Cybrarian บรรณารักษ์กับการให้บริการในยุค Social Network

เดือนที่แล้วได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรในงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบรรดาบรรณารักษ์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ในหัวข้อเรื่อง “Cybrarian บรรณารักษ์กับการให้บริการในยุค Social Network
วันนี้ผมขอนำเรื่องราวต่างๆ ในวันนั้นมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังนะครับ

cybrarian_in_social_network

ก่อนที่จะได้มาบรรยายที่นี่
จริงๆ แล้วผมก็มาทำงานที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีบ่อยๆ นะครับ แต่ไม่มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเลย
แต่ก็พอจะรู้จักกับเครือข่ายบรรณารักษ์ที่เป็นสมาชิกบล็อกของผมอยู่ นั่นคือ คุณณรงค์วิทย์ สะโสดา ซึ่งทำงานที่ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์อยู่
ได้คุย MSN และ ตามข่าวสารใน Twitter อยู่บ่อยๆ ก็ได้คุยและได้นัดแนะกันว่าจะเข้ามาคุยที่ ม อุบลบ้าง
พี่เขาก็เลยจัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับบรรณารักษ์เล็กๆ ให้สักกลุ่มหนึ่ง

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกิจกรรมนี้
ชื่อกิจกรรม : “เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Cybrarian บรรณารักษ์กับการให้บริการในยุค Social Network”
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 30 สิงหาคม 2553 เวลา 13.00 – 16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

DSCF1336 DSCF1371

บทสรุปเรื่องราวที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
– แนะนำโครงการศูนย์ความรู้กินได้ (ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีในรูปโฉม
พร้อมกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งนักพัฒนาระบบห้องสมุด
โดยงานนักพัฒนาระบบห้องสมุด ไม่ได้หมายถึงงานไอทีของห้องสมุดอย่างเดียว แต่เป็นงานดูแลภาพรวมของห้องสมุดทั้งหมด

– แนะนำการใช้ระบบห้องสมุด Walai AutoLib และตอบปัญหาเรื่องการใช้งานบางส่วน
และช่วยกันระดมปัญหาและอุปสรรคในการทำงานกับระบบห้องสมุด Walai AutoLib
เนื่องจากห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีใช้ระบบห้องสมุด Walai AutoLib ตัวเดียวกัน

– แนะนำระบบห้องสมุดฉบับ Opensource ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งตอนนี้ใกล้เสร็จแล้ว
ในงานนี้ผมเอามา Demo ให้เห็นก่อนใคร ซึ่งในอนาคตห้องสมุดต่างๆ สามารถนำไปใช้ได้ฟรีๆ
ซึ่งความสามารถของโปรแกรมตัวนี้มีความยืดหยุ่นต่อการใช้งานและรองรับห้องสมุดหลายขนาด

DSCF1362 DSCF1380

– ช่วงพักได้สนทนาเฉพาะกลุ่มกับผู้เข้าร่วมบางส่วนเกี่ยวกับเรื่องการใช้บล็อกกับเว็บบอร์ดว่าแตกต่างกันอย่างไร
ผมจึงอธิบายและเปรียบเทียบการใช้งานว่า หากต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบเต็มรูปแบบ เช่น เขียนเรื่องยาวๆ มีรูป วีดีโอ เสียง ผมแนะนำบล็อก
แต่หากต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเฉพาะเรื่อง เช่น ทำแบบสอบถามความคิดเห็น โดยใช้คำถามสั้นๆ ก็ใช้เว็บบอร์ดน่าจะดีกว่า
แต่โดยรวมผมสนับสนุนการใช้บล็อกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่า เนื่องจากสามารถทำระบบสืบค้นและจัดหมวดหมู่ได้ดีกว่า

DSCF1367 DSCF1357

– กลับมาบรรยายต่อเรื่องที่มาของการเกิด ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib และ Libraryhub
ทำไมผมต้องเขียนบล็อกบรรณารักษ์และห้องสมุด (ผมนำสไลด์เดิมที่ผมเคยบรรยายมาอธิบายอีกครั้ง)
(เพื่อนๆ สามารถแานได้ที่ “ทำไมผมถึงเขียนบล็อกเกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์“)

– เครื่องมือออนไลน์ที่ผมใช้ในการสร้างเครือข่ายและติดต่อสื่อสารกับสมาชิกบล็อก เช่น Email Hi5 Twitter MSN Facebook
แต่ละเครื่องมือมีความสามารถเฉพาะตัวในการสื่อสารขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใช้งานเพื่ออะไร
และเครื่องมือต่างๆ ที่แนะนำเป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ฟรีบนเว็บทั้งนั้น ห้องสมุดควรจะเรียนรู้และหัดใช้ให้คล่องๆ

DSCF1352 DSCF1356

– ช่วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีเพื่อนๆ ตั้งคำถามมากมาย เช่น
— อยากได้ระบบห้องสมุดที่ใช้งานกับห้องสมุดโรงเรียน — ผมแนะนำ PLS และให้ที่อยู่สำหรับการขอแผ่นโปรแกรม PLS
— สอบถามเกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานห้องสมุด และจำนวนนิตยสารที่ควรมีในห้องสมุดโรงเรียน — อันนี้ผมติดเอาไว้ก่อน แต่โดยรวมผมแนะนำให้อ่านมาตรฐานห้องสมุด
— สอบถามเกี่ยวกับจำนวนหนังสือที่หายไปเนื่องจากห้องสมุดไม่ได้ทำการ Check stock มา 4 ปีแล้ว — ผมเน้นว่ายังไงก็ต้องทำการ check stock ทุกปี

เอาเป็นว่าครั้งนี้ที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ ผมก็ได้ความรู้ใหม่ๆ มาด้วยเช่นกัน
และสนุกมาที่ได้มาบรรยายที่นี่ บรรยากาศนั่งพื้นแล้วบรรยายเป็นกันเองมากๆ
สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณ คุณณรงค์วิทย์ สะโสดา ด้วยครับ ที่ให้โอกาสผมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกๆ คน

เสวนาฉบับย่อโดย ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อ่านได้ที่
http://sac.la.ubu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=159&Itemid=62

ภาพบรรยากาศทั้งหมดในงานนี้

[nggallery id=27]