คำคมจาก 3 ผู้นำด้านระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

วันนี้ผมขอนำเสนอบทความที่ผมเคยเขียนไปแล้ว ใน projectlib แต่พอย้อนกลับไปอ่านผมก็รู้สึกว่า
คำคมต่างๆ เหล่านี้ยังคงอญุ่ในใจของใครหลายๆ คนอยู่ เลยเอามาให้อ่านอีกรอบครับ
ที่มาของคำคมนี้ผมอ่านเจอจาก “Great quotes from Bill Gates, Steve Jobs and Linus Torvalds

หากคุณไม่รู้จักชื่อของบุคคลทั้งสามนี้ ผมว่าคุณคงจะตกยุคจากคอมพิวเตอร์ไปซะแล้ว
เพราะว่าบุคคลทั้งสามเป็นบุคคลตัวแทนแห่งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Operating System ? OS)

Bill Gates ? Microsoft
Steve Jobs ? Apple
Linus Torvalds ? Linux

เรื่องที่ผมนำมาเสนอ ก็คือการนำตัวอย่างประโยคสุดเด็ดของทั้งสามคนมาลงให้อ่านครับ เริ่มจาก

??????????????????????-

ประโยคสุดเด็ด จาก? Bill Gates ? Microsoft

– 1993 : The Internet? We are not interested in it. (ตอนนั้นคงไม่มีคนพูดเรื่องอินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง)

– 2001 : Microsoft has had clear competitors in the past. It?s a good thing we have museums to document that. (ทำห้องสมุดให้ด้วยนะ)

– 2004 : Spam will be a thing of the past in two years? time. (สแปมมากๆ ก็ไม่ดีนะ)

??????????????????????-

ประโยคสุดเด็ด จาก? Steve Jobs ? Apple

– 1991 : What a computer is to me is the most remarkable tool that we have ever come up with. It?s the equivalent of a bicycle for our minds. (เทคโนโลยี คือ อนาคต)

– 1997 : The products suck! There?s no sex in them anymore! (เหอๆๆๆๆ)

– 2006 : Our friends up north spend over five billion dollars on research and development and all they seem to do is copy Google and Apple. (จริงดิ โฮ)

??????????????????????-

ประโยคสุดเด็ด จาก? Linus Torvalds ? Linux

– 1991 : I?m doing a (free) operating system (just a hobby, won?t be big and professional like gnu) for 386(486) AT clones. (นี่แหละอำนาจแห่งการแบ่งปัน)

– 1998 : My name is Linus Torvalds and I am your god. (มีงี้ด้วย)

– 2007 : I have an ego the size of a small planet. (ครับต้องทำภายใต้โลกใบนี้ด้วย)

??????????????????????-

เป็นไงบ้างครับ ขั้นเทพจริงๆ เลยปล่าว แต่ที่ผมนำมาให้อ่านแค่ตัวอย่างเท่านั้นเองนะครับ
ถ้าใครอยากอ่านแบบเต็มๆ ก็เข้าไปดูได้ที่ http://royal.pingdom.com/?p=325

Sources:
Images from Wikimedia Commons: Bill Gates, Steve Jobs, Linus Torvalds.
Quotes found on Wikiquote.org.

นำเสนอประวัติโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha แบบ Visualization

วันนี้ผมขอนำตัวอย่าง “การใช้ Visualization เพื่อนำเสนองานด้านห้องสมุด” มาให้เพื่อนๆ ดูกันนะครับ
การนำเสนอแบบ Visualization กำลังเป็นที่นิยมในวงการไอที ดังนั้นห้องสมุดเราก็ไม่ยอมน้อยหน้าเช่นกัน

คำอธิบายเรื่อง Visualization แบบสั้นๆ ง่ายๆ คือ การแปลงข้อมูลจำนวนตัวอักษรให้กลายเป็นรูปภาพเพื่อให้การนำเสนอดูง่ายและน่าสนใจยื่งขึ้น (เอาไว้ผมจะเขียนบล็อกเรื่องนี้วันหลังครับ)

ตัวอย่างที่ผมจะนำมาให้ดูนี้เป็น Visualization แสดงความเป็นมาของการพัฒนาโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha
ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติแบบรหัสเปิด หรือเรียกง่ายๆ ว่า Opensource

หากให้เพื่อนๆ ไปนั่งอ่านประวัติของ Koha เพื่อนๆ ก็คงอ่านได้ไม่จบหรอกครับ
เพราะว่าโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha เริ่มโครงการในปี 1999 (ปีนี้เป็นปีที่ 11 แล้ว)
โดยเพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Koha_%28software%29 หรือ http://koha-community.org/

ในงาน kohacon (KOHA Conference) ที่ผ่านมา http://www.kohacon10.org.nz/
ได้มีการฉายคลิปวีดีโอ “Koha Library Software History Visualization” ทำเอาเป็นที่ฮือฮามาก
เพราะเป็นการใช้ Visualization ในการนำเสนอประวัติการพัฒนาของโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Tl1a2VN_pec[/youtube]

ในคลิปวีดีโอนี้เริ่มจากข้อมูลในการพัฒนาโปรแกรม KOHA ในเดือนธันวาคม 2000 – ตุลาคม 2010
ดูภาพแล้วก็อ่านคำอธิบายที่โผล่มาเป็นระยะๆ ดูแล้วก็เพลินดีครับ เพลงก็ไปเรื่อยๆ

ถามว่าถ้าให้อ่าน paper ประวัติที่มีแต่ตัวอักษร กับ Visualization นี้
ผมคงเลือกดู Visualization เพราะผมแค่อยากรู้ว่าช่วงไหนทำอะไร ไม่ได้อยากทำรายงานนะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ก็ค่อยๆ ดูไปนะครับ ผมว่าเพลินดี
วันนี้ก็ขอแนะนำเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ สุขสันต์วันหยุดครับ

เว็บไซต์ชุมชนผู้พัฒนา KOHA – http://koha-community.org/

เทศบาลเมืองลำพูนรับสมัครผู้ช่วยบรรณารักษ์

วันนี้มีงานบรรณารักษ์มาแนะนำอีกแล้วครับ งานนี้สำหรับคนที่อยากทำงานต่างจังหวัดนะครับ
ซึ่งงานในวันนี้เป็นงาน “ผู้ช่วยบรรณารักษ์” ที่ห้องสมุดเทศบาลเมืองลำพูน

รายละเอียดงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง : ผู้ช่วยบรรณารักษ์
ลักษณะงาน : สัญญาจ้าง 1 ปี
จำนวน : 1 อัตรา
เงินเดือน : 7940 บาท
สถานที่ : ห้องสมุดเทศบาลเมืองลำพูน

อย่างที่บอกอ่ะครับว่าสำหรับคนที่อยากทำงานที่จังหวัดลำพูนนะครับ และที่สำคัญคือไม่ใช่งานประจำนะครับ เป็นแค่สัญญาจ้าง 1 ปี ดังนั้นคิดให้ดีๆ ก้อนการสมัครนะครับ เอาเป็นว่าใครสนใจก็อ่านต่อได้เลยครับ

หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งนี้
ปฏิบัติงานในหน้าที่บรรณารักษ์ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดหา และคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด วิเคราะห์และจัดหมวดหมู่หนังสือ ทำบัตรรายการ ทำบรรณานุกรม ทำดรรชนี ทำสารสังเขป จัดทำคู่มือการศึกษาค้นคว้าหนังสือในห้องสมุด ให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ศึกษา ค้นคว้าการจัดระบบงานที่เหมาะสมของห้องสมุด และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่ต้องการสมัคร ขอแค่จบปริญญาตรีเอกบรรณารักษ์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องก็พอ อายุไม่เกิน 60 ก็พอแล้วครับ

เกณฑ์ในการรับ ไม่มีการสอบข้อเขียน แต่กรรมการจะพิจารณาจากประวัติของผู้สมัครและการสัมภาษณ์เป็นหลักครับ

ตำแหน่งงานนี้รับสมัครถึงวันที่ 3 – 19 พฤศจิกายน 2553 และสมัครได้ที่
งานการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัด เทศบาลเมืองลำพูน เบอร์โทรติดต่อ 0-5356-1524

เอาเป็นว่าใครสนใจก็เข้ามาดูรายละเอียดได้ที่
http://www.nmt.or.th/lamphun/mueanglamphun/Lists/List2/Attachments/348/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A.pdf

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีนะครับ

อ่านรายละเอียดของงานได้ที่
http://www.nmt.or.th/lamphun/mueanglamphun/Lists/List2/DispForm.aspx?ID=348&Source=http%3A%2F%2Fwww.nmt.or.th%2Flamphun%2Fmueanglamphun%2FLists%2FList2%2Fview1.aspx%3FSortField%3DModified%26SortDir%3DDesc%26View%3D%257b621EDFA8%252d7D84%252d4295%252d87BF%252d8FA28C14D278%257d

กระทรวงการต่างประเทศรับบรรณารักษ์จ้างเหมาบริการ 6 อัตรา

ช่วงนี้มีหลายคนกำลังหางานบรรณารักษ์อยู่ ผมก็เลยขอเน้นเรื่องหางานสักสองสามวันนะครับ
วันนี้เป็นงานบรรณารักษ์แบบจ้างเหมาบริการ (ไม่ใช่งานประจำหรือได้บรรจุนะครับ)

รายละเอียดของงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
ลักษณะงาน : จ้างเหมาบริการ
จำนวน : 6 อัตรา
เงินเดือน : 10,600 บาท
สถานที่ : กระทรวงการต่างประเทศ

ข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ : จ้างเหมากระทรวงต่างประเทศ นอกจากไม่มีโอกาสบรรจุแล้ว ยังไม่มีสวัสดิการใดๆ ด้วยนะครับ

คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัคร
– จบปริญญาตรีด้านบรรณารักษ์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
– ผ่านรายวิชาการวิเคราะห์หมวดหมู่ (Catalog)
– สามารถใช้งาน microsoft office ได้ดี
– ใช้ภาษาอังกฤษได้ดี
– อายุไม่เกิน 35 ปี

ลักษณะงานโดยทั่วไป (แก้ไข ได้ข้อมูลมาเพิ่ม)
– งานห้องสมุดทั่วไป
– งานจัดเก็บเอกสารกลาง
– งาน e-library (ใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน)

ตำแหน่งงานนี้รับสมัครถึงวันที่ 10 พฤศจิกายนนะครับ ซึ่งจะตัดสินกันด้วยการทดสอบ 3 หัวข้อหลัก คือ
– ระบบการจัดเก็บเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศ
– ความรู้ทั่วไปด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
– แปลข่าวภาษาอังกฤษ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองติดต่อไปที่
กองบรรณสารและห้องสมุด ชั้น 3 กระทรวงการต่างประเทศ อาคารศรีอยุธยา
หรือ ฝ่ายบรรณสาร กระทรวงการต่างประเทศ อาคารกรมการกงศุล ถนนแจ้งวัฒนะ
หรือโทรศัพท์ 02-643-5000 ต่อ 23902-23905 ในวันและเวลาราชการนะครับ

ใครที่อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมก็เข้ามาโหลดเอกสารรายละเอียดงานได้ที่
http://www.mfa.go.th/internet/news/37339.pdf

ห้องสมุดโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยรับบรรณารักษ์ (รับไปแล้วนะ)

บรรณารักษ์ช่วยหางานมาพบกับเพื่อนๆ อีกครั้งแล้วนะครับ ในวันนี้ผมมีงานบรรณารักษ์มานำเสนอ
งานบรรณารักษ์ในวันนี้มาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย แนวนอนครับ “บรรณารักษ์โรงเรียน”

รายละเอียดทั่วไปของตำแหน่งงาน
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
ห้องสมุด : โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

หน้าที่โดยทั่วไปของตำแหน่งนี้ คือ การปฏิบัติงานในห้องสมุด ให้บริการยืมคืน catalog และช่วยสอนนักเรียนในเรื่องของการสืบค้นและการเข้าใช้ห้องสมุด เอาเป็นว่างานผมว่าก็ไม่ได้ยากเกินไปหรอกนะครับ บรรณารักษ์ทุกคนต้องทำได้อยู่แล้ว

คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัคร
1.? ชาย / หญิง? อายุไม่เกิน 40 ปี
2. วุฒิ ป.ตรี / โท? สาขาบรรณารักษ์ศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
3. มีใจรักการบริการ ซื่อสัตย์ ขยัน
4. มีประสบการณ์และใบประกอบวิชาชีพครูจะพิจารณาเป็นพิเศษ

ปล. รับไปแล้วนะครับ

วารสารห้องสมุด IFLA Journal ฉบับเดือนตุลาคม 2010

วารสาร IFLA Journal ประจำเดือนตุลาคม 2010 ออกแล้วครับ
เลยต้องนำมาลงให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านกัน (ดาวน์โหลดได้ฟรีๆ เลยครับ)

โดยปกติ วารสาร IFLA Journal จะออกทุกๆ 3 เดือนนะครับ
ซึ่งจะออกมาในรูปแบบ pdf ซึ่งเราสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีและสั่งพิมพ์ออกมาอ่านได้ครับ

วารสาร IFLA Journal ฉบับนี้มีเรื่องน่าสนใจอะไรบ้างไปดูกันก่อนเลยครับ
– Bringing the benefits of information technology to underserved populations: An introduction to ICTD for the library community
– Symbiotic partnerships: The global library community and the ICTD stakeholders
– Main factors affecting the preservation of Chinese paper documents: A review and recommendations
– Arab online book clubs: A survey
– System migration from Horizon to Symphony at King Fahd University of Petroleum and Minerals

เป็นไงกันบ้างครับน่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
งั้นไปดาวน์โหลดกันเลยครับที่ “IFLA Journal Volume 36 Number 3 October 2010

สำหรับเล่มเก่าๆ ก็ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.ifla.org/en/ifla-publications นะครับ

งานประชุมวิชาการ “ห้องสมุดดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต” (แก้ไข)

ช่วงนี้กระแสของห้องสมุดดิจิตอลกำลังมาแรง และถูกไถ่ถามหนาหูขึ้นเรื่อยๆ
เนื่องจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วการเข้าถึงข้อมูลดิจิตอลทำได้สะดวกขึ้น
วันนี้ผมจึงขอแนะนำงานประชุมวิชาการงานหนึ่งที่น่าสนใจ และพูดถึงทิศทางของห้องสมุดดิจิตอล

รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น
ชื่อการประชุมวิชาการ : ห้องสมุดระบบดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต
จัดวันที่ : 5 พฤศจิกายน 2553
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จัดโดย : ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ชื่องานนี้ก็นับว่าน่าสนใจอยู่เหมือนกันนะครับ ประมาณว่าให้ข้อมูลปัจจุบันและทิศทางในอนาคต
แต่ประเด็นที่ผมจับตาดูอยู่คือ เป็นงานของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งแน่นอนครับว่ามีศักยภาพในการจัดทำและพัฒนาระบบห้องสมุดดิจิตอล

เอาเป็นว่าไปดูหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้ก่อนดีกว่าครับ

– ห้องสมุดระบบดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต
– IT สำหรับห้องสมุดระบบดิจิตอล
– มาตรฐานการแปลงภาพเป็นดิจิตอล
– ห้องสมุดระบบดิจิตอล : แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

เอาเป็นว่าหัวข้อก็น่าสนใจดีครับ แต่การเข้าฟังต้องมีค่าใช้จ่ายสักหน่อยนะครับ
คือถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดก็ 300 บาท แต่ถ้าไม่ได้เป็นก็ 350 บาท
ซึ่งผมว่าก็คุ้มค่าในการเข้าฟังนะครับ ยังไงก็สมัครเข้าไปฟังกันดู

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้าไปดูที่เอกสารที่นี่เลยครับ “เอกสารประชาสัมพันธ์งานนี้

ประชาสัมพันธ์โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้

วันนี้มีข่าวสารมาประชาสัมพันธ์ครับ ข่าวนี้ผมนำมาจาก facebook ประมาณว่ามีคนมาช่วยให้ผมเข้าร่วม
พอเข้าไปอ่านแล้วผมว่ามันน่าสนใจดี โครงการนี้ชื่อว่า “โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้”

ชื่อกิจกรรมนี้ คือ โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้
จัดโดย ห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดลำพูน

แนวคิดและหลักการของกิจกรรมนี้
คือ ให้ทุกคนนำหนังสือที่ตนเองชอบอ่าน หรือหนังสือโปรดเข้าร่วมโครงการฯ
ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดได้อ่านหนังสือดีๆ และถือว่าเป็นการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชนด้วย
โดยบรรณารักษ์จะนำหนังสือที่ได้รับมาจัดเข้าสู่ระบบยืม-คืนหนังสือให้เอง

เพื่อนๆ ลองคิดกันดูนะครับว่า 1 คน 1 เล่ม ถ้ามีคนเข้าร่วม 100 คน ก็จะมี 100 เล่ม ถ้ามีคนเข้าร่วม 1000 คน ก็จะมี 1000 เล่ม
หนังสือ 1 เล่มของเราอาจจะเป็นที่ต้องการของคนอื่น
และเช่นกันเราเองก็อยากอ่านหนังสือของคนอื่นๆ เช่นกัน
โครงการนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ แลกเปลี่ยนหนังสือกันได้ ทำให้ไม่ต้องไปเสียเงินซื้อหนังสือเพิ่มด้วย

เอาเป็นว่าโครงการนี้ก็มีประโยชน์มากมายนะ และเป็นไอเดียของห้องสมุดประชาชนที่ดีเลย
ห้องสมุดประชาชนอื่นๆ สามารถนำไปประยุกต์และจัดกิจกรรมคล้ายๆ กันได้นะครับ

เพื่อนๆ สามารถสมัครและส่งหนังสือเข้าร่วมโครงการได้ที่
ห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดลำพูน
ถนนสันป่ายาง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000
หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 053-562608

หรือเว็บไซต์ห้องสมุด http://lpn.nfe.go.th/lib_muang/
หรือทาง Facebook ห้องสมุด http://www.facebook.com/lib.lamphun

วันนี้ก็ขอฝากไว้เพียงเท่านี้นะครับ ผมเองก็จะส่งหนังสือที่ผมชอบไปให้ที่นี่เช่นกัน
แต่เดี๋ยวต้องกลับไปเลือกก่อนนะ แล้วจะมาอัพเดทว่าผมส่งเรื่องอะไรไปให้นะ

นายห้องสมุดกับการแนะนำหนังสือน่าอ่านแบบง่ายๆ (How to…)

วันนี้ใครที่เขามาที่ Libraryhub แล้วเห็นกรอบด้านล่างขวาเพิ่มก็ขอว่าอย่าตกใจนะครับ
เพราะนั้นคือกล่องสำหรับแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ หรือ กล่อง Bookrc ของผมนั้นเอง

แล้ว Bookrc มาจากไหน –> คำตอบคือมันมาจาก Book Recommend นั่นเอง
ผมตั้งใจว่าเวลาไปร้านหนังสือแล้วเจอหนังสือดีๆ ผมก็อยากจะนำเสนอให้เพื่อนๆ รู้จักเช่นกัน

แล้วข้อมูลในกล่อง Bookrc มาจากไหน???
คำตอบ คือ ผมคิด Tag #bookrc เวลาที่ผมอยากจะแนะนำหนังสือสักเล่มให้เพื่อนๆ
เช่น “รวม 7 สุดยอดวิชาหาเงินผ่านเน็ตพร้อมเคล็ดลับทำเงินที่ได้ผลจริง “ผม รวยออนไลน์ได้ยังไง” 195 บาท #bookrc http://twitpic.com/30g1rj

หลักการง่ายๆ ครับ
1. พิมพ์ข้อความแนะนำแบบสั้นๆ
2. พิมพ์ชื่อหนังสือ
3. พิมพ์ราคา (แล้วแต่นะครับ)
4. ถ่ายรูปหนังสือ (อันนี้ก็แล้วแต่นะครับ)
5. อันนี้ห้ามลืมครับ
#bookrc

หนังสือที่ผมแนะนำจริงๆ แล้วมันคละกันไปใน Timeline ของผมแหละ
แต่ผมเน้นแนะนำหนังสือบางกลุ่มเท่านั้นนะครับ ได้แก่ กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มธุรกิจ กลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่ม textbook

ทำไมต้องแนะนำหนังสือเฉพาะกลุ่ม

– กลุ่มท่องเที่ยว เป็นหนังสือที่หลายๆ คนให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องแนะนำการท่องเที่ยว ที่กิน ที่พัก และกิจกรรมในการท่องเที่ยว ซึ่งในกลุ่มนี้ผมยังแถมเรื่องของวัฒนธรรมพื้นเมืองด้วย เช่น วัฒนธรรมของสิงคโปร์ วัฒนธรรมท้องถิ่นสุโขทัย ฯลฯ

– กลุ่มธุรกิจ เป็นหนังสือที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่งเช่นกัน โดยเฉพาะอาชีพแนวใหม่ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ หรือธุรกิจออนไลน์ที่กำลังเป็นกระแสในสังคม ซึ่งผมแนะนำหนังสือในกลุ่มเหล่านี้เพื่อให้ผู้ที่อยากทำธุรกิจใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

– กลุ่มคอมพิวเตอร์ อันนี้เป็นความสนใจส่วนตัวจึงต้องแนะนำว่าผมชอบอ่านแนวไหน คอมพิวเตอร์ระดับไหนที่ผมต้องการอ่าน ซึ่งโดยรวมแล้วผมไม่อ่านคอมพิวเตอร์ขั้นสูงมาก เช่น การเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์หรอกนะครับ

– กลุ่ม text book หลายๆ คนคิดว่า text book ราคาแพงมาก ซึ่งผมอยากจะบอกว่าหนังสือ text book หลายๆ เล่มที่ผมแนะนำนี้ไม่ได้แพงเกินไปเลย ราคาผมจะพยายามไม่ให้เกิน 1000 บาท ผมคิดว่าการอ่านหนังสือ text book จะช่วยฝึกให้เราเก่งด้านภาษาด้วย

รูปหนังสือที่ผมแนะนำสามารถดูได้จาก http://twitpic.com/search#q=#bookrc&type=recent&page=1

เอาเป็นว่าใครที่กำลังหาหนังสืออ่าน ก็สามารถแวะเข้ามาดู กล่อง Bookrc ของผมได้นะครับ
ส่วนใครที่สนใจอยากจะร่วมแนะนำหนังสือ ก็อย่าลืมใส่ tag #bookrc (ใน twitter only) นะครับ
สำหรับวันนี้ผมคงแนะนำเท่านี้ก่อนนะครับ แล้ววันหลังผมจะหาวิธีแนะนำหนังสือแบบแปลกมาให้เพื่อนอีกนะครับ

นายห้องสมุดพาเดินงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ 2553 (งานสัปดาห์หนังสือ)

วันนี้ผมแวะไปงานมหกรรมหนังสือระดับชาติมา เลยไม่ลืมแวะมาเล่าเรื่องราวให้เพื่อนๆ อ่าน
นอกจากนี้ผมยังถ่ายรูปบรรยากาศในงานมาพอสมควรเลยเอามาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ดูเช่นกันครับ

งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ หรือ ที่หลายๆ คนก็ยังเรียติดปากว่า “งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ”
(จริงๆ แล้วงานที่จัดตอนต้นปีต่างหากครับที่เรียกว่างาน “สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ”)
แต่เอาเหอะครับยังไงก็ คือ “งานหนังสือ” เหมือนๆ กันนั่นแหละครับ

ปีนี้จัดดีเหมือนกับทุกๆ ปีแหละครับ บรรยากาศโดยรวมเกือบทุกบูทเต็มไปด้วยผู้คนมากมาย
เดินไปทางไหนก็มีแต่ฝูงชนที่สนใจในเรื่องของการอ่าน (หนอนหนังสือ) เต็มไปหมด

กิจกรรมในงานโดยภาพรวมนอกจากการจำหน่ายหนังสือแล้ว
ยังมีส่วนที่แสดงนิทรรศการหนังสือน่าอ่าน และกิจกรรมสัมมนาต่างๆ มากมาย

สิ่งที่วันนี้ผมประทับใจในงานสัปดาห์หนังสือ

– ตุ๊กตามาสค็อตในงานนี้มีมากมายเลย ดึงดูดให้เด็กๆ อยากอ่านหนังสือ
– ยังคงมีบริการส่งหนังสือถึงบ้านโดยไปรษณีย์ไทย
– ป้ายเตือนเรื่อง ระวังกระเป๋า หรือ ระวังทรัพย์สิน มีจำนวนมากขึ้น เพื่อเตือนผู้เข้าร่วมงาน
– ร้านหนังสือกระหน่ำลดราคากันเพียบเลย
– กิจกรรมแนะนำหนังสือขายดี 10 อันดับของแต่ละร้าน
– ผู้ปกครองพาบุตรหลานมางานหนังสือเพียบเลย ดีจังเด็กๆ จะได้ฝึกการอ่านตั้งแต่เด็ก
– ผู้เข้าร่วมงานมหกรรมหนังสือมีจำนวนมากเหมือนทุกๆ ปี
– กิจกรรมในห้องสัมมนาต่างๆ ได้รับความนิยมและมีผู้เข้าร่วมเหมือนเยอะขึ้น
– หนังสือออกใหม่มีจำนวนมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นนวนิยายเสียมาก แต่หนังสือแปลก็ได้รับความนิยมเช่นกัน
– พื้นที่แสดงหนังสือที่น่าสนใจของส่วนกลางเป็นระเบียบเรียบร้อย
– ให้พิมพ์หนังสือส่วนตัวฟรีไม่เกิน 200 หน้า
– รับบริจาคหนังสือเพื่อห้องสมุดที่ขาดแคลนหนังสือ รวมถึงห้องสมุดที่โดนน้ำท่วม
– ระบบการสืบค้นหนังสือดีขึ้นเยอะเลย ค้นแล้วเจอบอกว่าอยู่บูทไหนด้วย

เอาเป็นว่าวันนี้ขอสรุปแค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ แล้วเดี๋ยวภายในอาทิตย์นี้ผมคงได้ไปอีกรอบ
แล้วจะเอามาเล่าเพิ่มเติมนะครับ ยังไงก็อย่าลืมติดตามดูกันได้ที่นี่นะครับ
วันนี้นายห้องสมุดต้องขอตัวก่อน

ชมภาพบรรยากาศในงานได้เลยครับ

[nggallery id=29]