สุขสันต์วันเกิดนะ ?นายห้องสมุด?

แก่ขึ้นอีกปีแล้วเรา ปีนี้ก็ 23 เอ้ย 28 ปีแล้วนะ นี่ก็เกือบครึ่งชีวิตแล้วสินะ
ปีนี้ผมขอตัดหน้าเพื่อนๆ ด้วยการอวยพรวันเกิดตัวเองก่อนใครเลยแล้วกัน

อวยพรธรรมดาก็อาจจะแปลกๆ ก็เลยทำตามสไตล์ Libraryhub หน่อย คือเอามาเล่าบน Blog นี่แหละ

ปีนี้ก็เหมือนปีที่แล้ว คือ วันเกิดดันตรงกับวันทำงานพอดี เลยไม่ได้ไปฉลองที่ไหนแน่ๆ เลย
อาจจะได้ไปกินข้าวกับแฟนบ้างแต่ก็คงไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร (ยังไม่ได้วางแผนอารายเลย)
เรื่องเค้กคงไม่มีอ่ะ เพราะว่าไม่ใช่คนที่ชอบกินเค้ก (ไม่ชอบของหวาน)

เอาเป็นว่าวันเกิดก็คือวันธรรมดาวันนึงเท่านั้นแหละ
อ๋อที่สำคัญ วันนี้ผมต้องไปทำบัตรประชาชนใหม่ด้วยนี่หน่า เพราะว่าบัตรหมดอายุไปเมื่อวานนี้ (28 กันยายน 2553)
(ถ้าไม่ทำเดี๋ยวตำรวจขอตรวจบัตรอาจจะเป็นเรื่องได้ ยิ่งผมหน้าตาเหมือนคนต่างด้าวอยู่)

ปีนี้ผมขอพรให้ตัวเองสักนิดดีกว่า :-

– ขอให้สอบ TOEFL ผ่านเร็วๆ (จาได้จบปริญญาโทสักที)
– ขอให้การงานประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจ
– ขอให้สุขภาพแข็งแรงไม่ป่วยไม่ไข้
– ขอให้ครอบครัวมีแต่ความสุข
– ขอให้ความรักสมหวัง และรักกันมากๆ แบบนี้ตลอดไป
– ขอให้มีแรงในการทำงานเพื่อสังคม…

ปล. คิดไม่ออกแล้วอ่ะ เอาไว้ขอเพิ่มคราวหน้าได้ปล่าว……

สุดท้ายนี้ก็ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนมีความสุข แข็งแรง คิดในสิ่งที่ดีแล้วสิ่งดีๆ จะตามมาเอง
ท้ายสุดจริงๆ ขอให้วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง

สำนักงาน ก.พ.ร. กำลังรับบรรณารักษ์

บรรณารักษ์ช่วยหางานมาอีกแล้วครับ วันนี้มีงานมานำเสนออีกที่
หน่วยงานนี้ คือ ก.พ.ร. หรือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ นั่นเอง

ตำแหน่งงานที่กำลังรับอยู่ คือ เจ้าหน้าที่บรรณสารสนเทศ
ตำแหน่งนี้เพื่อนๆ ต้องรีบหน่อยนะครับเพราะรับถึงแค่วันที่ 30 กันยายน
แถมรับเพียงแค่ 1 ตำแหน่งเท่านั้น ยังไงก็คงต้องรีบสมัครกันหน่อย

ตำแหน่งงานนี้ทำอะไรบ้าง
– บริการสารสนเทศ
– สืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
– วิเคราะห์และเลือกสรรประมวลผลข้อมูล
– จัดการและให้บริการเผยแพร่สารสนเทศ
– บริหารงานห้องสมุด

คุณสมบัติคร่าวๆ ของตำแหน่งนี้คือ
– จบปริญญาตรีสาขาห้องสมุดหรือบรรณารักษ์
– มีประสบการณ์ด้านการจัดระบบห้องสมุด
– มีความชำนาญการใช้คอมพิวเตอร์
– มีความสามารถในการประสานงานได้ดี
– บุคลิกภาพดี มนุษยสัมพันธ์เยี่ยม
– ทำงานนอกเวลาได้

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองเข้าไปติดต่อได้ที่
กลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานเลขาธิการ ชั้น 4 อาคารสำนักงาน ก.พ.ร. ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร. 0-2356-9999 ต่อ 8928, 8852

หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ http://www.opdc.go.th/uploads/files/news/selective_people.pdf

ในความคิดของเพื่อนๆ บรรณารักษ์ คือ … #whatislibrarian

วันนี้ผมเล่น twittertag / Facebooktag ว่า #whatislibrarian
คำถามง่ายๆ คือ “บรรณารักษ์ คือ ______________________ #whatislibrarian”
วันนี้ผมขอนำคำที่เพื่อนๆ เติมมาให้พวกเราชาวบรรณารักษ์ได้อ่านกัน

เริ่มจากตัวอย่างของผม
บรรณารักษ์ คือ คนเฝ้าหนังสือในห้องสมุด #whatislibrarian
บรรณารักษ์ คือ คนที่หาหนังสือเก่งที่สุดในห้องสมุด #whatislibrarian
บรรณารักษ์ คือ คนที่ประกอบอาชีพด้านบริการความรู้ที่ดีที่สุด? #whatislibrarian

คำตอบจากเพื่อนๆ ใน Facebook
– รักในหลวง Taime “บรรณารักษ์ คือ มนุษย์พันธุ์อึดคร่า #whatislibrarian”
– Asakit Thitiga “บรรณารักษ์ คือ เบื้องหลังของความสำเร็จค่ะ #whatislibrarian”
– Chee Kane “บรรณารักษ์ คือ? คนโหดแดนกระดาษ #whatislibrarian”
– Thangthai Sangsri “บรรณารักษ์ คือ คนให้..คะ #whatislibrarian”
– Thammasat Yaothanee “บรรณารักษ์ คือ คนที่เธอมองผ่าน #whatislibrarian”
– Marienie Samae “บรรณารักษ์ คือ คุณครู #whatislibrarian”
– Jirawan Kongsang “บรรณารักษ์ คือ คนที่คอยดุเราเวลาที่เสียงดังในห้องสมุด #whatislibrarian”
– John Nonlen “บรรณารักษ์ คือ สิ่งมีชีวิตที่อึดยิ่งกว่าแมลงสาบ และต่อให้โลกแตกก็จะไม่มีวันสูญพันธ์ อิอิ #whatislibrarian”
– MooNoy MooMam รักในหลวง “บรรณารักษ์ คือ มนุษย์สายพันธุ์ที่ต้องทำได้ทุกอย่าง แล้วแต่ท่านๆ จะสั่งมา #whatislibrarian”
– ชุมชนคนหางาน บรรณารักษ์ “บรรณารักษ์ คือ All in Ones #whatislibrarian”
– ชุมชนคนหางาน บรรณารักษ์ “บรรณารักษ์ คือ อับดุลแห่งห้องสมุด “อับดุลเอ๊ย หญิงรู้จัก ชายรู้จัก ถามอะไรตอบได้..” #whatislibrarian”
– Salisa Leamsuwan “บรรณารักษ์ คือ เป็ด ต้องรู้รอบ ใช้ไอทีได้ในระดับด้ ที่สำคัญน่ารัก ใจดี ช่วยเหลือผู้ใช้บริการด้วยจิตบริการ และส่วนใหญ่มักโสด เพราะอยู่แต่กับหนังสือ ไม่ได้เจอผู้เจอคน แต่บรรณารักษ์ไม่มีวันสูญพันธุ์แน่นอน คอนเฟิร์ม #whatislibrarian”
– Juthatip Niyomrat “บรรณารักษ์ คือ คนที่เด็กเจอแล้วชอบทำหน้าเหวอใส่ #whatislibrarian”
– Kitti Narakjung “บรรณารักษ์ คือ นางฟ้าประจำห้องสมุด #whatislibrarian”
– เด็กหญิง ฟ้าใส “บรรณารักษ์ คือ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของใครหลายคน แม้จะมีบทบาทอันน้อยนิดในสังคม เสมือนผู้ปิดทองหลังพระค่ะ #whatislibrarian”
– Tippawan Pinthongpan “บรรณารักษ์ คือ ผู้ส่วนหนึ่งในการสร้างบัณฑิตสาขา ต่าง ๆ เพราะพวกเขา เหล่านี้ จะต้อง พึ่งตำรา และ สื่อ ทรัพยากรสารสนเทศ ในการเรียนรู้ และคนที่ทำให้พวกเขา ค้นเจอ ข้อมูลได้รวดเร็ว #whatislibrarian”
– Gigs Ao “บรรณารักษ์ คือ ผู้หญิงมัดผมมวย ใส่แว่น นั่งอยู่หน้าเคาน์เตอร์น่ะ #whatislibrarian”
– Nu Lek “บรรณารักษ์ คือ ผู้ที่รอบรู้ สามารถชี้แนะแนวทาง/หนทาง/วิธีการที่จะนำไปสู่ความรู้ต่างๆ ทั้งหลายทั้งมวล #whatislibrarian”
– ชะอม ชโรกลมๆ “บรรณารักษ์ คือ…คนที่รู้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องของตัวเอง 555 #whatislibrarian”
– ระเบิด ครับพี่น้อง “บรรณารักษ์ คือ คนคลั่งหนังสือ ขาดหนังสือแล้วลงแดง ครับพี่น้อง #whatislibrarian”

คำตอบจากเพื่อนๆ ใน Twitter
– @achocky “บรรณารักษ์ คือ คนที่ช่วยหาโน่นหานี่ตามที่เราต้องการ แต่อย่าคุยรายละเอียดลึกๆนะ ไม่รู้หรอก #whatislibrarian”
– เพื่อนร่วมงาน คุณ @achocky “บรรณารักษ์ คือ คนที่จัดการดูแลเรื่องหนังสือ-ทรัพยากรสารสนเทศให้เรียบร้อย #whatislibrarian”
– @gnret “บรรณารักษ์ คือ ฝันร้าย ฮือๆ #whatislibrarian”
– @chakrit “Librarian is Someone who knows a lot of good books in a variety of topics #whatislibrarian”
– @jsheravanich “บรรณารักษ์ คือ ที่รักของนักวิชาการครับ จุ๊บๆ #whatislibrarian”
– @KUNDEW “บรรณารักษ์ คือ คนของหนังสือ #whatislibrarian”
– @k4ngii “บรรณารักษ์ คือ คนที่ดูแลห้องสมุด ที่บางที ก็ ดุ มากไปนะค๊า 55555 #whatislibrarian”
– @samanahavemail “บรรณารักษ์ คือ คนประทับวันคืนหนังสือที่ปกหลัง #whatislibrarian”
– @krazyipod “บรรณารักษ์ คือ ผู้ที่คอยบริการ ดูแล ให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษากับผู้ที่เข้ามาใช้บริการที่ห้องสมุด #whatislibrarian”
– @Priszila “บรรณารักษ์ คือ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด #whatislibrarian”
– @sassygirl_jane “บรรณารักษ์ คือ ป้าแก่ๆ ใส่แว่น หนังเหี่ยวๆ ในห้องสมุด #whatislibrarian”
– @wansangjan “บรรณารักษ์ คือ ผู้น่ารัก กร๊ากกกก #whatislibrarian”
– @godzeelus “บรรณารักษ์ คือ กรรมกร #whatislibrarian”
– @junesis “บรรณารักษ์ คือ เป็ด – -* #whatislibrarian”
– @ONicHy “บรรณารักษ์ คือ คนยิงบา์โค้ดใส่หนังสือ สแกนสันหนังสือดักขโมย #whatislibrarian”

– @tomorn “บรรณารักษ์ คือ สารบัญหนังสือ บอกส่วนที่สำคัญ และแนะนำได้ว่าคนที่มานั้นถ้าสนใจเรื่องนี้ อาจจะสนใจเรื่องนี้ด้วย #whatislibrarian”
– @suwichie “บรรณารักษ์ คือ ชนชั้นแรงงานในห้องสมุด #whatislibrarian”
– @nuumodz “บรรณารักษ์ คือ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของใครหลายๆ คน แต่กลับไม่มีใครรู้จักและถูกหลงลืม #whatislibrarian”
– @nobitui “บรรณารักษ์ คือ มนุษย์ไอที สายพันธุ์ หนึ่งค่ะ #whatislibrarian?

คำตอบมีหลายรูปแบบมากๆ ต่างๆ นานา เนื่องจากผู้ที่ตอบมาจากหลากหลายวงการอาชีพ
เอาเป็นว่าขำขำนะครับ อ่านกันแล้วก็เลือกนำไปใช้แล้วกันนะครับ
คำว่าบรรณารักษ์มันก็เป็นเพียงแค่คำๆ นึงเท่านั้น ความหมายมันอยู่ที่ใจของเรา

หากเราปฏิบัติดคีวามหมายมันก็จะออกมาดีคนอื่นๆ ก็จะยินดี
หากเราปฏิบัติงานด้วยใจที่ไม่ดีก็ย่อมออกมาเป็นความหมายลบก็เป็นเรื่องธรรมดา

ทำอะไรเอาไว้ย่อมได้ผลตามนั้นนะครับ ขอบคุณทุกเสียงที่แสดงความคิดเห็นครับ
ปล. ยังเสนอความคิดเห็นมาได้อีกเรื่อยๆ นะครับ เดี๋ยวผมจะเอามาอัพเดทใน List เพิ่มเติม

อัพเดทเพิ่ม วันที่ 26/09/2553 เวลา 9.56 น.

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วว่าด้วยเรื่องห้องสมุดดิจิทัล

หลายคำถามที่เกี่ยวกับห้องสมุดดิจิทัลที่หลายๆ คนอยากรู้
วันนี้ผมจึงถึงโอกาสนำประวัติศาสตร์ของห้องสมุดดิจิทัลมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังสักหน่อยดีกว่า

เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล เกิดในสมัยไหน
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีที่มาอย่างไร
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล ใครเป็นคนคิดค้น
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีแนวคิดอย่างไร

ย้อนเวลากลับไปในปี พ.ศ. 2448 แวนเนวอร์ บุช (Vannevar Bush) ริเริ่มแนวความคิดในการสืบค้นสารสนเทศจากไมโครฟิลม์ โดยเรียกว่า ?เมมเมคซ์ (Memex)? ที่ช่วยดูข้อมูลได้จากศูนย์รวมข้อมูล

ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 เจซีอาร์ ลิคไลเดอร์ (JCR Licklider) อดีตผู้อำนวยการอาร์ปา (พ.ศ. 2505-2506) ได้เขียนแนวความคิดเรื่อง ?ห้องสมุดแห่งอนาคต? ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่เกิดแนวความคิดที่เป็นพื้นฐานสำหรับ ?ห้องสมุดดิจิทัล?

และหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2513 เทด เนลสัน (Ted Nelson) ได้พัฒนาเมมเมคซ์เป็น ?ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)? ซึ่งหมายถึง เครือข่ายข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ รูปภาพและเสียง ที่สามารถเรียกดูได้จากคอมพิวเตอร์

แล้วปี พ.ศ. 2537 คาเรน ดราเบนสทูตท์ (Karen Drabenstoott) ให้คำจำกัดความว่า? ต้องใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลห้องสมุดดิจิทัลหลายห้องสมุดเชื่อมต่อกันได้ ผู้ใช้เข้าใช้จากจุดใดก็ได้ สารสนเทศอยู่ในรูปแบบดิจิทัล

ในปี พ.ศ. 2538 ดับบริว ซาฟฟาดี (W. Saffady) ระบุในบทความชื่อ ?หลักการห้องสมุดดิจิทัล? ว่าเป็นห้องสมุดที่จัดเก็บสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัลให้สามารถดูได้โดยใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ

หลังจากนั้น 1 ปี พ.ศ. 2539 ซี แอล บอร์กแมน (C L Borgman) ให้คำจำกัดความในหนังสือชื่อ ?การเข้าถึงสารสนเทศ ห้องสมุดดิจิทัล? ว่าคือแหล่งสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ค้นหา และใช้สารสนเทศ เป็นแหล่งเก็บและค้นคว้าข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว

1 ปีให้หลัง พ.ศ. 2540 ริชาร์ด แอทคินสัน (Richard Atkinson) อธิการบดีมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ตั้งห้องสมุดดิจิทัลเป็น ?ห้องสมุดไร้กำแพง (Library Without Walls)? เชื่อมโยงห้องสมุด 10 วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย มีบริการห้องสมุดครบถ้วนทุกประการ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ นับตั้งแต่มีแนวคิดในการสืบค้นสารสนเทศจากไมโครฟิล์ม จนถึงวันนี้ 105 ปี แล้วนะครับ
ผมเองตกใจมาก และไม่คิดว่าห้องสมุดดิจิทัลจะเกิดมานานขนาดนี้
และผมเชื่อว่าวงการห้องสมุดของเรายังต้องพัฒนาต่อไปอีก ในอนาคตเป็นแน่

ที่มาของข้อมูล เอกสารประกอบการอภิปรายเรื่อง ?บริการห้องสมุดสุดขอบฟ้า? จัดโดย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย? ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี? ณ ห้องประชุม โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร วันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 เวลา 8.30-10.45 น.

เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล เกิดในสมัยไหน
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีที่มาอย่างไร
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล ใครเป็นคนคิดค้น
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีแนวคิดอย่างไร

เคาน์เตอร์บรรณารักษ์ในห้องสมุดที่ทำจากหนังสือ

วันนี้เจอภาพการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ห้องสมุดที่น่าสนใจมากๆ เลยไม่พลาดที่จะเอามาอวด
เฟอร์นิเจอร์ที่จะเขียนถึงนี้เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใกล้ตัวบรรณารักษ์ นั่นคือ “เคาน์เตอร์บรรณารักษ์” นั่นเอง

เคาน์เตอร์บรรณารักษ์ที่เพื่อนๆ มักคุ้นตาก็มักจะเป็นเคาน์เตอร์ที่เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ใช่มั้ยครับ
บางที่อาจจะเป็นโครงเหล็กและปะด้วยไม้ หรือบางที่ก็นำโต๊ะทำงานออฟฟิตมาเป็นเคาน์เตอร์

ครั้งแรกที่ผมได้เห็นภาพนี้ ถึงกับอึ้งไปชั่วขณะเลยครับ
นั่นมันหนังสือนี่หน่า เอาหนังสือมาวางเรียงๆ กันแล้วเอาแผ่นกระจกวางไว้ข้างบนนี่
ผมว่ามันเป็นการออกแบบที่บ้าคลั่งมากๆ ครับ

แต่พอพิจารณาจากแนวความคิดของผู้ออกแบบแล้ว เหตุผลก็ฟังดูเข้าท่าเหมือนกัน
คือ นำหนังสือเก่าหรือหนังสือที่ไม่ได้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้มาวางเรียงๆ กัน
โดยให้เท่ากับความสูงที่บรรณารักษืจะสามารถนั่งให้บริการได้สบายๆ
จากนั้นก็วางแผ่นกระจกสักนิดเพื่อให้สามารถเป็นพื้นที่ในการเขียนหรือทำงานอย่างอื่นๆ ได้

เอาเป็นว่าเอาของที่ไม่ได้ใช้มาทำให้เกิดประโยชน์แบบนี้แหละ “รีไซเคิล”

ถามว่าสวยมั้ย ผมว่าก็ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียว ดูคลาสสิคไปอีกแบบนะ
เพื่อนๆ ชอบกันบ้างหรือปล่าว (แต่ผมว่าคนที่รักหนังสือคงไม่เห็นด้วยแน่ๆ เลย)

ปล. จริงๆ หรือการนำหนังสือมารีไซเคิลทำนู้นนี่ยังมีตัวอย่างอีกเยอะนะครับ
เช่น ช่องระบายลมที่ทำจากหนังสือ (หลายหมื่นเล่มเลยแหละ)
http://inhabitat.com/2010/08/05/mind-blowing-building-built-from-thousands-of-books/

ตัวอย่างอีกที่คือห้องที่ทำจากหนังสือ
http://inhabitat.com/2010/02/24/book-cell-an-octagonal-building-made-entirely-from-books/

เอาหนังสือเก่าๆ มาแต่งสวนก็เข้าท่านะ
http://inhabitat.com/2010/08/17/living-garden-of-knowledge-made-from-40000-books/

เคาน์เตอร์นี้อยู่ที่ Delft University of Technology
http://inhabitat.com/2010/09/13/tu-delft-architecture-library-opens-with-desk-of-recycled-books/

ที่มาของเรื่องนี้ http://www.recyclart.org/2010/09/library-information-desk/
ต่อยอดองค์ความรู้เรื่องนี้จาก http://inhabitat.com/2010/09/13/tu-delft-architecture-library-opens-with-desk-of-recycled-books/

ห้องสมุด TCDC รับสมัครพนักงานหลายตำแหน่ง

Libraryhub ช่วยหางานมาอีกแล้วครับ วันนี้มีตำแหน่งงานจาก TCDC มาฝาก
ใครที่กำลังหางานอยู่ก็เข้ามาเยี่ยมชมกันได้นะครับ แล้วก็รีบไปสมัครได้เลย

tcdc

งานที่ TCDC ประกาศรับสมัครอยู่จริงๆ แล้วมี 5 ตำแหน่งใหญ่ๆ
แต่ที่เกี่ยวกับเอกบรรณารักษ์เห็นจะมีอยู่แค่ 3 ตำแหน่งเอง ก็เลยเอามาให้ชมแค่ 3 ตำแหน่งแล้วกันนะครับ
ทุกตำแหน่งเป็นสัญญาจ่ายเป็นแบบรายปีนะครับ แต่ก็เอาเถอะครับทำงานเก็บประสบการณ์ไปเรื่อยๆ ก็ดีเหมือนกัน
เรื่องเงินเดือนในเว็บไม่ได้บอกเอาไว้นะครับ

ตำแหน่งงานทั้ง 3 คือ
1 เจ้าหน้าที่บริการข้อมูล จำนวน 2 อัตรา
2 เจ้าหน้าที่บริการสื่อประสม จำนวน 1 อัตรา
3 เจ้าหน้าที่จัดชั้นหนังสือ จำนวน 2 อัตรา

คุณสมบัติโดยรวมของทั้งสามตำแหน่ง คือ
1. จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (สาขาบรรณารักษศาสตร์จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ) (2 ตำแหน่งแรก)
2. สามารถทำงานเป็นกะได้ (9:30 ? 17:30 / 13:00 ? 21:00) ตั้งแต่วันอังคารถึงวันอาทิตย์
3. บุคลิกภาพดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี
4. มีใจรักงานบริการ
5. มีความกระตือรือร้นในการทำงาน ใฝ่เรียนรู้แบบสร้างสรรค์
6. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
7. มีทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
8. สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานได้

ปล. เจ้าหน้าที่จัดชั้นหนังสือ ขอวุฒิจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

หน้าที่ของแต่ละตำแหน่งมีดังนี้
1. เจ้าหน้าที่บริการข้อมูล

– บริการให้ข้อมูลสมาชิก บริการของห้องสมุด และข้อมูลองค์กรแก่ผู้สนใจทั่วไป
– บริการให้คำแนะนำในการสมัครสมาชิกแก่ผู้สนใจทั่วไปและแบบกลุ่ม
– บริการแลกบัตรผู้ใช้บริการแบบ One Day Pass และ 10 Day Pass
– บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าแก่สมาชิกและผู้สนใจ
– จัดทำรายงานสถิติการสมัครสมาชิก / การเข้าใช้บริการของสมาชิกแต่ละประเภท


2. เจ้าหน้าที่บริการสื่อประสม

– บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าแก่ผู้ใช้ด้านงานสื่อมัลติมีเดีย
– บริการยืม-คืนสื่อมัลติมีเดีย เครื่องมือส่งเสริมการอ่าน รวมทั้ง หนังสือและวัสดุลักษณะพิเศษ
– บริการรับจองห้องอ่านหนังสือและห้องชมภาพยนตร์
– บริการถ่ายเอกสารและสแกนภาพ
– ดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีบริการในห้องสมุด

3. เจ้าหน้าที่จัดชั้นหนังสือ
– ดูแลความเรียบร้อยของชั้นหนังสือและชั้นวารสาร
– เก็บสถิติการใช้งานจากหนังสือและวารสารที่มีการใช้บริการแล้ว
– นำหนังสือและวารสารขึ้นชั้นให้ถูกต้องตามระบบการจัดหมวดหมู่ของห้องสมุด
– บริการถ่ายเอกสารและสแกนภาพ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ติดต่อไปที่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ 622 สุขุมวิท 24 กรุงเทพฯ 10110
โทร. (66) 2 664 8448 แฟ็กซ์. (66) 2 664 8499 อีเมล์ library@tcdc.or.th

รีบหน่อยนะ เดี๋ยวตำแหน่งจะเต็มซะก่อน อิอิ

Cybrarian บรรณารักษ์กับการให้บริการในยุค Social Network

เดือนที่แล้วได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรในงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบรรดาบรรณารักษ์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ในหัวข้อเรื่อง “Cybrarian บรรณารักษ์กับการให้บริการในยุค Social Network
วันนี้ผมขอนำเรื่องราวต่างๆ ในวันนั้นมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังนะครับ

cybrarian_in_social_network

ก่อนที่จะได้มาบรรยายที่นี่
จริงๆ แล้วผมก็มาทำงานที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีบ่อยๆ นะครับ แต่ไม่มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเลย
แต่ก็พอจะรู้จักกับเครือข่ายบรรณารักษ์ที่เป็นสมาชิกบล็อกของผมอยู่ นั่นคือ คุณณรงค์วิทย์ สะโสดา ซึ่งทำงานที่ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์อยู่
ได้คุย MSN และ ตามข่าวสารใน Twitter อยู่บ่อยๆ ก็ได้คุยและได้นัดแนะกันว่าจะเข้ามาคุยที่ ม อุบลบ้าง
พี่เขาก็เลยจัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับบรรณารักษ์เล็กๆ ให้สักกลุ่มหนึ่ง

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกิจกรรมนี้
ชื่อกิจกรรม : “เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Cybrarian บรรณารักษ์กับการให้บริการในยุค Social Network”
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 30 สิงหาคม 2553 เวลา 13.00 – 16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

DSCF1336 DSCF1371

บทสรุปเรื่องราวที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
– แนะนำโครงการศูนย์ความรู้กินได้ (ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีในรูปโฉม
พร้อมกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งนักพัฒนาระบบห้องสมุด
โดยงานนักพัฒนาระบบห้องสมุด ไม่ได้หมายถึงงานไอทีของห้องสมุดอย่างเดียว แต่เป็นงานดูแลภาพรวมของห้องสมุดทั้งหมด

– แนะนำการใช้ระบบห้องสมุด Walai AutoLib และตอบปัญหาเรื่องการใช้งานบางส่วน
และช่วยกันระดมปัญหาและอุปสรรคในการทำงานกับระบบห้องสมุด Walai AutoLib
เนื่องจากห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีใช้ระบบห้องสมุด Walai AutoLib ตัวเดียวกัน

– แนะนำระบบห้องสมุดฉบับ Opensource ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งตอนนี้ใกล้เสร็จแล้ว
ในงานนี้ผมเอามา Demo ให้เห็นก่อนใคร ซึ่งในอนาคตห้องสมุดต่างๆ สามารถนำไปใช้ได้ฟรีๆ
ซึ่งความสามารถของโปรแกรมตัวนี้มีความยืดหยุ่นต่อการใช้งานและรองรับห้องสมุดหลายขนาด

DSCF1362 DSCF1380

– ช่วงพักได้สนทนาเฉพาะกลุ่มกับผู้เข้าร่วมบางส่วนเกี่ยวกับเรื่องการใช้บล็อกกับเว็บบอร์ดว่าแตกต่างกันอย่างไร
ผมจึงอธิบายและเปรียบเทียบการใช้งานว่า หากต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบเต็มรูปแบบ เช่น เขียนเรื่องยาวๆ มีรูป วีดีโอ เสียง ผมแนะนำบล็อก
แต่หากต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเฉพาะเรื่อง เช่น ทำแบบสอบถามความคิดเห็น โดยใช้คำถามสั้นๆ ก็ใช้เว็บบอร์ดน่าจะดีกว่า
แต่โดยรวมผมสนับสนุนการใช้บล็อกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่า เนื่องจากสามารถทำระบบสืบค้นและจัดหมวดหมู่ได้ดีกว่า

DSCF1367 DSCF1357

– กลับมาบรรยายต่อเรื่องที่มาของการเกิด ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib และ Libraryhub
ทำไมผมต้องเขียนบล็อกบรรณารักษ์และห้องสมุด (ผมนำสไลด์เดิมที่ผมเคยบรรยายมาอธิบายอีกครั้ง)
(เพื่อนๆ สามารถแานได้ที่ “ทำไมผมถึงเขียนบล็อกเกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์“)

– เครื่องมือออนไลน์ที่ผมใช้ในการสร้างเครือข่ายและติดต่อสื่อสารกับสมาชิกบล็อก เช่น Email Hi5 Twitter MSN Facebook
แต่ละเครื่องมือมีความสามารถเฉพาะตัวในการสื่อสารขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใช้งานเพื่ออะไร
และเครื่องมือต่างๆ ที่แนะนำเป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ฟรีบนเว็บทั้งนั้น ห้องสมุดควรจะเรียนรู้และหัดใช้ให้คล่องๆ

DSCF1352 DSCF1356

– ช่วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีเพื่อนๆ ตั้งคำถามมากมาย เช่น
— อยากได้ระบบห้องสมุดที่ใช้งานกับห้องสมุดโรงเรียน — ผมแนะนำ PLS และให้ที่อยู่สำหรับการขอแผ่นโปรแกรม PLS
— สอบถามเกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานห้องสมุด และจำนวนนิตยสารที่ควรมีในห้องสมุดโรงเรียน — อันนี้ผมติดเอาไว้ก่อน แต่โดยรวมผมแนะนำให้อ่านมาตรฐานห้องสมุด
— สอบถามเกี่ยวกับจำนวนหนังสือที่หายไปเนื่องจากห้องสมุดไม่ได้ทำการ Check stock มา 4 ปีแล้ว — ผมเน้นว่ายังไงก็ต้องทำการ check stock ทุกปี

เอาเป็นว่าครั้งนี้ที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ ผมก็ได้ความรู้ใหม่ๆ มาด้วยเช่นกัน
และสนุกมาที่ได้มาบรรยายที่นี่ บรรยากาศนั่งพื้นแล้วบรรยายเป็นกันเองมากๆ
สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณ คุณณรงค์วิทย์ สะโสดา ด้วยครับ ที่ให้โอกาสผมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกๆ คน

เสวนาฉบับย่อโดย ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อ่านได้ที่
http://sac.la.ubu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=159&Itemid=62

ภาพบรรยากาศทั้งหมดในงานนี้

[nggallery id=27]

หากเปรียบห้องสมุดเป็นร่างกายมนุษย์…

หากเปรียบห้องสมุดเป็นร่างกายมนุษย์ บรรณารักษ์แต่ละส่วนงานจะได้ทำงานในอวัยวะชิ้นไหน
เจอคำถามนี้ถึงกับอึ้งเล็กน้อย แต่มีคนเคยนำมาเขียนจริงๆ ครับ
โดยบทความชื่อว่า “How a Library Works” โดย Jeff Scott

da_vinciman

บทความนี้ได้เปรียบเทียบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายมนุษย์
กับการทำงานด้านต่างๆ ภายในห้องสมุด เช่น งานบริหาร, งานเทคนิค?.

Management : The brain
งานบริหาร ? สมอง, เป็นงานที่คอยดูแลและวางแผนในการทำงานต่างๆ รวมถึงตัดสินใจว่าสิ่งไหนควรทำ หรือสิ่งไหนไม่ควรทำ และในงานบริหารหรืองานจัดการส่วนใหญ่ต้องใช้ความคิดดังนั้น จึงเปรียบการบริหารให้เป็น ?สมอง? ของมนุษย์

Collection Development : The eyes
งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ? ตา, เป็นงานที่คอยจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมเข้าห้องสมุด ดังนั้นงานนี้จึงต้องอาศัยการหาแหล่ง การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศเป็นหลัก ถ้าคัดเลือกสื่อไม่ดีเข้าห้องสมุด ห้องสมุดก็จะมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีไม่ด้วย ดังนั้นงานนี้จึ้เปรียบได้กับ ?ตา? ของมนุษย์

Reference : The mouth
งานบริการตอบคำถามและอ้างอิง ? ปาก, เป็นงานที่ต้องพูดสื่อสารกับผู้ใช้ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ และบริการส่วนนี้มักจะมีผู้เข้าใช้บริการอยู่พอสมควรในการสอบถามปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับห้องสมุด หรือปัญหาเกี่ยวกับสารสนเทศ ดังนั้นจึงเปรียบงานตอบคำถามให้เป็น ?ปาก? ของมนุษย์

Circulation : The heart
งานบริการยืมคืน ? หัวใจ, งานบริการที่สำคัญที่สุดของห้องสมุด นั่นก็คืองานบริการยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศ เพราะเป็นงานที่จะต้องพบปะกับผู้ใช้ตรงๆ รวมถึงแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงงานบริการจำเป็นจะต้องบริการด้วยใจอย่างที่ผมเคยพูดหลายๆ ครั้ง ดังนั้นหากเทียบอวัยวะที่สำคัญสุด ก็คงหนีไม่พ้น ?หัวใจ? ของมนุษย์

Technical Services : The digestion system
งานเทคนิค ? ระบบย่อยอาหาร, งานเทคนิคที่กล่าวนี้ รวมถึงงานวิเคราะห์ งานซ่อมแซมหนังสือ และอื่นๆ ด้านเทคนิคครับ ถ้าเปรียบสารสนเทศเป็นอาหาร เมื่อปากเราได้กินอาหารเข้ามาก็ต้องผ่านกระบวนการมากมายกว่าที่อาหารเหล่า นั้นจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย เช่นเดียวกัน เมื่อหนังสือเข้าาที่ห้องสมุดต้องผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น จัดหมวดหมู่ ให้หัวเรื่อง และอื่นๆ กว่าหนังสือจะขึ้นชั้นให้บริการ ดังนั้นระบบที่ซับซ้อนเช่นนี้จึงเปรียบได้กับ ?ระบบย่อยอาหาร? นั่นเอง

Programming : The muscles
งานด้านโปรแกรมห้องสมุด ? กล้ามเนื้อ, งานโปรแกรมของห้องสมุดได้แทรกอยู่ทุกงานของห้องสมุดโดยไม่แบ่งแยก และทำงานกันอย่างสอดคล้องกัน ดังนั้นจึงคล้ายการทำงานของ ?กล้ามเนื้อ? ของมนุษย์

ดังนั้นส่วนประกอบต่างๆ ของ อวัยวะมนุษย์ จะมีการทำงานอย่างสอดคล้องกัน
ซึ่งแน่นอนครับว่า ต้องเหมือนกับห้องสมุดที่ทุกฝ่ายต้องทำร่วมกัน
เพื่อให้ได้สุขภาพที่ดี ? ห้องสมุดที่สมบูรณ์
เป็นยังไงกันบ้างครับ นี่แหละร่างกายมนุษย์ กับ ห้องสมุด

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 4

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 4
ออกในเดือนกันยายน 2553

libmagvol3no4

กลับมาอีกแล้วนะครับสำหรับนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับที่ 4 ประจำปีนี้
ฉบับนี้มีเนื้อหาเยอะกว่าเล่มที่ผ่านๆ มาหน่อย
ซึ่งต้องยอมรับเลยว่าผู้เขียนทุกคนตั้งใจกันมากๆ

ฉบับนี้ไฮไลท์อยู่ที่บทสัมภาษณ์ผู้ที่ออกแบบระบบห้องสมุด Library2001
ซึ่งผมเองยังตกใจเลยและผมก็เข้าใจว่าเป็นคนด้านไอทีทำ
แต่แท้จริงแล้ว Library2001 เป็นอาจารย์บรรณารักษ์นั่นเองที่เป็นคนออกแบบ

เอาเป็นว่าเกริ่นมาเยอะแล้ว เราไปดูเนื้อหาในฉบับนี้กันดีกว่า

เรื่องจากปก 😕 พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ

บทสัมภาษณ์ : บรรณารักษ์ผู้ออกแบบและพัฒนาระบบปฏิบัติการห้องสมุดอัตโนมัติ Library2001

พาเที่ยว : คลองมหาสวัสดิ์ : แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

พาเที่ยว : ห้องสมุดประชาชนเมือง Kilbourn

พาเที่ยว 😕 หนึ่งวันใน Yunnan Normal University Library เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน

บทความ : แม่

บทความ : การเดินทางของส่วนที่หายไป

บทความ : ช่างทดลอง

บทความ 😕 บริการอีสานสนเทศ

บทความ : อรรถาภิธานศัพท์เกษตรไทย

บทความ : ห้องสมุดยังต้องให้บริการฟรีและเพื่อปวงชน

เป็นยังไงกันบ้างครับ ลองเข้าไปอ่านกันดูนะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่ม 4 : http://www.librarianmagazine.com/VOL3/NO4/index.htm

20 ทักษะไอทีที่บรรณารักษ์ทุกคนควรมี…

เรื่องที่ผมนำมาเขียนในวันนี้ เป็นเรื่องที่ผมนำมาจาก เรื่อง “20 Technology Skills Every Librarian Should Have
ที่เขียนโดยบล็อก theshiftedlibrarian และเรื่องนี้เขียนไว้ตั้งแต่ปี 2005
ผมเห็นว่าบรรณารักษ์ในเมืองไทยบางหนึ่งยังขาดทักษะด้านไอทีหลายอย่าง ดังนั้นผมจึงขอนำมาเรียบเรียงและแปลให้เพื่อนๆ อ่านกัน

it-librarian

พอพูดถึงเรื่องไอที บรรณารักษ์หลายๆ คนมักจะมองไปถึงเรื่องการเขียนโปรแกรมหรือการใช้โปรแกรมขั้นสูงต่างๆ
ซึ่งจริงๆ แล้ว มันเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันมากๆ และความเข้าใจผิดนี้ทำให้บรรณารักษ์หลายๆ คนกลัวเทคโนโลยีกันไปเลย

แล้วตกลงทักษะด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้มีเรื่องอะไรบ้างหล่ะ
ผู้เขียนก็ไปเสาะแสวงหาและเจอบทความนึงเรื่อง “20 Technology Skills Every Educator Should Have”
และเมื่ออ่านแล้วบอกได้คำเดียวว่าตรงมากๆ และบรรณารักษ์นี่แหละก็ควรมีทักษะไอทีแบบเดียวกันนี้

โดยสรุปทักษะไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ มี 20 ทักษะ ดังต่อไปนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำพวก Word Processing เช่น Word หรือ? writer
2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำพวก Spreadsheets เช่น Excel หรือ Calc
3. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำพวก Database เช่น Access หรือ Base หรือ SQL ….
4. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำพวก Presentation เช่น Powerpoint หรือ Impress
5. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์
6. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์
7. ความรู้เกี่ยวกับการใช้ E-mail
8. ความรู้เกี่ยวกับการใช้กล้องดิจิทัล
9. ความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
10. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการไฟล์และการจัดเก็บไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์
11. ความรู้เกี่ยวกับการดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต
12. ความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์
13. ความรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์การเรียนการสอนออนไลน์
14. ความรู้เกี่ยวกับการประชุมทางออนไลน์ หรือประชุมทางไกลดดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
15. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ซีดี ดีวีดี ฮาร์ดดิสค์
16. ความรู้เกี่ยวกับการสแกน (Scanner)
17. ความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์สื่อสารไร้สาย
18. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เว็บไซต์ขั้นสูง เช่น ระบบการจัดทำดัชนีเว็บไซต์ การสืบค้น
19. ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
20. ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ป้องกันไวรัส โทรจัน…

นอกจาก 20 ข้อนี้แล้ว ผู้เขียนยังขอเพิ่มในเรื่องทักษะ การใช้งาน Blog, IM, RSS, Wiki, …… อื่นๆ อีก
ซึ่งจากที่อ่านมาทั้งหมดนี้ เพื่อนๆ ว่าเพื่อนๆ มีทักษะด้านไอทีครบถ้วนหรือไม่

บางอย่างที่ยังไม่รู้ก็ลองหาที่ศึกษาเพิ่มเติมดูนะครับ
หากสงสัยในทักษะอย่างไหนบอกผมนะครับ จะได้ช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้รับทราบครับ
สำหรับวันนี้บรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างเราต้องหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลานะครับ…จะได้ไม่เป็นบรรณารักษ์ตกเทรนด์