปัญหาที่เกิดกับผู้ใช้
แต่เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าสาเหตุของเสียงรบกวนในห้องสมุดที่เกิดจากห้องสมุดเองก็มีเหมือนกัน

air

ปัญหาง่ายๆ ที่หลายๆ คนนึกไม่ถึงคือ เสียงของเครื่องปรับอากาศที่ดังออกมารบกวนคนอื่นๆ
แต่ผมอยากจะโฆษณาว่า ปัญหานี้จะหมดไปถ้าเพื่อนๆ ใช้เครื่องปรับอากาศยี่ห้อนี้

เป็นไงครับ เครื่องปรับอากาศที่เหมาะสำหรับห้องสมุดโดยเฉพาะ
จุดประสงค์ของการติดป้ายแบบนี้อาจจะเป็นเพราะว่าต้องการเน้นว่ามันเหมาะกับห้องสมุด

จริงๆ ผมไม่ได้เป็นเซลล์แมนหรอกนะครับ แต่ที่นำมาให้ดูก็เพราะว่ามันน่าสนใจมากเลย
คิดดูสิครับธุรกิจต่างๆ สามารถเชื่อมโยงให้เข้ากับห้องสมุดได้ทุกรูปแบบจริงๆ ไม่เว้นแต่เครื่องใช้ไฟฟ้า

เครื่องปรับอากาศในรูปๆ ดังกล่าวมีเสียงดังเพียง 38 Db เท่านั้น
ซึ่งถือว่าเงียบมากและไม่รบกวนผู้ใช้บริการคนอื่นๆ แน่นอน

คุณสมบัติของเครื่องปรับอากาศรุ่นนี้
– Library Quiet เสียงดังเพียง 38 Db
– ขนาด 10,000 BTU
– สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก
– ทำงานได้ 4 ฟังก์ชั่น คือ cool, dehumidify, ventilate, fan
– รวดเร็วและติดตั้งง่าย
– ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ
– มีรีโมทสำหรับควบคุมด้วย

ไม่รู้ว่าเว่อร์ไปปล่าว แต่อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่า
ห้องสมุดต้องเงียบจริงๆ ไม่ใช่แค่เสียงคน แต่ต้องเป็นทุกเสียงเลยต่างหากที่เงียบ
ว่าแต่ว่า เมืองไทยเรามีขายเครื่องปรับอากาศแบบนี้หรือปล่าว

?จะเรียนปริญญาโทดีมั้ย? คำถามที่น่าคิด

เรื่องนี้จริงๆ ผมเขียนนานแล้วอ่ะครับ แต่พอเห็นเพื่อนๆ แสดงความคิดเห็นมากมาย
ผมก็เลยขอถือโอกาสนี้ นำมาเล่าซ้ำและประมวลความคิดเห็นที่ให้แง่คิดดีๆ ให้อ่านครับ

blog

มีเพื่อนผมหลายคนมาถามบ่อยๆ ว่า
?เรียนโทเป็นไงบ้างยากมั้ย?
?อยากเรียนโทนะแต่เรียนอะไรดี?
?แล้วจะเรียนดีมั้ยอ่ะปริญญาโท?

คำถามนี้ไม่ใช่เกิดกับเพื่อนๆ ของผมอย่างเดียว
ตอนก่อนที่ผมจะลงเรียนปริญญาโท
ผมเองก็เคยถามคำถามพวกนี้กับคนอื่นเหมือนกัน

แล้วคำตอบที่ได้กลับมาก็เหมือนกันเกือบทุกคนว่า
?เรียนอะไรก็ได้ที่คิดว่าชอบ?
?คิดดีแล้วหรอที่จะเรียนปริญญาโท?
?เรียนปริญญาโทเพื่ออะไร?

เรียนอะไรผมว่ามันก็ขึ้นอยู่กับความชอบจริงๆ นะ
ส่วนคำถามที่ถามย้อนกลับมาสิว่า ?เรียนปริญญาโทเพื่ออะไร?

บางคนคงจะบอกว่า
?เรียนเพราะว่าสังคมเดี๋ยวนี้ จบปริญญาตรีมันไม่พอ?
?เรียนเพราะว่าที่บ้านบอกให้เรียน?
?เรียนเพราะตั้งใจว่าจะเพิ่มความรู้ให้ตัวเอง?
?เรียนเพราะว่าคนอื่นเขาก็เรียน?
?เรียนเพราะว่าแฟนชวนให้เรียนด้วย?

เอาเป็นว่าหลากหลายเหตุผลในการที่จะเรียนต่ออ่ะครับ
แต่คิดสักนิดนะครับว่า ไม่ว่าคุณจะเรียนปริญญาอะไรก็ตาม
ขอให้เลือกตามที่ใจรักนะครับ เรียนอะไรก็ได้ตามใจเรา

บางคนบอกว่าเรียนเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ผมก็เห็นด้วยนะครับ
แต่ว่าอย่างบางอาชีพเขาไม่ได้วัดกันที่ปริญญาก็มีนะครับ
ผมขอถามคุณเล่นๆ ดีกว่า (ลองคิดตามนะครับ)

สมมุติว่ามีคนสองคนมาสมัครงาน
คนนึงจบปริญญาเอกด้านการออกแบบ มาจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ แต่ยังไม่เคยทำงานมาก่อนเลย
อีกคนหนึ่งจบปริญญาตรีสาขาที่ไม่เกี่ยวกับการออกแบบด้วยซ้ำ แต่มีประสบการณ์ในการออกแบบมาเกือบ 20 ปี
คุณคิดยังไงกับคนสองคนนี้ แล้วถ้าคุณจะรับคนเข้าทำงานคุณจะเลือกใครครับ

อย่างที่เคยพูนะครับว่าปริญญาบางทีในสังคมก็ใช้ในการวัดความรู้
แต่ผมว่าประสบการณ์ก็มีส่วนในการวัดความรู้ได้เหมือนกัน

แต่ในประเทศไทยเราส่วนใหญ่ก็ยังยึดกับใบปริญญาอยู่ดี
ยังไงซะถ้ามีโอกาสเรียนก็เรียนเถอะครับ คิดว่าตามกระแสไปแล้วกัน

——————————————————————————————————

รวมความคิดเห็นที่ตอบมาแล้วได้แง่คิด

พี่บอล (jiw_de_jazz) แสดงความคิดเห็นว่า ถ้าเรียนแล้วมีประโยชน์ชัดเจนก็เรียนไป เช่น

?เรียนจบแล้วเงินเดือนขึ้น?
– แน่นอนคุณเสียค่าเรียนป.โท ประมาณ 3แสน แต่คุณจะได้เงินเดือนขึ้นอีก 5พัน/เดือน จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ 60 เดือน = 5ปี น่าจะคุ้มนะ

?เรียนช่วงหางาน(เตะฝุ่น)?
– เตรียมพร้อมเมื่อฟ้าปิด ถ้าฟ้าเปิดมาคุณจะมีโอกาสมากกว่าผู้อื่น

“เรียนเพราะว่าที่บ้านบอกให้เรียน”
– น่าจะเป็นพวกบ้านพอมีฐานะ เรียนไปเถอะ เพื่อคุณจะได้ไม่เป็นแกะดำในบ้าน, หรืออาจจะเสริมสร้างสถานภาพทางสังคมของครอบครัวของคุณ(ไม่ได้ประชดนะ) ผมให้ความสำคัญกะที่บ้านสูงน่ะครับ ?ลูกชั้นจบปริญญาโทแล้วนะ?

?เรียนเพราะที่ทำงานเรียนกันหมดเลย?
– อันนี้ต้องคิดครับว่า ว่าปริญญามีผลกับการทำงานของคุณหรือป่าว ถ้าไม่มีผลก็ไม่ต้องเรียน ถ้ามีผลก็เรียนไปเถอะครับ

——————————————————————————————————

คุณจันทรา แสดงความคิดเห็นว่า

ผลที่ได้จากการเรียน มากกว่าที่คิดเยอะ ได้เพื่อน ที่ไม่คาดว่าจะได้เจอ หมายถึงวิถึชีิวิตเราต่างกันมาก ถ้าไม่เจอกันที่เรียน ก็คงไม่ได้เจอ ทำให้โลกกว้างขึ้น ในด้านวิชาการ เรียนโทส่วนใหญ่จะเน้นเรื่อง ?วิธีคิด? จะคิดเป็นระบบมากขึ้นค่ะ สุดท้าย ก็ความภูมิใจไงค๊ะ ปริญญาหน่ะ ไม่ได้มีไว้เพื่ออวดว่า ?ใครเก่ง? แต่การจะได้มาหน่ะมันไม่ง่าย ก็อาจพิสูจน์ได้ว่า มันคือผลของ ?การพยายาม? ค่ะ

——————————————————————————————————

พี่มุก (EscRiBiTioNiSt) แสดงความคิดเห็นว่า

คิดว่า การเรียน เป็นงาน อดิเรก อย่างหนึ่ง ได้ความรู้ ได้เพื่อน ได้สังคม ที่สำคัญ ได้ความสุข สนุกสนาน ความตื่นเต้น (เวลาสอบ) จากการเรียน มีหลายรสชาติดี..

——————————————————————————————————

บรรณารักษ์ในกะลา แสดงความคิดเห็นว่า

ต้องลองเรียนเองค่ะถึงจะได้คำตอบ เพราะความรู้ที่ได้ไม่ใช่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ความรู้จะค่อย ๆ ซึม ถ้าช่างสังเกตจะรู้ว่าความคิดความอ่านเปลี่ยนไปไม่น้อย ยิ่งคนที่เรียนด้วยทำงานด้วยจะทำให้การคิดเป็นระบบและมีหลักการรองรับมาก ขึ้นค่ะ

ครับนี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งขอคนที่เขามาแสดงความคิดเห็นนะครับ เอาเป็นว่าจะเรียนหรือไม่เรียนขึ้นอยู่ที่ตัวคุณแล้วหล่ะ

แนะนำ Journallink เพื่อใช้ค้นหาบทความวิชาการ

วันนี้ผมขอออกแนววิชาการบ้างนะครับ หลังจากเขียนเรื่องสบายๆ มาหลายวัน
โดยวันนี้ผมจะขอนำเสนอเกี่ยวกับ ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย (Journallink)

journallink

ทำไมผมถึงต้องเขียนเรื่องนี้นะหรอครับ เอาเป็นว่าสาเหตุมาจาก
มีเพื่อนบรรณารักษ์คนนึงใน Hi5 กลุ่ม Librarian in Thailand มาตั้งคำถามว่า

?ผู้ใช้ ต้องการวารสารเล่มนี้อ่ะคับ ทีไหนมี รบกวนบอกด้วยนะคับ รบกวน จิงๆ นะคับ American Journal of Enology and Viticulture?

ผมจึงขอนำเสนอวิธีการค้นหาวารสาร และบทความวารสารเล่มนี้มาฝากนะครับ
เผื่อว่าถ้าเพื่อนๆ บรรณารักษ์ เจอคำถามประมาณนี้จะตอบผู้ใช้ห้องสมุดได้อย่างถูกต้อง

journal-link

ทางออกของการค้นหาวารสารสักเล่มว่าอยู่ที่ห้องสมุดไหน
โดยทั่วไปผมจะใช้ ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย หรือ Journallink
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.journallink.or.th/

———————————————————————————

ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย จะเป็นฐานข้อมูลเพื่อค้นหาว่าวารสารเล่มที่เราค้น อยู่ที่ห้องสมุดไหนบ้าง
ที่มาของฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย (Journallink)
เกิดจากการร่วมมือกันของห้องสมุดภายในประเทศจำนวน 211 แห่ง

ในการใช้งานแบ่งออกเป็น 2 สถานะ คือ :-
1. ห้องสมุดที่ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิก
2. ผู้ใช้ทั่วไป (อันนี้แหละครับที่ผมจะแนะนำให้ค้น)

แต่การค้นแบบผู้ใช้ทั่วไป เพื่อนๆ จะต้องกรอกข้อมูลลงทะเบียนดังนี้
– ที่พัก (เลือกจังหวัดที่เราอยู่)
– อาชีพ (เลือกอาชีพของเรา)
– สังกัด (รัฐ / เอกชน / สถานศึกษา)

พอลงทะเบียนเสร็จก็จะเข้าสู่เมนูการสืบค้น เพื่อนๆ สามารถเลือกสืบค้นข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น
– ตามลำดับอักษร คือ เรียงชื่อวารสารตามลำดับอักษร A ? Z และ ก ? ฮ
– ชื่อวารสาร
– ISSN คือ หมายเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number)
– องค์กรหรือสถาบัน/Institution
– หัวเรื่อง/keyword

———————————————————————————

นี่ก็เป็นการแนะนำแบบคร่าวๆ นะครับ สำหรับฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย (Journallink)
คราวนี้เรามาดูโจทย์ของเราดีกว่า (อันนี้ยกกรณีของคำถามมาแสดงให้ดู)
ผมต้องการหาว่า ?American Journal of Enology and Viticulture? อยู่ที่ห้องสมุดไหนบ้าง

ขั้นตอนในการค้นหา

1. ผมก็เลือกการค้นแบบ ชื่อวารสาร จากนั้นผมก็กรอกรายชื่อวารสารในช่องสืบค้น

example-search1

2. ผลลัพธ์จากการสืบค้น คือ ผมพบวารสารเล่มนี้

result-search1

3. เข้าไปดูรายละเอียด ของวารสารที่สืบค้น

result-search2

เป็นอันจบกระบวนการสืบค้นวารสารนะครับ

สรุปจากการสืบค้นวารสาร ชื่อ American Journal of Enology and Viticulture
ผมพบว่าที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีวารสารเล่มนี้อยู่ที่ ห้องสมุดกลาง (Main Library)
ผมก็จะทำการติดต่อไป เพื่อขอทำสำเนาบทความ หรือสืบค้นชื่อบทความในวารสารเล่มนั้นต่อได้

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับการใช้งาน และตอบคำถามของผม
ไม่รู้ว่าเจ้าของคำถามจะงงอีกหรือปล่าว หรือว่าผมตอบผิดประเด็นหรือปล่าว
ยังไงถ้าได้อ่านก็แสดงความคิดเห็นมาได้นะครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ Journallink มากกว่านี้ สามารถดูได้ที่

http://www.car.chula.ac.th/gotoweb/guides_journal2.pdf

http://tanee.oas.psu.ac.th/images/tutorial/new/db-jour.pdf

บางสิ่งบางอย่างที่สวยกว่าบรรณารักษ์…จริงหรือ!!??

เพื่อนๆ จำประโยคนี้กันได้มั้ยครับ “sexier than a librarian” หรือที่แปลว่า “สวยกว่าบรรณารักษ์”
ประโยคนี้เป็นสโลแกนของสินค้าอย่างนึง…นั่นก็คือ…. Sony e-Book Reader นั่นเอง

บล็อกของบริษัท sony – Sony’s Reader: Sexier than a Librarian?

sexierthanlibrarian

แว้บแรกที่ผมเจอข้อความนี้ ผมเองก็บอกตามตรงเลยว่าก็สงสัยตั้งนานว่าอะไร
แต่พอเห็นสินค้าว่านั่นคือ Ebook Reader ก็ยิ่งทำให้ผมตกใจมากมาย
ไม่นึกว่า Sony จะเอาสินค้ามาเล่นกับวิชาชีพบรรณารักษ์ได้ขนาดนี้

แต่เพียงแค่ประโยคแค่นี้แหละครับ “sexier than a librarian
ก็ทำเอาเพื่อนๆ บล็อกเกอร์ชาวบรรณารักษ์ทั่วโลกไม่พอใจ
จนทำให้มีกระทู้ หรือบล็อกมากมายที่เขียนมาแก้กับเรื่องนี้ เช่น
Sony e-Book Reader Not Sexier Than a Librarian

ผมขอยกตัวอย่างคำพูดของบล็อกเกอร์บางคนนะครับ
บล็อกเกอร์อย่าง Thomas Hawk เจ้าของบล็อก Thomas Hawk?s digital connection
ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า
?There is just no way I?m buying that one. Nice try though Sony. I?m sure the reader?s probably just fine ?but? no way is it sexier than a librarian.?

หากถามผมว่า Sony e-Book Reader สวยมั้ย ผมคงตอบว่า “งั้นๆ แหละครับ
แต่ถ้ามองในเรื่องของคุณสมบัติและความสามารถผมว่าโอเคในระดับนึงเลยนะครับ

ความสามารถของ Sony e-Book Reader เช่น
– รองรับไฟล์ e-book / ภาพ / เสียง
– สามารถอ่านได้ 7500 หน้าต่อการชาร์ทไฟหนึ่งครั้ง
– สามารถโหลดหนังสือได้ผ่านทาง เว็บ connection

เอาเป็นว่าเรื่องนี้ผมขอจบตรงที่เรื่องบางเรื่องเราคงวัดกันที่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ได้
เช่น กรณีดังกล่าวที่เอาสิ่งของมาวัดกับคน โอเครูปลักษณ์บางทีมันก็ดูดีนะครับ
แต่ผมให้แง่คิดนิดนึงว่า สิ่งของอาจจะสวยงามแต่มันก็ไม่มีหัวใจที่รับรู้ความรู้สึกหรอกนะครับ

Sony e-Book Reader สวยก็จริงแต่ในแง่ของการบริการมันไม่สามารถบริการด้วยใจเหมือนบรรณารักษ์ได้นะครับ
ดังนั้นผมก็ขอสรุปว่ายังไงบรรณารักษ์ก็บริการได้ดีกว่าสิ่งของนะครับ

ภาพประกอบจาก http://www.sonyelectronicscommunity.com/sony/blog_post/?contentid=9223157316544538769