รวมภาพงานประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

วันนี้ได้รับเกียรติจากห้องสมุด TKpark อีกครั้งที่เชิญมาบรรยายในงานประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน (รุ่นที่ 4) (จริงๆ แล้วรุ่นที่ 3 ผมก็มาบรรยายเช่นเดียวกันแต่ยังไม่ได้เอาสไลด์มาลงในชมเลย) จึงขอเล่าบรรยากาศในงานให้ผู้ที่ไม่ได้มาร่วมงานนี้ได้อ่านและชมภาพกัน

รายละเอียดเกี่ยวกับงานนี้แบบย่อๆ
ชื่องาน : การประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน (รุ่นที่4)
จัดโดย : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้และสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
วันที่จัด : วันอังคารที่ 3 – วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม  2554
สถานที่จัดงาน : โรงแรมเอส ดี อเวนิว

ผมจำได้ว่าครั้งที่แล้ว (รุ่นที่แล้วก็จัดที่นี่เช่นเดียวกัน แต่จัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์)
ในรุ่นนี้ผมว่าคนมาร่วมงานนี้คึกคักมากกว่าครั้งที่แล้วเยอะเลย แถมดูกระตือรือร้นในงานมากๆ
ครั้งก่อนผมบรรยายช่วงเย็นๆ มาครั้งนี้ได้อยู่รอบเช้าเลย (อาจจะทำให้เห็นคนเยอะก็ได้)

เรื่องหลักๆ ที่ผมบรรยายเดี๋ยวผมจะขออนุญาตเขียนเป็นอีกเรื่องในบล็อกแล้วกัน
วันนี้ขอเม้าส์เรื่องบรรยากาศในงานและการจัดงานโดยภาพรวมก่อน

รูปแบบของการจัดงานใน 4 วัน มีหลายรูปแบบมาก
เช่น
– ชมนิทรรศการของห้องสมุดมีชีวิตที่เคยอบรมในรุ่นก่อนๆ
– การบรรยายจากวิทยากรเพื่อเติมเต็มความรู้
– การทำ workshop ระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
– การศึกษาดูงานห้องสมุดโรงเรียนในกทม.และอุทยานการเรียนรู้ (TK park)

นับว่าเป็นการเติมเต็มความรู้ของเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ครูบรรณารักษ์ ศึกษานิเทศก์ รวมถึงผู้บริหารได้ดีทีเดียว

ห้องประชุมเดิมที่เคยจัดงานดูเล็กไปมากเลยแทบจะไม่มีที่นั่งเหลือเลยครับ
ขนาดผมไปแต่เช้ายังไม่มีเก้าอี้นั่งเลย จึงต้องยืนฟังบ้าง แอบออกมาเตรียมตัวข้างนอกบ้าง

รอบๆ ห้องประชุมวันนี้มีการแสดงผลงานของการจัดห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียนของรุ่นที่เคยอบรมจากงานนี้ไป
(แสดงให้เห็นว่า หลังจากการอบรมแล้วมีการนำไปใช้งานจริงและได้ผลลัพธ์ออกมาจริง)

ผมเองก็ได้เดินชมอยู่หลายๆ บูธเช่นกัน แต่ละห้องสมุดทำได้ดีทีเดียวเลยครับ (พี่เลี้ยงดีมากๆ)

ด้านนอกของห้องประชุมก็มีร้านหนังสือนานมีมาออกบูธด้วย
มีหนังสือเด็กที่น่าสนใจเพียบเลย และมีการแนะนำกิจกรรมการรักการอ่านสำหรับเด็กแถมเป็นความรู้กลับไป

เอาเป็นว่างานนี้ผมยกนิ้วให้เลยว่าจัดงานได้ดีทีเดียว
สำหรับใครที่พลาดงานนี้ผมว่าทางหน่วยงานที่จัดคงมีแผนในการจัดต่อในรุ่นต่อๆ ไปอีกนะครับ
เอาเป็นว่าก็ต้องคอยติดตามข่าวสารกันไปเรื่อยๆ นะครับ
สำหรับวันนี้ก็ชมภาพบรรยากาศในงานก่อนแล้วกันครับ

ภาพบรรยากาศงานประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

[nggallery id=38]

รายงานเรื่องการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติสวนหนังสือเจริญกรุง

เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าที่ผมเขียนตั้งแต่ปี 2008 วันนี้กลับมานั่งอ่านรายงานที่ทำแล้วคิดถึง
ก็เลยขอนำข้อมูล “รายงานเรื่องการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติสวนหนังสือเจริญกรุง” มาเล่าใหม่

ในปี 2008 ช่วงนั้นผมเรียน ป โท เทอมที่สี่ครับ หนึ่งในวิชาที่เรียน คือ “IT Project”
ซึ่งรายงานของวิชานี้เป็นรายงานกลุ่ม ให้เราศึกษาระบบงานของหน่วยงานที่ไหนก็ได้แล้วนำมาวิเคราะห์
นอกจากนี้ให้คิดโครงการใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับไอทีไปเสนอหน่วยงานแห่งนั้นๆ ด้วย

หน่วยงานที่ผมเลือก คือ สวนหนังสือเจริญกรุง
โครงการที่ผมทำชื่อ “การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติสวนหนังสือเจริญกรุง”
เนื่องจากการพัฒนาระบบห้องสมุดเป็นงานที่คนไอทีหลายๆ คนอยากจะทำ

การทำรายงานก็เริ่มจากการศึกษาข้อมูลทั่วๆ ไปของห้องสมุดก่อนซึ่งจากการอ่านในเว็บไซต์เราได้ข้อมูลไม่เพียงพอต่อการนำมาวิเคราะห์ ดังนั้นจึงต้องลงพื้นที่เพื่อไปศึกษาถึงสถานที่จริง

วันนั้นผมกับเพื่อนๆ ก็เดินทางไปที่ สวนหนังสือเจริญกรุง
และเริ่มแบ่งงานกันทำ บางส่วนสัมภาษณ์บรรณารักษ์ บางส่วนสำรวจห้องสมุด บางส่วนก็จำลองเป็นผู้ใช้บริการ

การเก็บข้อมูลวันนั้นที่ไปสวนหนังสือเจริญกรุงก็นับว่าได้ข้อมูลที่ดี และเพียงพอต่อการวิเคราะห์ระบบเป็นอย่างมาก
ไม่ว่าจะเป็น นโยบาย, ปัญหา, กิจกรรม, การจัดหา, และความต้องการด้านไอที

เจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ใจดีตอบให้ทุกข้อ โดยไม่มีบ่นเลย เลยต้องขอขอบคุณ ณ ที่นี้อีกครั้ง

เมื่อได้ข้อมูลแล้วผมก็นำข้อมูลมาทำรายงานและเตรียมนำเสนอ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดมีดังนี้
– รายละเอียดทั่วไปขององค์กร
– การวิเคราะห์ปัญหาของระบบการทำงานในปัจจุบัน (Cause and Effect Diagram)
– ที่มาของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป (SWOT Analysis)
– วัตถุประสงค์โครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– ขอบเขตของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– ข้อกำหนดในการเลือกใช้เทคโนโลยี
– งบประมาณที่จัดเตรียมไว้
– Context Diagram ของระบบสารสนเทศ
– แผนการดำเนินงาน
– Work Breakdown Structure
– Hardware และ Software Specifications
– ข้อมูลทั่วไปของ Software
– การส่งมอบงาน
– เงื่อนไขการรับประกันระบบ
– การควบคุมคุณภาพของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– การจัดการความเสี่ยงของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– ตัวอย่างการใช้งานโปรแกรม
– บทเรียนที่ได้รับจากโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– บทสรุปของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ

ในส่วนเนื้อหาผมไม่ขอนำมาลงในบล็อกนะครับเนื่องจากมันยาวมาก เดี๋ยวบล็อกผมจะยาวเป็นกิโลไปซะก่อน

หลังจากที่นำเสนอข้อมูลในชั้น เพื่อนๆ หลายๆ คนมาสอบถามเรื่องระบบห้องสมุดกันนอกรอบมากมาย
ซึ่งผมเองก็แปลกใจและไม่คิดว่าจะมีคนสนใจเยอะขนาดนี้ ได้ความมาว่า
“ใครพัฒนาระบบห้องสมุดได้ก็สามารถพัฒนาระบบงานอื่นๆ ได้ด้วย เพราะระบบห้องสมุดมีเรื่อองที่ซับซ้อนมากมาย”

เอาเป็นว่าต้องขอบอกเลยว่า “ผลเกินคาดครับงานนี้”

10 ห้องสมุดในอเมริกาที่ชีวิตนี้ผมต้องไปให้ได้

ห้องสมุดในอเมริกาหลายๆ แห่งมีความน่าสนใจในหลายๆ เรื่องมาก
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถาปัตยกรรม เรื่องการบริหารจัดการ เรื่องเทคโนโลยีในห้องสมุด

ถ้ามีโอกาสสักครั้งในชีวิต ผมก็อยากไปชมห้องสมุดในต่างประเทศบ้าง
ในระหว่างนี้ผมคงยังไม่ได้ไปหรอก เพราะงั้นวันนี้ผมขอเขียน list ทิ้งไว้ก่อนแล้วกัน

ก่อนอื่นผมก็คงต้องค้นหาห้องสมุดดีๆ ก่อนสินะ ว่าแล้วก็เปิดเว็บไซต์ค้นข้อมูลทั้งที
และแล้วผมก็เจอบทความนึง “10 great places to take a library tour
ซึ่งอยู่ในเว็บไซต์ USATODAY คอลัมน์ Travel เอาเป็นว่าต้องขอจดไว้ใน list นี้เลย

ห้องสมุด 10 แห่งที่น่าสนใจสำหรับการไปเที่ยวชม มีดังนี้

1. New York Public Library

ห้องสมุดประชาชนแห่งนี้ผมไม่พลาดแน่ๆ เพราะห้องสมุดแห่งนี้ได้ชื่อเรื่องของการจัดกิจกรรมแบบใหม่ๆ และการใช้สื่อสังคมออนไลน์มากมาย แถมเป็นห้องสมุดที่มีสถาปัตยกรรมงดงามมากมาย สัญลักษณ์ของห้องสมุดแห่งนี้คือ “สิงโต” นั่นเอง

2. Fayetteville Public Library

ห้องสมุดประชาชนแห่งนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นห้องสมุดที่ได้รับการออกแบบให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากๆ Green Library

3. Seattle Central Library

ไปอเมริกาทั้งทีต้องไปที่นี่ให้ได้ เพราะห้องสมุดที่มีการออกแบบอาคารสุดทันสมัยแถมสอดคล้องกับการทำงานของบรรณารักษ์ ห้องสมุดแห่งนี้ผมเขียนถึงหลายครั้งแล้วก็เลยอยากไปเป็นพิเศษ

4. Geisel Library, University of California-San Diego

ห้องสมุดแห่งนี้ผมก็เคยเขียนลงบล็อกแล้วเช่นกัน ห้องสมุดแห่งนี้รูปลักษณ์อาคารดูแปลกๆ แต่ภายในสามารถตอบสนองผู้ใช้บริการได้แบบสุดยอดมาก

5. Thomas Jefferson Building, Library of Congress

ห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดของโลกไม่ไปคงเสียดายแย่เลยเนอะ แถมไปดูต้นฉบับการจัดหมวดหมู่แบบ LC ด้วย

6. Weippe Public Library

ห้องสมุดแห่งนี้ผมไม่เคยได้ยินชื่ออ่ะ แต่ก็ลองไปค้นข้อมูลดูแล้ว พบว่ารูปลักษณ์อาคารก็ไม่ได้ดูเด่นอะไร แต่ห้องสมุดแห่งนี้เด่นเรื่องการสร้างชุมชน แถมด้วยการให้บริการ WIFI & CELL PHONE HOTSPOT

7. Harold Washington Library Center, Chicago Public Library

ห้องสมุดแห่งนี้ดูรูปแล้วตอนแรกนึกว่าเป็นห้องสมุดในเมืองจีน ยิ่งได้รู้ว่าห้องสมุดแห่งนี้เด่นเรื่องการจัดนิทรรศการยิ่งน่าไปดูมากๆ

8. Boston Athenaeum

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดที่ยังคงเน้นการจัดตกแต่งภายในด้วยศิลปะ รูปปูนปั้น และภาพเขียนโบราณมากมาย เข้าไปแล้วจะได้ความรู้สึกของห้องสมุดแบบเก่าๆ ได้ดีมาก

9. Deadwood Public Library

ห้องสมุดแห่งนี้คล้ายๆ กับห้องสมุดที่ 8 คือเน้นบรรยากาศภายในห้องสมุดดูเก่าๆ และมีมนต์ขลังดี

10. Central Denver Public Library

ห้องสมุดแห่งนี้เห็นรูปแล้วชอบมากเพราะมีศิลปะอยู่รายรอบห้องสมุด โดยเฉพาะการตกแต่งอาคาร และการออกแบบสถาปัตยกรรม เอาเป็นว่าก็สวยไปอีกแบบ

เป็นไงกันบ้างครับห้องสมุดทั้ง 10 แห่ง บางแห่งผมก็เคยได้ยินมาเยอะ
แต่ก็มีห้องสมุดบางแห่งที่ยังไม่ค่อยรู้จักเลย เอาเป็นว่าสักวันคงต้องไปเยือนจริงๆ สักที

สรุปเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนเมษายน 2554

ไม่ได้รายงานผลซะนานเลยนะครับ เพราะผมเองก็หายไปจากบล็อกบรรณารักษ์เกือบ 2 เดือน
เอาเป็นว่าผมกลับมาตั้งแต่ต้นเดือนแล้วหล่ะ วันนี้เลยต้องกลับมาทำหน้าที่รายงานเรื่องยอดฮิต

เรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนเมษายน 2554
จากการสำรวจข้อมูลคร่าวๆ พบว่าสถิติในช่วงก่อนการเขียนบล็อกตกลงไปเยอะเลย
แต่หลังจากการกลับมาเขียนอีกครั้งพบว่าสมาชิกหลายๆ คนเริ่มกลับมาอ่าน

แล้วเพื่อนๆ ว่าเรื่องไหนที่ได้รับความนิยม 10 อันดับบ้างหล่ะครับ เราไปดูกันเลยดีกว่า

เรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนเมษายน 2554 10 อันดับได้แก่

1. 3% – บรรณารักษ์สามารถ copy catalog หนังสือจาก Amazon ได้แล้วนะ
2. 3% – ไอเดียจากร้านหนังสือที่ห้องสมุดน่าทำบ้าง : หนังสือละครทีวี
3. 3% – ห้องสมุดจำเป็นต้องใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หรือไม่
4. 3% – บทสรุปการพัฒนาห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด
5. 2% – พาเที่ยวห้องสมุด SCG ? XP Library
6. 2% – แผ่นดินไหวทำให้ห้องสมุดเสียหายแค่ไหน (ชมภาพจากประเทศญี่ปุ่น)
7. 2% – คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์
8. 2% – สวัสดีปีใหม่ไทยและทักทายวันสงกรานต์
9. 1% – นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 2
10. 1% – คลิปวีดีโอคนต่อแถวแย่งกันเข้าห้องสมุดประชาชนเป็นไปได้หรือนี่

ปล. เรื่องยอดฮิตมีเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)
นอกจากโหวตแล้วเพื่อนๆ สามารถคอมเม้นตืเรื่องที่ชอบได้ด้วยนะครับ

สำหรับเดือนพฤษภาคมเรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นได้ในวันที่ 1 มิถุนายนนะครับ