เพื่อนๆ คิดยังไงกับบทความ “ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้วหรือ”

วันนี้บทความที่ผมนำมาให้อ่านแค่ชื่อเรื่องอาจจะทำให้เพื่อนๆ หลายคนตกใจ และหลายๆ คนก็คงช็อค
แต่ต้องขอบอกไว้ก่อนนะครับว่า ชื่อเรื่องนี้ผมไม่ได้มีเจตนาจะลบหลู่วงการบรรณารักษ์ของพวกเราเลย

บทความเรื่อง “ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้วหรือ” ได้ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฉบับวันนี้ (วันที่ 9 ธันวาคม 2553)
ซึ่งนักข่าวจากกรุงเทพธุรกิจมาขอสัมภาษณ์ผมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และพูดคุยกันในเรื่องต่างๆ ของห้องสมุด
และจากการคุยในวันนั้นก็ได้บทความชิ้นนี้ออกมา (นักข่าวถอดคำพูดจากการสัมภาษณ์ผมนะ)

ใครที่ยังไม่ได้อ่านผมขอนำบทความนี้มาลงในบล็อกนี้ด้วยนะครับ

ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้ว ?
โดย : จุฑารัตน์ ทิพย์นำภา

เคยมีรายงานสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2546 พบว่า คนไทยอ่านหนังสือโดยเฉลี่ยปีละ 7 บรรทัด

กลายเป็นข้อมูลอ้างอิงที่ถูกหยิบมากพูดกันน้ำหูน้ำตาเล็ด

อีก 5 ปีต่อมา 2551 ผลสำรวจสำนักเดิมอีกพบว่า แนวโน้มคนไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นเป็น 39 นาทีต่อวัน

จนล่าสุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำรวจพบว่าคนไทยอ่านหนังสือนานถึง 94 นาทีต่อวัน เท่ากับว่าเวลาผ่านไปไม่ถึง 10 ปี คนไทยมีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น หรือไม่ช่องทางการเข้าถึงหนังสือของคนไทยเพิ่มมากขึ้น

แน่นอนว่า อินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นพฤติกรรมการอ่านของคนทั่วโลก

การอ่านหนังสือ และการค้นคว้าเอกสารของนักเรียนนักศึกษาไม่ได้จำกัดตัวอยู่ในห้องสมุดอย่าง เดียวแล้ว ภาพของนักศึกษายืนอยู่หน้าตู้ดัชนี ดึงลิ้นชักออกมาค้นหารายชื่อหนังสือ แทบจะไม่ปรากฏให้เห็นอีกแล้ว พวกเขาไม่ต้องการความรู้เกี่ยวกับการจัดระบบห้องสมุดแบบดิวอี้ และรัฐสภาอเมริกัน อีกต่อไป

เมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักพัฒนาระบบห้องสมุด จากโครงการศูนย์ความรู้กินได้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) ยอมรับว่า ทิศทางการสืบค้นแบบใหม่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตทำให้การค้นหาแบบเดิมถูกตัดทิ้ง ห้องสมุดจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันสมัย บรรณารักษ์ต้องเป็นได้มากกว่าคนเฝ้าห้องสมุด

ที่ผ่านมาแม้ห้องสมุด จะเปลี่ยนผ่านสู่ยุคของเทคโนโลยีโดยแปลงหนังสือทั้งเล่มให้อยู่ในรูปของอี บุ๊ค จัดเก็บในฐานข้อมูลดิจิทัลเพื่อความสะดวกในการค้นหา แต่เขากลับมองว่า นั่นไม่ใช่แนวทางที่จะสนับสนุนให้คนอ่านหนังสือมากขึ้น ขณะเดียวกันสิ่งที่เขามองคือการสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจในรูปของบทความ นอกเหนือจากข่าวสาร บันเทิง ที่ปรากฏอยู่บนโลกอินเตอร์เน็ตในทุกวันนี้

เหตุผล ดังกล่าวผลักดันให้บรรณารักษ์ วัย 28 ปี ริเริ่มแนวคิดการสร้างชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เพื่อหากลุ่มคนที่มีแนวความคิดเดียวกัน สร้างเป็นเครือข่าย ผลักดันให้เกิด libraryhub.in.th ศูนย์กลางข้อมูลสำหรับบรรณารักษ์โดยเฉพาะ

?แนวคิด นี้เกิดขึ้นจากความสนใจส่วนตัวที่หลงไหลในเสน่ห์ของห้องสมุด จนกระทั่งตัดสินใจเรียนต่อเพื่อที่จะเป็นบรรณารักษ์ ในขณะที่คนอื่นอาจเลือกเรียนในสายวิศวะ แพทย์ ที่ดูดีมากกว่า? เขากล่าว

libraryhub ที่เริ่มต้นโดยมีเป้าหมายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพนี้โดยเฉพาะ ปัจจุบันเว็บไซต์ได้รับการยอมรับให้เป็นประตูของกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า นักพัฒนาห้องสมุด ในยุค 2.0

?ทุกวันนี้ห้องสมุดเกือบทุกแห่งเริ่ม เอานำสื่อออนไลน์เข้ามาใช้ อย่างเช่น เฟซบุ๊ค แฟนเพจ เข้ามาใช้ บรรณารักษ์ในโลกยุคใหม่ที่สามารถทำหน้าที่เป็นคนป้อนความรู้ให้กับผู้อ่าน ได้เลย โดยไม่ต้องยัดเยียด ต่างจากทฤษฎีของบรรณารักษ์รุ่นเก่าที่ใครจะเข้ามาใช้ห้องสมุดต้องมาค้นหา ข้อมูลเอง? เขาอธิบาย

เมฆินทร์ เล่าว่า ห้องสมุดในบ้านกับต่างประเทศแตกต่างกันมาก ยกตัวอย่าง สหรัฐ อาชีพบรรณารักษ์ส่วนใหญ่มาจากสายไอที อีกทั้งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเช่น ชีวะ ธุรกิจ แพทย์ ซึ่งโจทย์ของบรรณารักษ์คือจะทำอย่างไรให้คนห้องสมุด และอ่านหนังสือมากขึ้น

ครั้งหนึ่ง เมฆินทร์ เคยแก้โจทย์ที่ว่าจะทำอย่างไรให้เด็กช่างกลเข้าห้องสมุด เขาคิดหาแผนการทุกวันทั้งที่ใช้แล้วได้ผลและไม่ได้ผล ตั้งแต่หลอกล่อโดยวิธีการแปะสกอร์ฟุตบอล ไว้ข้างบอร์ดหางานพิเศษ แสดงถึงคุณสมบัติของคนที่ต้องการ ซึ่งเขามองว่าบรรณารักษ์สามารถแนะนำหนังสือที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เด็กที่ไม่ เคยสนใจอ่านหนังสือเลยได้ลองอ่านดู

แม้จะไม่มีทักษะด้านงานเขียนมา ก่อน แต่ด้วยสไตล์เขียนแบบเล่าเรื่อง ช่วยสื่อสารให้คนเข้าใจดีกว่าเขียนเป็นทางการแต่ไม่มีใครอ่านเลย หลังจากเขียนไปสักระยะหนึ่งเริ่มมีการส่งต่อเนื้อหา คอมเม้นท์ และสร้างเป็นกลุ่มสังคมออนไลน์ ด้วยฐานสมาชิกประมาณ 700 คน เกิดเป็นคอมมูนิตี้ ห้องสมุดที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

จนกระทั่งเครือ ข่ายเริ่มขยายตัว เกิดเป็นไลเบอร์เลี่ยนแมกาซีนออนไลน์ ไลเบอร์เลี่ยนออนไลน์ดอทคอม ไลเบอร์เลี่ยนทีวี ในขณะที่ตัวเขาเองรับหน้าที่เดินสายบรรยายและเป็นที่ปรึกษาให้ห้องสมุดหลาย ที่ คิดโครงการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ เช่น รณรงค์ให้นักอ่านแบ่งบันหนังสือ โดยใส่แท็กในแฟซบุ๊ค รวมถึงจัดลิมแคปม์ เปิดเวทีสัมมนาเฉพาะกลุ่มสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล

เขามองว่า งานห้องสมุดยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องทำ เช่นการจัดการระบบห้องสมุดที่มีอยู่กระจัดกระจายทั่วกรุงเทพให้อยู่บนฐาน ข้อมูลเดียวกัน โดยยึดแบบอย่างจากห้องสมุดในประเทศสิงคโปร์ที่มีองค์กรกลางเข้ามาดูแลจัดการ ในเรื่องหนังสือ ฐานข้อมูล ทำให้ห้องสมุดขนาดเล็กทำหน้าที่ให้บริการเพียงอย่างเดียว

ขณะที่ ห้องสมุดในเครือข่ายของห้องสมุดกรุงเทพ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 แห่ง ทำงานแยกส่วนกัน ซึ่งหากมีการทำงานเป็นภาพรวมก็จะทำให้เห็นสถิติการอ่านของคนกรุงเทพ ซึ่งมาจากข้อมูลที่มีตัวชี้วัดที่แน่นอน รวมถึงการปรับเปลี่ยนหนังสือในห้องสมุดระดับจังหวัดให้มีเนื้อหาตรวจกับความ ต้องการของท้องถิ่น

เขามองว่า การสร้างห้องสมุคในยุคใหม่ต้องเริ่มต้นจากการสำรวจความต้องการของคนใน พื้นที่ สำรวจว่าท้องถิ่นมุ่งไปทางไหนได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็น เกษตรกรรม หัตถกรรม หรือการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับนักอ่านที่แท้จริง

?ห้องสมุดจะนั่งอยู่เฉยให้คนมาบอกว่าไม่พัฒนา จะยอมจำนน หรือต้องสู้เพื่อการพัฒนา? เขาตั้งคำถามไปยังบรณารักษ์ทั้งมวล

ประเด็นหลักๆ ที่ผมอ่านแล้วช็อคตั้งแต่แรกคือ การใช้ชื่อเรื่องที่ค่อนข้างแรง (กลัวเพื่อนๆ รับไม่ได้)
แต่เนื้อหาด้านในพออ่านแล้วก็น่าจะได้ข้อคิดบ้างนิดๆ หน่อยๆ นะครับ (อยากให้อ่านเนื้อมากกว่าชื่อเรื่อง)

เอาเป็นว่าคิดเห็นยังไงก็เอามาลองคุยกันหน่อยครับ ขอเชิญแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้นะครับ
แต่สุดท้ายนี้ประโยคด้านล่างสุดของบทความ ผมก็ยังคงอยากบอกเพื่อนๆ อยู่เหมือนเดิม

?ห้องสมุดจะนั่งอยู่เฉยให้คนมาบอกว่าไม่พัฒนา จะยอมจำนน หรือต้องสู้เพื่อการพัฒนา?

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/global/20101209/366647/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B0-%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7–.html

กลุ่มบรรณารักษ์ไทย (Librarian in Thailand) ใน Facebook

ตอนนี้ผมได้สร้างเครือข่ายกลุ่มบรรณารักษ์ไทยออนไลน์ใน facebook แล้วนะครับ
วันนี้ผมจึงขอแนะนำเครือข่ายกลุ่มบรรณารักษ์ไทย หรือ กลุ่ม Librarian in Thailand ใน Facebook นะครับ

หากเพื่อนๆ จำได้หรือสังเกตด้านบนของบล็อกผม (Banner ด้านบน) นั่นก็คือเครือข่ายบรรณารักษ์ไทยออนไลน์ใน hi5 นั่นเอง แต่กลุ่มนั่นผมเปิดมาเกือบๆ จะสามปีแล้ว ซึ่งเมื่อสามปีที่แล้ว Hi5 กำลังเป็นที่นิยมของคนไทย แต่ปัจจุบันเพื่อนๆ หลายคนหันมาเล่น Facebook กันแทน ผมจึงเกิดไอเดียในการเปิดกลุ่มเพิ่มเติม


แรงบันดาลใจแรกเกิดจากการหาพื้นที่เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์บนโลกออนไลน์ การที่ผมใช้พื้นที่ส่วนตัวของผมใน facebook มาตอบคำถามห้องสมุด มันก็จะไม่ค่อยเหมาะสมสักเท่าไหร่ เนื่องจากผมมีเพื่อนอยู่หลายกลุ่มไม่ใช่เพียงกลุ่มบรรณารักษ์อย่างเดียว หากในหน้าส่วนตัวผมมีแต่เรื่องห้องสมุด เพื่อนๆ คนอื่นก็จะไม่ค่อยชอบ และการเอาเรื่องอื่นๆ มาเขียนก็จะทำให้มันไม่ใช่พื้นที่ของบรรณารักษ์และห้องสมุด ดังนั้นจากการสังเกตเพื่อนๆ หลายคนพบว่า มีช่องทางบน facebook ที่สามารถทำได้ ดังนี้
1. เปิด account ใหม่ แล้วใช้ตอบคำถามและลงเรื่องเกี่ยวกับห้องสมุดอย่างเดียว
2. ตั้งหน้า fanpage ของ libraryhub ใน facebook เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยน
3. ตั้งกลุ่ม Librarian in Thailand แล้วดึงเพื่อนๆ ที่เป็นบรรณารักษ์เข้ากลุ่ม

ซึ่งผลสรุปแล้วผมเลือกที่จะตั้งกลุ่ม Librarian in Thailand แทน เนื่องจาก
– การตั้ง account เพื่อให้คนเข้ามาแอดเป็นเพื่อนเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากและต้องใช้เวลาในการตกแต่งนาน
– การเปิด fanpage ก็ดี แต่ไม่เหมาะสมเท่าไหร่เพราะเห็นหลายคนตั้งไว้แล้ว แต่ไม่มีกิจกรรมเท่าที่ควร และไม่เป็นกลุ่มใหญ่
– การตั้งกลุ่มเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด และเพื่อนๆ สามารถดึงคนอื่นเข้ามาร่วมได้มาก

จากเหตุผลต่างๆ นานา ผมจึงใช้ Librarian in Thailand เพื่อ
– เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์
– เป็นเวทีในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์
– เป็นที่พบปะเพื่อนๆ ร่วมวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

กลุ่ม Librarian in Thailand เปิดมาเกือบจะครบหนึ่งสัปดาห์แล้ว (เปิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2553)
ตอนนี้มีสมาชิกเข้าร่วมแล้ว 184 คน และมีหัวข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านห้องสมุดทุกวัน

โดยสมาชิก 184 คน ที่อยู่ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ซึ่งผมขอสรุปดังนี้
– คนทำงานบรรณารักษ์
– อาจารย์หรือครูบรรณารักษ์
– นักศึกษาเอกบรรณารักษ์
– ผู้ที่สนใจด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์

ใครที่สนใจจะเข้ากลุ่มก็เข้าไปดูได้ที่ http://www.facebook.com/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1

เอาเป็นว่าทุกสัปดาห์ผมจะนำ topic ต่างๆ ในกลุ่มมาสรุปและนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ
ขอบอกเลยว่าไอเดียของแต่ละคนในกลุ่มสุดยอดและน่าอ่านมากๆ เลยครับ

ปล. ขอบคุณเพื่อนๆ ที่เข้าร่วมอุดมการณ์ครับ

ประกาศผลประกวดสุดยอดห้องสมุดโรงเรียนดีเด่น 2553

ข่าวประกาศในวันนี้ผมนำมาจากเว็บไซต์ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยนะครับ
รายละเอียดเกี่ยวกับการประกวดห้องสมุด ผมไม่สามารถบอกได้เนื่องจากไม่มีข้อมูลให้ผมอ่านนะครับ

การประกวดห้องสมุดโรงเรียน ทางสมาคมก็มีการแบ่งกลุ่มห้องสมุดโรงเรียน ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
1. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก
2. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง
3. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่

หากเพื่อนๆ อยากรู้ว่าห้องสมุดแบบไหนที่เรียกว่า เล็ก กลาง หรือ ใหญ่ ลองอ่านบทความนี้ดูครับ
http://school.obec.go.th/e-lb/pic/Library2.htm (จะได้เข้าใจเพิ่มเติม)

การประกวดห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นทางสมาคมห้องสมุดฯ แบ่งรางวัลออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. รางวัลระดับประเทศ
2. รางวัลระดับภาค ซึ่งแบ่งย่อยลงไปอีก คือ

2.1 ภาคเหนือ
2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2.3 ภาคกลาง
2.4 ภาคใต้
2.5 กรุงเทพมหานคร

ซึ่งผมขอนำมาลงทีละส่วนนะครับ

1. รางวัลระดับประเทศ มีห้องสมุดที่ได้รับรางวัล ดังนี้
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดโรงเรียนม่วงสามปี จังหวัดลำพูน
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดพระครูภาวนารังสี โรงเรียนวัดใหญ่ไชยมงคล (ภาวนารังสี) จังหวัดอยุธยา
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) จังหวัดกรุงเทพฯ

2. รางวัลระดับภาค มีห้องสมุดที่ได้รับรางวัล ดังนี้
2.1 ภาคเหนือ
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดโรงเรียนบ้านแพะ จังหวัดอุตรดิตถ์
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนภิเษก โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดคอวนิช โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดโรงเรียนชุมแพพิทยาคม จังหวัดขอนแก่น
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดโรงเรียนพระทองคำวิทยา จังหวัดนครราชสีมา
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = หอสมุด 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร

2.3 ภาคกลาง
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดโรงเรียนบ้านเจ้าเณร จังหวัดกาญจนบุรี
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนภิเษก โรงเรียนปากท่อพิทยาคม จังหวัดราชบุรี
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

2.4 ภาคใต้
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดหลวงพิธานอำนวยกิจ โรงเรียนบ้านพูด กรป.กลาง จังหวัดพัทลุง
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติฉลองครองราชย์ครบรอบ 60 ปี ในหลวง โรงเรียนบูกิ๊ตยือแร จังหวัดนราธิวาส
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดโรงเรียนสตูลวิทยา จังหวัดสตูล

2.5 กรุงเทพมหานคร
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ไม่มีโรงเรียนส่งเข้าประกวด
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ไม่มีโรงเรียนส่งเข้าประกวด
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 48 พรรษา โรงเรียนสารวิทยา

เอาเป็นว่าผมก็ขอแสดงความยินดีกับห้องสมุดโรงเรียนที่ได้รับรางวัลทุกแห่งนะครับ
ส่วนห้องสมุดโรงเรียนอื่นๆ ก็ไม่ต้องเสียใจ ผมก็ยังคงเป็นกำลังใจให้ทุกแห่งเสมอครับ

ผมเชื่อว่าห้องสมุดหลายๆ แห่งที่ตั้งใจหลายๆ ที่อาจจะไม่ได้รับรางวัลนี้ แต่ผมอยากให้ทุกๆ คนคิดว่าห้องสมุดของคุณนะได้รับรางวัลทางใจจากผู้ใช้บริการของห้องสมุดทุกคนแล้วแหละ ผู้ใช้บริการและผมจะเป็นกำลังใจให้พวกคุณต่อไปครับ สู้ๆ

รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จาก http://tla.or.th/pdf/school.pdf

การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power)

วันนี้บังเอิญเจอเรื่องที่ตัวเองเขียนไว้เมื่อสองปีที่แล้ว ซึ่งช่วงนั้นยังไม่ค่อยมีใครรู้จักผมมากมายเหมือนตอนนี้
บทความนี้พออ่านแล้วผมว่าก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของบล็อกผม (Projectlib & Libraryhub) อยู่นั่นแหละ
นั่นคือ เรื่อง การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power) นั่นเอง

อยากให้ชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์อ่านกันมากๆ (อ่านแล้วนำไปปฏิบัติด้วยนะ) ไปอ่านกันเลยครับ

ในอดีตมีคนกล่าวไว้เกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ของสิ่งต่างๆ เช่น
– man is power
– money is power
– technology is power
– data is power
– information is power
– knowledge is power

และ ยังมีอีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าวถึง

สิ่งต่างๆ ที่ผมได้กล่าวมานี้ ผมยอมรับในความยิ่งใหญ่ของมันเช่นกัน
แต่ละยุค แต่ละสมัย สิ่งต่างๆ เหล่านี้เข้ามามีอิทธิพล รวมถึงบทบาทในการกำหนดความเป็นไปของมนุษย์
แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผมเชื่อในความมีอำนาจ และความยิ่งใหญ่ของการ แบ่งปัน (Sharing)

การแบ่งปันที่ผมจะกล่าวนี้ ผมจะเน้นการแบ่งปันข้อมูล ความรู้ต่างๆ เช่น
– การแบ่งปันข้อมูล (Share data)
– การแบ่งปันข่าวสาร (Share news)
– การแบ่งปันสารสนเทศ (Share information)
– การแบ่งปันความรู้ (Share knowledge)
– การแบ่งปันความคิด (Share idea)

เพราะว่าในสมัยก่อนข้อมูล ความรู้ต่างๆ ถูกเก็บไว้ที่ตัวบุคคลมากเกินไป
จนเมื่อบุคคลๆ นั้นตายไปข้อมูลและความรู้ที่เก็บอยู่ก็สูญหายไปด้วย
ยกตัวอย่างอีกกรณีหนึ่งคือ การทำงานในสำนักงาน หรือหน่วยงานทั่วไป
บุคคลที่เชียวชาญในการทำงานต่างๆ ถ้าไม่ถูกถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นๆ เมื่อบุคคลผู้นั้นลาออก
ก็จะไม่มีใครที่เข้ามาทำงานแทนคนผู้นั้นได้ (ทำงานได้ แต่ความเชียวชาญและเทคนิคอาจจะต่างกัน)

ดังนั้นการแบ่งปัน หรือการถ่ายทอดความรู้ ผมจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากๆ

ยกตัวอย่างอีกกรณีก็แล้วกัน

หากเมืองๆ หนึ่งประกอบด้วยคนที่มีอำนาจต่างๆ ทั้งการเงิน เทคโนโลยี ข้อมูล ความรู้ แต่คนเหล่านั้นเก็บสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้กับตัวเอง ไม่มีการแบ่งปันให้ผู้อื่นเมืองๆ นั้นก็อาจจะอยู่ได้ไม่นาน คือ พอคนเหล่านี้เสียชีวิตไปความรู้ หรือทรัพย์สินต่างๆ ก็สูญหายไป

และเทียบกับ

อีกเมืองหนึ่งซึ่งสร้างชุมชนแห่งการแบ่งปันซึ่งกันและกัน ความรู้ต่างๆ ถูกถ่ายทอดกันในสังคม ใครมีเทคนิคในการทำงานใหม่ๆ ก็ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ลองใช้ด้วย ผมเชื่อว่าเมืองๆ นี้ถึงแม้ว่าคนเก่าแก่จะตายไป แต่เมืองนี้ยังคงมีความเจริญต่อไปอย่างแน่นอน เพราะทุกคนต่างแบ่งปันความรู้ ความคิดและเทคนิคในสิ่งต่างๆ

ย้อนกลับมาถามอีกข้อ เพื่อนๆ คิดว่าถ้าเกิดสงครามระหว่างเมืองที่ 1 กับเมืองที่ 2 เมืองไหนจะชนะ

หนทางในการแบ่งปันความรู้มีหลายวิธี เช่น

1. การสร้างวัฒนธรรมในองค์กรใหม่ ให้รู้จักการแบ่งปันความรู้ หรือพูดง่ายๆ คือ การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

2. การนำหลักการของ การจัดการองค์ความรู้มาใช้ในองค์กร หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า Knowledge management

3. การถ่ายทอดความรู้ หรือประสบการณ์ส่วนตัวด้วยเว็บไซต์ หรือบล็อก จริงๆ ก็คล้ายๆ กับสิ่งที่ผมทำอยู่นะ อิอิ

4. หัดรับฟังความคิดเห็นของคนในองค์กร เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการคิดให้กับทุกๆ คน

5. ในแง่การศึกษาก็เช่นเดียวกัน ครู อาจารย์ควรรับฟังแง่คิดของเด็กๆ นักเรียน นักศึกษาบ้าง บ่อยให้เด็กๆ คิดอะไรก็ได้ ไม่ใช่ว่าจำกัดกรอบความคิดเพียงแค่ในตำราเรียน

เอาเป็นว่าอ่านแล้วก็เอามาคิดกันนะครับ และขอย้ำขั้นสุดท้ายว่าหากเราไม่รู้จักแบ่งปันความรู้ให้กับคนอื่น เราก็จะไม่ได้ความรู้หรือความคิดดีๆ จากคนอื่นๆ เช่นกัน ในฐานะบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ผมขอสนับสนุนการแบ่งปัน idea

ปล. การแบ่งปันความรู้ กับ การ copy เรื่องของคนอื่นไปโพสไม่เหมือนกันนะ? บางครั้งเอาไอเดียกันไปแล้วรู้จักการอ้างอิงมันจะดีมากๆ และถือว่าเป็นการให้กำลังใจผู้คิดไอเดียด้วยครับ

เมื่อนายห้องสมุดกลายเป็นอาจารย์พิเศษให้เด็กเอกบรรณฯ จุฬา

เมื่อวันพฤหัสที่แล้ว (วันที่ 2 ธันวาคม 2553) ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายพิเศษให้เด็ก ปริญญาตรีปี 3 เอกบรรณารักษ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งบรรยายเรื่องประสบการณ์การทำงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่เคยผ่านมา รวมถึงให้แง่คิดเรื่องการทำงานในสาขาบรรณารักษ์แบบใหม่ๆ วันนี้เลยขอเล่าเรื่องนี้คร่าวๆ

รายละเอียดในการบรรยายทั่วไป
ชื่อการบรรยาย : ประสบการณ์การทำงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์
วันและเวลาที่บรรยาย : วันที่ 2 ธันวาคม 2553 เวลา 9.00-12.00 น.
สถานที่บรรยาย : ห้อง 508 อยู่ชั้น 5 อาคารบรมราชกุมารี

เรื่องที่ผมเตรียมไปบรรยาย (อันนี้เอามาจากบันทึกที่อยู่ในมือผมตอนบรรยาย ตอนบรรยายจริงๆ หัวข้อบางอันข้ามไปข้ามมานะและบางหัวข้ออาจจะไม่มีในบันทึกนี้ แต่เป็นการเพิ่มเติมในเรื่องของประสบการณ์)

งานโครงการศูนย์ความรู้กินได้
– ก่อนมาทำงานที่นี่ (เล่าคร่าวๆ ประสบการณ์ทำงาน) = บทบาทใหม่ในการพัฒนาวงการห้องสมุด
– ภาพรวมของการจัดตั้งศูนย์ความรู้กินได้ (ห้องสมุดประชาชนที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกของเมืองไทย)
– นักพัฒนาระบบห้องสมุดไม่ใช่คนทำงานไอทีอย่างเดียว = การดูแลภาพรวมของห้องสมุด
– แผนผัง Flow งานงานทั้งหมดในห้องสมุด (งานจัดหา งานประเมิน งาน catalog งานเทคนิค งานบริการ งานสมาชิก)
– การกำหนดและจัดทำนโยบายงานต่างๆ ในห้องสมุด
– มุมมองใหม่ๆ สำหรับอาชีพสารสนเทศ เช่น รับทำวิจัย ที่ปรึกษาห้องสมุด outsource งานห้องสมุด ฯลฯ
– แนวโน้มด้านเทคโนโลยีห้องสมุด (แนวคิดเรื่องห้องสมุด 2.0) ไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เป็นทฤษฎี
– แนวทางในการเลือกใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
– กิจกรรมของโครงการ การอบรม (ยิ่งมีกิจกรรมเยอะยิ่งดึงดูดคน)

งานส่วนตัว Projectlib & Libraryhub
– จากบล็อกส่วนตัวเล็กๆ มาจนถึงชุมชนบรรณารักษ์แห่งใหม่
– ความก้าวหน้าของอาชีพบรรณารักษ์ที่หลายคนคิดไม่ถึง
– ความภูมิใจต่อวงการบรรณารักษ์ (อดีตที่ไม่มีใครสนใจ)
– กิจกรรมการสร้างเครือข่ายบรรณารักษ์รุ่นใหม่ Libcamp ไม่ต้องใช้เงินเยอะ
– แง่คิดที่ได้จากการทำบล็อก Projectlib และ Libraryhub
– กรณีศึกษา : ถามตอบบรรณารักษ์ (ปรึกษาการทำโครงงานห้องสมุด)

การบรรยายในครั้งนี้ผมใช้วิธีการเล่าเรื่อง สลับกับการเปิดวีดีโอที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้เด็กเบื่อกับเรื่องที่เป็นวิชาการมากนัก ซึ่งวีดีโอที่ผมนำมาเปิดวันนี้ประกอบด้วย วีดีโอแนะนำโครงการศูนย์ความรู้กินได้ วีดีโอแนะนำหนังสือของห้องสมุด วีดีโอเพลงเอ็มวีของ มข เอาเป็นว่าเด็กๆ คงชอบนะครับ

จริงๆ หัวข้ออย่างที่บอกตอนต้นว่าเป็นการเล่าประสบการณ์เป็นหลักดังนั้น ในด้านของความรู้ตามตำราผมไม่ได้ลงรายละเอียดมากนักแต่เน้นการใช้งานจริงมากกว่า เช่น ก่อนจบการบรรยายได้แนะนำ การให้หัวเรื่องของ BISAC ที่เป็นการกำหนดหัวเรื่องตามร้านหนังสือ เพื่อนำมาปรับใช้กับงานด้านห้องสมุดเฉพาะทาง

ก่อนอื่นต้องขอบอกความรู้สึกในการบรรยายตามตรงนะครับ ว่าเป็นครั้งแรกที่ตื่นเต้นมากๆ เนื่องจากปกติ บรรยายให้แต่ผู้ใหญ่ฟัง ไม่เคยบรรยายให้น้องๆ หรือเด็กเอกบรรณฯ ฟังเลย แถมต้องมาบรรยายที่จุฬาด้วยยิ่งตื่นเต้นไปกันใหญ่เพราะเด็กๆ ที่นี่น่าจะมีความรู้ด้านวิชาการเต็มเพียบ แต่สุดท้ายพอบรรยายจบก็โล่งขึ้นเยอะเลย เพราะเด็กๆ ที่นี่น่ารักมาก ตั้งใจฟังเป็นอย่างดี

ในระหว่างการบรรยายของผม อาจารย์เสาวภาก็ได้ถ่ายรูปให้ผมเก็บไว้ด้วย ก็ขอขอบคุณมากๆ เลย

การบรรยายที่นี่ทำให้ผมรู้สึกว่าอย่างน้อยการถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ให้คนรุ่นหลังๆ เป็นสิ่งที่ดีและน่าสนใจมากๆ (ตอนนี้เริ่มมีความรู้สึกอยากเป็นอาจารย์บ้างแล้ว อิอิ)

เอาเป็นว่าก็ขอขอบคุณน้องๆ เอกบรรณ คณะอักษรศาสตร์ทุกคน รวมถึงอาจารย์ภาคบรรณารักษศาสตร์ทุกคนด้วยครับ ที่ร่วมกันสร้างคนรุ่นใหม่ให้เข้าสู่วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ด้วย

ก่อนจบขอนำภาพที่อาจารย์เสาวภาถ่ายมาลงไว้นะครับ (ที่มาจาก http://www.facebook.com/#!/album.php?aid=268255&id=534934030)

ชมภาพการบรรยายได้เลยครับ

[nggallery id=33]

เทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ ครั้งที่ 1 (Book For Gift 2010)

วันนี้มีอีเว้นท์ที่น่าสนใจมาประกาศให้รับทราบกันอีกแล้วครับ เป็นงานอีเว้นท์ที่เกี่ยวกับหนังสือ
อย่างที่รู้กันว่าเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของปี กิจกรรมที่พบบ่อยที่สุด คือ การให้ของขวัญส่งท้ายปี
ซึ่งอีเว้นท์นี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการมอบความรู้ให้เป็นของขวัญ “เทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่องานภาษาไทย : เทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Book For Gift 2010
วันและเวลาที่จัดงาน : 3 – 12 ธันวาคม 2553 เวลา 10.00-20.00 น.
สถานที่จัดงาน : ฮอลล์ 6 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ผู้จัดงาน : สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

เอาเป็นว่าแค่ชื่องานเราทุกคนคงเดาออกว่าเป็นงานแนวไหน หลักๆ คือการจำหน่ายหนังสือนั่นแหละครับ แต่ที่พิเศษคือการเลือกหนังสือเพื่อให้เป็นของขวัญนี่สิ หนังสือที่เกี่ยวกับความสุข หนังสือชุดที่น่าสนใจ หนังสือที่เหมาะสำหรับคนในแต่ละกลุ่มเป็นแบบไหน ในงานนี้มีแยกรายละเอียดให้หมด การออกร้านของสำนักพิมพ์หลายๆ แห่งมีสิ่งที่โดเด่นกว่างานหนังสือปกติ คือ มีการห่อของขวัญให้ด้วย พิเศษจริงๆ เลยใช่มั้ยครับ

กิจกรรมในงานที่น่าสนใจมีหลายอย่าง เช่น

– นิทรรศการ ?คิดถึงของขวัญ คิดถึงหนังสือ? (Book for Gift)
– กิจกรรมสอยดาว ?ต้นไม้แห่งความสุข? (Book Christmas)
– กิจกรรม ?DIY Book for Gift?
– กิจกรรม ?Book for Gift Charity Day: ร้อยรัก ผูกใจ ให้หนังสือเป็น ของขวัญ?

เอาเป็นว่างานนี้ไม่ได้เหมาะแค่บรรณารักษ์อย่างเดียวนะครับ เพื่อนๆ นอกวงการห้องสมุด คนทั่วไป เด็ก ผู้ใหญ่ ชาย หญิง …. น่าจะมางานนี้ครับ

ของขวัญชิ้นไหนจะมีค่ามากกว่า “การให้ความรู้กับคนอื่น” ซึ่งหนังสือถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกได้ครับ

เว็บไซต์ทางการของงาน เทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ : http://www.thailandbookfair.com/bookforgift2010/

SE-ED รับสมัครบรรณารักษ์ ด่วน!!!

วันนี้มีข่าวฝากมาประชาสัมพันธ์อีกแล้วครับ เกี่ยวกับการรับสมัครงาน
งานนี้เป็นงานที่บรรณารักษ์ก็สามารถทำได้เหมือนกัน เป็นงานดูแลฐานข้อมูลสินค้าของเว็บ Se-ed

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์ช่วยงาน
จำนวน : 1 ตำแหน่ง
ผู้รับสมัคร : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด
เริ่มงาน : ต้นเดือนมกราคม

เอาเป็นว่ารายละเอียดนิดหน่อยครับ แต่ต้องย้ำว่าช่วงนี้ใครสนใจก็ติดต่อไปได้ที่ Piyakorn@se-ed.com ด่่วนเลย
เพราะว่ากำลังเรียกคนมาสัมภาษณ์เรื่อยๆ และต้องการคนทำงานด่วนพอสมควร ดังนั้น รีบๆ นะครับ

หน้าที่ของงานนี้เท่าที่สอบถามแบบคร่าวๆ คือ การสร้างฐานข้อมูลสินค้าบนเว็บไซต์โดยข้อมูลมีความละเอียดพอสมควร นอกจากนี้ยังรวมถึงงานในส่วนการทำข้อมูลออนเว็บ se-ed.com ด้วย

คุณสมบัติคร่าวๆ
– จบปริญญาตรีขึ้นไป
– มีความรู้ด้านหลักเกณฑ์ของหนังสือ (องค์ประกอบของหนังสือ รายการบรรณานุกรม อื่นๆ)
– ภาษาอังกฤษได้นิดหน่อย
– มีทักษะในการพิมพ์ที่ดี (พิมพ์คล่อง)
– มีความคิดสร้างสรรค์

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ติดต่อไปที่เมล์ Piyakorn@se-ed.com ได้นะครับ

เรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนพฤศจิกายน 2553

ฟีเจอร์ใหม่ของ Libraryhub ที่ผมกำลังจะทำหลังจากนี้คือ การสรุปเรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือน
ซึ่งเพื่อนๆ สามารถติดตามได้ในวันที่ 1 ของทุกเดือนเลยนะครับ เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม เป็นต้นไป

เรื่องยอดฮิตนี้ผมก็นำมาจากสถิติในบล็อก Libraryhub ว่าเรื่องไหนเพื่อนๆ เข้ามาดูเยอะที่สุด
ซึ่งเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง
ซึ่งในบล็อกของผมมีระบบประมวลผลคะแนนของบล็อกอยู่แล้ว ผมก็แค่นำมาเสนอให้เพื่อนๆ ดูก็แค่นั้นเอง

เอาหล่ะไปดูกันเลยดีกว่าว่า เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บล็อกเรื่องไหนได้คะแนนนิยมมากที่สุด 10 อันดับ

1. 53% สรุปงาน New technology and Best Practice in Library Services
2. 22% นายบรรณารักษ์พาทัวร์ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง
3. 16% ไอเดียมุมแสดงหนังสือที่ไม่เคยมีใครหยิบอ่านในห้องสมุด
4. 15% คลิปวีดีโอสอนการจัดห้องสมุดในบ้านของคุณอย่างง่าย
5. 15% แนะนำงานสัมมนา How to be a Global Library Participant
6. 15% เตรียมสอบข้าราชการบรรณารักษ์ต้องอ่านอะไรบ้าง
7. 12% วีดีโอศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
8. 10% สุขสันต์วันเกิด LISNews.org ปีที่ 11
9. 9% นายบรรณารักษ์พาเที่ยวห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์
10. 9% บ้านหนังสือ : ห้องสมุดหลังเล็กสำหรับชุมชน

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)

เดือนหน้าเรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นกันต่อครับ
สำหรับเดือนนี้ผมคงรายงานไว้เพียงเท่านี้ก่อน แต่บล็อกก็ยังคงอัพเดททุกวันต่อไปนะครับ

เป็นกำลังใจให้กันด้วยหล่ะ อิอิ ไปและครับ