สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดรับบรรณารักษ์ (ลูกจ้างชั่วคราว)

นายห้องสมุดขอแนะนำตำแหน่งงานบรรณารักษ์ที่กำลังจะเปิดรับสมัครนะครับ
เป็นงานบรรณารักษ์ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังนะครับ

รายละเอียดงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
ลักษณะงาน : ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน
จำนวน : 1 อัตรา
เงินเดือน : 7,940 บาท + ค่าครองชีพ 1,500 บาท
สถานที่ : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกับเพื่อนๆ ก่อนว่า “ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน” คืออะไร
ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน = ประเมินผลทุกเดือนถ้าผ่านก็ต่อสัญญา (ประเมินผลรายเดือนจากต้นสังกัด)

ตำแหน่งงานนี้นอกจากได้เงินเดือนปกติแล้วยังได้ค่าครองชีพเพิ่มเติมด้วยนะ
แต่ต้องขอบอกก่อนนะว่าไม่มีสวัสดิการอย่างอื่นๆ ให้อ่ะ

คุณสมบัติของคนที่อยากสมัครตำแหน่งนี้ ก็คือ
– จบปริญญาตรีบรรณารักษ์ฯ
– ใช้คอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี

ตำแหน่งนี้รับสมัครตั้งแต่วันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 54 และก็สอบวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 54 นะ
เรื่องของการสอบก็เหมือนกับหน่วยงานอื่นๆ นั่นแหละครับ คือ สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์

เอาเป็นว่าใครได้คะแนนมากกว่า 60% ก็ถือว่าผ่าน และก็หน่วยงานจะขึ้นบัญชีไว้สองปี
ใครได้คะแนนมากที่สุดก็จะโดยเรียกมาทำงานก่อนนะครับ

ใครสนใจงานนี้ก็เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.fpo.go.th/FPO/index2.php?mod=Content&file=contentview&contentID=CNT0006293&categoryID=CAT0000011

และเพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ http://www.fpo.go.th/FPO/modules/Content/getfile.php?contentfileID=506

เอาเป็นว่าผมก็ขอเป็นแรงใจให้เพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

พบปะเพื่อนๆ เอกบรรณารักษ์ มอ. รหัส 44

ปีที่ผ่านมางานเยอะมากจนแทบจะไม่ได้เจอเพื่อนๆ เลย จนหลายคนกลับต่างจังหวัดกันไปแล้ว
มีโอกาสนัดกันใหม่ในวันนี้ (30 ม.ค. 54) เลยถือโอกาสออกมาพบปะเพื่อนๆ ที่เคยเรียนด้วยกันบ้าง

เพื่อนๆ เอกที่นัดกันในวันนี้มี ดังนี้ หนูนา, พิชญ์, ตี๋, จูน และวาย
สมาชิก 5 คนเองเอาเหอะแค่นี้ก็ดีกว่าไม่ได้เจอ เวลานัดหมายคือ 15.00 น. ณ เซ็นทรัลเวิลด์

ก่อนเวลานัดเพียงเล็กน้อยผมก็มาถึงห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ภาระกิจแรกคือขึ้นไปคืนหนังสือ
จากนั้นก็มีโทรศัพท์จากหนุ่มน้อยสุดหล่อของเอกเราคือ พิชญ์ ก็มาถึงที่นัดหมายพอดี
ก็เลยชวนกันไปถ่ายรูปพริตตี้ด้านล่าง เก็บภาพพริตตี้มาฝาก 2-3 รูปเอง

จากนั้นก็มานั่งรอสมาชิกคนอื่นๆ ซึ่งก็ถยอยมา คือ ตี๋ และหนูนาซึ่งเป็นคนสุดท้าย
เวลาที่นัดหมายกันก็คาดเคลื่อนกันบ้างแต่เราก็มากันครบ และเริ่มต้นด้วยการ กิน กิน กิน
ร้านที่เราไปกินกันวันนี้คือ sizzler นั่นเอง กินไปถ่ายรูปไปพูดคุยไป
ถามข่าวคราวและปัจจุบันของแต่ละคน แถมด้วยเม้าส์เรื่องเพื่อนๆ นิดหน่อย

กินเสร็จก็ใช้เวลาไปเกือบสองชั่วโมง พูดคุยกันพอควร สมาชิกคนแรกก็ขอตัว (ตี๋กลับก่อน)
แต่สมาชิกคนที่เหลือก็ยังคงเดินไปคุยไป และจุดหมายที่ต่อไปคือ TKpark
(พิชญ์ไปคืนหนังสือ ส่วนเราไปหาหนังสือยืมต่อ) นอกจากนี้ยังเจอเพื่อนใน twitter (@bankkung) ด้วย

จากนั้นเราก็นั่งคุยกันไปคุยกันมาก็เริ่มเกรงใจสถานที่นิดนึง
เลยขยับกันไปที่สยามพารากอนไปนั่งเม้าส์กันต่อที่ร้านทรูคอฟฟี่
คุยๆ กันไป พิชญ์หิวอีกแล้ว ก็เลยเสนอให้ไปกินนม ร้านมนต์ ณ มาบุญครอง

กินเสร็จและเม้าส์กันเสร็จก็มองนาฬิกาอีกทีก็สามทุ่มแล้ว
นึกได้ว่าถึงเวลาต้องกลับบ้านกันแล้ว ก็เลยมาบอกลาเพื่อนๆ กัน ณ สถานีรถไฟฟ้า ต่างคนต่างแยกย้าย

หลักๆ วันนี้กินกับคุยกันอย่างสนุกสนาน แล้วคิดว่าในปีนี้เราคงได้นัดกันอีก
วันนี้สนุกมากๆ และดีใจที่ได้เจอเพื่อนๆ ทุกคน ไว้เจอกันใหม่นะ

ปล. เพื่อนๆ ที่ไม่ได้มา ไว้มีโอกาสเราคงได้เจอกันสักวันนะ

รูปภาพในวันนี้ทั้งหมดดูได้จาก http://www.facebook.com/#!/album.php?fbid=497063273347&id=730188347&aid=270914

เปรียบเทียบข้อดีของหนังสือฉบับกระดาษกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

วันนี้เจอประเด็นนึงในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook “ข้อดีและข้อเสียของ E-Book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง ?” ซึ่งประเด็นนี้ผมจะเขียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วแต่ไม่มีเวลา วันนี้ผมจึงขอเขียนเรื่องนี้ออกเป็นสองประเด็นแล้วกัน

ประเด็นที่ผมจะนำเสนอ มาจากบทความ 2 เรื่อง ดังนี้
1. 5 ประเด็นที่บอกว่าหนังสือดีกว่า ebooks (http://www.readwriteweb.com/archives/5_ways_that_paper_books_are_better_than_ebooks.php)
2. 5 ประเด็นที่บอกว่า ebooks ดีกว่าหนังสือ (http://www.readwriteweb.com/archives/5_ways_that_ebooks_are_better_than_paper_books.php)

เรามาดูกันที่ละเรื่องเลยดีกว่านะครับ

5 ประเด็นที่บอกว่าหนังสือดีกว่า ebooks

1. Feel หรือ ความรู้สึก – เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดกันมากอยู่แล้วว่าหนังสือแบบกระดาษยังคงให้ความรู้สึกที่ดีต่อการอ่านมากกว่า การได้จับกระดาษ พลิกกระดาษไปทีละหน้าเป็นเรื่องที่ ebooks ยังหาความรู้สึกมาแทนไม่ได้

2. Packaging หรือ รูปลักษณะของตัวเล่มหนังสือ – นอกจากในเรื่องของตัวเล่มแล้วยังรวมถึงสิ่งที่มากับหนังสือ เช่น ภาพประกอบหนังสือด้วย การที่รูปบางรูปไปอยู่ใน ebooks มันทำให้ไม่สะดวกต่อการดูเพราะหน้าจอของ ebooks มันเล็กกว่าหนังสือบางเล่ม แม้ว่า ebooks จะมีฟังค์ชั่นในการขยายรูปภาพ แต่ก็ไม่ชัดเจนเท่ากับการดูภาพฉบับจริง นอกจากนี้ปกหนังสือก็เป็นจุดดึงดูดให้คนสนใจหนังสือมากกว่าด้วย หากปกหนังสือในอีบุ๊คหลายๆ รุ่นยังไม่มีภาพที่เป็นสีเลย ทำให้จุดนี้หนังสือแบบเดิมก็ยังคงดีกว่า ebooks

3. Sharing หรือการแบ่งปัน – ในแง่นี้หมายถึงการให้เพื่อนยืมไปอ่าน การนำหนังสือไปบริจาคต่อให้คนอื่น ถ้าเป็น ebooks มันจะมีการติดสิทธิ์จำพวก DRM ซึ่งทำให้เกิดความไม่สะดวกหรือบางเล่มไม่สามารถนำไปให้คนอื่นอ่านต่อได้ ลิขสิทธิ์ของ ebooks จะมีแค่เจ้าของเพียงคนเดียว แต่หนังสือหากเราอ่านจบแล้วยังส่งต่อให้ใครก็ได้ยืมอ่านต่อ

4. Keeping หรือ การเก็บ – จากเรื่องของ DRM ในข้อเมื่อกี้แล้วสิ่งที่น่าคิดอีก คือ ในอนาคต ebooks อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปมากกว่านี้ สมมุติว่าเราซื้อ ebooks ในปีนี้ เวลาผ่านไปอีก 10 ปีเราอยากจะอ่านเล่มนี้อีก เราอาจจะต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ เปลี่ยนโปรแกรมอ่านใหม่ ซึ่งมันก็ไม่เหมาะเลย (ยกตัวอย่างไฟล์โปรแกรมที่เราเคยเล่นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ลองเอาโปรแกรมนั้นมาลองเล่นดูสิครับ) แต่มุมมองกลับกันถ้าเป็นหนังสือ อีกสิบปีเราอยากอ่านก็หยิบหนังสือเล่มเดิมออกมาไม่ต้องเปลี่ยนปกใหม่เรก็อ่านได้ครับ 5555

5. Second hand book หรือ หนังสือมือสอง -? เรื่องนี้ก็ไม่พ้น DRM เช่นกัน หากเราอ่านหนังสือเล่มเดิมๆ จนเบื่อแล้ว ถ้าเป็นหนังสือเราก็เอาไปขายต่อเป็นหนังสือมือสองได้ แต่ ebooks ไม่สามารถขายได้เนื่องจากมันจะผูกกับสิทธิ์เจ้าของเพียงคนเดียว

เป็นไงบ้างครับ แบบนี้ยืนยันได้แล้วหรือยังว่าหนังสือย่อมดีกว่า ebooks
แต่อย่าเพิ่งตัดสินใจจนกว่าเพื่อนๆ จะอ่านบทความที่สองนี้นะครับ

5 ประเด็นที่บอกว่า ebooks ดีกว่าหนังสือ

1. Social Highlighting หรือ ช่วยกันเน้นข้อความที่น่าสนใจ – ฟังค์ชั่นนี้เป็นจุดเด่นของการอ่านหนังสือบน ebooks ความสามารถในการแบ่งปันหรือการอ่านหนังสือร่วมกัน (แต่ละคนต้องซื้อหนังสือหรือดาวน์โหลดเล่มเดียวกันมาเท่านั้นนะ) เมื่อเจอข้อความเด็ดๆ หรือน่าอ่านเราก็จะเน้นข้อความนั้นเพื่อให้เพื่อนๆ ที่อ่านเล่มเดียวกันได้เห็นทำให้การอ่านสนุกมากยิ่งขึ้น ลองมองภาพนะว่าหากเราไปยืมหนังสือห้องสมุดมาอ่านแล้วเราทำ highlight ลงไป คงโดนด่าแน่นอน

2. Notes หรือ จดบันทึก – ฟังค์ชั่นนี้จะคล้ายๆ กับเมื่อกี้ แต่เน้นการเติมข้อมูลลงไปด้วย บางคนอ่านแล้วก็สรุปใจความสำคัญลงไปใน ebooks เผื่อในอนาคตกลับมาอ่านใหม่จะได้จำได้ นอกจากนี้ยังใช้บันทึกเพื่อเตือนความจำในหนังสือได้

3. Look up of word หรือ ค้นหาคำในหนังสือ – หากหยิบหนังสือแบบเดิมมาอ่านการที่เราจะต้องหาคำที่เราอยากอ่านในหนังสือทำได้โดยการที่เราจะต้องอ่านมันทั้งเล่มแล้วก็จดมันออกมา แต่ใน ebooks มีฟังค์ชั่นในการค้นหาคำซึ่งมันสะดวกมากกว่าการที่เราจะต้องอ่านมันทั้งเล่ม

4. Social network หรือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ – เมื่อเราเจอประโยคเด็ดๆ ในหนังสือบางทีเราก็อยากจะแชร์สิ่งนั้นไปให้เพื่อนๆ ได้อ่านเหมือนกัน ตอนนี้ ebooks device หลายรุ่นก็ทำฟีเจอร์เพื่อให้เครื่อง ebooks ต่ออินเทอร์เน็ตแล้วส่งข้อความผ่าน twitter หรือ facebook ได้แล้ว เช่น? Kindle 2.5

5. Search หรือ การค้นหา – ฟีเจอร์เพิ่มเติมที่น่าสนใจของการอ่าน ebooks คือเราสามารถนำข้อความใน ebooks ไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน search engine ได้ด้วย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่มากกว่าการอ่านหนังสือได้ด้วย

โดยรวมๆ แล้วจุดเด่นของ ebooks จะเน้นไปในแนวทางของสังคมออนไลน์มากขึ้น การอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน การพบปะกับคนที่ชอบหนังสือในแนวเดียวกัน รวมถึงการเรียนรู้ที่มากกว่าแค่การอ่านหนังสือด้วย

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นจุดเด่นของหนังสือและ ebooks ใครชอบอะไรก็เลือกแบบนั้นแล้วกัน
ยังไงซะ การอ่านก็มีประโยชน์อยู่แล้ว รักการอ่านมากๆ ทำให้มีความรู้และเกิดไอเดียมากๆ ครับ

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 4/2554

กลับมาแล้วครับสรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมแล้ว
วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีความเคลื่อนไหวเยอะมากๆ เลย (กลุ่มบรรณารักษ์เริ่มคึกคัก)

หน้าที่ของผมก็คงหนีไม่พ้นการนำประเด็นต่างๆ มาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันเช่นเคย
สัปดาห์ที่ 4 (วันที่ 22 -28 มกราคม 2554) เรื่องราวเด่นๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีอะไรบ้าง ติดตามชมได้เลย

– Link : เส้นทางสายขนานระหว่างหลักสูตร “บรรณารักษศาสตร์”กับอาชีพ “ครูบรรณารักษ์” = http://atomdekzaa.exteen.com/20110122/entry

– Link : แนวการแก้ปัญหาการขาดแคลน”ครูบรรณารักษ์” เบื้องต้น = http://atomdekzaa.exteen.com/20110123/entry

– Link : โครงการ World Book Night = http://www.worldbooknight.org/

– Link : เว็บไซต์ห้องสมุด Edinburgh = http://www.edinburghlibrariesagency.info/

– Link : กิจกรรมส่งเสริมการอ่านแบบใหม่กับแนวคิด Let?s Get Lyrical = http://www.cityofliterature.com/ecol.aspx?sec=6&pid=769

– “ขอคำแนะนำเรื่องหัวข้อในการจัดโครงการยอดนักอ่านในเดือนกุมภาพันธ์” มีผลสรุปดังนี้
– เรื่องอาชีพหรือเส้นทางความใฝ่ฝันในอนาคต
– หนังสือกับแรงบันดาลใจในความสำเร็จ

– Link : (ร่าง)หลักสูตรครูบรรณารักษ์ (กศ.บ) = http://atomdekzaa.exteen.com/20110123/entry-1

– ประชาสัมพันธ์ : ขอเชิญบรรณารักษ์ นักรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ร่วมงานสมัชชาการอ่าน Bangkok Read for Life ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


– Link : โครงการ Creative Cites Network =
http://www.cityofliterature.com/index.aspx?sec=1&pid=1
เป็นเว็บที่น่าสนใจมาก “โครงการ Creative Cites Network โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม สุนทรียะ การท่องเที่ยว ให้กับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก โดยหนึ่งในโครงการดังกล่าวคือ City of Literature หรือการเนรมิตเมืองทั้งเมืองให้กลายเป็นเมืองวรรณกรรม”

– Link : Book Saver อุปกรณ์สำหรับคนรักหนังสือ =
http://www.ionaudio.com/booksaver

– ประชาสัมพันธ์ : 25 – 26 มกราคม บรรณารักษ์กรุงเทพฯและปริมณฑล อบรมที่นานมีบุ๊คส์

– คำขวัญหรือคำคมเกี่ยวกับการอ่าน ลองเข้าไปดูที่ http://pakdeelibrary.igetweb.com/index.php?mo=5&qid=290075

– เพื่อนๆ คิดยังไงกับเรื่องนี้ “ในบางครั้งผู้บริหารมีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องแหกกฏกับสำนวนที่ว่า Put the right man on the right job” มีผลสรุปดังนี้
– เลือกคนทำงานให้เหมาะกับงานเป็นสิ่งที่ดี แต่ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงงานนั้นด้วยจึงจะเลือกคนได้ถูกต้องเช่นกัน
– “ผู้บริหารไม่เข้าใจบรรณารักษ์” และ “ทำงานกับบรรณารักษ์ลำบากมาก เพราะพูดไม่รู้เรื่อง” ประโยคต่างกรรมต่างวาระเหล่านี้สะท้อนอะไรบ้างครับ? มันเป็นเพียงคำบ่นหรือคือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเสมอๆ หากหน้าที่ของผู้บริหารคือยกระดับการให้บริการของสภาบันสารสนเทศแล้ว หน้าที่ของบรรณารักษ์ก็คือสนับสนุนการให้บริการด้วยความรู้และทักษะที่เรามี
– บรรณารักษ์อย่างพวกเรา “รู้ดีในสิ่งที่เราเป็น” แต่อาจไม่รู้ใน “มุมที่คนอื่นเค้าเห็น
– การหางานที่เหมาะสมกับคนมันยากก็จริง จนบางครั้งงานบรรณารักษ์มันต้องใช้สำนวนนี้แทน “Put the right man on the “หลาย” job”

– จากประโยคเด็ดในประเด็นเมื่อกี้ “รู้ดีในสิ่งที่เราเป็น” แต่อาจไม่รู้ใน “มุมที่คนอื่นเค้าเห็น” แล้วเราจะมีวิธีอย่างไรที่จะเข้าใจผู้ใช้บริการ มีผลสรุปดังนี้
– ทำสำรวจหรือแบบสอบถาม และที่สำคัญไม่ว่าผู้ใช้จะตอบหรือแสดงความคิดเห็นกลับมาแรงๆ อย่างไร เราต้องเปิดใจรับกับสิ่งที่ผู้ใช้คิดด้วย

– Link : มหานครแห่งการอ่าน กทม. ชู 5 ยุทธศาสตร์เสนอยูเนสโก = http://hilight.kapook.com/view/55570

– “อยากรู้ว่าตอนที่บอกที่บ้านหรือคนอื่นๆว่าเรียนบรรณารักษ์ คนรอบข้างมีปฏิกิริยายังไงกันบ้าง” มีผลสรุปดังนี้

– ที่บ้านไม่รู้จักวิชาบรรณารักษ์ นอกจากนี้ยังไม่รู้จักคณะอักษรศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ (เพราะสองคณะนี้เด่นเรื่องภาษามากกว่า)
– พ่อบอกว่า “เรียนแล้วรับรองว่าไม่ตกงาน เพราะเรียนเกี่ยวกับข้อมูล” แค่นั้นแหละเลือกเลยจ้า แล้วก็ไม่ตกจริงๆ
– ต้องอธิบายสักหน่อยว่ามันคือวิชาเกี่ยวกับอะไร พ่อแม่ถึงเข้าใจ
– พ่อแม่มีถามๆว่าเรียนเกี่ยวกับอะไรกันแน่ จบแล้วมีงานทำมั้ย แต่ไม่ขัดขวางอะไร บอกแค่ว่า เอาตัวให้รอดละกัน
– ไม่สำคัญหรอกครับว่า “เรา” จะเรียนอะไร? หรือ “ใคร” จะคิดอย่างไร? แต่ที่สำคัญกว่าคือ “เรา” มีความรู้ ความสามารถ ใช้ในการประกอบอาชีพ เลี้ยงชีวิตได้ ไปจนตาย

– ประชาสัมพันธ์ : “กิจกรรมสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 1 หรือ Libcampubon#1 จัดในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี”

– Link : IFLA Asia Oceania Newsletter = http://www.ifla.org/files/asia-and-oceania/newsletters/december-2010.pdf

– ขอชื่นชม : “ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จังหวัดลำพูน ได้รับรางวัลรองขนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเงินรางวัล 80,000 บาท จากการเข้าประกวดตามโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิต ครั้งที่ 3 ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี”

ปล. ประเด็นที่เกี่ยวกับการแนะนำตัวเองและประชาสัมพันธ์รับสมัครงานผมไม่ขอนำมาไว้ในสรุปนี้นะครับ เนื่องจากงานบางตำแหน่งอาจรับไปแล้ว

จะสังเกตได้ว่าอาทิตย์นี้มี link แนะนำเยอะมากๆ เลย และทุกๆ link ก็น่าสนใจไม่แพ้ประเด็นที่พวกเราช่วยกันตั้งเลย เอาเป็นว่าหากสนใจ link ไหนเป็นพิเศษก็ลองเข้าไปดู link นั้นเลย แล้วถ้าได้ไอเดียใหม่ๆ เพิ่มก็นำมาเสนอในกลุ่มใของพวกเราได้นะครับ

สำหรับวันนี้ต้องลาไปก่อนไว้เจอกันในสัปดาห์หน้า

เครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ อุบลราชธานี = LibcampUbon

หายไป 1 ปีกว่าๆ ในที่สุดงานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ (งาน Libcamp) ก็กลับมา
ครั้งนี้พิเศษหน่อยตรงที่เป็นการจัดงาน Libcamp ในต่างจังหวัดครั้งแรกของเมืองไทย
ซึ่งผมใช้คำว่างานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี (LibcampUbon)

ขอรำลึกความหลังของงาน Libcamp สักเล็กน้อย เผื่อหลายคนจะยังไม่รู้จักงานนี้

งาน LibCamp คือ งานสัมมนาแบบไม่เป็นทางการของวงการห้องสมุดครั้งแรกของเมืองไทย เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจงานด้านห้องสมุด บรรณารักษ์ศาสตร์ และการจัดการความรู้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเครือข่าย และแลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน

ข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับงาน Libcampbkk ผมสรุปไว้ให้อ่านที่
http://www.kindaiproject.net/kmshare-blog/libcampbkk-to-libcampubon.html

เข้าเรื่องเลยดีกว่า งานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี (LibcampUbon)
จัดในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ธีมของงานนี้ คือ “การใช้สื่อท้องถิ่นและสื่อออนไลน์ในงานห้องสมุด”

หัวข้อที่น่าสนใจในงาน LibcampUbon#1
– กรณีศึกษาความสำเร็จของห้องสมุดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
– ช่องทางในการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดผ่านสื่อในท้องถิ่น
– กรณีศึกษา : Facebook กับงานห้องสมุด
– กรณีศึกษา : การทำบล็อกห้องสมุด
– คำแนะนำในการสร้างเว็บความรู้ของท้องถิ่น

ร่างโครงการงานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี (LibcampUbon)อ่านได้ที่
http://www.kindaiproject.net/kmshare-blog/libcampubon1-proposal.html

งานนี้ก็ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ หรือพูดง่ายๆ ว่า ฟรีเช่นเคย ใครสนใจก็ส่งเมล์มาหาผมได้นะครับ
สำหรับใครที่ต้องการจดหมายเชิญก็ส่งเมล์มาหาผมได้เช่นกัน เดี๋ยวจะให้เจ้าหน้าที่ส่งหนังสือเชิญไปให้

งานนี้ใครมาไม่ได้ (เพราะว่าไกล) ผมแนะนำให้ติดตามได้ผ่าน twitter #libcampubon
เข้าไปที่ http://twitter.com/#!/search/libcampubon1
เพราะว่าเราจะมีเจ้าหน้าที่คอยอัพเดทข้อมูลและสรุปงานสัมมนาตลอดทั้งวัน

เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอแนะนำไว้เพียงเท่านี้ก่อน ต้องขอตัวไปเตรียมความพร้อมงานนี้เหมือนกัน
สำหรับคนกรุงเทพยังไม่ต้องน้อยใจ ปีนี้ผมสัญญาว่ามีงาน libcamp ในกรุงเทพเช่นเคยแน่ๆ
ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่เร็วๆ นี้

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ส่งเมล์มาถามได้ที่ dcy_4430323@hotmail.com

ครบรอบ 6 ปี อุทยานการเรียนรู้ (ห้องสมุด TKpark)

เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (วันที่ 21 ม.ค. 54) ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานพิธีฉลองครบรอบ 6 ปี ของอุทยานการเรียนรู้ หรือ “ห้องสมุด TKpark” งานฉลองจัด 3 วัน ในระหว่างวันที่ 21 – 23 ม.ค. 54 วันนี้ผมจึงขอนำข้อมูลจากบอร์ดนิทรรศการครบรอบ 6 ปี ของอุทยานการเรียนรู้มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

TK park เปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ 24 มกราคม2548

TK park = ห้องสมุดมีชีวิตที่ไม่ใช่แค่ที่รวบรวมหนังสืออย่างเดียว แต่ยังถือเป็นแหล่งเชื่อมโยงความรู้รอบด้าน ทั้งหนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดนตรี และกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้อย่างไม่มีขีดจำกัดของผู้ใช้บริการ


พื้นที่การเรียนรู้ใน TK park ประกอบด้วย
– ห้องสมุดมีชีวิต
– ห้องสมุดไอที
– ห้องเงียบ
– ศูนย์อบรมไอที
– ห้องฉายภาพยนตร์
– มายด์รูม
– ห้องสมุดดนตรี
– ห้องเด็ก
– มุมกาแฟ
– ศูนย์การเรียนรู้เอนกประสงค์
– ลานสานฝัน
– ซาวด์รูม


กิจกรรมที่ผ่านมาของ TK park แบ่งออกเป็นกิจกรรม ดังนี้
– กิจกรรมส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้
– กิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
– กิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิต (กล้าคิด กล้าทำ กล้างแสดงออก)
– กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
– แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ ร่วมสร้างเครือข่าย


6 ปี TK park กับ 4 โครงการเด่นในการก้าวสู่ปีที่ 7
1. อุทยานการเรียนรู้ระดับจังหวัด ในปี 2554 จะเปิด 3 แห่ง คือ อุทยานการเรียนรู้ปราจีนบุรี, อุทยานการเรียนรู้สมุทรสาคร และอุทยานการเรียนรู้ตราด
2. โครงการแหล่งเรียนรู้ใกล้บ้าน
3. โครงการ TK แจ้งเกิด
4. Thailand Conference on Reading 2011

ความประทับใจของผมกับห้องสมุด TK park ในช่วงวันฉลองครบรอบ 6 ปี คือ
“การสมัครสมาชิก หรือ ต่ออายุสมาชิก ฟรี” กิจกรรมนี้เรียกเอาสมาชิกหน้าเก่าและใหม่มาร่วมแจมเพียบเลย
ที่สำคัญผมเองก็ไม่พลาดเช่นเดียวกัน พาเพื่อนๆ พี่น้อง มาสมัครรวมถึงผมเองก็ถือโอกาสต่ออายุไปเลย

เอาเป็นว่าวันนี้ลงข้อมูลเท่านี้ดีกว่า หลักๆ ก็ยินดีด้วยครับกับความสำเร็จใน 6 ปีที่ผ่านมา

สุดท้ายนี้ผมก็ขออวยพรให้ห้องสมุด TKpark พัฒนาและเจริญแบบนี้ต่อไป
เพื่อกระตุ้นและเป็นแนวทางในการพัฒนาวงห้องสมุดในเมืองไทยต่อไปด้วย

และผมขอเป็นตัวแทนเพื่อนๆ ขอบคุณทีมงานห้องสมุด TKpark ที่ทำงานกันอย่างเข้มแข็งและบริการประทับใจ

ภาพถ่ายในงานพิธีฉลองครบรอบ 6 ปี อุทยานการเรียนรู้

[nggallery id=36]

วีดีโอเสวนาก้าวทันสื่อออนไลน์ ในงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

ในที่สุดคลิปวีดีโอที่ผมบรรยายเรื่องเสวนาก้าวทันสื่อออนไลน์ ในงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ก็ออกมาให้ได้รับชม
วันนี้เลยขอนำมาให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์ที่ไม่ได้มาร่วมงานได้ชมกัน

งานเสวนานี้มีวิทยากร คือ คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ, คุณฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ และผมเอง
ซึ่งดำเนินรายการโดย อาจารย์บุญญาณิศา อ.ตันติพิบูลย์

วันนั้นเสวนาร่วมกันประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง แต่ในคลิปวีดีโอนี้ขอสรุปแต่ตอนไฮไลท์มาให้ชม 18 นาที
ซึ่งผมได้ดูเบื้องต้นแล้วเป็นช่วงที่เด่นๆ และมีไอเดียที่น่าสนใจดีครับ

ไปชมคลิปวีดีโอนี้กัน

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Qe_4qWGUFsk[/youtube]

เป็นไงกันบ้างครับ ยังไงก็ติชมกันได้ ด้านล่างนี้เลยนะครับ

รายละเอียดเกี่ยวกับงานนี้ผมสรุปไว้ที่เก็บตกงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

ปล. ขอบคุณ สำนักหอสมุด ม.รังสิต ที่จัดทำคลิปนี้มาเผยแพร่

Flowchart คำแนะนำเบื้องต้นในการเริ่มใช้ Ebooks

วันนี้เจอ Flowchart นึงน่าสนใจมาก เป็น Flowchart ที่แนะนำเบื้องต้นสำหรับคนอยากใช้ Ebooks
เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ Ebooks มีอะไรบ้างและต้องคิดในเรื่องใดบ้าง ลองดูได้จาก Flowchart นี้

จากรูป Flowchart ผมขอสรุปคำแนะนำในการเริ่มต้นกับ Ebooks ดังนี้

1. เลือกอุปกรณ์ที่คุณจะใช้สำหรับอ่าน Ebooks ซึ่งมีให้เลือก ดังนี้
– เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX
– เครื่อง? Ipad
– เครื่อง? Nook
– โทรศัพท์ Iphone
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC
– เครื่องอ่านยี่ห้ออื่นๆ หรือ โทรศัพท์แบบอื่นๆ (เช่น Android phone)


2. เลือกโปรแกรมที่ใช้สำหรับการอ่าน Ebooks (ต้องเลือกตามอุปกรณ์ที่คุณจะใช้ในข้อที่ 1) เช่น

-? เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX ต้องใช้โปรแกรม Kindle เท่านั้น
– เครื่อง Ipad สามารถใช้โปรแกรมหลายตัวได้ เช่น iBooks, Calibre, Kindle app, Kobo app, B&N ereader, Goodreader ฯลฯ
– เครื่อง Nook ต้องใช้โปรแกรม B&N eReader เท่านั้น
– โทรศัพท์ Iphone สามารถใช้โปรแกรมได้หลายตัวเช่นเดียวกับ Ipad บางโปรแกรมใช้ตัวเดียวกันได้ บางโปรแกรมก็ใช้ได้แค่บน Iphone เช่น BookShelf, Stanza, Borders, Libris
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป มีให้เลือกใช้มากมาย เช่น Adobe Digital Editions, Kobobooks, Mobipocket Reader, Stanza, Kindle for PC, Borders
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC ก็เช่นเดียวกัน มีโปรแกรมให้เลือกใช้เพียบ เช่น eReader, Calibre, Stanza Desktop, Adobe Digital Editions
– ส่วนเครื่องอ่านยี่ห้ออื่นๆ หรือโทรศัพท์อื่นๆ สามารถหาโปรแกรมดูได้ตามรุ่น


3. ไฟล์ของ Ebooks ที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ (อันนี้ก็ต้องเลือกตามอุปกรณ์และโปรแกรมด้วย) เช่น

-? ไฟล์ที่ใช้กับ Kindle และ Kindle App คือ AZW
– ไฟล์ที่ใช้กับเครื่องอ่าน Ebook reader ต่างๆ คือ ePub หรือ ePub+DRM(มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้)
– ไฟล์ที่เป็นสากลของโปรแกรม Ebooks คือ PDF
– นอกนั้นจะเป็นไฟล์ที่อุปกรณ์จะเป็นตัวกำหนด เช่น PalmDOC, Mobipocket ฯลฯ ต้องเลือกให้ถูกตามเครื่องและโปรแกรมเอง


4. หาซื้อ Ebooks ได้ที่ไหน ไปดูตามอุปกรณ์กันเลยนะครับ เช่น

– เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX –> Amazon.com
– เครื่อง? Ipad –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่อง? Nook –> http://www.barnesandnoble.com/ebooks/index.asp
– โทรศัพท์ Iphone –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย

5. หากต้องการความช่วยเหลือในการใช้ Ebooks จะหาคำตอบได้จากไหน
– เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX –> http://www.amazon.com/gp/help/customer/display.html?nodeId=200127470
– เครื่อง? Ipad –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่อง? Nook –> http://www.barnesandnoble.com/nook/support/?cds2Pid=30195
– โทรศัพท์ Iphone –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นบทสรุปของ Flowchart ที่ผมนำมาลงให้เพื่อนๆ ดู
โลกของ Ebooks ยังไม่สิ้นสุดแค่ใน Flowchart ที่นำมาลงนะครับ
ความเป็นจริงแล้วยังมีอีกมากมาย ซึ่งต้องศึกษาและหาความรู้เพิ่มเติมต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

เอาเป็นว่าสำหรับการเริ่มต้นเรื่อง Ebooks ผมว่า Flowchart นี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเหมือนกัน
เพื่อนๆ หล่ะครับคิดยังไงกับการใช้ Ebooks และพร้อมที่จะเริ่มต้นการเรียนรู้เรื่อง Ebooks กันหรือยัง

ที่มาของภาพนี้มาจาก http://bookbee.net/bee-ginners-guide-2/

(ผมเข้ามาอัพเดทข้อมูลเพิ่มเติมแล้วนะครับ)

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 3/2554

เข้าสู่กลางเดือนมกราคมแล้วนะครับ กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ยังคงสดใสเช่นเดิม
เรื่องราววงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีประเด็นที่น่าสนใจเยอะขึ้น วันนี้เลยต้องสรุปให้อ่าน

สมาชิกของกลุ่มเราก็เกิน 400 คนแล้วนะครับ แบบว่าประทับใจในความร่วมมือของเพื่อนๆมาก
กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน facebook มีเรื่องเด็ดๆ ทุกวันเลย แม้แต่เสาร์อาทิตย์ก็ยังมีเรื่องให้อ่าน
เอาเป็นว่าสัปดาห์ที่ 3 (วันที่ 15 ? 21 มกราคม 2554) เรื่องราวมากมายมีอะไรบ้างไปติดตามกันเลยดีกว่า

– “สายงานบรรณารักษ์สมัยนี้เปิดสอบบรรจุน้อยจัง” ผลสรุปมีดังนี้
– ถ้าเป็นในระบบราชการ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการชลอการเพิ่มกรอบอัตราข้าราชการ หากมีความจำเป็นหน่วยงานต้องบรรจุอัตราจ้างเอง
– การสอบบรรจุตามระบบมักเป็นอัตราข้าราชการ ซึ่งมีน้อย แต่ถ้าเป็นอัตราจ้างจะมีมากและมักไม่ประกาศสอบบรรจุเป็นทางการ

– “อยากรู้จังว่ามีสภาวิชาชีพบรรณารักษ์ หรือเปล่าอ่ะครับ”? ผลสรุปมีดังนี้
– คงต้องกำหนดขอบเขตและคำจำกัดความอีกเยอะแยะเลยล่ะ

– “อยากทราบว่าบรรณารักษ์เงินเดือนประมาณเท่าไหร่ครับ”? ผลสรุปมีดังนี้

– ราชการก็น้อยหน่อยสำหรับเริ่มต้น เอกชนก็น่าจะเก้าพันถึงหมื่นนิดๆ
– สำหรับบ.เอกชนข้ามชาติ หรือโรงเรียนนานาชาติ น่าจะเริ่มต้นหมื่นกลางๆ
– ถ้าเงินเดือนสำหรับหน่วยงานราชการบางที่ให้ 7940 บาทครับ แต่ในหลายที่ ถ้าเป็นลักษณะของพนักงานจ้างเหมา(สัญญาปีต่อปี) ก็แล้วแต่หน่วยงานจะประเมินหน้าที่และภาระงานที่มีตั้งมาให้ มีตั้งแต่ 7940 8500 9000 9500 11000 12000 และที่เคยเห็นองค์กรหนึ่งจ้างให้ 15000 ทั้งหมดที่ว่ามาคือ ป.ตรี

– Link : ความเป็นไปได้ของ “บรรณารักษ์สภา” = http://atomdekzaa.exteen.com/20110116/entry

– “ทำไมคนไทยถึงไม่ให้ความสำคัญกับอาชีพบรรณารักษ์”? ผลสรุปมีดังนี้
– ในต่างจังหวัดหรือบางพื้นที่ยังไม่รู้จักอาชีพบรรณารักษ์เลย
– ผู้บริหารสถาบันการศึกษาหลายแห่งก้อไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่ แต่จะมานึกถึงอีกทีตอนที่ประกันคุณภาพเข้ามาตรวจ

– Link : Conference Participation Grants = http://conference.ifla.org/ifla77/conference-participation-grants

– Link : จัดห้องสมุดเป็นของขวัญวันเด็ก =
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=651&contentID=115785

– “อยากรู้จังว่ามีวันสำคัญที่เกี่ยวกับห้องสมุดบ้างไหมคะ”? ผลสรุปมีดังนี้
– วันรักการอ่าน 2 เมษายนของทุกปี
– สัปดาห์ห้องสมุด ต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี
– วันก่อตั้งห้องสมุด วันเปิดห้องสมุด …..


– “ใครใช้ Zotero แล้วบ้าง ขอข้อมูลด้วยค่ะ ลง version ไหนดีค่ะ”? ผลสรุปมีดังนี้

– แนะนำให้อ่านใน link : http://stks.or.th/wiki/doku.php?id=zotero%3Astart
– ใช้เวอร์ชั่น 2.0.9 ไม่มีปัญหาใดๆ
– ใช้เวอร์ชั่น 2.0.9 ร่วมกับ winword integration 3.0b1


– ประเด็นสำหรับวันที่ 18 มกราคม 2554 “เรื่องการแต่งกายเข้าห้องสมุดโดยเฉพาะสถานศึกษา / มหาวิทยาลัย มีเกณฑ์ในการวัดความสุภาพอย่างไร เช่น กรณีกระโปรงสั้นๆ กับ กางเกงใส่ถึงเข่า —-> แล้วห้องสมุดประชาชนมีกฎระเบียบแบบนั้นหรือปล่าว” ผลสรุปมีดังนี้

– จากการสำรวจสาเหตุในการไม่เข้าห้องสมุดพบว่ามาจากเงื่อนไขเรื่องการแต่งกาย ซึ่งพบมากในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย
– ทำไมนิสิตที่ใส่กระโปรงสั้นถึงเข้าห้องสมุดได้ แต่กลับไม่ให้คนใส่กางเกงขาสั้นเข้าไป บางทีกระโปรงสั้นกว่ากางเกงด้วยซ้ำ แล้วกางเกงขาสั้นบางทีก้อประมาณเข่าแต่เข้าไม่ได้
– วิธีแก้ไขแต่ละห้องสมุดก็มีวิธีของตัวเอง เช่น นำภาพมาประกอบการอธิบาย หรือ การตักเตือนในช่วงแรกๆ หรือ หาตัวอย่างมาประกอบ
– เรื่องการแต่งกายให้สุภาพไม่ใช่เรื่องยากเลยนะครับ ถ้าจะตั้งกฏแต่ละที่ก็ควรให้ชัดเจน
– เป็นปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับทุกห้องสมุดนะคะ เพราะนโยบายและการให้บริการของห้องสมุดบางทีก็ขัดกับนโยบายมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้นักศึกษาแต่งชุดนักศึกษาเมื่อมามหาวิทยาลัย ฯ แต่ห้องสมุดต้องการเปิดกว้างให้แก่ผู้ใช้ ต้องการให้มีผู้มาใช้ห้องสมุดเยอะ ๆ บวกกับนักศึกษาไม่ชอบอยู่ในกฎระเบียบอีก
– เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวพอสมควรนะคะ สำหรับคำว่าแต่งกายสุภาพ เพราะวุฒิภาวะต่างกัน การวัดความสุภาพไม่เหมือนกัน
– รู้จักถึงความเหมาะสมครับ กระโปรงต้องไม่สั้นจนมันจะเปิดหวอ เสื้อต้องไม่รัดจนกระดุมทำงานหนัก ใส่แล้วแต่งแล้วเดินไปหมาไม่เห่าก้พอ
– พยายามหาและระดมความคิดเห็นจากหลายๆฝ่ายเพื่อหา ข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งก็ยากทีเดียวค่ะ

– “ปัจจุบันนี้การทำกฤตภาค(การตัดข่าวหรือบทความที่น่าสนใจ)ยังมีสอนบรรณารักษ์ในมหาวิทยาลัยอยู่ไหมคะ และกฤตภาคนี่ลดความสำคัญลงไปมากตั้งแต่มีการใช้ internet ห้องสมุดยังควรต้องมี(บรรณารักษ์ควรต้องทำ)กฤตภาคอยู่ไหมคะ” ผลสรุปมีดังนี้
– ตัดเก็บเฉพาะเหตุการณ์สำคัญๆ
– ในแง่การสอน ไม่ได้สอนให้ทำในรูปแบบเดิมแล้วค่ะ แต่ให้เขาเห็นและใช้บริการทั้งแบบเดิมและแบบใหม่
– สำหรับห้องสมุดเฉพาะ เช่น ที่แบงก์ชาติ กฤตภาคยังจำเป็น แต่ต้องปรับรูปแบบให้ทันสมัย ใช้ง่าย รวดเร็ว ประหยัดเวลาผู้บริหารขององค์กร อาจจะทำเองหรือจ้างคนอื่นทำ หรือบอกรับฐานข้อมูลก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าแบบไหนสนองความต้องการได้มากที่สุด


– “ห้องสมุดบางแห่งนำไอทีเข้ามาใช้แต่แทนที่จะทำงานได้เร็วขึ้นกลับกลายเป็นว่าทำงานช้ากว่าเดิมหรือทำในรูปแบบเดิม” ผลสรุปมีดังนี้

– ควรไปดูงานห้องสมุดม.มหิดล, STKS, ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาฯ ที่นำเทคโนโลยีที่จำเป็นเข้ามาประยุกต์ใช้ ตามความเหมาะสมเท่าที่จำเป็น

– Link : เมื่อคนช่วยกันยืมหนังสือจนหมดห้องสมุด ประชดทางการ!!! (ที่จะปิดห้องสมุด) = http://www.newyorker.com/online/blogs/books/2011/01/the-run-on-stony-stratford.html

– Link : all Magazine แจกฟรี ! ให้ห้องสมุดทุกสถาบันการศึกษา = http://www.facebook.com/note.php?note_id=179905882043428&id=141179349231903

– Link : ยืมหนังสือเกลี้ยง! ประท้วงแผนปิดห้องสมุด = http://hilight.kapook.com/view/55420

– “คำศัพท์ของห้องสมุด(Eng->Thai)ไม่ทราบหาจากที่ไหน” ผลสรุปมีดังนี้
– วิทยานุกรมบรรณารักษศาสตร์ = A cyclopedia of librarianship / โดย จารุวรรณ สินธุโสภณ
– ศัพท์บัญญัติวิชาบรรณารักษศาสตร์ / คณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์วิชาบรรณรักษศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ
http://stks.or.th/thaiglossary/


– “ไอเดียการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนมัธยม” ผลสรุปมีดังนี้

– น่าจะมีรางวัลคนขยันอ่าน — ประกวดเรียงความ ฉันรักหนังสือ — เล่าเรื่องจากนิยายสนุก ๆ –เชิดหุ่น — โต้วาที — วันรักการอ่าน(ประกอบด้วยเกม-สอยดาว-นิทรรศการ-ห้องสมุดแรลลี่ — เกมค้นหาเพื่อตอบคำถามชิงรางวัล ฯ)
– กิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคน
– โครงการอ่านวันละนิด จิตแจ่มใส ของสำนักพิมพ์แจ่มใส
– กิจกรรมในลักษณะเกมต่างๆ ก็จะช่วยปลุกเร้าได้ดีค่ะ รูปแบบของเกมหาได้ตามหนังสือประเภทคู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทั่วไป
– แฟนพันธุ์แท้ห้องสมุด
– reading rally ก็ดีค่ะ จัดเป็นฐาน จัดค่ายรักการอ่านก็ได้
– กิจกรรมคนศรีห้องสมุดสุดยอดนักอ่าน / กิจกรรม นักอ่านข่าวรุ่นเยาว์ / กิจกรรม เสียงตามสาย เกี่ยวกับสารานุกรมไทย / ตอบปัญหาสารสนุกรมไทย


– “สิ่งที่ควรคำนึงถึงในเรื่องการคัดหนังสือหรือการจำหน่ายหนังสือออกจากห้องสมุด” ผลสรุปมีดังนี้

– คัดเลือกหนังสือที่สอดคล้องกับองค์กร, หนังสือเก่าแต่มีคุณค่ามี 2 วิธีดำเนินการคือ อนุรักษ์ เช่น ส่งซ่อมทำปกใหม่ ทำความสะอาด ได้คุณค่าหนังสือเก่า หรือควรจะซื้อเล่มนั้นใหม่ (มีจัดพิมพ์ใหม่หาซื้อได้) แล้วจึงส่งไปอนุรักษ์
– แนะนำ Link น่าอ่านดังนี้ http://www.md.kku.ac.th/library/main/newsletter/new07-53.php , http://librarykm.stou.ac.th/ODI/KM/pdf/policy.pdf , http://librarykm.stou.ac.th/ODI/KM/pdf/manul.pdf
– เรื่องของเนื้อหาด้วย เพราะเนื้อหาในแต่ละกลุ่มมีความเฉพาะอีก เช่น หนังสือประวัติศาสตร์ยิ่งเก่ายิ่งควรเก็บ หนังสือคอมล่าสมัยเร็ว

– “มีห้องสมุดธรรมะที่ไหนน่าฝึกงานบ้าง” ผลสรุปมีดังนี้
– เหล่าบรรณารักษืแนะนำ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสงฆ์, มหามกุฎ กับ มหาจุฬา, หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ, ห้องสมุดนาลันทา ยุวพุทธิกสมาคมฯ

– ไอเดียที่น่าสนใจ : “เด็กแข่งกันสืบค้นข้อมูลผ่านทาง Search Engine ผมคิดว่าทางห้องสมุดสามารถนำไปประยุกต์จัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์และการใช้ห้องสมุดได้”

– ประชาสัมพันธ์ : “สมัครสมาชิกและต่ออายุ TKpark ฟรี 21-23 มกราคม นี้เท่านั้น บัตรใหม่มีให้เลือก 5 ลาย รีบๆ มาสมัครกันได้ เลย”

นอกจากประเด็นที่สรุปลงมาในนี้แล้ว บางอันผมไม่ขอเอาลงนะครับ เช่น น้องๆ เอกบรรณปี 2 จากสถาบันต่างๆ เข้ามาแนะนำตัวกันเยอะมาก และประเด็นเรื่องที่ไม่มีคนตอบ ก็ขอละเอาไว้ไม่สรุปแล้วกัน อีกส่วนคือมีคอมเม้นต์แต่ผิดประเด็นกับคำถามที่ตั้ง เช่น เรื่อง xml technology แต่กลายเป็นว่าคำตอบออกไปเรื่องฝึกงาน ก็ไม่ได้นำมาลงแล้วกัน

สุดท้ายนี้ก็ขอให้เพื่อนๆ ช่วยกันผลักดันกลุ่มเครือข่ายของเรากันต่อไป
นี่แหละครับพลังขับเคลื่อนวิชาชีพและวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

แง่คิดจากคลิปวีดีโอสวยใสไร้สมอง ณ ห้องสมุด

คลิปวีดีโอที่ผมจะนำมาให้ดูวันนี้เป็นคลิปวีดีโอโฆษณาสินค้าอย่างหนึ่ง อยากให้เพื่อนๆ ลองเดากันดูว่าสินค้าอะไร
แต่ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่สินค้านั้นหรอกครับ มันอยู่ที่โฆษณาตัวนี้ใช้ห้องสมุดเป็นฉาก และมีแง่คิดขำๆ ซ่อนอยู่

อยากให้ดูคลิปวีดีโอก่อน แล้วค่อยมาอ่านสรุปแล้วกัน

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=0eN0b5qdmrA[/youtube]

เรื่องย่อๆ ของโฆษณาตัวนี้ “มีผู้หญิงหน้าตาดีเข้าใจผิดเดินเข้ามาสั่งอาหารเสียงดัง เจ้าหน้าที่คนนึงหันไปบอกว่าที่นี่ห้องสมุดนะ ผู้หญิงงงๆ แล้วสั่งอาหารกลับไปใหม่ด้วยเสียงที่เบาลง”

จริงๆ แล้วอยากให้มองสองแง่ว่า
1. ผู้หญิงคนสวยอาจจะไม่รู้เรื่องจริงๆ ว่าห้องสมุดไม่มีอาหารขาย (แอบโง่)
2. ผู้หญิงคนสวยอาจจะปล่อยมุขเพื่อแก้สถานการณ์หน้าแตก (รู้จักแก้ปัญหา)

โฆษณาตัวนี้มีประโยคเด็ดอยู่ตรงที่ “Beauty is nothing without brains”
มันทำให้ผมนึกถึงคำที่หลายๆ คนชอบพูดว่า “สวยใสแต่ไร้สมอง”

ในโฆษณาและสำนวนอาจจะดูเหมือนกับว่าเป็นการพูดถึงผู้หญิงอย่างเดียว (ผมไม่ได้เจตนาจะว่าผู้หญิงนะครับ)
แต่ผมอยากจะพูดแบบกลางๆ ว่า ไม่ว่าจะหญิงหรือชายหากคุณมีเพียงแค่หน้าตาดี รูปร่างดี เพียงอย่างเดียว
ก็คงใช้ชีวิตในสังคม ประกอบอาชีพ หรือเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่างๆ ได้ยาก หากปราศจากความรู้
ดังนั้นความรู้ ความคิด ไหวพริบต่างๆ จะช่วยเสริมให้คนเราสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสบายมากขึ้น

และหนทางนึงที่จะช่วยให้เรามีสมองหรือมีความคิดดีๆ ได้ก็มาจากการอ่านมากๆ การดูมากๆ การคิดมากๆ การฝึกมากๆ
ซึ่งผมว่าห้องสมุดก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยสร้างประสบการณ์และความรู้ต่างๆ ได้
นะครับ

เอาเป็นว่า ผมก็ขอฝากไว้ “สวยหรือหล่อเพียงอย่างเดียวคงกินไม่ได้ ต้องอาศัยความรู้ถึงจะช่วยให้เอาตัวรอดในสังคมได้”

หวังว่าเพื่อนๆ คงรู้แล้วแหละว่าสินค้าตัวนี้คืออะไร ยังไงก็ฝากเอาไปดูขำๆ นะครับ
คิดเห็นยังไงก็แสดงความคิดเห็นมาได้ในกรอบด้านล่างแล้วกัน