แผ่นดินไหวทำให้ห้องสมุดเสียหายแค่ไหน (ชมภาพจากประเทศญี่ปุ่น)

เวลาก็ผ่านมาเดือนกว่าๆ แล้วกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นและสึนามิในญี่ปุ่น
จนถึงวันนี้แล้วก็ยังคงมี after shock เรื่อยๆ และยังคงมีข่าวแผ่นดินไหวอยู่นะครับ
หลายๆ คนก็คงอยากรู้ว่าห้องสมุดในประเทศญี่ปุ่นจะเป็นยังไงในช่วงแผ่นดินไหว วันนี้ผมจึงขอรวบรวมภาพมาให้ดูกัน

แผ่นดินไหวแน่นอนครับว่า “หนังสือคงหล่นออกมาจากชั้นกันอย่างเละเทะ”
ซึ่งบ้างที่ชั้นหนังสือก็ล้มลงมาเลย ซึ่งเกิดความเสียหายมากมาย บางที่ฝ้าถล่มเลยครับ
เอาเป็นว่าเราไปชมภาพกันก่อนดีกว่านะครับ แล้วจะรู้ว่าแผ่นดินไหวทำให้ห้องสมุดเสียหายแค่ไหน

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นภาพเพียงบางส่วนเท่านั้นนะครับ ที่มาของรูปมาจาก twitter ของเพื่อนๆ บรรณารักษ์ที่อยู่ญี่ปุ่นนะครับ
ขอบคุณเพื่อนๆ จากญี่ปุ่น Thx @spwn11 @popongap @jing_ke @halnaaaaa313 @Sequoia0223 @1daymashoue @tsukubauniv_lib

ภาพห้องสมุดของญี่ปุ่นที่ผมชอบดูมาจากห้องสมุดมหาวิทยาลัย Tsukuba ครับ
ตามดูได้จาก http://twitpic.com/photos/tsukubauniv_lib

ล่าสุดที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Tsukuba มีวิธีการแก้ไขไม่ให้หนังสือหล่นจากชั้น
โดยนำเชือกมากั้นไว้กึ่งกลางหนังสือ หรือสื่อประเภทซีดีเพื่อไม่ให้หนังสือหรือซีดีหล่นเวลาเกิดแผ่นดินไหว (ตามภาพด้านล่าง)

เรื่องแบบนี้ก็คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นหรอกนะครับ เพราะมันมีแต่ความสูญเสียและความเสียหายไม่ว่าจะเป็นเงิน รวมไปถึงจิตใจ

สำหรับเมืองไทยในภาคใต้ที่ประสบกับภัยพิบัติดินโคลนถล่มและน้ำท่วม
ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว สู้ๆ นะครับ

ปล.ก่อนจบผมต้องขอบอกก่อนนะครับว่าในช่วงที่แผ่นดินไหวห้องสมุดจะมีหนังสือหล่นออกจากชั้นแบบในรูป แต่ปัจจุบันบรรณารักษ์ก็จัดเก็บอย่างเป็นระเบียบแล้วนะครับ สังเกตได้จากห้องสมุดของมหาวิทยาลัย tsukuba ครับ

อัพเดทโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.2.6 และข่าว Koha 3.4

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ชุมชนคนใช้ Koha ได้ประกาศการอัพเดท Koha อีกครั้ง
หลังจากที่ปีที่แล้ว koha ประกาศอัพเดท 3.2.0 ผ่านไป
ในเดือนกุมภาพันธ์ก็ประกาศอัพเดทเป็น 3.2.5 และในเดือนมีนาคมก็อัพเดทเป็น 3.2.6

ในเวอร์ชั่น 3.2.6 มีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง เท่าที่ผมอ่านหลักๆ ก็จะเป็นเรื่องการแก้ bug ใน koha 3.2.0 และ 3.2.5 (ที่ออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2011)
ตอนนี้ Koha ถูกแปลไปแล้ว 14 ภาษา ซึ่งก็มีภาษาใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้าร่วม เร็วๆ นี้

เอาเป็นว่ารายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้จากหน้าหลักของเวอร์ชั่น 3.2.6 นะครับ
http://koha-community.org/koha-3-2-6/

โปรแกรม Koha 3.2.6 สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://download.koha-community.org/koha-3.02.06.tar.gz

และเร็วๆ นี้ (วันที่ 22 เมษายน 2011) มีข่าวว่า Koha จะประกาศเปิดตัว เวอร์ชั่น 3.4 ซึ่งผมว่าต้องรอดูกันครับ
ติดตามข่าว Koha 3.4 ได้ที่ http://koha-community.org/koha-3-4-0-release-schedule-april-coming-fast/

พาเที่ยวห้องสมุด SCG ? XP Library

พาเที่ยวห้องสมุดในวันนี้ผมขอนำเสนอเรื่องราวของการไปเยี่ยมชมห้องสมุดของ SCG (XP Library)
จริงๆ แล้วผมไปเยี่ยมชมที่นี่มาเมื่อประมาณปีที่แล้ว แต่เพิ่งจะว่าง เลยเอามาเล่าวันนี้
เอาเป็นว่าไปอ่านกันเลยดีกว่าครับ ห้องสมุดแห่งนี้มีความพิเศษในหลายๆ อย่างยังไงบ้าง

ภายใน SCG XP ส่วนที่เป็นห้องสมุด (XP Library) จะอยู่ชั้น 2 และส่วนพื้นที่นิตยสาร (XP Magazine) จะอยู่ที่ชั้น 1


ห้องสมุด XP Library นี้เป็นห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบและตกแต่งภายในที่ดีมาก
บรรยากาศโดยทั่วๆ ไปภายในห้องสมุดเหมาะแก่การนั่งอ่านหนังสือมากๆ

การจัดหมวดหมู่หนังสือของที่นี่ไม่ได้ใช้การจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้หรือแอลซีหรอกนะครับ
แต่ที่นี่คิดการจัดหมวดหมู่หนังสือตามแบบฉบับของตัวเอง (เพราะเป็นห้องสมุดเฉพาะ)

ซึ่งแยกหนังสือหลักๆ ออกเป็น
– สถาปัตยกรรม
– ออกแบบและตกแต่ง
– วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
– การจัดสวน
– การออกแบบรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์

สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่นห้องสำหรับคุยงานเป็นกลุ่ม (สำหรับปรึกษางาน)
และยังมีบริการถ่ายเอกสารและสแกนหนังสือด้วยนะครับ

ในส่วนที่เป็น XP Magazine มีระบบสืบค้นที่ค่อนข้างทันสมัยซึ่งได้รับความร่วมมือจากบริษัท HP ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบหน้าจอสัมผัสและโปรแกรมที่พัฒนามาเพื่อการนำเสนอข้อมูลนิตยสาร (ต้องลองไปเล่นดูนะ สุดยอดจริงๆ)

ระบบสืบค้นหนังสือบนเว็บไซต์ก็ทันสมัยมากๆ
http://www.scgexperience.co.th/th/service/library.aspx

อ๋อ แต่ต้องบอกก่อนนะว่า ห้องสมุดแห่งนี้เข้าได้เฉพาะสมาชิก (SCG XP) เท่านั้นนะครับ
แต่สำหรับบุคคลทั่วไปก็สามารถทดลองเข้าฟรีได้ 1 ครั้ง (คล้าย TCDC)

การเป็นสมาชิกของที่นี่ไม่ใช่แค่สมาชิกห้องสมุดนะครับ แต่ต้องเป็นสมาชิกของ SCG XP เลยซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย
โดยสมาชิกของที่นี่แบ่งออกเป็น 3 ประเภท นั่นคือ
1. Student Member (200 บาทต่อ 1 ปี)
2. Customer Member (600 บาทต่อ 2 ปี)
3. Professional Member (1000 บาทต่อ 2 ปี)

สิทธิประโยชน์ที่เด่นๆ สำหรับสมาชิก
– ใช้บริการ มุม XP Magazine ได้ฟรี (นิตยสารดีๆ จากทั่วโลก เรื่องการออกแบบและตกแต่งกว่า 250 ชื่อเรื่อง)
– ใช้บริการ XP library ได้ (หนังสือด้านการออกแบบภายใน ตกแต่งสวน วิศวกรรมโยธา การสร้างบ้าน)
– Internet Wifi สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายได้วันละ 2 ชั่วโมง
– นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนลดในการซื้ออาหารและเครื่องดื่มภายใน XP Cafe ได้อีก
– ยิ่งไปกว่านั้นใช้เป็นบัตรลดในการซื้อหนังสือที่ Asia book ได้ด้วย

เอาเป็นว่าสำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้าไปดูได้ที่
http://www.scgexperience.co.th นะครับ
เว็บไซต์ของส่วนงานห้องสมุด XP Libraryhttp://www.scgexperience.co.th/th/service/library.aspx

เป็นยังไงกันบ้างครับกับห้องสมุดแห่งนี้ ผมเองไม่ได้ไปมาปีกว่าๆ แล้ว แต่เชื่อว่าน่าจะมีอีกหลายๆ ส่วนที่เปลี่ยนไป
และผมเชื่อว่าต้องเปลี่ยนไปในแนวทางที่ดีขึ้นแน่ๆ ดังนั้นเพื่อนๆ คนไหนว่างก็แนะนำให้ไปชมนะครับ

ก่อนจากกันในวันนี้ก็ขอทิ้งท้ายด้วยภาพบรรยากาศภายใน SCG XP และ XP library นะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอลาไปก่อนไว้จะพาไปเที่ยวห้องสมุดที่อื่นๆ บ้างนะครับ อิอิ

ชมภาพบรรยากาศภายใน SCG XP และ XP library

[nggallery id=37]

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 1

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 1
ออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2554

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ออกมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแล้วนะครับ
แต่ในช่วงนั้นผมหยุดเขียนบล็อกก็เลยไม่ได้เอามาลง ตอนนี้เริ่มกลับมาเขียนใหม่จึงขอลงย้อนหลังให้
เอาเป็นว่าเล่มนี้ก็เป็นเล่มแรกของปีที่ 4 นับว่าอยู่คู่กับบล็อกผมมานานจริงๆ

เรื่องเด่นของเล่มนี้ก็อยู่ที่บทสัมภาษณ์ของห้องสมุดมีชีวิตอันดับหนึ่งของไทย
นั่นก็คือ ห้องสมุดอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ นั่นเองครับ

เอาเป็นว่าเกริ่นมาเยอะแล้ว เราไปดูเนื้อหาในฉบับนี้กันดีกว่า

เรื่องจากปก : บทสัมภาษณ์บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนอำเภอขุขันธ์

บทสัมภาษณ์ : คุณสมพงษ์ เจริญศิริ ผู้พัฒนาโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibM

บทความ : หนังสืออิเลคทรอนิกส์ด้านการเกษตรเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

บทความ : แปลงร่างตู้บัตรรายการเป็นตู้รับจดหมายด้วยเทคนิคเดคูพาจ (D?coupage)

บทความ : อาสาทำดีเพื่อพ่อ

บทความ : เปิดบ้านห้องสมุดหนังสือหายากของจุฬา

บทความ : ห้องสมุดศิลปะ ( Art Library)

พาเที่ยว : ห้องสมุดประชาชน Deichmanske Bibliotek

แนะนำฐานข้อมูล : CAB Direct

เรื่องแปล : หนังสือเล่มโตจริง ๆ

เรื่องแปล : ห้องสมุดดิจิทัลจอห์น เอฟ. เคนเนดี้

เป็นยังไงกันบ้างครับกับสาระที่มาเต็มๆ แบบนี้ ยังไงก็ลองอ่านดูกันนะครับ
สำหรับฉบับนี้ก็จบไว้เท่านี้ดีกว่า ไว้ติดตามดูฉบับหน้าอีกทีนะ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

ไอเดียจากร้านหนังสือที่ห้องสมุดน่าทำบ้าง : หนังสือละครทีวี

วันนี้ผมเข้าไปที่ร้านหนังสือบีทูเอสแห่งหนึ่งใกล้ๆ บ้าน เพื่อหาหนังสือที่น่าสนใจมาแนะนำ
แต่เดินไปเดินมาในร้านสักแป๊บก็เจอมุมนึงที่น่าสนใจมาก เลยอยากนำมาเล่าให้ชาวห้องสมุดได้อ่าน

มุมที่ผมเห็นว่าน่าสนใจก็คือ “มุมหนังสือขายดี ละครออนแอร์”
ที่ร้านนี้จะมีชั้นหนังสือที่รวบรวมหนังสือบทละครที่กำลังฉายอยู่ในโทรทัศน์ช่องต่างๆ

ดูจากรูปได้เลยครับ

สังเกตจากในรูปนะครับ จะมีหนังสือละครกำลังฉาย เช่น ดอกส้มสีทอง, เคหาสน์สีแดง, ตลาดอารมณ์ ฯลฯ
นอกจากนี้ด้านหลังของชั้นหนังสือนี้จะมีหนังสือละครที่เคยฉายไปแล้ววางแสดงไว้ด้วย
เช่น รหัสทรชน, ธาราหิมาลัย, ดวงใจอัคนี, ปฐพีเล่ห์รัก, วายุภัคมนตรา ฯลฯ

ในร้านหนังสือเองก็ยังเรียกความสนใจของลูกค้าให้เข้ามาชมหนังสือเหล่านี้ได้
ผมก็เลยคิดไปถึงห้องสมุดว่า หนังสือในห้องสมุดเองเราก็มีวรรณกรรมมากมาย
เราน่าจะหาวิธีนำเสนอหนังสือในรูปแบบนี้บ้าง
เอาเป็นว่าก็ลองคิดๆ เล่นกันดูนะ

สำหรับ หนังสือในกลุ่มละคร ผมว่าผู้ใช้บริการของห้องสมุดจำนวนหนึ่งก็อยากจะอ่านเช่นกัน
เพราะว่าอยากรู้ว่าหนังสือที่อ่าน กับละครที่ดูมันเหมือนหรือต่างกันแค่ไหน
แต่จากที่เคยๆ คุยกับผู้ใช้บริการหลายๆ คน ส่วนหนึ่งก็บอกว่า “หนังสือให้รายละเอียดที่ชัดกว่าในทีวี”

ถ้าห้องสมุดมีมุมนี้บ้าง ผมว่านะ “ผู้ใช้บริการ” ก็คงประทับใจกับห้องสมุดบ้างแหละ
และถ้าจะให้ดีนะอย่ามีแค่ 1 copy ห้องสมุดอาจจะต้องหามาไว้ 2-3 copy ได้เลย
เพราะผมเชื่อว่าคนต้องยืมไปอ่านมากๆ แน่ๆ แล้วก็อย่าลืมเหลือติดไว้ที่ชั้นสักเล่มบ้างหล่ะ

เอางี้ทำแบบให้น่าสนใจเพิ่มโดยการบอกด้วยว่า
“หนังสือเล่มนี้เป็นละครจากช่องไหนเวลาที่ฉายเมื่อไหร่”
ผู้ใช้จะได้รู้รายละเอียดและติดตามชมได้ด้วย

เอาเป็นว่าไอเดียนี้ก็ขอฝากให้คิดและลองนำไปทำดูกันบ้างหล่ะ
รอบๆ ตัวเรามีไอเดียในการพัฒนางานห้องสมุดมากมาย ขอแค่สังเกต คิด วางแผน และทำมัน

ปล. สุดท้ายนี้ขอบคุณ บีทูเอส นะที่ทำให้ผมพบกับไอเดียนี้

สวัสดีปีใหม่ไทยและทักทายวันสงกรานต์

วันนี้วันที่ 13 เมษายน 2554 ก่อนอื่นต้องขอกล่าวคำว่า “สวัสดีปีใหม่ไทย” ครับเพื่อนๆ และผู้เข้าชมบล็อก
อย่างที่รู้กันวันนี้เป็นวันปีใหม่ไทยและวันสงกรานต์ หลายๆ คนคงไม่อยากอ่านเรื่องหนักๆ
ผมเองก็ไม่อยากเขียนอะไรเป็นวิชาการมากมายหรอก เลยแวะมาทักทายและเอาเพลงสงกรานต์มาฝาก


ขออวยพรสักหน่อยนะ เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ไทยและวันสงกรานต์ผมเองก็ขออวยพรให้เพื่อน :-
– พบแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้น
– คิดสิ่งใดที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ก็ขอให้ได้ตามประสงค์
– สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ทั้งทางกายและทางใจ

วันนี้ก็ขอเขียนแค่นี้แล้วกันนะครับ ไม่อยากกวนเวลาเพื่อนๆ นาน เอาเป็นว่าขอฝากเพลงอีกสักเพลงแล้วกัน

ชื่อเพลง : รำวงเริงสงกรานต์
นักร้อง : สุนทราภรณ์

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=OUqJqE2dOJc[/youtube]

เนื้อเพลงรำวงเริงสงกรานต์

(สร้อย-หมู่) ฟ้าใหม่แล้วละนะน้อง
สงกรานต์เร้าร้องทำนองเพลงโทน
โน่นไงจ๊ะโทนป๊ะโท่นโทน
ทั้งโยกทั้งโยนเย้ายวนยั่วใจ
(ช.) วันตรุษหยุดการหยุดงาน สังคมชาวบ้านสิคร้านครึกครื้น
เริงสงกรานต์กัน พอขวัญชื้น ๆ
ฉลองวันคืน จนครื้นเครงคลาน
ดอกเอ๋ยมะเขือ แม้ตัวเนื้อมันเต้น
เชิญน้องมาเล่นสงกรานต์
(หมู่ ช.) เอ้าเชิญน้องขึ้นวิมาน รับฟ้าสงกรานต์กันกะพี่ปะไร
เอ้าเชิญน้องขึ้นวิมาน รับฟ้าสงกรานต์กันกะพี่ปะไร
(สร้อย-หมู่)
(ญ.) ฟังพี่ที่ชวนที่เชิญ ขวัญเอยมันเปิ่นสะเทิ้นท้อถอย
ชีวิตชีวาน้องหนาน้อย ๆ
รำแล้วจะพลอยลอยคว้างกลางลาน
ดอกเอ๋ยฟักทอง รักจะร้องรำเต้น
ประสาเราเล่นสงกรานต์
(ญ.) เอ้ามาซิถ้าต้องการ สำเริงสำราญกันเป็นคู่ ๆ ไป
(หมู่ ญ.) เอ้ามาซิถ้าต้องการ สำเริงสำราญกันเป็นคู่ ๆ ไป
(สร้อย-หมู่)
(ช.) รำคู่อยู่เคียงใกล้กัน สายทรวงมันสั่นมันซึ้งเสียว ๆ
งามแท้รำไทยเรื่อยไหลลดเลี้ยว
เราร้อยกรเกลียว เพรียวพลิ้วปลิวลม
ดอกเอ๋ยชะบา เหมือนนางฟ้ามาใกล้
มาเย้ายวนให้หลงชม
อ๋อนางฟ้าน่าชื่นชม สวยจริงสวยจมงามตรงห่มสไบ
(หมู่ ช.) อ๋อนางฟ้าน่าชื่นชม สวยจริงสวยจมงามตรงห่มสไบ
(สร้อย-หมู่)
(ญ.) รำคู่อยู่เคียงพี่ชาย หัวใจมันส่ายโยนซ้ายย้ายขวา
เพลินคล้ายคนธรรพ์ เคล้าขวัญคล้อยฟ้า
ไปค้างไปคา สุขาวดี
สวรรค์สงกรานต์แสนสนานสนุก
รำแล้วเป็นสุขทุกที
(ญ.) ซิเออถึงว่าน่ะสิ สงกรานต์ทั้งทีรำกะพี่เรื่อยไป
(หมู่ ญ.) ซิเออถึงว่าน่ะสิ สงกรานต์ทั้งทีรำกะพี่เรื่อยไป
(สร้อย-หมู่)
(สร้อย-หมู่)
ขอบคุณที่มาของเนื้อเพลงจาก http://lyrics.ohozaa.com

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ (Librarians’ Licensure)

คำถามในเรื่องวิชาชีพที่หลายๆ คนอยากรู้เรื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่อง “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์”
ซึ่งผมเองก็สงสัยมานานแล้วเหมือนกันว่า ทำไมวิชาชีพของเราจึงไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
เรื่องราวที่ผมจะเขียนต่อไปนี้อาจจะอ้างอิงจากประเทศฟิลิปปินส์นะครับ แต่ก็เป็นข้อมูลที่น่าสนใจเหมือนกัน


เรื่องของเรื่องผมตามอ่านบล็อก filipinolibrarian มาสักระยะหนึ่งแล้ว
และพบบทความชื่อเรื่องว่า “Librarians’ Licensure Examination 2010: Results

ซึ่งเมื่อเข้าไปอ่านแล้ว ผมก็พบข้อมูลว่า
“ผลการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ในปี 2010 มีคนผ่าน 27% (191 จาก 699 คน) ซึ่งน้อยกว่าปี 2009 ซึ่งมี 30% ที่ผ่าน”

เพียงแค่ประโยคนี้ประโยคเดียวมันก็ทำให้ผมสนใจเรื่องนี้มากขึ้นแล้ว “เรื่องใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์”
ในประเทศฟิลิปปินส์บรรณารักษ์ที่จะประกอบวิชาชีพได้ต้องมีใบอนุญาตเท่านั้นนะครับ
คนที่ไม่มีใบอนุญาตแล้วทำงานบรรณารักษ์ถือว่าผิดกฎหมายด้วย

ซึ่งแตกต่างจากประเทศของเรานะครับ “เอาใครก็ได้มาเป็นบรรณารักษ์”
เมื่อได้ “ใครก็ได้” มาทำงาน “มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง” ผมว่าเพื่อนๆ หลายคนคงรู้นะครับ

แต่ก็มีหลายๆ คนคงคิดต่อไปอีกว่า แล้วในประเทศฟิลิปปินส์เขาไม่ถกเถียงกันเรื่องนี้บ้างหรอ
จริงๆ แล้วมีการถกเถียงเรื่องนี้กันมากๆ เลย ลองอ่านได้จาก “Unlicensed Librarians and R.A. 9246

เอกสาร R.A. 9246 คือ กฎหมายหรือบทบัญญัติที่เกี่ยวกับวิชาชีพบรรณารักษ์ในฟิลิปปินส์ ออกมาตั้งแต่ปี 2004
(ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.congress.gov.ph/download/ra_12/RA09246.pdf)

ตัวอย่างบทบัญญัติที่น่าสนใจ

SECTION 31. Employment of Librarians. ? Only qualified and licensed librarians shall be employed as librarians in all government libraries. Local government units shall be given a period of three (3) years from the approval of this Act to comply with this provision.

SECTION 32. Penal Provisions. ? Any person who practices or offers to practice any function of a librarian as provided for under Section 5 of this Act who is not registered and has not been issued by the Commission a Certificate of Registration and Professional Identification Card, or a temporary license/permit or who violates any of the provisions of this Act, its Implementing Rules and Regulations, shall, upon conviction, be penalized by a fine of not less than Thirty thousand pesos (P30,000.00) nor more than One hundred thousand pesos (P100,000.00), or imprisonment of not less than one (1) month nor more than three (3) years at the discretion of the court.

นอกจากนี้สำหรับชาวต่างชาติที่จะเข้าไปเป็นบรรณารักษ์ในฟิลิปปินส์ ในบทบัญญัติก็กล่าวไว้ว่าต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเช่นกัน เป็นไงกันบ้างครับแรงไปหรือปล่าว แต่เหตุผลหลักๆ ที่เขาปฏิบัติกันมาเช่นนี้เพราะเขาต้องการรักษามาตรฐานความเป็นวิชาชีพบรรณารักษ์ นั่นเอง

สำหรับคนที่ไม่ได้เรียนบรรณารักษ์แต่อยากเป็นบรรณารักษ์ที่ฟิลิปปินส์ก็เปิดโอกาสนะ แต่ต้องไปเรียนหรือเข้าคอร์สตามมหาวิทยาลัยที่รับรองมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งจะมีประกาศออกมาทุกปี ดูได้จากตัวอย่างนะครับ “The Best and the Worst LIS Schools, 2007-2009.”

Librarian Licensure Examination 2009

ขอสรุปแบบคร่าวๆ เลยแล้วกันครับว่า “หากบรรณารักษ์ไทยอยากมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์” บ้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
– สภาวิชาชีพบรรณารักษ์
– สภาทนายความ
– วุฒิสภา
– มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรบรรณารักษ์
– ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ
ฯลฯ

ซึ่งถามว่า “ยากมั้ย”? คำตอบ “ยากครับ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้”
เอาเป็นว่าก็ขอเอาใจช่วยลุ้นก็แล้วกันนะครับ (ใจจริงอยากให้มีนะ วงการห้องสมุดจะได้พัฒนากันมากกว่านี้)

คู่มือสำหรับเลือกใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในต่างประเทศ

ปัญหาใหญ่ของห้องสมุดหลายๆ แห่ง คือ ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของเจ้าไหนดี
นิตยสาร Computers in libraries จึงรวบรวม vendor และ product ไว้ให้ห้องสมุดต่างๆ ศึกษา

ก่อนอื่นก็แนะนำให้ดาวน์โหลดมาดูกันก่อนนะครับ
ดาวน์โหลดตัวเล่มได้ที่ http://www.infotoday.com/cilmag/CILMag_ILSGuide.pdf

เนื้อหาภายในเล่มก็อย่างที่เกริ่นไว้นั่นแหละครับ ประกอบไปด้วย
– ชื่อของ vendor (ตัวแทนจำหน่าย)
– โปรแกรมที่ vendor ต่างๆ นำเสนอ

ซึ่งโปรแกรมที่ vendor บางตัวผมก็อดสงสัยไม่ได้ เช่น KOHA
ทั้งๆ ที่เป็น Opensource นะครับ แต่ก็อยู่ใน LIST ของการนำเสนอ
แต่ก็อย่างที่บอกแหละครับ ว่านำเสนอ KOHA แต่ในแง่การพัฒนาและการดูแลรักษา

นอกจากนี้รายละเอียดของแต่ละ vendor ที่ให้จะบอกรายละเอียด เช่น
– ปีที่ออก (ซอฟท์แวร์ออกมาปีไหน)
– จำนวนห้องสมุดที่นำไปใช้
– กลุ่มเป้าหมาย (ห้องสมุดประชาชน,โรงเรียน,มหาวิทยาลัย,เฉพาะ,ราชการ)
– ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์สำหรับติดต่อ
– เว็บไซต์ของบริษัท

ชื่อ ILS แปลกมากมายที่ผมก็เพิ่งจะเคยได้ยิน เช่น AGent VERSO, CyberTools for Libraries, Amlib, KLAS, LibraryWorld ฯลฯ อีกมากมายเลย

จริงๆ แล้วผมก็อยากรวบรวมของเมืองไทยแล้วทำเป็นรูปเล่มแบบนี้บ้างนะ
อย่างน้อยผมก็จะได้รู้จักระบบห้องสมุดต่างๆ หรือระบบห้องสมุดใหม่ในเมืองไทย

เอางี้ดีกว่าผมอยากให้เพื่อนๆ มีส่วนร่วม เพื่อนๆ ลองส่งชื่อ ILS ที่คิดว่าแปลกๆ หรือ ใหม่ๆ ในเมืองไทยให้ผมหน่อย (Comment ไว้ด้านล่าง) แล้วว่างๆ ผมจะศึกษาและนำมา review ให้เพื่อนๆ อ่านกัน

ห้องสมุดโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนกำลังรับครูบรรณารักษ์

ไม่ได้เจอกันนานเลยนะครับ วันนี้บรรณารักษ์ช่วยหางานกลับมาแล้ว กลับมาพบกับเพื่อนๆ ที่กำลังหางานครับ
วันนี้ผมก็มีงานบรรณารักษ์มานำเสนอเช่นเคย เป็นงานครูบรรณารักษ์ในโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนครับ

รายละเอียดทั่วไปของตำแหน่งงาน
ชื่อตำแหน่ง : ครูบรรณารักษ์
ห้องสมุด : โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
กำหนดการรับสมัคร : 7 – 22? เมษายน? 2554


คุณสมบัติของตำแหน่งนี้

1.? อายุไม่เกิน? 35? ปี
2.? จบปริญญาตรี? หรือ? ปริญญาโท? สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์

สำหรับคนที่สนใจก็ลองติดต่อไปที่ อ.แย้มลาวัลย์? ประเสริฐ? (หัวหน้างานห้องสมุด)? โทรศัพท์? 02-6379020? ต่อ? 6300, 6351 หรือ? 026371852? (ต่อห้องสมุดอาคารบีซีซี? 150? ปี) นะครับ ย้ำอีกทีรับสมัครตั้งแต่วันที่ 7 – 22? เมษายน? 2554

เอาเป็นว่าก็ขอให้ทุกๆ ท่านโชคดีครับ

คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

ไม่ได้อัพเดทบล็อกตัวเองนานมากๆ เพราะมีอะไรหลายๆ เรื่องเข้ามารบกวน
วันนี้ได้โอกาสเข้ามาอัพเดทเลยอยากเขียนถึงจุดกำเนิดของบล็อกเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

ปล. บทความนี้เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ในวารสาร “โดมทัศน์” ของธรรมศาสตร์ ปีที่ 31 ฉบับที่ 2
ชื่อบทความว่า “คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib – Libraryhub

เอาเป็นว่าใครหาอ่านจากตัวเล่มไม่ได้ก็อ่านได้บนบล็อกผมเลย ด้านล่างนี้เลยครับ

“คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib – Libraryhub”

มีคนเคยบอกผมว่า ?หากเราไม่เริ่มที่จะทำอะไรสักอย่าง สิ่งๆ นั้นก็จะไม่มีทางเกิด….? เมื่อผมได้ฟังประโยคนี้แล้ว ผมได้หันกลับมามองย้อนการทำงานของตัวเอง ในช่วงนั้นผมเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ห้องสมุดตำแหน่งเล็กๆ ในห้องสมุดแห่งหนึ่ง ผมถามตัวเองว่า ?ทำไมวงการบรรณารักษ์ถึงไม่มีศูนย์กลางของข่าวสารด้านวงการห้องสมุดเลย หรือ ทำไมถึงหาบทความอ่านเกี่ยวกับเรื่องบรรณารักษ์ยากจัง? เมื่อคิดแล้วในสมองของผมมันก็ตอบกลับมาว่า ?จริงๆ เราน่าจะมีเว็บไซต์เพื่อวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์บ้างนะ? นี่คือความคิดเล็กๆ ในวันนั้นที่ทำให้มีเว็บไซต์ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ในวันนี้

เริ่มคิด…เริ่มค้นหา…

ใครๆ ก็คิดว่าอยากมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง แต่ปัญหาหนึ่งที่หลายๆ คนเจอ คือ ไม่มีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมและไม่มีความรู้เรื่องการออกแบบเว็บไซต์ ผมเองก็ประสบปัญหาเดียวกันครับ เมื่อตั้งโจทย์ขึ้นว่าอยากมีเว็บไซต์แต่ทำเว็บไซต์ไม่เป็น ที่พึ่งหนึ่งของผมก็คือห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลเรื่องการสร้างเว็บไซต์เริ่มต้นขึ้นผ่านไปหนึ่งเดือนหนังสือหลายเล่มที่อ่านจบไปก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย การเข้าไปดูเว็บไซต์อื่นๆ ก็เป็นเพียงแค่รูปแบบที่ทำให้ผมจินตนาการเว็บไซต์ส่วนตัวให้ดูอลังการมากมายแต่ทำไม่ได้จริง เมื่อใกล้พบกับความสิ้นหวังก็มีแสงสว่างหนึ่งปรากฎขึ้นมา ผมได้พบกับเพื่อนคนหนึ่งในเว็บไซต์และรู้ว่าเขาสามารถทำเว็บไซต์ได้จึงขอคำปรึกษา ซึ่งเขาให้คำแนะนำมากมาย รวมถึงแนะนำคำว่า ?บล็อก (Blog)? ให้ผมรู้จัก

ช่วงนั้นมีบล็อกมากมายที่ให้บริการฟรีบนเว็บไซต์ เช่น Gotoknow, Exteen, OKnation, Blogspot, WordPress ฯลฯ ผมจึงไม่รอช้าที่จะเข้าไปเล่นและใช้งานบล็อกหลายๆ ที่ และสิ่งที่ทำให้ผมรู้ คือ การเขียนบล็อกมันง่ายจริงๆ แทบจะไม่ต้องเข้าใจเรื่องการเขียนโปรแกรมเว็บไซต์เลยก็ว่าได้ จากบล็อกต่างๆ เหล่านั้น ผมจึงเลือกWordpress เพื่อใช้เป็นบล็อกหลักของผม

ชื่อบล็อกสำคัญไฉน

เพื่อให้ทุกคนรู้จักบล็อกของเรา สิ่งที่ต้องคิดตามมาคือ ชื่อบล็อก การตั้งชื่อบล็อกมีแนวทางในการเลือกชื่อบล็อกมากมาย เช่น เอาชื่อหน่วยงานตัวเอง เอาชื่อจริงของตัวเอง หรือแม้กระทั่งการเอาชื่อนามปากกาของตัวเองมาใช้ ซึ่งสำหรับผมแล้วการใช้ชื่อ Projectlib ดูเหมือนว่าจะเป็นชื่อที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด เนื่องจากบล็อกของผมไม่ได้สังกัดใครดังนั้นจึงไม่มีชื่อหน่วยงาน และการเอาชื่อจริงมาใช้ก็ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากมีคนนำชื่อจริงผมไปจดทะเบียนโดเมนเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากจุดประสงค์และการสื่อสาร ผมจึงเลือก Projectlib มาใช้ด้วยความหมายว่า Project หมายถึง โครงการ และ Lib มาจาก Library ซึ่งหมายถึงห้องสมุด เมื่อนำมารวมกันเป็น Projectlib นั่นหมายถึงโครงการสำหรับห้องสมุดนั่นเอง

หัวใจของการสร้างชุมชนแห่งนี้

เมื่อได้พื้นที่ในการเขียนและได้ชื่อบล็อกในการสื่อสาร สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คืออุดมการณ์ในการเขียนบล็อก ซึ่งเรื่องนี้ผมเขียนในบล็อกของผมเองหลายครั้งแล้ว และก็ขอนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านอีกครั้ง เพราะนี่คือจุดประสงค์ที่แท้จริงของการทำบล็อก Projectlib และ Libraryhub 10 ข้อนี้เป็น 10 ข้อจากใจผม ซึ่งมีดังนี้

1. วงการบรรณารักษ์และห้องสมุดในประเทศไทยต้องพัฒนาและปรับปรุงตนเองมากกว่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้
2. ห้องสมุดถือเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ของคนในสังคม
3. การนำสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวมาประยุกต์ใช้การทำงาน เช่น การนำ MSN มาใช้เพื่อตอบคำถามออนไลน์ ฯลฯ
4. การอ่านมากๆ ทำให้สมองของเราแข็งแรง พัฒนาความรู้ และต่อยอดได้เยอะขึ้น
5. ลบภาพบรรณารักษ์ยุคเก่า และสร้างภาพลักษณ์บรรณารักษ์ยุคใหม่
6. งานด้านบรรณารักษ์ และห้องสมุดสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ด้วย
7. อยากบอกว่าข่าววงการบรรณารักษ์ทั่วโลกมีมากมาย แต่ในประเทศไทยไม่ค่อยมีใครนำเสนอเลย
8. งานห้องสมุดมีมากกว่าแค่นั่งเฝ้าหนังสือ
9. ห้องสมุดก็มีเรื่องสนุกๆ มากมาย ไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายๆ คนคิดนะครับ
10. สำคัญที่สุดแล้วคือ ผมรักวิชาชีพนี้มาก และเป็นความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก

เขียนบล็อกไม่ใช่เรื่องยาก

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ในการเขียน ชื่อบล็อกและอุดมการณ์ของบล็อก เรื่องยากที่หลายๆ คนชอบพูดถึงก็คือ ?แล้วจะเขียนเรื่องอะไรลงในบล็อก? คำแนะนำต่อจากนี้ก็มาจากเพื่อนผมอีกเช่นกัน เพื่อนผมบอกว่า ?ให้เราคิดว่าบล็อกก็เหมือนไดอารี่เล่มหนึ่งของเรา เราอยากเขียนอะไรลงไปก็เขียนได้ จะเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวันก็ได้ เอารูปมาลงก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นทางการมากก็ได้? เพียงแค่นี้แหละครับทำให้ความคิดผมมองการเขียนบล็อกว่าง่าย ผมจับเอาเรื่องการทำงานในแต่ละวัน ข่าวสาร และความคิดเห็นของผมใส่ลงไปในบล็อกทุกวัน วันแรกๆ อาจจะเขียนแค่สามสี่บรรทัด พอผ่านไปสักเดือนผมก็สามารถเขียนได้มากขึ้นเรื่อยๆ เอง

ตัวอย่างแนวทางในการเขียนเรื่องในบล็อก Projectlib และ Libraryhub

– นำบทความจากบล็อกบรรณารักษ์ ห้องสมุดต่างประเทศมาแปล
– ประชาสัมพันธ์กิจกรรมงานเสวนา สัมมนา ที่เกี่ยวกับวงการบรรณารักษ์ ห้องสมุด หรืองานอื่นๆ ที่น่าติดตาม
– แนะนำห้องสมุดที่ผมไปเยี่ยมชมด้วยการถ่ายรูปและเล่าเรื่องราวห้องสมุด
– ตำแหน่งงานห้องสมุดก็สามารถนำมาเขียนเป็นเรื่องเป็นราวได้
– เทคโนโลยีที่ห้องสมุดและบรรณารักษ์ควรติดตาม
– คลิปวีดีโอจาก Youtube ที่พูดถึงวงการห้องสมุด
นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้นนะครับ อย่างที่บอกคือเราสามารถเขียนได้ทุกเรื่อง ขอแค่เราฝึกและเขียนบ่อยๆ เราก็จะชินไปเอง

เครื่องมือฟรีๆ บนโลกออนไลน์ที่ช่วยให้คนรู้จักเครือข่ายของเรา

เมื่อเรามีบล็อกส่วนตัวแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราอยากทำให้มันเกิดคือการให้คนอื่นได้เข้ามาอ่าน และเข้ามาแสดงความคิดเห็น ยิ่งเยอะเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะถือว่าเราได้ฝึกฝีมือเราไปเรื่อยๆ ซึ่งเครื่องมือฟรีๆ ที่ผมนำมาใช้สร้างเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ ได้แก่

– จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) มีไว้สำหรับการอัพเดทข่าวสารความเคลื่อนไหวของบล็อกให้เพื่อนๆ ติดตาม
– MSN / Gtalk มีไว้สำหรับสนทนาออนไลน์ และตอบคำถามออนไลน์กับเพื่อนๆ สมาชิก
– Skype มีไว้สนทนาออนไลน์และประชุมงานออนไลน์ (คุยเป็นกลุ่มเครื่องมือนี้ขอแนะนำ)
– Hi5 ? Librarian in Thailand มีไว้รวบรวมกลุ่มบรรณารักษ์ที่เล่น hi5
– Facebook มีไว้พูดคุย ตอบคำถาม ประชาสัมพันธ์เรื่องราวของบล็อก (กระแสกำลังมาแรง)
– Twitter มีไว้กระจายข่าวสารให้เพื่อนๆ นอกวิชาชีพได้เข้าใจถึงงานห้องสมุดและบรรณารักษ์
– Slideshare มีไว้เผยแพร่สไลด์ไฟล์นำเสนอในงานเสวนาต่างๆ ซึ่งเป็นสไลด์ที่ผมทำเอง

นี่ก็เป็นเพียงเครื่องมือฟรีๆ ส่วนหนึ่งที่ผมใช้อยู่ และเครื่องมืออีกส่วนที่ไม่ได้กล่าวจริงๆ ก็ยังมีอยู่อีกมาก ซึ่งหากเพื่อนๆ มีเวลาก็ลองเข้าไปอ่านในบล็อกของผมต่อได้ เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ดังนั้นบล็อกหรือเว็บไซต์ของห้องสมุดก็ควรจะตามให้ทันด้วย

การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่จาก Projectlib สู่บ้านใหม่ Libraryhub

หลังจากที่ดำเนินการสร้างเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ได้ระยะหนึ่ง บล็อก Projectlib ที่อาศัยของฟรีอย่างเดียวก็มีความต้องการที่จะสร้างและพัฒนาเครือข่ายให้สมบูรณ์ขึ้นไปอีก ดังนั้นจึงมีการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนชื่อ การย้ายพื้นที่ของบล็อก ซึ่งพบว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ต้องมีการลงทุน (เสียค่าใช้จ่าย) โดยหลังจากที่ปรึกษาพี่ๆ ในวงการเว็บไซต์หลายคน ผมจึงได้ข้อสรุปในการลงทุนครั้งนี้

จะสังเกตได้ว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องเสีย 1 ปีเพียงแค่ 700 บาทซึ่ง คิดเฉลี่ยแล้ววันละไม่ถึง 2 บาท เป็นการลงทุนที่ไม่มากเกินไปหรอกครับ เทียบกับผลที่ได้แล้วมันคุ้มกว่ามาก ได้ความเป็นส่วนตัวของบล็อก แถมยังเพิ่มลูกเล่นให้บล็อกเราได้อีกมากมาย

กิจกกรมจากโลกออกไลน์สู่โลกแห่งความเป็นจริง

นอกจากกิจกรรมออนไลน์แล้ว ผมให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมบนโลกแห่งความเป็นจริงด้วย ซึ่งที่ผ่านมาก็มีกิจกรรมหลายรูปแบบ เช่น

– งาน Libcamp คืองานสัมมนาแบบไม่เป็นทางการของกลุ่มเครือข่ายบรรณารักษ์รุ่นใหม่ ซึ่งปีที่แล้วจัดไป 3 ครั้ง งานดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากหลายๆ องค์กร ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมงานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แถมยังได้รับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบรรณารักษ์รุ่นใหม่ด้วย
– งานสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งมีหลายองค์กรชวนผมไปช่วยจัด ก็ได้รับความสนใจจากคนในองค์กรต่างๆ เข้าร่วมอย่างดี
– ตัวกลางในการรับบริจาคหนังสือให้ห้องสมุดที่ยังขาดแคลนหนังสือ

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างนะครับ ผมให้ความสำคัญทั้งกิจกรรมออนไลน์ แต่ก็ไม่ได้ละเลยกิจกรรมในโลกแห่งความเป็นจริงด้วย

อนาคตและทิศทางของเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

ทิศทางของเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ในอนาคต การเพิ่มบทบาทของเครือข่ายต่อวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดจะมีเพิ่มขึ้น โดยอาจจะทำความร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวกับการพัฒนาวงการห้องสมุด เช่น สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย หอสมุดแห่งชาติ หรือองค์กรอื่นๆ ซึ่งการสร้างเครือข่ายและร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นสิ่งที่วิชาชีพกำลังต้องการในตอนนี้ นอกจากการสร้างเครือข่ายความร่วมมือแล้ว กิจกรรมสู่ภูมิภาคจะมีมากขึ้นด้วยเนื่องจากสมาชิกของบล็อก Projectlib และ Libraryhub ซึ่งมีกระจายตัวอยู่หลายจังหวัด และช่วงนี้มีแผนที่จะเขียนหนังสือสำหรับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ด้วย ซึ่งคาดว่าปีหน้าจะมีหนังสือออกมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

บทสรุปแห่งความสำเร็จ

ความสำเร็วของบล็อก Projectlib และ Libraryhub ผมคงไม่วัดด้วยการบอกว่ามีจำนวนเรื่องที่เขียนและสมาชิกมากเท่าไหร่ แต่ความสำเร็จที่ผมได้จากการเขียนและสร้างชุมชนแห่งนี้คือ การที่วงการบรรณารักษ์และห้องสมุดตื่นตัวกันเรื่องการพัฒนามากกว่า จากสามปีที่แล้วที่ผมเปิดบล็อกในช่วงนั้นผมแทบจะหาคนที่เขียนเรื่องห้องสมุดไม่ได้ จนวันนี้ห้องสมุดหลายๆ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเว็บไซต์และบล็อก เพียงเท่านี้แหละครับผมก็พอใจมากแล้ว

บทความที่จะทำให้รู้จักผมเพิ่มเติม

เจ้าของบล็อก projectlib.wordpress.com – http://www.librarianmagazine.com/VOL1NO7/projectlib.html
Projectlib – Librarian 2.0 – http://tag.in.th/interview?show=projectlib
มาทำความรู้จักกับเจ้าของ Libraryhub – http://www.libraryhub.in.th/my-portfolio/

เอาเป็นว่าหากอ่านบนบล็อกแล้วรู้สึกว่ามันยาวเกินไป ผมก็อนุญาติที่จะให้เพื่อนๆ ดาวน์โหลดแล้ว print ไปอ่านครับ
โหลดได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2011/04/Projectlib-Libraryhub.pdf

เอาเป็นว่าก็หวังว่าจะเป็นการกลับมาอีกครั้งที่เพื่อนๆ จะให้การต้อนรับผมนะ