แนะนำหลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ ประจำปี 2553

เป็นเรื่องปกติของทุกปีนะครับเกี่ยวกับเรื่องการอบรมที่ทางสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยจัดขึ้น
หัวข้อที่ผมจะกล่าวนี้ ทุกๆ ปีก็มีการจัด (ปีที่แล้วผมก็แนะนำกิจกรรมนี้ “หลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ“)

book-binding-copy

แต่ถ้าการอบรมนี้มีหลักสูตรที่เหมือนกันทุกๆ ปี ผมก็คงไม่ต้องเขียนแบบนี้หรอกนะครับ
ใช่แล้วครับ เพราะว่าหลักสูตรนี้มีการปรับปรุงและไม่เหมือนเดิม ผมจึงนำมาแนะนำอีกครั้ง

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการอบรมครั้งนี้

ชื่อการอบรม : หลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ รุ่นที่ 4
วันและเวลาที่จัดการอบรม : 5-6 กรกฎาคม 2553
สถานที่จัดการอบรม : หอประชุมดอกไม้สด สำนักหอสมุดแห่งชาติ
ผู้จัดงานอบรม : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

อย่างที่เคยเขียนไปว่า การอบรมเรื่องนี้มันน่าสนใจเพียงใด จนถึงตอนนี้ผมก็ยังคงยืนยันเช่นนั้นอยู่นะครับ
เพราะเรื่องของการเย็บเล่มและซ่อมหนังสือ มันไม่จำเป็นจะต้องใช้ทำงานแค่งานห้องสมุดหรอกนะครับ
มันสามารถนำไปใช้งานได้ทั่วๆ ไป เผลอๆ เอาไปทำธุรกิจส่วนตัวได้ด้วย เช่น เปิดร้านเย็บเล่ม หรือ เปิดร้านซ่อมหนังสือ

การอบรมในครั้งที่แล้ว (19-20 ตุลาคม 2552) มีหัวข้อดังนี้
– หลักการและวิธีการเข้าเล่มและซ่อมหนังสือ
– การบริหารจัดการ? วัสดุและอุปกรณ์ซ่อมหนังสืออย่างเป็นระบบ
– เครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการเข้าเล่มและซ่อมหนังสือ
– วิธีเข้าเล่มทำปก และซ่อมหนังสือ

แต่สำหรับครั้งนี้มีหัวข้อการอบรมมีดังนี้
– การบริหารจัดการ วัสดุและอุปกรณ์ซ่อมหนังสืออย่างเป็นระบบ
– เครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการเข้าเล่มและซ่อมหนังสือ
– การซ่อมหนังสือปกอ่อน
– การเย็บหนังสือ
– การซ่อมกระดาษเนื้อในหนังสือ

– การเข้าเล่มทำปกหนังสือ

ซึ่งจะสังเกตว่ามีหัวข้อที่เพิ่มเข้ามา 3 หัวข้อ (ที่ไฮไลท์สีแดง) ซึ่งนับว่าเป็นการลงรายละเอียดของงานได้ดีทีเดียว

เช่นเคยการอบรมครั้งนี้ต้องเสียเงินนะครับ (ซึ่งเท่ากับการอบรมครั้งที่แล้ว)
โดยถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายราคา 2,500 บาท
แต่ถ้าไม่ใช่สมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายในราคา 2,800 บาทครับ

เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ สนใจก็ลองเข้าไปดูได้ที่
ใบสมัครหลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ

และหากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวดี วิเชษฐ์พันธุ์ โทรศัพท์ 0-2734-9022-3 suwadee_tla@yahoo.com

สำหรับวันนี้ก็ขอแนะนำแต่เพียงเท่านี้ก่อนนะ

ต้องสู้ต้องรอด…ไม่สู้ก็ไม่รอด

วันนี้ผมขอนำเพลงๆ นึงมาให้ฟัง แต่บอกก่อนนะว่าเพลงร็อค
แต่ผมคิดว่าเนื้อเพลงมันชัดเจนดี เหมาะกับคนที่ท้อแท้ในชีวิต ผิดหวัง สิ้นหวังที่จะทำอะไรก็ตาม

dsc00054

ช่วงนี้แรงใจในการทำงานผมมันก็ลดลงเรื่อยๆ อ่ะครับ
ดังนั้นผมจึงต้องหาที่เพิ่งที่ใช้ประจำ นั่นคือการฟังเพลงเพื่อให้กำลังใจตัวเอง

เพลงๆ นี้ชื่อเพลงว่า Survivor ซึ่งร้องโดยวง Ebola เอาเป็นว่าก็ลองฟังนะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=b6JDmHhkxys[/youtube]

เนื้อเพลง ?Survivor?

สู้ ต้องสู้ ต้องรอด ไม่สู้ก็ไม่รอด
ต้องสู้ ต้องรอด ไม่สู้เราก็คงไม่รอด

นับดูนิ้วมือ สิบนิ้วยังอยู่ดี
เสียงของหัวใจ ยังร้องยังตะโกน
แม้จะใกล้ตาย วันนี้จะอดทน
ยากเย็นเท่าไหร่ ต้องหลุดต้องพ้นมันไป

* แม้เหลือโอกาสให้เรารอดตาย แค่เพียงหนึ่งในล้านก็ตาม
ยังฝืนชะตาดิ้นรนทุกอย่าง ยังคอยสั่งตัวเอง เราจะไม่ตาย
ต้องสู้ ต้องสู้ เราต้องรอด

ฟ้าที่มืดมน ชีวิตใกล้อับปาง
แสงที่ริบหรี่ แต่ว่าไม่เลือนลาง
สองมือที่มี ยังใช้มันเปิดทาง
ขอเพียงหัวใจ ไม่ยอม ไม่แพ้สักอย่าง

(*)

ต้องสู้ ต้องรอด เราจะไม่ตาย
ต้องสู้ ต้องรอด เราต้องรอดตาย
ต้องสู้ ต้องรอด เราจะไม่ตาย
ต้องสู้ ต้องรอด เราต้องรอดตาย

แล้ววันหนึ่ง เมื่อหมอกร้ายมันผ่านพ้น
แล้ววันหนึ่ง เราภูมิใจในความเป็นคน

เราต้องไม่ตาย ไม่ว่าจะยังไง เราต้องไม่ตาย ไม่ว่ายังไง

สู้ ต้องสู้ ต้องรอด ไม่สู้ก็ไม่รอด
ต้องสู้ ต้องรอด ไม่สู้ก็ไม่รอด
ต้องสู้ ต้องรอด ไม่สู้ก็ไม่รอด
ต้องสู้ ต้องรอด ไม่สู้ก็จะไม่รอด
เราจะต้องสู้ ต้องรอด

(*)

แม้เลือนลาง แม้หนทาง มีเพียงหนึ่งในล้านก็ตาม
ยังฝืนชะตาดิ้นรนทุกอย่าง ยังคอยสั่งตัวเอง เราจะไม่ตาย

ต้องสู้ ต้องรอด เราจะไม่ตาย
ต้องสู้ ต้องรอด เราต้องรอดตาย
ต้องสู้ ต้องรอด เราจะไม่ตาย
ต้องสู้ ต้องรอด เราจะต้องรอด ต้องไม่ตาย

เพลงนี้ก็อย่างที่เนื้อเพลงบอกแหละครับ ว่าอย่ายอมแพ้กับชะตาชีวิตของตัวเอง
ให้เราสู้แม้ว่าโอกาสจะเหลือน้อยมากแค่ไหนแต่เราต้องสู้ สู้ และสู้เท่านั้น

อย่างน้อยถ้าเราต้องสูญเสียก็จงรู้ไว้ว่าเราพยายามถึงที่สุดแล้ว
ดีกว่าล้มเหลวเพราะมัวแต่กลัวว่าจะไม่สำเร็จเลยไม่ได้ทำอะไร

งานสัมมนา “การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน”

วันนี้ผมมีกิจกรรมดีๆ มาแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักกันอีกแล้ว
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดประจำปีนี้ด้วย

reading

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องานสัมมนาภาษาไทย? : ?การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน?
ภายใต้งาน : ประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 34
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 23 กรกฏาคม 2553 เวลา 07.30-16.45 น.
สถานที่อบรม : ห้องประชุม สำนักหอสมุดแห่งชาติ

การจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดจะมีการจัดขึ้นทุกปีในเดือนสิงหาคม
ซึ่งหากเพื่อนๆ จำได้ ปีที่แล้วจะมีธีมงานหลักว่า “การอ่านเพื่อพัฒนาตนและพัฒนาชาติ”
ส่วนในปีนี้อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้นนั่นก็คือธีมงานหลักของปีนี้นั่นเอง
ธีมงานหลักของงานสัปดาห์ห้องสมุด “การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน”

ในงานสัมมนาในครั้งนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิมากมายด้วย


ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานสัมมนา
เช่น
– กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็ก
– กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับวัยรุ่น
– กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้ใหญ่
– การสร้างสาระอิเล็กทรอนิกส์ในห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่าน

งานนี้ผมเชื่อว่าคนที่ได้เข้าร่วมจะได้รู้จักเทคนิคในการสร้างนิสัยการรักการอ่านให้กับคนในชุมชนได้แน่นอน
ดังนั้นบรรณารักษ์จึงไม่ควรจะพลาดงานนี้นะครับ

งานนี้มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยครับ
สำหรับสมาชิกสมาคมฯ ชำระเงินก่อนวันที่ 20/7/53 คนละ 500 บาท? และถ้าชำระเงินหลังวันที่ 20/7/53 คนละ 700 บาท
สำหรับบุคคลทั่วไป ชำระเงินก่อนวันที่ 20/7/53 คนละ 600 บาท และถ้าชำระเงินหลังวันที่ 20/7/53 คนละ 800 บาท

เอาเป็นว่าใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้ามาดูได้ที่
http://www.tla.or.th/pdf/libraryweek34.pdf

สำหรับวันนี้ผมต้องขอตัวก่อนนะครับ

รวมลิงค์ที่ผมชอบเข้าไปอ่านข่าวบรรณารักษ์

มีหลายคนส่งเมล์มาถามเกี่ยวกับเรื่องข่าวบรรณารักษ์และวงการห้องสมุดจากทั่วโลก ว่า
ผมเข้าไปอ่านจากที่ไหนบ้างเพราะเห็นว่าผมอัพเรื่องราวได้เยอะแยะเลย จึงอยากตามอ่านบ้าง

topsitelib

ตัวอย่างเมล์นึงที่ส่งมาให้ผม ดังนี้
“มีเรื่องจะรบกวนนะคะ ทราบมาว่าคุณวายจะอ่านเรื่องของห้องสมุดจากต่างประเทศ อยากจะขอ link ด้วยคนได้ไหมคะ เผื่อว่าจะอ่านบ้างค่ะ”

เอาเป็นว่าเพื่อไม่ให้ขัดศรัทธา…
ผมจึงขอแนะนำเว็บไซต์ที่ผมเข้าไปอ่านประจำและรู้สึกว่าอัพเดทได้เรื่อยๆ นะครับ

เว็บไซต์ที่ผมเข้าไปอ่านประจำ 5 เว็บไซต์ มีดังนี้

1. Librarian 1.5
http://lib1point5.wordpress.com/

2. ALA TechSource (American Library Association)
http://www.techsource.ala.org/blog/

3. Tame the web
http://tametheweb.com/

4. Librarian in black
http://librarianinblack.net/librarianinblack/

5. Librarian by day
http://librarianbyday.net/

เอาเป็นว่าผมเลือกมาให้แล้ว 5 เว็บไซต์แต่หากเพื่อนๆ ยังอยากอ่านเพิ่มอีก
ก็ลองดูทางด้านขวามือกรอบล่างๆ นะครับ เพื่อนๆ จะเห็น “Library Blog
นั่นแหละครับ เข้าไปเลือกดูได้เลย ทุกเว็บมีประโยชน์ทั้งนั้นครับ
ทำให้อัพเดทข่าวสารวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดจากทั่วโลกทันกระแสแน่นอน

สำหรับวันนี้ผมไปก่อนนะครับ ใครมีเว็บไซต์ดีๆ ก็เอามาแบ่งปันกันได้นะครับ

คลิปวีดีโอแนะนำห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้

วันนี้ผมขอแนะนำคลิปวีดีโอเรื่องนี้ให้เพื่อนๆ ทุกคนได้ดู
เพื่อเป็นการโปรโมทห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ในเขตกรุงเทพฯ ให้เพื่อนๆ รู้จักด้วย

clipvideo

ไปชมวีดีโอกันก่อนเลยครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=p7IWKLWaFE0[/youtube]

สถานที่ที่ใช้ถ่าย : ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สะพานสูง ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง
จัดทำโดย Voice news

สรุปความจากวีดีโอ

ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สะพานสูงจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบายกรุงเทพฯ :
“กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งการเรียนรู้”

โดยห้องสมุดแห่งนี้เน้นความทันสมัยตอบรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนเมือง
(การเพิ่มพื้นที่และแบ่งโซนอย่างชัดเจนแบ่งพื้นที่)

ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สะพานสูงแห่งนี้มี 3 ชั้น และแบ่งโซนดังนี้
ชั้น 1 – โซนอ่านหนังสือทั่วไป, มุมรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม, โซนหนังสือและของเล่นสำหรับเด็ก
ชั้น 2 – มุมหนังสือในหมวดต่างๆ, มุมทำการบ้าน
ชั้น 3 – มุมคอมพิวเตอร์, ห้องฉายภาพยนตร์, มุมวรรณกรรมสำหรับเยาวชน

ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สะพานสูงมีผู้เข้าใช้บริการ 500 คนต่อวัน
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนางมีผู้เข้าใช้บริการ 600 คนต่อวัน

คำแนะนำจากผู้ใช้บริการถึงห้องสมุด :-
– ห้องสมุดมีความสว่าง และตกแต่งอย่างสดใส
– ห้องสมุดมีความทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต
– ห้องสมุดมีสื่อหลากหลาย

ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ในเขตกรุงเทพฯ ถือเป็นตัวเลือกนึงสำหรับคนที่ต้องการความรู้โดยไม่เสียเงินนะครับ

เอาเป็นว่าพอดูวีดีโอจบเพื่อนๆ คงจะแวะไปเยี่ยมเยี่ยนห้องสมุดเหล่านี้บ้างนะครับ
สำหรับวันนี้ผมไปก่อนดีกว่า และถ้าใครสนใจอยากดูภาพห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้
เอาไว้รอชมได้เร็วๆ นี้ เพราะชมจะแวะไปถ่ายแล้วเอามานำเที่ยวให้เพื่อนๆ เอง อิอิ

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 3

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 3
ออกในเดือนมิถุนายน 2553

libmagv3n3

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับที่ 3 ของปีนี้ออกแล้วครับ
วันนี้ผมเลยเอามาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้ชมอีกเช่นเคย

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ยังคงมีสาระที่น่าสนใจมากมาย
เช่น หากโลกนี้ไม่มีห้องสมุดจะเกิดอะไรขึ้น, โครงการส่งเสริมการอ่าน ฯลฯ
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ไปดูกันเลยดีกว่าว่าฉบับนี้มีเรื่องอะไรบ้าง

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก : หากโลกนี้ไม่มีห้องสมุด : คำรำพึงของผู้สูญเสีย

พาเที่ยว : ท่องเที่ยวห้องสมุดในเมืองเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ (ตอนจบ)

บทความ/สาระน่ารู้ : โครงการส่งเสริมการอ่านเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

บทความ/สาระน่ารู้ : ?วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ?

บทความ/สาระน่ารู้ : Promoting Online Databases Information Literacy Education

บทความ/สาระน่ารู้ : เสียง

บทความ/สาระน่ารู้ : อกร่อง ร่อง..สวน สายน้ำ ดำเนิน เพลิน IT

เป็นยังไงกันบ้างครับ ลองเข้าไปอ่านกันดูนะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่ม 3 : http://www.librarianmagazine.com/VOL3/NO3/

ม.กรุงเทพ รับบรรณารักษ์ 1 ตำแหน่ง

งานบรรณารักษ์มาอีกแล้วครับ อาทิตย์นี้รู้สึกว่าผมจะปล่อยงานบรรณารักษ์ไปเยอะเหมือนกันนะ
เอาเป็นว่าก็ขอให้คนที่หางานบรรณารักษ์จงเลือกงานที่ตัวเองชอบแล้วไปสมัครกันนะครับ

bu-librarian

งานบรรณารักษ์ในวันนี้ เป็นตำแหน่งบรรณารักษ์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ซึ่งประกาศรับสมัครอยู่ในช่วงนี้ (จริงๆ เข้าไม่ได้บอกชื่อตำแหน่งบรรณารักษ์หรอกนะครับ)

แต่ผมสังเกตว่าสถานที่ปฏิบัติงานคือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
และด้วยคุณสมบัติเบื้องต้นของตำแหน่งดูยังไงก็เป็นบรรณารักษ์อยู่ดี

คุณสมบัติของตำแหน่งนี้
– ปริญญาตรี สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
– มีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ
– สามารถออกแบบและพัฒนาเว็บไซด์ได้
– ผลการศึกษา (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.50
– ไม่จำกัดเพศ
– อายุไม่เกิน 30 ปี

เอาเป็นว่าดูจากคุณสมบัติอาจจะมองว่าเป็นบรรณารักษ์ด้านไอทีหน่อยๆ นะครับ
เพราะต้องรู้เรื่องการออกแบบเว็บไซต์ด้วย งานคงอยู่ใกล้ๆ กับเว็บไซต์หอสมุดหล่ะมั้งครับ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ คนไหนสนใจก็เข้าไปกรอกใบสมัครไปที่
http://ursa.bu.ac.th/job/step1.cfm

หรือถ้ามีข้อสงสัยประการใดก็ลองโทรไปถามดูก็ได้ครับ ที่ 02-3503500 ต่อ 815

นอกจากตำแหน่งบรรณารักษ์แล้วยังมีงานตำแหน่งอื่นๆ อีกนะ ลองเข้าไปดูที่
http://www.bu.ac.th/NewsandInform/f_job.html

เมื่อผม (Projectlib & Libraryhub) ถูกสัมภาษณ์ลงเว็บไซต์อื่นๆ…

วันนี้ผมขอรวบรวม link บทสัมภาษณ์ของผมจากหลายๆ เว็บไซต์มาไว้ที่นี่เพื่อให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ
ซึ่งบทสัมภาษณ์ที่ผมเคยให้สัมภาษณ์ไป ไม่ได้มีแต่เรื่องส่วนตัวเท่านั้นนะครับ
แต่ยังมีเรื่องประสบการณ์ในการฝึกงาน แรงบันดาลใจ และอีกหลายๆ เรื่องที่อยากให้อ่านจริงๆ

libraryhub-interview

เราไปอ่านบทสัมภาษณ์กันเลยดีกว่านะครับ

————————————————————————————————————

เริ่มจากการให้สัมภาษณ์ครั้งแรกของผมผ่านเว็บไซต์ Tag in thai

taginthai

การสัมภาษณ์ในครั้งนั้น ผมได้กล่าวถึงเรื่องส่วนตัว เช่น เรียนจบที่ไหนมา ปัจจุบันทำงานที่ไหน เป็นต้น
นอกจากนั้นยังแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวงการห้องสมุดในเมืองไทย
และวัตถุประสงค์ในการเขียนบล็อก พร้อมแนะนำบล็อกในหน้าต่างๆ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร

เพื่อนๆ สามารถอ่านต่อที่ http://tag.in.th/interview?show=projectlib

————————————————————————————————————

ต่อมาการสัมภาษณ์ครั้งที่สอง ได้ลงทั้งในหนังสือเรียนรอบโลก และ เว็บไซต์เรียนรอบโลก

learn-around-the-world

ซึ่งประเด็นหลักของการสัมภาษณ์ในครั้งนั้นคือ ?ฝึกงานบรรณารักษ์ ต้องใฝ่รู้คู่ให้บริการ?
โดยผมได้กล่าวถึงเรื่องการฝึกงานของเด็กเอกบรรณรักษ์โดยเน้นงานบริการเป็นหลัก
และการฝึกงานในลักษณะต่างๆ ของเด็กเอกบรรณารักษ์

เพื่อนๆ สามารถอ่านต่อที่ http://eaw.elearneasy.com/Print_News.php?news_id=269

————————————————————————————————————

ครั้งที่สามต่อเนื่องจากครั้งที่สอง แต่เปลี่ยนไปลงในคอลัมน์นานาสาระ เว็บไซต์ eJobEasy

ejobeasy

ซึ่งประเด็นหลักของการสัมภาษณ์ในครั้งนั้นจะเหมือนในครั้งที่สองนั่นแหละครับ
เพราะว่าใช้คำถามในการสัมภาษณ์เหมือนกัน เพียงแต่เปลี่ยนสื่อในการนำเสนอ
ให้อยู่ในเว็บไซต์หางาน และแนะนำการทำงานเป็นหลัก
ซึ่งข้อมูลที่ผมให้ คือ ข้อมูลจากการฝึกงานที่ ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น

เพื่อนๆ สามารถอ่านต่อที่ http://www.ejobeasy.com/kmdetail.php?n=80820180723

————————————————————————————————————

ครั้งที่สี่ เป็นการให้สัมภาษณ์กับ LibrarianMagazine เล่มที่ 7

librarianmagazine

การสัมภาษณ์ครั้งนั้นเป็นกล่าวกล่าวถึงเรื่องส่วนตัว และเรื่องของบล็อกเป็นหลัก
เช่น อนาคตของบล็อกนี้ และโครงการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นใน projectlib.in.th
นอกนั้นก็จะมีการแสดงความคิดเห็นในมุมมองที่บรรณารักษ์หลายคนมองข้าม เช่น
ภาพลักษณ์ของบรรณารักษ์ และการทำบล็อกของห้องสมุด ฯลฯ

เพื่อนๆ สามารถอ่านต่อที่ http://www.librarianmagazine.com/VOL1NO7/projectlib.html

————————————————————————————————————

เอาเป็นว่าก็อ่านกันได้ตามสะดวกเลยนะครับ…

กิจกรรมยอดฮิตของเหล่าห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในช่วงนี้

สัปดาห์นี้มหาวิทยาลัยทุกแห่งคงเปิดเทอมกันหมดเรียบร้อยแล้วใช่มั้ยครับ เปิดเทอมใหม่ ปีการศึกษาใหม่ ภาคการศึกษาใหม่
ซึ่งแน่นอนว่ากิจกรรมยอดฮิตที่ห้องสมุดจะต้องทำในช่วงนี้ก็คือ “การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด” นั่นเอง

library-activity

“การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด” เป็นสิ่งจำเป็นต่อนักศึกษาหรือไม่
จำเป็นสิครับ เพราะนักศึกษาใหม่จะได้รู้จักห้องสมุดของสถาบันการศึกษาตัวเอง
เพื่อที่จะต้องใช้ค้นหาข้อมูลและเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดจนกว่าจะเรียนจบจากมหาวิทยาลัยของตัวเอง

ดังนั้นห้องสมุดจึงมีหน้าที่แนะนำการใช้งานห้องสมุดในด้านต่างๆ เช่น
– แนะนำบริการต่างๆ ที่มีในห้องสมุด
– แนะนำการสืบค้นในรูปแบบต่างๆ ของห้องสมุด
– การเขียนรายงานและการอ้างอิง

ฯลฯ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีกิจกรรมที่คล้ายๆ กันบ้างและมีหลายกิจกรรมที่เพิ่มเติมเข้ามาบ้าง

ซึ่งวันนี้ผมได้ลองเข้าไปดูเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ
ผมจึงขอนำรูปภาพการประชาสัมพันธ์งานปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุดจากมหาวิทยาลัยต่างๆ มาให้ดู

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด 2553

liborient53_a4

2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ -ปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด

kulib

3. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ – การอบรม “ทักษะการสืบค้นสารสนเทศของหอสมุด”

psu-lib

เปิดเทอมใหม่แบบนี้บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ในห้องสมุดคงเหนื่อยกันแน่ๆ
แต่เอาเป็นว่าสู้ๆ กันนะครับ ผมเป็นกำลังใจให้นะครับ

บริษัทนำสินประกันภัยรับสมัครบรรณารักษ์ 1 ตำแหน่ง

วันนี้มีคนส่งเมล์มาให้ผมช่วยลงประกาศรับสมัครบรรณารักษ์ให้หน่อย
ผมก็เลย “จัดไปอย่าให้เสีย” ลงให้เพื่อนๆ อ่านกันหน่อย เผื่อใครจะสนใจไปสมัครก็ลองดูนะครับ

librarian-jobs

ตำแหน่งที่รับสมัครก็อย่างที่ชื่อเรื่องบอกแหล่ะครับ รับสมัครบรรณารักษ์ 1 ตำแหน่ง
ซึ่งคุณสมบัติก็ขอให้จบบรรณารักษ์หรือสาขาใกล้เคียงแล้วกันนะครับ
และขอแถมด้วยประสบการณ์ในงานห้องสมุด 1 ปีขึ้นไปนะครับ

เรื่องเงินเดือนอันนี้เพื่อนๆ ต้องไปสอบถามกันเองนะครับ
เพราะในข่าวฝากบอกแค่ว่า เงินเดือนตามโครงสร้างบริษัท ซึ่งผมไม่รู้หรอกนะครับว่าเท่าไหร่

งานบรรณารักษ์ต้องทำอะไรบ้าง (เท่าที่อ่านก็ทั่วๆ ไปนะ)
– บริการยืม-คืนหนังสือ
– ลงทะเบียนหนังสือและวารสาร
– วิเคราะห์หมวดหมู่ (Catalog)
– จัดซื้อหนังสือ
– ทำดัชนีวารสาร
– ทำกฤตภาคข่าว

เอาเป็นว่าเท่าที่อ่านนั่นคืองานห้องสมุดเกือบทั้งห้องสมุดเลยนะครับ

เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ สนใจก็ลองสอบถามรายละเอียดได้ที่
ฝ่ายการพนักงาน บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
767 ถ.กรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
โทร.02-9114488 ต่อ 734 ,733,735? Fax.02-9114477 E-Mail : hr@namsengins.co.th

เอาเป็นว่าลองไปสมัครกันดูนะครับ