คลิปวีดีโอพบรักกันในห้องสมุด (Love in the library)

วันนี้เจอคลิปวีดีโอนึงที่เกี่ยวกับห้องสมุดแถมยังเป็นคลิปวีดีโอที่น่ารักมากๆ เลย
เป็นเรื่องราวของผู้ใช้บริการห้องสมุดที่มาพบรักกันในห้องสมุด วิ้วๆ โรแมนติกน่าดู

เรื่องย่อๆ ของคลิปวีดีโอนี้ คือ ประมาณว่าผู้ใช้บริการห้องสมุดสองคนที่ต่างคนต่างเดินเข้ามาในห้องสมุดตามลำพัง และใช้เวลาในการอ่านหนังสือในห้องสมุด ด้วยความบังเอิญที่ทั้งคู่เดินชนกันและพบกัน ทำให้เกิดตกหลุมรักซึ่งกันและกัน เรื่องราวจะจบด้วยความสุขขนาดไหนไปดูกันเองนะ

ชมวีดีโอพบรักกันในห้องสมุด (Love in the library)

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=cjrKYICOzbE[/youtube]

เป็นไงบ้างครับ น่ารักหรือปล่าว นอกจากวีดีโอที่ผมจะชอบแล้ว
เพลงประกอบวีดีโอตัวนี้ผมก็ชอบด้วยเช่นกัน ชื่อเพลง close to you โดย Karen Mok

เอาเป็นว่าวีดีโอนี้ก็เอามาให้ชมกันแบบเพลินๆ แล้วกันนะครับ
นอกจากนี้ขอเป็นกำลังใจให้คนที่ยังไม่มีความรักด้วย (ลองไปห้องสมุดบ่อยๆ สิครับ อาจจะเจอความรักแถวๆ นั้นก็ได้)

ปล. แถมเพลงนี้ให้ดีกว่า ฟังได้ที่ด้านล่างนี้นะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Z49HJH07U5k[/youtube]

วารสารห้องสมุด IFLA Journal ฉบับเดือนธันวาคม 2010

วารสารห้องสมุด IFLA Journal ประจำเดือนธันวาคม 2010 ออกแล้วครับ
เลยต้องนำมาลงให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านกัน (ดาวน์โหลดได้ฟรีๆ เลยครับ)

อย่างที่เคยลงเอาไว้แหละครับว่า IFLA Journal ออก 3 เดือนครั้ง และออกมาในรูปแบบ PDF ไฟล์
ซึ่งครั้งที่แล้วผมนำฉบับเดือนตุลาคมมาลงซึ่งเพื่อนๆ หลายคนก็เมล์มาบอกผมว่าชอบ
และถ้าฉบับใหม่มาให้นำมาลงให้อ่านบ้าง ผมก็เลยจัดไปอย่าให้เสีย

วารสาร IFLA Journal ฉบับนี้มีเรื่องน่าสนใจอะไรบ้างไปดูกันก่อนเลยครับ

– Diversity in librarianship: The United States perspective
– Preserving traditional knowledge: Initiatives in India
– Assessing information literacy competency of Information Science and Library Management graduate students of Dhaka University
– Research output in the field of natural sciences: A bibliometric case study of Jamia Millia Islamia University, New Delhi
– Non-users? evaluation of digital libraries: A survey at the Universita` degli studi di Milano
– Building capacity through the IFLA Building Strong Library Associations programme

เข้าไปดาวน์โหลดเต็มๆ เล่มได้ที่
http://www.ifla.org/files/hq/publications/ifla-journal/ifla-journal-36-4_2010.pdf

เอาเป็นว่าแต่ละหัวข้อและบทความน่าอ่านมากๆ จริงๆ ครับ
ที่สำคัญของฟรีๆ แบบนี้มีให้อ่านเรื่อยๆ ดังนั้นไม่อยากให้พลาดกัน
โหลดไปอ่านแล้วส่งต่อให้เพื่อนๆ อ่านกันด้วยนะครับ

สำหรับเล่มเก่าๆ ก็ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.ifla.org/en/ifla-publications นะครับ

ปล. IFLA Journal ฉบับเดือนตุลาคม 2010 อ่านได้ที่
http://www.libraryhub.in.th/2010/10/28/ifla-journal-volume-36-no-3-october-2010/

สรุปงานประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุดฯ 2553

วันนี้ผมขอนำสรุปการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการเรื่อง ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ : สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน? โดยสมาคมห้องสมุดฯ ได้สรุปข้อมูลออกมาเป็น File PDF และอัพโหลดขึ้นเว็บของสมาคมฯ แต่หลายๆ คนอาจจะไม่สะดวกในการอ่านใน file PDF ผมจึงขออนุญาติแปลงข้อมูลออกมาลงบล็อกของผมให้เพื่อนๆ ได้อ่านครับ

ไฟล์ต้นฉบับอ่านได้ที่ http://tla.or.th/pdf/an2553.pdf

ไฟล์ที่ผมแปลงออกมา อ่านได้เลยด้านล่างนี้ครับ

การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการเรื่อง ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ : สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน?

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2553 เวลา 9.00 น. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการเรื่อง ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ : สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน? จัดโดย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ห้องคอนเวนชั่นฮอล์ล A-B โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการจัดงานว่า สืบเนื่องจาก คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี เป็นวันรักการอ่าน ให้ พ.ศ. 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน และให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้เกิดเป็นรูปธรรม สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านมาโดยตลอด สนับสนุนให้ห้องสมุดสถานศึกษาและสถาบันต่างๆ มีบทบาทในการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ได้มีบทบาทร่วมกับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ และการอ่านในการผลักดันเรื่องของการอ่านให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อพัฒนาคนไทยและประเทศไทยสู่สังคมความรู้ได้อย่างยั่งยืนแม้ในยามที่ประเทศชาติเผชิญปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจและได้นำเรื่องการอ่านเป็นวาระแห่งชาตินี้ เป็นหัวข้อในการประชุมวิชาการของสมาคมฯ ตั้งแต่ปี 2552 ที่ผ่านมา สำหรับในปี 2553 นี้ สมาคมฯ ได้กำหนดการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ในหัวข้อ ?การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน? เพื่อเน้นย้ำให้ห้องสมุดและสถานศึกษาร่วมกันรณรงค์เรื่องความสำคัญของการอ่าน และตระหนักในบทบาทการส่งเสริมการอ่านและสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนทุกเพศ ทุกวัย และทุกสาขาอาชีพ เพื่อสร้างสังคมการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากนั้น ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 และประชุมวิชาการของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ โดยมีใจความสรุปว่า

?…ขอขอบคุณที่สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ที่ได้ตอบสนองแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่กำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตใน 3 ประเด็น คือ 1.การพัฒนาคนไทยให้มีความสามารถในการอ่าน 2. การพัฒนาคนไทยให้มีนิสัยรักการอ่าน และ 3. การสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการอ่านอย่างยั่งยืน และสมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อสรรคสร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่านมาอย่างต่อเนื่อง… ในฐานะป็นประธานในการรณรงค์ส่งเสริมการอ่าน ได้ตั้งเป้าหมายให้คนไทยพัฒนาความสามารถในการอ่านและการรู้หนังสือ โดยภายในปี 2555 ประชากรวัยแรงงานจะต้องรู้หนังสือในระดับใช้งานได้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.64 เป็นร้อยละ 99 ขณะที่ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปสามารถอ่านออกเขียนได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.64 เป็นร้อยละ 95 และการอ่านหนังสือของคนไทยจะต้องเพิ่มขึ้นเฉลี่ยจากปีละ 5 เล่ม เป็น 10 เล่ม รวมทั้งเพิ่มแหล่งการอ่านที่มีคุณภาพให้ทั่วถึงทุกตำบลและชุมชน ตลอดจนเน้นสร้างภาคีเครือข่ายการอ่านเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน…? ในโอกาสเดียวกันนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง ?การดำเนินงานทศวรรษแห่งการอ่านของรัฐบาล? และมอบโล่เกียรติคุณแก่ 1. บุคคลดีเด่นรางวัล ศาสตราจารย์พิเศษคุณหญิงแม้นมาส ชวลิต 2. ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดจำนวน 8 ท่าน 3.บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 6 ท่าน และ 4. รางวัลห้องสมุดดีเด่นจำนวน 17 แห่ง

รายนามบุคคลและห้องสมุดที่ได้รับรางวัลและโล่เกียรติคุณ ประจำปี 2553
– รางวัลศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
นางจินัฏดา ชูช่วย

– ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
1. นายไกรสร นันทมานพ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นรงค์ ฉิมพาลี
3. พระศุภคณิชย์ สุภจิตโต
4. นายเรื่องเดช วงศ์หล้า
5. รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริพร ขัมภลิขิต
6. นางสาวสมสุณีย์ ดวงแข
7. นายสุเมธ สิมะกุลธร
8. ศาสตราจารย์ ดร. อักขราทร จุฬารัตน

– รางวัลบุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
1. นางสาวกนกวรรณ นิลจาด
2. นางนฤมล กิจไพศาลรัตนา
3. นางนาตยา ไทพาณิชย์
4. นางสาวนิสา ป้อมภู่
5. นางระวีวรรณ แสงลอย
6. นางราศี แสงจักร

– รางวัลห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553
1. หอสมุดกฎหมายมหาชน สำนักงานศาลปกครอง
2. ห้องสมุดโรงเรียนม่วงสามปี จังหวัดลำพูน
3. ห้องสมุดโรงเรียนบ้านแพะ จังหวัดอุตรดิตถ์
4. ห้องสมุดโรงเรียนชุมแพพิทยาคม จังหวัดขอนแก่น
5. ห้องสมุดโรงเรียนบ้านเจ้าเณร จังหวัดกาญจนบุรี
6. ห้องสมุดหลวงพธานอำนวยกิจ โรงเรียนบ้านพูด กรป. กลาง จังหวัดพัทลุง
7. ห้องสมุดพระครูภาวนารังสี โรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
8. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
9. ห้องสมุดโรงเรียนพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา
10. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โรงเรียนปากท่อพิทยาคม จังหวัดราชบุรี
11. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติฉลองครองราชย์ครบรอบ 60 ปี ในหลวง โรงเรียนบ้านบูกิ๊ดยือแร จังหวัดนราธิวาส
12. ห้องสมุดโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) กรุงเทพมหานคร
13. ห้องสมุดคอวนิช โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
14. หอสมุด 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ห้องสมุดโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร
15. ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
16. ห้องสมุดโรงเรียนสตูลวิทยา จังหวัดสตูล
17. ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ 48 พรรษา โรงเรียนสารวิทยา กรุงเทพมหานคร

ข้อความที่ถอดออกมาก็ได้แบบนี้แหละครับ หวังว่าเพื่อนๆ จะอ่านกันง่ายขึ้นนะครับ
เครดิต
ครั้งนี้ผมยกให้สมาคมห้องสมุดฯ แล้วกันที่เป็นคนสรุปงานออกมา
แต่อยากให้สมาคมห้องสมุดเปลี่ยนวิธีการในการนำเสนอข้อมูลได้แล้ว
เนื่องจากการอ่านไฟล์ PDF มันมีขั้นตอนซับซ้อนนิดหน่อย แถมยังไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ด้วย

เอาเป็นว่าวันนี้ขอนำเสนอแค่นี้แล้วกัน เพื่อนๆ ก็สามารถแสดงความคิดเห็น หรือ ใครที่ไปร่วมงานแล้วเขียนสรุปมาก็ส่งมาให้อ่านกันบ้างนะครับ เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมจะได้รับความรู้เท่าเทียมกัน “การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่”

เว็บไซต์สมาคมห้องสมุด : http://tla.or.th

สรุปเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนธันวาคม 2553

การสรุปเรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนธันวาคมมาแล้วครับ
เดือนนี้เป็นเดือนที่คนเข้าบล็อกของผมน้อยกว่าเดือนที่แล้ว อาจจะเนื่องมาจากวันหยุดเยอะ

เดือนธันวาคมที่ผ่านมา บล็อกเรื่องไหนได้คะแนนนิยมมากที่สุด 10 อันดับ

1. 25% – เพื่อนๆ คิดยังไงกับบทความ “ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้วหรือ”
2. 17% – แนวโน้มของ Social Media กับงานห้องสมุดในปี 2011
3. 14% – สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#2
4. 14% – คำว่า CYBRARIAN ย่อมาจากอะไร
5. 8% – เทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ ครั้งที่ 1 (Book For Gift 2010)
6. 7% – สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#1
7. 7% – ไอเดียการจัดต้นคริสต์มาสในห้องสมุดทั่วโลก
8. 7% – กลุ่มบรรณารักษ์ไทย (Librarian in Thailand) ใน Facebook
9. 6% – การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power)
10. 5% – วีดีโอเมื่อบรรณารักษ์กลายเป็นมนุษย์ดัดแปลง Cybrarian

ปล. เรื่องยอดฮิตมีเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)

เดือนมกราคมเรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นได้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นะครับ แล้วพบกับการรายงานแบบนี้ได้ใหม่ทุกต้นเดือน

นายห้องสมุดทักทายบรรณารักษ์ในวันปีใหม่ (Happy New Year 2011)

เนื่องในวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ 2554 (วันแรกของปี 2554) วันนี้ผมก็มี ส.ค.ส. มาอวยพรให้เพื่อนๆ เหมือนกัน
เอาเป็นว่าไปดู ส.ค.ส. ของผมก่อนดีกว่าแล้วก็รับคำอวยพรของผมไปด้วยนะครับ

การ์ดอวยพรด้านบนเป็นภาพของห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีครับ

ในปี 2554 นี้ ผมในฐานะบล็อกเกอร์ห้องสมุดและบรรณารักษ์ก็ขออวยพรให้เพื่อนๆ :-
– ขอให้มีความสุขกาย สุขใจ คิดสิ่งใดก็ขอให้ได้ตามที่คิด
– สุขภาพร่างกาย และจิตใจดี ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
– ประสบความสำเร็จในการทำงาน เรียน หรือพัฒนางานด้านห้องสมุดหรือบรรณารักษ์
– พบเจอแต่สิ่งที่ดี และผ่านพ้นสิ่งเลวร้ายไปได้
– ฯลฯ

เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขออวยพรให้เพื่อนๆ อย่างเดียวก่อนแล้วกันนะครับ