ต้อนรับงาน WUNCA 23 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ในสัปดาห์หน้ามีงานใหญ่ที่เกี่ยวกับวงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา (งานของ UNINET) หรือที่หลายๆ คนรู้จักในนามของงาน WUNCA ถือเป็นกิจกรรมที่จัดโดยเครือข่ายความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาของไทยที่ใหญ่ที่สุดก็ว่าได้ ผมจึงขอแนะนำงาน WUNCA ในครั้งนี้ว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 23
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : Workshop on UniNet Network and Computer Application หรือ WUNCA23
วันและเวลา : 26-28 มกราคม 2554
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ผู้จัดการประชุม : UNINET สกอ.

งาน Wunca ครั้งนี้ผมสังเกตว่าเกิดกลุ่มใหม่ๆ และมี session เพิ่มขึ้นเยอะมาก โดยเฉพาะเรื่องไอที
ซึ่งมีตั้งแต่เรื่องของความปลอดภัยในการดูแลระบบไปจนถึงระดับพวกเขียนโปรแกรมบนไอโฟนแบบว่าน่าเข้าร่วมมากๆ
แต่วันนี้ผมขอเน้นข้อมูลเพื่อให้บรรณารักษ์และคนในวงการห้องสมุดดูดีกว่าว่างานนี้เกี่ยวอะไรกับห้องสมุดได้บ้าง

หัวข้อบรรยายในกลุ่มของ Thailis (เครือข่ายความร่วมมือพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย)
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “Learnig Space”
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “Search Engine : ผลกระทบต่อบรรณารักษ์”
– การบรรยายพิเศษเรื่อง “มุมมอง : รอด…ไม่รอด… กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KMUTT”
– อบรมการใช้งานฐานข้อมูล Computers & Applied Sciences Complete / Academic Search Premium /Education Research Complete
– อบรมการใช้งานฐานข้อมูล ScienceDirect

ปล. กลุ่ม Thailis จะมีการบรรยายในวันที่ 27 มกราคม 2554 วันเดียว

นอกจากหัวข้อในกลุ่มของ Thailis แล้ว กลุ่มอื่นๆ ที่น่าสนใจและผมแนะนำได้แก่
วันที่ 26 มกราคม 2554
– การบรรยายปาฐกถา เรื่อง “นโยบาย 3N และทิศทางการศึกษาไทย”
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “UniNet พบมหาวิทยาลัย”
– Project Collaboration ThaiREN & TWNIC

วันที่ 27 มกราคม 2554
– การบรรยายพิเศษเรื่อง ?Education 3.0 กับ Open Source?
– Education Technology, Moodle 2.0, Social Media. จะไปด้วยกันอย่างไร การศึกษาไทยถึงจะรอด?
– การใช้เครือข่ายสังคมเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืนด้านการเขียนและการคิดวิเคราะห
– บรรยาย เรื่อง ?อุดมศึกษาไทยรับมืออย่างไรในยุค New media?
– คุยซายน์ ?ซอฟต์แวร์เพื่อช่วยบริหารจัดการการให้ทุนวิจัยในองค์กร?

วันที่ 28 มกราคม 2554
– ?การพัฒนาระบบสารสนเทศอัจฉริยะของระบบ e-learning โดยใช้ซอฟต์แวร์ Open Source Pentaho BI Suite?
– เสวนาประสบการณ์ตรงที่ได้รับจากการเรียนในหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญอีเลิร์นนิง

เอาเป็นว่าผมขอแนะนำหัวข้อที่น่าสนใจเท่านี้ก่อนแล้วกัน รายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ เพื่อนๆ ไปดูได้ที่
http://www.wunca.uni.net.th/wunca23/

งานนี้เป็นงานที่แวดวงการศึกษาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงวงการห้องสมุดไม่ควรพลาด
จากที่เคยเข้าร่วมงานมา 2-3 ครั้ง ผมรับรองเลยว่างานนี้ไอเดียและความรู้มีให้เก็บเกี่ยวเพียบ

คนที่ต้องการเข้าร่วมงานนี้ต้องลงทะเบียนด้วยนะครับ เข้าไปสมัครได้ที่
http://www.wunca.uni.net.th/wunca/Regis_wunca/wunca23_Mregis.php
(ตอนนี้ปิดรับลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อนๆ สามารถติดต่อขอเข้าร่วมงานสัมมนาได้ที่หน้างานเลย)

หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับงานนี้เพิ่มเติม เพื่อนๆ สามารถเข้าไปที่
เว็บไซต์ทางการงาน Wunca23 – http://www.wunca.uni.net.th/wunca23/

เว็บไซต์งาน Wunca ย้อนหลัง
Wunca22 (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca22/
Wunca21 (มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca21/
Wunca20 (มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca20/
Wunca19 (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี) – http://wunca19.uni.net.th/

โฆษณาการอ่านทำให้เกิดสติปัญญา (Ad. by Posttoday)

โฆษณาที่ผมนำมาให้ดูในวันนี้มาจากโฆษณาของหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ที่นำเสนอเรื่องราวและสนับสนุนให้คนไทยสนใจเรื่องการอ่าน บอกตามตรงเห็นโฆษณานี้ครั้งแรกแล้วโดนใจมากๆ และคิดว่านี่คือการนำเสนอที่ดีจริงๆ

หลายคนคงเห็นโฆษณาตัวนี้ได้มาสักระยะนึงแล้ว เอาเป็นว่าไปชมคลิปโฆษณาตัวนี้กันอีกสักรอบดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Titse-luroU[/youtube]

จากคลิปวีดีโอโฆษณาตัวนี้เพื่อนๆ ได้แง่คิดอะไรกันบ้าง เห็นข้อดีของการอ่านหรือยัง

ขอเสริมจากคลิปวีดีโอโฆษณาตัวนี้ เรื่องการอ่านจริงๆ แล้ว ไม่ได้เจาะจงแค่ “อ่านหนังสือ” เท่านั้น
เรายังเรียนรู้จากการอ่านสื่ออื่นๆ ได้อีกมากมาย เช่น อ่านบทความในอินเทอร์เน็ต อ่านจดหมายข่าว ฯลฯ
นอกจากนี้การรับความรู้หรือการทำให้มีสติปัญญา อาจจะมีหนทางมาจากการรับความรู้แบบอื่นๆ ด้วย เช่น การดู การฟัง การพูดคุย ฯลฯ

สิ่งสำคัญของการเกิดสติปัญญา มาจากการเลือกที่จะรับความรู้ที่ดี และต้องมีสติ คิด และวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ด้วย
ไม่ใช่แค่อ่านออก อ่านได้ แต่เราต้องอ่านแล้วเข้าใจ รู้ความหมาย และรู้ว่าสื่อต้องการบอกอะไร

“อย่าสักแต่ว่าอ่านเพียงแค่อ่านออก แต่จงอ่านแล้วทำความเข้าใจและคิดตามด้วย”
อย่างนี้สิจึงจะเรียกว่าการอ่านทำให้เกิดสติปัญญา

เอาเป็นว่าผมก็ขอฝากเรื่องการอ่านแบบมีสติไว้แต่เพียงเท่านี้นะครับ

Infographic : เมื่อเราอยากแชร์ข้อมูลที่น่าสนใจให้คนอื่น

วันนี้เจอภาพ Infographic นึงน่าสนใจมาก เป็นการนำเสนอเรื่อง การส่งต่อหรือการแบ่งปันข้อมูล
เมื่อเราเจอข้อมูลดีๆ ในอินเทอร์เน็ต เราจะบอกต่อให้เพื่อนๆ ได้รู้ยังไง” ผมว่าน่าสนใจดีเราขอแชร์ให้เพื่อนๆ ดู

ในภาพนี้เริ่มต้นที่ “เมื่อคุณเจอเรื่องที่น่าสนใจในอินเทอร์เน็ต” และจบด้วยการแชร์ข้อมูลนี้ไปให้คนอื่นๆ
ซึ่งผลสุดท้ายหากดูจากภาพเราจะพบสองประเด็นที่น่าสนใจ คือ
1. การแบ่งปันนี่มันเยี่ยมไปเลย
2. มันแย่มาก (คุณจะโดนด่าว่าเอามาแชร์ทำไม)

ในภาพ InfoGraphic ตัวนี้ให้ข้อคิดที่ดีหลายเรื่อง ผมขอสรุปดังนี้
– เรื่องการเลือกเรื่องที่จะแชร์ (เรื่องมันน่าสนใจแค่ไหน มันเยี่ยมยังไง ประเด็นที่ต้องการแชร์คืออะไร)
– เมื่อเราเลือกที่จะแบ่งปันข้อมูลแล้ว เราก็ต้องบอกที่มาของเรื่องนั้นๆ ด้วยว่าเรานำมาจากไหน
– ลิขสิทธิ์ในเรื่องหรือรูปภาพหรือสื่ออื่นๆ (ระวังเรื่องการนำมาดัดแปลงนะ)

เอาเป็นว่าก็ดีเหมือนกันนะภาพนี้ เพื่อนๆ คิดยังไงกับเรื่องนี้
แสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้ได้เลยนะครับ

ที่มาของรูปนี้ http://loldwell.com/ (เป็นเว็บที่นำเสนอภาพการ์ตูนกราฟิกที่น่าสนใจ)

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 2/2554

ผ่านปีใหม่มาหนึ่งสัปดาห์ก็เข้าสู่งานวันเด็ก ห้องสมุดของเพื่อนๆ มีกิจกรรมอะไรกันหรือปล่าวครับ
ง่ะ ลืมไปวันนี้เป็นวันที่ต้องสรุปเรื่องราวในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นี่หว่า งั้นกลับเข้าเรื่องเลย

เอาเป็นว่าสัปดาห์ที่ 2 (วันที่ 8 – 14 มกราคม 2554) เรื่องราวมากมายมีอะไรบ้างไปติดตามกันเลย

– “ทำไมบรรณารักษ์รุ่นเก่าแยกไม่ออกระหว่าง location Collection กับคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง???” ผลสรุปมีดังนี้
– เรื่องของชื่อคอลเล็คชั่น อาจขึ้นอยู่กับขนาดและปริมาณของคอลเล็คชั่นที่มีก็ได้ครับ ยิ่งลงรายละเอียดให้เจาะจงเท่าไหร่ ก็ยิ่งง่ายต่อการจัดการทั้งในปัจจุบันและอนาคตมากเท่านั้น
– รู้สึกว่าจะเป็นปัญหาความไม่เข้าใจกันมากกว่า เนื่องจากในการแยก collection ระบบจะแยกให้ไม่จำเป็นต้องใช้คำเดียวกันกับหัวเรื่อง
– ผู้ใช้สมัยนี้ส่วนมากไม่เข้าใจคำว่าหัวเรื่องหรอกค่ะ ขอแค่ให้ค้นหนังสือหรือทรัพยากรเจอก็ OK แล้ว


– “ปัญหาเรื่องพื้นที่จับเก็บหนังสือ วารสาร ฉบับย้อนหลัง (เนื่องจากห้องสมุดเล็ก)” ผลสรุปมีดังนี้

– จำหน่ายวารสารย้อนหลังออก แล้วหันมาใช้ e-journal แทน
– กระจายตู้หนังสือออกไปบริเวณอื่นๆ ในหน่วยงานก็ได้ เช่น มุมตามทางเดินโรงพยาบาล หรือ มหาวิทยาลัย

– Link : MV เพลงนี้ถ่ายในห้องสมุดทั้งหมด = http://www.youtube.com/watch?v=MIVu-egUMM0

– Link : มะกันผุดแผนบัตรประชาชนชาวเน็ต ยกระดับความ@ปลอดภัยโลกไซเบอร์ = http://is.gd/kwDFo

– “คุณอยากให้ ในห้องสมุด มีอะไรพิเศษ?” ผลสรุปมีดังนี้
– มีบริการสำหรับคนพิเศษ (ผู้พิการรูปแบบต่างๆ)
– ให้อารมณ์แบบ “บ้าน”
– บรรณารักษ์สวยๆ
– บรรยากาศแบบห้องนั่งเล่น สบายๆ อยากทำอะไรพร้อมๆ กับอ่านหนังสือก็ทำได้
– สถานที่กว้างๆ มุมสงบ ๆ เงียบ ๆ ที่ไม่แคบๆ เหมือนมุมอ่านหนังสือ ที่มองไปทางไหนก็มีแต่หนังสือ
– โปรโมชั่นพิเศษ เช่น Loan 5 Get 1 Free! ช่วงคริสมาสต์ หรือวันฮาโลวีนปล่อยผี discountค่าปรับ10-20%ถ้าจับสลากพิเศษได้

– Link : all Magazine แจกฟรี ! แก่ห้องสมุดทุกสถาบันการศึกษา = http://www.facebook.com/note.php?note_id=179905882043428&id=141179349231903

– Link : ข่าว….โครงการรักการอ่าน จาก บมจ.ซีพี ออลล์ = http://www.facebook.com/note.php?note_id=179960038704679&id=141179349231903

– “จะทำอย่างไรให้คนหันมาเข้าห้องสมุดกันเยอะๆ”? ผลสรุปมีดังนี้
– ต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้น่าสนใจและต่อเนื่องด้วย และมีของรางวัลให้ด้วย
– ห้องสมุดออนไลน์ อีบุ๊ค e-Book เทคโนโลยีมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น
– กิจกรรมbook forward : หนังสือดีต้องบอกต่อ
– บริการ Document Delivery Service ซึ่งไม่ต้องเดินมาห้องสมุด
– เพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์ ที่จะรองรับนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น ebook
– รักษาฐานเดิมของผู้ใช้ที่มั่นคงกับห้องสมุดไว้ให้ได้ พร้อมๆ กับหาวิธีขยายไปยังกลุ่มที่ไม่ใช้ให้เข้ามา ชอบวิธีการทำกิจกรรมที่ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมค่ะ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง
– ห้องสมุดจะเปิดเพลงเบาๆไปด้วยครับ สร้างบรรยากาศ

– “ขอความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐาน ISO กับห้องสมุด”? ผลสรุปมีดังนี้
– ลองปรึกษาที่ห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม
– หอสมุดวิทยาศาสตร์ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นอีก 1 แหล่ง ที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ version 1998และปัจจุบัน 2001


– “e-book จะแทนที่หนังสือ ในมุมมองของบรรณารักษ์ท่านคิดอย่างไรบ้างคับ”? ผลสรุปมีดังนี้

– ลดโลกร้อนได้เยอะครับ ทำให้เด็ก ๆ ไม่ต้องหิ้วหนังสือน้ำหนักเยอะ ๆ ครับ มีอีกเยอะครับประโยชน์
– แทนกันไม่ได้หรอก เพราะผู้ใช้หลายคนชอบที่จะสัมผัสตัวเล่มหนังสือ เรื่อง E-book เป็นแค่ตัวเสริมในการบริการ
– ต่างเสริมซึ่งกันและกัน ทั้งรูปแบบ การใช้ การทำงาน และกลุ่มเป้าหมาย ไม่มีอะไรแทนที่อะไรได้ทั้งหมด
– อย่าลืมเรื่องลิขสิทธิ์
– มีได้ ใช้ได้ แต่แทนกันไม่ได้หรอก
– หนังสิออ่านได้ทุกที่ แต่ E-Book ถ้าไม่มีเครื่องมือก็อ่านไม่ได้


– Link – ดัน 10 ล้าน แปลวิกิฯ เป็นภาษาไทย มุ่งเป็นอันดับ 2 ภาษาท้องถิ่นออนไลน์ =
http://www.prachatai3.info/journal/2011/01/32634?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+prachatai+%28%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97+Prachatai.com%29&utm_content=Twitter

– “การนำ WALAI AutoLib มาใช้ในห้องสมุดมหาลัยเหมาะสมหรือไม่ มีปัญหาอย่างไร” ผลสรุปมีดังนี้
– ห้องสมุดที่ใช้ Walai Autolib เช่น ศูนย์บรรณฯ ของม.วลัยลักษณ์ สำนักหอสมุด ม.อุบลฯ ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร ฯลฯ

– “ความเสี่ยงของห้องสมุดมีอะไรบ้าง” ผลสรุปมีดังนี้
– ด้านคน (คนไม่พอ,ขาดทักษะการทำงาน) ด้านการทำงาน (อุบัติเหตุในการทำงาน) ด้านงบ (ได้งบประมาณจำกัด,งบไม่พอ,ข้าวของแพงขึ้นทุกปี) ด้านการบริหาร (ไม่ได้รับการสนับสนุน,ผู้บริหารหรือคนนอกไ่ม่เข้าใจงานของเรา)
– ตัวอย่างการแบ่งประเภท เช่น ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์และประกันคุณภาพ, ความเสี่ยงด้านการเรียนการสอน, ความเสี่ยงด้านบริหารจัดการ, ความเสี่ยงด้านสารสนเทศ, ความเสี่ยงทางกายภาพ/อุบัติภัย, ความเสี่ยงด้านจรรยาบรรณ, ความเสี่ยงของการปฏิบัติงาน, ความเสียหายด้านสถานที่/สิ่งแวดล้อม
– ในภาวะโลกวิกฤติแบบนี้ อย่าลืมระบุความเสี่ยงเรื่องน้ำท่วม
– ความเสี่ยงด้านการลงทุน ทุ่มเทกับทรัพยากรไปมากมาย แต่ผู้ใช้ไม่มาใช้

– Link : 2011 Grant Funds to attend IFLA 2011 = http://conference.ifla.org/ifla77/conference-participation-grants

– Link : แนะนำฐานข้อมูล อาหารพื้นบ้านล้านนา จัดทำโดยงานศูนย์สารสนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ = http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/

– Link : Dead Poets Society = ครูครับเราจะสู้เพื่อฝัน = http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q1/2008march06p2.htm

สัปดาห์นี้เรื่องราวในกลุ่มเริ่มคึกคักกันมากขึ้นนะครับ
ตอนนี้สมาชิกในกลุ่มของเราก็ 383 คน ก็ถือว่าพอรับได้
(เมื่อวันที่ไปบรรยายที่ ม.รังสิต มีคนบอกว่าน่าจะมีสัก 2011 คนตามปีเลย)

เอาเป็นว่าสัปดาห์หน้าจะมีเรื่องอะไรที่น่าสนใจก็สามารถติดตามกันได้นะครับ
ที่กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook = http://www.facebook.com/pinksworda#!/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1

เก็บตกงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (วันที่ 12 มกราคม 2554) ผมมีโอกาสไปร่วมงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต
ซึ่งในงานนี้น่าสนใจมาก ผมจึงขอนำบทสรุปของงานเสวนาในงานสัปดาห์ห้องสมุดมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง

งานในวันแรกนี้ไฮไลท์ก็อยู่ที่งานบรรยายและงานเสวนาเรื่องเครือข่ายสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ซึ่งในช่วงเช้า วิทยากรก็คือ คุณชัชวาล สังคีตตระการ (ผู้ที่อยู่เบื้องหลังโปรแกรม ABDUL)
ซึ่งมาพูดเรื่อง “สังคมฐานความรู้ กับ สังคมเครือข่าย”
แค่ชื่อเรื่องก็น่าฟังแล้วใช้มั้ยครับ ไปดูเนื้อหาที่ผมสรุปดีกว่า

เรื่อง “สังคมฐานความรู้ กับ สังคมเครือข่าย” โดย คุณชัชวาล สังคีตตระการ

– ประเดิมสไลด์แรกด้วยการแนะนำคำว่า Human Language Technology และ Human-Computer Technology ซึ่งหลักๆ ได้แนะนำเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารกันระหว่างคนและคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนี้คนเราต้องทำความเข้าใจคอมพิวเตอร์ แต่ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะต้องสื่อสารกับเราและทำความเข้าใจกับคนเช่นกัน

– เราสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้ด้วย TEXT, SPEECH, INFORMATION, LINGUISTICS

– ปัจจุบันที่เราสามารถเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ได้ก็มาจาก Monitor ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันหลักๆ ก็ได้แก่ TV, Computer, Mobile

– ในช่วงวันเด็กที่ผ่านมาชาว Twitter เล่น tag #WhenIWasYoung กันมาก แต่ที่วิทยากรประทับใจ คือ รูปเด็กที่เข้าแข่งขันการใช้ Linux ซึ่งมันแฝงแง่คิดว่าเด็กสมัยนี้เกิดมาก็เจอหน้าจอคอมพิวเตอร์เลย ซึ่งทำให้เกิดความกังวลกับผู้ปกครอง เพราะว่ากลัวเด็กจะนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น กลัวลูกติดเกมส์ ซึ่งวิทยากรได้แนะนำต่อไปว่าเด็กก็เหมือนกับผ้าสีขาวนั่นแหละ การใช้เทคโนโลยีก็เหมือนจุดสีดำ ผู้ปกครองบางคนกลัวเด็กใช้มากๆ ก็ทำให้เกิดการกีดกั้นเด็กก็พยายามไปลบสีดำจุดนั้น ซึ่งหากสังเกตคือเมื่อเรายิ่งลบจุดดำมันก็จะเลอะผ้าไปมากขึ้น (ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ) ทำให้ผ้าสกปรกและไม่น่าใช้ แต่คิดในมุมกลับกันว่าหากสีดำหยดนั้นหยดลงมาแล้วพ่อแม่ช่วยกันแต่งเติมให้เป็นรูปต่างๆ ผ้าผืนนั้นก็จะทำให้สวยงามและมีค่ามากขึ้นด้วย

– Computer VS Mobile ในปัจจุบันสองสิ่งนี้เริ่มขยับตัวใกล้เข้าหากันมากขึ้น มือถือมีการใช้ฟีเจอร์ต่างๆ ลงไปจนคล้ายกับคอมพิวเตอร์

– 2011 Smartphone > Feature Phone (โทรศัพท์แบบเดิม) ข้อมูลจาก morgan stanley
– 2012 Smartphone > Notebook+PC ข้อมูลจาก morgan stanley

– คนไทยมี 63 ล้านคน แต่เบอร์โทรศัพท์กลับมี 64 ล้านเลขหมาย มันสะท้อนอะไร?

– ข้อมูลการใช้ Internet ในเมืองไทย (จากการสำรวจของ NECTEC)คนไทย 24 ล้านคนใช้อินเทอร์เน็ต

– จุดประสงค์ในการใช้ (เรียงจากมากไปน้อย)
– 2552 -> Search Email News Elearning Webboard Chat
– 2553 -> Email Search News Elearning Webboard Chat

– ห้องสมุดจากอดีตสู่อนาคต หากเข้าห้องสมุดคุณจะพบอะไรบ้าง
ระยะที่ 1 พบคนอ่านหนังสือในห้องสมุด
ระยะที่ 2 พบคนเข้ามาใช้คอมพิวเตอร์ในห้องสมุด
ระยะที่ 3 พบคนนำโน้ตบุ๊คมาใช้ในห้องสมุด
ระยะที่ 4 พบคนนำ Netbook มาใช้ในห้องสมุด
ระยะที่ 5 พบคนนำ tablet มาใช้ในห้องสมุด

– เรียนรู้จากโลกออนไลน์มีหลายวิธี เช่น ITuneU, Youtube, Wikipedia

– แนะนำ Web 1.0 , 2.0 , 3.0

– 2015 -> 10% of your online friends will be nonhuman

– แนะนำโปรแกรม ABDUL

เอาเป็นว่าคร่าวๆ ก็ตามนี้นะครับ สำหรับเอกสารในการบรรยาย รอดาวน์โหลดได้ที่ http://library.rsu.ac.th (ตอนนี้ยังไม่ขึ้นนะ)

ช่วงเช้าก็จบประเด็นไว้เพียงเท่านี้นะครับ ส่วนช่วงบ่ายงานเสวนาเรื่อง “จะก้าวให้ทันกับสื่อทางออนไลน์ยุคใหม่ได้อย่างไร”
โดย คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ, คุณฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ และผมเอง ดำเนินรายการโดย อาจารย์บุญญาณิศา อ.ตันติพิบูลย์

ในช่วงบ่ายหลักๆ วิทยากรก็ได้ชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องสื่อออนไลน์ ดังนี้

– การแบ่งประเภทสื่อออนไลน์
– ข้อดีและข้อเสียของการใช้สื่อออนไลน์
– ข้อควรระวังในการใช้สื่อออนไลน์
– ทำไมเราต้องตามเทคโนโลยีให้ทัน
– กรณีการใช้สื่อออนไลน์ในงานต่างๆ
– ห้องสมุดกับสื่อออนไลน์

เอาเป็นว่าสรุปสั้นๆ แค่นี้ดีกว่า เพราะวันนั้นผมเองก็อยู่บนเวทีสมาธิเลยอยู่ที่การบรรยายมากกว่า
แต่ขอสรุปง่ายๆ ว่า การรู้จักเทคโนโลยีและใช้มันให้ถูกต้องจะทำให้เราได้เปรียบและมีโอกาสมากกว่าคนอื่น

การบรรยายและเสวนาก็จบด้วยดี แต่งานสัปดาห์ห้องสมุดไม่ได้มีแค่งานบรรยายอย่างเดียวนะ
ในห้องสมุดยังมีนิทรรศการและกิจกรรมการส่งเสริมการรักการอ่านอื่นๆ ด้วย
ซึ่งวิทยากรอย่างพวกเราไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วมาเยี่ยมชมดูสักนิดก็ดีเหมือนกัน

วิทยากรทั้งสามก็ขอแจมเรื่องการเขียนแนะนำหนังสือที่ตัวเองชอบและติดไว้ที่บอร์ดแนะนำหนังสือด้วย
ซึ่งในใบแนะนำก็มีให้ใส่ชื่อหนังสือ เวลาที่ชอบอ่านหนังสือ และบอกต่อหนังสือที่น่าอ่าน

จากนั้นพวกเราก็ถ่ายภาพร่วมกับเหล่าบรรณารักษ์ในหอสมุดซึ่งแน่นอนว่า น้องซี ถูกถ่ายรูปเยอะที่สุด
ส่วนผมเองก็โดนดึงไปดึงมาถ่ายรูปกันสนุกสนาน ก็สรุปง่ายๆ ว่าประทับใจกับพี่ๆ ที่นั่นจริงๆ ครับ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณทีมงานที่จัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ทุกคนครับ
ขอชื่มชนจากใจว่าจัดงานได้ดี สนุก และได้รับความรู้กันมากๆ

ชมภาพงานสัปดาห์ห้องสมุดของ ม.รังสิตในวันแรก (วันที่มีงานเสวนา) ได้ที่
http://www.facebook.com/#!/album.php?aid=267520&id=695394799

ปล. ภาพบางส่วนที่นำมาลงที่นี่ก็นำมาจากแหล่งเดียวกันนะครับ
http://www.facebook.com/#!/album.php?aid=267520&id=695394799

ม.ราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ รับบรรณารักษ์

วันนี้นายห้องสมุดช่วยหางานกลับมารายงานตัวอีกครั้ง
วันนี้มีข่าวรับสมัครบรรณารักษ์มาฝากเช่นเคย เป็นบรรณารักษ์ ณ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

รายละเอียดงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
ลักษณะงาน : ลูกจ้างชั่วคราว
จำนวน : 1 อัตรา
เงินเดือน : 7,940 บาท
สถานที่ : มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี สมุทรปราการ

คุณสมบัติเบื้องต้นของตำแหน่งนี้
– จบปริญญาตรีบรรณารักษศาสตร์
– สามารถใช้งาน Microsoft Office ได้
– สามารถอ่านสรุปความได้
– มีความรู้เกี่ยวกับงานสารบรรณ

ตำแหน่งนี้ต้องทำงานอะไรบ้าง
– งานจัดหาและคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
– ให้คำแนะนำเรื่องการสืบคนข้อมูลในห้องสมุด
– จัดเก็บและรวบรวมสถิติต่างๆ ของห้องสมุด
– จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
– ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

เอาเป็นว่าก็คงเป็นงานทั่วๆ ไปแหละครับ ไม่มีเรื่องของไอทีมากนัก
หวังว่าคงจะสามารถทำได้ทุกคนนะครับ

รับสมัครตั้งแต่วันที่ 10 – 21 มกราคม 2554 นะครับ
สมัครได้ที่ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร อาคาร 4 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี (ถนนอิสรภาพ)

ปล. ขอเตือนไว้ก่อนว่าสมัครที่มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี (ถนนอิสรภาพ) นะครับ แต่ทำงานที่สมุทรปราการ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองไปสมัครกันดูนะครับ
ผมก็ขอให้เพื่อนๆ โชคดีกันนะครับทุกคน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
http://mis.dru.ac.th/PUBLIC/Recruit/12-001.pdf
http://mis.dru.ac.th/promis/module_Vacancy/vacancy.asp?vn755229928=1
http://sp.dru.ac.th/

Library Trend 2011 ตอน ทำความรู้จักกับ Google eBooks

วันนี้เพิ่งเดินทางกลับมาถึงกรุงเทพฯ เลยขอเขียนบล็อกสั้นหน่อยแล้วกัน
ด้วยความบังเอิญเจอวีดีโอตัวนึงน่าสนใจมาก และกำลังเป็นกระแสที่น่าติดตามเหมือนกัน นั่นคือ “Google eBooks
จึงขอนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ ห้องสมุดและบรรณารักษ์ดูและศึกษากันหน่อย

Google eBooks เปิดตัวไม่นานมานี้และถูกคาดหวังว่าจะเป็น trend ที่น่าสนใจในวงการห้องสมุดปีหน้าด้วย

เอาเป็นว่าไปลองดูวีดีโอตัวนี้กันก่อนแล้วกันครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=ZKEaypYJbb4[/youtube]

เป็นยังไงบ้างครับ

เนื้อหาที่กล่าวไว้ในวีดีโอนี้ได้แก่
– โลกของหนังสือที่เปลี่ยนจากการเป็นหนังสือเป็น eBooks
– แนวความคิดของการทำงาน Google eBooks
– อุปกรณ์ที่สนับสนุนการทำงานของ Google eBooks

เอาเป็นว่าวีดีโอตัวนี้ทำให้เข้าใจถึงเรื่องราวต่างๆ โดยภาพรวมของ Google eBooks
ยังไงซะก็ฝากดูและศึกษากันด้วยนะครับ และที่สำคัญลองคิดดูว่าจะนำมาประยุกต์กับห้องสมุดได้อย่างไร
แล้ววันหลังผมจะนำมาเล่าให้ฟังต่อก็แล้วกันครับ

เว็บไซต์ทางการ Google eBookstore : http://books.google.com/ebooks

สัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ตอน เครือข่ายทางสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

สัปดาห์ห้องสมุดเป็นกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากในสถานศึกษาหลายๆ ที่ ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งซึ่งจัดธีมงานได้น่าสนใจ จึงขอประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้อ่านเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมห้องสมุดกัน

รายละเอียดทั่วไปของงานนี้
ชื่อกิจกรรม : สัปดาห์ห้องสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต
ธีมงานหรือหัวข้อของงาน : เครือข่ายทางสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
วันที่จัดงาน : วันที่ 12-14 มกราคม 2554
สถานที่จัดงาน : สำนักหอสมุด อาคารหอสมุด (อาคาร 7) มหาวิทยาลัยรังสิต
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต

ธีมของงานนี้อย่างที่บอกแหละครับว่าอยู่ในเรื่องของ Social Network เป็นหลัก
ซึ่งจะสังเกตได้จากวัยรุ่นยุคใหม่ให้ความสนใจในเรื่องต่างๆ เหล่านี้มากขึ้น
ในฐานะของสถานศึกษาก็ควรจะต้องปรับตัวให้ทันยุคทันกระแสและนำสิ่งเหล่านี้มาประยุกต์ใช้
เพื่อให้วงการศึกษาหรือทุกๆ สื่อเข้าถึงและเข้าใจพฤติกรรมและการตอบสนองต่อการบริการของผู้ใช้บริการได้ด้วย

กิจกรรมที่น่าสนใจในงานนี้
– การบรรยายเรื่อง “สังคมฐานความรู้กับสังคมเครือข่าย : ไปด้วยกัน ไปได้ไกล”
– จะก้าวให้ทันกับสื่อทางออนไลน์ยุคใหม่ได้อย่างไร
– การอบรมและสอนการใช้งานฐานข้อมูลต่างๆ
– กิจกรรมอื่นๆ เช่น การออกร้านหนังสือ ของที่ระลึก นิทรรศการ และนำชมห้องสมุด

อ๋อ ลืมบอกงานนี้ผมก็ได้รับเชิญเป็นวิทยากรด้วยเช่นกันในเรื่อง “จะก้าวให้ทันกับสื่อทางออนไลน์ยุคใหม่ได้อย่างไร”
ซึ่งก็ขอบอกเลยว่าเรื่องที่ผมจะนำมาพูดก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการใช้งานสื่อทางออนไลน์กับวงการห้องสมุด

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากเข้าร่วมฟังบรรยายก็กรอกแบบฟอร์มได้ที่ http://library.rsu.ac.th/pdf/library53.pdf

สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจในงานสัปดาห์ห้องสมุดของ ม รังสิต ก็อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://library.rsu.ac.th/pdf/library53.pdf

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 1/2554

สวัสดีปีใหม่กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook กลับมาพบกันในสัปดาห์แรกของปี 2554
ในสัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่มบรรณารักษ์และห้องสมุดของเรามีการโพสน้อยกว่าปกติ เพราะวันหยุดเยอะ

เอาเป็นว่าวันที่ 1 – 7 มกราคม 2554 กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook มีประเด็นที่น่าสนใจอะไรบ้าง ไปชมเลย

– Link : เก็บเล็กผสมน้อยกับการดูงานห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเว้ แห่งประเทศเวียดนาม = http://clm.wu.ac.th/wordpress/?p=513

– “ขอคำแนะนำในการเรียนต่อปริญญาโท สาขาบรรณารักษศาสตร์ ว่ายากมั้ย เรียนที่ไหนดี” ผลสรุปมีดังนี้

– เพื่อนๆ แนะนำให้เรียนที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มศว (หลักสูตรใหม่ดี)

– “ขอแนวคิดในรูปแบบการพัฒนางานบริการแบบใหม่ เอาใจวัยทีนยุคใหม่”? ผลสรุปมีดังนี้
– ใช้สื่อออนไลน์สมัยใหม่เข้ามาบริการแจ้งข่าวสารให้ผู้ใช้ได้รู้ เช่น twitter, facebook
– บริการด้วยความรวดเร็ว เพราะวัยรุ่นไม่ชอบรออะไรนานๆ (ตอบคำถามเร็ว) เช่น ผู้ใช้ถามมาทางเมล์เราก็ต้องรีบตอบ
– จัดหลักสูตรอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการพนักงาน GEN Y ให้กับผู้บริหาร (แบงค์ชาติเสนอแนวนี้มา)


– Link : คุณลักษณ์ของผู้เรียนสำหรับโลกอนาคต? =
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=660&contentID=111923

– Link : 6 ขั้นตอนในการจัดทำ Social Media Marketing = http://www.doctorpisek.com/pisek/?p=446

– Link ที่เกี่ยวกับบทความเรื่อง Library2.0 ซึ่งมีดังนี้

http://www.stks.or.th/blog/?p=816
http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_content&task=view&id=1751&Itemid=132
http://iteau.wordpress.com/2007/06/15/library2_0attcdc/
http://www.slideshare.net/boonlert/web-20-1806213
http://media.sut.ac.th/media/VDO/116/1689-%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94+2.0+%28Library+2.0%29.embed
http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.aspx?id=61961
http://tcdclibrary.wordpress.com/2008/09/06/library-20/

– “CAS ในห้องสมุด ย่อมาจากอะไร และเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กันกับ SDI อย่างไร”? ผลสรุปมีดังนี้

– CAS เป็นบริการข่าวสารทันสมัย เช่น สรุปข่าวประจำวัน หน้าสารบัญวารสารใหม่ ส่วน SDI เป็นบริการข้อมูลเฉพาะเรื่องแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ต้องการหรือ request ข้อมูลนั้น เช่น รวบรวมข้อมูลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้แก่นักวิจัยเฉพาะคนหรือเฉพาะกลุ่มที่ทำวิจัยเรื่องนั้นๆ อยู่

– Link : การสร้างเสริมประสิทธิภาพของสมอง Grow your mind = http://cid-9236d6851044637b.office.live.com/self.aspx/.Public/20110105%20-%20brain.pdf

– Link : อาชีพบรรณารักษ์ – ทำไม”ครูบรรณารักษ์”เป็นยากจังครับ??? =
http://atomdekzaa.exteen.com/20110105/entry

นอกจากประเด็นต่างๆ เหล่านี้แล้ว ประเด็นที่บรรณารักษ์เขียนถึงเยอะก็คือ “การสวัสดีปีใหม่และอวยพรพี่น้องชาวห้องสมุด” นั่นเอง
เอาเป็นว่าปีนี้ผมสัญญาว่าจะทำงานเพื่อห้องสมุดและบรรณารักษ์ให้ดีที่สุดแล้วกันครับ สัปดาห์นี้ก็ขอลาไปก่อน บ๊ายบาย

งานวันเด็ก ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

ช่วงวันเด็กปีนี้ผมก็มาทำงานที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี (มาช่วยเขาจัดงาน)
เลยขอเอากิจกรรมต่างๆ มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังดีกว่า เผื่อจะได้ไอเดียเอาไปใช้ในปีหน้ากัน

ชื่องานวันเด็ก – Kindai Kids Day จัดโดย ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

กิจกรรมที่จัดในห้องสมุดประชาชนแบ่งออกเป็น 5 โซน ดังนี้
1. โซนสร้างพลานามัย เวทีกลางแจ้ง (หน้าห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี) – เกมส์กลางแจ้ง
2. โซนรักการอ่าน ห้องโถงชั้น 1 ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี – ส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน
3. โซนสร้างจินตนาการ ห้องสมุดเด็กไทยคิด – ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
4. โซนเทคโนโลยี ห้องคอมพิวเตอร์ – ส่งเสริมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
5. โซนส่งเสริมอาชีพ – หน้าลานสนามหญ้าห้องสมุด – สอนการประดิษฐ์เพื่อนำไปประกอบอาชีพ

ธีมหลักของงานนี้ คือ สุขภาพแข็งแรง / รักการอ่าน / สร้างจินตนาการ / ใช้ไอที

ในแต่ละโซนมีอะไรให้เล่นได้บ้าง :-
1. โซนสร้างพลานามัย
เป็นโซนหลักและจัดกิจกรรมเกมส์กลางแจ้งมากมาย เช่น การแสดงความสามารถของเด็กๆ , การแข่งขันฮูล่าฮูป, เก้าอี้ดนตรี, เกมส์เหยียบลูกโป่ง นอกจากนี้ในโซนนี้จะมีการจัดซุ้มจับสลาก (การจับฉลากเดี๋ยวอธิบายทีหลังนะครับ)
2. โซนรักการอ่าน เป็นโซนบริเวณทั่วๆ ไปในห้องสมุด ซึ่งมีการจัดนิทรรศการแนะนำหนังสือเด็ก นอกจากนี้ยังมีการจัดบอร์ดสำหรับเด็กๆ คือ โตขึ้นหนูอยากเป็น…. เด็กๆ ก็จะมาเขียนอาชีพในฝันของตัวเอง ซึ่งได้รับการตอบรับมากมาย
3. โซนสร้างจินตนาการ เป็นโซนที่ส่งเสริมการสร้างจินตนาการให้เด็กๆ ซึ่งกิจกรรมทั่วๆ ไป คือ การวาดภาพระบายสี การบิดลูกโป่งเป็นรูปสัตว์ต่างๆ
4. โซนเทคโนโลยี เป็นโซนที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในทางที่เหมาะสมสำหรับเด็ก กิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น เกมส์คอมพิวเตอร์ และการอบรมการใช้ internet เบื้องต้น
5. โซนส่งเสริมอาชีพ เป็นโซนที่ได้รับความสนใจอีกโซนหนึ่ง เพื่อผู้ปกครองที่มารอเด็กๆ เล่นกิจกรรมก็จะเข้ามาร่วมกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ มาเรียนรู้การทำอาชีพ เช่น การพับดอกไม้ด้วยใบเตย, การสานรูปสัตว์จากใบตาล, การทำแซนวิส, การทำน้ำสมุนไพร

ของรางวัลในงานนี้แบ่งออกเป็น
– ของที่ระลึก – แจกเด็กๆ ทุกคนที่มางาน = ขนม
– ของรางวัลตามกิจกรรม – เล่นกิจกรรมแล้วได้เลย
– ของรางวัลจากการจับสลาก – ต้องเล่นกิจกรรมให้ครบ 4 โวนแล้วนำบัตรมายื่นที่ซุ้มจับฉลาก

งานนี้มีเด็กเข้าร่วมประมาณ 200 คน
ของขวัญที่มีคนอยากได้มากที่สุด = ตุ๊กตาหมูกระต่ายใหญ่และหมอนหมูกระต่ายใหญ่

เอาเป็นว่างานนี้ก็ถือว่าจัดได้สนุกพอควรเลย ผู้จัดงานเหนื่อยนะแต่ก็มีความสุขกับเด็กๆ ทุกคน
วันนี้ผมก็ขอเล่าแค่นี้ก่อนดีกว่า ขอไปพักก่อนนะครับ รูปเพื่อนๆ สามารถดูได้ด้านล่างนี้เลย

รูปกิจกรรมงานวันเด็ก 54 (Kindai Kids Day 2011)

[nggallery id=35]