วันนี้ผมกลับมาแล้วครับ กับการสรุปความคืบหน้าและประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นะครับ
เรื่องราวในช่วงวันที่ 11 ? 21 ธันวาคม 2553 มีเรื่องที่น่าสนใจในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย ไปดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงการบรรณารักษ์ไทยที่น่าสนใจ มีดังนี้
– 11/12/53 = “เพื่อนๆ คิดยังไงถ้าหอสมุดแห่งชาติควรจะต้องทำการตรวจสอบสถานภาพหนังสือทุกเล่มใหม่ (Inventory)” มีผลสรุปดังนี้
– ควรทำการตรวจสอบข้อมูลแบบนี้ทุกปี เพื่ออัพเดทข้อมูลให้ตรงกับความเป็นจริง
– การที่ไม่ได้ทำนานจะทำให้ต้องใช้เวลามากในการปฏิบัติ แต่หากเราทำอย่างสม่ำเสมออยู่แล้วจะทำให้ใช้เวลาน้อยลง
– ถ้าหนังสือมันเยอะมากจริงๆ ก็สามารถทำโดยการแบ่ง collection แล้วค่อยๆ ไล่ทำก็ได้
– 13/12/53 = “ห้องสมุดประชาชนกับการเก็บค่าใช้บริการประชาชนเหมาะสมเพียงใด” มีผลสรุปดังนี้
– เก็บได้แต่ต้องไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เงินที่เก็บเอาไปพัฒนาและซ่อมแซมห้องสมุด
– ทำเครือข่ายให้ห้องสมุด สนับสนุนการสร้าง friend of Library
– จากบทความ “ว่าไงนะ บรรณารักษ์ตายแล้ว?” ที่ผมเขียนลงในกรุงเทพธุรกิจ บรรณารักษ์ได้ให้ความเห็นดังนี้
– บรรณารักษ์เปลี่ยนบทบาทและให้ความสำคัญกับการเป็นตัวกลางในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการ
– ปรับตัวและปรับใจยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยอาจจะเรียนรู้จากผู้ใช้บริการก็ทำได้
– โดนใจ “บรรณารักษ์บางทีควรที่จะมีประตูหลายๆ บาน เพื่อมีช่องทางการเปิดรับที่หลากหลายและที่สำคัญต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลง”
– เห็นด้วย “เราคงต้องเป็นบรรณารักษ์ฟิวชั่น หรือบรรณารักษ์มิกซ์แอนแมช ระหว่างความเก่า ภาวะปัจจุบันและอนาคต”
– “ภาพยนตร์ หรือวรรณกรรมเรื่องใดบ้างครับที่กล่าวถึงห้องสมุดบ้าง”
– เพื่อนช่วยกันแนะนำซึ่งได้แก่ Harry Potter, librarian, My Husband 2, กฏหมายรักฉบับฮาร์วาร์ด, นิยายเรื่องรักร้อยพันใจ, การ์ตูน R.O.D. (Read or Die), ห้องสมุดสุดหรรษา, The mummy, The Shawshank Redemption, The Librarian quest for the spear, Heartbreak Library, จอมโจรขโมยหนังสือ, Beautiful life, NIGHT AT THE MUSEUM, Whisper of the heart, เบญจรงค์ 5 สี
– “ในการพัฒนาห้องสมุดเฉพาะ (และต้องทำงานคนเดียว) จะพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน การอ่านอย่างไร ให้เข้าถึงผู้ใช้มากที่สุด” มีผลสรุปดังนี้
– ส่งเสริมผ่าน Web 2.0 เช่น Social Network ควบคู่ไปกับ ส่งจดหมายข่าวผ่านช่องทาง Email
– กลยุทธ์ ปากต่อปาก (ของดีต้องบอกต่อ)
– หิ้วตะกร้าใส่หนังสือ นิตยสารไปส่งถึงที่ (ประมาณ book delivery)
– “การเก็บสถิติห้องสมุด มีประโยชน์อย่างไร และ เรื่องใดที่ควรเก็บสถิติ ?” มีผลสรุปดังนี้
– สถิติการยืม+การใช้ภายใน (in house use) เพื่อดูว่าหนังสือเล่มใดที่มีการใช้น้อยมากๆ จะได้หาทางประชาสัมพันธ์
– “ใช้เป็นหลักฐานในการสนับสนุนการทำงานทุกอย่าง เช่น การจัดเจ้าหน้าที่ให้บริการตามจุดต่างๆ การเคลื่อนย้ายที่มีเสียง การจัด event การจัดโปรโมชั่น การประชุมของเจ้าหน้าที่ ฯลฯ”
– แนะนำให้อ่านเรื่องนี้ที่ http://www.thailibrary.in.th/2010/11/25/new-technology-and-best-practice-in-library-services/ และ http://www.thailibrary.in.th/2010/11/29/library-stat/
– “โครงการไทยเข้มแข็งที่ช่วยยกระดับครูบรรณารักษ์ของห้องสมุดโรงเรียน” มีหลักการคือ สพฐ. ให้ภาควิชาบรรณารักษ์ อักษรจุฬาฯ ทำคู่มืออบรม เชิญอาจารย์จากภาควิชาบรรณารักษ์ทั่วประเทศมาอธิบายวิธีใช้คู่มือ แล้วให้กลับไปจัดอบรมและเป็นวิทยากรในพื้นที่ของตัวเอง
– กระทู้นี้น่าคิด “เมื่อไหร่บรรรณารักษ์จะมี “ใบประกอบวิชาชีพ”” มีผลสรุปดังนี้
– อยากให้มี ยกระดับมาตราวิชาชีพ และการยอมรับของสังคม ให้เห็นความสำคัญของวิชาชีพบรรณารักษ์ให้มากขึ้น
– จะสามารถทำได้ถ้ามี พรบ.สภาวิชาชีพบรรณารักษ์ ซึ่งต้องปรึกษานักกฎหมาย
– ข้อจำกัดและอุปสรรค คือ ต้องหาองค์กรที่มารับรองวิชาชีพของเราด้วย ซึ่งองค์กรนั้นจะต้องเข้มแข็งเช่นกัน
– น่าสนใจ “ทาบทามผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพบรรณารักษ์ ทาบทามนักกฎหมาย แล้วก็ร่าง พรบ.ร่วมกัน ระหว่างนั้นให้ศึกษาแนวทางในการจัดตั้งสภาบรรณารักษ์ มารองรับ พรบ.”
– หน่วยงานไหนทำ Institutional Repository คลังปัญญาของตัวเองบ้าง
– ผลสรุปจากเพื่อนๆ เสนอมาหลายหน่วยงาน ได้แก่ ม.สงขลานครินทร์, ม.ศรีปทุม, ม.ขอนแก่น, ม.จุฬา, กรมวิทยาศาสตร์บริการ
– “สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยี RFID ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยหน่อยครับ ว่าขณะนี้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยใดใช้เทคโนโลยีแล้วบ้าง และมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร” มีผลสรุปดังนี้
– หน่วยงานที่มีการใช้งาน เช่น ม.พระจอมเกล้าลาดกระบัง, ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาฯ, ม.รังสิต, ห้องสมุดแบงก์ชาติ, สำนักวิทยบริการ มรภ.พิบูลสงคราม
– ใช้เพื่อตรวจหาหนังสือที่วางผิดที่ผิดทาง, ใช้ตอนทำ inventory, ให้บริการยืมคืนอัตโนมัติ
– ข้อเสียส่วนใหญ่มาจากเรื่องของเทคนิคมากกว่า บางแห่งเจอในเรื่อง server ล่ม
– แนะนำให้อ่าน http://www.student.chula.ac.th/~49801110/
– โปรแกรมเลขผู้แต่ง น่าเอาไปใช้ได้ ไม่ต้องเปิดหนังสือ http://www.md.kku.ac.th/thai_cutter/
– ภาพถ่ายของห้องสมุดการรถไฟฯ เพื่อประชาชนจังหวัดหนองคาย เป็นที่ชื่นชอบของเหล่าบรรณารักษ์มากๆ
– แนะนำ Facebook ของศูนย์ความรู้กินได้ http://www.facebook.com/kindaiproject
– วีดีโอของรายการเมโทรสโมสรมาเยี่ยมชมห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี http://www.youtube.com/watch?v=DzZqyVzCwtw
– ตัวอย่างการทำวีดีโอเปิดตัวศูนย์ความรู้กินได้ http://www.youtube.com/watch?v=cwyLMRwCdis
– กระทู้ยอดฮิตและผมต้องยกนิ้วให้มีสองเรื่องครับ โดยเรื่องแรกเป็นเรื่องที่ผมก็ลืมคิดไปในช่วงแรก คือ การแนะนำตัวว่าแต่ละคนทำงานที่ไหนหรือเรียนที่ไหน ส่วนเรื่องที่สองมาจากกระทู้ของน้องอะตอมในเรื่องครูบรรณารักษ์ที่มีหลายๆ คนแสดงความเห็น เอาเป็นว่าอันนี้ต้องไปอ่านกันเองนะครับไม่อยากสรุปเพราะกลัวจะทำให้เกิดการแตกแยก อิอิ เอาเป็นว่าอ่านกันเองมันส์กว่าครับ
สำหรับอาทิตย์นี้ผมต้องขออภัยในการอัพเดทล่าช้ามากๆ นะครับ เนื่องจากผมไม่มีเวลาในการเขียนบล็อกเลย
เอาเป็นว่าวันนี้บล็อกอาจจะยาวไปมาก แต่คร่าวหน้าสัญญาว่าจะอัพเดทให้ตรงเวลานะครับ
ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่มีส่วนร่วมในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นะครับ
เข้าร่วมกลุ่มกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ได้ที่ http://www.facebook.com/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1
กระทู้เราที่ตั้งไปยังไม่เห็นเลย อ่ะ หรือว่ายังไม่ถึงคิวสรุปประเด็นทืี่มีอกระทู้เราหนิ
กระทู้อันไหนอ่าครับ ขอชื่อกระทู้หน่อยครับ บางเรื่องผมอาจจะไม่เห็นมันเยอะมากจริงๆ
ก็กระทู้อันที่ ว่า ถ้าผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญของห้องสมุดจะเดินหน้าไปอย่างไร ไงจ๊ะ
เออ จริงด้วยกระทู้ hot นี่หน่า หาไม่เจออ่า เดี๋ยวเอามาลงให้นะ