ปัญหามากมายที่รอการแก้ไข จากห้องสมุดแห่งหนึ่ง

หลังจากที่ผมได้คุยกับเพื่อนๆ ในวงการห้องสมุดหลายคน ก็รู้ว่าห้องสมุดหลายๆ แห่งมีปัญหาที่ต้องแก้อีกมากมาย
ซึ่งบางปัญหาก็เกิดจากผู้บริหาร หรือบางปัญหาก็เกิดจากผู้ใช้บริการ และบางปัญหาก็เกิดจากตัวบรรณารักษ์เอง

ที่มาจาก badjonni
ที่มาจาก badjonni

วันนี้ผมมีกรณีตัวอย่างมานำเสนอ เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับห้องสมุดแห่งนี้ให้เพื่อนๆ ช่วยวิเคราะห์นะครับ

ปัญหาของห้องสมุดนี้ มีดังนี้ครับ

1. ชั้นหนังสือเต็มจนหนังสือไม่มีที่เก็บอีกแล้ว (พื้นที่มีเยอะแต่ชั้นหนังสือมีน้อย)
บรรณารักษ์ทำเรื่องขออนุมัติในการจัดหาครุภัณฑ์ไป 1 ปีกว่าๆ แล้วยังไม่ได้

2. สื่อประเภทซีดีมีมากมายในห้องสมุด แต่ไม่มีที่จัดเก็บ
แม้แต่เครื่องเล่นซีดี คอมพิวเตอร์ก็ยังไม่มีในห้องสมุด

3. ในห้องสมุดไม่มีคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น เวลาผู้ใช้ต้องการหาหนังสืออะไร
ก็จะเดินมาถามบรรณารักษ์อย่างเดียว หรือไม่ก็ใช้ความเคยชินเดินหาตามชั้นเอาเอง

4. บุคลากรในห้องสมุดไม่เคยถูกส่งไปเข้าร่วมงานสัมมนา อบรม ประชุมวิชาการต่างๆ เลย
จนบุคลากรบางส่วนต้องลางานเพื่อไปเข้าร่วมงานต่างๆ เอง

5. บุคลากรของห้องสมุด (บรรณารักษ์) มักจะถูกขอให้ไปช่วยงานอื่นๆ ในองค์กร
ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการเงิน ประชาสัมพันธ์ รับสมัครนักศึกษา ฯลฯ

6. นักเรียนเอาโน้ตบุ๊คมาใช้ในห้องสมุดแต่ไม่สามารถต่อ internet ได้
เนื่องจาก wireless มีไว้ให้พนักงานในองค์กรเล่นได้อย่างเดียว

7. เวลาองค์กรจัดงานนิทรรศการ หรืองานกิจกรรมต่างๆ จะมายืมครุภัณฑ์จากห้องสมุดเป็นหลัก
เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ทำให้ห้องสมุดไม่มีที่นั่งเพื่อให้บริการผู้ใช้

ฟังปัญหาของห้องสมุดนี้แล้วก็แอบเหนื่อยใจแทนนะครับ
แต่ผมก็ขอนำเสนอวิธีใการจัดการกับเรื่องเหล่านี้นะครับ

1. ทำงานเท่าที่หน้าที่ของตนรับผิดชอบ ได้แค่ไหนก็แค่นั้น
เราจะฝืนทำมากกว่าที่เป็นอยู่แล้วเดือดร้อนถึงเราไม่ได้ แต่ขอให้ดูว่าผู้ใช้ต้องไม่เดือดร้อนด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น ถึงไม่มีคอมพิวเตอร์ให้ผู้ใช้สืบค้น แต่เราก็สามารถที่จะค้นให้ผู้ใช้ได้มิใช่หรือครับ
เท่านี้นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือผู้ใช้แล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบรรณารักษ์และผู้ใช้อีกด้วย


2. บางอย่างก็อย่าคาดหวังหากหวังมาก

เช่น คาดว่าจะได้ชั้นหนังสือเดือนหน้า เราก็จะรอคอยในสิ่งที่จะทำให้ผิดหวังได้
ให้คิดซะว่าถ้ามันมีก็ดีนะ แต่ถ้าขาดมันก็ไม่เห็นเป็นไรเลย เท่านี้ก็สบายใจทั้งเรา ทั้งผู้บริหารแล้ว

3. บางอย่างเราก็คอยติดตามสอบถาม/ทวงถามบ้าง
เช่น หากชั้นหนังสือล้นออกมาเยอะมากแล้วเราก็ควรเริ่มกระตุ้นผู้บริหารได้แล้ว
ไม่ใช่ปล่อยให้มันล้นต่อไปเรื่อยๆ แล้วไปคาดหวังว่าสักวันผู้บริหารจะเห็นอันนั้นมันคงเป็นไปไม่ได้กระมั้ง

4. ปล่อยวางบ้างเถอะ
บางครั้งการที่องค์กรขาดอุปกรณ์บางอย่างแล้วมาขอยืมไปจากห้องสมุดเช่น โต๊ะ เก้าอี้
หากช่วงนั้น ห้องสมุดไม่จำเป็นต้องใช้ก็ปล่อยๆ ให้เขาไปเถอะแต่ไม่ใช่ปล่อยให้เขาเอาไปหมดเลย
ควรจะเหลือไว้ให้ห้องสมุดสักครึ่งหนึ่งก็จะดี เพราะอย่าลืมว่าเราต้องบริการผู้ใช้ด้วย ไม่ใช่บริการองค์กรเพียงอย่างเดียว


คำแนะนำเหล่านี้ ถ้าเพื่อนๆ รับฟังมันก็จะทำให้เราทำงานได้อย่างสบายใจแล้วหล่ะครับ

แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดยังไงกับปัญหาเหล่านี้ มีแนวทางในการแก้ไขบ้างหรือปล่าวครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

1 Comment

  1. คุณวายวิเคราะห์ได้ดีค่ะ แถมยังเสนอแนวทางแก้ไขให้ด้วย ขอสนับสนุนแนวคิดนี้ค่ะ เนื่องจากห้องสมุดเน้นงานบริการซึ่งคำนึงถึงผู้ใช้บริการเป็นหลัก ทำให้ผู้ให้บริการต้องมีปฏิสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับบุคลากรหลายฝ่าย ทั้งในส่วนผู้ให้บริการด้วยกันเอง ผู้สนับสนุนการให้บริการ และผู้ใช้บริการที่มีความคาดหวังในบริการของห้องสมุดที่แตกต่างกันในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ในปัจจุบัน อีกทั้งลักษณะงานของห้องสมุดไม่สามารถปฏิบัติให้เสร็จสิ้นและเบ็ดเสร็จได้ภายในวันเดียว เพราะมีลักษณะงานที่เป็นพลวัต ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ดังนั้น ผู้ให้บริการของห้องสมุดนอกจากจะต้องปฏิบัติงานในส่วนที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดแล้ว ยังต้องมีจิตบริการเป็นพื้นฐาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้บริการมีความสุขในการให้บริการและผู้รับบริการมีความสุขในการใช้บริการของห้องสมุดค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*