ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ (Librarians’ Licensure)

คำถามในเรื่องวิชาชีพที่หลายๆ คนอยากรู้เรื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่อง “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์”
ซึ่งผมเองก็สงสัยมานานแล้วเหมือนกันว่า ทำไมวิชาชีพของเราจึงไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
เรื่องราวที่ผมจะเขียนต่อไปนี้อาจจะอ้างอิงจากประเทศฟิลิปปินส์นะครับ แต่ก็เป็นข้อมูลที่น่าสนใจเหมือนกัน


เรื่องของเรื่องผมตามอ่านบล็อก filipinolibrarian มาสักระยะหนึ่งแล้ว
และพบบทความชื่อเรื่องว่า “Librarians’ Licensure Examination 2010: Results

ซึ่งเมื่อเข้าไปอ่านแล้ว ผมก็พบข้อมูลว่า
“ผลการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ในปี 2010 มีคนผ่าน 27% (191 จาก 699 คน) ซึ่งน้อยกว่าปี 2009 ซึ่งมี 30% ที่ผ่าน”

เพียงแค่ประโยคนี้ประโยคเดียวมันก็ทำให้ผมสนใจเรื่องนี้มากขึ้นแล้ว “เรื่องใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์”
ในประเทศฟิลิปปินส์บรรณารักษ์ที่จะประกอบวิชาชีพได้ต้องมีใบอนุญาตเท่านั้นนะครับ
คนที่ไม่มีใบอนุญาตแล้วทำงานบรรณารักษ์ถือว่าผิดกฎหมายด้วย

ซึ่งแตกต่างจากประเทศของเรานะครับ “เอาใครก็ได้มาเป็นบรรณารักษ์”
เมื่อได้ “ใครก็ได้” มาทำงาน “มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง” ผมว่าเพื่อนๆ หลายคนคงรู้นะครับ

แต่ก็มีหลายๆ คนคงคิดต่อไปอีกว่า แล้วในประเทศฟิลิปปินส์เขาไม่ถกเถียงกันเรื่องนี้บ้างหรอ
จริงๆ แล้วมีการถกเถียงเรื่องนี้กันมากๆ เลย ลองอ่านได้จาก “Unlicensed Librarians and R.A. 9246

เอกสาร R.A. 9246 คือ กฎหมายหรือบทบัญญัติที่เกี่ยวกับวิชาชีพบรรณารักษ์ในฟิลิปปินส์ ออกมาตั้งแต่ปี 2004
(ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.congress.gov.ph/download/ra_12/RA09246.pdf)

ตัวอย่างบทบัญญัติที่น่าสนใจ

SECTION 31. Employment of Librarians. ? Only qualified and licensed librarians shall be employed as librarians in all government libraries. Local government units shall be given a period of three (3) years from the approval of this Act to comply with this provision.

SECTION 32. Penal Provisions. ? Any person who practices or offers to practice any function of a librarian as provided for under Section 5 of this Act who is not registered and has not been issued by the Commission a Certificate of Registration and Professional Identification Card, or a temporary license/permit or who violates any of the provisions of this Act, its Implementing Rules and Regulations, shall, upon conviction, be penalized by a fine of not less than Thirty thousand pesos (P30,000.00) nor more than One hundred thousand pesos (P100,000.00), or imprisonment of not less than one (1) month nor more than three (3) years at the discretion of the court.

นอกจากนี้สำหรับชาวต่างชาติที่จะเข้าไปเป็นบรรณารักษ์ในฟิลิปปินส์ ในบทบัญญัติก็กล่าวไว้ว่าต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเช่นกัน เป็นไงกันบ้างครับแรงไปหรือปล่าว แต่เหตุผลหลักๆ ที่เขาปฏิบัติกันมาเช่นนี้เพราะเขาต้องการรักษามาตรฐานความเป็นวิชาชีพบรรณารักษ์ นั่นเอง

สำหรับคนที่ไม่ได้เรียนบรรณารักษ์แต่อยากเป็นบรรณารักษ์ที่ฟิลิปปินส์ก็เปิดโอกาสนะ แต่ต้องไปเรียนหรือเข้าคอร์สตามมหาวิทยาลัยที่รับรองมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งจะมีประกาศออกมาทุกปี ดูได้จากตัวอย่างนะครับ “The Best and the Worst LIS Schools, 2007-2009.”

Librarian Licensure Examination 2009

ขอสรุปแบบคร่าวๆ เลยแล้วกันครับว่า “หากบรรณารักษ์ไทยอยากมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์” บ้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
– สภาวิชาชีพบรรณารักษ์
– สภาทนายความ
– วุฒิสภา
– มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรบรรณารักษ์
– ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ
ฯลฯ

ซึ่งถามว่า “ยากมั้ย”? คำตอบ “ยากครับ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้”
เอาเป็นว่าก็ขอเอาใจช่วยลุ้นก็แล้วกันนะครับ (ใจจริงอยากให้มีนะ วงการห้องสมุดจะได้พัฒนากันมากกว่านี้)

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

4 Comments

  1. ตอนนี้ผมได้พยายามรวบรวมคนที่ต้องการให้มีสภาวิชาชีพกับการให้มีใบประกิบวิชาชีพบรรณารักษ์ เพื่อที่จะร่าง พรบและออกทำประชาพิจารณ์ ผู้ใดสนใจร่วมอุดมการณ์. ส่งชื่ือ ที่อยู่ที่ติดต่อได้e-mail มายัง lapommae@yahoo.com ครับ อ.ธนากร อุยพานิชย์ มรภ.สวนสุนันทา

  2. คือดิฉันจบบรรณารักษ์มาค่ะ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีใบประกอบวิชาชีพเป็นอย่างมาก ซึ่งเปรียบเทียบดังเช่นคนที่เรียนครูมาก็ต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู บรรณารักษ์จบมาในหลักสูตร ศศ.บ. ก็ต้องการที่จะมีใบประกอบวิชาชีพเช่นกัน

  3. ควรมีอย่างยิ่งครับ ผมก็สนใจครับ

  4. เรื่องนี้น่าสนใจมากค่ะ เพราะดิฉันเรียน Master of Library and Information Science
    especially for Theological Library (ซึ่งเป็นห้องสมุดเฉพาะทาง)ที่Central Philippines University เมื่อกลับมาทำงานในเมืองไทยกลับไม่ได้รับการพิจารณาให้เทียบเท่ากับสายวิชาชีพอื่นๆ แต่ให้เป็นเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ที่เป็นฝ่ายสนับสนุนเท่านั้น ซึ่งThe Association for Theological Education in South East Asia ก็สนับสนุนเรื่องนี้แต่ติดที่ประเทศไทยเรายังไม่มีการผลักดันเรื่องใบประกอบวิชาชีพอย่างเป็นรูปธรรม หากทีแนวทางดิฉันยินดีสนับสนุนเต็มที่เลยค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*