การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 3

หลังจากที่ผมเคยสรุปหนังสือเรื่อง ?Planning the modern public library building? บทที่ 1 และ 2 นานแล้ว
วันนี้ผมขอสรุปบทที่ 3 และ 4 ต่อเลยดีกว่า ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบห้องสมุดที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ยังแถมด้วยเรื่องของการให้บริการที่ควรจะมีในห้องสมุดประชาชน

planning-public-library-part-3

ขอแจ้งรายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้อีกที

ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

Chapter 3 : Greening the Library : An Overview of Sustainable Design
เป็นบทที่ว่าด้วยการออกแบบห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เรื่องที่น่าสนใจของห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือที่เราเรียกกันในนาม “Green Library” นั่นเอง มีดังนี้
Building Site (ที่ตั้งของตัวอาคาร) มีข้อแนะนำคือควรเน้นการปรับปรุงโครงสร้างเดิมของห้องสมุดที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก รวมไปถึงการนำสิ่งที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวอาคาร นอกจากนี้ยังต้องมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านนอกของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย

Building Design (การออกแบบอาคาร) การออกแบบห้องสมุดโดยคำนึงถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยมองเรื่องใกล้ๆ ตัว เช่น การดูทิศทางลม การส่องสว่างของแสงจากธรรมชาติ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังทางเลือก ฯลฯ นอกจากออกแบบด้านในห้องสมุดแล้ว เรายังต้องมองการออกแบบภายนอกอาคารด้วย

Interior Design (การออกแบบและตกแต่งภายใน) ให้เน้นเรื่องเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากธรรมชาติเป็นหลัก และปรับสภาพทั่วๆ ไปให้กลมกลืนกันทั่วห้องสมุด

Engineering System (ระบบต่างๆ ในอาคาร) เช่น เรื่องไฟฟ้า แสงสว่าง เครื่องปรับอากาศ ระบบบำบัดน้ำ ฯลฯ

ห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติให้โลก รวมไปถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายบางส่วนของห้องสมุดด้วย

เอาเป็นว่านี่ก็คือเนื้อหาคร่าวๆ ของบทที่ 3 เรื่องห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ต่อไปผมจะขอกล่าวถึง บทที่ 4 ด้วยซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบริการต่างๆ ที่ควรมีในห้องสมุดประชาชน

Chapter 4 : An ounce of prevention : Library directors and the designing of public library
เป็นบทที่ว่าด้วยบริการที่ควรมีในห้องสมุดประชาชน

ไปดูกันเลยครับว่าห้องสมุดประชาชน (ในต่างประเทศ) เขามีบริการอะไรบ้าง

– ชั้นหนังสือทั่วไป
– พื้นที่สำหรับอ่านหนังสือ
– มุมหนังสือเด็ก
– มุมเรียนรู้ตามอัธยาศัย (ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างกลุ่ม)
– มุมสื่อมัลติมีเดีย
– มุมแนะนำหนังสือใหม่ และหนังสือยอดนิยม
– มุมประวัติศาสตร์ หรือ หอจดหมายเหตุ
– มุมสารสนเทศท้องถิ่น
– มุมวรรณกรรม นวนิยาย เรื่องสั้น
– มุมบริการอ้างอิง
– มุมบริการตอบคำถาม
– มุมแสดงนิทรรศการ
– มุมเงียบ หรือพื้นที่อ่านหนังสือแบบเงียบๆ
– มุมบริการเครือข่ายห้องสมุด
– มุมทำงานและนำเสนองานสำหรับหน่วยงานอื่นๆ
– ห้องปฏิบัติการ

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงบริการต่างๆ ในห้องสมุดประชาชนแบบคร่าวๆ
ในเรื่องรายละเอียดเพื่อนๆ ลองเข้าไปหาอ่านได้จากเว็บไซต์ห้องสมุดประชาชนทั่วไป (ในต่างประเทศ) เองนะครับ

อ๋อ สำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ทาง google book search ได้สแกนไว้ให้อ่านแบบเล่นๆ 300 หน้า ลองไปอ่านที่
http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result

การ์ตูนเรื่องนี้จะสอนให้รู้ว่า หากทำหนังสือห้องสมุดหายควรทำยังไง

ผมเป็นคนที่ชอบอ่านการ์ตูน 4 ช่องของต่างประเทศครับ วันนี้ขอนำมาให้เพื่อนๆ อ่านเล่นสักตอนนึง
ซึ่งผมขอเลือกการ์ตูนที่เกี่ยวกับห้องสมุดนะครับ จะได้สอดคล้องกับเนื้อหาในบล็อกผมสักหน่อย

peanut-library-cartoon

เนื้อหาก็ไม่มีอะไรมากหรอกครับ แค่เป็นการ์ตูนที่เกี่ยวกับเด็กคนนึงที่ทำหนังสือของห้องสมุดหายเท่านั้นเอง
เพื่อนๆ อยากรู้มั้ยครับว่าเด็กคนนี้จะแก้สถานการณ์ยังไง เอาเป็นว่าลองอ่านไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าครับ

peanuts

ปล. การ์ตูนที่ผมนำมาให้ดูวันนี้ ผมนำมาจากเว็บไซต์ของ OCLC เป็นการ์ตูนที่ชื่อว่า “Peanuts”

ข้อความในการ์ตูนมีดังนี้
กรอบที่ 1 ? Dear Library, I have lost your book (ถึงห้องสมุด, ฉันทำหนังสือของคุณหาย)
กรอบที่ 2 ? I can not find it anywhere (หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ)
กรอบที 3 ? I will come to the library and turn myself in (
ผมจะไปที่ห้องสมุดและมอบตัว)
กรอบที่ 4 ? Please do not harm my mother and father (
กรุณาอย่าทำร้ายพ่อและแม่ของผม)

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับการ์ตูนน่ารักๆ นี้
ผมว่านะ “ขนาดเด็กๆ ยังมีความคิดที่ดีและสร้างสรรค์มากๆ เลย”

ช่างเป็นข้อคิดที่ดีมากๆ เลยนะครับ เพราะว่าขนาดเด็กยังมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองกระทำเลย
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ทำหนังสือของห้องสมุดหายก็อย่ากังวลมากครับ ให้แจ้งกับห้องสมุดตามตรง
แล้วจะชดใช้ให้ห้องสมุดวิธีใดก็แล้วแต่ท่านสะดวกเลย เช่น ไปหาหนังสือแบบเดียวกันมาใช้คืน หรือ จ่ายค่าปรับให้ห้องสมุด ก็ได้

การ์ตูนแบบนี้ดูสนุกๆ แถมสอดแทรกข้อคิดที่ดีด้วย ไว้วันหลังผมจะหามาให้ดูอีกนะครับ

วีดีโองานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์

คลิปวีดีโอที่ทางเครือข่ายจิตอาสาได้ถ่ายวันที่อบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ส่งมาถึงมือผมเรียบร้อย
วันนี้ผมจึงขอนำขึ้นมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน สำหรับผู้ที่ไม่ได้มาอบรมคลิปวีดีโอนี้เป็นโอกาสของคุณแล้ว

แอบเสียดายนิดๆ ที่ผมไม่ได้นำกล้องถ่ายรูปไปในวันนั้น
เลยไม่ได้เก็บภาพบรรยากาศในวันนั้นมาให้เพื่อนๆ ดูเลย
มีก็เพียงวีดีโอที่ได้จากเครือข่ายจิตอาสาก็เท่านั้นเอง

virtual-library

การอบรมในวันนั้นใช้เวลาไป 3 ชั่วโมงก่าๆ แต่คลิปนี้มีความยาว 30 นาที
ซึ่งใน 30 นาทีที่ท่านกำลังจะได้ชมนั้น ผมว่ามันอัดข้อมูลในวันนั้นได้ครบถ้วนเลยทีเดียว

ไปชมวีดีโองานวันนั้นเลยครับ (ผมแบ่งเป็น 4 ตอนนะครับ)

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 1

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=5H592XIFeAY[/youtube]

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 2

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=kHFjshCWIRc[/youtube]

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 3

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=r9opbOzw58Q[/youtube]

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 4

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=2O3Qg5tDpLI[/youtube]

เป็นยังไงกันบ้างครับ ได้รับความรู้มากน้อยเพียงใด ก็อย่าลืมเอามาเล่าให้ฟังกันบ้าง
ใครที่นำไปลองใช้ก็ส่งความคิดเห็นมาด้วยเช่นกันนะครับ

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณช่างกล้อง (ไม่รู้จักชื่ออ่ะ ก็เลยไม่ลงชื่อให้นะ)
และเครือข่ายจิตอาสาที่ได้จัดงานอบรมดีๆ แบบนี้ให้คนไทยได้รู้จักคำว่ารักการอ่านมากขึ้น

ปล. วีดีโอนี้เป็นของเครือข่ายจิตอาสานะครับ

ความหลังจากงานสัมมนาโปรแกรมห้องสมุดดิจิทัล Greenstone เมื่อสามปีที่แล้ว

วันนี้ผมขอแนะนำโปรแกรม Greenstone Digital Library อีกสักครั้งดีกว่า
จริงๆ ผมเคยแนะนำหนังสือการใช้งานโปรแกรม Greenstone ไปแล้ว (เริ่มต้นกับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย Greenstone)

greenstone-library

ข้อมูลของโปรแกรม Greenstone Digital Library นี้ ผมได้นำมาจากสไลด์งานสัมมนาเมื่อสามปีที่แล้วนะครับ
ที่ตอนนั้นผมได้รับร่วมสัมมนาเรื่อง โปรแกรมห้องสมุดดิจิทัล โดยใช้โปรแกรม Greenstone Digital Library Software
ซึ่งจัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ NSTDA

การสัมมนาครั้งนี้เริ่มจากการเกริ่นถึง
– ความเป็นมาของห้องสมุดดิจิทัล (What is Digital Library for ?)
– ซอฟต์แวร์ที่ห้องสมุดดิจิทัลสามารถรองรับได้ (DL Software Requirements)
– มาตรฐานที่เกี่ยวกับการทำงานระหว่างห้องสมุด (Library Interoperability)
– การทำต้นแบบของห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library Prototype)

หลังจากที่เกริ่นถึงข้อมูลโดยทั่วไป ซอฟต์แวร์ และการทำงานร่วมกันระหว่างห้องสมุดจบ
สไลด์นี้ก็ได้กล่าวถึงสถาปัตยกรรมของระบบ (System Architecture) โดยทั่วไป
ว่าห้องสมุดดิจิทัลมีลักษณะการทำงานอย่างไร ต้องผ่านกระบวนการใดบ้าง

หลังจากที่เกริ่นเรื่องสถาปัตยกรรมของระบบจบ
ก็เข้าสู่เรื่องที่หลายๆ คนต้องการรู้ นั่นคือ เกี่ยวกับระบบ Greenstone Digital Library Software
– ข้อมูลโดยทั่วไปของระบบ (Overall System)
– สถาปัตยกรรมของระบบ (System Architecture)
– การทำงานของระบบในฟังก์ชั่นต่างๆ (Functionality) เช่น Search system, Librarian Interface, Configuration system

เป็นอย่างไรกันบ้างครับคร่าวๆ สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ น่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
แต่เสียดายที่ผมไม่ได้เก็บสไลด์งานวันนั้นอ่ะครับ เลยเอามาโพสให้ดูไม่ได้

แต่ผมขอแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นๆ แล้วกันนะครับ

เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บของ Greenstone Digital Library Software ได้เลยครับ

มอ.ปัตตานี รับสมัครบรรณารักษ์ปริญญาโท

วันนี้มีข่าวรับสมัครบรรณารักษ์มาฝากเพื่อนๆ อีกแล้วครับ
แต่งานบรรณารักษ์ในวันนี้ที่ผมจะแนะนำต้องใช้วุฒิปริญญาโทเท่านั้นนะครับ

psu-job-library-copy

หอสมุดในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี หรือที่เรารู้จักกันในนาม หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้
ประกาศรับสมัคร บรรณารักษ์ เพื่อทำงานในหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ อ่ะครับ

รายละเอียดของตำแหน่งเบื้องต้น

ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
สังกัด : ฝ่ายหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้
หน่วยงาน : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จำนวน : 1 อัตรา
เงินเดือน : 12,610 บาท

คุณสมบัติเบื้องต้นของตำแหน่งนี้อย่างที่บอกอ่ะครับว่า จบปริญญาโทด้านบรรณารักษ์หรือที่เกี่ยวข้อง

ความรู้ความสามารถที่ควรมี เช่น
– ความรู้ด้านทรัพยากรสารสนเทศ
– ความรู้และทักษะด้านการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์
– ความรู้และทักษะในการสื่อสาร
– ความรู้ในการเขียนโครงการและประเมินโครงการ
– ความรู้และทักษะด้านการสอนและนำเสนอ
– ความรู้และทักษะการใช้ไอที
– ความรู้และทักษะในการให้บริการ
– ความรู้และทักษะด้านการวิจัย

งานที่ต้องรับผิดชอบของตำแหน่งนี้ เช่น บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า รวมถึงงานบริการต่างๆ

เป็นยังไงกันบ้างครับกับรายละเอียดทั่วๆ ไป
ผมว่าเป็นงานที่น่าสนุกดีนะครับ แต่คงต้องใช้ทักษะหลายๆ ด้านในการทำงานเหมือนกัน

กำหนดการในการรับสมัคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ ไปจนถึง 9 มีนาคม 2553 (มีเวลาเตรียมตัวยาวเลยนะครับ)

เอาเป็นว่าหากสนใจก็ลองสอบถามรายละเอียดได้ที่
สำนักงานเลขานุการ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หรือโทรไปที่ 073331300 นะครับ

เอาเป็นว่าก็ลองไปสมัครกันดูนะครับ และขอให้โชคดีกับการสมัครครับ

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดได้จากเอกสารด้านล่างนี้นะครับ

<<< เอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับงาน >>>

เยาวชนเผยร้านเหล้าเข้าง่ายกว่าห้องสมุด

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาผมได้หยิบหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมาอ่านขณะกินข้าว
แต่เมื่ออ่านถึงหน้าข่าวการศึกษาก็ต้องสำลักทันทีเมื่อเจอข่าวนี้ “เยาวชนเผยร้านเหล้า เข้าง่าย กว่าห้องสมุด”

ภาพประกอบจากไทยรัฐออนไลน์
ภาพประกอบจากไทยรัฐออนไลน์

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.thairath.co.th/content/edu/62873
(ผมขอ copy มาลงให้เพื่อนๆ อ่านที่นี่ เช่นกัน เพราะข่าวในเว็บไซต์อาจจะถูกลบง่ายๆ)

เนื้อข่าว “เยาวชนเผยร้านเหล้า เข้าง่าย กว่าห้องสมุด”
ในคอลัมน์ข่าวการศึกษา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553

“สวมชุด นร.-นศ.เป็นพริตตี้เรียกแขกเสียเอง พม.รุกรณรงค์ภัยวัยรุ่นรับเทศกาลวาเลนไทน์ นักวิชาการติงระบบการศึกษาสอนเด็กติดแสงสี ต้องเร่งแก้ไข…

ที่ โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค เมื่อวันที่ 3 ก.พ. นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวในการเสวนาเรื่อง “รักใสๆ ให้ปลอดภัยของวัยโจ๋” จัดโดยสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) ตอนหนึ่งว่า คดีข่มขืนที่เกิดขึ้นพบว่าผู้กระทำผิดแทบทุกรายมาจากสาเหตุของการดื่มสุรา โดยเฉพาะวัยรุ่นเป็นกลุ่มเสี่ยงของสุรา หอพักแถวมหาวิทยาลัยที่ตนตรวจพบ ทำผิดกฎหมายจำนวนไม่น้อย ปล่อยให้ร้านสะดวกซื้อ ที่ตั้งอยู่ภายในจำหน่ายสุรา หรือ แม้แต่ร้ายขายยาก็เปิดจำหน่ายสุราด้วยเพราะขายดีกว่ายา

นายอิสสระ กล่าวต่อว่า เร็วๆ นี้ จะเชิญเจ้าหน้าที่ตำรวจ สรรพาสามิต อธิการบดีทุกแห่ง มาร่วมประชุมเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติการตรวจจับหอพักที่ทำผิดกฎหมายอย่าง เคร่งครัด จากนั้นตนจะเดินสายตรวจไม่เฉพาะใน กรุงเทพมหานคร (กทม.) แต่รวมถึงต่างจังหวัดด้วย นอกจากนี้ช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ที่ใกล้จะถึงได้มอบหมายให้ศูนย์เฝ้าระวัง และเตือนภัยทางสังคม พม. หารูปแบบรณรงค์ให้วัยรุ่นเข้าใจและรับทราบถึงภัยของวัยรุ่น การเที่ยวเตร่ ยาเสพติด และความปลอดภัยในการเดินทาง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา

นางสาวอรพิมพ์ รักษาผล เยาวสตรีดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2552 กล่าวว่า การที่วัยรุ่นเข้าถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ ยาเสพติด มาจากการไม่เห็นคุณค่าในชีวิตตนเอง มักภูมิใจในสิ่งที่ตนสร้างมากกว่าสิ่งที่สร้างตนโดยเฉพาะพ่อแม่ และความไม่พอเพียงกับการใช้ชีวิต จะเห็นว่าปัญหายาเสพติดเวลานี้ไม่ใช่เด็กเป็นกลุ่มเป้าหมาย แต่เด็กเป็นผู้กระจายความเสี่ยงให้กับผู้อื่นเสียเอง ร้านเหล้าปั่น บาร์เบียร์เข้าง่ายมากกว่าห้องสมุด ยิ่งเป็นชุดนักเรียนนักศึกษากลายเป็นพริตตี้ที่รัญจวนเชิญชวนให้หมู่ภมรเข้า มาดอมดม

เยาวสตรีดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2552 กล่าวต่อว่า สิ่งเหล่านี้โยงใยให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ทั้งเปิดประตูไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก กับใครก็ได้ นำไปสู่การตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม และตัดสินปัญหาด้วยการทำแท้งหรือกลายเป็นครอบครับเด็กแนวคือไม่มีแนวทางใน การดำเนินชีวิต จึงอยากเสนอให้ยึดหลัก 4 ใจคือ 1.จริงใจ ไม่อ่อนแอต่อกระแสต่างๆ 2.ข่มใจ 3.แข็งใจ อดทนต่อกิเลส และ4.คุมใจ ให้เป็นนายไม่ใช่เป็นทาสของอารมณ์ นอกจากนี้อยากเสนอ ผู้ใหญ่และผู้เกี่ยวข้องควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้เห็นถึงโทษ พิษภัยของปัญหา สร้างความตระหนักในบทบาทหน้าที่ ป้องกันความเสี่ยงและความเสื่อมอย่างชัดเจน

นางสาวอรพิมพ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ยังต้องสร้างต้นแบบแรงบันดาลใจเชิงประจักษ์ให้กับวัยรุ่น เพราะตนเคยประสบเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดด้วยตนเอง จากเพื่อนที่เรียนมัธยมในโรงเรียนสตรีด้วยกัน เมื่อแยกย้ายไปเรียนต่ออุดมศึกษาเพียงแค่อยู่ชั้นปี 1 เพื่อนคนดังกล่าวโทรศัพท์มาขอความช่วยเหลือให้หาที่ทำแท้งให้ ขณะนั้นได้ปฏิเสธไปเพราะตกใจและไม่รู้จะช่วยเหลืออย่างไร จากนั้นเพียง 1 สัปดาห์ผ่านไปได้ทราบข่าวว่าเพื่อนคนดังกล่าวเสียชีวิต เพราะตกเลือดมากจากการสั่งซื้อยาขับทางอินเตอร์เน็ต และใช้ไม้แขวนเสื้อเกี่ยวเด็กออกมา จะเห็นว่าปัญหาวัยรุ่นรวดเร็วและรุนแรงมากหากไม่เร่งรีบแก้ไข

ขณะที่ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า สถิติการข่มขืน ปล้ำ ล่อลวง ล่วงละเมิดทางเพศเพิ่มมากขึ้น และส่วนใหญ่เกิดจากคนใกล้ชิด คือ แฟนและคนรู้จักมากที่สุด โดยอิทธิพลจากละครหลังข่าว รวมทั้งดารานักแสดงที่นำเรื่องเซ็กส์มาเป็นจุดขายในที่สาธารณะ ทั้งที่เป็นเรื่องลามกอนาจารผิดกฎหมาย การแก้ปัญหาอย่าไปโทษแต่วัยรุ่น แต่ต้องโทษที่ผู้ใหญ่สร้างสิ่งเร้ายั่วยุเด็ก ระบบการศึกษาสอนให้เด็กเป็นปลาหมึก เมื่อถูกแสงสีล่อให้ติดกับดักก็ถูกช้อนนำไปกิน ไม่ได้สอนให้คิด วิเคราะห์และสร้างภูมิคุมกันปัญหา ทั้งนี้ปัญหาการใช้เสรีภาพตามอำเภอใจ ทำร้ายสังคม ต้องแก้โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง”

อ่านแล้วรู้สึกยังไงครับ สำหรับผมขอวิจารณ์นิดนึงพอนะครับ “เรื่องร้านเหล้าเข้าง่ายกว่าห้องสมุด”

ผมไม่เห็นด้วยกับประโยคนี้นะครับ ทำไมนะหรอครับ

ทำไม “ร้านเหล้า” ถึงเข้ายากกว่าห้องสมุด
1. เข้าได้เฉพาะเวลากลางคืน การเดินทางไปอาจจะไม่ค่อยสะดวก (สำหรับคนที่ไม่มีรถนะครับ)
2. เข้าไปมีแต่เสียงอึกทึกครึกโครม พูดกันเสียงดังๆ กลับมาเจ็บคออีก
3. ถ้าให้ขออนุญาติไปร้านเหล้ากับห้องสมุด คงไม่ต้องบอกหรอกนะครับว่า ผู้ใหญ่จะอนุญาติอย่างไหน (เว้นแต่หนีไป)
4. อายุต่ำกว่า 20 ปีก้ห้ามเข้าด้วย
เอาเป็นว่าด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง มันก็เห็นๆ อยู่ว่าร้านเหล้าเข้ายากกว่าห้องสมุด

เรื่องการเข้ายากหรือง่าย ผมมองว่ามันเป็นเพียงการเข้าถึงสถานที่นะครับ

สิ่งที่น่าคิดของเรื่องนี้คือ เยาวชนไม่อยากเข้าห้องสมุดเองมากกว่า ถึงได้บอกว่าเข้ายาก

แล้วทำไม “เยาวชนไม่อยากเข้าห้องสมุด” อันนี้เพื่อนๆ พอจะนึกกันออกหรือยังครับ
สาเหตุอาจจะเพราะ “ห้องสมุดไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเยาวชนเหล่านั้นได้ยังไงหล่ะครับ”

ตัวอย่าง “ห้องสมุดไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเยาวชน”
– มีแต่สื่อสารสนเทศที่ไม่น่าสนใจต่อการเรียนรู้ (หนังสือเก่า หนังสือชำรุดมากมายในห้องสมุด)
– มีแต่บรรณารักษ์ที่ทำหน้าดุใส่ ใครจะกล้าเข้าหล่ะครับ
– ไม่มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เลย (ห้องสมุดเป็นเพียงห้องอ่านหนังสือเท่านั้น)
– อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไม่เพียงพอ หรือไม่มี (คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต)
เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างของ “ห้องสมุดไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเยาวชน”

ที่นี้เรามาดูแนวทางการแก้ไขบ้างดีกว่า
– ห้องสมุดต้องมีบริการแนะนำหนังสือใหม่หรือหนังสือที่น่าสนใจ ที่สำคัญต้องประชาสัมพันธ์ให้ดี
– บรรณารักษ์ต้องมีท่าทีที่เป็นมิตรกับผู้ใช้บริการ ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้ใช้บริการ
– จัดกิจกรรมในห้องสมุดเพื่อส่งเสริมและรณรงค์การรักการอ่านบ้าง
– จัดหาอุปกรณ์และเทคโนโลยี รวมถึงบรรณารักษ์ต้องสามารถใช้งานเป็นด้วย
เพียงเท่านี้ห้องสมุดก็จะน่าสนใจมากยิ่งขึ้นนะครับ

ถ้าห้องสมุดน่าสนใจและมีกิจกรรมมากๆ ผมเชื่อว่าเยาวชนก็คงหันมาใช้ห้องสมุดมากขึ้นนะครับ
แล้วผมก็หวังว่าจะไม่ได้ยิน เห็น หรืออ่านข่าวทำนองนี้อีกนะครับ

รับสมัครผู้ช่วยบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันร่วมผลิตแพทย์

วันนี้ผมมีข่าวรับสมัครบรรณารักษ์มานำเสนออีกแล้วครับท่าน
เป็นการรับสมัครบรรณารักษ์ของห้องสมุดด้านการแพทย์นะครับ

job-librarian

ข้อมูลทั่วไปของการรับสมัคร
ชื่อตำแหน่ง : ผู้ช่วยบรรณารักษ์
หน่วยงาน : ห้องสมุดสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
จำนวน 1 ตำแหน่ง
เงินเดือน : 8,500-9,000 บาท

ลักษณะของงาน ก็คือทำงานทั่วๆ ไปในห้องสมุด เช่น
ช่วยงานด้านการคีย์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล บริการยืมคืน จัดชั้นหนังสือ นะครับ

แต่เรื่องที่ต้องเน้นคือ ความเป็นห้องสมุดด้านการแพทย์
ดังนั้นเพื่อนๆ วรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ด้านการแพทย์เตรียมไว้ด้วยนะครับ
(ลองอ่านคร่าวๆ ได้ที่ “การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ (NLM Classification)“)

คุณสมบัติของตำแหน่งนี้นะครับ
– เพศหญิงอายุไม่เกิน 28 ปี
– จบปริญญาตรี สาขาบรรณารักษศาสตร์หรือสารสนเทศศาสตร์

หากสนใจก็ลองติดต่อไปที่คุณพรนิภัค สันต์ธนะวาณิช 081-8123856 หรืออีเมล์ pornnipuk@hotmail.com

เอาเป็นว่าใครที่กำลังหางานอยู่ผมก็ขอแนะนำนะครับ
แล้วอย่าลืมบอกที่มาตอนสมัครด้วยว่า “รู้จาก Libraryhub”

มาหอสมุดแห่งชาติควรจะพกบัตรมาเยอะๆ

เมื่อวานก็เป็นอีกหนึ่งวันที่ผมมาใช้บริการที่หอสมุดแห่งชาติ ซึ่งแน่นอนครับถ้าไม่มีอะไรผมก็คงไม่เขียนบล็อกหรอก
แน่นอนครับ เกริ่นมาซะขนาดนี้แล้ว….มันมีเรื่องที่เกิดขึ้นกับผมอีกแล้วครับท่าน
จริงๆ ผมก็เคยพูดไปแล้วในเรื่อง “เรื่องอึ้งๆ ณ ?มุมโน้ตบุ๊ค? ในหอสมุดแห่งชาติ” เกี่ยวกับการแลกบัตรในหอสมุดแห่งชาติ

national-library-thailand

ประเด็นไหนบ้างที่ต้องแลกบัตรในหอสมุดแห่งชาติ
1. ยืมหนังสือออกจากห้องบริการเพื่อถ่ายเอกสาร
2. ขอใช้มุมบริการโน้ตบุ๊ค

เอาเป็นว่าวันนี้ผมมาใช้บริการในหอสมุดแห่งชาติ แบบว่าต้องใช้หนังสือจากหลายๆ ห้องบริการ
เช่น หนังสือในหมวดบรรณารักษ์ ห้อง 213 และนิตยสารจากชั้น 1 เอาเป็นว่าใช้ไปแล้ว 2 ใบ
นอกจากนี้ผมยังต้องใช้บริการโน้ตบุ๊คที่ผมนำมาเองอีก และแน่นอนว่าต้องใช้ไปอีก 1 ใบ

หมายเหตุสักนิด บัตรที่จะใช้ได้ต้องเป็นบัตรที่มีรูปถ่ายเท่านั้น

สรุปวันนี้ผมใช้บัตรเพื่อแลกกับบริการต่างๆ ในหอสมุดแห่งชาติจำนวน 3 ใบ ประกอบด้วย
– บัตรประชาชน
– ใบขับขี่
– บัตรสมาชิกห้องสมุดซอยพระนาง

เอาเป็นว่าเหนื่อยใจ จริงๆ ต้องใช้บัตรเยอะแบบนี้ ลองคิดดูนะครับว่าถ้าผมไม่รู้ธรรมเนียมของหอสมุดแห่งชาติ
ผมคงโวยวายกับบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ของแต่ละห้องไปเรียบร้อยแล้ว

เอาเป็นว่าก็ขอฝากไว้นะครับสำหรับคนที่จะมาใช้บริการในหอสมุดแห่งชาติ
ถ้าต้องการข้อมูลและบริการที่เยอะหน่อยก็ควรพกบัตรที่มีรูปมาหอสมุดแห่งชาติเยอะๆ นะครับ