10 ข้อปฏิบัติที่จะทำให้คุณกลายเป็นบรรณารักษ์คนใหม่

ภาพเดิมๆ ของบรรณารักษืในสายตาผู้ใช้บริการ คือ “บรรณารักษ์เป็นเพียงแค่คนเฝ้าหนังสือในห้องสมุด”
การจะเปลี่ยนภาพลักษณ์หรือค่านิยมเหล่านี้ได้ มันก็ต้องขึ้นอยู่กับเราว่า “จะยอมเปลี่ยนแปลงตัวเองมั้ย”


คำถามที่ตามมา “อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง แล้วต้องทำอย่างไรหล่ะ”
บทความนี้ผมนำมาจากบทความที่อาจารย์ Michael Stephens ใช้สอนนักศึกษาของเขา
ชื่อเรื่องตามต้นฉบับ คือ “Ten Rules for the New Librarians

บทความนี้เขียนตั้งแต่ปี 2006 นี่ก็ผ่านมาเกือบ 5 ปีแล้ว แต่ผมว่ามันก็ยังพอใช้ได้นะ
เอาเป็นว่าผมจะขอแปลเรื่องนี้แล้วกัน โดยใช้ชื่อว่า “10 ข้อปฏิบัติที่จะทำให้คุณกลายเป็นบรรณารักษ์คนใหม่”

ข้อปฏิบัติเพื่อเป็นบรรณารักษ์คนใหม่ได้ มีดังนี้

1. Ask questions (ตั้งคำถาม)
– ในขณะที่ถูกสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ พยายามอย่าให้คนสัมภาษณ์งานถามเราเพียงฝ่ายเดียว เราควรจะต้องถามและพยายามเรียนรู้เรื่องห้องสมุดนั้นๆ ด้วย เช่น ถามคำถามกลับไปว่าตอนนี้ห้องสมุดมีโครงการไอทีหรือปล่าว และมีแผนนโยบายของห้องสมุดเป็นอย่างไร

2. Pay attention (เอาใจใส่)
– เวลาสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ ก็ขอให้มีความเอาใจใส่และสนใจกับคำถาม ที่คนสัมภาษณ์ถามด้วย ไม่ใช่ยิงคำถามอย่างเดียว ในการเอาใจใส่นี้อาจจะแทรกความคิดเห็นของเราลงไปในคำถามด้วย

3. Read far and wide (อ่านให้เยอะและอ่านให้กว้าง)

– แน่นอนครับ บรรณารักษ์เราต้องรู้จักศาสตร์ต่างๆ รอบตัวให้ได้มากที่สุด ยิ่งอ่านมากยิ่งรู้มากโดยเฉพาะข่าวสารในแวดวงบรรณารักษ์

4. Understand copyright (เข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์)
– เรื่องลิขสิทธิ์ดูอาจจะเป็นเรื่องของกฎหมายซึ่งหลายๆ คนมองว่าไกลตัว แต่จริงๆ แล้วผมก็อยากบอกว่ามันมีความเกี่ยวข้องกับห้องสมุดโดยตรงในเรื่องของการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ในห้องสมุด รวมถึงสื่อออนไลน์ของห้องสมุดด้วย

5. Use the 2.0 tools (ใช้เครื่องมือ 2.0)
– ตรงๆ เลย ก็คือ ต้องรู้จักและนำเอา web 2.0 มาประยุกต์ใช้กับการให้บริการในห้องสมุด หรือบางคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง library 2.0 ก็ว่างั้นแหละ

6. Work and Play (ทำงานอย่างมีความสุข)
– บรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างน้อยต้องรู้จักการประยุกต์การทำงานให้ ผู้ทำงานด้วยรู้สึกสนุกสนานกับงานไปด้วย เช่น อาจจะมีการแข่งขันในการให้บริการกัน หรือประกวดการให้บริการกันภายในห้องสมุดก็ได้

7. Manage yourself (จัดการชีวิตตัวเอง)
– บางคนอาจจะบอกว่าทำไมบรรณารักษ์ต้องทำโน้นทำนี่ “ฉันไม่มีเวลาหรอก” จริงๆ แล้วไม่ใช่ว่าไม่มีเวลาหรอกครับ แต่เพราะว่าเขาไม่จัดการระเบียบชีวิตของตัวเอง ดังนั้นพอมีงานจุกจิกมาก็มักจะบอกว่าไม่มีเวลา ดังนั้นบรรณารักษ์ยุคใหม่นอกจากต้องจัดการห้องสมุดแล้ว การจัดการตัวเองก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

8. Avoid technolust (ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี)

– ห้ามอ้างว่าไม่รู้จักเทคโนโลยีโน้น หรือเทคโนโลยีนี้ บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องหัดและทดลองใช้เทคโนโลยีเบื้องต้นให้ได้

9. Listen to the reasoned librarians (รับฟังความคิดเห็นของบรรณารักษ์ด้วยกัน)
– อย่างน้อยการรับฟังแบบง่ายๆ ก็คือ คุยกับเพื่อนร่วมงานดูว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ในการบริการ บรรณารักษ์ต้องช่วยเหลือกัน อย่างต่อมานั่นก็คือ การอ่านบล็อกของบรรณารักษ์ด้วยกันบ้าง บางทีไม่ต้องเชื่อทั้งหมด แต่ขอให้ได้ฟังความคิดเห็นกันบ้าง

10. Remember the Big Picture (มองภาพรวมให้ได้)

– การมองภาพรวมของการทำงานในห้องสมุดจะทำให้เราเข้าใจว่างานต่างๆ ในห้องสมุดล้วนแล้วแต่มีความสอดคล้องกัน การทำงานจึงต้องอาศัยความเชื่อมโยง หากไม่เห็นภาพรวมของห้องสมุดเราก็จะทำงานไม่มีประสิทธิภาพ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ คิดว่า 10 ข้อปฏิบัติเหล่านี้ยากเกินไปหรือปล่าว “แล้วจะทำได้มั้ย”
ไม่ต้องกลัวครับผมไม่ได้คาดหวังว่าเพื่อนๆ จะต้องทำตามเป๊ะๆ แต่นำเสนอมุมมองมากกว่า
สำหรับผมก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามทั้งหมด บางข้ออาจจะทำได้ไม่เต็มที่แต่อย่างน้อยเราก็ได้ทำมัน

ห้องสมุดจำเป็นต้องใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หรือไม่

นานแล้วที่ไม่ได้ตั้งแบบสอบถาม วันนี้พอดีได้คุยกับเพื่อนบรรณารักษ์คนนึงเลยได้ไอเดียแบบสอบถาม
ซึ่งแบบสอบถามนี้มาจากการสนทนาระหว่างผมกับเพื่อนเรื่อง “ห้องสมุดต้องมีสื่อสังคมออนไลน์ด้วยหรือ?”

เอาเป็นว่าก่อนอ่านเรื่องนี้ ผมต้องขอถามเพื่อนๆ ก่อน ว่า “ห้องสมุดต้องมีสื่อสังคมออนไลน์ด้วยหรือ?” (สำรวจแบบจริงจังนะอย่าตอบเล่นๆ)

[poll id=”20″]

เอาหล่ะเมื่อตอบเสร็จแล้วมาอ่านเรื่องการสนทนาของผมกับเพื่อนกันต่อ เรื่องมันมีอยู่ว่า…

เพื่อนผมจุดประเด็นเรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์
ซึ่งเพื่อนผมคนนี้มองว่าห้องสมุดหลายแห่งมีการใช้งานของสื่อสังคมออนไลน์แบบแปลกๆ
เช่น มีการ invite เกมส์ออนไลน์, มีการแชร์ของ (เล่นเกมส์), ไม่ค่อยมีการอัพเดทข้อมูลสถานะ…. (ดูรูป)

ซึ่งเพื่อนผมก็เลยถามว่าแล้วตกลงห้องสมุดมีเครื่องมือแบบนี้ไว้เพื่ออะไร

อืม….บางประเด็นผมก็ไม่สามารถแก้ให้เพื่อนๆ ได้ เพราะหลักฐานมันก็ปรากฎจริงๆ
แต่ผมก็บอกได้ว่าก็ยังมีห้องสมุดอีกไม่น้อยนะที่นำมาใช้ประโยชน์จริงๆ
เช่น ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี (www.facebook.com/kindaiproject)

จากประเด็นนี้ผมกับเพื่อนจึงมานั่งระดมหัวกันว่า ตกลงแล้ว “ห้องสมุดจำเป็นต้องมีสื่อสังคมออนไลน์หรือปล่าว”
คำถามตอบสำหรับสังคมปัจจุบัน คือ “ควรมี – ต้องมี” ห้ามตอบว่า “ไม่ต้องมีก็ได้”

ทำไมหล่ะ…..ลองนั่งคิดดูนะครับว่าถ้าเรามีกิจกรรมดีๆ ที่จัดในห้องสมุดเราจะประชาสัมพันธ์อย่างไร
– ทำป้ายแล้วมาติดบอร์ดในห้องสมุด (ผู้ใช้บริการอ่านบ้างหรือปล่าว)
– ส่งอีเมล์ไปหาผู้ใช้บริการและแจ้งข่าวสาร (ผู้ใช้บริการเปิดบ้างหรือปล่าว / ไม่แน่อาจมองห้องสมุดเป็นสแปม)
– เอาขึ้นเว็บห้องสมุดเลย (แน่ใจว่าผู้ใช้บริการจะเปิดเว็บไซต์ห้องสมุด)

ปัญหาต่างๆ มากมายยังมีอีกเยอะครับ

อ่ะงั้นเราทำตัวให้เป็นผู้ใช้บริการบ้าง หลักๆ แต่ละวันผู้ใช้บริการทำอะไรบ้าง
…กิจกรรมหลักๆ คือเข้าอินเทอร์เน็ต
แต่อย่าเพิ่งดีใจครับ เขาไม่ได้เข้าเว็บห้องสมุดหรอก
เว็บไซต์ที่ผู้ใช้บริการปัจจุบันเข้าหลักๆ คือ www.facebook.com นั่นแหละครับ

อ่ะกลับมาที่คำถามดังนั้นถ้าเราทำให้ผู้ใช้บริการเป็นเพื่อนกับเราใน facebook แล้ว
นั่นก็หมายความว่าเรามีโอกาสที่จะประชาสัมพันธ์สิ่งดีๆ หนังสือดีๆ กิจกรรมดีๆ ให้ผู้ใช้บริการได้
แล้ว

แล้วมองในอีกมุมนะ ว่าถ้าหาก facebook ของห้องสมุดเต็มไปด้วยเกมส์ผู้ใช้จะคิดว่าอย่างไร…

สื่อสังคมออนไลน์มีหลายตัวนะที่อยากแนะนำ facebook, twitter, youtube, slideshare, flickr….. เอาเป็นว่าใช้ได้ทั้งหมดเลย แถมฟรีด้วย

เรื่องสนทนายังคงเดินหน้าต่อไปเรารู้แล้วว่าผู้ใช้บริการมีชีวิตที่อยู่ในออนไลน์มากมาย
และเราเองในฐานะห้องสมุดเราก็ต้องนำเสนอความรู้ต่างๆ เหล่านี้ให้ผู้ใช้บริการ

แล้วตกลงการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในทางอื่นเกิดจากอะไรหล่ะ
– เกิดจากกระแส หรืออาจจะเกิดจากแฟชั่น (คนอื่นเล่นห้องสมุดก็เลยต้องเล่น)
– เกิดจากคำสั่ง (ผู้บริหารสั่งมาก็ทำๆ ให้เขาหน่อย)

เอาเป็นว่าถ้านำมาใช้แบบเรื่อยเปื่อยไม่มีทิศทาง เราก็ไม่สามารถที่จะใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพด้วย
การบังคับให้ทำอาจจะได้ผลในช่วงแรก แต่พอนานไปก็เริ่มเปื่อยและก็ปล่อยให้สื่อสังคมออนไลน์เฉาลงไปเรื่อยๆ

เพื่อนๆ ที่ต้องการรู้เรื่องสื่อสังคมออนไลน์มากกว่านี้ก็ลองค้นหาอ่านในบล็อกผมได้นะ
เพราะผมเขียนเรื่องเหล่านี้ไปเยอะพอสังคมแล้ว ทั้ง facebook – twitter

สุดท้ายนี้เพื่อนๆ รู้หรือยังครับว่า “ห้องสมุดจำเป็นต้องมีสื่อสังคมออนไลน์หรือปล่าว”
และตอบได้หรือยังว่า มีแล้วนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง และเพื่อนๆ สนุกกับการใช้แค่ไหน

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 2

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 2
ออกในเดือนเมษายน 2554

ผ่านสงกรานต์มาสักระยะนึงแล้ว ผมก็ต้องตั้งหน้าตั้งตาคอยนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ต่อ
ซึ่งในที่สุดก็ออกมาให้ผมได้อ่านจนได้ (ออกสายไปนิดนึงนะครับ แต่ให้อภัยได้)

โดยฉบับนี้ไฮไลท์อยู่ที่เรื่องจากปกครับ ซึ่งพูดถึง “มหานครแห่งการอ่าน”
แม่นแล้วครับ เมื่อต้นเดือนเรามีเรื่องของสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ วันรักการอ่าน
ซึ่งหัวข้อนึงที่คนจับตาดูและให้ความสนใจคือ การผลักดันกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครแห่งการอ่าน นั่นเอง

เอาเป็นว่าลองไปอ่านกันดูเลยดีกว่าครับ

เรื่องจากปก : มหานครแห่งการอ่าน

บทความ : สีสัน สรรสี

บทความ : ?คลื่นอีกระลอก…

เรื่องแปล : เรื่องเล่าขานในยุคสารสนเทศ

บทความ : ห้องสมุดส่งเสริมสุขภาพ

บทความ : เก็บตกจากการประชุม APLAP

บทความ : ห้องสมุดในยุคปัจจุบันเป็นมากกว่าที่อ่านหนังสือ

บทความ : อาศรมวงษาธิราชสนิท

พาเที่ยว : อุทยานแมลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พาเที่ยว : ห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

บทความ : บทเพลงของ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้
มีอะไรน่าอ่านมากมายเลยใช่มั้ยครับ เอาเป็นว่าก็ลองอ่านแล้วเก็บไอเดียไปคิดเพื่อต่อยอดในการทำงานนะครับ

สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขออตัวไปอ่านนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ต่อก่อนนะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

Facebook Page : เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย

หลังจากที่ประสบความสำเร็จมากมายในการตั้งกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook มาแล้ว
เพื่อนๆ จำนวนหนึ่งจึงเรียกร้องให้เปิดหน้า page ใน facebook ด้วย
เพื่อให้คนที่อยู่นอกสาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์เข้ามาเห็นว่ากลุ่มเราก็เข้มแข็งนะ ผมเลยจัดให้ตามคำขอ

เอาเป็นว่าขอแจ้งให้ทราบว่าตอนนี้กลุ่มเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยเรามี Facebook page แล้ว
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.facebook.com/THLibrary

จุดมุ่งหมายและจุดประสงค์ของการเปิด Facebook page : เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย จริงๆ ก็คล้ายๆ กับกลุ่มเครือข่ายบรรณารักษ์ไทยใน facebook นั่นแหละครับ คือ
– เป็นพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำงานหรือการศึกษาในสาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์
– เป็นพื้นที่ในการพบปะพูดคุยกับเพื่อนใหม่ในสาขาวชาชีพเดียวกัน (ห้องสมุดและบรรณารักษ์)
– ประชาสัมพันธ์ข่าวสารในวงการห้องสมุดและบรรณารักษื เช่น งานบรรณารักษ์ งานอบรมสัมมนา ….
– เป็นเวทีในการรวบรวมข้อเสนอแนะในการพัฒนาวิชาชีพ…

นั่นก็เป็นเพียงวัตถุประสงค์หลักๆ ที่ตั้งขึ้นในช่วงที่มีการตั้งกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน facebook นะครับ

แต่ในเมื่อเปิด group ไปแล้ว ทำไมต้องเปิด page ด้วย หลายๆ คนก็คงสงสัยเรื่องนี้ใช่มั้ยครับ
เอางี้ดีกว่าผมขออธิบายหลักการคร่าวๆ ของ Page กับ Group ดีกว่าว่าต่างกันยังไง
(เพื่อว่าเพื่อนๆ เมื่อเห็นขอดีของการมี page แล้ว เพื่อนๆ จะเข้ามากด Like เป็นแฟนเพจกับเรามากๆ)

เอาเป็นว่าผมขออธิบายแบบคร่าวๆ อีกสักนิดดีกว่า

จุดเด่นของหน้าเพจ (เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย) อยู่ที่ชื่อของ URL ซึ่งเพื่อนๆ จำได้ง่ายกว่าของ Group ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเข้าหน้าเพจโดยพิมพ์ว่า “www.facebook.com/thlibrary” นอกจากนี้สมาชิกที่เพจสามารถรับได้คือไม่จำกัดจำนวน (แต่จริงๆ ผมก็ไม่ได้กังวลเรื่องนี้หรอกนะครับ) แถมด้วยคนที่ไม่ได้เล่น facebook (ไม่มี account ของ facebook) ก็สามารถเปิดหน้าเพจของเราได้ ซึ่งต่างจาก group เพื่อนๆ ต้อง log in ก่อนถึงจะเข้าดูข้อมูลข้างในได้ อีกความสามารถหนึ่งที่น่าสนใจคือ สมาชิกสามารถสร้างอัลบั้มรูปและแชร์รูปภาพได้มากมาย ซึ่งใน group เองเราโพสได้ทีละ 1 รูปเท่านั้น

ความสามารถต่างๆ ของ page ถือว่าดีมากๆ จุดประสงค์อีกอย่างที่ผมเปิด page นี้คืออยากให้คนภายนอกได้เห็นความร่วมมือและกระบวนการในการพัฒนาวิชาชีพห้องสมุดและบรรณารักษ์ด้วย คนนอกไม่เคยรู้ว่าเรากำลังทำอะไร เราจะได้ใช้พื้นที่บนหน้า page นี้อธิบายว่าห้องสมุดหรือบรรณารักษ์มีอะไรมากกว่าที่ทุกๆ คนคิด

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเหตุผลคร่าวๆ ว่าทำไมผมถึงต้องเปลี่ยนจาก group เป็น page
แต่ก็ต้องบอกไว้ก่อนนะครับว่าถึงจะมี page แล้ว แต่ผมก็จะไม่ปิด group หรอกครับ

เพราะอย่างน้อยก็ยังมีเรื่องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่น่าสนใจอีกมากมายให้เพื่อนๆ อ่าน

เอาเป็นว่าผมก็ต้องขอฝาก Facebook Page : เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย ด้วยนะครับ
อย่าลืมเข้ามากด Like กันเยอะๆ นะ http://www.facebook.com/THLibrary

โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.4 ออกมาแล้ว

ตามสัญญาจากวันก่อนที่ koha community ประกาศว่าจะออก koha 3.4 วันที่ 22 เมษายน 2011
บัดนี้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.4 ก็ออกมาตามกำหนดเรียบร้อยแล้ว
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดาวน์โหลดและอัพเกรดโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.4 ได้เลย

สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.4 ได้ที่ http://download.koha-community.org/koha-3.04.00.tar.gz
นอกจากนี้เพื่อนๆ สามารถอ่านคู่มือการติดตั้งได้ที่ http://wiki.koha-community.org/wiki/Installation_Documentation

รายละเอียดในเวอร์ชั่นใหม่นี้มีการปรับปรุงหลายๆ อย่าง ซึ่งผมขอนำตัวเด่นๆ มากล่าวนะครับ เช่น
– ความสามารถในการนำเข้าและส่งออก MARC framework
– สนับสนุนการทำงานแบบ non- marc
– หน้า log in สำหรับการยืมคืนด้วยตัวเอง
– plug in เพื่อการกรอกข้อมูลใน tag 006/008
– การ review และ comment หนังสือในหน้า opac

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นนะครับความสามารถเพิ่มเติมมากกว่า 100 อย่าง
เพื่อนๆ ดูได้จาก http://koha-community.org/koha-3-4-0-released

เอาเป็นว่าก็ไปลองทดสอบและใช้งานกันดูนะครับ

ข่าวการเปิดตัวโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.4 อ่านได้จาก http://koha-community.org/koha-3-4-0-released

คลิปวีดีโอคนต่อแถวแย่งกันเข้าห้องสมุดประชาชนเป็นไปได้หรือนี่

วันนี้วันเสาร์ผมขอนำคลิปวีดีโอที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดมาลงให้เพื่อนๆ ดูแล้วกัน
เพราะเข้าใจว่าหลายคนคงไม่อยากจะอ่านอะไรยาวๆ คลิปวีดีโอนี้อยากให้ดูมากๆ

วีดีโอที่ผมนำมาลงนี้เกี่ยวกับการเปิดห้องสมุดประชาชนแห่งใหม่ที่สิงคโปร์เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา (เมื่อวานที่ผมเขียนถึงนั่นแหละ “ห้องสมุดประชาชนที่เปิดใหม่ในสิงคโปร์ 2011“)

ห้องสมุดประชาชนที่เปิดใหม่นี้ คือ Serangoon Public Library ซึ่งเปิดบนห้าง Nex Mall
ห้องสมุดแห่งนี้มีจุดเด่นอยู่ตรงที่มีมุม Digital Media ซึ่งเน้นให้บริการเกมส์เพื่อการศึกษา

ห้องสมุดแห่งนี้เพิ่งเปิดในเดือนมีนาคม 2011 เราไปดูวันแรกของการเปิดห้องสมุดดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=6rTBn2NotCU[/youtube]

สังเกตเห็นอะไรในวีดีโอกันมั้ยครับ
นี่ไม่ใช่งานเปิดตัวสินค้าของ apple หรือเปิดตัว game เครื่องใหม่
แต่ดูคนเข้าแถวสิครับว่าเยอะแค่ไหน นั่นคือคนที่มารอเข้าชมห้องสมุดใหม่นะครับ
แล้วทันทีที่ห้องสมุดเปิดให้เข้าชม คนต่างวิ่งเข้าไปในห้องสมุดหยิบหนังสือกันแบบว่า
เหมือนกับว่าเข้ากำลังจะแย่งซื้อสินค้ากันเลยทีเดียว

จุดเด่นอีกจุดนึงของที่นี่คือมุม Digital media ซึ่งเน้นเกมส์เพื่อการศึกษา เรามาดูกันดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Lf8DKcQT6Wo&NR=1[/youtube]

เห็นวีดีโอนี้แล้วมานั่งคิดถึงห้องสมุดประชาชนในเมืองไทย
ถ้าวันเปิดห้องสมุดมีคนมาต่อแถว แย่งกันเข้าแบบนี้ก็คงดีไม่น้อย

เอาเป็นว่าก็ขอยกเอามาให้ดูเท่านี้ก่อนนะครับ

ปล. ผมขอไปนอนฝันก่อนนะครับ เพื่อจะได้เหนห้องสมุดในเมืองไทยเป็นแบบนี้บ้าง

สำหรับเรื่องห้องสมุดประชาชนในสิงคโปร์เพื่อนๆ อ่านได้ที่ ห้องสมุดประชาชนที่เปิดใหม่ในสิงคโปร์ 2011

ห้องสมุดประชาชนที่เปิดใหม่ในสิงคโปร์ 2011

วันนี้ผมขอนำเสนอข้อมูลการเปิดห้องสมุดประชาชนแห่งใหม่ในสิงคโปร์ประจำปี 2011 มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันดีกว่า ถือว่าเป็นน้ำจิ้มก่อนแล้วกัน เพราะในเดือนมิถุนายนผมจะไปเที่ยวที่สิงคโปร์พอดี จะได้เก็บภาพมาฝากทีหลัง

จากแผนงานของ NLB ปีนี้ จะมีห้องสมุดประชาชนในสิงคโปร์เปิดใหม่ 2 แห่ง
ซึ่งห้องสมุดประชาชนหนึ่งในสองแห่งเปิดไปแล้วเมื่อเดือนมีนาคม นั่นคือ Serangoon Public Library
และห้องสมุดประชาชนอีกแห่งจะเปิดในเดือนพฤษภาคม นั่นคือ Clementi Public Library

จุดเด่นของห้องสมุดประชาชนทั้งสองแห่งนี้คือ อยู่บนห้างสรรพสินค้าทั้งคู่
โดย Serangoon Public Library อยู่บน ห้าง “NEX Mall”
และ Clementi Public Library อยู่บน ห้าง “Clementi Mall”

ข้อมูลทั่วๆ ไปของห้องสมุดประชาชนทั้งสอง
– Serangoon Public Library เปิดในเดือนมีนาคม 2011 รองรับผู้อยู่อาศัยจากเขต Serangoon จำนวน 122,000 คน ห้องสมุดมีพื้นที่ขนาด 1,580 ตารางเมตร
– Clementi Public Libraryปิดในเดือนพฤษภาคม 2011 รองรับผู้อยู่อาศัยจากเขต Clementiจำนวน 91,000 คน ห้องสมุดมีพื้นที่ขนาด 1,900 ตารางเมตร

ห้องสมุดทั้งสองแห่งจะเริ่มต้นด้วยสื่อประเภท หนังสือ วารสาร นิตยสาร มัลติมีเดีย จำนวน 150,000 รายการ (นี่ขนาดว่าจำนวนตั้งต้นนะครับ)

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นข้อมูลคร่าวๆ ก่อนนะครับ เดี๋ยวเดือนมิถุนายนผมไปเที่ยวแล้วจะเก็บภาพมาฝากนะครับ
ปล. เดือนมิถุนายนที่ผมไปเที่ยวโชคดีว่ามีงาน World book Expo ที่สิงคโปร์พอดี คงจะได้เรื่องราวมากมายมาฝาก เอาเป็นว่าก็ต้องติดตามชมกันต่อไป

อ้างอิงข่าวจาก http://www.nlb.gov.sg/Corporate.portal?_nfpb=true&_windowLabel=PRHandler_1&PRHandler_1_actionOverride=%2FIBMS%2FcorpHomePR%2FcorpPRHandler%2Fdetail&PRHandler_1detailId=578&PRHandler_1mediaType=1&_pageLabel=Corporate_page_ne_pressreleases

บรรณารักษ์สามารถ copy catalog หนังสือจาก Amazon ได้แล้วนะ

“Amazon เป็นเว็บไซต์ขายหนังสือ แล้วเราในฐานะห้องสมุดจะสามารถใช้ข้อมูลได้หรือ”
คำถามนี้อาจจะปรากฎขึ้นเมื่อเพื่อนๆ ได้อ่านชื่อเรื่องของบล็อกผมในวันนี้

เอาเป็นว่าก็ยอมรับครับว่า “Amazon เป็นเว็บไซต์ขายหนังสือที่ใหญ่แห่งหนึ่ง”
แล้วถ้าเพื่อนเข้าไปดูข้อมูลในเว็บไซต์ Amazon ก็จะเจอแต่ข้อมูลที่เกี่ยวกับหนังสือมากมาย เช่น
– บทวิจารณ์หนังสือ
– เนื้อเรื่องย่อของหนังสือ
– ภาพปกหนังสือ
– ราคาหนังสือ
– รายการบรรณานุกรมของหนังสือ

ฯลฯ จริงๆ เราได้ข้อมูลมากกว่านี้

เอาหล่ะครับ แล้วข้อมูลไหนที่พอจะดึงเข้ามาสู่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของเราได้บ้างหล่ะ
หลายๆ คนคงมองภาพไม่ออก ถ้าจะเอารายการบรรณานุกรมไปใส่ในระบบห้องสมุด
เราก็ต้อง copy ทีละส่วนอย่างนั้นหรือ (ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สำนักพิมพ์ ปีพิมพ์ หัวเรื่อง)

อย่างที่รู้ๆ กันว่า ระบบห้องสมุดของเรามีมาตรฐานกำกับอยู่ นั่นคือ “MARC Format”
ทีนี้ถ้าข้อมูลหนังสือใน Amazon เป็น MARC เราก็คงไม่มีปัญหาแน่ๆ
แต่เปิดจากหน้าหนังสือใน Amazon แล้วทำไมหาไม่เจอหล่ะ “มันอยู่ที่ไหน”
แน่นอนครับว่าในหน้า Amazon เพื่อนๆ คงหาไม่เจอหรอก เพราะผู้ใช้บริการในเว็บคงไม่รู้จัก MARC แน่ๆ

ดังนั้นผมจึงขอเสนอให้เพื่อนๆ เปิดเข้าไปที่เว็บไซต์
http://chopac.org/cgi-bin/tools/azorder.pl
เว็บนี้เป็นเว็บที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลจาก Amazon ไปเป็น MARC
หน้าตาของเว็บไซต์นี้ก็เรียบง่ายครับ มีแค่ช่องค้นหา

ขั้นตอนง่ายๆ ในการนำข้อมูลจาก amazon มาเปลี่ยนเป็น MARC

1. เปิดเว็บไซต์ http://chopac.org/cgi-bin/tools/azorder.pl

2. พิมพ์ชื่อหนังสือที่เราต้องการสืบค้น หรือ ISBN ลงในช่องว่าง จากนั้นกด Enter ดังรูป

3. เมื่อพบหนังสือที่มีหน้าปกตรงกับหนังสือที่ catalog ให้เราเลื่อนสายตามามางขวาจะเห็นกล่อง Marc Functions ดังรูป

4. กดปุ่ม View เพื่อแสดง MARC ดังรูป

เอาเป็นว่าเพียงเท่านี้ เพื่อนๆ ก็จะได้ MARC นำมาเข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติของเพื่อนๆ แล้ว

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในวันนี้ หวังว่าเพื่อนๆ จะลองนำไปใช้ปฏิบัติงาน catalog กันในอนาคตนะ
และขอฝากไว้ว่า “โลกของเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว ในวงการห้องสมุดของเราก็ต้องปรับตัวให้ทันด้วย อย่าใช้ชีวิตอย่างประมาท”
สำหรับวันนี้ผมก็ขอฝากไว้เท่านี้ครับ แล้วคราวหน้าเจอเรื่องเด็ดๆ แบบนี้จะนำมาฝากอีก

บทสรุปการพัฒนาห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด

วันนี้ได้มาบรรยายที่อุทยานการเรียนรู้ (ห้องสมุดทีเคพาร์ค – TK park) อีกครั้งนับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง
เลยขอนำเอกสารการบรรยายในครั้งนี้มาให้เพื่อนๆ ได้ดูและได้อ่านกัน

งานในวันนี้เป็นงานอบรมบรรณารักษ์และผู้ดูแลห้องสมุดไทยคิด ซึ่งจัดโดยอุทยานการเรียนรู้ (ห้องสมุดทีเคพาร์ค – TK park)
การบรรยายของผมในวันนี้หัวข้อ “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Blog/Facebook/Twitter) ในการสร้างเครือข่าย”
ซึ่งผมจึงได้จัดทำสไลด์เพื่อการบรรยายในครั้งนี้ โดยผมตั้งชื่อว่า “การพัฒนาห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด”

เราไปชมสไลด์กันก่อนดีกว่า “การพัฒนาห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด”

บทสรุปของสไลด์ “การพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด”

ทำไมผมถึงต้องเล่นคำว่า “เครือข่าย” กับ “ชุมชน” ประเด็นหลักอยู่ที่หลายๆ คนชอบเข้าใจว่าเครือข่ายห้องสมุดก็คือความร่วมมือกันระหว่างห้องสมุดด้วยกันเอง ดังนั้นผมจึงขอใช้คำว่า “ชุมชน” เพราะคำว่า “ชุมชน” มีความหมายที่กว้างกว่า “เครือข่าย” ซึ่ง “ชุมชน” ผมจะรวมถึง “ห้องสมุด คนทำงานห้องสมุด ผู้ใช้บริการห้องสมุด และผู้ใช้บริการห้องสมุดบนโลกออนไลน์”

หลังจากชี้แจงเรื่องนี้เสร็จก็เข้าถูกหัวข้อหลักๆ ของการบรรยาย คือ เครือข่ายห้องสมุดไทย, ชุมชนห้องสมุดไทยคิด

เครือข่ายห้องสมุดไทยคิด – เครือข่ายของกลุ่มคนทำงานในห้องสมุดไทยคิด ซึ่งได้แก่ บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด อาสาสมัคร ที่ทำงานภายในห้องสมุดไทยคิด

ชุมชนห้องสมุดไทยคิด – นอกจากเครือข่ายกลุ่มคนที่ทำงานในห้องสมุดไทยคิดแล้ว ชุมชนห้องสมุดไทยคิดยังรวมไปถึงผู้ใช้บริการห้องสมุดไทยคิด ผู้ใช้บริการจากสื่อออนไลน์ คนในพื้นที่ ……….

ผมจุดประเด็นต่อด้วยเรื่องชุมชนห้องสมุดไทยคิดว่ามีความสำคัญเพียงใด ประเด็นอยู่ที่ผู้ใช้บริการ ว่าเรารู้จักผู้ใช้บริการของเราแค่ไหน

ตัวอย่างง่ายๆ เช่น “รู้หรือปล่าวว่า วัฒนธรรมในการอ่านของเด็กหญิงกับเด็กชายต่างกัน ?”

เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วจะทำให้เรารู้ว่าผู้ใช้บริการของเรามีความหลากหลายมาก ดังนั้นห้องสมุดก็ต้องมีกิจกรรมที่หลากหลายด้วย เช่น
– บริการหนังสือสำหรับเด็ก
– บริการคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยการเรียนรู้
– กิจกรรมการเล่านิทาน
– กิจกรรมการวาดภาพระบายสี
– อุปกรณ์จำพวกเครื่องเล่น-ของเล่นสำหรับเด็ก

นอกจากห้องสมุดไทยคิดจะเป็นสถานที่ที่ใช้อ่านหนังสือสำหรับเด็กหรือจัดกิจกรรมแล้ว
เรายังสามารถใช้เป็นพื้นที่ในการแสดงความสามารถและจินตนาการ
เช่น “นำภาพวาด หรือ ภาพระบายสีของเด็กๆ มาตกแต่งฝนังรอบๆ ห้องสมุดไทยคิด”

นอกจากนี้ผู้ใช้บริการในห้องสมุดไทยคิดไม่ใช่แค่เด็กเพียงอย่างเดียว
แต่เราหมายรวมถึงครอบครัว ผู้ปกครองของเด็กๆ ด้วย
เพราะครอบครัวสามารถสร้างนิสัยการรักการอ่านให้เด็กได้

กรณีตัวอย่าง “ครอบครัวของหนูน้อยยอดนักเล่านิทาน” ซึ่งใช้เวลาว่างกับห้องสมุดไทยคิด

นอกจากนี้การปล่อยให้เด็กๆ มาจัดกิจกรรมกันเองในห้องสมุดก็จะทำให้เราเห็นความสามารถและความต้องการของเด็กๆ เหล่านั้นได้ด้วย

การพัฒนาเครือข่ายและชุมชนห้องสมุด หัวใจของการพัฒนาอยู่ที่ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดยอาศัยความมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการต่างๆ

การที่เราจะเข้าใจผู้ใช้บริการได้เราจะต้องดูผู้ใช้บริการที่อยู่ในห้องสมุดและฟังคำแนะนำจากผู้ใช้ออนไลน์บ้าง

เครื่องมือออนไลน์ที่สามารถนำมาใช้พัฒนาชุมชนห้องสมุดไทยคิดได้มีหลายเครื่องมือ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องมือที่ฟรีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย เช่น อีเมล์ MSN blog Facebook twitter youtube flickr และ slideshare

หลังจากนั้นผมก็ยกกรณีตัวอย่างการใช้เครื่องมือออนไลน์แบบหลักๆ 3 เครื่องมือ คือ Blog Facebook Twitter

ก็ที่จะจบด้วยเรื่องสุดท้ายคือคำแนะนำในการใช้เครื่องมือสื่อออนไลน์ ซึ่งผมได้ให้ไว้ 6 ข้อ ดังนี้
1. อัพเดทอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้บล็อกร้าง facebook ร้าง Twitter ร้าง
2. การให้บริการผ่านสื่อออนไลน์ทำได้รวดเร็ว
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการ
4. ไม่นำเรื่องแย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลง
5. พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับผู้ใช้บริการ
6. จัดกิจกรรมทุกครั้งควรนำมาลงให้ผู้ใช้บริการเข้ามาชม

เอาเป็นว่าผมก็จบการบรรยายแต่เพียงเท่านี้นะครับ สำหรับคนที่อ่านบล็อกอย่างเดียวไม่ได้มาในงานนี้
หากสงสัยเรื่องไหนก็ถามเข้ามาได้นะครับ ทิ้งคำถามไว้ด้านล่างช่องคอมเม้นต์ได้เลย

Infographic : ห้องสมุดประชาชนในอเมริกาอยู่ในภาวะเสี่ยง

นานๆ ทีผมจะเจอ Infographic ที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์
เลยอยากเอามาให้เพื่อนๆ ดูและสังเกตการทำ Infographic แบบดีๆ

Infographic วันนี้ผมนำมาจากงาน National Library Week (สัปดาห์ห้องสมุดแห่งชาติ) ซึ่งจะจัดทุกปีในระหว่างวันที่ 10 – 16 เมษายน ในอเมริกาเขาจัดกันอย่างยิ่งใหญ่มากๆ ส่วนไทยเราก็อย่างที่รู้ๆ กันในช่วงนั้นเป็นวันสงกรานต์ เราหยุดครับ

อ๋อ เข้าเรื่องดีกว่า Infographic นี้นำเสนอข้อมูลห้องสมุดประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งหัวข้อใน Infographic คือ U.S. Public Libraries At Risk (แอบสะดุ้ง)
ประมาณว่าห้องสมุดประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในภาวะที่เสี่ยง (เสี่ยงถูกปิดนะครับ)

เอาเป็นว่าในไปชม Infographic กันก่อน


เป็นยังไงกันบ้างครับ สวยงาม ชัดเจน และมีข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย เช่น

ผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนในสหรัฐอเมริกามีจำนวน 169 ล้านคน (59% ของประชากรในประเทศ)
(โห แบบว่าคนสหรัฐอเมริกาเข้าห้องสมุดประชาชนมากขนาดนั้นเลย แล้วไทยหล่ะ)

เรื่องที่คนให้ความสนใจในห้องสมุด (ผลสำรวจเรื่องยอดฮิตในห้องสมุด ปี 2010)
อันดับ 1 – เรื่องการทำอาหาร 67%
อันดับ 2 – เรื่องสุขภาพ 59%
อันดับ 3 – เรื่องเหตุการณ์ปัจจุบันรวมไปถึงเรื่องการเมือง 41%
อันดับ 4 – เรื่องธุรกิจและอาชีพ 37%
อันดับ 5 – เรื่องการท่องเที่ยว 26%
อันดับ 6 – เรื่องการพัฒนาตนเอง 22%

เรื่องของการตัดงบประมาณในห้องสมุดมีมาตั้งแต่ปี 2008 แล้ว
และในปี 2009 ถูกตัดไป 40%? ปี 2010 ถูกตัดไป 54.4% และในปีนี้ ถูกตัดไป 62%

เอาแล้วไงครับ เริ่มน่ากลัวแล้วว่าห้องสมุดจะถูกปิดอีกหลายแห่ง
(อ๋อ งบประมาณสำหรับห้องสมุดของเขาแม้ว่าจะโดนตัดไปเยอะแต่ผมเชื่อว่าเงินในการบริหารห้องสมุดของเขาก็ยังคงมากกว่าเงินบริหารห้องสมุดประชาชนในเมืองไทยมากนัก)

นอกจากนี้ทุกคน (ผู้ใช้บริการ) เกือบทุกวัย ทุกอาชีพ เห็นด้วย และยินดีที่มีห้องสมุดประชาชนใช้งาน
นับว่าห้องสมุดประชาชนเป็นที่ต้องการของผู้ใช้บริการเกือบทุกคน (ดูจาก % ได้เลย)

และท้ายที่สุดแล้ว ใน Infographic ก็ทิ้งท้ายไว้ว่า
“กรุณาช่วยห้องสมุดประชาชนในท้องที่ของคุณด้วย”

เอาเป็นว่าห้องสมุดบางแห่งที่ถูกสั่งปิดเมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้บางแห่งยังอยู่
เพราะความร่วมมือของคนในพื้นที่ระดมทุนช่วยเหลือห้องสมุด
ก็มีเช่นกัน

เอาเป็นว่า Infographic นี้ ผมว่าเป็นภาพที่นำเสนอข้อมูลได้อย่างน่าสนใจมากๆ
อ่านแล้วเข้าใจง่าย แถมดูกี่ทีก็ไม่รู้สึกเบื่อเลย (ถ้าเทียบกับการนำเสนอข้อมูลแบบ paper ผมว่านี้แหละเยี่ยม)

เอาเป็นว่าก็ขอฝากไว้เท่านี้แล้วกันครับ ผมเองก็ตั้งตาคอยดู infographic ของเมืองไทยอยู่นะ

ที่มาของภาพดีๆ นี้ จาก http://www.archives.com/blog/industry-news/national-library-week-2011.html