คู่มือสำหรับเลือกใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในต่างประเทศ

ปัญหาใหญ่ของห้องสมุดหลายๆ แห่ง คือ ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของเจ้าไหนดี
นิตยสาร Computers in libraries จึงรวบรวม vendor และ product ไว้ให้ห้องสมุดต่างๆ ศึกษา

ก่อนอื่นก็แนะนำให้ดาวน์โหลดมาดูกันก่อนนะครับ
ดาวน์โหลดตัวเล่มได้ที่ http://www.infotoday.com/cilmag/CILMag_ILSGuide.pdf

เนื้อหาภายในเล่มก็อย่างที่เกริ่นไว้นั่นแหละครับ ประกอบไปด้วย
– ชื่อของ vendor (ตัวแทนจำหน่าย)
– โปรแกรมที่ vendor ต่างๆ นำเสนอ

ซึ่งโปรแกรมที่ vendor บางตัวผมก็อดสงสัยไม่ได้ เช่น KOHA
ทั้งๆ ที่เป็น Opensource นะครับ แต่ก็อยู่ใน LIST ของการนำเสนอ
แต่ก็อย่างที่บอกแหละครับ ว่านำเสนอ KOHA แต่ในแง่การพัฒนาและการดูแลรักษา

นอกจากนี้รายละเอียดของแต่ละ vendor ที่ให้จะบอกรายละเอียด เช่น
– ปีที่ออก (ซอฟท์แวร์ออกมาปีไหน)
– จำนวนห้องสมุดที่นำไปใช้
– กลุ่มเป้าหมาย (ห้องสมุดประชาชน,โรงเรียน,มหาวิทยาลัย,เฉพาะ,ราชการ)
– ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์สำหรับติดต่อ
– เว็บไซต์ของบริษัท

ชื่อ ILS แปลกมากมายที่ผมก็เพิ่งจะเคยได้ยิน เช่น AGent VERSO, CyberTools for Libraries, Amlib, KLAS, LibraryWorld ฯลฯ อีกมากมายเลย

จริงๆ แล้วผมก็อยากรวบรวมของเมืองไทยแล้วทำเป็นรูปเล่มแบบนี้บ้างนะ
อย่างน้อยผมก็จะได้รู้จักระบบห้องสมุดต่างๆ หรือระบบห้องสมุดใหม่ในเมืองไทย

เอางี้ดีกว่าผมอยากให้เพื่อนๆ มีส่วนร่วม เพื่อนๆ ลองส่งชื่อ ILS ที่คิดว่าแปลกๆ หรือ ใหม่ๆ ในเมืองไทยให้ผมหน่อย (Comment ไว้ด้านล่าง) แล้วว่างๆ ผมจะศึกษาและนำมา review ให้เพื่อนๆ อ่านกัน

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*