การจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในห้องสมุดการแพทย์
สรุปมาจนถึงหัวข้อที่หกแล้วนะครับสำหรับงานอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มมูลค่าบรรณารักษ์การแพทย์”
หัวข้อ คือ IT Management in Medical Library (การจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในห้องสมุดการแพทย์)
วิทยากรโดย นายแพทย์ธีรชัย ยงชัยตระกูล หัวหน้ากลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลเลิศลิน กรมการแพทย์
หัวข้อนี้จริงๆ แล้วมีเนื้อหาคล้ายๆ ของผมเลย แต่มีเนื้อหาต่างกันอยู่บ้างแหละ
ซึ่งโดยหลักๆ ท่านวิทยากรได้เล่าภาพห้องสมุดออกมาเป็น 3 มุมมองใหญ่ๆ คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต
หัวข้อที่บรรยายเป็นการจุดประเด็นให้คิดและวิเคราะห์ตาม
เพื่อทำให้เรา รู้จักอดีต / เข้าใจปัจจุบัน / คาดเดาอนาคต ของวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์
ห้องสมุดสมัยโบราณ (Ancient Ages)
ห้องสมุดในอดีตคงต้องมองย้อนไปตั้งแต่เกิดห้องสมุดแห่งแรกของโลกบริเวณที่เกิดอารายธรรมเมโสโปเตเมียเลย (เมื่อ 4000 ปีก่อน) ในยุคนั้นมีการแกะสลักตัวอักษรลงในแท่นดินเหนียว ถัดมาจนถึงยุคของอียิปต์โบราณที่ใช้กระดาษปาปิรุสบันทึกข้อมูล ไล่มาเรื่อยๆ จนถึง Royal Library at Dresden ที่บันทึกข้อมูลด้วยหนังสัตว์ และมีการนำหนังสัตว์มาเย็บรวมกันที่เรียกว่า Codex เป็นครั้งแรก
ห้องสมุดในยุคกลาง
ในยุคนี้จะพูดถึงเรื่องทวีปยุโรปได้มีการจัดสร้างห้องคัดลอกหนังสือ (Scriptorium) ไล่ไปจนถึงจีนที่เริ่มมีการทำกระดาษครั้งแรกของโลก และการกำเนิดเครื่องพิมพ์เครื่องแรกของโลก โดย johannes gutenberg
ห้องสมุดในยุคใหม่
อันนี้เริ่มใกล้ตัวเราขึ้นมาหน่อย โดยนับเริ่มตั้งแต่การเกิด Library of congress ถัดมาก็เรื่องของการจัดหมวดหมู่หนังสือต่างๆ เช่น Dewey, UDC ไปจนถึงการเกิดโรงเรียนบรรณารักษ์ และการจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือด้านบรรณารักษ์ระหว่างประเทศ…
คำอธิบาย หรือ ที่มาของคำว่า Librarian มีที่มาอย่างไร
Liber (Latin) = เปลือกด้านในของต้นไม้
Libraria (Latin) = ร้านหนังสือ
Librarie (anglo french)
Librarie (old-french) = cellection of books
Librarian = บรรณารักษ์
สมัยก่อนใช้คำว่า library-keeper
การจัดการสื่อในห้องสมุดจะเปลี่ยนไปแค่ไหน
– จากหนังสือ จะกลายเป็น Digital File
– จากชั้นหนังสือ จะกลายเป็น Storage Server
การจัดการด้านเครือข่ายในห้องสมุด
– การเข้าถึงข้อมูล จากต้องเข้ามาที่ห้องสมุด จะกลายเป็น เข้าที่ไหนก็ได้
– การเข้ารับบริการ จากต้องเข้าใช้ตามเวลาที่ห้องสมุดเปิด จะกลายเป็น เข้าได้ 24 ชั่วโมง
ท่านวิทยากรได้ยกตัวอย่างมาตรฐานของสมาคมห้องสมุด พ.ศ. 2552 โดยหมวดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะถูกแทรกอยู่ในหมวด 5, 7, 8
หลังจากที่พูดถึงภาพอดีตแบบกว้างๆ ไปแล้ว ทีนี้มาดูปัจจุบันกันบ้างดีกว่า
งานที่เกี่ยวกับสื่อในห้องสมุด และการบริการในห้องสมุด งานไอทีที่จำเป็นในงานดังกล่าวจะประกอบด้วย
– Server = ดูเรื่องของการจัดการ, ความปลอดภัย, ฐานข้อมูล
– Client = เครื่องของผู้เข้ารับบริการจะต้องเข้าใช้งานได้ ตรวจสอบผู้ใช้ได้
– Network = มีให้เลือกทั้งแบบมีสายและไร้สาย (ปัจจุบันรพ.เลิศสิน เช่น leased line)
– Content = content ทั้งหมดสามารถเข้าผ่าน intranet ได้
– Software
ตัวอย่างระบบห้องสมุดในอนาคตที่คาดว่าจะเป็น :- *** อันนี้น่าสนใจมากครับ
– Berkeley (1996 โมเดลเก่าของเขา แต่ใหม่ของเรา)
– Harvard University “Library digital Initiative”
– Stanford University “Digital Repository”
“IT จะรับหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลแทนห้องสมุด หนังสือจะเปลี่ยนเป็น สื่อที่ใช้เก็บเพื่ออ้างอิงและสะสม”
ห้องสมุดจะเปลี่ยนเป็นศูนย์การเรียนรู้ และ บรรณารักษ์จะเปลี่ยนเป็นนักสารสนเทศ