นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 5

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 5
ออกในเดือนพฤศจิกายน 2553

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์กลับมาพบกลับเพื่อนๆ ชาวบรรณารักษ์และห้องสมุดกันอีกครั้งแล้วนะครับ
นับว่าเป็นนิตยสารที่อยู่คู่กับ projectlib และ libraryhub มากกว่า 3 ปีแล้ว (แอบดีใจที่มีเพื่อนร่วมทาง)
เอาเป็นว่าฉบับนี้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากมายหลายบทความ ร่วมถึงบทความที่เข้ากับช่วงนี้ด้วย (น้ำท่วม)

ไฮไลท์ของเล่มอยู่ที่ห้องสมุดในมหาวิทยาลัยที่ผมเรียนปริญญาตรี (ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
ช่วงเดือนที่ผ่านมาที่มีข่าวเรื่องพายุเข้าในจังหวัดปัตตานีทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงในมหาวิทยาลัย
ผลกระทบนี้ส่งผลไปถึงห้องสมุดต่าง ๆที่อยู่ที่นั่นด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ หอสมุดจอร์นเอฟเคนเนดี้ นั่นเอง

เอาเป็นว่าเกริ่นมาเยอะแล้ว เราไปดูเนื้อหาในฉบับนี้กันดีกว่า

เรื่องจากปก 😕 หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ปะทะ ดีเปรสชั่น

พาเที่ยว : ห้องสมุดประชาชนเมืองTampere ฟินแลนด์

พาเที่ยว : เล่าเรื่องกิจกรรม ?โครงการหนังสือเพื่อน้อง?

บทความ : Chair & Share

บทความ : จุฬาฯ ส่งมอบห้องสมุด 3 ดี

บทความ : Top 10 Books From Library Journal

บทความ 😕 ทำอย่างไรจึงเป็นดาว

บทความ : การดูแลและเอาใจใส่ลูกค้า … ยังต้องพยายามกันต่อไป

บทความ : ซอฟต์แวร์อิสระ ถึง ระบบห้องสมุดอิสระ

ป็นยังไงกันบ้างครับ ลองเข้าไปอ่านกันดูนะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่ม 5 : http://www.librarianmagazine.com/VOL3/NO5/index.html

พบปะเพื่อนๆ ชาว twitter ณ งาน twittbkk4

วันอาทิตย์….วันชิววันนี้มีแผนว่าจะไปพบกับเพื่อนๆ ชาว twitter ในงาน twittbkk4
ดังนั้นวันนี้ขอเล่าบล็อกแบบสบายๆ โดยที่ไม่เกี่ยวกับห้องสมุดก็แล้วกันนะครับ

เริ่มจากตื่นมาแบบงงๆ กับเมื่อวาน (เมื่อวานดื่มไปหนักมาก) แต่งตัวออกจากบ้าน
นัดกะ @maeyingzine ไว้ ตอนเที่ยง 12.30 แบบว่ามีเรื่องบังเอิญมากๆ (แอบขำ)
ประมาณว่า @maeyingzine ยืนรอรถอยู่ไอ้เราก็ดันนั่งอยู่บนรถแล้วก็ต่างคนต่างงง
สุดท้ายก็ได้เจอกันที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีกรุงธนบุรี

ระหว่างทางเห็น @bankkung tweet ว่ากำลังจะไปพอดีก็เลยนัดเจอกันที่สถานีสยาม
เราสามคนเดินทางไปด้วยกัน ถึงสถานีเอกมัย @maeyingzine อยากกินกาแฟ ก็เลยหาร้านกาแฟสักนิด
ซึ่งไปได้กาแฟในร้านกาแฟ barista ที่เมเจอร์สุขุมวิท (กาแฟหวานมากกกกกกกกก)

จากนั้นนั่ง taxi เข้าไปที่ร้าน curve ไปถึงเจอพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ หลายคนเลย แบบว่าคงไล่ชื่อได้ไม่หมดนะครับ

ลงทะเบียนหน้างานแอบขำในช่องที่ต้องใส่อายุ (เหอๆ ไม่อยากเปิดเผยอายุของตัวเองเลย)
พี่ @molek เดินมาแซวขำขำว่า น่าจะมีอีกช่องให้เขียนสถานะด้วย 5555 ขำกันไป

พอลงทะเบียนเสร็จ คู่ twitter @jaaja กับ @tanicha ก็ออกมาพอดี (แหมมมมมม เสื้อคู่ ช้างเท้าหน้า กับ ควาญช้าง อิอิ)
เดินเข้ามาเจอบอร์ดให้เซ็นต์ชื่อ อิอิ ขอเจิมสักหน่อย….เขียนไว้บนสุดเลย 5555

เข้างานไปก็ไปหาที่นั่งก่อนเลย ตรงนั้นมี @jaaja @tanicha @ebernia @maeyingzine @gracenatthanun @Blltz และก็อีกคนไม่รู้ชื่ออาราย

เดินไปในงานรอบๆ ก็เจอเพื่อนๆ หลายคนเลย เช่น @kajeaw @kijjaz @meawba @tongkatsu @iwhale @oaddybeing @patsonic @……… เยอะมากกกกกกกก เขียนไม่หมดอ่าาาา

คำถามที่เดินไปเดินมาแล้วเจอถามเรื่อยๆ คือ
1. @junesis ไปไหน ไม่ได้มาหรอ —> @junesis ไปเที่ยวเชียงใหม่กะออฟฟิต (Dek-D)
2. ทำไมดูอ้วนขึ้นมากกกกกกก (อันนี้ไม่ตอบครับ แต่โดนหลายคนถาม แบบว่า เหอๆๆๆๆๆ ไม่ต้องย้ำได้ป่ะ)


บนเวทีก็มีการบรรยายจากเหล่า celeb ด้วยน้าาาาาาาาาาา เริ่มจาก
– @iwhale มาพูดเกี่ยวกับเรื่องความช่วยเหลือต่อสังคม
– @…. อะไรก็ไม่รู้ แต่มาพูดเกี่ยวกับเรื่อง Dtac? อันนี้ก็น่าสนใจดี
– @pongrat มาพูดเรื่อง 3.0 555555
– @rawitat มาพูดเรื่องการเติบโตของ @petdo
– @sugree ก็มาพูดเรื่องราวที่ผ่านมาในปีที่ข้อความ tweet ลดลงไปมาก

เอาเป็นว่าขอเขียนไว้แค่นี้ก่อนดีกว่า คงมีคนอัพบล็อกเรื่องนี้อีกหลายคนแน่ๆ
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณพี่ๆ ที่ร่วมกันจัดงาน twittbkk4 นี้ขึ้นมา ขอบคุณสปอนเซอร์ในงาน และขอบคุณเพื่อนๆ ที่มาเจอกัน

เว็บไซต์ทางการของงาน twittbkk : http://twittbkk.com

ครบรอบ 5 ปี ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ห้องสมุด TCDC)

เนื่องในโอกาสครบรอบห้าปีศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือที่เราเรียกติดปากว่าห้องสมุด TCDC
วันนี้ผมจึงขอนำข้อมูลที่น่าสนใจจากแผ่นพับในงานฉลอง 5 ปี TCDC มาลงให้อ่านกันนะครับ

ภาพประกอบจาก http://www.acentech.net

เริ่มจากส่วนแรกที่อยากจะพูดถึง คือ เรื่องการจัดนิทรรศการ ซึ่งนิทรรศการที่ TCDC จัดแต่ละครั้งขอบอกว่ายิ่งใหญ่มาก และน่าสนใจมากๆ ด้วย ในนิทรรศการแฝงด้วยความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดในการคิดสร้างสรรค์ธุรกิจหรือมุมมองใหม่ๆ ทางธุรกิจได้ด้วย

นิทรรศการใน TCDC แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. นิทรรศการถาวรต้องมีอะไรถึงออกแบบได้” อันนี้อยู่ตั้งแต่แรกจนถึงวันนี้ก็ยังมีให้ชมครับ
2. นิทรรศการหมุนเวียน อันนี้มีการเปลี่ยนไปเรื่อยๆ บางนิทรรศการอยู่ยาวหน่อย ตัวอย่างเช่น
– นิทรรศการกันดารคือสินทรัพย์
– นิทรรศการถอดรหัสญี่ปุ่น
– นิทรรศการทำสิ่งที่รักให้เป็นเงิน 20ธุรกิจงานออกแบบอังกฤษ

นอกจากนิทรรศการแล้ว ส่วนที่เป็น hilight ของ TCDC คือ ห้องสมุดการออกแบบที่ทันสมัย ซึ่งผมขอนำข้อมูลที่น่าสนใจมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันครับ

ข้อมูลเหล่านี้คุณรู้หรือไม่ (ผมขอเขียนในสไตล์ของผมนะ ไม่อยากถูกมองว่า copy)
– 5 ปีนี้มีผู้เยี่ยมชม TCDC มากถึง 1,500,000 คน
– สมาชิกของห้องสมุด TCDC มีนักเรียน นักศึกษามากถึง 10,000 คน
– วันที่ TCDC มีผู้ใช้เข้าสูงที่สุด คือ วันที่ 10 ธันวาคม 2550 ซึ่งมีจำนวน 629 คน
– สมาชิกที่เหนียวแน่นอยู่กับ TCDC มาตั้งแต่ปีแรกจนถึงตอนนี้มี 1,124 คน
– หนังสือด้านการออกแบบที่หายากที่สุดของไทยอยู่ที่นี่ เช่น ตำราทางสถาปัตยกรรมเล่มแรกของโลก (The seven lamps of architecture ของ John Ruskin)
– หนังสือที่ถูกหยิบมากที่สุดคือ? Package & wrapping graphic มีคนหยิบมากถึง 925 ครั้ง
– หนังที่ถูกขอยืมใช้มากที่สุดคือ Spirited away มีคนยืมมากถึง 127 ครั้ง
– แม่บ้านทำความสะอาดในห้องน้ำทุก 15 นาที
– คนเข้าใช้ TCDC มากสุดวันเสาร์ น้อยสุดวันศุกร์
– วัสดุไทยที่อยู่ในฐานข้อมูลวัสดุโลกมีจำนวน 234 ชนิด
– หมึกถั่วเหลืองคือหนึ่งในวัสดุที่มีการใช้มากที่สุด

นอกจากตัวห้องสมุดใหญ่ที่อยู่ที่ emporium แล้ว TCDC ยังมีชั้นหนังสือเล็กๆ ที่กระจายตัวอยู่ที่ห้องสมุดตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วย หรือที่เรียกว่า Mini TCDC ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 13 แห่ง ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ

เอาเป็นว่าผมคงบรรยายแค่นี้น่าจะเพียงพอแล้ว ใครที่อยากรู้จักกับ TCDC มากกว่านี้ก็เชิญไปชมได้ที่ ชั้น 6 Emporium นะครับ หรือไม่ก็เข้าไปชมได้ในเว็บไซต์ http://www.tcdc.or.th

เว็บไซต์ทางการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ : http://www.tcdc.or.th

วีดีโอศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วันนี้ไม่อยากเขียนอะไรเยอะ เอาเป็นว่าขอเอาวีดีโอมาลงให้ดูแทนดีกว่า
วีดีโอนี้เป็นวีดีโอแนะนำศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วีดีโอนี้ผมว่าจะเอามาให้ดูนานแล้วแต่หาไม่เจอ วันนี้ค้นไปค้นมาเจอก็เลยเอามาให้เพื่อนๆ ดูก็แล้วกัน
ในวีดีโอได้แนะนำหลักการและเหตุผลของโครงการ การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด
ซึ่งมีภาพตัวอย่างของห้องสมุดอยู่พอควรเลย เอาเป็นว่าลองดูแล้วกันนะครับ

วีดีโอแนะนำศูนยความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=cwyLMRwCdis[/youtube]

อ๋อก่อนจากกันวันนี้ผมขอแถมวีดีโออีกตัวเป็น วีดีโอตัวแรกของโครงการครับ
อาจจะมี text เยอะหน่อยแต่ผมว่าดูแล้วไม่น่าเบื่อครับ เอามาให้ดูกันเล่นๆ

วีดีโอโครงการศูนยความรู้กินได้

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=DYWBiw1pu-U[/youtube]

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นงานห้องสมุดที่ผมดูแลในช่วงปีที่ผ่านมาก็ฝากด้วยแล้วกันครับ
ใครว่างๆ หรือมีเวลา หรือแวะไปเที่ยวที่จังหวัดอุบลราชธานีก็แวะไปได้ครับ
ที่ศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

เว็บไซต์ทางการของศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี : http://www.kindaiproject.net

แนะนำงานสัมมนา How to be a Global Library Participant

วันนี้มีงานสัมมนาและอบรมดีๆ มาฝากชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์กันอีกแล้วครับ
เป็นงานที่จะทำให้ห้องสมุดต่าง ๆ ได้เข้าใจวิธีการทำงานของบริการแต่ละประเภทของ OCLC

รายละเอียดทั่วไปของการสัมมนาครั้งนี้
ชื่องานสัมมนา : How to be a Global Library Participant ? Practical Approaches
วันที่และเวลาที่จัดงาน : วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 เวลา 8.30 – 16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องกิจกรรม หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ บริษัทแอ้ดวานซ์ มีเดีย ซัพพลายส์ จำกัด

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– Hands-on Library Resource Comparison with library worldwide ? WorldCat Collection Analysis
– Collection development by Circulation Analysis in action ? WorldCat Collection Analysis
– Showcase to increase student use of library materials ? WorldCat Local
– Step by step ?digitize and broadcast? local library resources to global?? ? Content DM

สรุปง่ายๆ ครับ งานนี้จะเป็นการบรรยายแบบเจาะลึก step by step ในบริการ WorldCat Collection Analysis และบริการอื่น ๆของ OCLC เช่น Content DM และ WorldCat Local นะครับ

งานนี้ก็น่าสนใจดีครับสำหรับคนที่ชอบเรื่องเทคโนโลยี การบรรยายครั้งนี้ไม่อยากให้เพื่อนๆ กลัวเรื่องภาษาอังกฤษหรอกนะครับ เห็นหัวข้อเป็นภาษาอังกฤษก็จริงแต่การบรรยายเป็นภาษาไทยครับ วิทยากรก็คนไทยนะครับ เอาเป็นว่าไปหาความรู้แล้วเอามาลองใช้งานกันดู เพื่อเป็นการพัฒนางานบริการของห้องสมุดด้วยก็ดีครับ

งานนี้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ครับ แต่รับจำนวนจำกัด เฉพาะผู้บริหาร/บรรณารักษ์/ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด/ศูนย์สารสนเทศ/อาจารย์/นักศึกษาสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องเท่านั้นนะครับ

ครที่อยากเข้าร่วมงานก็ติดต่อไปที่ pongskorn@amsbook.com นะครับ

เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมก็เข้าไปดูได้ที่
http://library.tu.ac.th/agenda1153/info.html นะครับ

สรุปงาน New technology and Best Practice in Library Services

วันนี้ผมได้มีโอกาสเข้าฟังบรรยายเรื่อง “New technology and Best Practice in Library Services
โดยคุณ John Hickok จาก California State University เห็นว่าเนื้อหาน่าสนใจดีจึงขอเอามาเล่าให้เพื่อนๆ อ่าน

รายละเอียดงานบรรยายเบื้องต้น
ชื่อการบรรยาย : New technology and Best Practice in Library Services
ผู้บรรยาย : John Hickok
วันและเวลาที่บรรยาย : วันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 เวลา 9.00-12.00 น.
สถานที่ในการบรรยาย : ห้อง 304 ชั้น 3 อาคารมหาจักรีสิรินธร
ผู้จัดงาน : ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสถานฑูตสหรัฐฯ

เข้าเรื่องกันเลยดีกว่านะครับ การบรรยายครั้งนี้มีล่ามช่วยแปลในระหว่างการบรรยายด้วย
(แต่ผมว่าฟังภาษาอังกฤษแล้วดูสไลด์ตามน่าจะเข้าใจหว่านะครับ แต่ก็เอาเถอะครับมีล่ามก็ดี)

การบรรยายเริ่มจากการแนะนำตัวของผู้บรรยาย ซึ่งคือคุณ John Hickok
(ผมขออนุญาติเรียกผู้บรรยายว่าคุณ John เพื่อความชัดเจนในการสื่อสารนะครับ)

โดยคุณ John เป็นบรรณารักษ์ธรรมดาๆ คนนึงที่ California State University (ย้ำว่าบรรณารักษ์ธรรมดา) นอกจากนี้คุณ John ก็ยังเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษให้กับคนต่างชาติด้วย โดยเฉพาะคนเอเชีย วิทยานิพนธ์ที่คุณ John คือเรื่องการเปรียบเทียบความแตกต่างทางวัฒนธรรมกับการบริการห้องสมุด ซึ่งได้ศึกษาข้อมูลจาก 200 กว่าห้องสมุด จาก 14 ประเทศ ในแถบเอเชีย ตำแหน่งอันทรงเกียรติของคุณ John ตอนนี้คือ ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมาธิการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของ ALA

หลังการแนะนำตัวเองเสร็จเรื่องแรกที่คุณ John บรรยายคือ Best Practice

ตัวอย่าง Best Practice จาก California State University แบ่งออกเป็น

1 งานด้านเทคนิคของบรรณารักษ์ ซึ่งมี 6 ตัวอย่าง ดังนี้
1.1 Prompt Cat. (การซื้อรายการบรรณานุกรมจาก OCLC)
คุณ John ได้แสดงให้เราเห็นว่าตำแหน่งงานด้าน catalog ในห้องสมุดของอเมริกาถูกลดบทบาทลงมาก แต่หันไปเพิ่มความสำคัญให้กับบรรณารักษ์ด้าน e-resource เป็นหลัก เนื่องจาก catalog สามารถดึงมาจาก OCLC ทำให้ข้อมูลเป็นกลางและไม่ทำให้เกิดความหลากหลายในการ catalog ด้วย

คำอธิบาย Prompt Cat. อ่านได้ที่ http://www.oclc.org/promptcat/

1.2 Consortium buying power of databases (จับมือร่วมกับหน่วยงานห้องสมุดอื่นๆ ในการซื้อฐานข้อมูลจากต่างประเทศ)
คุณ John ได้บอกพวกเราว่าการที่ทำความร่วมมือในการบอกรับฐานข้อมูลจะทำให้เราประหยัดงบประมาณและก่อให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่าด้วย (จริงๆ แล้วในบ้านเรา uninet ก็มีนะ สกอ. บอกรับทำให้มหาลัยประหยัดด้วย)

1.3 Explosion of full-text linking in database (การเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่บอกรับให้สามารถค้นหาฐานข้อมูลแบบ fulltext ได้)
การเชื่อมโยงฐานข้อมูลต่างๆ ที่บอกรับจะมำให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์สูงสุด ยกตัวอย่างเช่น EBSCO ไม่มี full text ในเรื่องนี้แต่ในฐานข้อมูลอื่นอาจจะมีก็ได้ ดังนั้นถ้าเราเชื่อมฐานข้อมูลกันก็จะทำให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งการเชื่อมโยงฐานข้อมูลก็อาศัยโปรแกรมเสริมบางชนิด เช่น “Find it” เพียงแค่เรานำมาติดตั้งกับหน้าเว็บไซต์ก็สามารถทำงานได้แล้ว

1.4 Partnering with WorldCat for last ILL. (เข้าร่วมกับ world cat ในการแชร์ข้อมูล เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในท้องถิ่น)
การทำความร่วมมือกับ WorldCat ในเรื่องฐานข้อมูลหนังสือ การเข้าร่วม ILL (inter library loan) จะเป็นทางเลือกในการช่วยให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดยืมหนังสือที่ห้องสมุดของเราไม่มีแต่ที่อื่นมีก็ได้ และยิ่งไปกว่านั้นผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่อยู่ใกล้มือได้ (อยู่ใกล้ห้องสมุดไหนก็ไปที่นั่น)

http://www.worldcat.org/

1.5 Reference Statistics Software (เก็บข้อมูลจากบริการตอบคำถามมาแล้วประมวลผมหาความต้องการที่แท้จริงของห้องสมุด)
โปรแกรมเก็บสถิติการอ้างอิงและการตอบคำถามผู้ใช้บริการจะทำให้เราสามารถประเมินความต้องการของผู้ใช้บริการ รวมถึงการนำข้อมูลสถิติมาใช้ในงานบริหารจัดการห้องสมุดได้ เช่น ในช่วงเวลาที่คนใช้ห้องสมุดมากๆ ก็ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่เป็น 2 เท่า

1.6 Library Instruction Request form (แบบฟอร์มขอบรรณารักษ์ไปช่วยในการสอน)
แบบฟอร์มในการขอให้บรรณารักษ์ไปช่วยในการอบรมผู้ใช้บริการเฉพาะด้าน มีไว้ให้อาจารย์ในคณะส่งข้อความให้ห้องสมุดเพื่อขอใช้บริการบรรณารักษ์ไปอบรมผู้ใช้

2 งานบริการผู้ใช้ห้องสมุด ซึ่งมี 7 ตัวอย่างดังนี้

2.1 IM Chat reference (บริการตอบคำถามออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง)
เอา Chat online มาไว้ที่หน้าเว็บไซต์ได้เลย และต้องคอยดูแลและตอบคำถามผู้ใช้บริการด้วยนะ ในช่วงเวลาทำการบรรณารักษ์ห้องสมุดก็จะช่วยกันตอบ แต่ในเวลาหลังเลิกงานห้องสมุดที่นั่นก็จ้างคนมาดูแลและตอบคำถาม (จ้าง OCLC) ครับ ไม่แพงมากถ้าทำความร่วมมือกับที่อื่นๆ ด้วย จากการสำรวจผู้ใช้บริการจะเข้าใช้บริการมากสุดตอนห้าทุ่ม

2.2 Software to control all lab screens (โปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมหน้าจอคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด)
ในช่วงเวลาที่มีการอบรมเพื่อไม่ให้เกิดความวอกแวก ห้องสมุดควรจะมีโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมหน้าจอด้วย ผู้ใช้จะได้จดจ่ออยู่กับหน้าจอที่เราควบคุม โปรแกรมที่คุณ John แนะนำคือ lanschool (www.lanschool.com) เสียตังค์ครับแต่ไม่แพงมาก

www.lanschool.com

2.3 Specialized guides (แนะนำข้อมูลเพื่อช่วยในการสืบค้นเฉพาะเรื่อง)
การจัดทำข้อมูลเพื่อแนะนำการสืบค้นจำเป็นมากครับ เพราะบางครั้งบรรณารักษ์ต้องนั่งตอบคำถามผู้ใช้ซึ่งเป็นคำถามซ้ำไปซ้ำมา ยกตัวอย่าง นาย ก มาขอข้อมูลเรื่องโลกร้อน บรรณารักษ์ก็ชี้ว่าไปหาที่นี่ๆๆๆ แล้วก็จบ นาย ข เดินมาก็ขอข้อมูลโลกร้อน บรรณารักษ์ก็ต้องชี้ว่าไปหาที่นี่ๆๆๆ จบไปอีกหนึ่งคน นาย ค เดินมาก็ขอข้อมูลโลกร้อนอีก บรรณารักษ์ก็ต้องตอบแบบเดิม ดังนั้นในกรณีนี้ถ้าเราจัดทำคู่มือการหาข้อมูลโลกร้อนแล้วเอาขึ้นเว็บ ผู้ใช้ก็จะได้นำคู่มือตรงนี้ไปใช้

2.4 Specialized tutorials (เทคนิคในการสอนใช้ข้อมูลเฉพาะเรื่อง)
รูปแบบการสอนไม่ควรใช้ text ล้วนๆ เหมือนสมัยก่อน เพราะว่ามันน่าเบื่อและทำให้ผู้ใช้บริการไม่สนใจในคำแนะนำนั่นๆ แต่ถ้าเปลี่ยนใหม่มาใช้เทคโนโลยีอย่างพวก flash javascript หรือวีดีโอใน youtube มันก็อาจจะทำให้กระตุ้นในการอยากรู้ของผู้ใช้บริการก็ได้

2.5 RefWorks plug in and workshop (โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างบรรณานุกรมที่ถูกต้อง)
โปรแกรม RefWorks มีลักษณะคล้ายๆ โปรแกรม Endnotes ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถสร้างบรรณานุกรมที่ถูกต้องตามรูปแบบของ APA

2.6 Outreach to international student (แนะนำและสอนการใช้ห้องสมุดให้กับผู้ใช้บริการ)
การแนะนำและสอนการใช้ห้องสมุดให้กับผู้ใช้บริการในเมืองไทยคุณ John บอกไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเห็นว่าทำกันอยู่แล้ว โดยเน้นเด็กมัธยมที่เพิ่งเข้ามหาวิทยาลัย นอกจากนี้คุณ John ย้ำว่าต้องจัดสอนให้ผู้ใช้ทุกกลุ่ม เช่น ผู้ใช้บริการที่เป็นคนต่างชาติในห้องสมุดของเราก็ต้องสอน เพราะการใช้ห้องสมุดในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน

2.7 International partnership (สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานระดับนานาชาติ)
การทำความร่วมมือกับหน่วยงานระดับนานาชาติทั้งรูปแบบที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการจะช่วยให้เกิดการพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงการดูงานเพื่อพัฒนาห้องสมุดได้

จบตัวอย่างของ Best Practice แล้วคุณ John ได้เน้นในเรื่องของ trend ห้องสมุด คือ การบริการเชิงรุก

คุณ John ได้กล่าวถึงข้อดีของการให้บริการเชิงรุกและการให้การศึกษากับกลุ่มผู้ใช้บริการ ทำให้เกิดการเปลี่ยนภาพลักษณ์บรรณารักษ์รุ่นเก่า (โบราณ เคร่งเครียด และชอบทำปากจุ๊ๆ ให้เงียบ) ไปเป็นภาพลักษณ์บรรณารักษ์แนวใหม่ (ทันสมัย เป็นมิตร และเชี่ยวชาญเรื่องการสืบค้น)

เหตุผลที่มีการเปลี่ยนแนวการให้บริการเป็นเชิงรุกในสหรัฐอเมริกา มี 3 อย่างคือ
1 บรรณารักษ์มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีมากขึ้น เช่น ทำบล็อก เล่นเฟสบุ๊ค ใช้ยูทูป
2 บรรณารักษ์มีบทบาทต่อการเรียนการสอนรายวิชาวรรณกรรมและการค้นหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้น
3 บรรณารักษ์ในสหรัฐอเมริกาจบวุฒิโทในสาขาบรรณารักษ์ แต่จบตรีสาขาอื่นๆ ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้น ซึ่งต่างจากไทยที่คนไทยเรียนตรีบรรณฯ ต่อโทก็ยังบรรณ ดังนั้นทำให้ไม่มีความเชี่ยวชาญเรื่องอื่นๆ เลย


การให้บริการเชิงรุกต้องดูอะไรบ้าง

1 สถานที่ในการให้บริการตอบคำถาม ไม่ควรอยู่ไกลหรือลึกลับเพราะผู้ใช้จะไม่กล้าใช้บริการ และที่สำคัญหนังสืออ้างอิงควรอยู่ใกล้ๆกับจุดบริการตอบคำถามด้วย สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างคือจุดบริการตอบคำถามควรมีจุดที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อให้บรรณารักษ์สามารถสืบค้นข้อมูลได้ทันที

2 การแนะนำบริการตอบคำถามให้ผู้ใช้บริการรู้จัก คุณ John ยกตัวอย่างของห้องสมุด California State University ว่า บรรณารักษ์จะเดินถือโน้ตบุ๊คเข้าหาผู้ใช้บริการที่นั่งสืบค้นข้อมูลอยู่ตามโต๊ะ เมื่อบรรณารักษ์สังเกตเห็นว่าผู้ใช้กำลังต้องการค้นข้อมูล บรรณารักษ์ก็จะเดินเข้าไปถามและช่วยทันที คุณ John บอกในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะตกใจ แต่เมื่อทำแบบนี้แล้วคนที่อยู่ใกล้ๆ จะได้ยินว่าบรรณารักษ์ให้การช่วยเหลือเรื่องการสืบค้นได้ ก็อาจจะต่อคิวเพื่อขอรับบริการต่อไป นอกจากนี้การทำป้ายเพื่อแนะนำบริการตอบคำถามก็สมควรที่จะทำในห้องสมุด

ภาพตัวอย่างป้ายบริการตอบคำถามในห้องสมุด

จากการพูดคุยกับกลุ่มนักศึกษาในเรื่องสาเหตุที่ไม่ขอรับบริการตอบคำถามจากบรรณารักษ์เนื่องจาก
– ไม่ยอมรับว่าตัวเองไม่รู้ (ไม่อยากให้คนอื่นคิดว่าโง่)
– เคยเจอประสบการณ์ที่เลวร้ายจากการใช้บริการห้องสมุด
– คิดว่าเปิด google ก็ได้คำตอบ

3 เพิ่มแหล่งบริการค้นคว้าหาข้อมูลใหม่ๆ ในห้องสมุด (แต่ต้องไม่กระทบเรื่องงบประมาณ) เน้นเว็บไซต์ด้านสารสนเทศมากๆ คุณ John แนะนำให้ลองใช้
www.ipl2.org
www.libraryspot.com
www.refdesk.com

4 เพิ่มการศึกษาให้ผู้ใช้บริการมากๆ เมื่อผู้ใช้บริการต้องการรู้มากๆ ก็จะมาที่ห้องสมุดเองนั่นแหละ วิธีการง่ายๆ ให้ทำดังนี้
– จัดปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด
– ขอความร่วมมือจากสาขาวิชาเพื่อให้เด็กๆ มาเรียนรู้เรื่องการค้นข้อมูลในห้องสมุด
– จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop)

เอาเป็นว่าการบรรยายในหัวข้อ “New technology and Best Practice in Library Services” ก็จบที่สไลด์นี้
แต่คุณ John มีเนื้อหาที่น่าสนใจมาให้พวกเราได้ดูอีก คือ ตัวอย่างห้องสมุดที่น่าสนใจ (International Best Pratices of Library Spaces)

ตัวอย่างห้องสมุดที่น่าสนใจ (International Best Pratices of Library Spaces) มี 9 หัวข้อที่ศึกษา ดังนี้

1. The Information Common
3. Social Network
4. Distance learning
5. Virtual Mgmt system
6. Technical Service
7. Marketing / Promotion
8. Reference Info Lit.
9. Library Space Planning

หลังจากจบการบรรยายก็ถึงช่วงเวลาที่ใช้ในการตอบคำถาม มีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย เช่น
1. การมีร้านกาแฟในห้องสมุด – คนจะมากินกาแฟอย่างเดียวหรือไม่ กินเสร็จก็ออกจากห้องสมุด
คุณ John ก็ตอบว่าการศึกษาเรื่องนี้จริงๆ พบว่ายิ่งการมีร้านกาแฟ จะยิ่งทำให้คนเข้าห้องสมุดและอยู่กับห้องสมุดนานขึ้น นอกจากนี้การทำงานร่วมกันระหว่างร้านกาแฟกับห้องสมุดก็จะดีมากๆ เช่น วีดีโอที่เปิดในร้านกาแฟก็อาจจะเป็นวีดีโอที่เกี่ยวกับการแนะนำห้องสมุด กิจกรรมห้องสมุด หรือสาระความรู้จากห้องสมุดก็ได้

2. การเปิดพื้นที่ Comment zone (พื้นที่ที่ให้คนสามารถพูดคุยปรึกษางานกัน) มันเสียงดังนะ มันจะไม่กวนผู้ใช้คนอื่นหรอ
คุณ John ก็ตอบว่าการที่เป็น Comment zone มันก็ต้องเสียงดังอยู่แล้วเป็นเรื่องปกติ แต่เราก็ควรจัดมุม private zone หรือ quiet zone ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้บริการที่ต้องการสมาธิใช้เช่นกัน ซึ่งบางทีเราอาจจะแบ่งพื้นที่ให้ห้องสมุดมีโซนที่เสียงดังสัก 50% ก็ดีนะ เพราะห้องสมุดปกติคือสถานที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ไม่ใช่แค่ที่นั่งอ่านเงียบๆ เหมือนสมัยก่อน

เอาเป็นว่าวันนี้ผมเขียนบล็อกยาวไปหน่อยนะครับหวังว่าคงไม่น่าเบื่อเกินไป
สำหรับคนที่ไม่ได้มาวันนี้หากสงสัยในส่วนไหนก็ฝากคำถามไว้แล้วกันครับ เดี๋ยวจะแวะมาตอบให้
สำหรับเอกสารการบรรยายไม่แน่ใจว่าผู้จัดงานลงไว้ที่ไหนเดี๋ยวจะลองเช็คดูให้นะครับ

บ้านหนังสือ : ห้องสมุดหลังเล็กสำหรับชุมชน

เมื่อวานผมนำรูปภาพของบ้านหนังสือลงใน facebook ส่วนตัวของผม
ทำให้หลายๆ คนสนใจและอยากรู้จัก “บ้านหนังสือ” วันนี้ผมจึงขอนำมาขยายเรื่องลงบล็อก

บ้านหนังสือ ก็คือ ห้องสมุดประเภทหนึ่งที่สังกัดกับกรุงเทพมหานคร โดยห้องสมุดในกลุ่มนี้จะจัดสร้างในชุมชนที่มีผู้อาศัยอยู่จำนวนหนึ่งหรือพื้นที่ใกล้เคียงไม่มีห้องสมุดขนาดใหญ่ของกรุงเทพตั้งอยู่ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในเรื่องการอ่าน กรุงเทพฯ จึงได้จัดทำบ้านหนังสือขึ้นมาเพื่อให้คนเข้าถึงหนังสือมากขึ้น


บริการต่างๆ ในบ้านหนังสือ
– บริการวารสาร นิตยสารและหนังสือพิมพ์
– บริการหนังสือทั่วไป
– บริการดูหนัง ฟังเพลงและอินเตอร์เน็ต
– จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

เวลาทำการของบ้านหนังสือแต่ละที่เหมือนกับห้องสมุดทั่วๆ ไปแหละครับ คือ
เปิดวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 10.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์และวันหยุดพิเศษ

ไอเดียที่ผมชอบมากๆ ของบ้านหนังสือ คือ การนำตู้คอนเทนเนอร์สองตู้มาต่อกัน
ซึ่งมองในแง่งบประมาณและการใช้งาน รวมถึงพื้นที่ในการวาง ผมว่ามันเหมาะสมมากๆ
การมีบ้านหนังสือเยอะๆ ในกรุงเทพจะช่วยให้คนเข้าถึงหนังสือได้ง่ายกว่าการมีห้องสมุดใหญ่ๆ เพียงไม่กี่ที่

ลองดูวีดีโอแนะนำ “บ้านหนังสือ” ที่จัดทำโดย กทม. นะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=OPTjGpr2w0U[/youtube]

ถ้าอยากทราบว่าบ้านหนังสือในกรุงเทพฯ มีอยู่ที่ไหนบ้างสามารถเข้าไปดูได้ที่
http://203.155.220.217/dll/house.html (ปัจจุบันมี 116? แห่งทั่วกรุงเทพฯ)

ก่อนจากกันผมขอแถมภาพถ่ายภายในจาก “บ้านหนังสือสวนป่าเฉลิมพระเกียรติ”

[nggallery id=32]

ปล. ภาพถ่ายบางส่วนผมนำมาจาก http://203.155.220.217/dll/house.html

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุด คือ…

ก่อนถึงวันจันทร์วันที่แสนน่าเบื่อ ผมขอเขียนเรื่องเบาๆ แบบไม่ต้องคิดอะไรมากมายให้เพื่อนๆ อ่านแล้วกัน
เรื่องวันนี้ผมขอตั้งเป็นแบบสอบถามแล้วกัน เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุด คือ…
ว่าเพื่อนคิดว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุดคืออะไร

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมีมากมาย ซึ่งหากห้องสมุดเข้าใจผู้ใช้บริการ
เพื่อนๆ ก็สามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้และปรับปรุงห้องสมุดและดึงดูผู้ใช้บริการได้
ซึ่งจะนำมาซึ่งการพัฒนาห้องสมุดของเพื่อนๆ นั่นเอง

ผมอยากขอความร่วมมือจากเพื่อนๆ (ทุกสาขาวิชาชีพ) ช่วยกันตอบแบบสอบถามนี้ด้วยนะครับ

แบบสอบถาม : ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุด คือ…

[poll id=”19″]

ผมขอตอบประเดิมเป็นคนแรกแล้วกัน …. ผมขอเลือกบรรณารักษ์กับความเอาใจใส่ในงานบริการ
เพราะหากบรรณารักษ์ปรับปรุงตัวเองได้ ตัวบรรณารักษืเองก็จะพัฒนางานต่างๆ ในห้องสมุดไม่ว่าจะเป็น
การสร้างบรรยากาศในการอ่าน การจัดกิจกรรมต่างๆ และบริการด้วยใจ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการพอใจครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดยังไงก็ลองเลือกคำตอบกันดูนะครับ ใครมีความเห็นเพิ่มเติมก็สามารถเสนอได้ครับ

เตรียมสอบข้าราชการบรรณารักษ์ต้องอ่านอะไรบ้าง

ช่วงนี้หลายคนส่งอีเมล์มาถามผมเกี่ยวกับเรื่องการเตรียมสอบบรรณารักษ์ในวงการราชการ
ว่าข้อสอบที่ใช้สอบบรรณารักษ์จะออกเนื้อหาไหนบ้างแล้วจุดไหนน่าจะเน้นเป็นพิเศษ
วันนี้ผมจึงนำเนื้อหาในหนังสือสำหรับเตรียมสอบบรรณารักษ์มาให้ดูว่าเขาเน้นเรื่องไหนบ้าง

สำหรับเนื้อหาในหนังสือเตรียมสอบผมอ่านแล้วก้รู้สึกว่าอาจจะเก่าไปสักหน่อย
และบางเรื่องหาอ่านบนเว็บน่าจะชัดเจนกว่า (ไม่แน่ใจว่าคนที่เขียนหนังสือเล่มนี้จบบรรณารักษ์หรือปล่าว)
แต่ผมก็ขอบคุณในความหวังดีที่นำเนื้อหามาจัดพิมพ์เป็นหนังสือนะครับ

เนื้อหาที่มีการออกสอบ เช่น
1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
– ความหมายของห้องสมุด
– การศึกษากับห้องสมุด
– บทบาทของห้องสมุดโรงเรียน
– วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
– ประโยชน์ของห้องสมุด
– ประเภทของห้องสมุด
– บริการห้องสมุด
– มารยาทการใช้ห้องสมุด
– ลักษณะห้องสมุดที่ดี

2. การบริหารงานห้องสมุด
– ความหมายและประเภทของหนังสือ
– ส่วนประกอบของหนังสือ
– ทรัพยากรห้องสมุด
– การดูแลรักษาหนังสือ
– การใช้ห้องสมุด
– แนวทางในการจัดห้องสมุด
– การจัดหมู่หนังสือ
– การบริหารจัดการห้องสมุด
– สถานภาพของผู้ปฏิบัติงานและวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์
– ลักษณะและบทบาทบรรณารักษ์

3. ห้องสมุดกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
– ISBN พัฒนาการบนโลกดิจิตอล
– ทรัพยากรไอที
– ระบบสารสนเทศ
– เทคโนโลยีสารสนเทศ
– ความหมายของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
– บทบาทภาคีห้องสมุดในยุคดิจิทัล


4. เทคโนโลยีสารสนเทศ

– ทรัพยากรสารนิเทศ
– เทคนิคการอ่าน
– บัตรรายการ


5. การจัดการฐานข้อมูลและการสืบค้นสารสนเทศ

– ความหมายของฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล
– สถาบันบริการสารสนเทศ
– การสืบค้นสารสนเทศและการใช้เครื่องช่วยค้น
– การสืบค้นด้วยระบบโอแพค

นี่ก็เป็นหัวข้อต่างๆ ในหนังสือเล่มที่ผมมีนะครับ เอามาแชร์ให้เพื่อนๆ เตรียมตัวถูก
สำหรับใครที่อยากหาอ่านเล่มนี้ ก็ลองไปเดินดูแถวๆ รามคำแหงนะครับ
แต่ผมว่าดูหัวข้อพวกนี้แล้วค้นบนอินเทอร์เน็ตก็ได้ข้อมูลเช่นกันครับ

เอาเป็นว่าสู้ๆ กันนะครับ

คลิปวีดีโอสอนการจัดห้องสมุดในบ้านของคุณอย่างง่าย

บ้านของเพื่อนๆ มีหนังสือเยอะหรือปล่าว ถ้ามีเยอะอยากจัดให้เป็นห้องสมุดในบ้านหรือไม่
ถ้าอยากผมแนะนำให้ดูคลิปวีดีโอนี้ “คลิปวีดีโอสอนการจัดห้องสมุดในบ้านของคุณอย่างง่ายๆ

ดูคลิปวีดีโอสอนการจัดห้องสมุดในบ้านของคุณอย่างง่ายๆ

ผมขอสรุปเนื้อหาจากวีดีโอนะครับ
การจัดห้องสมุดในบ้านของคุณอย่างง่ายๆ สิ่งที่จำเป็นต่อการจัดการ
1. หนังสือ
2. ทักษะในการจัดการ
3. การกำหนดหมวดหมู่

ส่วนตัวช่วย (ถ้ามีจะดีมาก) คือ โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการห้องสมุดอย่างง่ายๆ

การจัดห้องสมุดในบ้านของคุณอย่างง่ายๆ? แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ (เลือกตามถนัด)
1. Organize by genre (จัดกลุ่มหนังสือออกประเภท) อันนี้เป็นการจัดแบบง่ายที่สุด
วิธีการก็ง่ายๆ เอาหนังสือทั้งบ้านมากองไว้ที่เดียวกันแล้วแยกกลุ่มหนังสือออกเป็นกลุ่มต่างๆ เช่น สารคดี, วรรณกรรม, หนังสืออ้างอิง, หนังสือภาพ (อันนี้แล้วแต่เราจะแบ่ง ซึ่งเราดูเป็นกลุ่มประเภทใหญ่ๆ ของหนังสือ)

2. Organize by library classification (จัดกลุ่มหนังสือตามเนื้อหาหรือหมวดหมู่) อันนี้เน้นตามหลักบรรณารักษ์
วิธีการนี้ต้องอาศัยทักษะของวิชาบรรณารักษ์นิดนึง คือแยกตามหมวดหมู่ของเนื้อหา แล้วเรียงตามหมวดหมู่ ซึ่งเพื่อนๆ สามารถใช้การจัดหมวดหมู่แบบไหนก็ได้ เช่น ดิวอี้ แอลซี ….. โดยดูง่ายๆ ที่หน้า CIP หรือบรรณารุกรมที่หอสมุดแห่งชาติเป็นคนให้มา

3. Organize by function (จัดหนังสือตาม function การใช้งาน) อันนี้เน้นการใช้งาน

วิธีการนี้เหมาะมากๆ สำหรับการใช้งานที่เจาะจง และเฉพาะทาง เช่น เอาหนังสือการปรุงอาหารไว้ในครัว หนังสือคอมพิวเตอร์ไว้ที่โต๊ะคอมพิวเตอร์ วรรณกรรมไว้หัวเตียง อันนี้จัดหนังสือตามสถานที่เป็นหลัก

4. Organize by color (จัดหนังสือตามสีของปก) อันนี้เน้นสวยงาม
วิธีการนี้สำหรับคนที่ชอบความสวยงามเป็นหลักคือการไล่สีของปกหนังสือ สีเหลือง สีแดง สีเขียว แต่เนื้อหาไม่สนใจซึ่งสิ่งที่ได้เป็นแค่ความสวยงามเท่านั้น

เป็นไงกันบ้างครับ การจัดห้องสมุดในบ้านของคุณไม่ใช่เรื่องยากใช่มั้ย
ลองเอาวิธีต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ดู ผมว่าแค่นี้บ้านของคุณก็สามารถเป็นห้องสมุดส่วนตัวได้แล้วครับ
เอาเป็นว่าวันนี้ก็แนะนำแค่นี้ก่อนแล้วกันครับ ไว้วันหลังจะหาคลิปวีดีโอแนวๆ มาแนะนำอีกนะครับ

URL คลิปวีดีโอนี้ http://www.howcast.com/videos/241548-How-To-Organize-a-Home-Library