ยุวพุทธิกสมาคมฯ รับบรรณารักษ์นะจ้ะ

บรรณารักษ์ช่วยหางานมาพบกับเพื่อนๆ อีกแล้วเจ้าครับ
วันนี้มีงานมาแนะนำซึ่งได้รับการฝากมาจากเพื่อนใน Facebook

รายละเอียดของงานที่รับสมัคร
ตำแหน่ง : บรรณารักษ์
วุฒิการศึกษา : ปริญญาตรีขึ้นไป
สาขา : บรรณารักษศาสตร์หรือที่เกี่ยวข้อง
สถานที่ : ห้องสมุดนาลันทา ยุวพุทธิกสมาคมฯ

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดที่เน้นข้อมูลด้านพุทธศาสนา ธรรมะ
ดังนั้นบรรณารักษ์ที่ไปสมัครยังไงก็ขอแบบที่สำรวมนิดนึงนะครับ

ใครที่สนใจก็ติดต่อไปได้ที่
ห้องสมุดนาลันทา ยุวพุทธิกสมาคมฯ
เพชรเกษม 54 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ โทร 02-4552525 ต่อ 1203

http://www.ybat.org/nalanda/ หรือ email ประวัติมาที่ nalanda_library@ybat.org

เอาเป็นว่าผมก็ขอให้เพื่อนๆ โชคดีในการสมัครนะครับ

10 อันดับห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก (วัดจากจำนวนหนังสือ)

วันนี้ขอต่อเรื่องห้องสมุดกับความเป็นที่สุดในโลกกันต่อนะครับ
เมื่อวานได้เขียนถึงหอสมุดแห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกไปแล้ว
วันนี้ขอนำเสนอห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก 10 อันดับบ้างดีกว่า

ที่บอกว่าใหญ่ที่สุดในโลกอันนี้เขาวัดจากการมีจำนวนหนังสือนะครับ
หนังสือมากที่สุดในโลกทั้ง 10 อันดับนี้บางแห่งก็ไม่ใช่หอสมุดแห่งชาติด้วย
ห้องสมุดสถาบันก็สามารถครอง 1 ใน 10 อันดับนี้ได้ด้วย เราไปดูกันเลยดีกว่า

10 อันดับห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อันดับที่ 1 Library of Congress ก่อตั้งเมื่อ 1800 มีหนังสือจำนวน 29 ล้านเล่ม
อันดับที่ 2 National Library of China ก่อตั้งเมื่อ 1909? มีหนังสือจำนวน 22 ล้านเล่ม
อันดับที่ 3 Library of the Russian Academy of Sciences ก่อตั้งเมื่อ? 1714 มีหนังสือจำนวน 20 ล้านเล่ม
อันดับที่ 4 National Library of Canada ก่อตั้งเมื่อ 1953? มีหนังสือจำนวน 18.8 ล้านเล่ม
อันดับที่ 5 Deutsche Biblothek ก่อตั้งเมื่อ? 1990 มีหนังสือจำนวน 18.5 ล้านเล่ม
อันดับที่ 6 British Library ก่อตั้งเมื่อ? 1753 มีหนังสือจำนวน 16 ล้านเล่ม
อันดับที่ 7 Institute for Scientific Information on Social Sciences of the Russian Academy of Sciences ก่อตั้งเมื่อ? 1969 มีหนังสือจำนวน 13.5 ล้านเล่ม
อันดับที่ 8 Harvard University Library ก่อตั้งเมื่อ? 1638 มีหนังสือจำนวน 13.1 ล้านเล่ม
อันดับที่ 9 Vernadsky National Scientific Library of Ukraine ก่อตั้งเมื่อ? 1919 มีหนังสือจำนวน 13 ล้านเล่ม
อันดับที่ 10 New York Public Library ก่อตั้งเมื่อ 1895 มีหนังสือจำนวน 11 ล้านเล่ม

เอาเป็นว่าก็สุดยอดกันไปเลยใช่มั้ยหล่ะครับ เรื่องจำนวนหนังสือแบบเป๊ะๆ อันนี้ผมไม่อยากจะเชื่อตัวเลขสักเท่าไหร่
เนื่องจากในเมืองไทยเองที่ผมเคยไปเยี่ยมห้องสมุดหลายที่ก็มักจะเอาตัวเลขจากฐานข้อมูล แต่หนังสือเล่มจริงๆ มักมีไม่ถึง
จริงๆ ผมอยากรู้จังว่า 1-10 อันดับห้องสมุดในเมืองไทยที่สุดที่สุดมีที่ไหนบ้างจังเลย
ไว้ว่างๆ จะมาเขียนและหาข้อมูลเล่นๆ กันนะ

ข้อมูลมาจากเว็บไซต์ http://www.watchmojo.com/top_10/lists/knowledge/libraries/libraries_largest.htm

10 อันดับหอสมุดแห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

รู้หรือไม่ครับว่าหอสมุดแห่งชาติของประเทศไหนเก่าแก่ที่สุด
วันนี้ผมไปเจอคำตอบเหล่านี้มาเลยขอนำมาแชร์ให้เพื่อนๆ รู้กันสักหน่อย

10 อันดับหอสมุดแห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
อันดับที่ 1 – National Library of the Czech Republic ก่อตั้งในปี 1366
อันดับที่ 2 – National Library of Austria ก่อตั้งในปี 1368
อันดับที่ 3 – National Library of Italy ก่อตั้งในปี? 1468
อันดับที่ 4 – National Library of France ก่อตั้งในปี 1480
อันดับที่ 5 – National Library of Malta ก่อตั้งในปี? 1555
อันดับที่ 6 – Munich, Germany ก่อตั้งในปี 1958
อันดับที่ 7 – National Library of Belgium ก่อตั้งในปี 1559
อันดับที่ 8 – Zagreb National and University Library ก่อตั้งในปี 1606
อันดับที่ 9 – National Library of Finland ก่อตั้งในปี 1640
อันดับที่ 10 – National Library of Denmark ก่อตั้งในปี 1653

ปล. ข้อมูลที่ได้มานี้บอกเพียงแค่ว่าเก่าแก่ที่สุดในโลกนะครับ
จริงๆ แล้วผมอยากรู้ต่อว่า หอสมุดเหล่านี้ยังคงอาคารเดิมบ้างหรือปล่าว
หรือว่าย้ายไปแล้วสร้างใหม่หมดแล้ว อันนี้เดี๋ยววันมีโอกาสจะหาคำตอบมานำเสนอนะครับ

จริงๆ แล้วผมลองเช็คข้อมูลบางส่วนในวิกิพีเดียแล้วนะครับ แต่รู้สึกว่าหอสมุดแห่งชาติบางแห่งในนี้ มีปีที่ก่อตั้งคาดเคลื่อน
ดังนั้นผมจึงต้องบอกเพื่อนๆ ก่อนว่าอย่าเพิ่งเชื่อข้อมูลนี้ทั้งหมดนะครับ แล้วผมจะลองค้นหาข้อมูลมาลงแก้ให้วันหลังนะ

ข้อมูลมาจากเว็บไซต์ http://www.watchmojo.com/top_10/lists/knowledge/libraries/libraries_oldest_national.htm

เทคนิคในการนำ Foursquare ไปใช้กับงานห้องสมุด

วันก่อนพูดเรื่อง Twitter ไปแล้ววันนี้ผมขอลงเรื่อง Social Media กับงานห้องสมุดตัวอื่นๆ บ้างนะครับ
เริ่มจากเทคนิคในการนำ Foursquare ไปใช้กับงานห้องสมุดที่บรรณารักษ์ไม่ควรพลาด

หลายๆ คนคงกำลังงงว่า Foursquare คืออะไร คำจำกัดความและวิธีการเล่น เพื่อนๆ สามารถอ่านได้จากเว็บอื่นๆ ครับ เช่น
ทำความรู้จัก สอนเล่น FourSquare อนาคตเทรนด์ Location Based Services
?Foursquare?: กระแสใหม่ของสังคมออนไลน์ที่ไม่ควรพลาด
ตะโกนบอกโลกให้รู้ว่าคุณอยู่ไหนกับ foursquare.com – Social Network สายพันธุ์ใหม่

เอาเป็นว่าขอสรุปง่ายๆ ว่าเป็น social network ที่บอกให้เรารู้ว่าตอนนี้เราอยู่ที่ไหน
ด้วยแนวคิดเรียบง่ายว่า “อยู่ที่ไหน ก็ Check in ที่นั้น” “ตอนนี้ผมอยู่ที่….” “กำลัง…ที่นี่”

ในวงการธุรกิจได้นำ Foursquare มาปรับใช้ เช่น แนะนำโปรโมชั่นของสินค้าหรือบริการ
รวมไปถึงการสร้างข้อมูลสถานที่ของตัวเองให้ผู้ใช้บริการออนไลน์รู้จัก

“อ้าว แล้ววงการห้องสมุดจะนำมาใช้ทำอะไรได้บ้างหล่ะ”
นั่นแหละเป็นที่มาของเรื่องนี้ ผมจะแนะนำวิธีการนำมาใช้กับงานห้องสมุดบ้างหล่ะ

1. เพิ่มห้องสมุดของคุณให้เป็นสถานที่แห่งหนึ่งใน FourSquare

ง่ายๆ ครับ แค่เพิ่มชื่อห้องสมุด ที่อยู่ โดยเพื่อนๆ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จาก google map

2. ใส่ชื่อกลุ่มสถานที่เป็นกลุ่ม education….แล้วเลือกกลุ่มย่อย Library
จากนั้นก็ใส่ Tag ของห้องสมุด เช่น ห้องสมุด, หนังสือ, สื่อมัลติมีเดีย, อินเทอร์เน็ตไร้สาย, บริการยืมคืน…..

3. ใส่คำแนะนำหรือสิ่งที่ต้องทำลงใน Tips / To do list
ใส่คำแนะนำห้องสมุดหรือโปรโมชั่นของห้องสมุดที่น่าสนใจลงไปเลยครับ เช่น
– “ช่วงวันที่… ห้องสมุดมีบริการให้ยืมได้ไม่จำกัดจำนวน”
– “บุคลากรภายนอกสามารถเข้าใช้ห้องสมุดได้โดยแสดงบัตรประชาชน”
– “อินเทอรืเน็ตไร้สายบริการฟรี เพียงแค่ติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ เคาน์เตอร์บริการ”


4. จัดกิจกรรมย่อยๆ ผ่านการ Check in ใน FourSquare

ห้องสมุดก็น่าจะจัดกิจกรรมเล็กๆ ที่เกี่ยวกับการ Check in ใน FourSquare ได้ เช่น
“ผู้ที่ Check in ผ่าน FourSquare คนที่ 99 ของเดือนจะได้รับรางวัล”
“ผู้ที่ Check in ผ่าน FourSquare จะได้รับสิทธิ์ในการยืมหนังสือเพิ่มขึ้น”

5. ทักทายและประกาศเรื่องราวอัพเดทได้ผ่าน Shout out
ห้องสมุดสามารถประกาศข่าวสารอัพเดท หรือ ทักทายผู้ใช้บริการผ่านทางออนไลน์ได้
และยิ่งไปกว่านั้น FourSquare สามารถเชื่อมไปยัง Twitter และ Facebook ได้ด้วย
ดังนั้นโพสข้อความลง Shout out ของ FourSquare ข้อความจะไป Twitter และ Facebook ด้วย

เอาเป็นว่าก็ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้กันดูนะครับ แต่ก่อนอื่นไปสมัครสมาชิกกันก่อนที่ http://foursquare.com/
แล้วอย่าลืมไปแอดผมเป็นเพื่อนด้วยนะครับ อิอิ http://foursquare.com/user/ylibraryhub
สำหรับวันนี้ผมคงแนะนำไว้เท่านี้ก่อน แล้วผมจะนำ social media กับงานห้องสมุดมาลงให้อ่านกันใหม่

ห้องสมุดยุคใหม่ควรใช้ twitter อย่างไร

เมื่อวานผมได้เขียนเรื่องที่ไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter แล้ว
วันนี้ผมก็ขอนำเสนอภาคต่อด้วยการแนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติบ้างน่าจะดีกว่า

เริ่มจากคำแนะนำแบบเบื้องต้นเรื่องของการจัดการ profile ตัวเอง
– ชื่อ account สื่อถึงห้องสมุดตัวเองหรือไม่
– รูปภาพแสดงตัว ถ้าเป็นรูปห้องสมุดก็คงดีสินะ
– website ให้ใส่เว็บไซต์ของห้องสมุดตัวเอง
– Bio เขียนแนะนำห้องสมุดแบบสั้นๆ เช่น “การติดต่อสื่อสารออนไลน์กับห้องสมุด….ทำได้ไม่ยาก”

สำหรับข้อความที่ควร tweet (จากบทความ Six Things Libraries Should Tweet)
1. Library events – งานกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด
เป็นการบอกให้ผู้ที่ติดตามเราได้รู้ว่ากำลังจะมีงานอะไรในห้องสมุด เช่น
“วันเสาร์นี้ 10 โมงเช้า จะมีการจัดฉายภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์ในห้องสมุด”

2. Links to articles, videos, etc. – Feed ข้อมูลจากเว็บไซต์หรือบล็อกของห้องสมุด
เป็นการเชื่อมการทำงานระหว่างเว็บไซต์และการกระจายข่าวสารสู่โลกออนไลน์
หากต้องการ tweet ข้อความมากๆ เราควรใช้บริการย่อ link จาก bit.ly หรือ tinyurl ก็ได้

เช่น “The Library of Congress Revives Public Domain Works via CreateSpace Print on-Demand and Amazon Europe Print on-Demand – http://bit.ly/9nE8H1”

3. Solicit feedback – การแสดงความคิดเห็น หรือ การสำรวจข้อมูลต่างๆ

เป็นช่องทางในการสอบถามเรื่องความคิดเห็นหรือแสดงไอเดียใหม่ๆ ของห้องสมุด
แต่ต้องระวังคำถามนิดนึงนะครับ เพราะมันมีผลตอบสนองกับมาที่ห้องสมุดแน่ๆ เช่น
ไม่ควรถามคำถามที่เดาคำตอบได้อยู่แล้ว ประมาณว่า “ห้องสมุดควรเปิด 24 ชั่วโมงหรือไม่
ผู้ใช้บริการทุกคนย่อมต้องการสิ่งนี้แน่นอน และห้องสมุดจะต้องรับผิดชอบในการกระทำนั้นๆ


4. New additions to your collection – ทรัพยากรใหม่ๆ ในห้องสมุด

เป็นช่องทางในการแนะนำหนังสือหรือสื่อใหม่ๆ ในห้องสมุด
ซึ่งเพื่อนๆ อาจจะใช้ feed ข้อมูลจากฐานข้อมูลห้องสมุดหรือเว็บไซต์ก็ได้

5. Marketing – การตลาดและประชาสัมพันธ์
เป็นช่องทางในการสร้างกระแสให้ห้องสมุด ข้อมูลของห้องสมุดอาจเป็นที่สนใจกับผู้ใช้บริการ
เช่น หนังสือที่ถูกยืมในปีที่แล้วทั้งหมดจำนวน 35,000 ครั้ง

6. Answer questions – ถามตอบปัญหาต่างๆ
เป็นช่องทางในการถามตอบระหว่างบรรณารักษ์ห้องสมุดกับผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างดีและได้ผล

เป็นไงกันบ้างครับกับเรื่องของ twitter ที่มีความสัมพันธ์กับงานห้องสมุด
พื่อนๆ สามารถอ่านบทความย้อนหลังเกี่ยวกับเรื่อง Twitter ในงานห้องสมุดได้นะครับ
ซึ่งผมได้เขียนไว้หลายเรื่องแล้ว ลองดูจาก
http://www.libraryhub.in.th/tag/twitter/

แล้วอย่าลืมเข้ามา follow ผมกันเยอะๆ ด้วยหล่ะ @ylibraryhub

สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter

จริงๆ แล้วอยากเขียนเรื่องเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติ และข้อไม่ควรปฏิบัติในบล็อกเดียวกัน
แต่กลัวว่ามันจะยาวเกินไปเดี๋ยวเพื่อนๆ จะเบื่อเอาง่ายๆ
วันนี้ผมจึงขอเลือกข้อไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter ก่อนน่าจะดีกว่า

เรื่องที่จะนำเสนอนี้สำหรับห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ที่เปิด Account เพื่อใช้ในองค์กรเท่านั้น
ไม่รวมถึง Account Twitter ส่วนตัวของเพื่อนๆ นะครับ (ง่ายๆ twitter องค์กร only)

ผมก็ใช้เวลาในการเล่น Twitter มาสามปีกว่าๆ สังเกตมาสักระยะแล้วว่า
ห้องสมุดหลายๆ แห่งเริ่มมีการนำ twitter มาใช้ในองค์กรมากขึ้น
เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรม แนะนำหนังสือ ฯลฯ ในห้องสมุด ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี

แต่ห้องสมุดบางแห่งเมื่อผมได้เข้าไปใน twitter ผมก็รู้สึกแปลกๆ และสงสัยเล็กน้อย
ถึงความผิดปกติในแง่ต่างๆ เช่น lock ไม่ให้คนอื่นดู, ปล่อยให้ twitter ร้าง ฯลฯ

ผมจึงอยากนำเรื่องต่างๆ เหล่านี้มาแนะนำให้เพื่อนๆ ห้องสมุดและบรรณารักษ์อ่าน
สิ่งที่ Twitter ห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ไม่ควรทำในโลกออนไลน์ ได้แก่

– การ lock หรือ การ protected Account ของห้องสมุดหรือบรรณารักษ์
เพราะห้องสมุดของเราควรเปิดกว้างให้ผู้ใช้บริการบนโลกออนไลน์ทุกคน
ดังนั้นเราไม่ควรจำกัดการเข้าถึงห้องสมุดด้วยวิธียุ่งยาก

– ทำตัวเสมือนเป็นหุ่นยนต์ (ดึง feed ข่าวของห้องสมุดมาลงเพียงอย่างเดียว)
ในโลกของ twitter ห้องสมุดก็สามารถมีชีวิตได้ หากมีคนถามห้องสมุดก็ควรตอบ
นอกจากนี้ห้องสมุดยังสามารถทักทายผู้ใช้บริการออนไลน์อยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อความเป็นกันเอง

– อย่าปล่อยให้การอัพเดทข้อความใน twitter ทิ้งช่วงเกิน 2-3 วัน
เพราะนั้นหมายถึงความไม่ใส่ใจของห้องสมุด (ห้องสมุดร้าง)

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ก็แล้วกันนะครับ
เพื่อเป็นคำเตือนให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์และห้องสมุดมือใหม่ระวังในการใช้เครื่องมือออนไลน์

การพัฒนาหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาตร์ในยุคดิจิทัล

วันก่อนได้รับเกียรติจากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เชิญเป็นวิทยากรบรรยายในเรื่อง “หลากมุมมองของนักวิชาชีพสารนิเทศ” วันนี้ผมจึงขอนำเรื่องวันนั้นมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

ภาพกิจกรรมในวันนั้นแบบคร่าวๆ (ขอนำภาพจากเว็บไซต์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาลง)

(ข้อมูลโดยสรุปไว้ผมจะนำมาเล่าวันหลังนะครับ ช่วงนี้มีภาระงานเยอะไปหน่อย อิอิ)
เอาสไลด์ของแต่ละคนไปนั่งอ่านก่อนได้ครับ

สไลด์ของวิทยากรทุกท่านสามารถดาวน์โหลดได้จาก http://www.arts.chula.ac.th/~libsci/conference%2053_Download.html

ชมภาพกิจกรรมได้ที่ http://www.arts.chula.ac.th/~libsci/activities.html

ของฟรี 27 อย่าง ที่หาได้จากห้องสมุด

วันนี้ผมเจอบทความนึงที่น่าสนใจมากจากเว็บไซต์ SavingAdvice ซึ่งเป็นเว็บที่แนะนำให้ประหยัด
ห้องสมุดสามารถทำให้ชีวิตของคนเราประหยัดได้จริงๆ หรือ” อันนี้น่าคิดมากครับ
บทความนี้จะแนะนำ 27 อย่างที่ไม่ต้องเสียเงินในห้องสมุด” เอาเป็นว่าเข้าไปดูกันดีกว่า

อะไรที่ฟรีบ้างในห้องสมุด ผมคงตอบว่า “มากมายเลยที่ฟรีในห้องสมุด”
อ่านหนังสือฟรี เล่นคอมพิวเตอร์ฟรี ดูหนังฟรี นอนฟรี….
พอเจอคำถามว่า 27 อย่างที่ฟรี ผมก็ลองไล่ดูแล้วก็แปลกใจว่าทำไมผมคิดได้ไม่ถึง 27 อย่าง

แนะนำ 27 อย่างที่ไม่ต้องเสียเงินในห้องสมุด
1 หนังสือฟรี – แน่นอนครับอ่านแล้วยืมกลับบ้านได้ฟรี
2 หนังสือเสียง – ห้องสมุดบางแห่งมีให้ฟังหนังสือเสียงด้วย นั่นแหละฟรี
3 ดีวีดี – ภาพยนตร์ สารคดี มีให้ชมฟรี
4 ซีดีเพลง – อยากฟังเพลงก็ฟรีนะครับ
5 หนังสือเก่าของห้องสมุด – บางแห่งก็นำมาขาย บางแห่งก็บริจาคฟรี
6 อินเทอร์เน็ต – เล่นเน็ตฟรีแถม wifi ให้ด้วย
7 คอมพิวเตอร์ – ไม่ได้เอาโน้ตบุ๊คมาก็ใช้คอมที่ห้องสมุดได้ฟรี
8 วารสาร นิตยสาร – นิตยสารเล่มใหม่ๆ ให้อ่านฟรี
9 ชมรมหนังสือ – ตั้งชมรมคนรักหนังสือได้ฟรีที่ห้องสมุด แล้วแต่ว่าจะสนใจหนังสือแนวไหน
10 งานนิทรรศการ -? ชมนิทรรศการฟรีแถมได้ความรู้
11 ที่คั่นหนังสือ – มีแจกตามเคาน์เตอร์บรรณารักษ์
12 คูปองส่วนลดจากร้านค้าใกล้เคียง – อันนี้เห็นในต่างประเทศเยอะแจกฟรีคูปองส่วนลดร้านค้าที่อยู่ใกล้ๆ ห้องสมุดซึ่ง แจกฟรี
13 การเรียนการสอนฟรี – ห้องสมุดมีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย อยากเรียนอะไรก็เรียนได้เลยฟรี
14 กิจกรรมสำหรับเด็ก – เล่านิทาน ระบายสี ฟรีในห้องสมุด
15 ศึกษาวรรณกรรม – ห้องสมุดมีเรื่องสั้น นวนิยายดีๆ มากมายให้อ่านฟรี
16 ผู้ช่วยในการค้นหาข้อมูล – บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าฟรี ลองใช้กันดู
17 บริการยืมหนังสือข้ามห้องสมุด – อยากได้หนังสือจากห้องสมุดอื่น บรรณารักษ์ยืมให้ฟรี
18 ฐานข้อมูล – ค้นคว้าเรื่องเฉพาะทางฐานข้อมูลมีให้ใช้ฟรี
19 ผู้ช่วยสำหรับผู้เชี่ยวชาญ – บรรณารักษ์เราช่วยค้นคว้าได้ทุกอย่างซึ่งนั้นแหละฟรี
20 กิจกรรมเปิดตัวหนังสือ – สำนักพิมพ์สามารถใช้ห้องสมุดเป็นเวทีสำหรับการเปิดตัวหนังสือใหม่ได้ฟรี
21 ภาพยนตร์ – มีการจัดฉายภาพยนตร์ฟรี
22 คอนเสิร์ต – การจัดงานคอนเสิร์ตเล็กๆ หรืองานแสดงดนตรีในห้องสมุดก็ฟรีนะ
23 กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน – กิจกรรมส่งเสริมการอ่านมีบริการฟรีในห้องสมุด
24 ช่วยทำการบ้าน – เด็กๆ สามารถให้บรรณารักษ์ช่วยทำการบ้านฟรี
25 ห้องสมุดเคลื่อนที่ – ห้องสมุดสามารถออกไปจัดกิจกรรมให้ชุมชนได้ฟรี
26 รายการหนังสือน่าอ่าน – ห้องสมุดจะช่วยคัดเลือกเรื่องที่น่าสนใจให้ผู้ใช้บริการได้ฟรี
27 กิจกรรมสำหรับวัยรุ่น – กิจกรรมในห้องสมุดที่หลากหลายตอบสนองคนทุกเพศวัยฟรี

เอาเป็นว่าจบแล้วครับ 27 อย่าง แล้ว “27 อย่างที่ว่าไม่ต้องเสียเงินในห้องสมุด”
ห้องสมุดของเพื่อนๆ มีฟรีครบทั้งหมดเลยหรือปล่าวครับ อย่างไหนที่ไม่น่าจะฟรีบ้าง ร่วมกันแสดงความคิดเห็นได้ครับ

ต้นฉบับของเรื่องนี้มีคำอธิบายมากมาย เพื่อนๆ ลองเข้าไปอ่านได้ที่
http://www.savingadvice.com/articles/2008/07/04/102183_27-free-things-at-the-library.html

จุฬารับสมัครเจ้าหน้าที่บริการสารสนเทศ 2 ตำแหน่ง

ช่วงนี้บรรณารักษ์ช่วยหางานมาพบกับเพื่อนๆ บ่อยเป็นพิเศษ
เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่ห้องสมุดหลายๆ แห่งกำลังต้องการบุคลากรเพิ่ม
ดังนั้น Libraryhub ก็จะนำมารายงานให้เพื่อนๆ ได้เลือกงานก็แล้วกันนะ

รายละเอียดของงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง 😕 เจ้าหน้าที่บริการสารสนเทศ
ลักษณะงาน : พนักงานมหาวิทยาลัย
วุฒิการศึกษา : ปริญญาโท
จำนวน : 2 ตำแหน่ง
ห้องสมุด : ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เงินเดือน : 10900 บาท (ถ้ามีประสบการณ์ตรงจะได้รับการพิจารณาเงินเดือนเพิ่ม)

ตำแหน่งนี้ผมต้องย้ำว่าเพื่อนๆ ที่อยากได้งานนี้ต้องจบปริญญาโทแล้วเท่านั้นนะครับ
อ๋อ ไม่จำเป็นต้องจบวุฒิบรรณารักษ์นะครับ ครุศาสตร์ก็ได้ นิติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ฯลฯ
สาขาที่จบมาเพื่อนๆ สามารถดูได้จากเอกสารเพิ่มเติมของตำแหน่งนี้ (ดาวน์โหลดได้จากด้านล่าง)
ความสามารถที่ต้องการพิเศษ คือ ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ ถ้าได้จะดีเยี่ยมเลย

ตำแหน่งนี้รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 26 ตุลาคม นี้นะครับ
เพื่อนๆ ยังมีเวลาตัดสินใจได้อยู่นะครับ แต่ทำงานในมหาวิทยาลัยผมว่าก็โอนะ

ลืมบอกไปเลยตำแหน่งนี้ทำอะไรบ้าง
– งานบริการสารสนเทศ
– งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
– งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
– ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ผมว่ารายละเอียดของงานดูแปลกๆ ไปหน่อยนะครับ มันเหมือนงานบรรณารักษืเลย
แต่เปิดโอกาสให้คนสาขาอื่นมาทำได้ เอิ่มแสดงว่าเข้าได้แล้วคงต้องเรียนรู้งานอีกสักระยะแน่ๆ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองติดต่อไปที่ hr@car.chula.ac.th ดูนะครับ
หรือถ้ามั่นใจแล้วก็สมัครไปเลยตามแบบฟอร์มออนไลน์ที่อยู่ด้านล่างนี้

ข่าวรับสมัครจาก http://www.car.chula.ac.th/news/274/
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่ง http://www.car.chula.ac.th/downloader2/3bfdb4ecab0b240f1bd80fb33f6a315a/

ดาวน์โหลดใบสมัครที่นี่
http://www.car.chula.ac.th/apply/apply2.php

ขอให้ทุกๆ ท่านโชคดีครับ

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติส่งท้ายปี 53 (มหกรรมหนังสือระดับชาติ)

เดือนนี้ไฮไลท์ที่ชาวบรรณารักษ์และห้องสมุดไม่ควรพลาด คือ
งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ 2553 หรือที่หลายๆ คนชอบเรียกว่างานสัปดาห์หนังสือปลายปี

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้
ชื่องานภาษาไทย : งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 15
ชื่องานภาษาอังกฤษ : BookExpoThailand 2010
วันที่จัดงาน : 21-31 ตุลาคม 2553
เวลาในการจัดงาน : 10.00-21.00 น.
สถานที่จัดงาน : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

เดือนตุลาคมถือว่าเป็นเดือนแห่งปีงบประมาณใหม่
ดังนั้นห้องสมุดหลายๆ แห่งคงจะถือโอกาสนี้ในการช้อปปิ้งหนังสือเข้าห้องสมุด
หนังสือราคาถูก มีของแถมมากมาย และมีร้านหนังสือให้เลือกมาก

นอกจากการช้อปปิ้งหนังสือแล้ว ผมไม่อยากให้พลาดเรื่องกิจกรรมต่างๆ ที่จัดในงานด้วย
เพราะเพื่อนๆ จะเห็นแนวคิดและนำไปประยุกต์ใช้เป็นกิจกรรมการอ่านในห้องสมุดได้ด้วย

กิจกรรมพิเศษที่จัดในงานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้ เช่น
– นิทรรศการและกิจกรรม “ห้องสมุดหนังสือใหม่ ปี 2553”
– กิจกรรมส่งเสริมการอ่านจากมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
– นิทรรศการ “สมเด็จพระปิยมหาราชกับการปฏิรูปการศึกษา”
– Creative Book Industry: DIY My Book หนังสือใครๆ ก็ทำได้
– All for Book: Book for All

Hilight ที่ผมอยากแนะนำในงานนี้ มีมากมาย เช่น
– วันที่ 21 ตุลาคม 2553 เวลา 15.00-16.00 น. เปิดตัว e-book on i pad
– วันที่ 22 ตุลาคม 2553 เวลา 11.00-12.00 น. กิจกรรมทอฝันปันหนังสือให้น้อง ครั้งที่ 20
– วันที่ 22 ตุลาคม 2553 เวลา 12.00-13.00 น. กิจกรรมจากกระดาษถนอมสายตา Green Read by SCG Paper
– วันที่ 26 ตุลาคม 2553 เวลา 12.00-13.00 น. โครงการทูตความดีแห่งประเทศไทย D Ambassador 2010
– วันที่ 27 ตุลาคม 2553 เวลา 16.00-17.00 น. เปิดตัวหนังสือ “รวมบทกวีนิ้วกลม อุนนุน หมายเลข 1 สิ่งที่ค้นพบระหว่างนั่งเฉยๆ ของนิ้วกลม”
– วันที่ 30 ตุลาคม 2553 เวลา 17.00-18.00 น. เปิดตัวเว็บไซต์ทีวีเพื่อการศึกษา www.etvMAC.tv

เอาเป็นว่ากิจกรรมดีๆ มีอีกเพียบเลย โดยเฉพาะการเปิดตัวหนังสือใหม่ๆ
ถ้าเพื่อนๆ สนใจตารางกิจกรรมลองเข้าไปดูได้ที่ http://thailandbookfair.com/bookexpo2010/hallA.php

นอกจากนี้งานสัมมนาดีๆ ก็มีอีกเพียบเลย เข้าไปดูได้ที่ http://thailandbookfair.com/bookexpo2010/seminar.php

แค่เห็นชื่อกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ก็ทำให้ผมยิ่งอยากไปงานนี้เร็วๆ เหลือเกิน
เอาเป็นว่าถ้าผมได้ไปร่วมงานในครั้งนี้แล้ว ผมจะเก็บภาพบรรยากาศในงานมาฝากทุกๆ คนเลยครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่วางแผนที่จะมางานนี้ผมขอแนะนำว่าใช้รถไฟฟ้าใต้จะทำให้คุณไม่ต้องเครียดเรื่องการหาที่จอดรถนะครับ
เพราะอย่างที่รู้ๆ รถเยอะมากๆ รถติดทางเข้า แถมเข้ามาก็อาจจะไม่มีที่จอดอีก ดังนั้นรถไฟฟ้าใต้ดินดีที่สุดครับ

หากเพื่อนๆ อยากได้ข้อมูล หรือรายละเอียดกิจกรรมมากกว่านี้ผมแนะนำให้เข้าเว็บไซต์ทางการของงานนี้
เว็บไซต์ทางการของงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 15 : http://thailandbookfair.pubat.or.th/bookexpo2010/