ไอเดียการจัดต้นคริสต์มาสในห้องสมุดทั่วโลก

ช่วงนี้เทศกาลแห่งความสุขไปไหนก็มีแต่ต้นคริสต์มาสและก็การประดับไฟอันสวยงามหลายที่
วันนี้ผมขอนำเสนอภาพไอเดียห้องสมุดจากทั่วโลกที่มีการตกแต่งห้องสมุดด้วยต้นคริสต์มาสกันนะครับ
(ปีที่แล้วผมนำเสนอเรื่องต้นคริสต์มาสหนังสือ ลองดูที่ เทศกาลคริสต์มาสกับชาวห้องสมุด)

ห้องสมุดแต่ละแห่งที่ผมยกมาต้องบอกก่อนว่ามีความพิเศษจริงๆ
เนื่องในเทศกาลแห่งความสุขนี้ผมจึงขอส่งความสุขให้เพื่อนๆ ด้วยภาพเหล่านี้แล้วกันนะครับ

1. ห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก – Library of Congress
(http://craigcorlphotography.blogspot.com/2010/12/christmas-in-washington-dclibrary-of.html)

2. ห้องสมุดที่โด่งดันในเรื่องกิจกรรม และ Social Media – New York Public Library
(http://www.flickr.com/photos/klingon65/5260913800/)

3. ต้นคริสต์มาส ณ Perth campus library
(http://librarycentraltafe.wordpress.com/2008/11/21/are-you-ready-for-christmas/)

4. การนำหนังสือมาเรียงกันเป็นต้นคริสต์มาส
(http://www.flickr.com/photos/89003088@N00/galleries/72157622833244727) (ลองเข้าไปดูนะมีรูปเยอะดี)

5. ต้นเล็กๆ แต่มีเยอะก็น่าสนใจนะ – Lompoc Library
(http://www.lompocrecord.com/news/local/article_d2f13b82-fea7-11df-8eed-001cc4c002e0.html)

6. ต้นคริสต์มาสแนวสร้างสรรค์จินตนาการ – Holmes County Library
(http://www.holmeslib.org/fol)

เอาเป็นว่าขอฝากไว้เพียงเท่านี้แล้วกันนะครับ ขอให้เพื่อนๆ มีความสุขในช่วงปีใหม่นี้และตลอดไปนะ

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#3

สรุปประเด็นและความคืบหน้าของกลุ่มบรรณารักษ์ไทยในช่วงวันที่ 22-27 ธันวาคม 2553 มาแล้วครับ
ประเด็นที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์มีเพียบเหมือนเคย เราไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง

– 22/12/53 = “ช่วยแนะนำที่ฝึกงานห้องสมุดแบบเจ๋งๆ ให้หน่อย” มีผลสรุปดังนี้
– เพื่อนๆ ช่วยกันแนะนำที่ฝึกงานห้องสมุด ดังนี้ TCDC, Tkpark, หอสมุดแห่งชาติ, ม.ศิลปากร, แบงค์ชาติ, ห้องสมุดมารวย, ห้องสมุดกรมวิทย์, STKS เอาเป็นว่าก็เป็นแนวทางที่ดีนะครับ

– “ความขัดแย้งระหว่างบรรณารักษ์ยุคเก่าที่ไม่ยอมรับไอทีกับบรรณารักษ์ยุคใหม่ที่อะไรๆ ก็ไอที เราจะประณีประนอมยังไง” มีผลสรุปผลดังนี้
– พยายามพูดคุยกันให้มากๆ และคำนึงถึงผู้ใช้บริการ เพราะไม่ว่าจะเป็นวิธีการแบบเก่าหรือใหม่ที่สุดแล้วเราก็ต้องทำให้ผู้ใช้บริการของเราพอใจที่สุด
– ยึดตามแผนและ นโยบายของห้องสมุด ทำงานตามหน้าที่ให้ดีที่สุด
– หาคนกลางที่ช่วยคอยประสานระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่
– เด็กรุ่นใหม่ก็ควรให้ความเคารพผู้ใหญ่หน่อยเพราะว่าเราอยู่ในสังคมไทยก็ทำตามผู้ใหญ่แล้วกัน
– เอาข้อดีข้อเสียของการทำงานมาเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนและเลือกใช้มันให้ถูก

– ร่วมกันแสดงความยินดี สำนักหอสมุด ม.นเรศวร ที่ได้รับรางวัลชมเชย : สถาบันอุดมศึกษา ประเภทรางวัลนวัตกรรมการให้บริการ “การให้บริการห้องสมุดด้วยรูปแบบสมัยใหม่” รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน และรางวัลมาตรฐานศูนย์บริการ/เคาน์เตอร์บริการประชาชน ประจำปี 2553 จากสำนักงาน ก.พ.ร.

– “ความเหมือนและความต่างระหว่าง Wikileaks และ Facebook” มีดังนี้
– สิ่งที่เหมือนกัน : Wikileaks และ Facebook มีจุดมุ่งหมายเพื่อแบ่งปันเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานหรือเรื่องส่วนตัว
– สิ่งที่แตกต่างกัน : Wikileaks เน้นไปที่การเผยแพร่ความลับทางการฑูตและความลับของรัฐบาลทั่วโลก ส่วน Facebook เน้นการแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัว ความรู้ ความบันเทิงระหว่างกลุ่มสมาชิก

– “หนังสือหมวดใดในห้องสมุดของพวกคุณมีผู้ใช้บริการอ่านมากที่สุด…” มีผลสรุปดังนี้
– เพื่อนๆ ช่วยกันสรุปซึ่งประกอบด้วยหมวดนวนิยาย เรื่องสั้น วรรณกรรมเยาวชน

– “บรรณารักษ์ วันคริสมาส และเทศกาลปีใหม่ เกี่ยวข้องกันหรือไม่อย่างไร? แล้วห้องสมุดมีจัดกิจกรรมอะไรที่เป็นพิเศษหรือไม่” มีผลสรุปดังนี้
– ห้องสมุดแม่โจ้ จัดกิจกรรม ส่งความสุข (ส.ค.ส.)? โดยแจกโปสการ์ดให้ผู้ใช้บริการ
– มอ.ปัตตานีจัดกิจกรรมคริสมาสต์พาโชคค่ะ ให้ผู้ใช้ตอบคำถามง่าย ๆ เกี่ยวกับบริการของห้องสมุด เมื่อตอบถูกแล้ว ให้หยิบฉลากรางวัลซึ่งแขวนไว้ที่ต้นคริสมาสต์
– งานวารสาร ห้องสมุด มรม. จัดกิจกรรมแฟนพันธุ์แท้ สะสมแต้มรับสิทธิจับฉลากปีใหม่

– “เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะทำกิจกรรม KM สำเร็จโดยไม่ยึดติดกับ Model ใดๆ”? มีผลสรุปดังนี้
– การมีโมเดลจะทำให้ผู้ปฏิบัติรู้ทิศทางและมุ่งไปด้วยกันทั้งองค์กร
– การไม่ยึดโมเดลก็ไม่มีผลถ้าเรามีวิธีการแลกเปลี่ยนหรือจัดการความรู้จะมีหรือไม่มีก็ไม่มีผล
– KM เป็นเรื่องที่ต้องเปิดใจ ให้ แบ่งปัน เรียนรู้


– วิจารณ์บทความเรื่อง “บรรณารักษ์แบบไหน? ที่สังคมไทยควรมีในห้องสมุด” มีผลสรุปดังนี้

– คนเขียนก็มีมุมมองเรื่องบรรณารักษ์และห้องสมุดในมุมมองแบบนั้นอยู่แล้ว ไม่ต้องไปสนใจหรอก
– การที่มีคนเขียนแบบนี้ก็ดีอีกแบบ คือ มีคนช่วงเป็นกระบอกเสียงให้พวกเรา และกระตุ้นให้รัฐบาลได้ตระหนักในการพัฒนาห้องสมุดสักที
– คนเราย่อมมีมุมมองคนแบบเราก็อาศัยมุมมองเหล่านี้มาปรับปรุงและพัฒนาตัวเองได้

– แนะนำเว็บไซต์ที่น่าสนใจ เช่น
World Public Library Association – http://worldlibrary.net/
World eBook Fair – http://www.worldebookfair.org/
“เปิดโลกการอ่านด้วยวรรณกรรมระดับโลก” ครั้งที่2 ปี2554 – http://www.nanmeebooks.com/reader/news_inside.php?newsid=761
ทำความรู้จักหลักสูตรแบบ 4+2 ของกระทรวงศึกษาธิการ – http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=21795&Key=news_chaiyos
ห้องสมุดดิจิตอลแหล่งรวมหนังสือดีสำหรับเด็ก – http://en.childrenslibrary.org/
ห้องสมุดดิจิทอล World Digital Library – http://www.wdl.org/en/

– ประชาสัมพันธ์งานสัปดาห์ห้องสมุดประจำปีการศึกษา 2553 ระหว่างวันที่ 12-14 มกราคม 2554 ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต

– MV เพลง “บุ๋ง” ซิงเกิ้ลที่สองจาก มารีญา ถ่ายในห้องสมุดด้วย ไปลองดู http://www.youtube.com/watch?v=UYn2bI1J65Q

เอาเป็นว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีเรื่องคร่าวๆ แบบนี้แหละครับ
ไม่แน่ใจว่ายาวไปหรือปล่าว ผมว่ากำลังดีนะ อาทิตย์ก่อนที่ยาวเพราะว่าดองไว้เกือบสองอาทิตย์
อาทิตย์นี้เลยต้องรีบเขียนเพราะจะได้ประเด็นและใจความสำคัญเต็มที่ ไม่อยากเน้นน้ำเยอะเดี๋ยวจะอ่านแล้วเบื่อซะก่อน

ปล. link ของบล็อกผมที่นำมาโพสที่นี่ผมไม่นำมาลงสรุปนะครับ เพราะเพื่อนๆ คงได้อ่านกันแล้ว

มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงครามกำลังรับบรรณารักษ์

บรรณารักษ์ช่วยหางานขอแนะนำงานบรรณารักษ์อีกงานหนึ่ง เป็นงานบรรณารักษ์ในมหาวิทยาลัยอีกตามเคย
แต่คนที่จะสมัครต้องเป็นคนที่อยากทำงานในต่างจังหวัดนะครับ เพราะเป็นงานที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก

รายละเอียดงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
ลักษณะงาน : เจ้าหน้าที่ประจำตามสัญญา
จำนวน : 1 อัตรา
เงินเดือน : 7,940 บาท
สถานที่ : สำนักงานประสานการจัดบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

หลังจากที่อ่านเอกสารรับสมัครงานบรรณารักษ์ของที่นี่อยู่นาน พบว่าเอกสารรับสมัครงานที่นี่มีรายละเอียดที่ชัดเจนดี ลองดูตามนี้เลยนะครับ
http://www.psru.ac.th/e-Job/detail.php?q=3

ลักษณะงานที่ทำมีดังนี้
ทำงานด้านบรรณารักษ์ เช่น การจัดหาหนังสือเข้าห้องสมุด ให้เลขหมู่หนังสือ ทำดรรชนี บรรณานุกรม สารสังเขป กฤตภาค เก็บสถิติต่างๆ ให้คำแนะนำ และบริการในการค้นหาหนังสือ ฯลฯ

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ

– ความรู้ด้านบรรณารักษ์
– ความรู้ที่เกี่ยวกับ ก.พ.
– ความรู้เกี่ยวกับข่าวสารเหตุการณ์ในปัจจุบัน
– ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
– ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล
– ความรู้เกี่ยวกับการประสานงาน

เอาเป็นว่าดูจากหน้าที่และความรู้ต่างๆ ของตำแหน่งนี้แล้ว ผมมองว่าเป็นงานโดยรวมของห้องสมุดและบรรณารักษ์
เอาเป็นว่าการทำงานห้องสมุดในมหาวิทยาลัยก็แบบนี้แหละครับ เอาเป็นว่าน่าสนใจดีนะ

วันและเวลาที่รับสมัครเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2553 ถึง 7 มกราคม 2554 ประกาศผลสอบภายในวันที่ 18 มกราคม 2554

การพิจารณาในการรับสมัครมีเกณฑ์ง่ายๆ คือ การสอบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
– วิชาทั่วไป
– วิชาเฉพาะด้าน
– การสัมภาษณ์

สำหรับคนที่สนใจก็สามารถติดต่อไปได้ที่ กองบริหารงานบุคคล ชั้น 2 อาคารทีปวิชญ์ ส่วนทะเลแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
หรือดูรายละเอียดต่อได้ที่ http://www.psru.ac.th/e-Job/detail.php?q=3

ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ที่สมัครทุกคนนะครับ

สวนสุนันทากำลังรับสมัครบรรณารักษ์

บรรณารักษ์ช่วยหางานกลับมาพบกับเพื่อนๆ ที่ต้องการหางานอีกแล้วนะครับ
โดยวันนี้ผมมีงานบรรณารักษ์มานำเสนอซึ่งงานนี้มาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

รายละเอียดงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง : ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
ลักษณะงาน : พนักงานมหาวิทยาลัยประเภทชั่วคราว
จำนวน : 1 อัตรา
เงินเดือน : 7,940 บาท + ค่าครองชีพ 1,500 บาท + ค่าโอที
สถานที่ : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเป็นงานที่น่าสนใจมากครับ
เพราะมีการวางแผนงานและแบ่งหน้าที่ที่ค่อนข้างชัดเจน
ตำแหน่งงานนี้เป็นตำแหน่งในสังกัดงานเทคนิคของห้องสมุดนะครับ

คุณสมบัติเบื้องต้นของตำแหน่งนี้
– วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการจัดการทั่วไป หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวขอ้ ง
– มีความรู้ความสามารถทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรม Microsoft office เป็นอย่างดี
– มีความสนใจในงานเอกสารและงานห้องสมุด
– มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
– สามารถปฏิบัติงานล่วงเวลา เสาร์ และอาทิตย์ได้

จากคุณสมบัติที่กล่าวมาผมว่าไม่ได้ยากเกินไปสำหรับน้องๆ ที่เพิ่งจบใหม่เลย หรือคนที่เคยทำงานห้องสมุดและต้องการเปลี่ยนงานผมว่าคุณผ่านเกณฑ์เหล่านี้แน่นอนครับ เอาเป็นว่าก็ต้องลองไปสมัครกันดูนะครับ

สมัครผมว่าหลายๆ คนไม่กังวลหรอกแต่จะไปกังวลเรื่องที่สอบเข้ามากกว่า
ตำแหน่งงานนี้ต้องสอบด้วยนะครับ ดังนั้นเพื่อนๆ ที่อยากจะสมัครก็เริ่มเตรียมตัวอ่านหนังสือกันได้แล้วนะครับ

งานนี้รับสมัครตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม – 29 ธันวาคม 2553 นะครับ
และสอบคัดเลือกวันที่ 5 มกราคม และจะประกาศผลวันที่ 9 มกราคม 2554 นะครับ

สำหรับคนที่สนใจก็สามารถติดต่อไปได้ที่ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคาร 31 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หรือดูรายละเอียดต่อได้ที่ http://www.ssru.ac.th/UserFiles/File/regiss.pdf

ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ที่สมัครทุกคนนะครับ

แวะมาชมห้องสมุดศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร

วันนี้มีโอกาสมาเดินเล่น ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ เลยขอแวะมาชมห้องสมุดของที่นี่สักหน่อย
ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรมแห่งนี้ตั้งอยู่ ณ ชั้นใต้ดินของ “หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร”


เอาเป็นว่าผมขอนำเสนอข้อมูลตามสไตล์บรรณารักษ์ที่ชอบเที่ยวห้องสมุดแล้วกัน ดังนี้

Collection หลักๆ ของหนังสือที่นี่มีดังนี้
– หนังสือทั่วไป
– นวนิยาย
– เรื่องสั้น
– พระราชนิพนธ์ (ไม่ให้ยืม)
– หนังสืออ้างอิง
(ไม่ให้ยืม)
– หนังสือด้านศิลปะ (Collection หลักในห้องสมุดแห่งนี้)
– หนังสือเด็ก (มีมุมพิเศษที่แยกออกจากโซนปกติ)

การจัดกิจกรรมของห้องสมุดแห่งนี้ก็จะเน้นในเรื่องของกิจกรรมด้านศิลปะเป็นหลัก (เข้ากับสถานที่)
เช่น การทำที่คั่นหนังสือ การทำโปสการ์ด ….. โดยกิจกรรมเหล่านี้เด็กๆ จะชอบมากๆ

นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมด้านไอทีบ้าง เช่น ไอทีเพื่อคนรุ่นใหม่ ฯลฯ

การเข้าใช้บริการห้องสมุดของที่นี่เปิดให้ทุกคนสามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้ตลอด
แต่สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ห้องสมุดที่นี่ก็ขอความกรุณาให้ลงชื่อเข้าใช้ด้วย

ที่นั่งในห้องสมุดแห่งนี้มีเยอะมากและเลือกนั่งได้หลายแบบ เช่น โต๊ะอ่านเป็นกลุ่ม ที่นั่งแบบโซฟา ฯลฯ
จำนวนที่นั่งผมนับคร่าวๆ จำนวนเกือบๆ 100 ที่นั่ง
นับว่าเยอะดีครับ

บรรยากาศภายในก็เงียบสงบดี เหมาะสำหรับคนที่ต้องการใช้สมาธิเพื่อการอ่านหนังสือ
นอกจากหนังสือที่ให้บริการแล้วที่นี่ยังมีคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการด้วยนะครับ

การสมัครสมาชิกก็เหมือนกับห้องสมุดในกรุงเทพแห่งอื่นๆ แหละครับ (สังกัดเดียวกัน)
คือสมัครสมาชิกปีนึง 10 บาท และค่ามัดจำหนังสือ 40 บาท รวมๆ แล้ว 50 บาทครับ
ผมว่าคุ้มค่ามากๆ ยืมหนังสือได้ 2 เล่ม 1 สัปดาห์ หากคืนเกินกำหนดก็จะปรับเล่มละ 1 บาทต่อ 1 วัน

ที่นี่มี WIFI ให้ใช้ด้วยนะครับ แต่ต้องมาแจ้งที่เคาน์เตอร์บริการทุกครั้ง
เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนรหัสสำหรับการเข้าใช้ทุกวัน
โดยเหตุผลที่ต้องเปลี่ยนทุกวันเนื่องจากต้องการเก็บสถิติการใช้งาน Wifi ในห้องสมุดครับ

ห้องสมุดแห่งนี้มี facebook ด้วยนะ ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.facebook.com/artlibrary

เอาเป็นว่าหากใครว่างๆ และแวะมาเที่ยวแถวๆ นี้ ผมก็ขอแนะนำห้องสมุดแห่งนี้ไว้เป็นที่อ่านหนังสือดีๆ อีกที่หนึ่ง

สำหรับการเดินทางมาที่นี่ เพื่อนๆ สามารถดูคำแนะนำด้านล่างนี้ได้เลย
“หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร” ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกปทุมวัน ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน 10330 เปิดให้บริการในวันอังคาร-วันอาทิตย์ ในเวลา 10.00-21.00 น. มีรถประจำทางสาย 11, 15, 16, 21, 25, 29, 34, 36, 47, 50, 54, 79, 93, 141, 204, 501 ผ่าน และสามารถนั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ หรือสถานีสยาม แล้วเดินมาตามทางเชื่อมเข้าสู่อาคารหอศิลปวัฒนธรรมฯ ได้เลย

ชมภาพบรรยากาศภายในห้องสมุดได้เลยครับ (ภาพบางส่วนผมนำมาจาก facebook ของห้องสมุดนะครับ)

[nggallery id=34]

แนวโน้มของ Social Media กับงานห้องสมุดในปี 2011

วันนี้เข้าไปอ่านบล็อกของกลุ่ม Social Network Librarian มาพบบทความที่น่าสนใจ
โดยบทความเรื่องนี้จะชี้ว่า Social Media กับงานห้องสมุดในปีหน้าจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร

ต้นฉบับเรื่องนี้ชื่อเรื่องว่า “Social Media and Library Trends for 2011” จากบล็อก socialnetworkinglibrarian

เมื่อปีก่อนผมได้เขียนเกี่ยวกับเรื่อง Trend ด้านเทคโนโลยีของห้องสมุดในปี 2010 มาแล้ว
ลองอ่านดูที่ “ห้องสมุดกับทิศทางในการใช้ Social Networking ปีหน้า” ซึ่งประกอบด้วย
1. Mobile applications.
2. E-book readers.
3. Niche social networking.
4. Google Applications.
5. Google Books.
6. Library socialized.
7. Open source software.
8. Podcasting and ItunesU.
9. Social networking classes for patrons.
10. Library Marketing.

ในปี 2011 บล็อก socialnetworkinglibrarian ก็ได้บอกว่า Trend ในปี 2011 มีดังนี้
1. Mobile applications
2. QR Codes
3. Google Applications
4. Twitter
5. Virtual reference
6. Collaboration between librarians
7. Teaching social media classes
8. Using social media for library promotion

จะสังเกตได้ว่า บางอย่างยังคงเดิม เช่น Mobile applications, Google Applications, Collaboration, Teaching social media classes และ library promotion ซึ่งแนวโน้มของสิ่งเหล่านี้มันก็บ่งบอกว่าเทคโนโลยียังคงปรับตัวเองไปเรื่อยๆ เช่นกัน ปีที่แล้วเราอาจจะพูดเรื่องการสร้างรูปแบบของเว็บไซต์ห้องสมุดในแบบที่ใช้ในมือถือ ปีนี้ผมมองในส่วนของเรื่องโปรแกรมห้องสมุดที่หลายๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น เอาเป็นว่าก็เป็นสิ่งที่น่าติดตาม

ส่วนตัวใหม่ๆ ที่เข้ามาในปีนี้ เช่น QR Codes, Twitter, Virtual reference จริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้ใหม่ในวงการไอทีหรอกครับ แต่ปีที่ผ่านมาจากการประชุมหลายๆ งานที่จัดได้พูดถึงเรื่องเหล่านี้มากขึ้น ปีก่อนเราพูดกันในภาพรวมของ social network โดยเฉพาะ Facebook มาปีนี้ Twitter มาแรงเหมือนกัน ห้องสมุดก็ต้องตามสิ่งเหล่านี้ให้ทันด้วย

ผมขอแสดงความคิดเห็นอีกเรื่องนึงคือ E-book readers ซึ่งจริงๆ ผมก็ยังมองว่ามันเป็น trend อยู่
เนื่องจากราคาที่ถูกลงจนสามารถหาซื้อมาใช้ได้แล้ว แต่ข้อจำกัดอยู่ที่หนังสือภาษาไทยอาจจะยังมีไม่มาก
ผมก็ฝากบรรดาสำนักพิมพ์ในไทยด้วยนะครับว่า ถ้าสำนักพิมพ์ต่างๆ ออกหนังสือมาทั้งสองแบบ (ตัวเล่ม + E-book)

เป็นไงกันบ้างครับกับ Trend ด้าน Social Media ในวงการห้องสมุด
เพื่อนๆ คงเห็นภาพกว้างแล้วแหละ ลองแสดงความคิดเห็นมากันหน่อยครับว่าเพื่อนๆ เห็นต่างจากนี้อีกมั้ย
แล้วมี trend ไหนอีกบ้างที่ห้องสมุดของพวกเราต้องมองตาม…

คำว่า CYBRARIAN ย่อมาจากอะไร

วันนี้นั่งทำอะไรเพลินๆ เลยขอนำคำศัพท์ด้านบรรณารักษ์มาถอดเป็นตัวอักษรสักหน่อย
เรื่องแนวๆ แบบนี้ผมเคยเขียนแล้ว เช่น รู้มั้ยว่า LIBRARY ย่อมาจากอะไร (ลองอ่านย้อนดู)
ศัพท์ที่ผมจะนำมาถอดความ คือ คำว่า “CYBRARIAN” หรือ “บรรณารักษ์ยุคใหม่”

CYBRARIAN มาจากคำว่า Cyber + Librarian
ภาษาไทยเมื่อแปลออกมาอาจจะเรียกได้ว่าเป็น
– บรรณารักษ์แห่งโลกคอมพิวเตอร์
– บรรณารักษ์แห่งโลกดิจิตอล
– บรรณารักษ์ยุคใหม่
– บรรณารักษ์แห่งโลกออนไลน์

แต่การจะเป็นบรรณารักษ์รุ่นใหม่ได้ต้องเรียนรู้อะไรบ้างหล่ะ
เอาเป็นว่าผมขอแทรกความคิดที่ได้จากตัวอักษร C-Y-B-R-A-R-I-A-N ดังนี้

ปล. ไม่มีตำราที่เขียนเรื่องนี้นะครับการถอดตัวอักษรออกมาเป็นไอเดียที่ผมคิดเอง
เพื่อนๆ อาจจะคิดและต่อยอดเป็นคำอื่นๆ ได้อีก ซึ่งผมก็ไม่ได้สงวนเอาไว้นะ อิอิ

CYBRARIAN ย่อมาจาก
C – Creative, Cyber, Collaboration (ความคิดสร้างสรรค์, โลกไซเบอร์, ทำงานร่วมกัน – มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานและรู้จักหาวิธีในการแก้ไขปัญหา ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี และทำงานกันเป็นทีม)
Y – You / USER (ผู้ใช้บริการ – เข้าใจและรู้จักความต้องการของผู้ใช้บริการของห้องสมุด)
B – Brainstorm, Book, Beyond (ระดมความคิด, หนังสือ, ก้าวหน้า – ทำงานกันเป็นทีมช่วยกันเสนอความคิดเห็น และพัฒนาห้องสมุดให้ก้าวหน้าต่อไป)
R – Reference (ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า – บริการด้านสารสนเทศให้ผู้ใช้บริการ)
A – Advice (คำแนะนำ – ให้คำแนะนำผู้ใช้บริการและผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือได้)
R – Read, Report (อ่าน, รายงาน – รักการอ่าน และนำเสนอได้ รายงานเป็น)
I – Idea, IT, Internet (ไอเดีย, ไอที, อินเทอร์เน็ต – ค้นหาไอเดียใหม่ๆ ทำงานด้วยไอที และเพิ่งพาอินเทอร์เน็ต)
A – Answer (คำตอบ – มีคำตอบในทุกเรื่องที่ผู้ใช้บริการถาม)
N – Nothing Impossible (ไม่มีสิ่งใดที่เป็นไปไม่ได้ – ทำได้ทุกอย่าง ไม่ได้ก็เรียนรู้เอา)

เอาเป็นว่าตัวอักษรทั้งหมดคือความรู้ ความสามารถและทักษะที่บรรณารักษ์ยุคใหม่ควรรู้
ตัวอักษรที่ผมยังคงเน้นย้ำคือ Y (ไม่ได้หมายถึงชื่อผมนะ) นั่นคือ? User หรือผู้ใช้บริการ
หัวใจสำคัญไม่ว่าเราจะเป็น Librarian หรือ Cybrarian สิ่งที่เราต้องทำคือ ทำเพื่อผู้ใช้บริการ

ก็ขอฝากไว้แค่นี้แล้วกันครับวันนี้ สำหรับใครที่ได้อักษรย่อแปลกๆ ก็สามารถนำมาเล่าสู่กันฟังได้ที่ ช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้นะครับ

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#2

วันนี้ผมกลับมาแล้วครับ กับการสรุปความคืบหน้าและประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นะครับ
เรื่องราวในช่วงวันที่ 11 ? 21 ธันวาคม 2553 มีเรื่องที่น่าสนใจในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย ไปดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงการบรรณารักษ์ไทยที่น่าสนใจ มีดังนี้

– 11/12/53 = “เพื่อนๆ คิดยังไงถ้าหอสมุดแห่งชาติควรจะต้องทำการตรวจสอบสถานภาพหนังสือทุกเล่มใหม่ (Inventory)” มีผลสรุปดังนี้
– ควรทำการตรวจสอบข้อมูลแบบนี้ทุกปี เพื่ออัพเดทข้อมูลให้ตรงกับความเป็นจริง
– การที่ไม่ได้ทำนานจะทำให้ต้องใช้เวลามากในการปฏิบัติ แต่หากเราทำอย่างสม่ำเสมออยู่แล้วจะทำให้ใช้เวลาน้อยลง
– ถ้าหนังสือมันเยอะมากจริงๆ ก็สามารถทำโดยการแบ่ง collection แล้วค่อยๆ ไล่ทำก็ได้

– 13/12/53 = “ห้องสมุดประชาชนกับการเก็บค่าใช้บริการประชาชนเหมาะสมเพียงใด” มีผลสรุปดังนี้
– เก็บได้แต่ต้องไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เงินที่เก็บเอาไปพัฒนาและซ่อมแซมห้องสมุด
– ทำเครือข่ายให้ห้องสมุด สนับสนุนการสร้าง friend of Library

– จากบทความ “ว่าไงนะ บรรณารักษ์ตายแล้ว?” ที่ผมเขียนลงในกรุงเทพธุรกิจ บรรณารักษ์ได้ให้ความเห็นดังนี้
– บรรณารักษ์เปลี่ยนบทบาทและให้ความสำคัญกับการเป็นตัวกลางในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการ
– ปรับตัวและปรับใจยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยอาจจะเรียนรู้จากผู้ใช้บริการก็ทำได้
– โดนใจ “บรรณารักษ์บางทีควรที่จะมีประตูหลายๆ บาน เพื่อมีช่องทางการเปิดรับที่หลากหลายและที่สำคัญต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลง”
– เห็นด้วย “เราคงต้องเป็นบรรณารักษ์ฟิวชั่น หรือบรรณารักษ์มิกซ์แอนแมช ระหว่างความเก่า ภาวะปัจจุบันและอนาคต”

– “ภาพยนตร์ หรือวรรณกรรมเรื่องใดบ้างครับที่กล่าวถึงห้องสมุดบ้าง”
– เพื่อนช่วยกันแนะนำซึ่งได้แก่ Harry Potter, librarian, My Husband 2, กฏหมายรักฉบับฮาร์วาร์ด, นิยายเรื่องรักร้อยพันใจ, การ์ตูน R.O.D. (Read or Die), ห้องสมุดสุดหรรษา, The mummy, The Shawshank Redemption, The Librarian quest for the spear, Heartbreak Library, จอมโจรขโมยหนังสือ, Beautiful life, NIGHT AT THE MUSEUM, Whisper of the heart, เบญจรงค์ 5 สี

– “ในการพัฒนาห้องสมุดเฉพาะ (และต้องทำงานคนเดียว) จะพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน การอ่านอย่างไร ให้เข้าถึงผู้ใช้มากที่สุด” มีผลสรุปดังนี้
– ส่งเสริมผ่าน Web 2.0 เช่น Social Network ควบคู่ไปกับ ส่งจดหมายข่าวผ่านช่องทาง Email
– กลยุทธ์ ปากต่อปาก (ของดีต้องบอกต่อ)
– หิ้วตะกร้าใส่หนังสือ นิตยสารไปส่งถึงที่ (ประมาณ book delivery)

– “การเก็บสถิติห้องสมุด มีประโยชน์อย่างไร และ เรื่องใดที่ควรเก็บสถิติ ?” มีผลสรุปดังนี้
– สถิติการยืม+การใช้ภายใน (in house use) เพื่อดูว่าหนังสือเล่มใดที่มีการใช้น้อยมากๆ จะได้หาทางประชาสัมพันธ์
– “ใช้เป็นหลักฐานในการสนับสนุนการทำงานทุกอย่าง เช่น การจัดเจ้าหน้าที่ให้บริการตามจุดต่างๆ การเคลื่อนย้ายที่มีเสียง การจัด event การจัดโปรโมชั่น การประชุมของเจ้าหน้าที่ ฯลฯ”
– แนะนำให้อ่านเรื่องนี้ที่ http://www.thailibrary.in.th/2010/11/25/new-technology-and-best-practice-in-library-services/ และ http://www.thailibrary.in.th/2010/11/29/library-stat/

– “โครงการไทยเข้มแข็งที่ช่วยยกระดับครูบรรณารักษ์ของห้องสมุดโรงเรียน” มีหลักการคือ สพฐ. ให้ภาควิชาบรรณารักษ์ อักษรจุฬาฯ ทำคู่มืออบรม เชิญอาจารย์จากภาควิชาบรรณารักษ์ทั่วประเทศมาอธิบายวิธีใช้คู่มือ แล้วให้กลับไปจัดอบรมและเป็นวิทยากรในพื้นที่ของตัวเอง

– กระทู้นี้น่าคิด “เมื่อไหร่บรรรณารักษ์จะมี “ใบประกอบวิชาชีพ”” มีผลสรุปดังนี้
– อยากให้มี ยกระดับมาตราวิชาชีพ และการยอมรับของสังคม ให้เห็นความสำคัญของวิชาชีพบรรณารักษ์ให้มากขึ้น
– จะสามารถทำได้ถ้ามี พรบ.สภาวิชาชีพบรรณารักษ์ ซึ่งต้องปรึกษานักกฎหมาย
– ข้อจำกัดและอุปสรรค คือ ต้องหาองค์กรที่มารับรองวิชาชีพของเราด้วย ซึ่งองค์กรนั้นจะต้องเข้มแข็งเช่นกัน
– น่าสนใจ “ทาบทามผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพบรรณารักษ์ ทาบทามนักกฎหมาย แล้วก็ร่าง พรบ.ร่วมกัน ระหว่างนั้นให้ศึกษาแนวทางในการจัดตั้งสภาบรรณารักษ์ มารองรับ พรบ.”

– หน่วยงานไหนทำ Institutional Repository คลังปัญญาของตัวเองบ้าง
– ผลสรุปจากเพื่อนๆ เสนอมาหลายหน่วยงาน ได้แก่ ม.สงขลานครินทร์, ม.ศรีปทุม, ม.ขอนแก่น, ม.จุฬา, กรมวิทยาศาสตร์บริการ

– “สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยี RFID ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยหน่อยครับ ว่าขณะนี้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยใดใช้เทคโนโลยีแล้วบ้าง และมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร” มีผลสรุปดังนี้
– หน่วยงานที่มีการใช้งาน เช่น ม.พระจอมเกล้าลาดกระบัง, ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาฯ, ม.รังสิต, ห้องสมุดแบงก์ชาติ, สำนักวิทยบริการ มรภ.พิบูลสงคราม
– ใช้เพื่อตรวจหาหนังสือที่วางผิดที่ผิดทาง, ใช้ตอนทำ inventory, ให้บริการยืมคืนอัตโนมัติ
– ข้อเสียส่วนใหญ่มาจากเรื่องของเทคนิคมากกว่า บางแห่งเจอในเรื่อง server ล่ม
– แนะนำให้อ่าน http://www.student.chula.ac.th/~49801110/

– โปรแกรมเลขผู้แต่ง น่าเอาไปใช้ได้ ไม่ต้องเปิดหนังสือ http://www.md.kku.ac.th/thai_cutter/

– ภาพถ่ายของห้องสมุดการรถไฟฯ เพื่อประชาชนจังหวัดหนองคาย เป็นที่ชื่นชอบของเหล่าบรรณารักษ์มากๆ

– แนะนำ Facebook ของศูนย์ความรู้กินได้ http://www.facebook.com/kindaiproject

– วีดีโอของรายการเมโทรสโมสรมาเยี่ยมชมห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี http://www.youtube.com/watch?v=DzZqyVzCwtw

– ตัวอย่างการทำวีดีโอเปิดตัวศูนย์ความรู้กินได้ http://www.youtube.com/watch?v=cwyLMRwCdis

– กระทู้ยอดฮิตและผมต้องยกนิ้วให้มีสองเรื่องครับ โดยเรื่องแรกเป็นเรื่องที่ผมก็ลืมคิดไปในช่วงแรก คือ การแนะนำตัวว่าแต่ละคนทำงานที่ไหนหรือเรียนที่ไหน ส่วนเรื่องที่สองมาจากกระทู้ของน้องอะตอมในเรื่องครูบรรณารักษ์ที่มีหลายๆ คนแสดงความเห็น เอาเป็นว่าอันนี้ต้องไปอ่านกันเองนะครับไม่อยากสรุปเพราะกลัวจะทำให้เกิดการแตกแยก อิอิ เอาเป็นว่าอ่านกันเองมันส์กว่าครับ

สำหรับอาทิตย์นี้ผมต้องขออภัยในการอัพเดทล่าช้ามากๆ นะครับ เนื่องจากผมไม่มีเวลาในการเขียนบล็อกเลย
เอาเป็นว่าวันนี้บล็อกอาจจะยาวไปมาก แต่คร่าวหน้าสัญญาว่าจะอัพเดทให้ตรงเวลานะครับ

ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่มีส่วนร่วมในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นะครับ

เข้าร่วมกลุ่มกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ได้ที่ http://www.facebook.com/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1

วีดีโอเมื่อบรรณารักษ์กลายเป็นมนุษย์ดัดแปลง Cybrarian

หายไปจากบล็อกหลายวัน วันนี้ผมกลับมาแล้ว หลังจากที่ยุ่งๆ กับงานของตัวเองมาหลายวัน
วันนี้ผมไปบรรยายที่โรงเรียนนานาชาติบางกอกพัฒนามาด้วยแหละ แต่เอาไว้เล่าวันหลังนะ
วันนี้ผมขอเสนอวีดีโอ project ลับของหน่วยงานแห่งหนึ่ง ชื่อรหัสลับว่า “Cybrarian”

ไม่ต้องตกใจหรอกครับ คลิปวีดีโอนี้ไม่ใช่คลิปวีดีโอที่เป็นเรื่องจริงหรอกครับ
แต่เป็นเรื่องที่สร้างขึ้นมา เพื่อสร้างความบันเทิง (บันเทิงจริงหรอ) ในวงการห้องสมุด

ไปดูวีดีโอกันเลย

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=plCZCvqgjG4[/youtube]

หลายๆ คนเข้าใจว่า Cybrarian คือ บรรณารักษ์หุ่นยนต์, บรรณารักษ์สมองกล
ดังนั้นคลิปนี้จะออกมาในรูปแบบที่บรรณารักษ์ถูกดัดแปลงเป็นมนุษย์หุ่นยนต์ซะงั้น

Cybrarian ในแบบที่ผมอยากให้เป็น คือ บรรณารักษ์ที่มีทักษะและความรู้ด้านไอที ความคิดสร้างสรรค์ สื่อสังคมออนไลน์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ครับ ลองอ่านได้ที่ บรรณารักษ์ยุคใหม่สไตล์ Cybrarian

เอาเป็นว่า วีดีโอตัวนี้ดูไปก็ลุ้นไปใช่มั้ยครับ สนุกและตื่นเต้นแบบนี้ ผมยกนิ้วให้เลย
แต่อย่าเข้าใจผิด นึกว่าผมอยากให้บรรณารักษ์เป็นแบบนี้นะครับ ไม่เอาครับแบบนี้
ผมอยากให้บรรณารักษ์ทำงานอย่างมีชีวิตชีวามากกว่าการเป็นหุ่นยนต์ที่เก่งแต่ไร้ชีวิตชีวา

เพื่อนๆ คิดเหมือนผมมั้ย

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#1

วันนี้ผมขอมาสรุปความคืบหน้าและประเด็นต่างๆ ที่มีการพูดคุยกันในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นะครับ
เรื่องราวในสัปดาห์แรก (2 – 10 ธันวาคม 2553) เปิดตัวด้วยความงดงามซึ่งผมประทับใจมากครับ

ในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ใน 1 สัปดาห์มีอะไรบ้างไปอ่านเลยครับ

ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงการบรรณารักษ์ไทยที่ผมตั้งกระทู้รายวัน (Daily Topic) มีดังนี้

– 2/12/53 = เปิดตัวกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebookสรุปผล มีคนตอบรับเข้าร่วมนับร้อยคน
วันแรกก็สร้างความชื่นใจและเป็นแรงใจที่ดีในการพัฒนาวงการบรรณารักษ์ให้ผมแล้ว นอกจากนี้ผมได้กำหนดผู้ดูแลระบบให้หลายๆ คนเพื่อช่วยๆ กันดูแล เพราะกลุ่มนี้ไม่ใช่ของผมเพียงคนเดียว แต่เป็นกลุ่มของเพื่อนๆ ที่จะร่วมกันสร้างและพัฒนาวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดไทย

– 3/12/53 = “คุณเห็นด้วยกับการดูงานห้องสมุดในประเทศและต่างประเทศหรือไม่ หากไม่มีงบประมาณในการดูงานมีแนวทางแก้ไขอย่างไร” มีผลสรุปดังนี้
— เราสามารถศึกษาข้อมูลห้องสมุดผ่านทางเว็บไซต์ก็ได้หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมอาจจะโทรไปคุยหรือส่งเมล์คุยกัน
— หาพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนมุมมองบนโลกออนไลน์ เช่น Facebook
— ดูงานในเมืองไทยก็ได้ เพราะห้องสมุดหลายแห่งก็เป็นตัวอย่างที่ดีเหมือนกัน
— การไปดูงานห้องสมุดในต่างประเทศเราต้องเตรียมประเด็นในการดูงานให้ดี ไม่ควรไปดูแบบ Library tour
— เอางบการดูงานในต่างประเทศไปเชิญอาจารย์จากต่างประเทศมาทำ workshop น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า แถมห้องสมุดอื่นๆ ก็สามารถเข้าร่วมฟังได้ด้วย

– 4/12/53 = “เวลาดูงานห้องสมุดนอกสถานที่เพื่อนๆ มีประเด็นอะไรบ้างที่อยากดู”? มีผลสรุปดังนี้
— การไปดูงานของห้องสมุดแต่คนคนที่ไปควรไปดูงานที่สอดคล้องกับการทำงานของตนเอง แล้วกลับมาแชร์ไอเดียร่วมกัน
— เตรียมประเด็นไปดูงานให้ดีว่าอยากดูอะไร หรือทำแบบฟอร์มไว้เป็นแม่แบบในการดูงาน เพื่อใช้ในโอกาสต่อๆ ไป
— ถามสิ่งที่ไม่มีใน web ของห้องสมุด (บรรณารักษืต้องเตรียมตัวก่อนไปดูงานก่อน ทำการบ้านดีๆ นะ)

– 5/12/53 = งดกระทู้หนึ่งวัน เพราะอยากให้อยู่กับครอบครัว

– 6/12/53 = “เพื่อนๆ เคยไปดูงานที่ไหนแล้วประทับใจบ้าง และที่ไหนที่เพื่อนๆ อยากไปดูเพิ่มเติมอีก (แนะนำได้แต่ขอเน้นในเมืองไทยก่อนนะครับ)” มีผลสรุปดังนี้
— ห้องสมุดที่น่าไปดู เช่น TKpark, SCG XP library, TCDC, ASA Library, ห้องสมุดที่ มศว,ห้องสมุดที่ มจธ, ห้องสมุดมารวย และห้องสมุดที่หลายๆ คนแนะนำมากที่สุด คือ ห้องสมุดที่ ABAC

– 7/12/53 = “ในปี 2554 เพื่อนๆ จะพัฒนางานบริการของห้องสมุดเพื่อนๆ ไปในทิศทางไหน อย่างไร” มีผลสรุปดังนี้
— เพิ่มช่องทางบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าแบบ IM
— เน้นการให้ข้อมูลเชิงรุก หรือการให้บริการเชิงรุก
— ให้บริการด้วยเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือเฉพาะสาขาวิชา
— project guide บรรณารักษ์ทำงานควบคู่กับนักศึกษา
— มีการกำหนด KPI ในการทำงาน เช่น ถ้าซื้อหนังสือใหม่มา 100 เล่ม ต้องมีคนยืมอ่านอย่างน้อย 95 เล่ม
— ทำ FAQ หรือ subject guide คำถามไหนที่ผู้ใช้เข้ามาบ่อยๆ หรือมีแนวโน้มว่าจะถามก็ทำเป็นคู่มือ

– 8/12/53 = “บริการไหนในห้องสมุดที่เพื่อนๆ คิดว่าแปลกกว่าที่อื่นๆ” มีผลสรุปดังนี้
— ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี มี Ipod touch ให้ยืมใช้ภายในห้องสมุด
— Project Facilitator Librarian คือ ให้บริการเป็นที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์

– 9/12/53 = ไม่ได้ตั้ง Topic ไว้อ่ะครับ ขออภัย

– 10/12/53 = “ห้องสมุดกับเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ มีอะไรที่เสี่ยงบ้าง”
— อ่านเรื่องนี้ได้ประโยชน์ http://www.slideshare.net/firstpimm/2537

ประเด็นเพิ่มเติมที่น่าสนใจอื่นๆ มีดังนี้
– น้องอะตอมได้แนะนคลิปวีดีโอ What is the future of the library? (http://www.youtube.com/watch?v=asYUI0l6EtE) ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ที่ได้รับรางวัล โดยน้องอะตอมอธิบายเกี่ยวกับคลิปนี้ได้ดีมากๆ โดยน้องอะตอมกล่าวว่า “หลักๆคือ คลิปนี้ต้องการจะสื่อว่าความรู้และสารนิเทศได้เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมความรู้เข้าถึงได้จากห้องสมุดและหนังสือเท่านั้น แต่ปัจจุบันความรู้และสารนิเทศได้ขยายเพิ่มมากขึ้น กระจายไปทั่วโลก คนหลายๆคนสามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากยุคและกาลเวลาได้เปลี่ยนแปลงจาก Information Age เข้าสู่ยุค Digital Networked age”

– น้องอะตอมสอบถามเกี่ยวกับ “ความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดเรือนจำหรือห้องสมุดทหาร” ผลสรุปมีดังนี้
— อาจารย์น้ำทิพย์ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ มสธ ทำร่วมกับห้องสมุดเรือนจำ ชมได้ที่ http://picasaweb.google.com/library.stou.ac.th/315#
— สำนักหอสมุด ม.บูรพา ก็ไปจัดกิจกรรมที่ทัณฑสถานหญิง ชลบุรีทุกปี
— ห้องสมุดเรือนจำบางขวาง ที่นั่นจะจัด นช. ชั้นดี มาเป็นผู้ดูแลและให้บริการเพื่อนๆ โดยมี จนท. เรือนจำ ดูแลอีกที
— กรมราชทัณฑ์ก็พัฒนาห้องสมุดเรือนจำไปเรื่อยๆ เปิดให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมด้วยเป็นการกุศล เทอดพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ ที่ไหนเสร็จแล้วเรียกว่า “ห้องสมุดพร้อมปัญญา”

– ทำไมห้องสมุดถึงเรียกห้องสมุดทั้งๆที่มันมีหนังสือ? ผลสรุปมีดังนี้
— “ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี = แต่โบราณนานมา คนไทยบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพงศาวดาร ตำรายา กาพย์กลอน ฯลฯ ลงสมุดทั้งสิ้นสมุดที่ว่านี้เรียกว่าสมุดไทย ทำด้วยกระดาษข่อยแผ่นยาว ๆ หน้าแคบ พับทางขวางทบกลับไปกลับมา…คล้ายผ้าจีบ เป็นสมุดเล่มสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้งชนิดกระดาษขาวและกระดาษดำ ดังนั้นจึงเรียกห้องที่ใช้เก็บสมุดว่า ห้องสมุด”

– 10 ธันวาคม เป็นวันครบรอบวันเกิดของ ดิวอี้ เจ้าพ่อระบบDDC บุคคลสำคัญแห่งวงการบรรณารักษ์ของโลก

– ตัวอย่างการทำวีดีโอแนะนำหนังสือ ลองดูนะครับ น่าสนใจดี http://www.youtube.com/watch?v=Z3NXUdWnxtg

รูปภาพจำนวน 8 รูปภาพ

สมาชิกในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebookจำนวน 225 คน

เอาเป็นว่านี่คือความคืบหน้าโดยภาพรวมของกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์แรก
หวังว่าหลังจากนี้จะมีความคึกคักเพิ่มขึ้น และมีบรรณารักษ์เข้าร่วมกันเรามาขึ้นนะครับ
ในฐานะตัวแทนกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ยินดีต้อนรับทุกคนครับ

เข้าร่วมกลุ่มกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ได้ที่ http://www.facebook.com/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1