LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 8

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 8
ออกในเดือนธันวาคม 2552

librarianmagazine

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ออกมาในช่วงเทศกาลปีใหม่พอดีเลย
ดังนั้น hilight คงไม่พ้นการอวยพรและส่งความสุขให้เพื่อนๆ นะครับ แต่สาระความรู้ก็ยังคงมีให้อ่านเช่นกัน

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปอ่านกันเลยดีกว่าครับ

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก – ส่งความสุข

พาเที่ยว – จากดอยปุยถึงสะเงาะ

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – สวัสดี ดี ดี๊ ดี ปี 53

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – หยิบหนังสือใส่ตะกร้า

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – เก็บตกความสุขจากลานพระราชวังดุสิต

สาระน่ารู้ – ดนตรีของโมสาร์ท

เป็นยังไงกันบ้างครับเนื้อหาดีๆ และน่าสนใจมากมาย ยังไงก็ลองอ่านกันดูนะครับ

เนื่องในโอกาสเทสกาลแห่งความสุขนี้
ผมจึงขออวยพรให้ผู้จัดทำและผู้เขียนบทความทุกคนในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์
ให้พบแต่ความสุขและความสมหวังตลอดทั้งปี 2553 นี้นะครับ และอยู่คู่วงการบรรณารักษืไปนานๆ นะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 8 : http://librarianmagazine.com/VOL2/NO8/index.htm

บรรณารักษ์ควรฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษกันบ้างนะ

พอพูดถึงภาษาอังกฤษ หลายๆ คนอาจจะมองว่ามันเป็นอะไรที่ค่อนข้างยาก
แต่เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าเรื่องยากๆ สิ่งนี้แหละ จะช่วยให้เพื่อนๆ พัฒนางานด้านต่างๆ ในห้องสมุดได้

librarian-english

ทำไมบรรณารักษ์ต้องเรียนภาษาอังกฤษ
– เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่เป็นชาวต่างประเทศ
– เพื่อติดตามข่าวสารวงการบรรณารักษ์จากบล็อก/เว็บไซต์อื่นๆ ทั่วโลก
– เพื่อสืบค้นข้อมูลในฐานข้อมูลจากต่างประเทศ
– เพื่อสร้างความเป็นสากลให้กับห้องสมุดที่ทำงานอยู่
– เพื่อพัฒนาความสามารถของตัวเองและต่อยอดในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ

และอื่นๆ (ใครคิดได้อีกสามารถแจ้งได้นะ)

ดังนั้นผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษด้วย
ซึ่งผมมีวิธีการฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษมาแนะนำ (สไตล์ของผมเอง) นะครับ

วิธีการฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษสไตล์ Libraryhub

– เริ่มจากการเข้าร้านหนังสือต่างประเทศ เช่น Asia book, Kinokuniya, Bookazine และอื่นๆ อีกมากมาย
เมื่อเราเข้าไปในร้านหนังสือต่างประเทศแล้วให้เราเลือกหนังสือหมวดที่เราชอบแล้วหยิบมาอ่านดูนะครับ
มันจะทำให้เราคุ้นเคยกับการอ่านและการหยิบหนังสือต่างประเทศ

– การอ่านบทความภาษาอังกฤษที่ง่ายและเข้าใจง่ายที่สุด คือ การอ่านคอลัมน์ที่ชอบตามนิตยสารต่างประเทศ
เนื่องจากเป็นการอ่านแบบสั้นๆ ไม่ต้องอ่านยาวมาก และเนื้อหาในนิตยสารมักเป็นเรื่องสบายๆ ไม่ยุ่งยาก อ่านแล้วไม่เครียด

– เปิดเว็บไซต์ หรือ เว็บบล็อกที่เราชื่นชอบ (ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบรรณารักษ์และห้องสมุดจะดีมากๆ ครับ)
ลองตั้งเกณฑ์ดูว่าจะอ่านวันละเรื่อง แล้วลองทำให้ได้ครับ บางเรื่องไม่ต้องอ่านทั้งหมดหรอก อ่านหัวข้อเอาและลองสรุปดู

– ทดลองการใช้งานฐานข้อมูลต่างประเทศหลายๆ ฐาน แล้วลองจำลองเหตุการณ์ในการค้นสารสนเทศดู
เช่น ถ้าต้องการหาเนื้อหาเกี่ยวกับ “โปรแกรมระบบห้องสมุด” เราจะใช้ keyword อะไร
แล้วลองค้นดูด้วยหลายๆ คำ ดู เสร็จแล้วก็พยายามจดเอาว่า คำไหนที่เราใช้แล้วได้ผลการค้นที่ดี

– สมัครจดหมายข่าว E-newsletter ของต่างประเทศ ทุกๆ วันหน่วยงานเหล่านี้จะส่งจดหมายข่าวมาให้เราอ่าน
ซึ่งในจดหมายข่าวเหล่านี้จะมีการถามตอบคำถามในเรื่องที่เราสนใจด้วย
ดังนั้นถ้าเราอยากฝึกการโต้ตอบจดหมายข่าว วิธีนี้ผมขอแนะนำเลย

– หาเพื่อนและเครือข่ายของกลุ่มในเรื่องที่เราชอบ และหาโอกาสเข้าร่วม Live chat หรือ พูดคุยกับคนต่างชาติดู
การคุยภาษาอังกฤษที่ง่ายที่สุด สำหรับผมๆ ว่า MSN ทำให้เราคุยกับคนต่างชาติได้ค่อนข้างดีเลยนะครับ
แต่ถ้าอยากฝึกสำเนียงและการพูดก็ให้ใช้ skype ควบคู่ไปด้วยก็ดีครับ

– ไปสมัครเรียนคอร์สภาษาอังกฤษระยะสั้นเลยครับ

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างวิธีการเรียนรู้และฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษนะครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่มีวิธีในการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษดีๆ ก็อย่าลืมนำมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันครับ
สุดท้ายนี้ผมก็ขอย้ำว่าภาษาอังกฤษเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บรรณารักษ์ควรจะเรียนรู้และหัดใช้งานครับ