แนวคิดเรื่องการบริการให้ยืม IPOD Touch ในห้องสมุดประชาชน

หลังจากที่ผมยุ่งๆ กับเรื่องการเปิดศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีมาหลายวัน
พอศูนย์ความรู้กินได้เปิดแล้ว งานที่ต้องทำต่อคือการคิดนโยบายและเติมบริการใหม่ๆ เข้าห้องสมุด
วันนี้ผมจึงขอแนะนำบริการสักหนึ่งบริการใหม่ๆ ให้เพื่อนๆ รู้จัก

ipodtouch-in-library

บริการที่ว่านั่น คือ การให้บริการยืม IPOD Touch เพื่อใช้ภายในห้องสมุดประชาชนนั่นเอง
หลายๆ คนคงงงว่าทำไมต้องให้ยืมใช้ IPOD Touch และ IPOD Touch มีประโยชน์อะไร
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ผมจะต้องอธิบายให้เพื่อนๆ ฟังนั่นเอง

ห้องสมุดนำ IPOD Touch มาใช้เพื่ออะไร
1. จัดเก็บไฟล์เสียงและวีดีโอที่ห้องสมุดได้จัดงานอบรมและสัมมนาต่างๆ
2. จัดเก็บไฟล์ภาพสวยงามของห้องสมุดและสถานที่ที่น่าสนใจในจังหวัด (ภาพเก่าๆ ที่หาดูได้ยาก)
3. จัดเก็บโปรแกรมที่ช่วยในการเรียนรู้ต่างๆ เช่น ข้อสอบ TOEFL, TOEIC ฯลฯ
4. จัดเก็บโปรแกรมแปลภาษา เช่น ไทย-อังกฤษ, อังกฤษ-ไทย, ภาษาอื่นๆ
5. จัดเก็บ E-book ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์
6. ฝึกทักษะการใช้งานอุปกรณืและเครื่องมือใหม่ๆ ในโลกปัจจุบัน

และต่างๆ อีกมากมายที่ห้องสมุดจะนำไปใช้งาน

เป็นยังไงกันบ้างครับ นี่คือห้องสมุดประชาชนในรูปโฉมใหม่ จริงๆ ใช่มั้ยครับ

เอาหล่ะครับ เมื่อพูดถึงเรื่องประโยชน์ของ IPOD Touch แล้ว
คราวนี้ผมขอเหล่าถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วยนะครับ

ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
– ความเสียหาย = หากผู้ใช้บริการนำ IPOD Touch ไปใช้แบบไม่ระวังอาจทำให้เกิดความเสียหาย
– สูญหาย = IPOD Touch มีราคาที่แพง ผู้ใช้บริการบางคนอาจจะไม่หวังดี
– ผู้ใช้ใช้ไม่เป็น = ผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนส่วนหนึ่ง (จำนวนมาก) ไม่มีทักษะในการใช้สิ่งของด้านไอที

ซึ่งจากความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ทำให้ต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าของการลงทุนด้วยนะครับ

การลงทุนเพื่อซื้อ? IPOD Touch มาให้บริการในห้องสมุด
เพื่อนๆ ต้องสำรวจราคากลางของเครื่อง IPOD Touch ซะก่อน
ซึ่งราคากลางของเครื่อง IPOD Touch จะอยู่ที่ 7400 บาท
หลังจากนั้น เพื่อนๆ ก็คงต้องพิจารณาเอานะครับว่าจะเลือกนำมาใช้หรือไม่

แนวทางในการให้บริการ IPOD Touch ในห้องสมุดประชาชน
– ให้ผู้ใช้บริการแลกบัตรประชาชนเอาไว้
– ใช้ในพื้นที่ที่จัดให้ (ซึ่งบรรณารักษ์ต้องมองเห็นตลอดเวลา)
– ตรวจสอบเครื่อง IPOD Touch ก่อนและหลังให้บริการ
– กำหนดเวลาในการให้บริการ เช่น คนละ 1-2 ชั่วโมง
– จัดตารางคิวการใช้งานเพื่อไม่ให้มีการถือครองโดยคนๆ เดียว
– มั่นอัพเดทโปรแกรมที่ใช้ในเครื่อง IPOD Touch

ฯลฯ อีกมากมายซึ่งแล้วแต่เพื่อนๆ จะจัดการนะครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเรื่องบริการแนวใหม่ๆ ในห้องสมุดประชาชน
หวังว่าเพื่อนๆ จะได้นำความคิดไปพิจารณากันดูนะครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*