My Library in Google VS Librarything VS Shelfari VS Goodreads

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมามีงานอบรม “การจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ เพื่อสร้างห้องหนังสือส่วนตัว
ซึ่งผมเองก็อยู่ในฐานะของผู้บรรยายเช่นกัน วันนี้ผมจึงขอสรุปข้อมูลและนำสไลด์มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน
เรื่องที่ผมบรรยาย คือ เรื่อง “ชั้นหนังสือออนไลน์ ที่คุณก็สามารถสร้างได้”

bookshelf

ก่อนที่ผมจะสรุปข้อมูลการบรรยาย ผมอยากให้เพื่อนๆ ได้ชม slide ของผมกันก่อน

แนะนำชั้นหนังสือออนไลน์ต่างๆ ที่คุณสามารถเข้าร่วมได้

สไลด์ของผมดูได้ที่ http://www.slideshare.net/projectlib/ss-2980074

เรื่องที่ผมบรรยายเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้งานชั้นหนังสือออนไลน์ที่อยู่บนเว็บไซต์ต่างๆ
ซึ่งผมได้นำเว็บไซต์ชั้นหนังสือออนไลน์มา demo การใช้งานและเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อย

เว็บไซต์ชั้นหนังสือทั้ง 4 ที่ผมนำมาบรรยาย ประกอบด้วย
1. ห้องสมุดของฉัน @ Google book search – http://books.google.co.th
2. Librarything – http://www.librarything.com
3. Shelfari – http://www.shelfari.com
4. Goodreads – http://www.goodreads.com

แต่ละเว็บไซต์ก็มีข้อดีและข้อด้อยของมันเอาเป็นว่าผมขอสรุปให้อ่านคร่าวๆ ดังนี้

—————————————————————————————————

1. ห้องสมุดของฉัน @ Google book search http://books.google.co.th

ข้อดีของห้องสมุดของฉัน @ Google book search
– ค้นหาข้อมูลหนังสือได้ง่ายด้วย ISBN (Search by ISBN, OK)
– สืบค้นได้ค่อนข้างเร็ว (Fast for search)
– แสดงผลได้ทั้งแบบรายละเอียดและภาพปกหนังสือ (Detail List and Cover view)
– สามารถดูตัวอย่างเนื้อหาของหนังสือได้ (Example Chapter)
– เชื่อมโยงกับร้านจำหน่ายหนังสือต่างๆ เช่น ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ร้านซีเอ็ด ร้านนายอินทร์ ฯลฯ (Link to Library and bookstore)
– ส่งออกรายการหนังสือด้วยมาตรฐาน RSS (Export data to RSS)


ข้อด้อยของห้องสมุดของฉัน @ Google book search

– ต้องใช้ Account ของ Google เท่านั้น (Use Google Account)
– ดึงข้อมูลหนังสือได้ด้วย ISBN เพียงอย่างเดียว (Import your book by ISBN only)
– Import ข้อมูลหนังสือส่วนตัวเข้าไปในระบบไม่ได้ (people can’t import book to google)
– ไม่ค่อยมีใคร Review หนังสือ (No user review)

—————————————————————————————————

2. Librarything – http://www.librarything.com

ข้อดีของ Librarything
– สมัครสมาชิกง่ายมาก (Simple join up to member)
– มีระบบการจัดการข้อมูลส่วนตัวที่ดี (Good profile management system)
– ระบบแสดงผลสามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสม เช่น การโชว์ข้อมูล (Customize your page)
– ข้อมูลหนังสือละเอียด ครบถ้วน และรองรับมาตรฐานต่าง (Good book detail)
– ระบบชุมชนออนไลน์ + เครือข่ายนักอ่าน ค่อนข้างเข้มแข็งดี (good community and reader group)
– ข้อมูลถูกดึงมาจากหลายๆ ที่ (Many database sync)
– อุปกรณ์สำหรับตกแต่งบล็อกและเว็บไซต์ (Widget)

ข้อด้อยของ Librarything
– ฟรีแค่ 200 เล่ม ถ้าเกินต้องเสียเงิน
– การแสดงผลในหน้าข้อมูลส่วนตัว มีข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นเพียบ (Gen profile system)
– ไม่มีข้อมูลตัวอย่างให้ดู

—————————————————————————————————

3. Shelfari – http://www.shelfari.com

ข้อดีของ Shelfari
– Import หนังสือได้ไม่จำกัดจำนวน
– User Review และ Amazon Review แยกกันอย่างชัดเจน
– ข้อมูลหนังสือละเอียด ครบถ้วน และรองรับมาตรฐานต่าง (Good book detail)
– ระบบชุมชนออนไลน์ + เครือข่ายนักอ่าน ค่อนข้างเข้มแข็งดี (good community and reader group)
– อุปกรณ์สำหรับตกแต่งบล็อกและเว็บไซต์ (Widget)

ข้อด้อยของ Shelfari
– ต้องใช้โปรแกรม flash เพื่อการแสดงผล
– เชื่อมโยงการซื้อขายกับ Amazon เจ้าเดียว
– Import หนังสือเข้าระบบ ค่อนข้างซับซ้อน เมนูหายาก และต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ดูแลระบบ
– มีโฆษณาแทรกอยู่ด้านล่าง ซึ่งทำให้ดูขวางหูขวางตา

—————————————————————————————————

4. Goodreads – http://www.goodreads.com

ข้อดีของ Goodreads
– Import หนังสือได้ไม่จำกัดจำนวน
– ข้อมูลหนังสือละเอียด ครบถ้วน และรองรับมาตรฐานต่าง (Good book detail)
– การแสดงผลสวยงามและดูง่ายต่อการใช้งาน
– สมัครสมาชิกง่ายมากๆ (คล้ายๆ Librarything)
– เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ต่างๆ มากมาย เช่น ห้องสมุด ร้านหนังสือ
– จัดเก็บหนังสือ วีดีโอ รูปภาพ และ ebook ได้
– ระบบชุมชนออนไลน์ + เครือข่ายนักอ่าน ค่อนข้างเข้มแข็งดี (good community and reader group)
– คนไทยเล่นค่อนข้างเยอะ ทำให้มีหนังสือภาษาไทยเยอะ
– อุปกรณ์สำหรับตกแต่งบล็อกและเว็บไซต์ (Widget)

ข้อด้อยของ
Goodreads
– มีโฆษณาแทรกอยู่ด้านล่าง ซึ่งทำให้ดูขวางหูขวางตา

—————————————————————————————————

เอาเป็นว่าจากการที่ลองเล่นเว็บไซต์ทั้ง 4 แต่ละที่มีข้อดีและข้อด้อย
แต่สำหรับผมค่อนข้างลำเอียงให้คะแนน Goodreads เยอะกว่าที่อื่นๆ
เนื่องจากมีหนังสือภาษาไทยค่อนข้างเยอะ ไม่เชื่อเพื่อนๆ ลองเข้าไปดูที่
http://www.goodreads.com/shelf/show/thai

นอกจากที่ผมจะบรรยายเนื้อหาในสไลด์นี้แล้ว บังเอิญว่ามีเพื่อนๆ เรียกร้องให้ demo อีกเว็บไซต์นึง
นั่นก็คือ เว็บไซต์อ่านอะไร (http://www.arnarai.in.th/) ของ น้อง @thangman22

ซึ่งผมได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับจุดประสงค์ทั่วไปของเว็บไซต์นี้
และลองเล่นเว็บไซต์นี้ให้เพื่อนๆ ที่เข้าร่วมการอบรมได้ดู
ตั้งแต่สมัครสมาชิก เพิ่มรายการหนังสือ ใส่รูป และวิจารณ์หนังสือ

การอบรมในครั้งนี้ทางเครือข่ายจิตอาสาได้ถ่ายวีดีโอไว้ด้วย
เอาเป็นว่าหากวีดีโอตัดเสร็จเมื่อไหร่ผมจะขอนำมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกันนะครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

1 Comment

  1. พอดีว่าได้มีโอกาสลองใช้ goodreads แล้วชอบมากค่ะ มีแอพฟรีบนไอโฟนด้วย ทำให้ต่อการค้นหาหนังสือ แล้วนำมาใส่ในชั้นหนังสือของเราได้ทุกที่ สมมติว่าไปงานหนังสือ ร้านหนังสือ ก็สามารถค้นหาได้ทันที มี user review, rating พร้อมเลย ดีมากค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*