การให้หัวเรื่องด้วย BISAC Subject heading

ถ้าเราถามบรรณารักษ์ว่า “คุณให้หัวเรื่องหนังสือเล่มนี้อย่างไร มีมาตรฐานอะไรในการให้
บรรณารักษ์หลายๆ คนก็คงตอบว่า “ก็เปิดดูจาก LC Subject Heading” นะสิ
ตกลงว่าในโลกนี้มีการให้หัวเรื่องอยู่แบบเดียวจริงหรือ

bisac-library

การให้หัวเรื่องที่ผมจะนำเสนอวันนี้อาจจะต่างจากการให้หัวเรื่องตามหลักบรรณารักษ์หน่อยนะครับ
แต่ผมว่ามันก็สามารถนำมาใช้แทนกันได้นะ บางทีอาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ

การให้หัวเรื่องที่ผมจะกล่าว ถูกเรียกว่า “BISAC”
ซึ่งย่อมาจากคำว่า “Book Industry Standards and Communications”
ซึ่งถูกคิดค้นด้วยองค์กรที่ชื่อว่า Book Industry Study Group ซึ่งทำงานกับตัวหนังสือเช่นกัน

วัตถุประสงค์หลักๆ ก็คือ ใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล EDI(electronic data interchange) ของสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือและวารสารเป็นหลัก

ลองเข้าดูการให้หัวเรื่องของระบบ BISAC ได้ที่
http://www.bisg.org/what-we-do-0-136-bisac-subject-headings-list-major-subjects—2009-edition.php

ตัวอย่างหัวเรื่องในระบบ BISAC เช่น
ANTIQUES & COLLECTIBLES
ARCHITECTURE
ART
BIBLES
BIOGRAPHY & AUTOBIOGRAPHY
(นี่เป็นหัวเรื่องใหญ่นะครับ หากต้องการรายละเอียดต้องเข้าไปดูในหัวเรื่องอีกที)

และจากการที่ผมได้ลองเข้าไปดู ผมก็พบว่าจริงๆ แล้วมันก็คล้ายๆ กับ LC subject heading เหมือนกัน
บางทีผมว่ามันก็สามารถนำมาใช้แทน LC subject heading ได้เหมือนกัน

เอาเป็นว่าสำหรับผมคิดว่ามันก็เป็นทางเลือกที่ดีในการนำมาใช้นะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ http://www.bisg.org

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*