การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 3

หลังจากที่ผมเคยสรุปหนังสือเรื่อง ?Planning the modern public library building? บทที่ 1 และ 2 นานแล้ว
วันนี้ผมขอสรุปบทที่ 3 และ 4 ต่อเลยดีกว่า ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบห้องสมุดที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ยังแถมด้วยเรื่องของการให้บริการที่ควรจะมีในห้องสมุดประชาชน

planning-public-library-part-3

ขอแจ้งรายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้อีกที

ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

Chapter 3 : Greening the Library : An Overview of Sustainable Design
เป็นบทที่ว่าด้วยการออกแบบห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เรื่องที่น่าสนใจของห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือที่เราเรียกกันในนาม “Green Library” นั่นเอง มีดังนี้
Building Site (ที่ตั้งของตัวอาคาร) มีข้อแนะนำคือควรเน้นการปรับปรุงโครงสร้างเดิมของห้องสมุดที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก รวมไปถึงการนำสิ่งที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวอาคาร นอกจากนี้ยังต้องมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านนอกของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย

Building Design (การออกแบบอาคาร) การออกแบบห้องสมุดโดยคำนึงถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยมองเรื่องใกล้ๆ ตัว เช่น การดูทิศทางลม การส่องสว่างของแสงจากธรรมชาติ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังทางเลือก ฯลฯ นอกจากออกแบบด้านในห้องสมุดแล้ว เรายังต้องมองการออกแบบภายนอกอาคารด้วย

Interior Design (การออกแบบและตกแต่งภายใน) ให้เน้นเรื่องเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากธรรมชาติเป็นหลัก และปรับสภาพทั่วๆ ไปให้กลมกลืนกันทั่วห้องสมุด

Engineering System (ระบบต่างๆ ในอาคาร) เช่น เรื่องไฟฟ้า แสงสว่าง เครื่องปรับอากาศ ระบบบำบัดน้ำ ฯลฯ

ห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติให้โลก รวมไปถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายบางส่วนของห้องสมุดด้วย

เอาเป็นว่านี่ก็คือเนื้อหาคร่าวๆ ของบทที่ 3 เรื่องห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ต่อไปผมจะขอกล่าวถึง บทที่ 4 ด้วยซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบริการต่างๆ ที่ควรมีในห้องสมุดประชาชน

Chapter 4 : An ounce of prevention : Library directors and the designing of public library
เป็นบทที่ว่าด้วยบริการที่ควรมีในห้องสมุดประชาชน

ไปดูกันเลยครับว่าห้องสมุดประชาชน (ในต่างประเทศ) เขามีบริการอะไรบ้าง

– ชั้นหนังสือทั่วไป
– พื้นที่สำหรับอ่านหนังสือ
– มุมหนังสือเด็ก
– มุมเรียนรู้ตามอัธยาศัย (ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างกลุ่ม)
– มุมสื่อมัลติมีเดีย
– มุมแนะนำหนังสือใหม่ และหนังสือยอดนิยม
– มุมประวัติศาสตร์ หรือ หอจดหมายเหตุ
– มุมสารสนเทศท้องถิ่น
– มุมวรรณกรรม นวนิยาย เรื่องสั้น
– มุมบริการอ้างอิง
– มุมบริการตอบคำถาม
– มุมแสดงนิทรรศการ
– มุมเงียบ หรือพื้นที่อ่านหนังสือแบบเงียบๆ
– มุมบริการเครือข่ายห้องสมุด
– มุมทำงานและนำเสนองานสำหรับหน่วยงานอื่นๆ
– ห้องปฏิบัติการ

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงบริการต่างๆ ในห้องสมุดประชาชนแบบคร่าวๆ
ในเรื่องรายละเอียดเพื่อนๆ ลองเข้าไปหาอ่านได้จากเว็บไซต์ห้องสมุดประชาชนทั่วไป (ในต่างประเทศ) เองนะครับ

อ๋อ สำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ทาง google book search ได้สแกนไว้ให้อ่านแบบเล่นๆ 300 หน้า ลองไปอ่านที่
http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*