สร้างภาพศิลปะจาก twitter แบบง่ายๆ

วันนี้ผมมีของเล่นใหม่มาให้เพื่อนๆ ได้เล่นกัน นั่นก็คือ Twitter Mosaic
หลักการก็ง่ายๆ ครับ คือ การนำรูปเพื่อนๆ ของคุณใน twitter มาเรียงต่อกันเป็นภาพ Mosaic

twittermosaic

วิธีเล่นก็ง่ายๆ ครับ แค่คุณพิมพ์ชื่อ twitter ของคุณในช่อง Username
เช่น ผมพิมพ์ชื่อของผมในช่อง ?ylibraryhub?

จากนั้นก็เลือกรูปเพื่อนๆ ได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
– Show Twitter followers
– Show Twitter friends

จากนั้นก็กดตกลงได้เลยครับ (ตัวอย่างที่ผมโชว์ด้านล่างเป็นแบบ follower นะครับ)

Get your twitter mosaic here.

เพื่อนๆ สามารถเอารูปที่โชว์แบบนี้ไปลงและผลิตเป็นสินค้าที่ระลึกได้นะครับ เช่น

twittermosaicproduct

เพื่อนๆ ว่าโอเคมั้ยครับ ยังไงก็ลองเล่นและอัพเดทบล็อกของเพื่อนๆ มาให้ผมดูบ้างหล่ะ

วันนี้ก็ขอตัวไปหาของเล่นอื่นๆ ก่อนนะครับ

การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 2

วันนี้ผมขอสรุปหนังสือเรื่อง “Planning the modern public library building” ต่อเลยนะครับ
ซึ่งวันนี้ผมจะพูดในบทที่สอง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดขนาดของอาคารห้องสมุด

planning-public-library-part-2

ขอแจ้งรายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้อีกที

ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

Chapter 2 : Before Sizing Your Building
เป็นบทที่ว่าด้วยการกำหนดขนาดของอาคารห้องสมุด

ในบทนี้จะเน้นในเรื่องของการปรับเปลี่ยนแนวคิดของห้องสมุดสองแบบคือ
– ห้องสมุดสถานศึกษา – ต้องดูจาก need, collection, equipment
– ห้องสมุดสาธารณะ – ต้องดูจาก collection, need, equipment

เท่าที่อ่านมาจะสรุปได้ว่า

?ห้องสมุดสถานศึกษาจะเลือกเนื้อหาของทรัพยากรเพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนก่อน
แล้วค่อยตัดสิ่งใจในการเลือกรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศทีหลัง
เมื่อได้รูปแบบแล้วจึงจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อรองรับการให้บริการนั้นๆ?


?ห้องสมุดสาธารณะไม่จำเป็นต้องเลือกที่เนื้อหาเพราะว่า ผู้ใช้บริการคือคนทั่วไป
แต่สิ่งที่สำคัญในการให้บริการคือ การเลือกรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศมากกว่า?

ส่วนในเรื่องของการกำหนดขนาดอาคารห้องสมุด และสถานที่กันดีกว่า
โดยเพื่อนๆ จะต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ซะก่อน จึงจะกำหนดขนาดของห้องสมุดได้
– กลุ่มผู้ใช้บริการของห้องสมุดเป็นใคร มีปริมาณมากน้อยแค่ไหน
– คุณให้คำจำกัดความของคำว่า ?บริการที่ดี? ว่าอะไร
– ทรัพยากรสารสนเทศมีรูปแบบใดบ้าง
– งบประมาณที่ใช้สร้าง และต่อเติมมีมากน้อยเพียงใด
– ระบุที่นั่งสำหรับให้บริการไว้เท่าไหร่ และจำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานในห้องสมุดมีจำนวนเท่าไหร่
– เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งในห้องสมุดมีอะไรบ้าง เช่น โทรทัศน์ เคาน์เตอร์ ฯลฯ
– ให้บริการคอมพิวเตอร์มากน้อยเพียงใด มีแบบไร้สายหรือไม่
– มี partnership ที่จะช่วยในการพัฒนาห้องสมุดหรือเปล่า
– แผนการในการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในอนาคต
– การประมาณการจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น

ถ้าเพื่อนๆ ตอบได้หมดนี่เลย จะช่วยให้สถาปนิกที่รับงานออกแบบเข้าใจรูปแบบงานมากขึ้นครับ
และจะช่วยให้เรากำหนดขนาดได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

บทสรุป สิ่งที่มีผลต่อการกำหนดขนาดพื้นที่ของอาคารห้องสมุด ได้แก่
– Service, Collection, Tasks, Technology (การบริการทั่วไปของห้องสมุด)
– Human being work (การทำงานของคนในห้องสมุด)
– Facility in the library (สาธารณูปโภคต่างๆ ในห้องสมุด)
?.

ครับ บทนี้ก็จบเพียงเท่านี้ หวังว่าเพื่อนๆ จะคำนวณขนาดของห้องสมุดตัวเองได้แล้วนะครับ
?คุณคิดว่าพื้นที่ที่มีอยู่ในห้องสมุดตอนนี้ใช้งานคุ้มค่าแล้วหรือยัง?

อ๋อ สำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ทาง google book search ได้สแกนไว้ให้อ่านแบบเล่นๆ 300 หน้า ลองไปอ่านที่
http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result

การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 1

วันนี้ผมขอสรุปข้อมูลจากหนังสือที่ผมกำลังอ่านในช่วงนี้นะครับ
ชื่อเรื่องว่า ?Planning the modern public library building?
ซึ่งเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการวางแผน การออกแบบ และการสร้างห้องสมุดประชาชนสมัยใหม่

planning-public-library-part-1

รายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

พอได้อ่านแล้วก็ไม่อยากเก็บความรู้ไว้คนเดียวอ่ะครับ
ผมก็เลยขอทำสรุปหัวข้อสำคัญๆ มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านเช่นกัน
ครั้นจะอ่านวันเดียวก็คงไม่จบ ผมก็เลยค่อยๆ ถยอยอ่านไปที่ละบทก็แล้วกัน

เริ่มจากวันนี้ผมจะสรุปบทที่ 1 ให้อ่านนะครับ

Chapter 1 : Early planning for a new library
เป็นบทที่ว่าด้วยสิ่งที่เราควรรู้ก่อนการวางแผนที่จะสร้างอาคารห้องสมุดใหม่
ปัญหาทั่วไป ข้อจำกัด การสร้างทีมงาน การหาที่ปรึกษา ฯลฯ

Problem with the existing building
– Demographic Changes (เน้นสภาพชุมชนทั่วไปในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา)
– Collection (ดูความหลากหลายของทรัพยากรสารสนเทศ, การจำแนกชั้นหนังสือ, การเลือกชั้นหนังสือ)
– Seating Capacity (ความจุของที่นั่งที่จะรองรับผู้ใช้บริการของห้องสมุด)
– Library as a place
– Physical Problem in the building (สภาพทางกายภาพของห้องสมุด เช่น แสง อากาศ ฯลฯ)
– Site (สถานที่ตั้งของห้องสมุด การจราจร ที่จอดรถ ฯลฯ)
– Standard or guidelines (มาตรฐานในการจัดห้องสมุด)

เรื่องสำคัญเกี่ยวกับ Building team คือ พยายามอย่าให้เกิดความขัดแย้งกันภายใน
หากเกิดความขัดแย้งสามารถแก้ไขได้หลายวิธี เช่น การเห็นอกเห็นใจกัน, การหาคนกลางมาไกล่เกลี่ย, หัวหน้าตัดสินชี้ขาด
จะเลือกวิธีไหนก็ได้แล้วแต่สถานการณ์ว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด

ห้องสมุดที่เราต้องการสร้างเราต้องคิดเผื่ออะไรบ้าง
– forecasting collection growth จำนวนทรัพยากรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
– forecasting seating requirement พยากรณ์จำนวนที่นั่งที่สามารถจุได้
– forecasting technology growth อัตราการเพิ่มเทคโนโลยีในห้องสมุด
– forecasting staff need ควมต้องการของคนที่ทำงาน
– forecasting new programs (ในที่นี้ program หมายถึง การบริการแบบใหม่ๆ)
– forecasting discontinuing program

นอกจากนี้ในบทนี้ยังมีการสอนเทคนิคการเลือกที่ปรึกษาของโครงการ
และคุณสมบัติทั่วไปของสถาปนิกในการสร้างอาคารห้องสมุด

บทที่ 1 สาระสำคัญทั่วไปยังเป็นเพียงแค่สิ่งที่เราต้องรู้ก่อนการออกแบบวางแผนเท่านั้น
เอาไว้ตอนต่อไปผมจะนำมาสรุปให้อ่านอีกเรื่อยๆนะครับ วันนี้ขอตัวก่อนนะคร้าบ?

ขอแนะนำสำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ผมขอแนะนำ google book search นะครับ เพราะเขาสแกนไว้ให้เราอ่านประมาณ 300 หน้า
ลองไปอ่านที่ http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result

สไลด์ที่น่าสนใจเรื่อง Open Systems ในห้องสมุด

นานมากแล้วที่ผมไม่ได้อัพเดทในส่วนของเรื่อง OSS4Lib
วันนี้ขอแก้ตัวด้วยการอัพเดทเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง open open ในห้องสมุดหน่อยแล้วกัน

opensystem

วันนี้ผมเจอสไลด์ที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ Open Systems ในห้องสมุด
ซึ่งเจ้าของสไลด์ชุดนี้ คือ Stephen Abram ซึ่งเป็นเจ้าของบล็อก Stephen?s Lighthouse.

บล็อกเกอร์ท่านนี้เป็น Vice President of Innovation ของ SirsiDynix
(SirsiDynix ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ยิ่งใหญ่อีกหนึ่งระบบ)

ในสไลด์ชุดนี้ได้แนะนำเรื่อง Open Systems ในห้องสมุดได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะเรื่องของ Cloud Computing ตั้งแต่ความหมายไปจนถึงแหล่งที่รวบรวม API ต่างๆ
แง่คิดในเรื่องของประสบการณ์และมุมมองแบบเดิมๆ จะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน
เพื่อให้ระบบต่างๆ ในห้องสมุดผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างเต็มที่

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปอ่านดูนะครับ สไลด์ชุดนี้มีทั้งหมด 104 หน้า
ซึ่งสาระความรู้มีเพียบแน่นอน ถ้าเพื่อนๆ สนใจสไลด์ชุดนี้ก็สามารถ download ได้ที่
http://www.sirsidynix.com/Resources/Pdfs/Company/Abram/20091023_OnlineUK.pdf

LibCamp#3 : Library and Social Enterprise

ผู้บรรยายคนต่อมา คือ คุณไกลก้อง ไวทยการ จากแผนงานไอซีที สสส.
มาบรรยายในเรื่องการปรับเปลี่ยนบทบาทของห้องสมุดให้เข้ากับแนวทาง Social Enterprise

librarysocialenter

ก่อนที่คุณไกลก้องจะเริ่มบรรยาย ผมก็ได้เกริ่นถึงเรื่อง
“การสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรจากภายนอกกับองค์กรด้านห้องสมุด”
ว่าทำไมห้องสมุดอย่างเราจึงต้องสร้างความร่วมมือร่วมกัน หรือทำไมต้องร่วมกับองค์กรอื่นๆ
ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็ไม่พ้นเรื่องของความช่วยเหลือในด้านงบประมาณหรือการพัฒนาต่างๆ นั่นเอง

ซึ่งเมื่อเราสร้างเครือข่ายไปแล้ว เราจะได้อะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น
– การช่วยเหลือด้านงบประมาณในการพัฒนาห้องสมุด
– บุคลากรด้านเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาระบบห้องสมุด
– หนังสืออภินันทนาการ ฐานข้อมูล และเนื้อหาที่ดีสำหรับห้องสมุด
– นักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มีค่ายพัฒนาห้องสมุด

เหล่านี้ก็เป็นเพียงตัวเย่างความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายของห้องสมุดกับหน่วยงานต่างๆ

จากนั้นคุณไกลก้องก็อธิบายถึงคำว่า Social Enterprise ว่า
Social Enterprise หรือ องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม คือโมเดลทางธุรกิจที่ตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
ลักษณะขององค์กรประเภทนี้คือการทำเพื่อแสวงหากำไร (เงิน)
แต่สิ่งสำคัญขององค์กรประเภทนี้คือเงินเหล่านี้จะนำไปใช้เพื่อประโยชน์และตอบแทนสังคมต่อไป

“กำไรไม่ใช่เป้าหมายหลักขององค์กร แต่องค์กรก็ต้องอยู่ได้ด้วยผลตอบแทนเหล่านี้ด้วย”

ห้องสมุดก็สามารถที่จะทำให้กลายเป็น องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม ได้นะครับ
หากเรามองในแง่ของห้องสมุดในเมืองต่างๆ (อำเภอเมือง ของจังหวัดต่างๆ)
เราจะเห็นบทบาทของห้องสมุดในฐานะ ที่อ่านหนังสือ ที่ทำรายงาน ที่ทำงาน ฯลฯ

ถ้าสมมุติว่าเราเติมฟังค์ชั่นลงไปในห้องสมุดเหล่านี้หล่ะ
เช่น เอาโครงการ Digital Library ไปให้ห้องสมุดเหล่านี้ดำเนินการ จะเกิดอะไรขึ้น
– ห้องสมุดก็จะกลายเป็นศูนย์สแกนเอกสาร
– ห้องสมุดเป็นผู้นำเข้าข้อมูลให้โครงการ Digital Library
– ห้องสมุดเป็นแหล่งที่ใช้ในการเรียนการสอนได้ (สามารถมาฝึกงานได้ในห้องสมุด)
– สร้างอาชีพให้คนในสังคม (จ้างคนมาดำเนินการ)
– ห้องสมุดจะกลายเป็นศูนย์ telecenter (ศูนย์กลางของชุมชนและเชื่อมไปหาหน่วยงานอื่นๆ)

จะเห็นว่าห้องสมุดก็จะมีผลตอบแทนที่เข้ามาที่ห้องสมุดก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งนั่นไม่ได้เป็นปัจจัยหรอกครับ
เพราะเงินหรือผลตอบแทนเหล่านั้นก็จะกลับมาพัฒนาห้องสมุดเพื่อสังคมต่อไปได้อีกนั่นเอง

หลักขององค์กรธุรกิจเพื่อสังคมที่น่าสนใจ เช่น
– ธุรกิจต้องแก้ไขปัญหาทางสังคม
– ธุรกิจต้องยั่งยืน
– ลงทุนเท่าไหร่ก็ได้คืนเท่านั้น
– ตระหนักในสิ่งแวดล้อม
– ต้องมีใจรักในการทำ

ประเด็นสุดท้ายที่คุณไกลก้องได้พูดถึงคือ แนวทางสำหรับห้องสมุดที่จะเปลี่ยนตัวเองเป็นองค์กรธุรกิจเพื่อสังคม มีขั้นตอนดังนี้
1. ห้องสมุดต้องเริ่มจากการเขียนโครงการ (หาโครงการที่น่าสนใจและทำเพื่อชุมชนมาลองเขียนดู)
2. ห้องสมุดต้องหาผู้ลงทุน เช่น ติดต่อกับองค์กรส่วนท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนเรื่องงบประมาณ
3. ห้องสมุดต้องมีผู้ให้คำปรึกษาเนื่องจากโครงการที่ทำห้องสมุดอาจจะไม่ได้เข้าใจทุกส่วน
4. สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ และเข้าร่วมกับเครือข่ายเพื่อดำเนินงาน
5. ต่อยอดแนวคิดและพัฒนาโครงการอยู่เรื่อยๆ

เป็นไงกันบ้างครับน่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
การเปลี่ยนตัวเองจากองค์กรที่คอยรับอย่างเดียว เป็นองค์กรที่รุกแบบนี้ผมว่าน่าสนุกมากๆ เลยใช่มั้ยครับ

LibCamp#3 : กรณีศึกษาการทำกิจกรรมของนักศึกษาเอกบรรณ

ผู้บรรยายต่อมา คือ น้องอะตอม เจ้าของบล็อก http://atomdekzaa.exteen.com
และยังเป็นตัวแทนของนิสิตเอกบรรณารักษ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มาถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำกิจกรรมของเด็กๆ เอกบรรณฯ

atomlibcamp3

กิจกรรมที่น้องอะตอมได้นำมาเล่าให้พวกเราฟัง มีอยู่ด้วยกัน 2 กิจกรรมใหญ่ๆ นั่นคือ
1. ค่ายสอนน้อง
2. ค่าพัฒนาห้องสมุด

โดยหลักๆ อย่างค่ายสอนน้อง ในมหาลัยก็จะมีการตั้งกลุ่มกัน โดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มค่ายแสงเทียน”
ซึ่ง “กลุ่มค่ายแสงเทียน” เป็นกลุ่มที่รวบรวมนักศึกษาจากคณะต่างๆ มารวมกันทำกิจกรรม ซึ่งนับว่าน่าสนใจมาก
ซึ่งโดยหลักการก็เพียงแค่ให้โรงเรียนประชาสัมพันธ์เรื่องการติวให้ ส่วนเรื่องเงินสนับสนุนจะเน้นจากองค์กรส่วนท้องถิ่น

ในแง่ของค่ายพัฒนาห้องสมุด จะเกิดจากความร่วมมือระหว่างเอกบรรณฯ และเด็กวิศวกรรม
โดยแบ่งหน้าที่กันชัดเจน คือ บรรณารักษ์จะให้ข้อมูลต่างๆ ด้านการทำงาน ส่วนวิศวกรรมก็เขียนโปรแกรม
ซึ่งนับว่าได้พัฒนาฐานข้อมูลให้พร้อมใช้งานได้ทันที

นอกจากกิจกรรมที่น้องอะตอมทำร่วมกับมหาวิทยาลัยแล้ว
น้องอะตอมได้เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานเป็นอาสาสมัครบรรณารักษ์ให้กับห้องสมุด บ้านเซเวียร์
ซึ่งตอนนี้น้องอะตอมได้ทำงานที่นี่ในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ครับ
โดยทำงานตั้งแต่เอาหนังสือออกมาปัดฝุ่น ทำความสะอาด และจัดขึ้นชั้น
ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้สอบถามถึงงานที่ทำและเสนอไอเดียต่างๆ เพื่อความช่วยเหลือมากมาย

น้องอะตอมให้ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กเอกบรรณรุ่นปัจจุบันว่า
ส่วนใหญ่เด็กเอกบรรณรุ่นนี้จะเน้นและชอบเรียนด้านไอทีมากกว่าด้านเทคนิค
แต่น้องอะตอมชอบเรียนด้านการให้หัวเรื่องและการทำดัชนีของหนังสือมากกว่าไอทีครับ
ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดแง่มุมแปลกๆ ให้ผู้เข้าฟังรู้สึกประหลาดใจและชื่นชมในเรื่องของอุดมการณ์มากๆ

ก่อนจบการบรรยายในช่วงนี้ น้องอะตอมได้ฝากประโยคทิ้งท้ายให้เป็นแง่คิดต่อไปว่า
“เราต้องจัดเวลาเรียน และเวลากิจกรรมให้ได้ แต่อย่าไปทุ่มอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป”

บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ไม่น่าเบื่อ

วันนี้นั่งดู Youtube เรื่อยๆ แล้วเจอคลิปวีดีโอนึงน่าสนใจมาก
และแน่นอนครับต้องเป็นคลิปวีดีโอที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

จากคลิปวีดีโอ Work @ your library - Nebraska Library Commission PSA
จากคลิปวีดีโอ Work @ your library - Nebraska Library Commission PSA

เพื่อนๆ นอกวงการของผมก็ชอบถามเสมอว่า
“อาชีพบรรณารักษ์ไม่เห็นจะมีอะไรเลย น่าเบื่อจะตาย”

ซึ่งผมก็ตอบปฏิเสธเพื่อนๆ ทุกครั้งว่า จะน่าเบื่อหรือไม่น่าเบื่อจริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับคนที่ทำงานต่างหาก
ไม่ว่าจะอาชีพไหน ถ้าคนที่ประกอบอาชีพทำให้น่าเบื่อ อาชีพนั้นๆ มันก็จะน่าเบื่อ

เอาเป็นว่าไปดูคลิปวีดีโอนี้กันก่อนนะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=8ZvHUE6qfP8[/youtube]

อาชีพบรรณารักษ์หลายคนอาจจะมองว่าเป็นอาชีพที่อยู่ในห้องสมุดซึ่งมีหนังสือกองเต็มโต๊ะ
วันๆ ก็ต้องนั่งจัดหนังสือ ให้บริการยืมคืน เปิดปิดห้องสมุด วันๆ ก็มีแค่นี้
ซึ่งคนที่ไม่เคยทำงานด้านนี้ก็คงไม่รู้จริงๆ หรอกว่าเราทำอะไรเยอะแยะ

เรื่องที่ห้องสมุดทำมีเรื่องที่สนุกสนานและน่าสนใจมากมาย
เช่น สอนผู้ใช้ค้นหาข้อมูล จัดกิจกรรมให้เด็กๆ เปิดหนังทุกวันเสาร์อาทิตย์ ฯลฯ

ก่อนจบคลิปวีดีโอมีประโยคโฆษณาให้คนทำงานอาชีพบรรณารักษ์ว่า

“Thousands of people work in Nebraska libraries”
“You You You You You You”
“You could be one of them”

เอาเป็นว่าสรุป คือ คลิปวีดีโอนี้คือ คลิปวีดีโอประกาศรับสมัครงานครับ
แต่สาระที่ผมนำมาสื่อให้เพื่อนๆ ดู คือ อาชีพบรรณารักษ์มันไม่น่าเบื่อนะครับ

ดูอย่างบรรณารักษ์ที่เป็นตัวนำของโฆษณานี้นะครับ
มีอะไรให้ทำมากมายในแต่ละวัน แล้วดูใบหน้าของเธอสิครับ
เธอยิ้มแย้ม และให้ความช่วยเหลือทุกๆ คนในห้องสมุดอย่างเต็มใจ

คลิปวีดีโอนี้ผมก็หวังว่าจะเป็นแรงใจให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจถึงงานที่เราทำอยู่
และอยากให้เพื่อนๆ มีความสุขกับงานของตัวเองเหมือนบรรณารักษ์ที่อยู่ในคลิปนี้นะครับ

LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 7

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 7
ออกในเดือนพฤศจิกายน 2552

3

แม้ว่านิตยสารฉบับนี้จะออกล่าช้ากว่ากำหนด แต่พวกเราก็ยังคงติดตามนิตยสารออนไลน์เล่มนี้อยู่เรื่อยๆ นะครับ
และการปรับปรุงหน้าตาของเว็บไซต์ใหม่ ซึ่งออกมาในรูปแบบของบล็อกอย่างเต็มตัวนั่นเอง

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ไปดูสาระความรู้และเรื่องเล่าจากนิตยสารเล่มนี้กันนะครับ

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก บทสัมภาษณ์ – E-Library โดย รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ

พาเที่ยว – นำชม Research Square : พื้นที่นั่งอ่านเพื่อการค้นคว้าวิจัย

พาเที่ยว – ห้องสมุดฟิชเชอร์ มหาวิทยาลัยซิดนีย์

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – โลกในกลุ่มเมฆ มองโลกออกจากตัว เปิดออกสู่โลกกว้าง

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – ฐานข้อมูล SCOPUS กับงานวิจัย

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – หนังสือการ์ตูนมีประโยชน์มากกว่าที่คิด

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – จำเลยรัก ปะทะ คู่กรรม !

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – Some thoughts on electronic versus print resources with particular reference to electronic books

สาระน่ารู้ – รัฐสภาประจำรัฐวิสคอนซิน? (Wisconsin State Capital)

สาระน่ารู้ – 43 สิ่งที่คุณกำลังคิดอยากทำ… โดย วันพุธ

เป็นยังไงกันบ้างครับเนื้อหาดีๆ และน่าสนใจมากมาย ยังไงก็ลองอ่านกันดูนะครับ

เอาเป็นว่าผมก็ยังคงเป็นกำลังใจให้ผู้จัดทำนิตยสารออนไลน์อยู่เรื่อยๆ นะครับ
และหวังว่านิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้จะยังคงมีสาระและไอเดียดีๆ ให้เพื่อนๆ ได้คิดเล่น
และพัฒนาวงการวิชาชีพบรรณารักษ์ร่วมกันต่อไปนะครับ

เทศกาลคริสต์มาสกับชาวห้องสมุด

สวัสดีเดือนสุดท้ายของปีนะครับ (ธันวาคม) เดือนนี้มีวันหยุดเยอะมากๆ หลายคนคงชอบใจ
และวันหยุดหนึ่งที่เป็นที่คึกคักของทุกคนนั่นก็คือ “เทศกาลวันคริสต์มาส” ครับ
วันนี้ผมเลยขอนำรูปต้นคริสต์มาสจากห้องสมุดต่างๆ ในต่างประเทศมาให้ดูกันนะครับ

christmastree

การจัดต้นคริสต์มาสในห้องสมุดนับว่าเป็นอีกสีสันหนึ่งที่สามารถทำได้ในห้องสมุด
ในต่างประเทศนิยมการจัดต้นคริสต์มาสแบบสร้างสรรค์และแปลกๆ มากมาย

บางต้นเห็นแล้วก็ต้องตกตะลึงว่าคิดได้ไง บางต้นออกมาก็ดูเรียบๆ แต่มีสไตล์

เอาเป็นว่าเราเริ่มไปดูต้นคริสต์มาสของห้องสมุดแต่ละที่กันดีกว่า
(บางที่ไม่ใช่ห้องสมุดโดยตรง แต่ไอเดียมันใกล้ๆ ห้องสมุด ผมก็ขอยกมานะครับ)

เริ่มต้นด้วยต้นคริสต์มาสที่เรียงจากหนังสือกันดีกว่า (ภาพจาก boingboing.net)

booktree1-196x300

ต้นนี้หลายคนคงเห็นเยอะแล้ว ลักษณะการเรียงหนังสือแบบนี้
(ภาพจาก University of Aalborg Library)

booktree2-224x300

ต่อมาเป็นไอเดียเก๋ๆ ต้นคริสต์มาสจากถ้วยกาแฟ (แบบว่าห้องสมุดคิดหรือนี่)
(ภาพจาก Education Centre Library)

booktree3-225x300

แบบต่อไปเก๋ไก๋มากครับ หนังสือเรียงกันเป็นชั้นๆ แล้วตามด้วยสายรุ้ง
(ภาพจาก Carnegie Library of Homestead)

booktree4-225x300

ภาพสุดท้ายอันนี้อลังการงานสร้างมากๆ แต่อยู่ในโรงพยาบาลครับ
(ภาพจาก New Books for Patients of Blank Children?s Hospital)

booktree5-200x300

เป็นไงกันบ้างครับได้ไอเดียจุดประกายเรื่องต้นคริสต์มาสในห้องสมุดหรือยังครับ
ไว้ถ้ามีโอกาสผมจะเข้ามาเพิ่มรูปอีกเรื่อยๆ เลยนะครับ

ปล. ช่วงนี้ใกล้วันพ่อแล้ว ห้องสมุดคงต้องจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติวันห่อก่อนนะครับ
แล้วหลังงานนี้เราค่อยมาจัดต้นคริสต์มาสแข่งกันนะครับ