หัวข้อที่แปดแล้วนะครับมาอ่านสรุปงานอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มมูลค่าบรรณารักษ์การแพทย์” กันต่อเลย
หัวข้อ คือ โรคทางมือที่อาจเกิดกับบรรณารักษ์ (Hand : Medical Librarian)
วิทยาการโดย นายแพทย์สมศักดิ์ ลีเชวงวงศ์ กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิศสิน
หัวข้อนี้ถือว่าเป็นการเติมความรู้ในเรื่องของสุขภาพและการดูแลสุขภาพในวิชาชีพบรรณารักษ์
อาชีพของบรรณารักษ์เรามีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับกระดูและข้ออย่างไร
ผมยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น การยกของหนักก็ทำให้มีโอกาสที่จะบาดเจ็บข้อหรือกล้ามเนื้อเช่นกัน
โดยวันนี้ท่านวิทยากรขอแนะนำโรคทางมือที่อาจเกิดกับบรรณารักษ์
โรคที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ไม่ได้เกิดจากการยกของหนัก แต่การยกของหนักทำให้มีโอกาสเป็นได้ง่ายขึ้นก็เท่านั้นเอง
โรคนิ้วสะดุด
ข้อมูลทั่วไป
– ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย
– พบในวัยกลางคน
– เกิดอาการที่นิ้วแม่มือ, นิ้วนาง, นิ้วกลาง
การรักษา
-พักการใช้งานชั่วคราว
– ใส่เครื่องดามมือ
– ทานยาแก้อักเสบ
– ฉีดยาแก้อักเสบ (ฉีดสารสเตอรอยด์)
– ผ่าตัด
โรคอักเสบบริเวณข้อมือ
ข้อมูลทั่วไป
– ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย
– พบในวัยกลางคน
การรักษา
– พักการใช้งานชั่วคราว
– ใส่เครื่องดามมือ
– ทานยาแก้อักเสบ
– ฉีดยาแก้อักเสบ (ฉีดสารสเตอรอยด์)
– ผ่าตัด
โรคเส้นประสาทถูกกดทับ บริเวณข้อมือ
ข้อมูลทั่วไป
– ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย
– คนท้องหรือตั้งครรภ์เกิดบ่อยมาก
– เกิดอาการชาเป็นพักๆ ถ้าหนักๆ จะเกิดอาการชาแล้วไม่หาย
การรักษา
– การรักษาจากต้นทาง (สาเหตุ) เช่น ปรับปรุงวิธีทำงาน การปรับการนั่งทำงาน การวางมือบนแป้นคีย์บอร์ด
– ดามข้อมือ
– ทานยา ยาแก้อักเสบ วตามิน B6
– ผ่าตัด
โรคข้อเสื่อมทางมือ
ข้อมูลทั่วไป
– ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย
– พบในวัยกลางคน
– ข้อนิ้วยึดติดในตอนเช้า
– ลักษณะนิ้วเก
การรักษาขั้นต้น
– แช่น้ำอุ่นๆ ช่วงเช้า 3-5 นาที
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ มาจาก
– กรรมพันธุ์
– อายุ, เพศ, น้ำหนักตัว, ภาวะประจำเดือน
– การทำงาน
เอาเป็นว่ายังไงซะก็รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ
เป็นแล้วค่ะ CTS พังผืดที่ข้อมือ ยังไงก็อยากให้พี่ๆบรรณารักษ์ ระวังเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์นะคะ