ไอเดียในการจัดกิจกรรมสำหรับห้องสมุดจากเว็บบอร์ดชื่อดัง (Pantip.com)

วันนี้อยู่ว่างๆ 1 วันเลยขอเปิดเว็บไซต์ต่างๆ อ่านเพื่อเก็บไอเดียจากเว็บไซต์มาคิดกิจกรรมห้องสมุด
หลังจากที่เปิดเว็บนู้นนี้มาตั้งเยอะ สุดท้ายก็มาจบที่เว็บบอร์ดชื่อดังของประเทศ นั่นก็คือ Pantip.com นั่นเอง

idealibrary

ใน Pantip.com มีห้องอยู่ห้องหนึ่งที่น่าสนใจมากและชื่อก็เหมือนกับวงการของเรา นั่นก็คือ “ห้องสมุด”
ซึ่งภายในห้องนี้จะเน้นเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือ วรรณกรรม นักเขียน ปรัชญา และอื่นๆ ที่น่าสนใจมากมาย
เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆสนใจก็ลองเข้าไปที่ http://pantip.com/ แล้วเลือก “ห้องสมุด” ดูนะครับ

ในห้องสมุดแห่งนี้ ผมได้พบกับกระทู้ถามตอบมากมาย
จนไอเดียเกี่ยวกับกิจกรรมรักการอ่านก็ผุดขึ้นมากมายเช่นกัน
ซึ่งเดี๋ยวผมจะขอสรุปกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจสำหรับห้องสมุดให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ

ไอเดียในการจัดกิจกรรมสำหรับห้องสมุด
เช่น
1. หนังสือทำมือ
หนังสือทำมือถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจมากโดยเน้นการส่งเสริมให้รักการอ่านและพัฒนาการเขียนอีกด้วย
การทำหนังสือทำมือสักเล่มหนึ่งไม่ได้ยากเกินไป ใครๆ ก็สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเด็ก วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่
ดังนั้นห้องสมุดน่าจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมหนังสือทำมือบ้าง เช่น
– นิทรรศการและการแสดงผลงานหนังสือทำมือ
– การอบรมการทำหนังสือทำมือ
– ประกวดหนังสือทำมือประเภทรูปเล่มสวยงามและน่าสนใจ
– ประกวดหนังสือทำมือประเภทเนื้อหาโดดเด่นและมีสาระ


2. การเข้าเล่ม การเย็บเล่ม และการซ่อมแซมหนังสือ

งานเทคนิคต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับงานเทคนิคของบรรณารักษ์อยู่แล้ว
ดังนั้นห้องสมุดสามารถถ่ายทอดความรู้ในงานเทคนิคเหล่านี้ให้ผู้ใช้บริการได้เข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วย
ดังนั้นห้องสมุดจึงควรจัดกิจกรรมเกี่ยวการซ่อมแซมหนังสือต่างๆ เช่น
– นิทรรศการการเข้าเล่มและการเย็บเล่มหนังสือแบบต่างๆ
– นิทรรศการเรื่องการอนุรักษ์และการใช้หนังสืออย่างถนุถนอม
– อบรมการซ่อมแซมหนังสือด้วยตัวเอง

3. นักเขียนกับห้องสมุด
ในชุมชนออนไลน์แห่งนี้เพื่อนๆ หลายๆ คนมักจะมีนักเขียนในดวงใจของตัวเอง ซึ่งเป็นอีกปัจจัยให้เพื่อนๆ รักการอ่าน
เช่นเดียวกันผมว่าผู้ใช้ห้องสมุดหลายๆ คนเอง ก็คงมีนักเขียนในดวงใจของเขาเหมือนกัน
ดังนั้นห้องสมุดจึงควรจัดกิจกรรมร่วมกับนักเขียนหนังสือชื่อดัง หรือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับนักเขียน เช่น
– นิทรรศการรู้จักนักเขียนรางวัลซีไรต์
– อบรมหลักสูตรการเป็นนักเขียน
– การตกแต่งห้องสมุดด้วย Quote เด็ดๆ จากนักเขียนชื่อดัง (จากไอเดีย กิจกรรมวาทะคนแถวหน้า @B2S)
– กิจกรรมเปิดตัวหนังสือใหม่และเสวนากับนักเขียน
– แนะนำหนังสือที่นักเขียนแนะนำ
– ร้อยคำเป็นเรื่องเป็นราว (กิจกรรมนำคำที่กำหนดมาแต่งเป็นเรื่องราว)

4. หนังสือ
กิจกรรมที่เกี่ยวกับหนังสือมีมากมายเลยครับในเว็บไซต์เห็นนี้
หากเพื่อนๆ จับประเด็นได้จะพบกับกิจกรรมที่สามารถนำมาใช้จัดในห้องสมุดได้ครับ เช่น
– นิทรรศการหนังสือหายากและหนังสือทรงคุณค่า
– กิจกรรม Rainy Read Rally หรือ กิจกรรมเหมันต์ขยันอ่าน (Winter Wonder Read : WWR)
– อ่านหนังสือเดือนละเรื่อง (ไอเดียจาก TRB Challange โครงการทลายกองดอง 12 เล่มใน 12 เดือน)
– การวิจารณ์หนังสือ (Book Review)
– แรงบันดาลใจในหนังสือเล่มโปรด
– การเล่านิทานในวันหยุดสุดสัปดาห์
– งานหนังสือมือสอง (ไอเดียจาก งานหนังสือมือสองที่ห้องสมุด Neilson Hayes)


5. เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับห้องสมุด

– การรับบริจาคหนังสือและช่วยเหลือห้องสมุดที่ขาดแคลนสื่อ
(ไอเดียจาก โครงการ “เติมหนังสือสู่สมอง” http://www.books4brains.org/)
– การจัดมุมหนังสือเพื่อชุมชน (นำหนังสือมือสองของคนในชุมชนมาจัดเป็นมุมหนังสือ)
– พนักงานตำแหน่ง Book Specialists และ Book Consultants ให้คำแนะนำผู้ใช้บริการในการเลือกหนังสือ
– เสวนาเพื่อสร้างกระแสนักอ่าน (ไอเดียจาก งานเสวนา วรรณกรรมเยาวชน..ในหัวใจคนรักอ่าน)

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างกิจกรรมที่ผมเก็บมาจากไอเดียต่างๆ ในเว็บไซต์ Pantip.com นะครับ
เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ว่างๆ ก็ลองแว๊บเข้าไปอ่านกันดูแล้วเอามาแชร์ไอเดียแลกเปลี่ยนกันนะครับ

สุดท้ายก็ขอขอบคุณทุกไอเดียที่เขียนใน Pantip.com นะครับ
ไอเดียมีอยู่ทุกที่เพียงแค่คุณจะรู้จักหยิบมันมาใช้หรือเปล่าก็เท่านั้น

มีอะไรในห้องสมุดมารวย

ไม่ได้ไปเที่ยวห้องสมุดมานาน วันนี้ผมจึงขอหยิบแผ่นพับห้องสมุดแห่งหนึ่งมาอ่าน
แล้วก็ขอเขียนเล่าเรื่องห้องสมุดแห่งนี้ขึ้นมา ห้องสมุดแห่งนี้คือ “ห้องสมุดมารวย” นั่นเอง

maruey-library

“ห้องสมุดมารวย” แต่เดิมมีชื่อว่า “ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2518
โดยเน้นหนังสือและสื่อสารสนเทศที่เกี่ยวกับการเงิน การออม การลงทุน ตลาดหุ้น และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นห้องสมุดมารวยในปี พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นเกียรติแด่ ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 5

สำหรับการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดจาก ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็น ห้องสมุดมารวย
มีแนวคิดในการปรับปรุงห้องสมุดทั้งกายภาพและบริการให้เข้าสู่ความเป็น ห้องสมุดเพื่อคนรุ่นใหม่สไตร์ Modern Library นี้
เกิดขึ้นจากแนวคิดของ คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 9

ภายในห้องสมุดมารวยมีการตกแต่งบรรยากาศในลักษณะที่เป็นห้องสมุดแห่งความทันสมัย และดูน่าใช้บริการ
ซึ่งภายในห้องสมุดมารวยนี้ มีบริการต่างๆ มากมาย อาทิเช่น
– คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นข้อมูล
– อินเทอร์เน็ตไร้สาย (wifi)
– มุมนันทนาการ
– เสวนาวิชาการ
– มุมดูหนังฟังเพลง
– มุมเกมลับสมอง
– ร้านกาแฟ
– ร้านหนังสือ settrade.com
– และอื่นๆ

และที่สำคัญที่ผมชอบ คือ เรื่องเวลาเปิดและปิดบริการครับ
เนื่องจากที่นี่ไม่มีวันหยุดเลย แม้แต่วันเดียว และเปิดให้บริการตั้งแต่ 8.30 – 23.00 น.
และในวันศุกร์ เสาร์จะเปิดในเวลา 8.30 – 24.00 น.
เป็นยังไงกันบ้างครับ มีที่ไหนที่ทำได้อย่างนี้มั้ยครับ

เอาเป็นว่า แนะนำให้ลองเข้าไปชมดู แล้วจะรู้ว่าห้องสมุดดีๆ ยังมีอีกเยอะในเมืองไทย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมลองเข้าไปที่เว็บ www.maruey.com

เทคนิคการ catalog หนังสือด้วยวิธีง่ายๆ

งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ หรืองาน catalog เป็นงานที่สำคัญอีกงานหนึ่งในห้องสมุด
เนื่องจากเป็นงานที่เกี่ยวกับการให้เลขหมู่และหัวเรื่องของหนังสือหรือสื่อสารสนเทศในห้องสมุด

cataloging

หนังสือหรือสื่อสารสนเทศในห้องสมุดจะถูกค้นหาได้ง่ายหรือยากก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการในส่วนนี้
ดังนั้นผมจึงให้ความสำคัญกับงาน catalog เช่นเดียวกับการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด

เอาเป็นว่าผมขอพูดถึงปัญหาที่พบของงาน catalog ให้เพื่อนๆ ฟังก่อนนะครับ

หลักๆ ก็ไม่มีอะไรมากหรอก แค่เพื่อนๆ เคยสังเกตมั้ยครับว่า
“หนังสือเล่มนึงอาจจะมีการถูก catalog ไม่เหมือนกัน”
เช่น หอสมุดแห่งชาติให้เลขหมู่อย่างหนึ่ง ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาให้อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ

ดังนั้นหนังสือ ก. จึงมีข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไม่เหมือนกัน

เอางี้ เวลาเพื่อนๆ ไปห้องสมุด ก แล้วพาหนังสือ และเจอหนังสือที่ต้องการในชั้นหนังสือทั่วไป
แต่เวลาไปห้องสมุด ข เดินไปที่ชั้นหนังสือเดียวกันกลับไม่เจอ ทำให้ต้องเสียเวลาค้นหาใหม่
และพบว่าหนังสือเล่มนั้นไปอยู่อีกชั้นหนึ่งทั้งๆ ที่รู้สึกว่ามันไม่ถูกต้อง

ดังนั้นหลายๆ ครั้งที่ไปพบกับเพื่อนๆ ในห้องสมุดที่ต่างๆ ผมจึงแนะนำให้เพื่อนๆ ใช้งาน copy catalog
เพื่อที่จะช่วยลดเวลาในการทำงานให้เพื่อนๆ และที่สำคัญคือ เพื่อปรับข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือเล่มใหม่ๆ
ให้มีข้อมูลบรรณานุกรมที่เหมือนกัน หรือคล้ายกันมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการให้เลขหมู่และหัวเรื่อง

หลักการง่ายๆ คือ เข้าไปที่เว็บไซต์สหบรรณานุกรม แล้วค้นหาหนังสือดังกล่าว แล้วก็ copy
ง่ายไปหรือปล่าวครับ —> ไม่ง่ายหรอกครับ เพราะเมื่อ copy มาแล้วเพื่อนๆ จะใช้ตามนั้นเลยคงไม่ได้

เพื่อนๆ จะต้องมาพิจารณาข้อมูลรายการบรรณานุกรมเล่มนั้นจริงๆ จังๆ สักหน่อย
เพราะบางแห่งก็ใช้การจัดหมวดหมู่ที่ไม่เหมือนกัน เช่น บางที่ใช้แอลซี บางที่ใช้ดิวอี้
ดังนั้นเพื่อนๆ ต้องดูรายละเอียดเหล่านี้ให้ดีๆ ด้วยนะครับ

สำหรับเว็บไซต์ที่ผมจะแนะนำเพื่อการ Copy Catalog มีดังนี้
– สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ –> http://catalog.loc.gov

lc

– สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ –> http://www.oclc.org/worldcat/

oclc

– สำหรับหนังสือภาษาไทย –> http://uc.thailis.or.th/

thailis

นอกจากนี้ก็ยังมีเว็บไซต์ของห้องสมุดต่างๆ โดยเฉพาะห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของไทย

เอาเป็นว่าก็ลองเข้าไปใช้กันดูนะครับ แต่ผมก็ขอบอกไว้ก่อนว่า
ในเว็บไซต์เหล่านี้ก็ใช่ว่าจะมีหนังสือครบทุกเล่ม ดังนั้นเล่มไหนที่ไม่มีเพื่อนๆ ก็ต้องลองประยุกต์กันเองนะครับ

สัมมนาเรื่อง “มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้”

วันนี้ผมมีงานสัมมนาที่น่าสนใจสำหรับงานห้องสมุดมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ เข้าร่วม
งานนี้เป็นงานสัมมนาที่ว่าด้วยเรื่องมาตรฐานของสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ นั่นเอง

digital-media

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัมมนานี้
ชื่องานสัมมนา : มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 มกราคม 2553 เวลา 8.30-17.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

งานสัมมนาครั้งนี้จะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจในเรื่องของการเผยแพร่เนื้อหาสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ
ซึ่งจะเน้นในเรื่องของรูปแบบและมาตรฐานในการเข้าถึงสารสนเทศต่างๆ เพื่อทำให้เกิดคุณภาพต่อการให้บริการ
ในอนาคตผมว่าสื่อประเภทดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทต่อวงการห้องสมุดอีกมากมาย
ดังนั้นเพื่อนๆ ควรจะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงด้วย

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง ความสำคัญของมาตรฐานสื่อดิจิทัล โดย ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงศ์
– การพัฒนาคลังความรู้ด้วย Open Source Software โดย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์
– ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ โดย นายบุญเลิศ อรุณพิบูลย์
– โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย และการหารือเพื่อจัดทำโครงการ โดย แผนงาน ICT สสส.

งานสัมมนาครั้งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายนะครับ ดังนั้นเพื่อนๆ รีบๆ ลงทะเบียนกันด้วยนะครับ
ลงทะเบียนได้ที่ http://library.tu.ac.th/registeronline3/register.asp
และเพื่อนๆ สามารถตรวจดูชื่อของคนลงทะเบียนได้ที่ http://library.tu.ac.th/registeronline3/master.asp

งานนี้เป็นงานที่น่าสนใจและน่าเข้าร่วมมากๆ ครับ
เพื่อที่จะทำให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจและสามารถนำไปใช้ประยุกต์ต่องานห้องสมุดของเพื่อนๆ ได้

เอาเป็นว่าสำหรับเพื่อนๆ ที่ไป ก็สามารถเข้ามาทักทายผมได้นะครับ เพราะว่าผมก็เข้าร่วมงานนี้เช่นกัน
แต่สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานนี้ได้ เอาไว้กลับมาผมจะเขียนเล่าเรื่องในบล็อกนี้ให้นะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://library.tu.ac.th/digitalconference/

LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 8

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 8
ออกในเดือนธันวาคม 2552

librarianmagazine

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ออกมาในช่วงเทศกาลปีใหม่พอดีเลย
ดังนั้น hilight คงไม่พ้นการอวยพรและส่งความสุขให้เพื่อนๆ นะครับ แต่สาระความรู้ก็ยังคงมีให้อ่านเช่นกัน

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปอ่านกันเลยดีกว่าครับ

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก – ส่งความสุข

พาเที่ยว – จากดอยปุยถึงสะเงาะ

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – สวัสดี ดี ดี๊ ดี ปี 53

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – หยิบหนังสือใส่ตะกร้า

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – เก็บตกความสุขจากลานพระราชวังดุสิต

สาระน่ารู้ – ดนตรีของโมสาร์ท

เป็นยังไงกันบ้างครับเนื้อหาดีๆ และน่าสนใจมากมาย ยังไงก็ลองอ่านกันดูนะครับ

เนื่องในโอกาสเทสกาลแห่งความสุขนี้
ผมจึงขออวยพรให้ผู้จัดทำและผู้เขียนบทความทุกคนในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์
ให้พบแต่ความสุขและความสมหวังตลอดทั้งปี 2553 นี้นะครับ และอยู่คู่วงการบรรณารักษืไปนานๆ นะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 8 : http://librarianmagazine.com/VOL2/NO8/index.htm

บรรณารักษ์ควรฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษกันบ้างนะ

พอพูดถึงภาษาอังกฤษ หลายๆ คนอาจจะมองว่ามันเป็นอะไรที่ค่อนข้างยาก
แต่เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าเรื่องยากๆ สิ่งนี้แหละ จะช่วยให้เพื่อนๆ พัฒนางานด้านต่างๆ ในห้องสมุดได้

librarian-english

ทำไมบรรณารักษ์ต้องเรียนภาษาอังกฤษ
– เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่เป็นชาวต่างประเทศ
– เพื่อติดตามข่าวสารวงการบรรณารักษ์จากบล็อก/เว็บไซต์อื่นๆ ทั่วโลก
– เพื่อสืบค้นข้อมูลในฐานข้อมูลจากต่างประเทศ
– เพื่อสร้างความเป็นสากลให้กับห้องสมุดที่ทำงานอยู่
– เพื่อพัฒนาความสามารถของตัวเองและต่อยอดในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ

และอื่นๆ (ใครคิดได้อีกสามารถแจ้งได้นะ)

ดังนั้นผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษด้วย
ซึ่งผมมีวิธีการฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษมาแนะนำ (สไตล์ของผมเอง) นะครับ

วิธีการฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษสไตล์ Libraryhub

– เริ่มจากการเข้าร้านหนังสือต่างประเทศ เช่น Asia book, Kinokuniya, Bookazine และอื่นๆ อีกมากมาย
เมื่อเราเข้าไปในร้านหนังสือต่างประเทศแล้วให้เราเลือกหนังสือหมวดที่เราชอบแล้วหยิบมาอ่านดูนะครับ
มันจะทำให้เราคุ้นเคยกับการอ่านและการหยิบหนังสือต่างประเทศ

– การอ่านบทความภาษาอังกฤษที่ง่ายและเข้าใจง่ายที่สุด คือ การอ่านคอลัมน์ที่ชอบตามนิตยสารต่างประเทศ
เนื่องจากเป็นการอ่านแบบสั้นๆ ไม่ต้องอ่านยาวมาก และเนื้อหาในนิตยสารมักเป็นเรื่องสบายๆ ไม่ยุ่งยาก อ่านแล้วไม่เครียด

– เปิดเว็บไซต์ หรือ เว็บบล็อกที่เราชื่นชอบ (ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบรรณารักษ์และห้องสมุดจะดีมากๆ ครับ)
ลองตั้งเกณฑ์ดูว่าจะอ่านวันละเรื่อง แล้วลองทำให้ได้ครับ บางเรื่องไม่ต้องอ่านทั้งหมดหรอก อ่านหัวข้อเอาและลองสรุปดู

– ทดลองการใช้งานฐานข้อมูลต่างประเทศหลายๆ ฐาน แล้วลองจำลองเหตุการณ์ในการค้นสารสนเทศดู
เช่น ถ้าต้องการหาเนื้อหาเกี่ยวกับ “โปรแกรมระบบห้องสมุด” เราจะใช้ keyword อะไร
แล้วลองค้นดูด้วยหลายๆ คำ ดู เสร็จแล้วก็พยายามจดเอาว่า คำไหนที่เราใช้แล้วได้ผลการค้นที่ดี

– สมัครจดหมายข่าว E-newsletter ของต่างประเทศ ทุกๆ วันหน่วยงานเหล่านี้จะส่งจดหมายข่าวมาให้เราอ่าน
ซึ่งในจดหมายข่าวเหล่านี้จะมีการถามตอบคำถามในเรื่องที่เราสนใจด้วย
ดังนั้นถ้าเราอยากฝึกการโต้ตอบจดหมายข่าว วิธีนี้ผมขอแนะนำเลย

– หาเพื่อนและเครือข่ายของกลุ่มในเรื่องที่เราชอบ และหาโอกาสเข้าร่วม Live chat หรือ พูดคุยกับคนต่างชาติดู
การคุยภาษาอังกฤษที่ง่ายที่สุด สำหรับผมๆ ว่า MSN ทำให้เราคุยกับคนต่างชาติได้ค่อนข้างดีเลยนะครับ
แต่ถ้าอยากฝึกสำเนียงและการพูดก็ให้ใช้ skype ควบคู่ไปด้วยก็ดีครับ

– ไปสมัครเรียนคอร์สภาษาอังกฤษระยะสั้นเลยครับ

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างวิธีการเรียนรู้และฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษนะครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่มีวิธีในการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษดีๆ ก็อย่าลืมนำมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันครับ
สุดท้ายนี้ผมก็ขอย้ำว่าภาษาอังกฤษเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บรรณารักษ์ควรจะเรียนรู้และหัดใช้งานครับ

บรรณารักษ์กับเว็บไซต์ถามตอบ

วันนี้ขอนำเสนอบทความเก่าขอเล่าใหม่อีกสักเรื่องนะครับ…
ชื่อบทความนี้ คือ Librarians Eat Questions for Breakfast ซึ่งบทความนี้ผมอ่านเจอใน LISNews
โดยเนื้อหาหลักๆ ของบทความนี้ คือ บทบาทของบรรณารักษ์กับเว็บไซต์ถามตอบต่างๆ

answersite-librarian

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับถามตอบ เช่น
Yahoo! Answer – http://answers.yahoo.com/
Ask MetaFilter – http://ask.metafilter.com/
Wikipedia Reference Desk – http://en.wikipedia.org/wiki/Wikipedia:Reference_desk/

มีผลสำรวจจากเว็บไซต์เหล่านี้ พบว่า ผู้ที่เข้ามาตอบคำถามจำนวนหนึ่งเป็นบรรณารักษ์นั่นเอง
ซึ่งคำตอบเหล่านี้นับว่าเป็นคำตอบที่มีคุณภาพมากและช่วยผู้ใช้ได้มากเลยทีเดียว

จากวัฒนธรรมในการถามและตอบคำถามต่างๆ เหล่านี้
ทำให้มีห้องสมุดจำนวนไม่น้อยนำความคิดดังกล่าว มาประยุกต์ใช้ในงานบริการห้องสมุดแบบเสมือน (Virtual Library)
โดยบรรณารักษ์จะตั้งคำถามและตอบคำถามต่างๆ ผ่านทางระบบห้องสมุดแบบเสมือน (Virtual Library) นั่นเอง

การประยุกต์ใช้งานเว็บไซต์ถามตอบ
เริ่มจากผู้ใช้บริการเข้ามาตั้งคำถามที่ระบบห้องสมุดแบบเสมือน (Virtual Library) ซึ่งอาจจะนำมารวมกับระบบเว็บไซต์ของห้องสมุดก็ได้
โดยหลักการตั้งคำถามของผู้ใช้บริการ ระบบจะต้องครอบคลุมเนื้อหาในชีวิตประจำวันและเรื่องสารสนเทศต่างๆ ด้วย
และเมื่อบรรณารักษ์มาทำงานในช่วงเช้าของแต่ละวัน บรรณารักษ์ก็จะมาตอบคำถามเหล่านี้ให้กับผู้ใช้บริการ

เมื่อบรรณารักษ์ปฏิบัติแบบนี้ทุกวัน บรรณารักษ์ก็จะได้ความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นได้
อุปมาว่าอาหารเช้าของบรรณารักษ์เหล่านี้ก็คือความรู้ต่างๆ มากมายจากผู้ใช้บริการนั่นเอง

คำถามที่ผู้ใช้บริการมักจะถาม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
– คำถามด้านสารสนเทศ —> บรรณารักษ์สามารถหาคำตอบได้ในห้องสมุด
– คำถามอื่นๆ —> บรรณารักษ์ก็สามารถหาคำตอบหรือตั้งคำถามได้ใน Answer site ต่างๆ ได้

สำหรับความเห็นของผมนะครับ ผมว่ามันก็ดีเหมือนกัน ถือว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้บรรณารักษ์ด้วย
เนื่องจากปกติบริการตอบคำถามส่วนใหญ่บรรณารักษ์จะเจอคำถามที่อยู่ในห้องสมุดเพียงเท่านั้น
แต่ถ้าเราเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถถามข้อมูลได้ทุกเรื่องบรรณารักษ์ก็จะได้เปิดความคิดใหม่ๆ ไปด้วย

เพื่อนๆ ว่ามั้ยหล่ะครับ

1 ปีที่ผ่านมากับตำแหน่งนักพัฒนาระบบห้องสมุด

สวัสดีปีใหม่ 2553 นะครับทุกคน วันนี้ก็เป็นวันแห่งการเริ่มต้นใหม่ในปีใหม่ๆ
หากย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว (2552) ปีนี้ผมก็เริ่มทำงานใหม่เช่นเดียวกัน
ในตำแหน่งนักพัฒนาระบบห้องสมุด ให้กับโครงการศูนย์ความรู้กินได้

library-system-development

วันนี้ผมขอประมวลเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปี 2552 ให้เพื่อนๆ อ่านกันนะครับ

ชื่อตำแหน่งที่ได้รับ “นักพัฒนาระบบห้องสมุดโครงการศูนย์ความรู้กินได้
ภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า OKMD นั่นเอง

ตำแหน่งนี้หากมองแบบผ่านๆ ก็อาจจะคิดว่าเกี่ยวกับ “บรรณารักษ์ด้านไอทีที่ดูแลเรื่องระบบห้องสมุด
แต่ความเป็นจริงแล้ว คำว่าระบบห้องสมุดในชื่อตำแหน่งของผมก็คือ ระบบการทำงานภายในห้องสมุดทั้งหมดต่างหาก

ตั้งแต่งานด้านบริหารห้องสมุด งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
งานเทคโนโลยีต่างๆ ด้านห้องสมุด การออกแบบการทำงานให้กับบรรณารักษ์และห้องสมุด
รวมไปถึงการคิดและสร้างบริการใหม่ๆ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ในห้องสมุดด้วย

หากพูดว่า “โครงการศูนย์ความรู้กินได้” เพื่อนๆ อาจจะงงว่าคือนี่คือโครงการห้องสมุดอะไร
โครงการศูนย์ความรู้กินได้ คือ โครงการที่จะพัฒนาห้องสมุดประชาชนให้มีบาบาททางสังคมมากขึ้น
ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาห้องสมุดต้นแบบอยู่ คือ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

งานที่ผมได้ทำมาในปีที่ผ่านมา เช่น
– การจัดการเรื่องการประเมินคุณค่าหนังสือเดิมที่มีอยู่ในห้องสมุด
– การสำรวจและสรุปผลหนังสือที่มีอยู่เดิมในห้องสมุด (Inventory)
– การออกแบบรูปแบบการทำงานใหม่ๆ ในห้องสมุดประชาชน
– การกำหนดคุณสมบัติระบบห้องสมุดอัตโนมัติทั่วไปสำหรับห้องสมุดประชาชน
– การกำหนดคุณสมบัติระบบเว็บไซตของห้องสมุดเพื่อการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการ
– การออกแบบและจัดสถานที่เพื่อให้การทำงานห้องสมุดเป็นไปอย่างราบรื่นและผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้เต็มที่
– การกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกสื่อความรู้ที่มีประโยชน์เข้าห้องสมุด

บริการใหม่ๆ และนวัตกรรมใหม่ๆ ในห้องสมุด เช่น
– การจัดมุมให้บริการสำหรับผู้สูงอายุในห้องสมุด
– การสร้าง Path Finder เพื่อบอกขอบเขตของเนื้อหาต่างๆ ในห้องสมุด
– การสร้างกล่องความรู้กินได้ เพื่อบริการองค์ความรู้แบบ one stop sevice

เอาเป็นว่านี่เป็นเพียงตัวอย่างคร่าวๆ ของงาน ที่ผมกำลังทำนั่นเองครับ
และภายในเดือนเมษายน 2553 เพื่อนๆ จะได้พบกับห้องสมุดแห่งนี้ได้ที่จังหวัดอุบลราชธานีครับ

เพราะห้องสมุด กำลังจะเปลี่ยนไป……