จัดบอร์ดต้อนรับวันแม่แห่งชาติในห้องสมุด

พรุ่งนี้เป็นวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งตรงกับวันสำคัญอย่างหนึ่งของเมืองไทย วันสำคัญวันนี้ คือ วันแม่แห่งชาติ
และแน่นอนครับห้องสมุดอย่างพวกเราคงต้องมีการจัดนิทรรศการเล็กๆ ในห้องสมุด

mother-day

ไอเดียเรื่องการจัดนิทรรศการผมเชื่อว่าห้องสมุดหลายๆ แห่งมีไอเดียมากมายอยู่แล้ว
และห้องสมุดเกือบทุกแห่งก็จัดได้ด้วยดีและเก๋ไก๋เช่นกัน

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมและการจัดนิทรรศการในห้องสมุด
– จัดบอร์ดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
– จัดบอร์ดทั่วไปเกี่ยวกับวันแม่
– ประกวดเรียงความ คำกลอน คำขวัญวันแม่
– เปิดเพลงที่เกี่ยวกับแม่คลอเบาๆ ในห้องสมุด
– ฉายภาพแม่ลูกตามจอโทรทัศน์ต่างๆ ในห้องสมุด

และอื่นๆ อีกมากมายที่ผมได้พบเจอมา…

วันนี้ผมคงไม่ต้องแนะนำอะไรมากมายหรอก เพราะเพื่อนๆ ก็คงทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว
แต่สิ่งที่ผมจะนำมาเพิ่มเติมให้เพื่อนๆ ในวันนี้ก็เช่น แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับวันสำคัญวันนี้

แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวันแม่แห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติ – Kapook.com
– วันแม่ – Wikipedia
– วันแม่แห่งชาติ – Sanookpedia

อ๋อ แล้วเพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าประเทศอื่นๆ เขาจัดงานวันแม่กันเมื่อไหร่บ้าง ผมจะขอสรุปดังนี้
– นอร์เวย์จัดในวันอาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์
– บัลแกเรีย, แอลเบเนีย จัดในวันที่ 8 มีนาคม
– สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์ จัดในวันอาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์
– จอร์แดน, ซีเรีย, เลบานอน, อียิปต์ จัดในวันที่ 21 มีนาคม (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ)
– โปรตุเกส, ลิทัวเนีย, สเปน, แอฟริกาใต้, ฮังการี จัดในวันอาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม
– เกาหลีใต้ จัดในวันที่ 8 พฤษภาคม และเรียกว่า วันผู้ปกครอง
– กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้, บาห์เรน, ปากีสถาน, มาเลเซีย, เม็กซิโก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, โอมาน จัดในวันที่ 10 พฤษภาคม
– แคนาดา, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, ตุรกี, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, เบลเยียม, เปรู, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อิตาลี, เอสโตเนีย, ฮ่องกง จัดในวันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม???? – โปแลนด์ จัดในวันที่ 26 พฤษภาคม
– โบลิเวีย จัดในวันที่ 27 พฤษภาคม
– สาธารณรัฐโดมินิกัน, สวีเดน จัดในวันอาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม
– ฝรั่งเศส จัดในวันอาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนหรือ อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม
– คอสตาริกา, แอนท์เวิร์ป (เบลเยียม) จัดในวันที่ 15 สิงหาคม หรือเรียกว่าวันอัสสัมชัญ
– อาร์เจนตินา จัดในวันอาทิตย์ที่สองหรือสามของเดือนตุลาคม
– รัสเซีย จัดในวันที่ 28 พฤศจิกายน
– ปานามา จัดในวันที่ 8 ธันวาคม
– อินโดนีเซีย จัดในวันที่ 22 ธันวาคม

เอาเป็นว่าก็หวังว่าเพื่อนๆ คนจะได้สาระและเนื้อหาในการนำไปจัดนิทรรศการและทำกิจกรรมในห้องสมุดนะครับ

สุดท้ายก่อนจากกัน อย่าฝากไว้ว่า “บอกรักแม่กันแล้วหรือยัง”
สำหรับผมแม้ว่าจะต้องมาทำงานไม่ได้กลับบ้านแต่ผมก็จะโทรไปบอกรักแม่ครับ
และขอส่งข้อความถึงแม่ผมในบล็อกนี้ด้วย “รักแม่ครับ”

ไอเดียในการจัดป้ายนิเทศในห้องสมุด

เรื่องเก่าเล่าใหม่ที่จะเขียนถึงในวันนี้ คือ เรื่องการจัดป้ายนิเทศในห้องสมุด
สืบเนื่องจากมีเพื่อนๆ ส่งเมล์มาขอกันมากมาย ผมจึงขอหยิบเรื่องนี้มาตอบ
พร้อมกับเปิดรับไอเดียเก๋ๆ ในการจัดป้ายนิเทศในห้องสมุดของเพื่อนๆ กัน

board-library

ก่อนที่เราจะจัดป้ายนิเทศเราจะต้องพิจารณาในหัวข้อต่างๆ
เช่น วัตถุประสงค์ของการจัด, กลุ่มเป้าหมายที่เข้าชม, สถานที่ที่ใช้แสดงป้ายนิเทศ

ขั้นตอนในการจัดป้ายนิเทศ
1. เลือกเรื่องที่จะจัดแสดงให้ได้ โดยทั่วไปแล้วควรในป้ายนิเทศ 1 ป้ายควรมีเรื่องเดียว
2. หาข้อมูลของเรื่องๆ นั้น พร้อมรูปภาพ และอุปกรณ์ตกแต่ง
3. ลองนำมาร่างดูในกระดาษก่อนจะจัดจริง เพื่อช่วยให้วางรูปแบบได้ง่ายขึ้น
4. ลงมือจัดกันได้เลย

ภาพรูปแบบการวางป้ายนิเทศด้วยครับ น่าสนใจดี เช่น

poster1

สำหรับเรื่องเทคนิคการจัด หรือความรู้สำหรับการจัดลองดูที่เว็บไซต์ต่อไปนี้นะครับ

http://banktechno7.blogspot.com/2008/01/blog-post_29.html

http://hnung6.blogspot.com/ *** แนะนำครับ เพราะว่าทำให้เห็นภาพดี ***

หลังจากเขียนเรื่องนี้เสร็จ ก็ได้มีเพื่อนๆ เสนอไอเดียเข้ามามากมาย เช่น
– คุณ pp กล่าวว่า “ป้ายจะสวยหรือใช้คำสละสลวยหรือเปล่าไม่สำคัญ ที่สำคัญคือเขาได้อ่านและได้สาระกลับไป”
– คุณ nana ให้ตัวอย่างภาพการจัดป้ายนิทรรศการแบบเก๋ๆ ให้เราได้ชม สามารถดูได้จาก http://gotoknow.org/file/nareejuti/view/139530 , http://gotoknow.org/file/nareejuti/IMG0188A.jpg

เป็นยังไงบ้างครับ ข้อมูลเพียงพอสำหรับการจัดป้ายนิเทศแล้วหรือยัง
ยังไงพอจัดเสร็จส่งรูปมาให้ดูบ้างนะครับ บรรณารักษ์ สู้ๆ ครับ

รวมภาพสาวสวยกับท่าอ่านที่สุดเซ็กซี่

วันนี้วันชิวๆ ผมขอโพสเรื่องชิวๆ และรูปภาพแบบชิวๆ บ้างดีกว่า
ซึ่งเรื่องและรูปที่นำมาลงนี้เป็นรูปที่ผมนำมาจากหลายๆ เว็บไซต์
และเป็นการค้นหารูปจากแหล่งต่างๆ ด้วยตัวเอง (แต่ผมจะอ้างที่มาให้นะครับ)

babes-with-books

วันนี้ผมเข้าไป search ภาพการอ่านหนังสืออยู่ดีๆ ก็ได้พบกับเว็บไซต์นึงเข้า
ซึ่งเว็บไซต์นี้ได้รวบรวมภาพสาวๆ สุดเซ็กซี่ในขณะที่กำลังอ่านหนังสือในท่าต่างๆ อยู่

พอเข้าไปดูแล้วเข้าใจเลยว่า การอ่านแบบสวยๆ เป็นอย่างไร
เว็บนี้ก็เข้าใจเลือกรูปเหมือนกันแหะ วันนี้เลยเอาตัวอย่างมาให้ดูสัก 5 รูปแล้วกัน

ไปดูกันเลยดีกว่า

1. อ่านในที่สาธารณะ ต้องท่านี้ถึงดูดี

readind-1

2. อ่านตามตึกหรืออ่านนอกบ้าน ท่านี้ก็แจ๋วนะ

42-21169891

3. อ่านในห้องนอน หรือ อ่านบนเตียง มันต้องท่านี้เท่านั้น

readind-3

4. ท่านี้แนะนำมากๆ สำหรับสาวๆ ที่ไปห้องสมุด ลองนั่งอ่านแบบนี้ดูสิครับ

readind-4

5. ถ้าไปห้องสมุดแล้วไม่มีเก้าอี้หรือโต๊ะให้นั่งอ่าน ก็ไปอ่านหน้าชั้นหนังสือแบบนี้เลย

readind-5

6. อ่านบนโต๊ะในห้องสมุด ต้องแบบนี้ หนุ่มๆ จะมองตาไม่กระพริบ

42-20620676

ปล. จะเซ็กซี่หรือไม่ขึ้นอยู่กับหน้าตาด้วยนะครับ อิอิ (ล้อเล่นนะ ขำขำ)

ที่มาของรูปทั้งหมด http://picasaweb.google.com/HardleySurton/BabesWithBooks#

Blogging Workshop @ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วันนี้มีการอบรมเรื่อง “ใช้ blog ดึงลูกค้า” ที่ ศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ผมจึงขอสรุปการบรรยายดังกล่าวให้เพื่อนๆ คนอื่นๆ ได้อ่านกันบ้างแล้วกัน

blog-photo

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการอบรม
ชื่อการอบรม : ใช้ blog ดึงลูกค้า
ผู้บรรยาย : คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์
วันและเวลาในการอบรม : วันที่ 8 สิงหาคม 2553
สถานที่ : ห้องฝึกอบรม ชั้น 2 ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

สรุปการอบรมช่วงเช้า
– ความแตกต่างระหว่าง Web, Blog และ Wiki
– แนะนำหลักการและแนวคิดของเว็บไซต์ Web 2.0
– แนะนำการสมัคร wordpress.com เพื่อสร้างบล็อกส่วนตัว
– การตั้งชื่อบล็อกให้น่าสนใจต่อการทำธุรกิจของเรา
– กำหนดรหัสผ่านอย่างไรไม่ให้ถูก hack
– ทำความรู้จักส่วนต่างๆ ของ wordpress เช่น header, blog, widgets
– การตั้งค่าต่างๆ ใน wordpress.com เช่น ชื่อบล็อก เวลา ภาษา
– ความแตกต่างระหว่าง page กับ post
– การเลือกธีม และ widgets ใน wordpress.com
– การเขียน blog 1 เรื่อง ต้องทำอย่างไรบ้าง = ชื่อเรื่อง ชื่อลิงค์ เนื้อเรื่อง tag หมวดหมู่ ฯลฯ

สรุปการอบรมช่วงบ่าย
– การปรับแต่งรูปภาพก่อนนำเข้าบล็อก & การใช้โปรแกรม Xnview
– ข้อแตกต่างระหว่าง wordpress.com กับ wordpress.org
– การจำลองการติดตั้ง wordpress บน server ด้วยโปรแกรม server2go
– การอัพโหลดรูป วีดีโอ ไฟล์ต่างๆ เข้าบล็อก
– การติดตั้งธีมและการเลือกธีมเพื่อใช้ในบล็อก
– การติดตั้ง plugin และการเลือก Plugin เพื่อใช้ในบล็อกสำหรับการประกอบธุรกิจ
– การใช้งาน Plugin WP e-commerce

นี่ก็เป็นการสรุปแบบคร่าวๆ ให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้มาได้อ่านนะครับ
จริงๆ แล้วเรื่องของการทำบล็อกผมว่าคงต้องใช้เวลาในการอบรมมากกว่านี้

เวลาเพียง 1 วันอาจจะทำให้เรารู้จักการใช้งานแบบคร่าวๆ
ซึ่งถ้าต้องลงรายละเอียดและการทำงานขั้นสูงคงต้องฝึกฝนด้วยตัวเอง
หรือเกิดจากการทดลองใช้งานจริงๆ และจะทำให้มีประสบการณ์ในการทำงานจริงๆ

สำหรับคนที่ไม่ได้มาในวันนี้ ห้องสมุดประชาชนก็จะจัดทำวีดีโอเพื่อการสอนทำบล็อกนี้ด้วย
ไม่เพียงแค่การอบรมในวันนี้เท่านั้นนะครับ แต่รวมถึงการอบรม เสวนา กิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด
ที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีจะมีการบันทึกวีดีโอและตัดต่อวีดีโอเพื่อนำมาให้บริการภายหลังด้วย

ประมวลรูปภาพในงานฝึกอบรมครั้งนี้

[nggallery id=26]

ภาพช็อตเด็ด ?คนดังแห่งวงการไอทีและเว็บไซต์?

เรื่องเก่าเล่าใหม่ เอามาให้ดูแบบขำขำ นะครับ

วันนี้ผมของเอาภาพผู้นำแห่งวงการไอทีและเว็บไซต์มาฝากเพื่อนๆ นะครับ

photo-ceo-it-website

เป็นภาพปัจจุบัน และ ภาพช็อตเด็ด ที่เพื่อนๆ อาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน แต่จะเด็ดสักแค่ไหนไปดูกันเลย ดีกว่า

หมายเหตุ รูปด้านซ้าย คือ รูปในปัจจุบัน ส่วนรูปทางขวาดูเอาเอง

????????????????????????

1. Linus Torvalds, Linux

linus-torvalds

ขอแซว Linus Torvalds, Linux ? เวลาท่านใส่เสื้อเชิ้ตนี่ไม่เหมาะเลย ใส่เสื้อโปโลแหละครับดีแล้ว

????????????????????????

2. Bill Gates, Microsoft

bill-gates

ขอแซว Bill Gates, Microsoft ? แหมรูปตอนสมัยวัยรุ่นนี้จ๊าบไปเลยท่าน

????????????????????????

3. Steve Jobs, Apple

steve-jobs

ขอแซว Steve Jobs, Apple ? ท่านเป็นสุดยอดแห่งความฮิปปี้มากๆ หน้าของท่านเปลี่ยนตลอดเลยนะครับ แต่ผมว่าทรงผมปัจจุบันเท่ห์สุดๆ

????????????????????????

4. Jeff Bezos, Amazon

jeff-bezos

ขอแซว Jeff Bezos ? ผมว่าเวลาท่านขรึมนี่ดูดีนะครับ แต่เวลาท่านอยู่ข้างผู้หญิงท่านน่าจะเก็บอารมณ์หน่อยนะครับ อิอิ

????????????????????????

5. Sergey Brin, Google

sergey-brin

ขอแซว Sergey Brin ? ใครบังอาจตัดต่อ หน้าของท่านนี่ รับไม่ได้ ว๊ากกกกกก

????????????????????????

6. Jakob Nielsen, Useit.com

jakob-nielsen

ขอแซว Jakob Nielsen ? โหท่านสมัยหนุ่มๆ แว่นหนาขนาดนั้นเลยหรือ สุดยอดมาเป็นบรรณารักษ์ดีกว่ามา?.

????????????????????????

7. Kevin Rose, Digg

kevin-rose

ขอแซว Kevin Rose ? ท่านเป็นผู้ชายจริงๆ ช่ายมั้ยครับ ทำไมคนแซวเค้าบอกว่ารูปนี้อยู่ในอ้อมแขนแห่งรักแท้?. เอ๊ะ หมายความว่าไงเนี้ย

????????????????????????

8. Steve Ballmer, Microsoft

steve-ballmer

คนนี้ผมไม่แซวอะไนมากดีกว่า เอาเป็นว่าขอมอบคลิปวีดีโอนี้ให้ดูแทน

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=tGvHNNOLnCk[/youtube]

????????????????????????

เป็นไงบ้างครับแบบว่าหลายๆ คนเปลี่ยนลุคกันไปเลยก็ว่าได้
จริงๆ ผมอยากเห็น CEO ด้านไอทีของเมืองไทยบ้างนะครับ อิอิ

ที่มา จากเรื่อง IT bigshots as you?re not used to seeing them จากเว็บ Pingdom

อักษรที่หายไป กับ การจัดหมวดหมู่หนังสือแบบแอลซี (LC)

ข้อสังเกตเกี่ยวกับตัวอักษรที่ไม่ได้ใช้ในการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบแอลซี
ยังมีคนเข้ามาถามผมอยู่เรื่อยๆ ซึ่งตัวอักษรดังกล่าวได้แก่ I O W X Y ซึ่งไม่ได้ใช้เป็นหมวดหลัก
คำถามนี้ ผมเองก็ตอบยากนะเพราะไม่ได้เป็นคนคิดการจัดหมวดหมู่ แต่เอาเป็นว่าผมขอเสนอความคิดเห็นส่วนตัวแล้วกันนะครับ

lc-call

ในระบบการจัดหมวดหมู่แบบ LC ? Library of Congress Classification
คือ จัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา มีการจัดหมวดหมู่โดยใช้ตัวอักษรในภาษาอังกฤษในการกำหนด
แต่มีอักษรอยู่เพียง 5 ตัวที่ไม่มีการใช้ในการจัดระบบหมวดหมู่หนังสือ นั่นคือ
ตัวอักษร I, O, W, X, Y

ตัวอักษร W ตัวนี้มีการใช้ในการจัดหมวดหมู่ แบบ NLM (National Library of Medicine classification)
หรือการจัดหมวดหมู่ของห้องสมุดด้านการแพทย์ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนในการใช้ตัวอักษรนี้
ใน LC จึงย้ายหมวด W ไปอยู่ในหมวด R (Medicine)แทน

– ส่วนตัวอื่น I, O, X, Y เป็นตัวอักษรที่เก็บไว้เพื่อการเพิ่มหมวดหมู่ในอนาคต (อันนี้เรียนมาอาจารย์บอกอย่างนั้นนะ)
เอาเป็นว่าอีก 4 ตัวนี้ เอาไว้รองรับในอาคตแล้วกันนะ

เอาเป็นว่าผมคงตอบคำถามได้แค่นี้นะครับ ไม่รู้ว่าจะชัดเจนแค่ไหน
ซึ่งหากเพื่อนๆ คิดว่ามีคำตอบอื่นๆ ก็สามารถนำมาเล่าสู่กันฟังได้นะครับ

ทำไมผมถึงเขียนบล็อกเกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

เรื่องเก่าเล่าใหม่วันนี้เป็นเรื่องที่มาและที่ไปของการกำเนิดบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์แห่งนี้
ผมเขียนบล็อกเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนอยู่ที่ projectlib.wordpress.com เรื่อยมาจนถึง projectlib.in.th และ libraryhub.in.th

10-reason-i-write-blog-library

เหตุผลที่ผมเขียนไม่ได้มาจากการที่ถูกองค์กรบังคับแต่อย่างใด
เพราะจริงๆ แล้ว Projectlib และ Libraryhub ก็ไม่ได้มีสังกัดเหมือนกับบล็อกห้องสมุดที่อื่นๆ

คำถามที่ผมเจอมาบ่อย คือ ?ทำไมถึงเขียนบล็อกห้องสมุด ในเมื่อมีเรื่องที่น่าเขียนอย่างอื่นเยอะกว่า?

นั่นสิเนอะ “ทำไม” เอาเป็นว่าไปดูเหตุผลของผมเลยดีกว่า

1. อยากเห็นวงการบรรณารักษ์ และห้องสมุดในประเทศไทยพัฒนาและปรับปรุงตนเองมากกว่านี้

2. ห้องสมุดถือเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ของคนในสังคม ไม่ว่าจะยากดีมีจน ห้องสมุดในชุมชนก็บริการฟรีนะครับ

3. อยากให้เพื่อนๆ รู้จักการนำสิ่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพของตัวเอง ซึ่งในบางครั้งเราอาจจะคาดไม่ถึงกับเรื่องบางเรื่อง เช่น การนำ MSN มาใช้ในงานตอบคำถามออนไลน์ ฯลฯ

4. การอ่านมากๆ ทำให้สมองของเราแข็งแรง พัฒนาความรู้ และต่อยอดได้เยอะขึ้น

5. ลบภาพบรรณารักษ์ยุคเก่า และสร้างภาพบรรณารักษ์ยุคใหม่ (จำไว้นะครับบรรณารักษ์ไม่ได้มีแต่ผู้หญิง อิอิ)

6. งานด้านบรรณารักษ์ และห้องสมุดสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ด้วย

7. อยากบอกว่าข่าววงการบรรณารักษ์ทั่วโลกมีมากมาย แต่ในประเทศไทยไม่ค่อยมีใครนำเสนอเลย

8. งานห้องสมุดมีมากกว่าแค่นั่งเฝ้าหนังสือก็แล้วกัน

9. ห้องสมุดก็มีเรื่องสนุกๆ มากมาย ไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายๆ คนคิดนะครับ

10. สำคัญที่สุดแล้วคือ ผมรักวิชาชีพนี้มาก และเป็นความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก(ขอบอกว่าเกิดมาเพื่อบรรณารักษ์จะมีใครว่าหรือปล่าว)

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเหตุผลดังกล่าว ชัดเจนกันมากขึ้นมั้ยครับ
คำตำหนิ หรือฉายาที่ตั้งให้ผมเรื่อง ?บรรณารักษ์แหกคอก? ผมก็ขอรับไว้ด้วยใจครับ
ไม่ว่าจะถูกด่าว่า ?โง่หรือปล่าวที่เขียนบล็อกแล้วไม่ได้อะไรตอบแทน? หรือ ?เขียนไปแล้วจะมีใครมาอ่านกัน?

เอาเป็นว่าวันนี้ผมก็ยังคงอยู่กับเพื่อนๆ ร่วมวงการไปแบบนี้แหละครับ
ยังไงก็ขอให้ช่วยกันติดตามบล็อกนี้กันต่อไปด้วยนะครับ

ปล. ช่วงนี้อัพเดทบล็อกไม่บ่อยต้องขออภัยด้วยนะครับ เนื่องจากภาระงานประจำเยอะไปหน่อย