สัมมนาวิชาการ “จากสารสนเทศสู่นวัตกรรม”

วันนี้มีข่าวงานสัมมนาวิชาการที่น่าสนใจมาฝากเพื่อนๆ วงการบรรณารักษ์และห้องสมุดนะครับ
การสัมมนานี้เป็นการนำเสนอผลงานของอาจารย์และนักศึกษาปริญญาเอกด้านสารสนเทศศาสตร์ของ มสธ. ครับ

รายละเอียดงานสัมมนาเบื้องต้น
ชื่องานสัมมนา(ภาษาไทย) : จากสารสนเทศสู่นวัตกรรม
ชื่องานสัมมนา(ภาษาอังกฤษ) : From Information to Innovation
วันที่จัดงาน : 12 พฤศจิกายน 2553
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม 5209 อาคารสัมมนา 1 มสธ.

ในงานนี้เป็นงานที่อาจารย์และนักศึกษา ป.เอกของภาคสารสนเทศศาสตร์ มสธ
นำผลงานและนวัตกรรมของตัวเองมานำเสนอ ซึ่งความน่าสนใจมีมากมาย

ตัวอย่างหัวข้อที่บรรยายในงานนี้ เช่น
– จากสารสนเทศสู่นวัตกรรม : กรณีศึกษาประเทศฟินแลนด์
– การพัฒนาต้นแบบคลังข้อมูลเพื่อการวางแผนลดอัตราการออกกลางคัน : กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี มสธ.
– การประเมินโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิต สอร.
– การติดตามผลมหาบัณฑิตสารสนเทศศาสตร์ มสธ.
– เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับงานพัฒนาประเทศ : การเตรียมความพร้อมสู่การแข่งขันยุคเศรษฐกิจฐานความรู้
– การวิเคราะห์เนื้อหาในงานวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ระดับนานาชาติ
– นวัตกรรมห้องสมุด : โปรแกรมโอเพนซอร์ส Senayan
– การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
– การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดซื้อยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลภาครัฐในจังหวัดนนทบุรี
– การพัฒนาบทเรียนทางเว็บเรื่อง การค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
– การใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เอาเป็นว่าแต่ละหัวข้อก็น่าสนใจมากๆ ครับ แนะนำว่าถ้าใครว่างๆ ไม่ควรพลาดงานนี้เลยครับ
นอกจากจะได้รับความรู้แล้วยังอาจจะได้ไอเดียไปทำงานในห้องสมุดก็ได้นะ

งานนี้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หากสนใจจะเข้าร่วมก็สามารถแจ้งความจำนงมาได้ที่ รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน (nwipawin@gmail.com)ได้นะครับ

ซูเปอร์บรรณารักษ์ (Super librarian) มาปฏิบัติภาระกิจแล้ว

วันนี้วันเสาร์วันชิวๆ ไม่อยากเอาเรื่องหนักๆ มาเขียน เลยขอนำคลิปวีดีโอมาให้ดูแทนก็แล้วกัน
คลิปวีดีโอวันนี้เป็นคลิปวีดีโอที่แสดงให้เห็นว่าวันๆ นึงบรรณารักษืมีงานเยอะแค่ไหน
แต่บรรณารักษ์ไม่เคยย่อท้อแถมต้องทำงานแบบกระฉับกระเฉง
เหมือนเป็น ซูเปอร์บรรณารักษ์

คลิปนี้เป็นคลิปที่จัดทำขึ้นเพื่อโปรโมทห้องสมุดแห่งหนึ่ง
ผมชอบในแนวความคิดที่นำเสนอ คือ การนำภาระงานของบรรณารักษ์มาแสดง
เนื่องจากทุกวันนี้หลายคนยังคงเข้าใจผิดนึกว่าบรรณารักษ์มีงานแค่นั่งเฝ้าหนังสือ
แต่จริงๆ แล้วงานบรรณารักษ์เยอะกว่านี้อีก เช่น
– เปิดไฟ เปิดคอม
– catalog หนังสือ
– จัดชั้นหนังสือ
– ช่วยผู้ใช้บริการค้นหาหนังสือ

…..ยังมีอีกมากมาย

ไปดูวีดีโอนี้กันเลยดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Bu-TijjVs_g[/youtube]

บรรณารักษ์ต้องทำงานอย่างมีความสุข ถ้าบรรณารักษ์หลายๆ คนคิดแบบนี้แล้ว
ผมเชื่อว่าบรรณารักษ์ที่อยู่ในคลิปวีดีโอนี้ เพื่อนๆ ก็สามารถเป็น ซุเปอร์บรรณารักษ์ได้ทุกคน

ปล.ที่มาของคลิปวีดีโอนี้คือ http://www.youtube.com/watch?v=Bu-TijjVs_g

Nanmeebooks Family Day : อ่านหนังสือทุกวันได้ไหมเนี่ย

วันนี้มีข่าวประชาสัมพันธ์มาฝากนะครับ สำหรับคนที่จะไปงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
นานมีบุ๊คส์ เขาได้จัดกิจกรรม Nanmeebooks Family Day ตอน “อ่านหนังสือทุกวันได้ไหมเนี่ย
กิจกรรมนี้จัดในวันที่ 23 ตุลาคม 2553 ณ Meeting Room 3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

กิจกรรม Nanmeebooks Family Day ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆ ที่น่าสนใจมากมาย เช่น
1. Adult Zone อ่านสนุกครบทุกรส
2. หนังสือภาษา บันเทิงเริงร่า เก่งภาษา ง่ายนิดเดียว
3. หนังสือเสริมความรู้ ฉลาดอ่าน ฉลาดคิด พิชิตความสำเร็จ
4. วรรณกรรมเยาวชน เชิญมาท่องคาถา ฝ่ากระจกวิเศษ สู่ดินแดนวรรณกรรมที่สนุกสุดยอด
5. หนังสือสำหรับเด็กอายุ 0-8 ปี นานมีบุ๊คส์คิดดี้ สร้างเด็กดี มีจินตนาการ
6. การ์ตูนความรู้ ค้นหาความรู้ที่สนุกที่สุดกับเกมปริศนาท้าพลังสมอง

นับว่าเป็นกิจกรรมที่ดีเลย การที่ครอบครัวมางานหนังสือแล้วได้เข้าร่วมนี้
ผมเชื่อว่าจะทำให้บุตรหลานของท่านมีความใฝ่รู้และอาจจะเริ่มทำให้เขาอยากอ่านหนังสือก็ได้
แต่เสียดายที่จัดแค่วันเดียว คือวันที่ 23 ตุลาคม 2553

แต่ไม่เป็นไรครับแค่พาบุตรหลานของท่านมางานหนังสือ
ผมเชื่อครับว่าอย่างน้อยก็ทำให้เขาได้รับแรงบันดาลใจในการอ่านแล้ว
เพราะในงานมีหนังสือมากมายและคงต้องมีสักเล่มที่เขาอยากอ่าน

กิจกรรมของ นานมีบุ๊คส์ ยังมีอีก เช่น
22/10/53 – อบรมครูบรรณารักษ์ หัวข้อ ส่งเสริมการอ่านเพื่อปลูกฝังนักเรียนให้เป็นคนดี คิดเป็น และมีคุณธรรม
23/10/53 – งาน Nanmeebook Family Day
23/10/53 – งานเปิดตัวหนังสือ “กระจกวารี”
24/10/53 – งานเปิดตัวหนังสือ “ยอดเขาแห่งความสุข หุบเขาแห่งอุปสรรค”
28/10/53 – งานเปิดตัวหนังสือ “ลูกของลูกสาว”
29/10/53 – อบรมครูวิทยาศาสตร์ หัวข้อ การสื่อความหมายทางวิทยาศาสตร์

เอาเป็นว่าก็มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย หัวข้อในวันที่ 22 ตุลาคม 2553
เรื่องเกี่ยวกับบรรณารักษ์ มีถึงตอนเย็นเลยนะครับ ดังนั้นยังพอมีเวลาในช่วงบ่าย
เพื่อนๆ สามารถเข้าร่วมฟังได้นะครับ
เอาเป็นว่าผมขอตัวไปเยี่ยมชมงานก่อนนะ

อ๋อ หากอยากพบนักเขียนของบู๊ทนานมีบุ๊คส์?เพื่อนๆ สามารถดูตารางเวลาได้ที่ www.nanmeebooks.com

เพื่อนสามารถดาวน์โหลดบัตรเชิญได้ที่ “บัตรเชิญเข้าร่วมงาน Nanmeebook Family Day

บรรณารักษ์ผู้ชายไม่จำเป็นต้องเป็นเกย์นะ

เรื่องนี้เขียนแล้ว เขียนอีก และเขียนหลายครั้งแล้วด้วย ไม่เข้าใจว่าทำไมยังคงได้ยินอยู่เรื่อยๆ
ประเด็นมันคือเรื่อง ?ปัญหาการมองบรรณารักษ์เพศชายว่าต้องเป็นเกย์หรือกระเทยเท่านั้น?

เรื่องนี้ผมเขียนไปปีที่แล้วนะครับ แต่วันนี้ก็ยังคงมีคน MSN มาถามผมอีกว่า “เป็นผู้ชายแท้หรือปล่าว
เอิ่ม การเป็นผู้ชายแล้วชอบเรื่องห้องสมุดหรือบรรณารักษ์จำเป็นต้องไม่ใช่ชายแท้ด้วยหรอครับ

ไม่รู้ว่าจะต้องให้ผมพูดย้ำกันอีกสักกี่ครั้งว่า…
ทุกๆ อาชีพในปัจจุบันเขาก็เท่าเทียมกันหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็ตาม
ดูอย่างทหาร หรือตำรวจสิ ยังมีผู้หญิงเป็นเลย แล้วคนเหล่านั้นก็ไม่ได้เป็นทอมด้วยซ้ำ
แต่พอผู้ชายทำอาชีพบรรณารักษ์ทำไมต้องมองว่าเป็นชายไม่แท้ เป็นเกย์ หรือเป็นกระเทยด้วยหรอ
เฮ้อออออ!!!! อยากจะจับไอ้พวกเข้าใจผิดเรื่องแบบนี้ มานั่งฟังอบรมจิงๆ มันน่านัก?

บทความที่ผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องบรรณารักษ์กับผู้ชาย เขาคงไม่เคยอ่านมั้งครับ
งั้นแนะนำให้ไปอ่านเรื่อง “ผู้ชายก็เป็นบรรณารักษ์ได้นะ?”

แล้วก็ขออธิบายอีกสักเรื่องด้วยว่า การที่คนเหล่านั้นมีอยากเป็นเพศอื่น
เช่น เป็นเกย์ กระเทย ทอม ดี้ ตุ๊ด แต๋ว หรือจะเรียกอะไรก็เรียก
พวกเขาก็ไม่ได้มีความผิดอะไรหรอก เขาก็เป็นคนเหมือนกัน

ทุกคนก็ มีมือ มีเท้า มีจิตใจ มีสมองทำงานได้ก็เหมือนทุกคนนั่นแหละ
ดังนั้นอย่าพยายามไปกีดกั้นสิทธิเสรีภาพของพวกเขาเลยครับ
บางทีเราต้องให้เขาพิสูจน์ในความสามารถในการทำงานน่าจะดีกว่า

เอาเป็นว่าเรื่องมันไม่เป็นเรื่องเลยนะครับ….

ปล. เรื่องบรรณารักษ์กับเพศชายผมเคยเขียนไปแล้ว ลองอ่านได้ที่ “ผู้ชายก็เป็นบรรณารักษ์ได้นะ?” ดูนะครับ
แล้วจะรู้ว่าไม่ว่าจะเพศอะไรก็สามารถทำงานบรรณารักษ์หรือห้องสมุดได้แหละ

เมื่อโลโก้เว็บไซต์ชื่อดังมาอยู่บนชื่อของเรา (Iconscrabble)

วันนี้เจอของเล่นแปลกๆ แต่น่าสนใจก็เลยขอนำมาแนะนำสักนิดนึง
เว็บไซต์นี้จะช่วยสร้างไอคอนโดยนำโลโก้จากเว็บต่างๆ มาเรียงเป็นชื่อคุณ

เว็บไซต์นี้ ชื่อว่า “Iconscrabble” – http://iconscrabble.com
แนวคิดของเว็บไซต์นี้คือ พิมพ์ ค้นหา แชร์ (Type. Discover. Share)
ง่ายๆ ครับ แค่กรอกชื่อที่ต้องการลงในช่อง (ไม่เกิน 18 ตัวอักษร) แล้วกด scrabble

คุณก็จะได้โลโก้เว็บไซต์ชื่อดังมาอยู่บนชื่อของเรา ตัวอย่างเช่น
– Maykin

– Projectlib

– Libraryhub

และตัวสุดท้ายนี้แด่ Social Media


ข้อสอบบรรณารักษ์ : จงกล่าวถึงผลงานทางด้านห้องสมุดของบุคคลต่อไปนี้

อยากเอาแนวข้อสอบบรรณารักษ์มาเขียนถึงหลายรอบแล้ว
วันนี้ขอเอาแนวข้อสอบบรรณารักษ์ ภาค ก อัตนัยมาให้เพื่อนๆ ดูสักข้อนึง พร้อมเฉลย (ผมเฉลยเอง)

ข้อสอบ : จงกล่าวถึงผลงานทางด้านห้องสมุดของบุคคลต่อไปนี้
– สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
– ดร.ฟรานซีส แลนเดอร์ สเปน
– เมลวิล ดิวอี้

คำตอบ (ผมช่วยหามาให้อ่านนะ)
– สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ – ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘? พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงก่อตั้งราชบัณฑิตยสถานขึ้น โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถานพระองค์แรก ราชบัณพิตยสถานมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานหอสมุด พระนคร และพิพิธภัณฑสถาน (ข้อมูลจาก http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=492)

– ดร.ฟรานซีส แลนเดอร์ สเปน? (Frances Lander Spain) – เขียนหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทสไทยในปี 1954 ในปี 1960 ได้รับตำแหน่งประธาน ALA (อ่านต่อที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Frances_Lander_Spain)

– เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)บรรณารักษ์ชาวอเมริกันเป็นผู้คิดระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมขึ้น ดิวอี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในวงการห้องสมุดและบรรรณารักษศาสตร์ เพราะนอกจากจะเป็นผู้คิดระบบการจัดหมู่แบบระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) แล้ว ยังเป็นผู้หนึ่งที่ริเริ่ม ก่อตั้งสมาคมห้องสมุดอเมริกันซึ่งเป็นสมาคมอาชีพบรรณารักษ์แห่งแรกในโลก (ข้อมูลจาก http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A5_%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%89/)
(อ่านต่อที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Melvil_Dewey)

ข้อสอบบรรณารักษ์ใน ภาค ก มีหลายข้อที่ดูแล้วผมก็อึ้งเหมือนกัน แต่ผมจะไม่วิจารณ์นะครับ
เอาเป็นว่าไว้วันหลังผมจะนำข้ออื่นๆ มาเฉลยเรื่อยๆ เลยนะครับ อิอิ
เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนที่อยากสอบ ภาค ก ด้านบรรณารักษ์

สรุปงาน BBL Mini Expo 2010

วันนี้มีโอกาสมางาน BBL Mini Expo 2010 จึงอยากนำข้อมูลมาลงให้เพื่อนๆ ได้ติดตาม
หลายๆ คนคงงงว่า BBL คืออะไร BBL ย่อมาจาก Brain based Learning
หรือภาษาไทยเรียกว่า “การจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง” นั่นเอง

งานนี้เป็นงานที่เกี่ยวกับวงการศึกษาในช่วงชั้นระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา
งานนี้จัดในวันที่ 18-19 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท
ภายในงานนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนของการสัมมนาและส่วนของนิทรรศการ

ส่วนของการสัมมนา
คือ ส่วนที่มีการเชิญวิทยากรจากที่ต่างๆ มานำเสนอข้อมูลงานวิจัย รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองจากสาขาวิชาต่างๆ ที่จัดในปัจจุบัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในส่วนของสัมมนามีการแบ่งออกเป็น 2 ห้องสำหรับช่วงชั้นระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา แยกกันชัดเจนเพื่อให้ผู้เข้าฟังได้รับประโยชน์ในการเรียนรู้สูงสุด

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
ระดับปฐมวัย
– การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมองของเด็กวัย 0-3 ปี
– การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมองของเด็กวัย 3-6 ปี

ระดับประถมศึกษา
– การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดสัมฤทธิผลทางการเรียนตามหลัก BBL ในวิชาภาษาไทย
– การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดสัมฤทธิผลทางการเรียนตามหลัก BBL ในวิชาภาษาอังกฤษ
– การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดสัมฤทธิผลทางการเรียนตามหลัก BBL ในวิชาวิทยาศาสตร์

ส่วนของนิทรรศการ
คือ ส่วนที่นำความรู้มาจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการ ซึ่งโรงเรียนหลายๆ ที่นำกรณีศึกษาจากกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนมานำเสนอ ซึ่งผมว่าน่าสนใจมากๆ เนื่องจากห้องสมุดก็สามารถนำกรณีตัวอย่างแบบนี้ไปใช้ได้ด้วย เช่นเดียวกันการจัดนิทรรศการก็แบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำหรับช่วงชั้นระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา

ตัวอย่างนิทรรศการที่น่าสนใจในงานนี้

ระดับปฐมวัย
– สำเนียงเสียงสัตว์ นำเสนอโดยโรงเรียนบ้านเจ้าทุ่ง จ.ศรีสะเกษ
– กิจกรรมหลังการอ่าน นำเสนอโดยโรงเรียนศิริพงศ์วิทยา จ.สงขลา
– การรู้ค่าของตัวเลข นำเสนอโดยโรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ จ.อุบลราชธานี

ระดับประถมศึกษา
– การพัฒนาการอ่าน การเขียนคำ ของนักเรียนชั้น ป.1 ด้วยเทคนิคเคลื่อนไหวจับคู้่สู่การอ่านเขียนคำอย่างยั่งยืน นำเสนอโดยโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่
– การใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระวิทยาศาสตร์ “ชุดสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม” นำเสนอโดยโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 55 จ.นนทบุรี
– มือมหัศจรรย์ปั้นดิน นำเสนอโดยโรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ จ.อุบลราชธานี

เอาเป็นว่างานนี้ก็โอเคนะได้สาระความรู้มากมายและทำให้เข้าใจหลักการพัฒนาของสมองและเข้าใจการเรียนรู้ของเด็กๆ

ปล.งานนี้ได้ของแจกมาเพียบเลย เช่น
– ถุงผ้า BBL Mini Expo 2010
– โบรชัวส์แนะนำ โครงการ BBL
– ดีวีดี วีดีโอแนะนำ “การจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง”
– สมุดบันทึกสวยหรูจากงาน BBL Mini Expo
– หนังสือ “เรื่องเล่า เร้าสมอง”
– หนังสือ “สำนึกแห่งวินัยหัวใจแห่งการเรียนรู้”

ขอบคุณผู้จัดงานนี้มากๆ ครับ เป็นงานที่ดีจริงๆ

ปล. ผมขอนำบล็อกนี้มาโพสในส่วนบล็อกส่วนตัวอขงผมนะครับ เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวกับห้องสมุดมากนัก

หนังสือที่ใช้ตัวอักษร A-Z เป็นชื่อเรื่อง (ชื่อสั้นจริงๆ)

ปัจจุบันเว็บไซต์แนะนำหนังสือมีเยอะมากๆ ดังนั้นเว็บไซต์เหล่านี้จะต้องหาสิ่งแปลกมาลงบ้าง
ตัวอย่างเช่นเว็บที่ผมจะแนะนำวันนี้ เขาจะแนะนำเฉพาะหนังสือที่มีชื่อเรื่องสั้นที่สุด

แล้วหนังสือแบบไหนที่เรียกว่า “ชื่อเรื่องสั้นที่สุด
นั่นก็หมายถึงหนังสือที่มีแค่ตัวอักษรเดียวไงครับ A B C D ….. Z

เอาเป็นว่าลองดูตัวอย่างกันดีกว่าครับ

หนังสือที่มีชื่อเรื่องเพียงแค่ อักษรตัวเดียว A - Z

เป็นยังไงกันบ้าง สั้นได้ใจมั้ยครับ
จริงๆ แล้วนอกจากหนังสือที่มีตัวอักษรเดียวแล้ว ยังมีหนังสืออื่นๆ ที่มีพยางค์เดียวด้วย

หนังสือที่มีชื่อเรื่องพยางค์เดียว

เป็นเว็บแนะนำหนังสือที่ค่อนข้างมีเอกลักษณ์ดีจริงๆ ห้องสมุดอย่างเราก็น่าจะเอาไอเดียแปลกๆ แบบนี้ไปเล่นบ้างนะ
ตัวอย่าง : แนะนำหนังสือที่มีชื่อเรื่องสั้นที่สุด (เวอร์ชั่นภาษาไทย)

วันนี้ขอเสนอแค่นี้แล้วกัน ยังไงใครนึกอะไรดีๆ ก็แบ่งปันความคิดกันได้ที่นี่เลยนะครับ
สำหรับคนที่อยากเข้าไปดูเว็บไซต์นี้ ลองเข้าไปที่ http://www.abebooks.com/books/single-letter-title-shortest-mccarthy/warhol-updike.shtml

แบบสำรวจ : แนวทางการให้บริการ Wifi ในห้องสมุด

การให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายในห้องสมุดจริงๆ แล้วมันมีเรื่องราวที่น่าคิดมากมาย
เริ่มจากเรื่องของการอนุญาติให้ใช้บริการหลายๆ ที่มีข้อจำกัดและเงื่อนไขในการบริการ
ดังนั้นวันนี้ผมจึงขอสอบถามเพื่อนๆ ว่า “ถ้าเพื่อนๆ เป็นคนให้บริการในห้องสมุดเพื่อนๆ จะทำอย่างไร

ผมสังเกตมาหลายที่แล้วก็เจอกรณีหลายๆ แบบ เช่น
– ห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ผมใช้บริการก็มีการให้ใส่รหัสนักศึกษาและรหัสที่ตั้งไว้เพื่อเข้าอินเทอร์เน็ต
– ห้องสมุดของคณะ ในมหาวิทยาลัยก็ให้ดาวน์โหลด cert ของอินเทอร์เน็ตและติดตั้งในเครื่องก็สามารถเล่นได้เลย
– ห้องสมุดที่ผมเคยทำงานแห่งหนึ่งให้ regis ด้วย mac address สำหรับพนักงานเท่านั้น
– ห้องสมุดประชาชนบางแห่งให้ลงชื่อที่เคาน์เตอร์ก่อนจึงจะให้บริการได้
– ห้องสมุดบางแห่งให้ซื้อคูปองเล่นอินเทอร์เน็ตไร้สาย

เอาเป็นว่าหลากหลายรูปแบบจริงๆ ครับ

ในเชิงผู้ให้บริการก็ควรจะต้องเก็บข้อมูลผู้ใช้ แต่ในเชิงผู้ใช้ก็อยากใช้งานง่ายๆ
สองส่วนมักมองกันตรงข้ามเสมอแหละครับ แต่เราควรหาจุดกึ่งกลางความพอดี
ซึ่งทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการควรทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
เพื่อไม่ให้มีข้อขัดแย้งในเรื่องการให้บริการและใช้บริการต่อไป

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดไงกับเรื่องนี้ครับ ผมขอนำแบบสอบถามนี้มาถามเพื่อนๆ ว่า
“ถ้าเพื่อนๆ เป็นคนให้บริการในห้องสมุดเพื่อนๆ จะทำอย่างไร”
ไม่ต้องเป็นบรรณารักษ์หรือคนในส่วนห้องสมุดก็ได้นะ อยากให้ช่วยกันตอบเยอะๆ
จะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปนำเสนอให้ชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์ปรับตัวเอง

[poll id=”18″]

The edublogaward 2009 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

ปีนี้ก็ 2010 แล้วนะครับ ผมอาจจะนำเรื่องนี้มารายงานช้าไปหน่อย
แต่อย่างน้อย The edublogaward 2010 ก็ยังไม่เริ่มประกาศผลนะครับ

The edublogaward 2009 รางวัลนี้ได้แจกให้แก่บล็อกในวงการศึกษาดีเด่นหลายสาขานะครับ
เช่น บล็อกส่วนตัว บล็อกแบบกลุ่ม บล็อกของอาจารย์ บล็อกของนักเรียน บล็อกของชั้นเรียน ฯลฯ

แน่นอนครับในกลุ่มด้านการศึกษานี้คงต้องมีรางวัลเกี่ยวกับ บล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ ด้วย

ดังนั้นผมจึงของนำมารายงานให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันนะครับ
โดยผู้ที่ชนะเลิศในปี 2009 คือ บล็อก Never Ending Search ซึ่งเป็นบล็อกภายใต้ schoollibraryjournal นั่นเอง
ส่วนอันดับที่สอง คือ บล็อก Bright Ideas ซึ่งเป็นของ School Library Association of Victoria
ส่วนอันดับที่สาม คือ Library Tech Musings ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น thedaringlibrarian

เอาเป็นว่าผมก็ลองเข้าไปดูบล็อกเหล่านี้มาแล้วแหละ นับว่าน่าสนใจจริงๆ
ดังนั้นผมว่าเพื่อนๆ เซฟลิ้งค์พวกนี้แล้วลองหาเวลาเข้าไปอ่านบ้างนะครับ

อ๋อ นอกจากนี้แล้ว ในบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ถูกเสนอชื่อและเป็นคู่แข่งในการประกวดครั้งนี้ยังมีอีกมากมาย เช่น

  1. A Fuse #8 Productions
  2. Bloggit
  3. Bright Ideas
  4. Blue Skunk
  5. Cathy Nelson?s Professional Thoughts
  6. Hey Jude
  7. LCS ES Media Blog
  8. Librarian by Day Blog
  9. Library Tech Musings
  10. Lucacept
  11. My Mind Gap
  12. Never Ending Search
  13. Not So Distant Future
  14. The Unquiet Librarian
  15. The Unquiet Library
  16. The Waki Librarian
  17. The Web Footed Book Lady
  18. Wired Librarian
  19. World?s Strongest Librarian

คะแนนในการตัดสิน The edublogaward 2009 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

เอาเป็นว่าน่าสนใจทุกบล็อกเลย จริงๆ แล้วในเมืองไทยผมอยากให้มีการจัดประกวดบล็อกด้านการศึกษาแบบนี้บ้างจัง
แต่คงต้องมีการวัดผลที่เป็นมาตรฐานกว่าที่ผ่านมาหน่อยนะครับ เพราะเท่าที่เห็นก็คือ พวกเยอะมักได้รางวัล
ซึ่งบางทีแล้วไม่ยุติธรรมต่อบล็อกหรือเว็บที่มีประโยชน์สักเท่าไหร่ ยังไงก็ฝากไว้แค่นี้แหละครับ

เว็บไซต์ทางการของงาน The edublogaward 2009 – http://edublogawards.com/2009/
ถ้าหากเพื่อนๆ อยากรู้เกี่ยวกับบล็อกการศึกษาที่ประกวดในปีก่อนหน้านี้ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่? http://edublogawards.com/