บอร์ดกิจกรรมในห้องสมุดของคุณมีตารางการแข่งขันฟุตบอลโลกหรือยัง

อีกไม่กี่วันก็จะถึงเทศกาลบอลโลกแล้วนะครับ ผมก็เป็นอีกคนที่ติดตามเช่นกัน
ดังนั้นผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ตามกระแสกันด้วยนะครับ …

2010-fifa-world-cup

สิ่งที่ทุกคนอยากรู้เกี่ยวกับบอลโลก คือ
– วันไหนมีการแข่งขัน
– ประเทศไหนเตะกับประเทศไหน
– เขาเตะกันที่สนามไหน
– ช่องไหนถ่ายทอดสดบ้าง (โดยเฉพาะช่องฟรีทีวี)

เอาเป็นว่าผมขอแนะนำว่าห้องสมุดควรจะมีตารางสรุปเรื่องเหล่านี้แปะไว้ในห้องสมุดบ้างนะครับ
ตารางการถ่ายทอดสด สามารถเข้าไปดูได้ที่
http://www.rs.co.th/FIFA2010/fifa_program.html

fifa-program

และถ้าห้องสมุดไหนมีความสามารถก็จัดนิทรรศการแบบย่อมๆ ก็ได้

ตัวอย่างการจัดนิทรรศการเรื่องฟุตบอลโลก
– (ความรู้) ประวัติความเป็นมาของฟุตบอลโลก
– (ความรู้) ประเทศที่เป็นเจ้าภาพตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน
– (ความรู้) ประเทศที่ได้แชมป์ตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน
– (ของประดับ) ประดับห้องสมุดด้วยธงชาติประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน
– (กิจกรรมทายผล) บอร์ดแสดงความคิดเห็นเรื่องฟุตบอลโลก (ให้ผู้ใช้เขียน)

ที่เล่ามาเป็นเพียงตัวอย่างนะครับ จะจัดได้เยอะกว่านี้ก็ตามสะดวก หรือจะจัดแค่แปะข่าวก็ได้

ในแต่ละวันถ้าอยากให้มีสีสันในห้องสมุดผมว่าน่าจะมีบอกว่า วันนี้ใครเตะกับใครนะครับ
อาจจะอยู่ตรงเคาน์เตอร์บรรณารักษ์ก็ได้ หรือหน้าห้องสมุดก็ได้เช่นกัน

เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอแนะนำแค่นี้แล้วกัน
ส่วนเพื่อนๆ จัดอะไรบ้างก็อย่าลืมเอามาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ

ปีนี้ตัวเต็งคือ สเปน รองลงมาคือ บราซิล (ฟังจากข่าวมานะ)
ใครจะเชียร์ทีมไหนก็ได้ แต่ขออย่างเดียวอย่าเอาการพนันเข้าห้องสมุดนะครับ…มันเสียชื่อหมด

ม.ราชภัฎอุดรธานี รับสมัครบรรณารักษ์ ถึง 11 มิ.ย นี้

อย่างที่ได้เกริ่นเรื่องงานบรรณารักษ์ที่ช่วงนี้มีกระแสเข้ามามากมาย
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอตำแหน่งงานบรรณารักษ์อีกสักที่แล้วกัน นั่นคือ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

job-librarian

ระยะเวลาในการรับสมัครค่อนข้างจะกระชิดเข้ามาแล้วนะครับ (หมดเขตการรับสมัคร 11 มิถุนายนนี้แล้ว)
ดังนั้นเพื่อนๆ ที่อยู่ใกล้ๆ หรือสะดวกที่จะทำงานแถวๆ นั้นก้รีบไปสมัครกันได้เลยครับ
เขารับ 1 ตำแหน่งเท่านั้นนะครับ ส่วนเงินเดือนก็ตามเรทราชการ 7940 บาทครับ

ตำแหน่งบรรณารักษ์ที่เปิดรับสมัครของที่นี่ต้องทำงานอะไรบ้าง
ในรายละเอียดการสมัครไม่ได้แจ้งไว้นะครับ เพียงแต่บอกลักษณะการปฏิบัติงานแบบภาพรวมมากๆ
นั่นคือ “ควบคุมดูแลงานห้องสมุดมหาวิทยาลัย” และ “ปฏิบัติงานตามกรอบที่ได้รับมอบหมาย”

คุณสมบัติของตำแหน่งนี้
– จบปริญญาตรีบรรณารักษ์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
– มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
– ขยัน อดทน และมีมนุษยสัมพันธ์ดี
– ปฏิบัติงานที่ ม.ราชภัฎอุดรธานี (ศูนย์การศึกษาสามพร้าว) ได้


กำนหดการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสมัคร

31 พ.ค. – 11 มิ.ย. = ขอใบสมัครและยื่นใบสมัคร
15 มิ.ย. = ประกาศรายชื่อผู้ที่มีสิทธิสอบ (ข้อเขียน)
18 มิ.ย. = สอบข้อเขียน
22 มิ.ย. = ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์
24 มิ.ย. = สอบสัมภาษณ์
28 มิ.ย. = ประกาศผล
30 มิ.ย. = ทำสัญญา
1 ก.ค. = เริ่มปฏิบัติงาน

การขอใบสมัครและการยื่นใบสมัคร เพื่อนๆ สามารถติดต่อได้ที่
กองบริหารงานบุคคล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

หรือหากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถดูได้จาก
รับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย (ปฏิบัติงานที่ศูนย์การศึกษาสามพร้าว) ตำแหน่งบรรณารักษ์

สุดท้ายนี้ก็ขอให้เพื่อนๆ โชคดีครับ

Librarian GaGa มิวสิควีดีโอที่บล็อกห้องสมุดต้องพูดถึง

ช่วงนี้บล็อกบรรณารักษ์และบล็อกห้องสมุดหลายๆ แห่งกำลังพูดถึงคลิปวีดีโอนึงอยู่
เอาเป็นว่าผมขอตามกระแสสักนิดแล้วกัน บังเอิญว่าเห็นแล้วถูกใจอ่ะ

librarian-do-gaga

เพื่อนๆ รู้จัก Lady Gaga มั้ย
ถ้าไม่รู้จักผมว่าเพื่อนๆ ก็คงเฉยๆ กับคลิปวีดีโอนี้แหละ
แต่ถ้ารู้จัก เพื่อนๆ คงต้องเคยฟังเพลงนี้ แน่ๆ “Poker Face”

เอาเป็นว่ามีนักศึกษาคณะหนึ่งเขานำเพลงนี้มาแปลงให้เข้ากับห้องสมุด
นอกจากเนื้อร้องแล้ว ยังแถมด้วยมิวสิควีดีโอด้วยนะครับ

เอาเป็นว่าไปดูกันเลย

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=a_uzUh1VT98[/youtube]

เป็นไงบ้างครับ ชอบกันหรือปล่าว
ผมว่ามันก็เจ๋งดีนะ ทำเอาอึ้งไปเลยอ่า…

เอาเป็นว่าไปดูเนื้อเพลงนี้กันนะครับ

เนื้อเพลง Librarian Do Gaga

You got a question that is causing you some pain
Typin? keywords into the search engine again.
Look your na?ve searching just ain?t gonna get it done
Cause when it comes to search if it?s not tough it isn?t fun (fun)

Oh, oh, oh, oh, ohhhh, ohh-oh-e-ohh-oh-oh
I?ll blow your mind, show you how to find.
Oh, oh, oh, oh, ohhhh, ohh-oh-e-ohh-oh-oh
I?ll blow your mind, show you how to find.

Can use my
Can use my
Yeah you can use my catalog
(Don?t forget the databases)
Can use my
Can use my
Yeah you can use my catalog
(Don?t forget the databases)

Ca-ca-ca-catalog ca-ca-catalog
(Mum mum mum mah)
Ca-ca-ca-catalog ca-ca-catalog
(Mum mum mum mah)

This keyword search it gives you way too many hits
Boolean limits pare things down to just what fits
Use the thesaurus to find subject terms that work
Then in just one minute you?ll be through like Captain Kirk (Kirk)

[Chorus]

We love the Big 6, baby!

Step one define your problem
Pick your sources.
Then go huntin?. We?re not puntin?
On the research. We?re engaging and extracting somethin?
Then you can put it back together
Tell your friends about your awesomeness
It?s synthesis synthesis
Evaluate cause we?re into this.

เอาไปหัดร้องกันดูนะครับ อิอิ

เพื่อนๆ คิดยังไงกับมิวสิควีดีโอนี้กันบ้างครับ อย่าลืมแสดงความคิดเห็นกันด้วยนะครับ

สรุปเรื่องการเผาห้องสมุดโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ในขณะที่ผมกำลังกินข้าวและอ่านข่าวในตอนเช้าวันนี้
ผมก็พบกับข่าวที่น่าเศร้าใจอย่างยิ่งต่อวงการห้องสมุดอีกครั้ง
นั่นคือ “ไฟไหม้ห้องสมุดวอด ร.ร.มหิดลฯ อาคาร 3 ชั้นพังยับ

ภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์
ภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์

เพื่อนๆ ที่ยังไม่รู้ข่าวสามารถอ่านได้ที่
ไฟไหม้ห้องสมุดวอด ร.ร.มหิดลฯ อาคาร3ชั้นพังยับ จาก ไทยรัฐ
ไฟไหม้หอสมุดรร.มหิดล วิทยานุสรณ์เผาวอด 2 ชั้น จาก เนชั่น

ในช่วงบ่ายวันนี้ความจริงและสาเหตุต่างๆ ก็ถูกไขออกมา
เมื่อมีนักเรียน ชั้น ม.5 ออกมายอมรับว่าเป็นคนเผาอาคารดังกล่าว
โดยให้เหตุผลว่า เครียด และ อยากกลับบ้าน จึงเผาอาคารเพื่อให้โรงเรียนสั่งหยุดการเรียนการสอน

เพื่อนๆ สามารถอ่านข่าวได้จาก
ม.5 รร.ดังศาลายามอบตัวรับเผาอาคารห้องสมุด จาก โพสต์ทูเดย์
จับเด็ก ม.5 วางเพลิงโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จาก เดลินิวส์
ม.5วางเพลิงห้องสมุด”มหิดลวิทยานุสรณ์”เครียด เรียนไม่ทันเพื่อน รับเลียนแบบ”พฤติกรรมเผา”ร.ร.จะได้ปิด จาก มติชน
ม.5มหิดลฯเผารร.อ้างไม่อยากเรียน จาก คมชัดลึก

ความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ผมว่านอกจากทรัพย์สินต่างๆ หนังสือ อุปกรณ์ต่างๆ แล้ว
ผมว่าความรู้สึกก็เสียหายไม่แพ้กันเลย คุณค่าของความรู้ต่างๆ เสียหายไปมากมาย

สุดท้ายนี้ก็ขอเป็นกำลังใจให้เหล่าบรรณารักษ์ คุณครูในโรงเรียน น้องๆ นักเรียนทุกคน
ขอให้ห้องสมุดปรับปรุงเสร็จเร็วๆ นะครับ และหากต้องการความช่วยเหลือบอกมาได้
พวกเราวงการบรรณารักษ์ไม่ทิ้งกันอยู่แล้วครับ

ผู้บริหารห้องสมุดยุคใหม่ต้องทำอะไรบ้าง

เรื่องที่ผมจะนำมาลงให้อ่านในวันนี้ จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ผมจด Lecture มาตั้งแต่สมัยผมเรียน ป.ตรี
แต่พอเอามาอ่านย้อนหลังแล้วรู้สึกว่ามีประโยชน์ต่อหลายๆ คน เลยเอามาให้อ่านกันดู
(จริงๆ แล้ว ใน lecture ผมไม่ได้เขียนละเอียดหรอกนะครับ แต่ที่เอามาลงนี่คือการ rewrite ใหม่เท่านั้น)

ceolibrary

?บทบาทและสมรรถภาพของผู้บริหารห้องสมุด? มีดังนี้

– Direction Setter
ผู้บริหารห้องสมุด คือ ผู้กำหนดทิศทางในการบริหารงานห้องสมุด พร้อมใช้เทคนิค และเครื่องมือทางการบริหารนำมาปรับให้เข้ากับห้องสมุด เช่น TQM, BSC, KPI?

– Leader catalyst
ผู้บริหารห้องสมุด ต้องมีความสามารถในการกระตุ้นการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา และมีภาวะความเป็นผู้นำที่ดี

– Planner
ผู้บริหารห้องสมุด ต้องรู้จักวางแผนงาน นโยบาย แผนปฏิบัติงาน แผนกลยุทธ์ การจัดลำดับความสำคัญของงาน และการแบ่งงานที่ดี

– Decision Maker
ผู้บริหารห้องสมุดเป็นผู้ที่มีบทบาทในการตัดสินใจ และเลือกวิธีในการปฏิบัติงาน ดังนั้นความเฉียบขาดจึงเป็นสิทธิที่พึงมีในตัวผู้บริหารด้วย

– Organizer
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักองค์กรแบบภาพกว้างๆ และมีความสามารถในการจัดการองค์กร เลือกคนให้เข้ากับงาน (put the right man on the right job)

– Change Management
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักบริหารการเปลี่ยนแปลง? งานบางงานอาจจะผิดแผนไปจากเดิมแต่ผู้บริหารก็ต้องคบคุมให้ได้ด้วย และผู้บริหารห้องสมุดต้องมีการปรับและประยุกต์งานของตนให้เข้ากับสังคม หรือองค์กรอื่นๆ ให้ได้ด้วยเช่นกัน

– Coorinator
ผู้บริหารห้องสมุดนอกจากจะเป็นผู้ที่อยู่ในระดับสูงขององค์กรแล้ว แต่สิ่งที่จะเป็นแรงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ก็คือการที่ผู้บริหารห้องสมุดมีส่วนร่วมในงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาดูแล เช่น การจัดกิจกรรมในห้องสมุดผู้บริหารห้องสมุดก็ควรเข้าร่วม (อาจจะไม่ถึงกับต้องทำกิจกรรม แต่ให้การสนับสนุน ให้คำแนะนำก็ได้เช่นกัน)

– Communicator
ผู้บริหารห้องสมุดต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ดี การสื่อสาร หรือการชี้แจงงานให้ชัดเจน ไม่สร้างความคุมเคลือให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสงสัย

– Conflict Manager
ผู้บริหารห้องสมุด ต้องเป็นผู้แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดในห้องสมุดได้ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่าง คนกับคน หรือ คนกับงาน การที่ผู้บริหารห้องสมุดสามารถไกล่เกลี่ยปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ จะต้องวางใจเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตัดสินด้วยเหตุผล และยุติธรรม

– Problem Manager
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักการแก้ไขปัญหาล่วงหน้า รู้จัแบ่งความสำคัญของปัญหาว่าสิ่งใดเป็นปัญหาเล็ก สิ่งใดเป็นปัญหาใหญ่ และแก้ไขปัญหาตามลำดับความสำคัญได้อย่างดี

– System Manager
ผู้บริหารห้องสมุดจะต้องรู้จักการวิเคราะห์ระบบ วิเคราะห์ปัญหา และควบคุมระบบงานต่างๆ อย่างมีระเบียบและมีขั้นตอน

– Instructional Manager
ผู้บริหารห้องสมุดต้องมีความสามารถทั้งในงานการปฏิบัติงานห้องสมุด และมีความสามารถทางด้านการเรียนการสอนด้วย การสอนที่ว่านี้ไม่ใช่แต่นักเรียน นักศึกษา อย่างเดียวนะครับ แต่หมายรวมถึงผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย

– Personal & Resource Manager
ผู้บริหารห้องสมุดนอกจากจะต้องควบคุมองค์กรได้แล้ว การควบคุมผูใต้บังคับบัญชา และทรัพยากรต่างๆ ในห้องสมุดก็ถือว่ามีความสำคัญด้วยเช่นกัน และต้องรู้จักการจัดสรรทรัพยากรทั้งคนและสิ่งของให้เข้ากับลักษณะงานด้วย

– Appraiser
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักการประเมินผลงานการดำเนินงาน ต่างๆ ในห้องสมุด โดยอาศัยเทคนิค หรือใช้เครื่องมือต่างๆ ในการประเมินก็ได้

จบแล้วครับ?เป็นไงกันบ้าง
งานในฐานะของผู้บริหารห้องสมุดนี่ก็เยอะเหมือนกันนะครับ
ต้องดูแลงานบริหารด้านต่างๆ จัดการกับปัญหาภายในห้องสมุด
แถมต้องพาห้องสมุดไปยังจุดมุ่งหมายและเป้าหมายของห้องสมุดอีก

เฮ้อ เหนื่อยแทนเลยจริงๆ นะครับ

Top 25 บล็อกบรรณารักษ์จาก onlinedegrees.org

สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาวบรรณารักษ์และห้องสมุดทุกท่าน
ผมขอแนะนำสุดยอดบล็อกบรรณารักษ์ 25 แห่งที่ได้รับความนิยมโดยการรายงานของ onlinedegrees.org

top-librarian-blog

onlinedegrees.org เป็นเว็บไซต์ทางการศึกษาออนไลน์ที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่ง
ซึ่งเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทางเว็บไซต์ได้ประกาศ Top 25 Librarian Blogs
ซึ่งแต่ละบล็อกนี่มีรางวัลการันตีพอสมควร และที่สำคัญเป็นบล็อกในวงการบรรณารักษ์ด้วย

จากการสแกนดูคร่าวๆ ก็มีหลายเว็บที่ผมอ่านประจำด้วยหล่ะครับ
เอาเป็นว่า 25 บล็อกที่สุดยอดในวงการบรรณารักษ์มีอะไรบ้างไปดูกันเลย

1. Never Ending Search – http://www.schoollibraryjournal.com/
2. Bright Ideas – http://slav.globalteacher.org.au/
3. Connie Crosby – http://conniecrosby.blogspot.com/
4. The Daring Librarian – http://www.thedaringlibrarian.com/
5. The Dewey Blog – http://ddc.typepad.com/
6. Annoyed Librarian – http://annoyedlibrarian.blogspot.com/
7. No Shelf Required – http://www.libraries.wright.edu/noshelfrequired/
8. Social Networking in Libraries – http://socialnetworkinglibrarian.com/
9. Peter Scott?s Library Blog – http://xrefer.blogspot.com/
10. Resource Shelf – http://www.resourceshelf.com/
11. What I Learned Today – http://www.web2learning.net/
12. The Travelin? Librarian – http://travelinlibrarian.info/
13. The Law Librarian Blog – http://lawprofessors.typepad.com/law_librarian_blog/
14. The Association for Library Service to Children Blog – http://www.alsc.ala.org/blog/
15. Library Link of the Day – http://www.tk421.net/librarylink/
16. Library Garden – http://librarygarden.net/
17. In the Library with the Leadpipe – http://www.inthelibrarywiththeleadpipe.org/
18. A Librarian?s Guide to Etiquette – http://libetiquette.blogspot.com/
19. Tame the Web – http://tametheweb.com/
20. Librarian By Day – http://librarianbyday.net/
21. TeleRead: Bring the E-Books Home – http://www.teleread.com/
22. The Blah, Blah, Blah Blog – http://neflin.blogspot.com/
23. Closed Stacks – http://closedstacks.wordpress.com/
24. Handheld Librarian – http://handheldlib.blogspot.com/
25. David Lee King – http://www.davidleeking.com/

สำหรับบล็อกบรรณารักษ์ที่ผมเข้าประจำเลยก็มี หมายเลขที่ 5, 6, 9 ,10, 12, 19 ,20, 24, 25 ครับ
เอาเป็นว่าพอเห็นแบบนี้แล้ว ผมคงต้องเข้าไปเยี่ยมชมทุกบล็อกแล้วหล่ะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ก็อย่าลืมแวะเข้าไปดูกันบ้างนะครับ
และที่สำคัญห้ามลืมเข้า Libraryhub เด็ดขาด (โปรโมทตัวเองบ้าง)

หอสมุดและคลังความรู้ ม.มหิดล รับสมัครงาน 7 ตำแหน่ง

ช่วงนี้ห้องสมุดหลายแห่งกำลังรับสมัครบรรณารักษ์ จึงมีคนฝากข่าวให้ผมช่วยประชาสัมพันธ์มากมาย
วันนี้เป็นคิวของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลครับ ซึ่งรับสมัครตั้ง 7 ตำแหน่ง ใครสนใจก็อ่านได้เลยครับ

mahidol-job-librarian

7 ตำแหน่งที่ผมได้เกริ่นไว้ด้านบน อาจจะไม่ใช่บรรณารักษ์ทั้งหมดนะครับ
แต่ขอบอกว่า 7 ตำแหน่งนี้ได้ทำงานอยู่ในห้องสมุดชัวร์ๆ แน่นอนครับ

เราไปดูกันก่อนดีกว่าว่า 7 ตำแหน่งนี้แบ่งเป็นงานอะไรกันบ้าง
– นักเอกสารสนเทศ 1 ตำแหน่ง ปฏิบัติงานที่ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
– บรรณารักษ์ 1 ตำแหน่ง (ป.ตรี) ปฏิบัติงานที่ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
– บรรณารักษ์ 1 ตำแหน่ง (ป.โท) ปฏิบัติงานที่ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
– นักวิชาการและบัญชี 1 ตำแหน่ง ปฏิบัติงานที่ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
– ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด (ปวส.) 1 ตำแหน่ง ปฏิบัติงานที่ ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท
– ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด (ปวส.) 1 ตำแหน่ง ปฏิบัติงานที่ ห้องสมุดสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ศาลายา
– ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด (ปวส.) 1 ตำแหน่ง ปฏิบัติงานที่ ห้องสมุดวิทยาลัยราชสุดา

เอาเป็นว่ารายละเอียดของงานต่างๆ และใบสมัคร เพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่
http://www.li.mahidol.ac.th/service/job_mulkc.pdf

กำหนดการในการรับสมัคร

รับสมัครวันที่ 31 พฤษภาคม – 11 มิถุนายน 2553
โดยยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐานการสมัครได้ที่ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
หรือไม่ก็ส่งเข้าเมล์ litcl@mahidol.ac.th นะครับ

หลักฐานในการรับสมัครมีอะไรบ้าง เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่เอกสารที่ผมให้เข้าไปโหลดนะ
http://www.li.mahidol.ac.th/service/job_mulkc.pdf

ทางหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบในวันที่ 15 มิถุนายน 2553 นะครับ

เอาเป็นว่าเหลือเวลาอีก 1 สัปดาห์นะครับ รีบคิด รีบตัดสินใจกันได้แล้ว
และขอให้ทุกคนโชคดีในการสอบนะครับ

มทร.รัตนโกสินทร์ ประกาศรับบรรณารักษ์ลูกจ้างชั่วคราว

ข่าวคราวเรื่องงานบรรณารักษ์ช่วงนี้เริ่มกลับมาคึกคักนะครับ
วันนี้ผมขอนำเสนอตำแหน่งงานบรรณารักษ์ลูกจ้างชั่วคราวสักหน่อยแล้วกัน

job-rmutr-librarian

โดยสถาบันที่เปิดรับสมัครงานก็คือ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์”
โดยตำแหน่งที่รับคือ “บรรณารักษ์” จำนวน 1 ตำแหน่งนะครับ เงินเดือนก็ 7,940 บาท

ผมต้องขอย้ำก่อนนะครับว่า ได้บรรจุเป็น “ลูกจ้างชั่วคราว” เท่านั้นนะครับ
ดังนั้นผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ที่ต้องการงานแบบถาวรเปิดโอกาสให้กับเพื่อนๆ ที่ต้องการงานเร่งด่วนก่อนนะครับ

คุณสมบัติของตำแหน่งนี้ ง่ายๆ ครับ ขอแค่จบปริญญาตรีสาขาบรรณารักษ์มาก็พอ

เมื่อมีคุณสมบัติแล้วทางหน่วยงานก็ต้องมีการทดสอบความสามารถกันสักนิดนะครับ
โดยทางมหาวิทยาลัยก็จะทดสอบด้วยข้อสอบข้อเขียน และสอบสัมภาษณ์ด้วย
เอาเป็นว่าก็เตรียมตัวกันให้ดีๆ แล้วกันนะครับสำหรับคนที่สมัคร

กำหนดการในการรับสมัคร
1 – 23 มิถุนายน ขอและยื่นใบสมัคร
24 มิถุนายน สอบข้อเขียน (ภาคปฏิบัติ) ช่วงเช้า และสอบสัมภาษณ์ ช่วงบ่าย
28 มิถุนายน ประกาศผล
1 กรกฎาคม มาทำงานได้เลย

เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ มีความสนใจในตำแหน่งงานนี้ก็ลองติดต่อสอบถามดูได้ที่
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.รัตนโกสินทร์ โทร. 028894585 ต่อ 2232

หรือหากต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมก็เข้ามาดูได้ที่
http://www.rmutr.ac.th/images/stories/pdf_file/scan0424.pdf

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีกันทุกคนนะครับ

เรื่องไหนที่ทำให้คุณหงุดหงิดบ้างครับ…คุณบรรณารักษ์

เมื่อวานผมเขียนเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงหงุดหงิดเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย
ทำให้ผมนึกได้ว่า เราน่าจะสำรวจบรรณารักษ์กันบ้างนะครับว่า หงุดหงิดเรื่องอะไรบ้างหรือปล่าว

library-stress

คำถามง่ายๆ แต่อาจจะตอบยากนิดนึง คือ
“เรื่องในห้องสมุดเรื่องไหนที่เห็นแล้วทำให้หงุดหงิดที่สุด”

[poll id=”17″]

เอาเป็นว่าขอเก็บข้อมูลดูหน่อยแล้วกันนะครับ
เผื่อว่าผมจะหาวิธีมาช่วยให้คุณไม่หงุดหงิดกับเรื่องต่างๆ เหล่านั้นได้
และเหนือสิ่งอื่นใดข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เพื่อนๆ ในวงการรู้จุดที่ต้องปรับปรุงตัวเองด้วย

เอาเป็นว่าก็ตอบกันเยอะๆ นะ สำหรับผมขอประเดิมให้คนแรกเลย (ผมเองก็มีเรื่องบางอย่างที่หงุดหงิดเช่นกัน)

“หงุดหงิดกับสถานะของหนังสือที่ avilable แต่บนชั้นหนังสือกลับไม่มีตัวตน”

แบบว่าระบบค้นหาดี แต่พฤติกรรมการจัดเก็บทั้งผู้ใช้และบรรณารักษ์อาจจะมีปัญหาอ่ะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดยังไงก็ลองโหวตมากันดูแล้วกันนะครับ อันไหนผลโหวตมากๆ
ผมจะมาเขียนบล็อกหาทางช่วยแก้ไขครับ

ผู้หญิงส่วนใหญ่หงุดหงิดกับเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย

เพื่อนๆ หลายๆ คนคงเข้าใจความอาร์ทของผู้หญิงดี
วันนี้ผมเลยขอนำเสนอเรื่องราวอาร์ทๆ ของผู้หญิงในแง่ของโลกไอทีกันบ้าง

ภาพประกอบจาก www.disaboom.com/womens-health-care
ภาพประกอบจาก www.disaboom.com/womens-health-care

ก่อนอื่นต้องขอนำผลการสำรวจจากนิตยสารไอทีฉบับหนึ่งมาให้เพื่อนๆ ดูกันก่อน
ซึ่งการสำรวจในครั้งนี้ได้สำรวจกลุ่มเป้าหมายทั้งชายและหญิงวัยทำงานจำนวน 3,812 คน
ซึ่งผลการสำรวจนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า “ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะหงุดหงิดเกี่ยวกับเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย”

เราลองไปดูตัวอย่างคำถามในและผลการสำรวจกันหน่อยดีกว่า

1. Frustrated by slow load times for web pages
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับความช้าของการโหลดเว็บไซต์)
ผู้ชายมีจำนวน 56 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 66 %

2. Frustrated by ads on the Internet
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต)

ผู้ชายมีจำนวน 47 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 52 %

3. Frustrated by keeping track of multiple passwords
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการใส่รหัสผ่านมากๆ)

ผู้ชายมีจำนวน 32 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 34 %

4. Frustrated when their computer crashes
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการผิดพลาดของคอมพิวเตอร์)

ผู้ชายมีจำนวน 77 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 85 %

5. Frustrated if their broadband connection doesn?t reach the promised speed
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการ เชื่อมต่อไม่เป็นไปตามความเร็วที่กำหนดไว้)

ผู้ชายมีจำนวน 48 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 56 %

6. Frustrated by (interacting with) computer support
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับฝ่ายเทคนิคในการดูแลคอมพิวเตอร์)

ผู้ชายมีจำนวน 38 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 42 %

ดังนั้นจากการสรุปผลทั้งหมด เราจะพบว่าอัตราความหงุดหงิดของผู้หญิงชนะไปที่
ผู้ชายมีจำนวน 49.7 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 55.8 % นะครับ

เป็นไงกันบ้างครับ คุณผู้หญิงทั้ง หลายเมื่ออ่านจบก็อย่าเพิ่งหงุดหงิดนะครับ
ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงแค่ผลสำรวจในสวีเดน แต่ผมเชื่อว่าของคนไทยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้

ว่าแต่คุณผู้หญิง และคุณผู้ชายทั้งหลายคิดว่า ข้อมูลนี้ถูกหรือปล่าว?

ข้อมูลสนับสนุนจาก http://royal.pingdom.com/2008/07/09/women-more-frustrated-by-the-web/