วันนี้ได้มาบรรยายที่อุทยานการเรียนรู้ (ห้องสมุดทีเคพาร์ค – TK park) อีกครั้งนับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง
เลยขอนำเอกสารการบรรยายในครั้งนี้มาให้เพื่อนๆ ได้ดูและได้อ่านกัน
งานในวันนี้เป็นงานอบรมบรรณารักษ์และผู้ดูแลห้องสมุดไทยคิด ซึ่งจัดโดยอุทยานการเรียนรู้ (ห้องสมุดทีเคพาร์ค – TK park)
การบรรยายของผมในวันนี้หัวข้อ “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Blog/Facebook/Twitter) ในการสร้างเครือข่าย”
ซึ่งผมจึงได้จัดทำสไลด์เพื่อการบรรยายในครั้งนี้ โดยผมตั้งชื่อว่า “การพัฒนาห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด”
เราไปชมสไลด์กันก่อนดีกว่า “การพัฒนาห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด”
บทสรุปของสไลด์ “การพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด”
ทำไมผมถึงต้องเล่นคำว่า “เครือข่าย” กับ “ชุมชน” ประเด็นหลักอยู่ที่หลายๆ คนชอบเข้าใจว่าเครือข่ายห้องสมุดก็คือความร่วมมือกันระหว่างห้องสมุดด้วยกันเอง ดังนั้นผมจึงขอใช้คำว่า “ชุมชน” เพราะคำว่า “ชุมชน” มีความหมายที่กว้างกว่า “เครือข่าย” ซึ่ง “ชุมชน” ผมจะรวมถึง “ห้องสมุด คนทำงานห้องสมุด ผู้ใช้บริการห้องสมุด และผู้ใช้บริการห้องสมุดบนโลกออนไลน์”
หลังจากชี้แจงเรื่องนี้เสร็จก็เข้าถูกหัวข้อหลักๆ ของการบรรยาย คือ เครือข่ายห้องสมุดไทย, ชุมชนห้องสมุดไทยคิด
เครือข่ายห้องสมุดไทยคิด – เครือข่ายของกลุ่มคนทำงานในห้องสมุดไทยคิด ซึ่งได้แก่ บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด อาสาสมัคร ที่ทำงานภายในห้องสมุดไทยคิด
ชุมชนห้องสมุดไทยคิด – นอกจากเครือข่ายกลุ่มคนที่ทำงานในห้องสมุดไทยคิดแล้ว ชุมชนห้องสมุดไทยคิดยังรวมไปถึงผู้ใช้บริการห้องสมุดไทยคิด ผู้ใช้บริการจากสื่อออนไลน์ คนในพื้นที่ ……….
ผมจุดประเด็นต่อด้วยเรื่องชุมชนห้องสมุดไทยคิดว่ามีความสำคัญเพียงใด ประเด็นอยู่ที่ผู้ใช้บริการ ว่าเรารู้จักผู้ใช้บริการของเราแค่ไหน
ตัวอย่างง่ายๆ เช่น “รู้หรือปล่าวว่า วัฒนธรรมในการอ่านของเด็กหญิงกับเด็กชายต่างกัน ?”
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วจะทำให้เรารู้ว่าผู้ใช้บริการของเรามีความหลากหลายมาก ดังนั้นห้องสมุดก็ต้องมีกิจกรรมที่หลากหลายด้วย เช่น
– บริการหนังสือสำหรับเด็ก
– บริการคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยการเรียนรู้
– กิจกรรมการเล่านิทาน
– กิจกรรมการวาดภาพระบายสี
– อุปกรณ์จำพวกเครื่องเล่น-ของเล่นสำหรับเด็ก
นอกจากห้องสมุดไทยคิดจะเป็นสถานที่ที่ใช้อ่านหนังสือสำหรับเด็กหรือจัดกิจกรรมแล้ว
เรายังสามารถใช้เป็นพื้นที่ในการแสดงความสามารถและจินตนาการ
เช่น “นำภาพวาด หรือ ภาพระบายสีของเด็กๆ มาตกแต่งฝนังรอบๆ ห้องสมุดไทยคิด”
นอกจากนี้ผู้ใช้บริการในห้องสมุดไทยคิดไม่ใช่แค่เด็กเพียงอย่างเดียว
แต่เราหมายรวมถึงครอบครัว ผู้ปกครองของเด็กๆ ด้วย เพราะครอบครัวสามารถสร้างนิสัยการรักการอ่านให้เด็กได้
กรณีตัวอย่าง “ครอบครัวของหนูน้อยยอดนักเล่านิทาน” ซึ่งใช้เวลาว่างกับห้องสมุดไทยคิด
นอกจากนี้การปล่อยให้เด็กๆ มาจัดกิจกรรมกันเองในห้องสมุดก็จะทำให้เราเห็นความสามารถและความต้องการของเด็กๆ เหล่านั้นได้ด้วย
การพัฒนาเครือข่ายและชุมชนห้องสมุด หัวใจของการพัฒนาอยู่ที่ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดยอาศัยความมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการต่างๆ
การที่เราจะเข้าใจผู้ใช้บริการได้เราจะต้องดูผู้ใช้บริการที่อยู่ในห้องสมุดและฟังคำแนะนำจากผู้ใช้ออนไลน์บ้าง
เครื่องมือออนไลน์ที่สามารถนำมาใช้พัฒนาชุมชนห้องสมุดไทยคิดได้มีหลายเครื่องมือ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องมือที่ฟรีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย เช่น อีเมล์ MSN blog Facebook twitter youtube flickr และ slideshare
หลังจากนั้นผมก็ยกกรณีตัวอย่างการใช้เครื่องมือออนไลน์แบบหลักๆ 3 เครื่องมือ คือ Blog Facebook Twitter
ก็ที่จะจบด้วยเรื่องสุดท้ายคือคำแนะนำในการใช้เครื่องมือสื่อออนไลน์ ซึ่งผมได้ให้ไว้ 6 ข้อ ดังนี้
1. อัพเดทอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้บล็อกร้าง facebook ร้าง Twitter ร้าง
2. การให้บริการผ่านสื่อออนไลน์ทำได้รวดเร็ว
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการ
4. ไม่นำเรื่องแย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลง
5. พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับผู้ใช้บริการ
6. จัดกิจกรรมทุกครั้งควรนำมาลงให้ผู้ใช้บริการเข้ามาชม
เอาเป็นว่าผมก็จบการบรรยายแต่เพียงเท่านี้นะครับ สำหรับคนที่อ่านบล็อกอย่างเดียวไม่ได้มาในงานนี้
หากสงสัยเรื่องไหนก็ถามเข้ามาได้นะครับ ทิ้งคำถามไว้ด้านล่างช่องคอมเม้นต์ได้เลย
พี่สนใจข้อ 4 อะ 4. ไม่นำเรื่องแย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลง
หมายถึง ไม่เมาท์ผู้ใช้บริการในสังคมออนไลน์หรือเปล่าค่ะ
(สงสัยพี่จะทำประจำ 555)
แม่นแล้วครับพี่ อันตรายถึงขั้นฟ้องร้องกันก็มีแล้วน้า ระวังด้วยเรื่องนี้สำคัญจริงๆ
ว้าวววว ห้องสมุดเด็กหรอน่าสนนะ
หวัดีครับผมกำลังรวบรวมหนังสือทุกแขนงเกี่ยวกับศิลปะสำหรับห้องสมุดเปิดใหม่ไม่ทราบว่ามีอะไรเเนะนำบ้างหรือป่าวครับ