ปลุกใจบรรณารักษ์ให้ฮึกเฮิมในการทำงาน

รูปที่ท่านกำลังจะได้ชมต่อจากนี้ เป็นภาพของหุ่นบรรณารักษ์ที่ยืนเรียงกันเป็นแถว
โดยหุ่นบรรณารักษ์เหล่านี้ผมขอเปรียบเทียบให้เหมือนการตั้งแถวของทหารก็แล้วกัน

librarian-army

ซึ่งจากภาพเราคงจะเห็นการแสดงความยิ่งใหญ่ของเหล่ากองทัพบรรณารักษ์แล้วนะครับ
“เอาพวกเราเข้าแถว เตรียมตัวออกไปให้บริการกัน พร้อมแล้วใช่มั้ย เอ๊าบุกกกกก!!!!!!…..”

ยิ่งดูก็ยิ่งหึกเหิมในการให้บริการใช่มั้ยหล่ะครับ
ถ้ายังไม่หึกเหิมแนะนำว่าให้ลองไปสูดกลิ่นไอของความเป็นห้องสมุดได้ที่ชั้นหนังสือเดี๋ยวนี้

สังเกตุดูนะครับว่าบรรณารักษ์อย่างพวกเราไม่ใช้ความรุนแรงเหมือนใคร
อาวุธที่พวกเรามี คือ หนังสือ (อาวุธทางปัญญา)

ใครก็ตามที่เข้ามาที่ห้องสมุดพวกเราสัญญาครับว่าจะให้อาวุธทางปัญญากับคนๆ นั้น อิอิ สู้ๆ ครับ

อ้างอิงรูปจาก http://www.flickr.com/photos/laurak/104736630/

ขอแทรกเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ก่อนจบนะครับ

คำว่า “bibliotecaria” ที่อยู่ที่ฐานของหุ่นบรรณารักษ์ แปลว่าอะไร

คำว่า? “bibliotecaria” เป็นคำ Noun เอกพจน์เพศหญิง “bibliotecaria” ถ้าพหูพจน์ ใช้ “bibliotecarias”
“bibliotecaria” หมายถึง A female professional librarian. ถ้าเป็นเพศชายจะใช้ “bibliotecario”
ข้อมูลจาก http://en.wiktionary.org/wiki/bibliotecaria

ผลสำรวจจำนวนคำที่ใช้ในการสืบค้นบน search engine

เวลาที่เพื่อนๆ ต้องการสืบค้นข้อมูลหรือเว็บไซต์ใน google เพื่อนๆ มักจะสืบค้นด้วยคำ keyword ใช่มั้ยครับ
แล้วคำ keyword เหล่านั้น เพื่อนๆ ใช้กี่คำในแต่ละการสืบค้น 1 ครั้งละครับ คำเดียว สองคำ สามคำ หรือ…

keyword-website

วันนี้ผมเอาผลสำรวจเกี่ยวกับเรื่องการใช้คำ keyword เพื่อการสืบค้นข้อมูลมาให้เพื่อนๆ ดูครับ
ข้อมูลดังกล่าวสำรวจโดย OneStat และถูกนำเสนอในเรื่อง Most Searchers Have Two Words for Google

ซึ่งผมได้สรุปประเด็นสำคัญออกมาได้ดังนี้

– คนส่วนใหญ่ที่ใช้ google ในการสืบค้นข้อมูล พวกเขามักจะพิมพ์คำ Keyword จำนวน 2 คำในช่องสืบค้น
ซึ่งผลที่ออกมาคือ พวกเขาจะได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน ถูกต้อง และละเอียดขึ้น

– นอกจาก google ที่มีสถิติการใช้คำKeyword จำนวน 2 คำแล้ว search engine รายอื่นๆ ก็พบประเด็นในทำนองเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็น MSN, Yahoo ผู้ใช้ก็จะมีพฤติกรรมทำนองเดียวกัน คือ ใช้ Keyword จำนวน 2 คำ

– ผลสำรวจนี้อ้างอิงจากผู้ใช้จำนวน 2 ล้านคนใน 100 ประเทศ

ข้อมูลจากการสำรวจ : จำนวนคำสืบค้นที่ใส่ในช่องค้นหา / จำนวนเปอร์เซ็นต์ของคนในกลุ่มต่างๆ

ใช้ Keyword จำนวน 1 คำค้นในช่อง มีจำนวน 15.2 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 2 คำค้นในช่อง มีจำนวน 31.9 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 3 คำค้นในช่อง มีจำนวน 27 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 4 คำค้นในช่อง มีจำนวน 14.8 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 5 คำค้นในช่อง มีจำนวน 6.5 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 6 คำค้นในช่อง มีจำนวน 2.7 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 7 คำค้นในช่อง มีจำนวน 1.1 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 8 คำค้นในช่อง มีจำนวน 0.5 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 9 คำค้นในช่อง มีจำนวน 0.2 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 10 คำค้นในช่อง มีจำนวน 0.1 เปอร์เซ็นต์

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับผลสำรวจ
หากเรามาลองวิเคราะห์กันจริงๆ แล้ว ผมเห็นด้วยกับการใช้คำจำนวน 2-3 คำครับ
เพราะว่ามันจะทำให้เราได้ผลลัพธ์ได้ดีและตรงกับความต้องการมากขึ้น

หากเราใช้คำเดียวมันอาจจะได้ผลลัพธ์ที่กว้างและมากเกินไปจนทำให้เราต้องมานั่งกรองคำอีก
ซึ่งนั่นหมายความว่าจำนวนมากๆ ปัญหาที่ตามมาคือการตรวจสอบว่าใช่เรื่องที่ต้องการจริงหรือปล่าวครับ
และในทางกลับกันหากเราใช้คำค้นเยอะเกินไปมันก็อาจจะทำให้ระบบไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาได้

ทางที่ดีแล้วเราควรจะดูวัตถุประสงค์ของการค้นข้อมูลของเราด้วย เช่น หากเป็นศัพท์เฉพาะทางแล้วใช้คำน้อยๆ มันก็เจอครับ
แต่หากเป็นคำที่มีความหมายกว้างเราก็ควรใส่คำเงื่อนไขเพื่อกรองคำให้ตรงกับความต้องการ

ตัวอย่างเช่น

เราต้องการค้นคำว่า LPG คำๆ นี้มีความหมายแคบอยู่แล้ว ดังนั้นเราจะค้นโดยใส่คำแค่ไม่กี่คำก็พอแล้ว
แต่หากเราจะค้นคำว่า travel คำนี้มันกว้างไปดังนั้นเราควรเพิ่มเงื่อนไขอีกเช่น
travel in Thailand บางทีมันก็อาจจะกว้างอีกเราก็เพิ่มไปเรื่อยๆ ครับเช่น travel in north of thailand
อิอิ นั่นแหละครับคือการกรองให้ตรงกับความต้องการของเราให้ได้มากที่สุดครับ

ปล. อ๋อลืมบอกไปอย่างนึงว่าคำที่มาจากการสำรวจ คือ คำในภาษาอังกฤษนะครับ
ไม่ใช่คำในภาษาไทยเพราะไม่งั้นบางทีคำเดียวก็ยาวเป็นกิโลตามสไตล์คนไทย อิอิ

เล่าเรื่องเก่า “ห้องสมุดสุดหรรษา (Happy Library)”

หลายคนชอบคิดว่าเรื่องห้องสมุดมีแต่เรื่องที่เป็นสาระ หรือไม่ก็เครียดๆ นะ
วันนี้ผมขอจึงขอแนะนำห้องสมุดในมุมมองบันเทิงบ้างนะครับ

library-happy

เมื่อปีที่แล้ว จำกันได้มั้ยครับว่ามีละครโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับห้องสมุดด้วย
ชื่อเรื่องว่า “ห้องสมุดสุดหรรษา (Happy Library)” เอาเป็นว่าผมจะมาย้อนเรื่องราวของละครเรื่องนี้นะครับ

ชื่อเรื่อง : ห้องสมุดสุดหรรษา (Happy Library)
ออกอากาศ : วันเสาร์ เวลา 13.00 น. สถานีโทรทํศน์ช่อง 7
กำกับการแสดง : ปัญญา ชุมฤทธิ์

นักแสดงในเรื่อง

1. ภาณุ สุวรรณโณ แสดงเป็น โอ๊ค
2. ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ แสดงเป็น ฝุ่น
3. ศรุต วิจิตรานนท์ แสดงเป็น นัท
4. ภารดี อยู่ผาสุข แสดงเป็น นุ่น
5. อติมา ธนเสนีวัฒน์ แสดงเป็น แนนนี่
6. เกริก ชิลเลอร์ แสดงเป็น นิรันดร์
7. วิภาวี เจริญปุระ แสดงเป็น แม่ไฝ
8. ญาณี ตราโมท แสดงเป็น อาจารย์สมศักดิ์
9. ชลิต เฟื่องอารมย์ แสดงเป็น ลุงเกริก
10. เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ แสดงเป็น เจ้หงส์
11. ปัญญาพล เดชสงค์ แสดงเป็น เก๋ง
12. นเรศ วีเดนมันน์ แสดงเป็น มาร์ค
13. อัครพงศ์ วาทีมงคล แสดงเป็น จู้
14. ดารณีนุช โพธิปิติ แสดงเป็น คุณตุ๊ก

เนื้อเรื่องย่อ

ชีวิต สุดหรรษาของสาวน้อย ฝุ่น(แตงโม-ภัทรธิดา) ผู้กำพร้าพ่อตั้งแต่เด็ก เป็นคนที่มีความมุ่งมั่นและใฝ่ฝันที่จะเปิดร้านหนังสือ เพื่อให้คนไทยทุกคนได้อ่านหนังสือ ฝุ่นเป็นลูกสาวคนเดียวของแม่ไฝ(กุ้ง-วิภาวี) เจ้าแม่สำนักทรงเจ้า ฝุ่นไม่ชอบที่แม่ทำอาชีพนี้ทำให้ฝุ่นมีเรื่องทะเลาะกับแม่อยู่บ่อยๆ ฝุ่นพยายามทั้งเรียนละทำงานหนักเพื่อเก็บเงินเปิดร้านหนังสือ ฝุ่นมี นัท(บิ๊ก-ศรุต) เป็นชายหนุ่มรู้ใจ ฝุ่นเอาเงินเก็บทั้งหมดไปเซ้งร้านต่อจากเฮียเม้ง โดยไม่รู้ว่าร้านเฮียเม้งเป็นหนี้อยู่ท่วมหัว ในที่สุดฝุ่นก็ได้เปิดร้านหนังสือ บุ๊คการ์เด้น โดยมี จู้(อัครพงศ์) เป็นสมุนช่วยงานที่ร้าน ฝุ่นมีคู่ปรับคนสำคัญคือ โอ๊ค(อู-ภาณุ) ซึ่งมักดูถูกฝุ่นว่าไม่สามารถพัฒนาร้านหนังสือให้เจริญได้ ฝุ่นเปิดร้านได้อาทิตย์เดียวหนี้สินที่ค้างชำระก็ทำให้ฝุ่นปวดหัว ฝุ่นเปิดร้านได้สามวันมีลูกค้าหนึ่งคน ฝุ่นไปกู้เงินนายเก๋ง(เอ-ปัญญาพล) ดอกโหดแต่สถานการณ์ไม่ดีขึ้น สุดท้ายฝุ่นจึงตัดสินใจละทิ้งความคิดเดิมๆ เธอเปลี่ยนร้านหนังสือที่กำลังจะเจ๊ง ให้เป็นห้องสมุดชุมชนแทน

เรื่อง ราววุ่นๆของห้องสมุดสุดหรรษาจึงเริ่มขึ้น เมื่อเก๋งเจ้าพ่อเงินกู้ตกหลุมรักฝุ่น นิรันดร์(เกริก ชิลเลอร์) เจ้าของร้านกาแฟก็มาเสนอเปิดมุมกาแฟ ตามด้วยคุณตุ๊ก(ท๊อป-ดารณีนุช) ที่เข้ามาเสนอขายของมากมาย ต่อด้วยลุงเกริก(ตุ่ม-ชลิต) ที่เข้ามาเปิดโต๊ะดูดวง ส่วนนัทกับนุ่น(เปิ้ล-ภารดี) สองพี่น้องก็เสนอให้มีมุมอินเตอร์เนท ด้วยเหตุนี้เองทำให้ฝุ่นมีศัตรูคนสำคัญ คือเจ้หงส์(จิ๊ก-เนาวรัตน์) และสุดท้ายคนที่ทำให้หัวใจของฝุ่นหวั่นไหวกลับเป็น มาร์ค(มาร์คุซ) พิธีกรหนุ่มรูปหล่อเพื่อนสมัยเรียน ปัญหาเรื่องห้องสมุด และปัญหาเรื่องหัวใจ ทำให้ฝุ่นต้องพยายามหาทางออก

เนื้อเรื่องย่อ ในแต่ละตอน สามารถหาอ่านได้ที่

http://www.ch7.com/Entertain/Drama_Story.aspx?ContentID=1061
http://www.numwan.com/drama/view.asp?GID=240

ฟังเพลงและเนื้อเพลงประกอบละคร ห้องสมุดสุดหรรษา

เพลง เพียงแค่ใจเรารักกัน โดย ป๊อบ (Calories Blah Blah)
http://www.ijigg.com/songs/V2CF0ED0PB0

เพลงใจหายไปเลย โดย KAL แคล คาโรลีน
http://www.ijigg.com/songs/V2C77DDBPA0

เป็นยังไงกันบ้างครับกับบทละครที่เกี่ยวกับห้องสมุดเรื่องนี้
เอาเป็นว่าถ้าใครยังไม่ได้ดูก็ลองหาดูได้จาก youtube นะครับ

โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย

อย่างที่เมื่อวานผมได้กล่าวถึงงานสัมมนา ?มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้?
ผมได้มีโอกาสฟังการบรรยายอีกช่วงนึงที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ “โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย”
ผมก็จะสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านเช่นเคยครับ

dlibthai

วิทยากรในช่วงนี้ คือ “คุณชิตพงษ์? กิตตินราดรผู้จัดการโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย

คำถามแรกที่ทุกคนสงสัยคือ ทำไม สสส. ถึงทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย
คำอธิบายจากท่านวิทยากรก็ทำให้เรากระจ่าง คือ สสส. เน้นการสร้างสุขภาวะซึ่งมีหลายด้านด้วยกัน
โดยห้องสมุด ถือว่าเป็นการสร้างสุขภาวะทางปัญญานั่งเองครับ

หลักการคร่าวๆ ของโครงการนี้เกิดจากความคิดที่ว่า
หน่วยงานที่มีข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลหลายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
ดังนั้นโครงการนี้จะเป็นตัวกลางที่จะช่วยประสานและแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้

วิทยากรได้กล่าวถึง “สื่อกำหนดอนาคตของสังคม” เนื่องจากสื่อสามารถสร้างกรอบแนวคิดให้สังคม
บางประเทศถึงขั้นต้องปิดกั้นสื่อ เนื่องจากไม่ต้องการให้ประชาชนได้รับกรอบแนวคิดต่างๆ

สำหรับประเทศไทยมีการสำรวจและพบว่าในวันหยุด เด็กๆ จะใช้เวลากลับการดูทีวีถึง 14 ชั่วโมง
ลองคิดดูสิครับว่า เด็กเหล่านี้จะได้รับอะไรไปเป็นแนวคิดของพวกเขาบ้าง

“สื่อดิจิทัลกำลังกลายเป็นสื่อหลัก” เนื่องจากสื่อดิจิทัลเข้าถึงได้ง่ายมาก
จากการสำรวจคนไทยพบว่า คนไทยอ่านข้อมูลบนเน็ตมากกว่าอ่านหนังสือ
(ใช้เวลาในการอ่านหนังสือ = 39 นาที แต่ใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ต 107 นาที)

จากการสำรวจของ NECTEC ก็แสดงถึงการเรียนรู้บนอินเทอร์เน็ต
เมื่อปี 51 มีการสอบถามถึงวัตถุประสงค์ของการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ใช้เพื่อการเรียนรู้ 0.1%
แต่ด้วยคำถามเดียวกัน ในปี 52 พบว่า ใช้เพื่อการเรียนรู้ 8%

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่น่าสนใจ
– World Digital Library = http://www.wdl.org/en/

wdl

– The National Archives = http://www.nationalarchives.gov.uk/

na

– Issuu = http://issuu.com/

issuu

– MIT OpenCourseWare = http://ocw.mit.edu/OcwWeb/web/home/home/index.htm

mit

– Google Book = http://books.google.com

google

แต่อุปสรรคของการเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตก็มีนะครับ เช่น
– ความน่าเชื่อถือ? (ไม่รู้จะอ้างอิงใคร)
– ความครบถ้วนของเนื้อหา (ข้อมูลบางครั้งก็มีไม่ครบถ้วน)
– การจัดระบบ (ไม่มีระบบที่จัดการข้อมูลที่ดี)

แต่อุปสรรคต่างๆ เหล่านี้มีทางแก้ นั่นก็คือการจัดการห้องสมุดดิจิทัลไงครับ
ข้อมูลอ้างอิงได้ชัดเจน เนื้อหาก็ครบถ้วน รวมถึงให้คนเป็นผู้จัดระบบย่อมดีกว่าให้คอมพิวเตอร์คิด

โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิตอลประเทศไทย สนับสนุนในเรื่องใดบ้าง
– การผลิต (แปลงสื่อเก่าเป็นสื่อใหม่ + ทำสื่อใหม่ให้ได้มาตรฐาน)
– การเผยแพร่ (ให้บริการบนเว็บ + ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกัน)
– การเข้าถึง (เข้าถึงได้จากจุดเดียว + ค้นหาง่ายขึ้น)

dlib-th

เพื่อตอบสนองคนทุกกลุ่มเป้าหมาย เช่น
– ผู้พิการ = เข้าถึงข้อมูล
– นักเรียนนักศึกษา = ศึกษาเรียนรู้
– คนทั่วไป = สนับสนุนข้อมูลในชีวิตประจำวัน
– นักวิจัย = วิจัยพัฒนา

แผนงานของโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิตอลประเทศไทยยาว 3 ปี (2010-2012) โดยแบ่งเป็น 3 เฟส คือ
1. จัดทำต้นแบบ (http://www.dlib.in.th) = 20,000 ชิ้น
2. สร้างมาตรฐานและบริการสาธารณะ = 200,000 ชิ้น
3. จัดตั้งองค์กร

ประโยคสรุปสุดท้ายของท่านวิทยากร ผมชอบมากๆ เลยครับ
Keyword = โอกาส + กำหนดทิศทางสังคม + สื่อใหม่

เอาเป็นว่างานนี้ผมได้ความรู้มากมายเลยครับ และได้มีโอกาสรู้จักโครงการดีๆ เพียบเลย
ขอบคุณผู้จัดงานทุกคนครับ ทั้ง มธ. สวทช. สสส. ศวท.

มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้

วันนี้ผมก็มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนา “มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้
และได้ฟัง ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงศ์ บรรยายในเรื่อง “ความสำคัญของมาตรฐานสื่อดิจิทัล”
ผมจึงขอสรุปเนื้อหามาให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมได้อ่านและเติมความรู้นะครับ

standard-for-digital-media

ปล.ผมขออนุญาตเรียกท่านวิทยากรว่า อาจารย์ นะครับ

หัวข้อแรกที่อาจารยืได้พูดถึง คือ เรื่อง “นิยามและวิวัฒนาการสังคมสารสนเทศ”
ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายความหมายของคำว่า “สังคมความรู้” ให้พวกเราฟัง

“สังคมความรู้” คือ “สังคมที่ทุกคนช่วยกันสร้าง แบ่งปัน และใช้ความรู้ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี”

ไม่ว่าสังคมของเราจะเป็นเกษตร อุตสาหกรรม หรือ บริการ ถ้าเราเอาความรู้ไปใช้
มันก็อาจจะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการของเราได้ด้วย

เรื่องต่อมาที่อาจารย์ได้บรรยาย คือ เรื่องของวิวัฒนาการของสื่อ
โดยยกตัวอย่างภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคการเขียนหนังสือ และยุคการพิมพ์

สิ่งที่เราเห็นถึงความก้าวหน้าของสื่อ เช่น
กระดาษ -> หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ -> เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

Example : LG Display unveils newspaper-size flexible e-paper
เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีความยืดหยุ่นคล้ายๆ กระดาษ และมีขนาดใหญ่เท่าหนังสือพิมพ์

จากนั้นอาจารย์ก็หยิบเอาตารางการสำรวจยอดการจำหน่ายหนังสือในสหรัฐอเมริกามาให้พวกเราดู
และชี้ให้เห็นว่ายอดการอ่านหนังสือพิมพ์ของคนในสหรัฐอเมริกาลดลง สาเหตุมาจากสื่อออนไลน์

จากนั้นอาจารย์ก็ยกข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตมาให้พวกเราดู (internetworldstats.com)
ประชากรบนโลกประมาณ 6,700 ล้านคน มีการใช้อินเทอร์เน็ต 1,700 ล้านคน

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น นี่เป็นเพียงการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสื่อดิจิทัล
แต่สิ่งที่ทำให้ต้องมีการมาพูดเรื่องมาตรฐานของสื่อดิจิทัลก็เนื่องมาจาก

ปัญหาของสื่อดิจิทัล เช่น font error, configuration, non format

ดังนั้นจากปัญหาต่างๆ จึงต้องมีการจัดการสื่อดิจิทัล เช่น
– การถ่ายทอดและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
– ต้องทำให้สามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง
– ต้องมีการกำหนดมาตรฐานและแนวทาง
– สร้างความไหลเวียนของข้อมูล

ซึ่งหากพูดถึงมาตรฐานของสื่อดิจิทัลแล้ว เรามีรูปแบบในการกำหนดมาตรฐานหลายอย่าง เช่น
– การจัดการโฟลเดอร์และแฟ้มเอกสาร
– การจัดการเอกสารงานพิมพ์
– การจัดการเอกสารบนเว็บไซต์
– การจัดการเอกสารในการนำเสนอ
– การจัดการไฟล์เสียง
– การจัดการไฟล์ภาพ
– การจัดการสื่อมัลติมีเดีย

หลังจากที่พูดในส่วนนี้เสร็จ อาจารย์ก็อธิบายถึงเรื่องที่เกี่ยวกับเอกสารอย่างคร่าวๆ เช่น
– รูปแบบและระบบรหัสตัวอักษรและสัญลักษณ์
– รูปแบบของเสียงและการบีบอัดข้อมูล
– รูปแบบของไฟล์ภาพและการอ่าน spec กล้อง digital
– รูปแบบของไฟล์วีดีโอ และ MPEG ชนิดต่างๆ

(ผมไม่ขอลงรายละเอียดนะครับ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก)

สรุปปิดท้ายอาจารย์ได้เน้นให้พวกเราทำความเข้าใจในเรื่องของการกำหนดมาตรฐาน
และให้ช่วยกันรณงค์การใช้ข้อมูลมาตรฐาน รวมถึงช่วยกันปรับปรุงและพัฒนาข้อกำหนดต่อไป

เอาเป็นว่าผมก็หวังว่าเพื่อนๆ คงจะเข้าใจถึงความสำคัญของงานมาตรฐานสื่อดิจิทัลกันเพิ่มมากขึ้นนะครับ

Happy Birthday กลุ่มบรรณารักษ์ในเมืองไทย (hi5)

เนื่องในวันนี้เป็นวันเกิดของกลุ่มบรรณารักษ์ในเมืองไทย (Librarian in Thailand) ใน Hi5.com
ผมในฐานะของเจ้าของกลุ่มก็ขออวยพรให้เพื่อนๆ ทุกคนพบแต่ความสุขและโชคดีในการทำงาน

librarian-in-thailand

หลังจากที่ผมเปิดกลุ่มนี้ใน hi5 (วันที่ 27 มกราคม 2551)
เพื่อนๆ หลายคนก็รู้จักผม (Libraryhub & Projectlib) จากกลุ่มๆ นี้
ทำให้บล็อกของผมมีสมาชิกเข้ามาเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ตลอดสองปีที่ผ่านมาในกลุ่ม Librarian in Thailand มีอะไรบ้าง
– สมาชิกจำนวน 654 คน
– กระทู้ที่ตั้งโดยกลุ่มบรรณารักษ์จำนวน 222 กระทู้

นับว่าป็นตัวเลขทางสถิติที่ดีมากๆ เลยครับ

ในกระทู้ของกลุ่มบรรณารักษ์ในเมืองไทย ผมได้ลองทำการสำรวจข้อมูลที่เพื่อนๆ เข้ามาถาม ก็พบว่า
– เข้ามาโพสข่าวรับสมัครงานบรรณารักษ์มากมาย
– เข้ามาประกาศหางานและติดตามการรับสมัครงาน
– เข้ามาหาเพื่อนๆ ที่ทำงานในวิชาชีพเดียวกัน
– ถามตอบปัญหาสำหรับคนที่อยากเรียนต่อด้านนี้

เอาเป็นว่าไม่ว่าเพื่อนๆ จะเข้ามาเพื่อจุดประสงค์ใด
ผมก็ขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ทำให้กลุ่มนี้มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา

หลังจากนี้ผมจะพยายามเติมความเข้มข้นด้านเนื้อหาวิชาชีพลงในกลุ่ม hi5.com ด้วยนะครับ
เพื่อให้เพื่อนๆ ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพในตัวเอง

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่ติดตามกลุ่มเครือข่ายบรรณารักษ์เมืองไทยมาโดยตลอดครับ

My Library in Google VS Librarything VS Shelfari VS Goodreads

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมามีงานอบรม “การจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ เพื่อสร้างห้องหนังสือส่วนตัว
ซึ่งผมเองก็อยู่ในฐานะของผู้บรรยายเช่นกัน วันนี้ผมจึงขอสรุปข้อมูลและนำสไลด์มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน
เรื่องที่ผมบรรยาย คือ เรื่อง “ชั้นหนังสือออนไลน์ ที่คุณก็สามารถสร้างได้”

bookshelf

ก่อนที่ผมจะสรุปข้อมูลการบรรยาย ผมอยากให้เพื่อนๆ ได้ชม slide ของผมกันก่อน

แนะนำชั้นหนังสือออนไลน์ต่างๆ ที่คุณสามารถเข้าร่วมได้

สไลด์ของผมดูได้ที่ http://www.slideshare.net/projectlib/ss-2980074

เรื่องที่ผมบรรยายเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้งานชั้นหนังสือออนไลน์ที่อยู่บนเว็บไซต์ต่างๆ
ซึ่งผมได้นำเว็บไซต์ชั้นหนังสือออนไลน์มา demo การใช้งานและเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อย

เว็บไซต์ชั้นหนังสือทั้ง 4 ที่ผมนำมาบรรยาย ประกอบด้วย
1. ห้องสมุดของฉัน @ Google book search – http://books.google.co.th
2. Librarything – http://www.librarything.com
3. Shelfari – http://www.shelfari.com
4. Goodreads – http://www.goodreads.com

แต่ละเว็บไซต์ก็มีข้อดีและข้อด้อยของมันเอาเป็นว่าผมขอสรุปให้อ่านคร่าวๆ ดังนี้

—————————————————————————————————

1. ห้องสมุดของฉัน @ Google book search http://books.google.co.th

ข้อดีของห้องสมุดของฉัน @ Google book search
– ค้นหาข้อมูลหนังสือได้ง่ายด้วย ISBN (Search by ISBN, OK)
– สืบค้นได้ค่อนข้างเร็ว (Fast for search)
– แสดงผลได้ทั้งแบบรายละเอียดและภาพปกหนังสือ (Detail List and Cover view)
– สามารถดูตัวอย่างเนื้อหาของหนังสือได้ (Example Chapter)
– เชื่อมโยงกับร้านจำหน่ายหนังสือต่างๆ เช่น ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ร้านซีเอ็ด ร้านนายอินทร์ ฯลฯ (Link to Library and bookstore)
– ส่งออกรายการหนังสือด้วยมาตรฐาน RSS (Export data to RSS)


ข้อด้อยของห้องสมุดของฉัน @ Google book search

– ต้องใช้ Account ของ Google เท่านั้น (Use Google Account)
– ดึงข้อมูลหนังสือได้ด้วย ISBN เพียงอย่างเดียว (Import your book by ISBN only)
– Import ข้อมูลหนังสือส่วนตัวเข้าไปในระบบไม่ได้ (people can’t import book to google)
– ไม่ค่อยมีใคร Review หนังสือ (No user review)

—————————————————————————————————

2. Librarything – http://www.librarything.com

ข้อดีของ Librarything
– สมัครสมาชิกง่ายมาก (Simple join up to member)
– มีระบบการจัดการข้อมูลส่วนตัวที่ดี (Good profile management system)
– ระบบแสดงผลสามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสม เช่น การโชว์ข้อมูล (Customize your page)
– ข้อมูลหนังสือละเอียด ครบถ้วน และรองรับมาตรฐานต่าง (Good book detail)
– ระบบชุมชนออนไลน์ + เครือข่ายนักอ่าน ค่อนข้างเข้มแข็งดี (good community and reader group)
– ข้อมูลถูกดึงมาจากหลายๆ ที่ (Many database sync)
– อุปกรณ์สำหรับตกแต่งบล็อกและเว็บไซต์ (Widget)

ข้อด้อยของ Librarything
– ฟรีแค่ 200 เล่ม ถ้าเกินต้องเสียเงิน
– การแสดงผลในหน้าข้อมูลส่วนตัว มีข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นเพียบ (Gen profile system)
– ไม่มีข้อมูลตัวอย่างให้ดู

—————————————————————————————————

3. Shelfari – http://www.shelfari.com

ข้อดีของ Shelfari
– Import หนังสือได้ไม่จำกัดจำนวน
– User Review และ Amazon Review แยกกันอย่างชัดเจน
– ข้อมูลหนังสือละเอียด ครบถ้วน และรองรับมาตรฐานต่าง (Good book detail)
– ระบบชุมชนออนไลน์ + เครือข่ายนักอ่าน ค่อนข้างเข้มแข็งดี (good community and reader group)
– อุปกรณ์สำหรับตกแต่งบล็อกและเว็บไซต์ (Widget)

ข้อด้อยของ Shelfari
– ต้องใช้โปรแกรม flash เพื่อการแสดงผล
– เชื่อมโยงการซื้อขายกับ Amazon เจ้าเดียว
– Import หนังสือเข้าระบบ ค่อนข้างซับซ้อน เมนูหายาก และต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ดูแลระบบ
– มีโฆษณาแทรกอยู่ด้านล่าง ซึ่งทำให้ดูขวางหูขวางตา

—————————————————————————————————

4. Goodreads – http://www.goodreads.com

ข้อดีของ Goodreads
– Import หนังสือได้ไม่จำกัดจำนวน
– ข้อมูลหนังสือละเอียด ครบถ้วน และรองรับมาตรฐานต่าง (Good book detail)
– การแสดงผลสวยงามและดูง่ายต่อการใช้งาน
– สมัครสมาชิกง่ายมากๆ (คล้ายๆ Librarything)
– เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ต่างๆ มากมาย เช่น ห้องสมุด ร้านหนังสือ
– จัดเก็บหนังสือ วีดีโอ รูปภาพ และ ebook ได้
– ระบบชุมชนออนไลน์ + เครือข่ายนักอ่าน ค่อนข้างเข้มแข็งดี (good community and reader group)
– คนไทยเล่นค่อนข้างเยอะ ทำให้มีหนังสือภาษาไทยเยอะ
– อุปกรณ์สำหรับตกแต่งบล็อกและเว็บไซต์ (Widget)

ข้อด้อยของ
Goodreads
– มีโฆษณาแทรกอยู่ด้านล่าง ซึ่งทำให้ดูขวางหูขวางตา

—————————————————————————————————

เอาเป็นว่าจากการที่ลองเล่นเว็บไซต์ทั้ง 4 แต่ละที่มีข้อดีและข้อด้อย
แต่สำหรับผมค่อนข้างลำเอียงให้คะแนน Goodreads เยอะกว่าที่อื่นๆ
เนื่องจากมีหนังสือภาษาไทยค่อนข้างเยอะ ไม่เชื่อเพื่อนๆ ลองเข้าไปดูที่
http://www.goodreads.com/shelf/show/thai

นอกจากที่ผมจะบรรยายเนื้อหาในสไลด์นี้แล้ว บังเอิญว่ามีเพื่อนๆ เรียกร้องให้ demo อีกเว็บไซต์นึง
นั่นก็คือ เว็บไซต์อ่านอะไร (http://www.arnarai.in.th/) ของ น้อง @thangman22

ซึ่งผมได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับจุดประสงค์ทั่วไปของเว็บไซต์นี้
และลองเล่นเว็บไซต์นี้ให้เพื่อนๆ ที่เข้าร่วมการอบรมได้ดู
ตั้งแต่สมัครสมาชิก เพิ่มรายการหนังสือ ใส่รูป และวิจารณ์หนังสือ

การอบรมในครั้งนี้ทางเครือข่ายจิตอาสาได้ถ่ายวีดีโอไว้ด้วย
เอาเป็นว่าหากวีดีโอตัดเสร็จเมื่อไหร่ผมจะขอนำมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกันนะครับ

Alexandria โปรแกรมฟรีที่ช่วยจัดการหนังสือในบ้านของคุณ

เมื่อวานนี้ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์
และมีโอกาสได้ฟังพี่เก่ง (@kengggg) และพี่อาท (@bact) บรรยายเรื่องโปรแกรม Alexandria
ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่น่าสนใจมาก ใช้เพื่อการจัดการหนังสือในบ้านได้เป็นอย่างดี (ห้องสมุดในบ้าน) อิอิ

alexandria

เลยขอนำเรื่องของเมื่อวานมาสรุป + เพิ่มเติมข้อมูลโปรแกรมนี้ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

โปรแกรม Alexandria เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับจัดการ collection หนังสือในบ้านของคุณให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสามารถค้นหาได้ง่าย นอกจากนี้ยังช่วยจัดการเรื่องการยืมหนังสือจากบุคคลอื่นๆ ที่ต้องการยืมหนังสือจากคุณอีกด้วย

โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ต้องติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบ GNOME
(โดยทั่วไปจะพบ GNOME ใน LINUX หากจะลงใน window ก็ทำได้แต่มีความซับซ้อนหน่อย)

โปรแกรมนี้ถูกพัฒนาบนพื้นฐานของ Ruby และเป็นโปรแกรมที่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้อีก
ซึ่งมีบางแห่งนำโปรแกรมนี้ไปพัฒนาให้เชื่อมกับเครื่องอ่านบาร์โค้ต รวมไปถึงการสแกนผ่าน webcam ด้วย

alexandria-barcode

หลักการคร่าวๆ ของโปรแกรมนี้ คือ
– เพิ่มหนังสือลงในระบบ (ดึงข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ หรือคีย์เองก็ได้)
– กรอกข้อมูลรายละเอียดของหนังสือ
– จัดกลุ่มหนังสือเป็น Collection ต่างๆ

เพียงแค่นี้เท่านั้นเองเราก็สามารถมีระบบห้องสมุดส่วนตัวที่บ้านได้แล้ว

คุณสมบัติของโปรแกรมนี้ เช่น
– โชว์ภาพปกหนังสือ
– ดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลใหญ่ๆ ได้
– ระบบที่รองรับการยืม (เป็นระบบที่ช่วยเตือนความจำ)
– ระบบจดบันทึกหรือโน้ตข้อความสำคัญของหนังสือได้
– มีระบบดึงคำสำคัญมาสร้างเป็นหมวดหมู่พิเศษได้ (Smart Librarian)

alexandria-book-add

แหล่งข้อมูลของหนังสือที่โปรแกรม สามารถไปดึงมาได้ เช่น
– Amazon
– Proxis
– AdLibris
– Livraria Siciliano
– DeaStore
– Spanish Ministry of Culture
– US Library of Congress
– British Library
– WorldCat

เสียดายที่ยังไม่มีแหล่งข้อมูลของเมืองไทยเลย
ถ้ามีโอกาสผมคงจะไปลองคุยกับสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ ดูให้ก็แล้วกันนะครับ
เพื่อที่ว่าเพื่อนๆ จะได้ไม่ต้องมาคีย์ข้อมูลเองทุกเล่ม


เรื่องมาตรฐานข้อมูลของดปรแกรมตัวนี้ไม่ต้องพูดถึงเลยครับ
แบบว่ารองรับเกือบทุกมาตรฐาน เช่น Z39.50, YAML, XHTML และอื่นๆ
ครับ

เอาเป็นว่าใครที่สนใจเพิ่มเติมก็ลองเข้าไปดูที่ http://alexandria.rubyforge.org

สำหรับคู่มือการติดตั้งและเอกสารแนะนำโปรแกรม พี่อาท (@bact)ได้จัดทำเป็นเอกสารไว้
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://opendream.co.th/blog/2010/01/24-jan-training-my-private-library-easy

ปล. รูปทั้งหมดจาก http://alexandria.rubyforge.org

กระทรวงการต่างประเทศรับสมัครบรรณารักษ์อยู่นะ

วันนี้มีงานตำแหน่งบรรณารักษ์มาให้เพื่อนๆ สมัครอีกแล้ว
ใครที่สนใจงานนี้ก็อ่านรายละเอียดได้จากด้านล่างนี้เลยนะ แถมด้วยใบสมัครเลย

mfa-library

รายละเอียดของงานคร่างๆ คือ ตำแหน่งบรรณารักษ์ (เป็นลูกจ้างนะ ไม่ได้เป็นประจำ)
รับทั้งหมด 4 ตำแหน่ง และเงินเดือนก็ 10,600 บาท
นะครับ

หน้าที่ของตำแหน่งนี้ก็คืองานต่างๆ ในห้องสมุด เช่น catalog บ้าง บริการผู้ใช้บ้าง
สรุปคือถ้ามีความสามารถครบถ้วนสำหรับวงการบรรณารักษ์ก็จะดีมากๆ เลย

มาดูคุณสมบัติกันหน่อยดีกว่า
1. จบปริญญาตรี สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยไหนก็ได้นะ
2. อายุไม่เกิน 30 ปี

เอาเป็นว่าคุณสมบัติแค่นี้ก้จริง แต่คงต้องไปแข่งกันตอนสอบอีกทีนะ

รับสมัครตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์เลย
เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ สมัครไปแล้ว ตอนนี้ก็ยังพอมีเวลาที่จะเตรียมตัวสอบแน่นอน

ผู้ที่ผ่านการสอบและการคัดเลือกจะได้เริ่มงานในวันที่ 1 มีนาคม 2553 เลยนะครับ

ใครที่สนใจก็สามารถไปสมัครที่
:-
กองบรรณสารและห้องสมุด ชั้น 3 กระทรวงการต่างประเทศ อาคารศรีอยุธยา ได้เลยนะครับ
หรือโทรไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 02-6435000 ต่อ 3615

ใครอยากได้ข้อมูลแบบละเอียดสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดของงานนี้ได้จากด้านล่างนี้เลยครับ
– เอกสารรายละเอียดงาน
– ใบสมัครงาน

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญต่อคนในสังคมอยู่หรือปล่าว บทความนี้จะเป็นคนบอกคุณเอง
โดยบทความนี้ผมแปลมาจากเรื่อง “33 Reasons Why Libraries and Librarians are Still Extremely Important

library-and-librarian

บทความนี้นับว่าเป็นบทความที่น่าสนใจมากๆ เลยครับ ผมเลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟังบ้าง

เนื้อหาหลักในบทความนี้สะท้อนถึงสาเหตุที่อินเทอร์เน็ต ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ห้องสมุดได้
รวมถึงเครื่องมือสืบค้นอย่าง search engine ก็ไม่สามารถแทนที่บรรณารักษ์ได้เช่นกัน

แม้ว่าแนวโน้มในอนาคต คือ สื่อดิจิทัลจะมาแทนสื่อสิ่งพิมพ์ก็จริง
แล้วทำไมบทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ยังคงอยู่จะเป็นอย่างไร ไปติดตามได้เลยครับ

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

1. Not everything is available on the internet
อินเทอร์เน็ตไม่ได้มีทุกอย่าง ? แม้ว่าข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะมีมหาศาลเพียงใด แต่ในบางเรื่องเราก็ไม่สามารถค้นบนอินเทอร์เน็ตได้ เช่น เอกสารทางด้านปะวัติศาสตร์ หรือหนังสือเก่าๆ บางเล่มที่เราอยากอ่าน แต่ก็ไม่สามารถค้นได้ในอินเทอร์เน็ต

2. Digital libraries are not the internet
ห้องสมุดดิจิทัลไม่ใช่อินเทอร์เน็ต ? อันนี้เกิดจากความเข้าใจผิดของคนบางกลุ่มที่บอกว่า อินเทอร์เน็ตคือห้องสมุดดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเด็นนี้เค้าเปรียบเทียบว่าบนอินเทอร์เน็ตมีการจัดเก็บ Web Sources แต่ห้องสมุดดิจิทัลมีการจัดเก็บแบบ Online Collections

3. The internet isn?t free
หนังสือบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ฟรีอย่างที่คิด ? ในบางครั้งที่เราเข้าไปดูคลังหนังสือออนไลน์ที่บอกว่าฟรี ไม่เสียค่าบริการ ความเป็นจริงแล้วเว็บเหล่านี้ฟรีเฉพาะเอาหนังสือมาฝากไว้บนเว็บให้คนอื่น โหลด แต่คนที่โหลดหนังสือเหล่านี้นั่นแหละที่ต้องรับผิดชอบกับเรื่องความใช้จ่าย ในการดาวน์โหลด ยกตัวอย่างเช่น Project Gutenberg ที่รวบรวมหนังสือมากมายไว้ แต่พอจะดาวน์โหลดก็ต้องเสียเงินอยู่ดี

4. The internet complements libraries, but it doesn?t replace them
อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงส่วนหนึ่งของห้องสมุดที่ควรจะมี แต่ก็ไม่สามารถแทนที่ได้ สาเหตุคล้ายๆ ข้อ 2 เพราะว่าสารสนเทศที่จัดเก็บเป็นคนละรูปแบบ เช่น ความจริง ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ

5. School Libraries and Librarians Improve Student Test Scores
ห้องสมุดทางการศึกษาและบรรณารักษ์ที่ทำงานในห้องสมุด ทางการศึกษามีส่วนช่วยให้เด็กเรียนดีขึ้น ? อันนี้ได้มาจากการศึกษากรณีตัวอย่างเรื่องการใช้ห้องสมุดเพื่อพัฒนาการศึกษา ของ Illinois School Libraries

6. Digitization Doesn?t Mean Destruction
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ได้หมายความว่าจะต้องลด ภาระงาน ? มีกรณีศึกษาเกี่ยวกับ Google Book Search ที่ทาง google เองในช่วงแรกพัฒนาเองแต่ก็เกิดความผิดพลาดหลายส่วน จนต้องดึงห้องสมุดหลายๆ ที่เพื่อเข้ามาปรับปรุงและเป็นที่ปรึกษาเรื่องการสืบค้นสารสนเทศ เนื่องจาก google มีความชำนาญเรื่องการใช้โปรแกรมในการค้นหาเว็บ แต่ในกรณีหนังสือ Google Book Search นั่นเอง

7. In fact, digitization means survival
ความเป็นจริงแล้วการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลจะเน้นไปใน ความหมายของการรักษาสารสนเทศให้อยู่ได้นาน ? มีกรณีศึกษาจากเรื่อง libraries destroyed by Hurricane Katrina เนื่องจากห้องสมุดแห่งนี้ถูกทำลายโดยภัยธรรมชาติซึ่งแน่นอนว่าห้ามกันไม่ได้ ดังนั้นจากข้อ 6 ความหมายที่แท้จริงของการทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลจึงหมายถึงการช่วย ชีวิตสารสนเทศไว้นั่นเอง เพราะถ้าข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเกิดภัยอะไรก็ตามข้อมูลก็จะดำรงคงอยู่ไม่ถูกทำลายง่ายๆ แน่นอน

8. Digitization is going to take a while. A long while.
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลใช้เวลาปรับนิดเดียวแต่ยาว นาน ? เหมือนขัดๆ กันอยู่ใช่มั้ยครับ จริงๆ แล้วอยากที่รู้ว่าการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ยากครับก็คือการสแกนตัว หนังสือลงไปในคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เวลานิดเดียว แต่จำนวนของหนังสือที่มีมากมายมหาศาล ดังนั้นการปรับข้อมูลทุกอย่างให้เป็นดิจิทัลคงต้องใช้เวลาหลายสิบปีเลยครับ

9. Libraries aren?t just books
ห้องสมุดไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่เก็บหนังสืออย่างเดียว ? ในห้องสมุดไม่ได้มีสารสนเทศประเภทหนังสือเพียงอย่างเดียวนะครับ ความรู้ในการประกอบวิชาชีพ ทักษะในการทำงาน บริการตอบคำถาม เหล่านี้ถือว่าเป็นสารสนเทศที่มีคุณค่าอีกลักษณะหนึ่ง ลองนกภาพตามนะครับว่า ความรู้จากตำรา กับความรู้จากทักษะอย่างไหนน่าจะช่วยเพื่อนๆ ในการทำงานมากกว่ากัน เอาตัวอย่างใกล้ตัวดีกว่า เช่นหนังสือตำราเรียนวิชาบรรณารักษศาสตร์เบื้องต้น กับบล็อกนี้แล้วกัน อิอิ

10. Mobile devices aren?t the end of books, or libraries
อุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ไม่ได้เป็นจุดที่สิ้นสุดของหนังสือ และห้องสมุด ? เนื่องจากอุปกรณ์พวกนี้ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน เช่น มีคือ kindle ของ amazon สามารถดู E-book ได้ก็จริง แต่อุปกรณ์เหล่านี้มีข้อจำกัด เช่น ราคา, เวลาในการใช้งาน, หนังสือที่ต้องโหลดเข้ามา, และอื่นๆ อีกมากมาย เห็นมั้ยหล่ะครับ อุปกรณ์พวกนี้ไม่สามารถแทนห้องสมุดได้ยังไง

11. The hype might really just be hype
การผสมผสานมันก็แค่ผสมผสาน ? มีการพูดถึงความเป็น paper book กับ E-book ว่าโลกนี้จะไม่มี paper book คงไม่ได้เพราะว่าคนยังเคยชินกับความรู้สึกในการใช้กระดาษมากกว่าการใช้ อุปกรณ์ตัวเล็กไว้สำหรับอ่าน ดังนั้นหากทั้งสองสามารถรวมกันได้ ก็ควรจะรวมกัน ไม่ใช่ว่าพอ E-book มาก็ยกเลิก paper book ทิ้ง มันก็อาจจะทำให้ดูไม่ดีก็ได

12. Library attendance isn?t falling ? it?s just more virtual now
การเข้าใช้ห้องสมุดไม่ได้มียอดที่ลดลง แต่มีการเข้าใช้ทางเว็บไซต์ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะห้องสมุดสถาบันการศึกษา

13. Like businesses, digital libraries still need human staffing
เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ ห้องสมุดดิจิทัลก็ยังคงต้องใช้คนในการจัดการและดำเนินงานอยู่ดี

14. We just can?t count on physical libraries disappearing
เราไม่สามารถนับจำนวนการสูญเสียของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดทางกายภาพได้ ? เพราะเนื่องจากการปรับเปลี่ยนจากสิ่งพิมพ์ทางกายภาพเป็นสานสนเทศดิจิทัลมมี ค่าเท่ากัน ดังนั้นการที่ห้องสมุดสูญเสียหนังสือที่เป็นเล่ม แต่ได้มาซึ่งสารสนเทศดิจิตอลจึงเป็นสิ่งที่แทนกันได้ และไม่ได้เรียกว่าสูญเสีย

15. Google Book Search ?don?t work?
แค่หัวข้อคงไม่ต้องบรรยายแล้วหล่ะครับ ตรงไปตรงมาดี เพราะว่า Google Book Search ทำงานไม่ดีพอ

16. Physical libraries can adapt to cultural change
ห้องสมุดที่เป็นกายภาพสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้

17. Physical libraries are adapting to cultural change
จากข้อ 16 เมื่อสามารถทำได้ ดังนั้นห้องสมุดทางกายภาพจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการตลอดเวลา เพื่อ ปรับตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรม

18. Eliminating libraries would cut short an important process of cultural evolution
การที่เรากำจัดห้องสมุดถือว่าเป็นการตัดกระบวนการทางสังคมออก ? ห้องสมุดถือว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมในการศึกษาและ วัฒนธรรมแห่งความรู้ ดังนั้นการตัดความสำคัญของห้องสมุดก็เท่ากับว่าเราตัดความสำคัญทางการศึกษา ออกด้วย

19. The internet isn?t DIY
อินเทอร์เน็ตไม่ใช่คุณเองก็ทำได้ ? ต้องยอมรับอย่างนึงว่าอินเทอร์เน็ตเกิดเพราะคุณ แต่เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเราไม่สามารถกำหนดหรือสั่งการมันได้ เช่น search engine ที่มันทำงานได้เพราะว่าโปรแกรมในบางครั้งการค้นหาที่มีความหมายแบบขั้นลึก โปรแกรมก็ไม่สามารถค้นหาให้ได้เหมือนกัน เอาตรงๆ ก็คือ เวลาค้นกับ search engine มันจะได้คำตอบตรงๆ และตายตัว อยากรู้อย่างอื่นเพิ่มเติมก็ต้องค้นใหม่ แต่ถ้าเป็นบรรณารักษ์ในการตอบคำถาม คำตอบที่ได้มาจะเน้นไปในแนวทางความรู้สึกซึ่งผู้ใช้สามารถค้นได้ง่ายกว่า

20. Wisdom of crowds is untrustworthy, because of the tipping point
ความรอบรู้ของอินเทอร์เน็ตยังไว้ใจไม่ได้ เนื่องจากการแพร่กระจายอาจจะนำมาซึ่งภาวะของข่าวลือ

21. Librarians are the irreplaceable counterparts to web moderators
บรรณารักษ์ไม่สามารถเปลี่ยนจากคนนั่ง counter เป็น web moderators ? ถึงแม้ว่าห้องสมุดจะกลายเป็นห้องสมุดดิจิทัลแต่ก็ต้องมีบรรณารักษ์คอยจัดการ content เนื้อหาอยู่ดี

22. Unlike moderators, librarians must straddle the line between libraries and the internet
บรรณารักษ์เป็นคนช่วยประสานช่องหว่างระหว่างห้องสมุดกับอินเทอร์เน็ต
ครับ

23. The internet is a mess
อินเทอร์เน็ตคือความยุ่งเหยิง ? ครับแน่นอนว่าอินเทอร์เน็ตคงไม่มานั่งจัดหมวดหมู่ หรือ หัวเรื่องเหมือนห้องสมุดหรอกครับ อิอิ

24. The internet is subject to manipulation
อินเทอร์เน็ตมีหัวเรื่องที่เกิดจากการผสมผสานหลากหลาย วิธีนึงใน web 2.0 ก็คือ การใช้ Tag clould เข้ามากำหนดความนิยมของหัวเรื่อง ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการ spam tag กันมากขึ้นจึงทำให้เนื้อหาที่ได้มาบางครั้งไม่ตรงกับจุดประสงค์ของเรา

25. Libraries? collections employ a well-formulated system of citation
ห้องสมุดมีระบบการจัดการที่เป็นระบบมากกว่าบนอินเทอร์เน็ต จาก 2 ข้อด้านบน คงพิสูจน์แล้ว

26. It can be hard to isolate concise information on the internet
มันยากที่จะแยกข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกจากกันในอินเทอร์เน็ต สังเกตได้จากแต่ละเว็บไซต์จะมีการเชื่อมโยงจนบางครั้งข้อมูลในหลากหลายมาก เกินไป จนเราไม่สามารถที่จะพิจารณาว่าจะเชื่อข้อมูลจากที่ไหน

27. Libraries can preserve the book experience
ห้องสมุดสามารถอนุรักษ์หนังสือได้อย่างมีประสบการณ์ช่ำชอง อันนี้คงไม่มีใครเถียงนะครับ แต่อย่างที่เคยเขียนไปคือห้องสมุดอาจจะเปลี่ยนบทบาทเป็นพิพิธภัณฑ์หนังสือก็ ได้

28. Libraries are stable while the web is transient
ห้องสมุดเป็นอะไรที่เก็บข้อมูลได้มั่นคง แต่อินเทอร์เน็ตเก็บอะไรชั่วคราว ? เห็นด้วยนะครับเพราะว่าบางครั้งพอเราค้นอะไรในอินเทอร์เน็ตวันนี้อาจจะเจอ แต่พอวันรุ่งขึ้นผลการค้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง

29. Libraries can be surprisingly helpful for news collections and archives
ห้องสมุดสามารถสร้างประโยชน์ในการสร้าง collection ใหม่ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ? ความสามารถดังกล่าวมาจากห้องสมุดเฉพาะ เพราะว่าห้องสมุดเหล่านี้จะเน้น collection พิเศษที่เกี่ยวกับตัวเอง รวมถึงถ้า collection นั้นยังไม่มีห้องสมุดไหนเคยทำ องค์กรที่เกี่ยวข้องก็จะสนับสนุนในการจัดการห้องสมุดสาขาวิชานั้นๆ

30. Not everyone has access to the internet
ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น การติดต่อในอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อ, จุดกระจายสัญญาณเครือข่าย, สถานที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต

31. Not everyone can afford books
ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีหนังสือ ? อธิบายง่ายๆ ว่า บางคนก็ไม่สามารถเป็นเจ้าของหนังสือได้ ดังนั้นแล้วคนเหล่านั้นจะอ่านความรู้ต่างๆ ได้อย่างไร ห้องสมุดจึงเป็นตัวช่วยให้คนสามารถเป็นเจ้าของหนงสือได้ร่วมกัน

32. Libraries are a stopgap to anti-intellectualism
ห้องสมุดช่วยหยุดช่องว่างของความไม่มีความรู้ ? พูดง่ายๆ ว่าห้องสมุดช่วยสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นน่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า

33. Old books are valuable
ในยุคที่ใกล้เข้าสู่โลกดิจิทัล เกิดไอเดียใหม่สำหรับห้องสมุด นั่นก็คือ พิพิธภัณฑ์หนังสือ(book museum) เพราะว่าหนังสือรุ่นใหม่ๆ จะอยู่ในรูปดิจิทัล ส่วนหนังสือเก่าที่ทรงคุณค่าก็เก็บไว้ใส่พิพิธภัณฑ์แทน

เป็นอย่างไรบ้างครับ จบตอนกันสักที

จุดประสงค์ที่เอามาให้อ่านไม่ใช่ว่าอาชีพอย่างเรา จะอยู่อย่างเป็นนิรันดร์นะครับ
แต่ถ้าเพื่อนๆ ได้อ่านกันจริงๆ บรรณารักษ์จะเปลี่ยนบทบาทการทำงาน
รวมถึงห้องสมุดก็เปลี่ยนบทบาทและรูปแบบในการให้บริการ
ที่เด่นๆ ก็เห็นจะเป็น จากห้องสมุดทางกายภาพจะกลายเป็นห้องสมุดเสมือน
รวมถึงสื่อต่างๆ จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแบบดิจิทัลมากขึ้นนะครับ