เปรียบเทียบข้อดีของหนังสือฉบับกระดาษกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

วันนี้เจอประเด็นนึงในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook “ข้อดีและข้อเสียของ E-Book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง ?” ซึ่งประเด็นนี้ผมจะเขียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วแต่ไม่มีเวลา วันนี้ผมจึงขอเขียนเรื่องนี้ออกเป็นสองประเด็นแล้วกัน

ประเด็นที่ผมจะนำเสนอ มาจากบทความ 2 เรื่อง ดังนี้
1. 5 ประเด็นที่บอกว่าหนังสือดีกว่า ebooks (http://www.readwriteweb.com/archives/5_ways_that_paper_books_are_better_than_ebooks.php)
2. 5 ประเด็นที่บอกว่า ebooks ดีกว่าหนังสือ (http://www.readwriteweb.com/archives/5_ways_that_ebooks_are_better_than_paper_books.php)

เรามาดูกันที่ละเรื่องเลยดีกว่านะครับ

5 ประเด็นที่บอกว่าหนังสือดีกว่า ebooks

1. Feel หรือ ความรู้สึก – เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดกันมากอยู่แล้วว่าหนังสือแบบกระดาษยังคงให้ความรู้สึกที่ดีต่อการอ่านมากกว่า การได้จับกระดาษ พลิกกระดาษไปทีละหน้าเป็นเรื่องที่ ebooks ยังหาความรู้สึกมาแทนไม่ได้

2. Packaging หรือ รูปลักษณะของตัวเล่มหนังสือ – นอกจากในเรื่องของตัวเล่มแล้วยังรวมถึงสิ่งที่มากับหนังสือ เช่น ภาพประกอบหนังสือด้วย การที่รูปบางรูปไปอยู่ใน ebooks มันทำให้ไม่สะดวกต่อการดูเพราะหน้าจอของ ebooks มันเล็กกว่าหนังสือบางเล่ม แม้ว่า ebooks จะมีฟังค์ชั่นในการขยายรูปภาพ แต่ก็ไม่ชัดเจนเท่ากับการดูภาพฉบับจริง นอกจากนี้ปกหนังสือก็เป็นจุดดึงดูดให้คนสนใจหนังสือมากกว่าด้วย หากปกหนังสือในอีบุ๊คหลายๆ รุ่นยังไม่มีภาพที่เป็นสีเลย ทำให้จุดนี้หนังสือแบบเดิมก็ยังคงดีกว่า ebooks

3. Sharing หรือการแบ่งปัน – ในแง่นี้หมายถึงการให้เพื่อนยืมไปอ่าน การนำหนังสือไปบริจาคต่อให้คนอื่น ถ้าเป็น ebooks มันจะมีการติดสิทธิ์จำพวก DRM ซึ่งทำให้เกิดความไม่สะดวกหรือบางเล่มไม่สามารถนำไปให้คนอื่นอ่านต่อได้ ลิขสิทธิ์ของ ebooks จะมีแค่เจ้าของเพียงคนเดียว แต่หนังสือหากเราอ่านจบแล้วยังส่งต่อให้ใครก็ได้ยืมอ่านต่อ

4. Keeping หรือ การเก็บ – จากเรื่องของ DRM ในข้อเมื่อกี้แล้วสิ่งที่น่าคิดอีก คือ ในอนาคต ebooks อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปมากกว่านี้ สมมุติว่าเราซื้อ ebooks ในปีนี้ เวลาผ่านไปอีก 10 ปีเราอยากจะอ่านเล่มนี้อีก เราอาจจะต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ เปลี่ยนโปรแกรมอ่านใหม่ ซึ่งมันก็ไม่เหมาะเลย (ยกตัวอย่างไฟล์โปรแกรมที่เราเคยเล่นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ลองเอาโปรแกรมนั้นมาลองเล่นดูสิครับ) แต่มุมมองกลับกันถ้าเป็นหนังสือ อีกสิบปีเราอยากอ่านก็หยิบหนังสือเล่มเดิมออกมาไม่ต้องเปลี่ยนปกใหม่เรก็อ่านได้ครับ 5555

5. Second hand book หรือ หนังสือมือสอง -? เรื่องนี้ก็ไม่พ้น DRM เช่นกัน หากเราอ่านหนังสือเล่มเดิมๆ จนเบื่อแล้ว ถ้าเป็นหนังสือเราก็เอาไปขายต่อเป็นหนังสือมือสองได้ แต่ ebooks ไม่สามารถขายได้เนื่องจากมันจะผูกกับสิทธิ์เจ้าของเพียงคนเดียว

เป็นไงบ้างครับ แบบนี้ยืนยันได้แล้วหรือยังว่าหนังสือย่อมดีกว่า ebooks
แต่อย่าเพิ่งตัดสินใจจนกว่าเพื่อนๆ จะอ่านบทความที่สองนี้นะครับ

5 ประเด็นที่บอกว่า ebooks ดีกว่าหนังสือ

1. Social Highlighting หรือ ช่วยกันเน้นข้อความที่น่าสนใจ – ฟังค์ชั่นนี้เป็นจุดเด่นของการอ่านหนังสือบน ebooks ความสามารถในการแบ่งปันหรือการอ่านหนังสือร่วมกัน (แต่ละคนต้องซื้อหนังสือหรือดาวน์โหลดเล่มเดียวกันมาเท่านั้นนะ) เมื่อเจอข้อความเด็ดๆ หรือน่าอ่านเราก็จะเน้นข้อความนั้นเพื่อให้เพื่อนๆ ที่อ่านเล่มเดียวกันได้เห็นทำให้การอ่านสนุกมากยิ่งขึ้น ลองมองภาพนะว่าหากเราไปยืมหนังสือห้องสมุดมาอ่านแล้วเราทำ highlight ลงไป คงโดนด่าแน่นอน

2. Notes หรือ จดบันทึก – ฟังค์ชั่นนี้จะคล้ายๆ กับเมื่อกี้ แต่เน้นการเติมข้อมูลลงไปด้วย บางคนอ่านแล้วก็สรุปใจความสำคัญลงไปใน ebooks เผื่อในอนาคตกลับมาอ่านใหม่จะได้จำได้ นอกจากนี้ยังใช้บันทึกเพื่อเตือนความจำในหนังสือได้

3. Look up of word หรือ ค้นหาคำในหนังสือ – หากหยิบหนังสือแบบเดิมมาอ่านการที่เราจะต้องหาคำที่เราอยากอ่านในหนังสือทำได้โดยการที่เราจะต้องอ่านมันทั้งเล่มแล้วก็จดมันออกมา แต่ใน ebooks มีฟังค์ชั่นในการค้นหาคำซึ่งมันสะดวกมากกว่าการที่เราจะต้องอ่านมันทั้งเล่ม

4. Social network หรือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ – เมื่อเราเจอประโยคเด็ดๆ ในหนังสือบางทีเราก็อยากจะแชร์สิ่งนั้นไปให้เพื่อนๆ ได้อ่านเหมือนกัน ตอนนี้ ebooks device หลายรุ่นก็ทำฟีเจอร์เพื่อให้เครื่อง ebooks ต่ออินเทอร์เน็ตแล้วส่งข้อความผ่าน twitter หรือ facebook ได้แล้ว เช่น? Kindle 2.5

5. Search หรือ การค้นหา – ฟีเจอร์เพิ่มเติมที่น่าสนใจของการอ่าน ebooks คือเราสามารถนำข้อความใน ebooks ไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน search engine ได้ด้วย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่มากกว่าการอ่านหนังสือได้ด้วย

โดยรวมๆ แล้วจุดเด่นของ ebooks จะเน้นไปในแนวทางของสังคมออนไลน์มากขึ้น การอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน การพบปะกับคนที่ชอบหนังสือในแนวเดียวกัน รวมถึงการเรียนรู้ที่มากกว่าแค่การอ่านหนังสือด้วย

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นจุดเด่นของหนังสือและ ebooks ใครชอบอะไรก็เลือกแบบนั้นแล้วกัน
ยังไงซะ การอ่านก็มีประโยชน์อยู่แล้ว รักการอ่านมากๆ ทำให้มีความรู้และเกิดไอเดียมากๆ ครับ

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 4/2554

กลับมาแล้วครับสรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมแล้ว
วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีความเคลื่อนไหวเยอะมากๆ เลย (กลุ่มบรรณารักษ์เริ่มคึกคัก)

หน้าที่ของผมก็คงหนีไม่พ้นการนำประเด็นต่างๆ มาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันเช่นเคย
สัปดาห์ที่ 4 (วันที่ 22 -28 มกราคม 2554) เรื่องราวเด่นๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีอะไรบ้าง ติดตามชมได้เลย

– Link : เส้นทางสายขนานระหว่างหลักสูตร “บรรณารักษศาสตร์”กับอาชีพ “ครูบรรณารักษ์” = http://atomdekzaa.exteen.com/20110122/entry

– Link : แนวการแก้ปัญหาการขาดแคลน”ครูบรรณารักษ์” เบื้องต้น = http://atomdekzaa.exteen.com/20110123/entry

– Link : โครงการ World Book Night = http://www.worldbooknight.org/

– Link : เว็บไซต์ห้องสมุด Edinburgh = http://www.edinburghlibrariesagency.info/

– Link : กิจกรรมส่งเสริมการอ่านแบบใหม่กับแนวคิด Let?s Get Lyrical = http://www.cityofliterature.com/ecol.aspx?sec=6&pid=769

– “ขอคำแนะนำเรื่องหัวข้อในการจัดโครงการยอดนักอ่านในเดือนกุมภาพันธ์” มีผลสรุปดังนี้
– เรื่องอาชีพหรือเส้นทางความใฝ่ฝันในอนาคต
– หนังสือกับแรงบันดาลใจในความสำเร็จ

– Link : (ร่าง)หลักสูตรครูบรรณารักษ์ (กศ.บ) = http://atomdekzaa.exteen.com/20110123/entry-1

– ประชาสัมพันธ์ : ขอเชิญบรรณารักษ์ นักรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ร่วมงานสมัชชาการอ่าน Bangkok Read for Life ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


– Link : โครงการ Creative Cites Network =
http://www.cityofliterature.com/index.aspx?sec=1&pid=1
เป็นเว็บที่น่าสนใจมาก “โครงการ Creative Cites Network โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม สุนทรียะ การท่องเที่ยว ให้กับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก โดยหนึ่งในโครงการดังกล่าวคือ City of Literature หรือการเนรมิตเมืองทั้งเมืองให้กลายเป็นเมืองวรรณกรรม”

– Link : Book Saver อุปกรณ์สำหรับคนรักหนังสือ =
http://www.ionaudio.com/booksaver

– ประชาสัมพันธ์ : 25 – 26 มกราคม บรรณารักษ์กรุงเทพฯและปริมณฑล อบรมที่นานมีบุ๊คส์

– คำขวัญหรือคำคมเกี่ยวกับการอ่าน ลองเข้าไปดูที่ http://pakdeelibrary.igetweb.com/index.php?mo=5&qid=290075

– เพื่อนๆ คิดยังไงกับเรื่องนี้ “ในบางครั้งผู้บริหารมีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องแหกกฏกับสำนวนที่ว่า Put the right man on the right job” มีผลสรุปดังนี้
– เลือกคนทำงานให้เหมาะกับงานเป็นสิ่งที่ดี แต่ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงงานนั้นด้วยจึงจะเลือกคนได้ถูกต้องเช่นกัน
– “ผู้บริหารไม่เข้าใจบรรณารักษ์” และ “ทำงานกับบรรณารักษ์ลำบากมาก เพราะพูดไม่รู้เรื่อง” ประโยคต่างกรรมต่างวาระเหล่านี้สะท้อนอะไรบ้างครับ? มันเป็นเพียงคำบ่นหรือคือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเสมอๆ หากหน้าที่ของผู้บริหารคือยกระดับการให้บริการของสภาบันสารสนเทศแล้ว หน้าที่ของบรรณารักษ์ก็คือสนับสนุนการให้บริการด้วยความรู้และทักษะที่เรามี
– บรรณารักษ์อย่างพวกเรา “รู้ดีในสิ่งที่เราเป็น” แต่อาจไม่รู้ใน “มุมที่คนอื่นเค้าเห็น
– การหางานที่เหมาะสมกับคนมันยากก็จริง จนบางครั้งงานบรรณารักษ์มันต้องใช้สำนวนนี้แทน “Put the right man on the “หลาย” job”

– จากประโยคเด็ดในประเด็นเมื่อกี้ “รู้ดีในสิ่งที่เราเป็น” แต่อาจไม่รู้ใน “มุมที่คนอื่นเค้าเห็น” แล้วเราจะมีวิธีอย่างไรที่จะเข้าใจผู้ใช้บริการ มีผลสรุปดังนี้
– ทำสำรวจหรือแบบสอบถาม และที่สำคัญไม่ว่าผู้ใช้จะตอบหรือแสดงความคิดเห็นกลับมาแรงๆ อย่างไร เราต้องเปิดใจรับกับสิ่งที่ผู้ใช้คิดด้วย

– Link : มหานครแห่งการอ่าน กทม. ชู 5 ยุทธศาสตร์เสนอยูเนสโก = http://hilight.kapook.com/view/55570

– “อยากรู้ว่าตอนที่บอกที่บ้านหรือคนอื่นๆว่าเรียนบรรณารักษ์ คนรอบข้างมีปฏิกิริยายังไงกันบ้าง” มีผลสรุปดังนี้

– ที่บ้านไม่รู้จักวิชาบรรณารักษ์ นอกจากนี้ยังไม่รู้จักคณะอักษรศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ (เพราะสองคณะนี้เด่นเรื่องภาษามากกว่า)
– พ่อบอกว่า “เรียนแล้วรับรองว่าไม่ตกงาน เพราะเรียนเกี่ยวกับข้อมูล” แค่นั้นแหละเลือกเลยจ้า แล้วก็ไม่ตกจริงๆ
– ต้องอธิบายสักหน่อยว่ามันคือวิชาเกี่ยวกับอะไร พ่อแม่ถึงเข้าใจ
– พ่อแม่มีถามๆว่าเรียนเกี่ยวกับอะไรกันแน่ จบแล้วมีงานทำมั้ย แต่ไม่ขัดขวางอะไร บอกแค่ว่า เอาตัวให้รอดละกัน
– ไม่สำคัญหรอกครับว่า “เรา” จะเรียนอะไร? หรือ “ใคร” จะคิดอย่างไร? แต่ที่สำคัญกว่าคือ “เรา” มีความรู้ ความสามารถ ใช้ในการประกอบอาชีพ เลี้ยงชีวิตได้ ไปจนตาย

– ประชาสัมพันธ์ : “กิจกรรมสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 1 หรือ Libcampubon#1 จัดในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี”

– Link : IFLA Asia Oceania Newsletter = http://www.ifla.org/files/asia-and-oceania/newsletters/december-2010.pdf

– ขอชื่นชม : “ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จังหวัดลำพูน ได้รับรางวัลรองขนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเงินรางวัล 80,000 บาท จากการเข้าประกวดตามโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิต ครั้งที่ 3 ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี”

ปล. ประเด็นที่เกี่ยวกับการแนะนำตัวเองและประชาสัมพันธ์รับสมัครงานผมไม่ขอนำมาไว้ในสรุปนี้นะครับ เนื่องจากงานบางตำแหน่งอาจรับไปแล้ว

จะสังเกตได้ว่าอาทิตย์นี้มี link แนะนำเยอะมากๆ เลย และทุกๆ link ก็น่าสนใจไม่แพ้ประเด็นที่พวกเราช่วยกันตั้งเลย เอาเป็นว่าหากสนใจ link ไหนเป็นพิเศษก็ลองเข้าไปดู link นั้นเลย แล้วถ้าได้ไอเดียใหม่ๆ เพิ่มก็นำมาเสนอในกลุ่มใของพวกเราได้นะครับ

สำหรับวันนี้ต้องลาไปก่อนไว้เจอกันในสัปดาห์หน้า