การติดตั้งโปรแกรม Koha บน Windows V.1

มีหลายคนเขียนเมล์มาถามผมเรื่อง Koha มากมายเกี่ยวกับเรื่องการติดตั้ง
วันนี้ผมเลยขอนำเสนอการติดตั้ง Koha แบบ step by step ให้เพื่อนๆ อ่านแล้วกัน

Koha - Open Source for ILS

ปล.สำหรับคนที่ยังไม่รู้จัก Koha กรุณาอ่านKoha – Open Source for ILS

การเตรียมพร้อมก่อนการติดตั้ง Koha บน Windows

อย่างแรกก่อนการติดตั้งนั่นก็คือ ดาวน์โหลดโปรแกรม Koha มาก่อน
ซึ่งตอนนี้ Koha ที่ใช้กับ Window ที่ผมแนะนำคือ Koha V2.2.9
เพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://www.koha.rwjr.com/downloads/Koha2.2.9-W32-R1.EXE

หลังจากดาวน์โหลดโปรแกรม Koha แล้ว ให้เพื่อนๆ สำรวจเครื่องของเพื่อนๆ ก่อนว่ามีโปรแกรมดังต่อไปนี้หรือไม่
– Apache (http://mirror.kapook.com/apache/httpd/binaries/win32/)
– MySQL (http://dev.mysql.com/downloads/)
– ActivePerl (http://www.activestate.com/activeperl/downloads/)

ถ้ายังไม่มีให้ดาวน์โหลดก่อน ตาม link ที่ให้ไปได้เลย

ขั้นตอนการ ติดตั้ง Koha บน Windows

ขั้นที่ 1 ติดตั้ง Apache ให้เลือก folder ( C:\Program Files\Apache Group\ )

ขั้นที่ 2 ติดตั้ง MySQL ให้เลือก folder (C:\mysql)

ขั้นที่ 3 ติดตั้ง Perl ให้เลือก folder (C:\usr\)

ขั้นที่ 4 ติดตั้ง Koha

หลังจากที่ติดตั้งโปรแกรมทั้งหมดครบแล้ว เราก็จะเริ่มใช้งาน Koha ครั้งแรก
โดยคุณจะสังเกตไอคอนใน System tray 2 ตัวคือ ไอคอนที่มีรูปคล้ายไฟจราจรกับไอคอน apache
ให้คุณกดไอคอน apache แล้วเลือก start apache server
และไอคอนรูปไฟจราจรให้เลือก Start MySQL database server

เมื่อดำเนินการกับ Apache และ SQL เสร็จ ให้เราเปิด Web brower
ในช่อง Address ให้ใส่คำว่า “opac” หรือ “Intranet” เพื่อเข้าสู่หน้าจอการทำงาน

ในส่วนขั้นตอนของการทำงานเอาไว้ผมจะเอามาเขียนอีกทีแล้วกันนะครับ
วันนี้ขอแค่เรื่องการติดตั้งอย่างเดียวก่อนนะครับ

ปล.บทความนี้ผมเพิ่งเขียนครั้งแรก คงต้องมีเวอร์ชั่นปรับปรุงอีก
แล้วเดี๋ยวผมจะมาแจ้งให้เพื่อนๆ ทราบอีกทีนะครับ (โดยเฉพาะการเพิ่มรูปขั้นตอนการติดตั้ง)

คู่มือการใช้งานและการติดตั้ง Koha : http://www.koha.rwjr.com/downloads/Koha%20on%20Windows.pdf

ภาพหมู่เอกบรรณารักษ์รุ่นสุดท้ายแห่ง มอ.

อันนี้ไม่ขอเขียนอะไรมากมาย แค่อยากเอารูปเก่าๆ มาให้เพื่อนๆ ดู
ซึ่งเป็นรูปถ่ายของเอกบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์แห่ง มอ.

lib-info-sci-psu

รุ่นของผมคือรุ่นสุดท้ายที่มีการใช้คำว่า “บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์” นะครับ
หลังจากรุ่นผมเป็นต้นไปที่ภาควิชาก็เปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น “การจัดการสารสนเทศ” แล้วครับ

เนื้อหารายวิชาบางส่วนก็ยังคงเป็นวิชาของบรรณารักษ์ แต่ก็ได้มีการเน้นวิชาด้านไอทีมากขึ้นด้วย
ซึ่งเน้นไปในเรื่องการจัดการสารสนเทศในทุกรูปแบบนั่นเอง

ดูในรูปแล้วก็ทำเอาคิดถึงเพื่อนๆ เอกเลยนะครับ
ในรุ่นของผมเป็นรุ่นประวัติศาสตร์ที่มีผู้ชายมากถึง 6 คน ส่วนผู้หญิงก็มีทั้งหมด 16 คนครับ

เอามาให้ดูอย่างนั่นแหละครับ ไม่รู้จะอธิบายยังไง
แต่สังเกตจากภาพที่ทุกคนมีความสุขกับวิชาที่เรียน แค่นี้ก็ทำให้รู้สึกดีใจแล้วครับ
แม้ว่าบางคนจบมาก็เป็นบรรณารักษ์ หรือบางคนก็ไม่ได้เป็นบรรณารักษ์
แต่อย่างน้อยทุกคนก็ใช้วิชาที่เรียนมาสร้างความสำเร็จในชีวิตได้
ผมว่าแค่นี้ก็ดีที่สุดแล้ว?

คิดถึงเพื่อนๆ นะ

[nggallery id=23]

7 อย่างที่ห้องสมุดจะช่วยคุณยามเศรษฐกิจตกต่ำ

ในยามที่เศรษฐกิจกำลังมีปัญหา ห้องสมุดก็มีวิธีที่ทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้
โดยบทความที่ผมนำมาแปลและเรียบเรียงนี้ มาจากเว็บไซต์ consumerist ชื่อบทความว่า
7 Ways Your Public Library Can Help You During A Bad Economy

ภาพประกอบจาก http://www.gettyimages.com/
ภาพประกอบจาก http://www.gettyimages.com/

7 วิธีที่ห้องสมุดประชาชนจะช่วยคุณได้ในยามเศรษฐกิจตกต่ำ มีดังนี้

1. You can get pretty much any book at the library
คุณสามารถหยิบยืมหนังสือที่คุณต้องการอ่านได้จากที่ห้องสมุด
ซึ่งหนังสือก็มีให้เลือกมากมาย หลายหมวดหมู่ หลายประเภท
และหากจะยืมข้ามห้องสมุด ก็สามารถใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter Library loan) ได้ด้วย

2. Yes, we have movies
ห้องสมุดเรามีกิจกรรมฉายภาพยนตร์ทุกสัปดาห์นะครับ
นั่นเท่ากับว่าคุณไม่ต้องไปเปลืองเงินที่โรงภาพยนตร์เลยครับ

3. Kids Activities
ห้องสมุดมีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ มากมาย
ดังนั้นพวกคุณสามารถนำลูกหลานมาทำกิจกรรมได้
นอกจากจะเป็นการเสริมทักษะมห้ลูกหลานของคุณแล้ว
ยังสร้างความสัมพันธ์ให้กับครอบครัวของคุณได้อีกด้วย

4. Save Money and maybe your life
มาห้องสมุดทำให้คุณมีเงินเก็บมากขึ้นด้วย เพราะในห้องสมุดคุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรมากมาย

5. Make new friends
มาห้องสมุดคุณอาจจะได้เพื่อนใหม่เลยก็ได้
มันก็ไม่แน่นะครับเพราะว่า คุณอาจจะเจอเพื่อนที่ชอบอ่านหนังสือแนวเดียวกันก็ได้

6. Find a new job
ห้องสมุดหลายๆ แห่งมีบริการอินเทอร์เน็ตบริการผู้ใช้อยู่แล้ว
คุณก็ลองใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหางานดูสิครับ
ไม่แน่นะครับ คุณอาจจะเจองานที่ถูกใจก็ได้

7. Libraries listen to consumers
ในขณะที่คนอื่นๆ อาจจะไม่ฟังคุณ แต่ขอให้จงระลึกไว้เสมอว่าห้องสมุดจะฟังคุณเอง

เอาเป็นว่านี่ก็คือ 7 วิธีที่ห้องสมุดประชาชนจะช่วยคุณในยามเศรษฐกิจตกต่ำได้นั่นเอง
ผมก็อยากให้เพื่อนๆ เข้าห้องสมุดกันมากๆ นะครับ
อย่างน้อยคุณก็สามารถที่จะใช้ชีวิตผ่านวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ด้วยตัวเอง

My Slide : การแบ่งปันความรู้ คือ พลังอันยิ่งใหญ่

วันนี้ผมขอนำสไลด์ชุดนี้ มาโพสเก็บไว้ในบล็อกใหม่ของผมหน่อยนะครับ
ซึ่งสไลด์ชุดนี้ผมเคยนำไปใช้บรรยายในงาน ?3S กับการจัดการความรู้ของ วศ.? มาแล้ว
โดยเนื้อหาในสไลด์ชุดนี้ผมได้กล่าวถึงความสำคัญของการแบ่งปันความรู้สู่สังคมในรูปแบบต่างๆ

my-slide-library

ลองดูสไลด์ที่ชมใช้บรรยายได้เลยครับ

เนื้อหาในสไลด์ผมได้แบ่งเป็นส่วนๆ ดังนี้

1. การแบ่งปันความรู้เบื้องต้น

1.1 การแบ่งปันความรู้เบื้องต้นในอดีต
1.2 การแบ่งปันความรู้เบื้องต้นในปัจจุบัน และอนาคต
1.3 รูปแบบของการแบ่งปันความรู้

2. การแบ่งปันความรู้ในวงการบรรณารักษ์ไทย

2.1 การแบ่งปันความรู้ในวงการบรรณารักษ์ไทยโดย projectlib
2.2 ข้อมูลทั่วไป และสถิติของบล็อก Projectlib
2.3 จุดประสงค์ของการสร้าง Projectlib

3. เครื่องมือในการแบ่งปันความรู้แบบฟรีๆ

– Blog
– Forum
– IM
– E-Mail
– Social Network
– Social Bookmark
– Micro blogging

4. ข้อเสนอแนะเรื่องการแบ่งปันความรู้

เป็นไงบ้างครับ พออ่านแล้วรู้เรื่องบ้างปล่าว
งั้นผมขอแนะนำบล็อกของ วิทยากรท่านนึงที่ท่านได้ lecture การบรรยายของผมทั้งหมด
ขนาดผมเป็นคนพูดเองยังสรุปไม่ดีเท่ากับท่านเลย ลองอ่านดูนะครับที่
http://gotoknow.org/blog/kmanamai-nonta/193381

หนึ่งตำบลหนึ่งห้องสมุด (One Tumbon One Library)

วันนี้ขอเขียนบล็อกแนวแปลกให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันสักหน่อย
ว่าแต่ว่าเพื่อนๆ เคยได้ยินคำนี้มั้ยครับ คำว่า OTOL(One Tumbon One Library)
หรือเรียกแบบง่ายๆ ว่า “หนึ่งตำบลหนึ่งห้องสมุด” นั่นแหละ

library-country

จริงๆ คำนี้ก็ไม่ได้มีอะไรมากหรอกครับ แค่ผมฟังคำว่า OTOP OTOP OTOP บ่อยมากเกินไป
เลยขอแหวกแนวมาเป็น OTOL สำหรับวงการบรรณารักษ์บ้าง

ทำไมต้องมี 1 ตำบล 1 ห้องสมุดหล่ะ
เพื่อนๆ ก็ลองคิดดูว่าถ้ามีช่องทางในการเข้าถึงความรู้ได้มากๆ คนก็จะเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ง่ายขึ้น

แนวความคิดที่อยากเห็นคนไทยทุกคนเข้าถึงสารสนเทศได้ง่ายขึ้น

?แล้วทำไมต้องเป็นห้องสมุดหล่ะ เดี๋ยวนี้มีอินเทอร์เน็ตแล้ว ห้องสมุดคงเป็นสิ่งที่อาจจะไม่จำเป็นแล้วก็ได้?

คำพูดนี้ผมอาจจะไม่เถียงเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เราเข้าถึงสารสนเทศได้เร็วขึ้น
แต่เพื่อนๆ เคยคิดถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศมั้ยครับที่ยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ดังนั้นผมจึงบอกว่าห้องสมุดเป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้มากกว่า
โดยที่ห้องสมุดในแต่ละชุมชนไม่ต้องใหญ่โตมากหรอกครับ ขอแค่มีหนังสือที่มีประโยชน์ให้อ่านก็ดีพอแล้ว
ผมว่าก็จะช่วยเพื่อนในชนบทของเราได้แล้ว

โครงการห้องสมุดที่ผมเห็นมากมาย เช่น ห้องสมุดเคลื่อนที่, ชมรมอาสาที่ไปสร้างห้องสมุด
สิ่งเหล่านี้ผมอยากให้เมืองไทยมีมากๆ เพราะว่าการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนในชาติเหมือนกัน
ถ้าคนในชาติมีคุณภาพ ประเทศชาติก็จะเจริญตามไปด้วย

อย่าเพิ่งเครียดกันนะครับ
ผมเพียงแค่อยากให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของห้องสมุดก็เท่านั้น
ช่วยๆ กันทำให้เกิดขึ้นนะครับ 1 ตำบล 1 ห้องสมุด

ปล. รูปที่ให้ดูเป็นห้องสมุดของวัดแห่งหนึ่งที่ผมกับเพื่อนๆ ไปช่วยจัด หนังสือไม่เยอะแต่คุณค่าทางใจมีค่ามากที่สุด

ถ้าห้องสมุดเป็นเหมือนคลิปวีดีโอนี้ ผมจะเข้าห้องสมุดทุกวัน

แบบว่าวันนี้เพื่อนผมมันส่งคลิปวีดีโอเพลงนี้มาให้ดู แล้วมันก็บอกผมว่า
“ถ้าห้องสมุดมีบรรยากาศเหมือนในคลิปวีดีโอนี้ มันจะยอมเข้าห้องสมุดทุกวัน”

clipvideo

ผมเลยไม่รอช้าเปิดดูคลิปวีดีโอที่ว่า บอกได้คำเดียวเลยว่า อึ้ง ทึ้ง เสียว จริงๆ
คลิปวีดีโอนี้เป็นการนำเพลงของ Christina Aguilera ชื่อเพลงว่า Candyman
มาทำใหม่ในเวอร์ชั่นของบรรณารักษ์ในห้องสมุด (ทำเล่นๆ กันเองนะครับ)

ไปชมคลิปวีดีโอนี้กันเลย

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=V9CKXrhBffA[/youtube]

เอาเป็นว่าคลิปวีดีโอนี้ผมอยากให้เพื่อนๆ ได้ดูกัน แก้เครียดนะครับ
เพราะถ้าเอาไปใช้กับห้องสมุดจริงๆ ผมเกรงว่าจะไม่เหมาะสมอ่ะครับ

เอาเป็นว่าขอแถมด้วยมิวสิควีดีโอของเพลงนี้จริงๆ เลย ดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=9UMU30wHuTE[/youtube]

ปล.ชื่อที่ปรากฎใน youtube คือ??? Orianthi – According To You
ผมลองเข้าไปดูเพลงนี้จริงๆ แล้วไม่ใช่นะครับ น่าจะพิมพ์ผิดอ่ะครับ

แนะนำห้องอ่านหนังสือชุมชนของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

วันนี้ผมขอแนะนำห้องอ่านหนังสือชุมชนแห่งใหม่เพื่อให้เพื่อนๆ รู้จักดีกว่า
ห้องอ่านหนังสือชุมชนแห่งนี้จัดสร้างและบริหารงานโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) นั่นเอง

sac-reading-room

ห้องอ่านหนังสือชุมชนแห่งนี้ให้บริการด้านใดบ้าง
– หนังสือ
– วารสาร
– หนังสือพิมพ์
– วีดีโอ
– อินเทอร์เน็ต
– ข้อมูลตลิ่งชันศึกษา
– หนังสือด้านคุณธรรม

ใครๆ ก็สามารถเข้าใช้บริการที่นี่ได้ครับ และไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย
บรรยากาศที่เย็นสบาย สื่อที่ทันสมัย บริการที่น่าประทับใจ แบบนี้ต้องมาลองครับ
กิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่านที่นี่ก็จัดเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องอีก เยี่ยมไปเลยใช่มั้ยครับ

ห้องอ่านหนังสือชุมชนแห่งนี้เปิดให้บริการมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552
โดยให้บริการในวันจันทร์ ? ศุกร์ เวลา 7.00 ? 18.00 น. และวันเสาร์ เวลา 8.00 -17.00 น.

เอาเป็นว่าใครที่สนใจหรือว่างๆ อยากอ่านหนังสือก็สามารถแวะไปได้ที่
ห้องอ่านหนังสือชุมชนหน้าศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรแถวๆ ตลิ่งชันนะครับ

ใครที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อได้ที่ 02-8809429 ต่อ 3101

ปล.เรื่องนี้ผมได้ดองไว้มาหลายเดือนแล้วไม่ว่างที่จะเขียนแนะนำ ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งครับ

ไปดูรูปภาพสวยๆ ของห้องอ่านหนังสือชุมชนกันหน่อยดีกว่า

[nggallery id=22]

รวมเอกสารการฝึกอบรมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น (ThaiLIS)

วันนี้ผมขอนำเอกสารการฝึกอบรมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น โดย คุณจิรวัฒน์ พรหมพร มาแจกนะครับ
ซึ่งฐานข้อมูลที่ปรากฎในเอกสารด้านล่างนี้ เป็นฐานข้อมูลที่ ThaiLIS บอกรับในปี 2553 นั่นเอง

online-database

เอกสารข้อมูลและวิธีใช้ฐานข้อมูลนี้ ครอบคลุมฐานข้อมูลทั้งหมด 6 ฐาน ดังต่อไปนี้

ฐานข้อมูล ABI / Inform
ฐานข้อมูล ABI / Inform

1. ABI/Inform – ฐานข้อมูลด้านธุรกิจและการบริหารจัดการ
(สไลด์วิธีการใช้) (สไลด์ภาพรวมของฐานข้อมูล)

ACM Digital Library
ACM Digital Library

2. ACM Digital Library – ฐานข้อมูลด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
(สไลด์วิธีการใช้) (สไลด์ภาพรวมของฐานข้อมูล)

ฐานข้อมูล Dissertation and theses
ฐานข้อมูล Dissertation and theses

3. Dissertation & Theses – ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
(สไลด์วิธีการใช้) (สไลด์ภาพรวมของฐานข้อมูล)

ฐานข้อมูล H.W. Wilson
ฐานข้อมูล H.W. Wilson

4. H.W. Wilson – ฐานข้อมูลหลากหลายสาขา
(สไลด์วิธีการใช้) (สไลด์ภาพรวมของฐานข้อมูล)

ฐานข้อมูล IEEE และ IET
ฐานข้อมูล IEEE และ IET

5. IEEE / IEL – ฐานข้อมูลหลากหลายสาขา
(สไลด์วิธีการใช้) (สไลด์ภาพรวมของฐานข้อมูล)

ฐานข้อมูล Web of Science
ฐานข้อมูล Web of Science

6. Web of Science – ฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์
(สไลด์วิธีการใช้) (สไลด์ภาพรวมของฐานข้อมูล)

ลองเข้าไปอ่านวิธีใช้งานและข้อมูลภาพรวมดูนะครับ
ผมว่าอย่างน้อยก็ทำให้เราเข้าใจรายละเอียดของเนื้อหาในฐานข้อมูลนั้นๆ ได้ครับ
แถมข้อดีอีกอย่างคือเราก็ไม่ต้องสร้างคู่มือการใช้ฐานข้อมูลให้ผู้ใหญ่ด้วย
เนื่องจากเราสามารถดึงข้อมูลต่างๆ ในนี้ไปจัดทำคู่มือการใช้ฐานข้อมูลประจำห้องสมุดได้ครับ

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอลาไปก่อนนะครับ

ปล. เอกสารต่างๆ ที่นำมาเผยแพร่นี้ ผมได้ขออนุญาต คุณจิรวัฒน์ พรหมพร แล้วนะครับ
ดังนั้นหากห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ต้องการนำไปเผยแพร่ต่อขอความกรุณาช่วยแจ้ง คุณจิรวัฒน์ พรหมพร ด้วยนะครับ
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ คุณจิรวัฒน์ พรหมพร ที่ได้จัดทำเอกสารดีๆ ให้เราได้เรียนรู้ฐานข้อมูลต่างๆ ครับ

บรรณารักษ์ต้องไม่พลาดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2553

Hilight ของเดือนมีนาคมใกล้จะมาถึงแล้วนะครับ เพื่อนๆ บรรณารักษ์รู้หรือปล่าวว่าคืออะไร
ถูกกกกกก..ต้องงงงงงคร้าบบบบบ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาตินั่นเอง
วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนเพื่อนๆ นิดนึงนะครับ…

thailandbookexpo

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2553
ชื่องานภาษาไทย : งานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 8 และงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 38
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Bangkok International Book Fair 2010 and National Book Fair 2010
วันที่ในการจัดงาน : 27 มีนาคม – 6 เมษายน 2553 เวลา 10.00-21.00 น.
สถานที่จัดงาน : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ผู้จัดงาน : สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

เตรียมพร้อมกันหรือยังครับเหล่าบรรณารักษ์ เหลือเวลาไม่ถึงอาทิตย์เท่านั้นเองนะครับ
งานสัปดาห์หนังสือครั้งใหญ่แบบนี้ผมเองก็อยากให้บรรณารักษ์มาเข้าร่วมกันมากๆ นะครับ

ทำไมบรรณารักษ์อย่างพวกเราต้องมางานนี้
– มาคัดเลือกหนังสือและพูดคุยกับตัวแทนจำหน่ายหนังสือถึงหนังสือที่น่าสนใจ
– มาจัดซื้อจัดหาหนังสือและสื่อสารสนเทศราคาถูกเข้าห้องสมุด
– มาดูกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านในห้องสมุด
– เข้าร่วมฟังสัมมนาและเข้าร่วมอบรมในหัวข้อที่น่าสนใจ

กิจกรรมและนิทรรศการที่น่าสนใจในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เช่น
– นิทรรศการจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
– ห้องสมุด กทม. ……เปิดห้องเรียนรู้สู่โลกกว้าง
– กิจกรรมและนิทรรศการที่สร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว
– นิทรรศการห้องสมุดหนังสือใหม่
– นิทรรศการหนังสือภาพถ่าย
– นิทรรศการหนังสือดีเด่นประจำปี 2553
– กิจกรรม All for Book : Book for All
– บูธรับบริจาคหนังสือจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

จริงๆ แล้วกิจกรรมยังมีอีกเยอะเลยนะครับ แต่ผมขอนำมาเล่าเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ครับ
แต่หากเพื่อนๆ ต้องการรายละเอียดกิจกรรมทั้งหมดก็ให้เข้าไปดูที่หน้าของกิจกรรมและนิทรรศการนะครับ
http://thailandbookfair.pubat.or.th/bangkokibf/index.php?option=com_content&view=article&id=14&Itemid=21

นอกจากนี้ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติรอบนี้ก็มีการเปิดตัวหนังสือที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น
– “ทุกข์มาโปรด ความสุขโปรยปราย” โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)
– หนังสือดีที่ต้องมีทุกบ้าน “คู่ฟ้า สองพระบารมี”
– “คุณธรรมนำความรู้” โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
– วรรณกรรมสุดยอดแห่งทศวรรษ “The Left Hand of God” ที่เยาวชนไทยต้องอ่าน
– “คนไทยทึ้งแผ่นดินภาค 3” โดย ท่านว.วชิรเมธี

เอาเป็นว่าขอแนะนำเพียงเท่านี้ก่อนแล้วกัน แบบว่ามีเปิดตัวหนังสือเยอะมากอ่ะ
และที่สำคัญหนังสือที่เปิดตัวล้วนแล้วแต่น่าสนใจมากๆ ทั้งสิ้น

สรุปส่งท้ายเลยดีกว่า คงไม่ต้องบรรยายมากนะครับ
เพราะเพื่อนๆ คงรู้ว่ามันน่าสนใจมากแค่ไหน เอาเป็นว่าเจอกันในงานนะครับ

Reading make a full man = การอ่านทำให้เป็นคนโดยสมบูรณ์
กล่าวโดย Francis Bacon

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของงานสัปดาห์หนังสือ 2553 = http://thailandbookfair.pubat.or.th/bangkokibf/

ห้องสมุดควรมีของที่ระลึกหรือไม่

เวลาผมไปเที่ยวไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตาม ผมก็มักจะหาของที่ระลึกของสถานที่นั้นกลับมาฝากเพื่อนๆ เสมอ
ด้วยเหตุนี้ผมจึงมองย้อนกลับมาสู่ห้องสมุดต่างๆ บ้างว่า …
“ถ้าผมไปห้องสมุดต่างๆ แล้วพบว่ามีของที่ระลึกของห้องสมุด … มันจะดีแค่ไหนน้า”

ภาพจาก The Library Store at Central Library
ภาพจาก The Library Store at Central Library

แบบสอบถามวันนี้ผมจึงขอตั้งคำถามเกี่ยวกับของที่ระลึกในห้องสมุด
ลองเข้ามาตอบกันดูนะครับ

[poll id=”16″]

หลักๆ แล้วของที่ระลึกที่ผมเห็นมีอยู่สองรูปแบบใหญ่ๆ ก็คือ

1. ของที่ระลึกที่แจกฟรี เช่น ที่คั่นหนังสือ, ปฏิทิน, โปสการ์ดห้องสมุด ฯลฯ
ของที่ระลึกประเภทนี้ห้องสมุดทำขึ้นเพื่อแจกให้ผู้ใช้ทั่วไปของห้องสมุด
บางที่วางไว้ที่โต๊ะสำหรับอ่านหนังสือ บางที่วางไว้ที่เคาน์เตอร์
ซึ่งผู้ที่เข้ามาใช้ก็สามารถนำของเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างสะดวก

2. ของที่ระลึกที่มีไว้จำหน่าย เช่น เสื้อยืดห้องสมุด, ปากกา, แว่นตา, กระเป๋าสะพาย ฯลฯ
ของที่ระลึกประเภทนี้มักเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวหรือไม่ก็แฟนพันธุ์แท้ของห้องสมุดนั้นๆ
ห้องสมุดบางแห่งเปิดเป็นร้านจำหน่ายของที่ระลึกด้านหน้าของห้องสมุดเลย
ซึ่งนับว่าเป็นรายได้ของห้องสมุดอีกช่องทางหนึ่ง แต่ต้องบอกก่อนนะครับว่าแล้วแต่นโยบายของห้องสมุด

calendars2009

บางแห่งไม่สนับสนุนให้มีของที่ระลึกเนื่องจากเป็นภาระของห้องสมุดเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ
นอกจากนี้อาจจะมองในเรื่องของการจัดการที่ค่อนข้างยุ่งยากด้วย เกี่ยวกับการเคลียร์เงินให้ฝ่ายบัญชี

การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ห้องสมุดในต่างประเทศหลายๆ แห่งมีวิธีจัดการโดย
มอบหมายหน้าที่ในเรื่องการจัดทำของที่ระลึกและการจำหน่ายให้เครือข่ายของห้องสมุดเป็นคนจัดการ
เพื่อเป็นเป็นการลดภาระเรื่องการจัดการและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายคนรักห้องสมุดด้วย

เอาเป็นว่าที่เกริ่นมาเยอะๆ แบบนี้เพียงแค่อยากจะรู้ว่า
ห้องสมุดเมืองไทยสมควรมีของที่ระลึกบ้างหรือปล่าว ถ้ามีต้องการของที่ระลึกแบบไหน

เอาเป็นว่าช่วยๆ กันตอบนะครับ

ปล.ภาพประกอบจาก http://www.lfla.org/store/