วิจารณ์และพาชมห้องสมุดโรงเรียนค้อวังวิทยาคม

อย่างที่เมื่อวานได้เกริ่นเอาไว้ว่ามาบรรยายที่โรงเรียนค้อวังวิทยาคมทั้งที เลยขอเยี่ยมชมห้องสมุดในโรงเรียนนี้ดูบ้าง และขอเก็บภาพต่างๆ มาด้วย เพื่อลงในบล็อก Libraryhub วันนี้เลยขอทำตามสัญญาเอาเรื่องนี้มาลงให้อ่านและชมภาพกัน

ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุดที่จะพาไปชม
สถานที่ : ห้องสมุดโรงเรียนค้อวังวิทยาคม
ที่อยู่ : 85 หมู่.7 ตำบลค้อวัง อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร 35160
เว็บไซต์ : http://www.kww.ac.th/web54/index.php

โรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนประจำอำเภอนะครับ ทำการสอนในระดับมัธยมศึกษา (ตั้งแต่ ม. 1- ม. 6) จำนวนนักเรียนรวมแล้วประมาณเกือบ 1000 คน

ห้องสมุดโรงเรียนแห่งนี้เพิ่งจะได้รับการพัฒนาและปรับปรุงด้านสถานที่หลายส่วนด้วยกัน เช่น มีการติดแอร์ในห้องสมุด และออกแบบมุมบริการต่างๆ ในห้องสมุดมากมาย

หนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ครอบคลุมเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนหรืออ่านประกอบการเรียน มีการจัดหมวดหมู่หนังสือตามแบบดิวอี้

การยืมคืนก็คงคล้ายๆ กับห้องสมุดโรงเรียนอื่นๆ แหละครับ คือ แบ่งการยืมคืนเป็นสองส่วนคือระดับนักเรียนและครูอาจารย์

จากการเดินสำรวจรอบๆ พบว่า
1. ชั้นที่เก็บจุลสาร จดหมายข่าวยังดูเละเทะไม่เรียบร้อย
คำแนะนำ = เลือกจัดเก็บข่าวสารที่มีประโยชน์ หรือ ตัดบทความที่น่าสนใจเก็บไว้ เพื่อทำกฤตภาคออนไลน์ต่อไป

2. การจัดนิทรรศการในห้องสมุดมีพื้นที่ค่อนข้างน้อย
คำแนะนำ = สามารถจัดวางนิทรรศการบนโต๊ะอ่านหนังสือได้เลย หรือทำป้ายคำคมที่เกี่ยวกับการอ่านมาแปะไว้บริเวณรอบๆ ห้องสมุด

3. มุมโต๊ะที่อ่านหนังสือค่อนข้างคมมาก (กลัวเด็กชนแล้วหัวจะแตก)
คำแนะนำ = หานวมมาหุ้มบริเวณมุมโต๊ะลดอันตรายที่จะเกิดขึ้น

***ผมคอมเม้นต์ให้ทางทีมงานห้องสมุดได้รับทราบแล้ว และคาดว่าจะมีการปรับปรุงเร็วๆ นี้

เอาเป็นว่าที่เหลือผมว่าก็ต้องปรับปรุงไปเรื่อยๆ นะครับ เพราะผู้ใช้บริการมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเหมือนกัน (สำหรับโรงเรียนต้องระวังมากๆ ด้วยเพราะ Tablet กำลังจะมา) ผมก็จะขอเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนๆ บรรณารักษ์ทุกๆ คนด้วยเหมือนกัน

ปล. ที่ห้องสมุดไหนอยากให้ผมไปเยี่ยมชมและวิจารณ์ก็ติดต่อมาได้ครับยินดีมากๆ ถ้าไม่ไกลมากไม่คิดค่าบริการอยู่แล้ว อิอิ

ชมภาพห้องสมุดโรงเรียนค้อวังวิทยาคมทั้งหมดได้ที่นี่เลย

[nggallery id=48]

Happy Birthday To Me 2011

บันทึกวันที่ 29 กันยายน 2554 (วันเกิดของนายห้องสมุด นายบรรณารักษ์ ครบรอบ 29 ปีแล้วนะ)
เป็นเรื่องปกติที่ต้องมานั่งอวยพรและฉลองวันเกิดของตัวเองในบล็อก (ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม)

เวลาในแต่ละวัน เดือน ปี มันช่างผ่านไปรวดเร็วนัก ….. นี่ผมอยู่มาเกือบ 29 ปีแล้วหรอเนี้ย
แล้วบล็อกที่ผมเขียนตั้งแต่แรก (Projectlib) จนถึงวันนี้ (Libraryhub) นี่ก็เจ็ดปีกว่าๆ แล้วเช่นกัน
ปีนี้ผมก็ยังคงต้องเตือนตัวเองเหมือนเช่นทุกปีว่า “อย่าหลงระเริงไปกับชีวิตแบบไร้จัดหมายไปวันๆ ได้แล้ว”

เอาหล่ะเตือนตัวเองเสร็จแล้ว ขออวยพรให้ตัวเองบ้างดีกว่า
– ขอให้คนในครอบครัวของผมมีความสุข (ทั้งครอบครัวจริงๆ และครอบครัวบรรณารักษ์)
– ขอให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง (ไม่เจ็บป่วยบ่อยเหมือนปีที่ผ่านมา)
– ขอให้มีกำลังใจในการเขียนบล็อกและช่วยวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไปเรื่อยๆ
– ขอให้งานที่จะทำ กำลังทำ วางแผนจะทำ จงสำเร็จอย่างดี
– ขอให้มีแรงใจในการ พูดดี ทำดี และคิดดี

ฉลองที่ไหน!!! อันนี้ตอบยากมากเลย เพราะอยู่ในช่วงกินเจอ่ะครับ
จะให้ฉลองอะไรก็คงไม่สะดวกมากสักเท่าไหร่หรอก เอาไว้ฉลองพร้อมกับเรื่องปลายปีนี้ดีกว่า (งานแต่งงานของผม)

และเช่นเคยเป็นธรรมเนียมของทุกปีที่ผมจะซื้อของขวัญให้ตัวเอง
เอาเป็นว่ารู้แล้วหล่ะครับว่าจะซื้ออะไร เดี๋ยวจะเอามาอัพเดทให้อ่านวันหลังนะ

สำหรับวันนี้ก็ Happy Birthday To Me……

———————————————————————————————————–

ขอบคุณเพื่อนๆ ใน Social Media ที่ร่วมกันอวยพรวันเกิดให้ผมนะครับ (Update29/9/2011)

Facebook

JuNe SaSisophit / May Kessuda Thamapipon / Supannee Rongbutsee / Pploy’ Saowalak / Tanapat Tanakulpaisal / Pranitee Ratanawijitr / Wilas TheInk Chamlertwat / NooDam Noppharat / Akai Rider / Cabinlazz Lizzie / Sutham Pom Thammawong / Kowit Asitirat / Kathy Kewpie / Chonlada Buratcharin / SassyGirl Jane / Tossapon Anothaipaiboon / Thanakan Jittjai / Paweena Kumpor / Tam Tummarus / เยน วรินทร์ทิพย์ / Pattara Sreshthaputra / Tom Tumnoon / Joeng Ked / Toey Chosechoysap / Pandanoi Nuttaya / Cybrarian Cyberworld / Punnatee Teenapun / Preeda Yodkaew / Haleluya Ayulelah / Sac Laubu / Katoon Mariyano / พิมพ์นิภา มณีจินดา / ชุมชนคนหางาน บรรณารักษ์ / Natcha Likhitboonyarith / Tin Baantonfai / Weyoung Lifejang / Tan Supawan / Saksith Lawsunnee / Nukulrat Launglaythong / Kes Pho / Koala Poy / Thanatthat Visutthitharawong / Sasi Thaworn / Manot Manojang Phatam / นางสาวสุนิสา แสนทวีสุข / Jib Indie / Podjamand Boonchai / Panumas Adi / Jlo Home / Sirilak Thammathon / ห้องสมุดประชาชน เฉลิมราชกุมารี จังหวัดปัตตานี / Ple Hathaichanok / Kaejang Sukanya / Arec Msu / Auem Keowalee / Hatari Hatairat / TonAor Lekkla / Lamunjai Pitakwaree / NanNie AurNa / Phinissorn Singcharoen / Poch Dll / Monomink Pj / Dahwan Thongsri / Pz’ Ampoope / Nilinee Noopinit / Jiraporn Pangpa / Bubble Chayapa Boonmana / Koei Matkhaw / NamOill Jajaa / JjooMm Thiarmart / Koi Jung / Golf Golf Za / ปริศนา บวชสันเที๊ยะ / Guangming Sangkeettrakarn / Ronnachai Tee Saiwong / Spylady Honestguy / Yaowaluk Sangsawang Nontanakorn / Noo Eed / Warodom Dansuwandumrong / Somkiat Charu / กุ้ยช่าย ยิ้มแป้นเล่น / โอ้เอ้ โอ้เอ้ / ชะอม ชโรกลมๆ / Chawewon Boonthum / Thammasat Yaothanee / Bowies Pinta / Sukanya Sakuldej / Nong Pape-Prem / Prasitichai เรารักในหลวง / ด.ช.ต้น นามสมมุติ / อาร์ม เว้ยเฮ้ย / Carefree C. Cat / Kanlife’s Gingerbread / NooNik Ps / Puttipong-hata Bunon / Ji Jiraporn / Rabbits Tai / นายณะรินทร์ศาล์ งามวงศ์ / TangMo Lapat / Choco Van / อยู่คนเดียว มันโครตเหงาเลย / Paweena Paka / ปราณปริยา ตันติบุตร / บรรณารักษ์ เจน / Minky KPbunny / อาภาภรณ์ วรรณา / Koi Watana / MudMee Baapaabaapaa / Monrudee Saeng-aroon / Krich Pratchyawatin / นางสาวแก้วตา แสงอรุณ / กลิ่นสุคนธ์ ศรีจรรยา / Anchalee Kweevirojkul / Kook Chananchida / Ga Pali /Ton Nakarin / ผ่องศรี อรอินทร์ / เกี๊ยวกุ้ง Ratcha

Twitter

@junesis / @charathBank / @nuboat / @jaaja / @pimoooo / @OaddybeinG / @PatSonic / @dekads

สรุปบรรยาย : นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน

กลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว พอจะมีเวลาอัพบล็อกเหมือนเดิม จึงขอประเดิมด้วยสรุปเรื่องที่บรรยายให้โรงเรียนค้อวังวิทยาคมแล้วกันนะครับ โดยต้องขอเกริ่นสักนิดนะครับว่าเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ต้องเดินทางไปบรรยายในต่างจังหวัดด้วยตัวเอง (ห้องสมุดหรือหน่วยงานในต่างจังหวัดไหนอยากให้ผมไปบรรยายก็ติดต่อมาทางเมล์แล้วกันนะครับ อิอิ)

รายละเอียดเบื้องต้นของการบรรยาย
ชื่อหัวข้อการบรรยายภาษาไทย : นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน
ชื่อหัวข้อการบรรยายภาษาอังกฤษ : Innovation and Technology for School libraries
วิทยากร : นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักพัฒนาระบบห้องสมุด โครงการศูนย์ความรู้กินได้
วันและเวลา : วันที่ 19 กันยายน 2554 เวลา 9.00 – 16.30 น.
สถานที่ในการบรรยาย : ห้องโสตทัศนศึกษา โรงเรียนค้อวังวิทยาคม อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร
หน่วยงานที่จัดงาน : โรงเรียนค้อวังวิทยาคม

การบรรยายในครั้งนี้จะเน้นในเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยีแบบง่ายๆ เพื่อให้ห้องสมุดโรงเรียนต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวที่เราสามารถนำมาใช้ในห้องสมุดมีมากมาย แค่คิดให้ได้และจับกระแสให้ดีเท่านี้ห้องสมุดของเราก็จะมีชีวิตขึ้นทันที

สไลด์ประกอบการบรรยาย “นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน”

สรุปการบรรยาย “นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน”

การบรรยายแบ่งออกเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ

1. ช่วงเช้า เรื่อง นวัตกรรม-ห้องสมุดโรงเรียน

– ความหมายของคำว่า “นวัตกรรม” โดยสรุปผมให้นิยามคำนี้ว่า “อะไรก็ตามที่เป็นของใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ บริการใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน คำว่าใหม่ในที่นี้วัดจากการเป็นสิ่งใหม่ในองค์กรหรือใหม่ในความคิดของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น”

– ห้องสมุดเปลี่ยนไปเยอะแค่ไหน…นับจากอดีตที่คนเข้ามาห้องสมุดเพื่ออ่านอย่างเดียว ก็เริ่มเข้ามาดูหนังฟังเพลงในห้องสมุด และคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ก็เข้ามาในห้องสมุด….จนบัดนี้เราเห็นอะไรในห้องสมุดบ้างหล่ะ

– กรณีศึกษา การทำงานบรรณารักษ์ครั้งแรกของผม ที่ ห้องสมุดวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม จากห้องโล่งๆ ไม่มีอะไรเลยจนกลายมาเป็นห้องสมุด ต้องผ่านอะไรมาเยอะมาก การจัดทำกฤตภาคออนไลน์ด้วยตนเอง การสร้างเว็บไซต์ห้องสมุดไม่ง่ายและไม่ยาก ทำงานห้องสมุดต้องมีความคิดสร้างสรรค์ด้วย (โจทย์ทำอย่างไรให้เด็กช่างกลเข้าห้องสมุดเยอะๆ)

– กรณีศึกษา การทำงานเป็นนักพัฒนาระบบห้องสมุด ที่ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี มองภาพรวมของการทำงานให้ได้ การสร้างแนวทางในการทำงานบรรณารักษ์ในรูปแบบใหม่ๆ สิ่งง่ายๆ ที่สามารถนำมาใช้และก่อให้เกิดบริการใหม่ๆ มีเยอะแยะเลย เช่น กล่องความรู้กินได้ ชั้นหนังสือในแบบโครงการศูนย์ความรู้กินได้ กิจกรรมการวิจารณ์หนังสือในห้องสมุด แนวทางในการคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด การใช้ Pathfinder ฯลฯ

– อะไรคือนวัตกรรมในวงการห้องสมุดได้บ้าง เช่น การนับจำนวนผู้เข้าใช้ห้องสมุดจากคนเป็นเครื่องมือ , การสืบค้นหาหนังสือในห้องสมุดจากบัตรรายการเป็น OPAC , บริการใหม่ๆ จากเดิมที่ห้องสมุดต้องรอให้ผู้ใช้บริการเข้ามาเป็นห้องสมุดต้องออกไปบริการผู้ใช้บริการข้างนอกเอง , กิจกรรมแก้กรรมจาก ม.ศิลปากร ฯลฯ

2. ช่วงบ่าย เรื่อง เทคโนโลยี-ห้องสมุดโรงเรียน

– บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Cybrarian) ต้องมีความรู้และทักษะอะไรบ้าง (เรื่องนี้บรรยายบ่อยมากลองหาอ่านย้อนหลังได้ เช่น http://www.libraryhub.in.th/2011/08/12/e-medical-librarian-and-social-network/)

– ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน…สร้างเองได้ มองเรื่องทั่วๆ ไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพ ยิ่งเราได้เห็น อ่าน ฟังมากเท่าไหร่เราก็ยิ่งมีไอเดียมากขึ้นเท่านั้น การ Copy คนอื่นจะดีมากถ้า copy แล้วต่อยอด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้เช่นกัน

– บรรณารักษ์ กับ โปรแกรมเมอร์ ต่างกันตรงที่ บรรณารักษ์เราอยู่ในฐานะผู้ใช้ไอทีรวมถึงแนะนำการใช้ไอทีให้ผู้ใช้บริการ ส่วนโปรแกรมเมอร์รับคำสั่งให้สร้างและออกแบบโปรแกรมหรือไอทีเพื่อใช้งาน

– ทักษะและความรู้ด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ มี 8 ด้าน ได้แก่
1. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
2. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
3. ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
4. ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
5. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
6. ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. ความรู้และทักษะการใช้งานระบบห้องสมุด
8. ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0

– เครื่องมือออนไลน์ที่สามารถนำมาใช้พัฒนาห้องสมุด (แบบฟรีๆ) เช่น Blog, E-mail, MSN, Twitter, Facebook, Youtube, Flickr, Slideshare

แถมให้อีกสไลด์นึงแล้วกันนะครับ เป็นตัวอย่างการนำ Web 2.0 มาประยุกต์ใช้กับงานห้องสมุด

– กรณีศึกษาเรื่องการใช้บล็อก บล็อกทำอะไรได้บ้าง และ องค์กรต่างๆ ใช้บล็อกเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างการใช้งานบล็อก Projectlib และ Libraryhub ตัวอย่างหัวข้อที่ใช้เขียนบล็อก นวัตกรรมที่หลายคนไม่เคยคิดเกี่ยวกับบล็อก คือ การสร้างแม่แบบไว้เผื่อเวลาไม่รู้จะเขียนอะไรก็นำแม่แบบมาประยุกต์ได้

– Facebook กับการใช้งานในห้องสมุด ตัวอย่างการใช้งาน facebook เช่น แนะนำหนังสือที่น่าสนใจในห้องสมุด, ตอบคำถามและรับฟังความคิดเห็น, ทักทายพูดคุยแบบเป็นกันเองกับผู้ใช้บริการออนไลน์, โปรโมทบล็อกหรือเว็บไซต์ของห้องสมุด, เชิญเพื่อนๆ เข้าร่วมกิจกรรม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมห้องสมุด, ให้บริการออนไลน์, โพสรูปกิจกรรมต่างๆ ในห้องสมุด

– กรณีศึกษาการใช้ facebook ที่น่าสนใจ ดูได้ที่
1. http://www.facebook.com/thlibrary (กลุ่มเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย)
2. http://www.facebook.com/groups/133106983412927/ (กลุ่ม Librarian in Thailand)

– การดูแลสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ห้องสมุด

1. คอยอัพเดทข่าวสารและกิจกรรมของห้องสมุดใหม่ให้ผู้ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ
2. ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการออนไลน์
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการ
4. ไม่นำเรื่องราวพฤติกรรมที่แย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลง
5. พยายามพูดคุยหรือถามความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
6. นำภาพกิจกรรมมาลงใน facebook ทุกครั้ง

– ทิศทางสำหรับห้องสมุดในอนาคต (อ่านต่อได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/2010/12/24/social-media-and-library-trends-for-2011/)

ก่อนจบผมได้แนะนำให้เพื่อนๆ ตามอ่านเรื่องราวห้องสมุด บรรณารักษ์ และหนังสือจากบล็อกต่างๆ ด้วย ถ้าไม่รู้จะเริ่มจากไหนให้เข้าไปที่ http://blogsearch.google.co.th แล้วค้นคำว่า ห้องสมุด บรรณารักษ์ หนังสือ จะทำให้เจอเรื่องที่น่าอ่านมากมาย
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับบทสรุปของงานบรรยายของผมในครั้งนี้ เอาเป็นว่าพรุ่งนี้ผมจะนำรูปภาพของห้องสมุดโรงเรียนค้อวังวิทยาคมมาลงให้ดูด้วยแล้วกันนะครับ วันนี้ก็ขอลาไปพักก่อนนะครับ
ภาพการอบรมทั้งหมดในวันนั้น
[nggallery id=47]

100 Kindle book ที่น่าสนใจและราคาต่ำกว่า 4 เหรียญ

วันนี้ขอแนะนำ Ebook สำหรับ Kindle บ้างดีกว่า แต่ถ้าแนะนำ ebook แบบปกติก็คงธรรมดาไป
ขอนำเสนอ ebook ที่ราคาต่ำกว่า 4 เหรียญมาให้ดูดีกว่า (100 Kindle Books for $3.99 or less)

ลองเข้าไปดูกันก่อนนะครับ ที่ http://www.amazon.com/gp/feature.html?ie=UTF8&plgroup=1&ref_=br_lf_m_1000706171_pglink_1&docId=1000706171&plpage=1&ie=UTF8&tag=j9bvx4-20&linkCode=ur2&camp=1789&creative=390957

เป็นไงบ้างครับแต่ละเล่มถูกๆ ทั้งนั้นเลยใช่มั้ยครับ
ราคา 4 เหรียญ ตกเป็นเงินไทยราคาประมาณ 120 บาท

Ebook ราคาไม่แพงอย่างที่คิดใช่มั้ยครับ สำหรับคนที่ใช้ Kindle ผมขอแนะนำครับ
ลองเข้าไป Shopping Ebook กันได้เลย เลือกเล่มที่ชอบและซื้อไปได้เลยครับ

ที่สำคัญ คือ อ่านได้ทั้งบนเครื่อง Kindle, PC, Iphone, Ipad, Android…… อ่านได้หลากหลายเครื่องเลย นี่แหละความเป็น Amazon

ลองดูได้นะครับ สำหรับวันนี้ก็ขอลาไปก่อนแล้วกัน

ที่มา http://www.amazon.com/gp/feature.html?ie=UTF8&plgroup=1&ref_=br_lf_m_1000706171_pglink_1&docId=1000706171&plpage=1&ie=UTF8&tag=j9bvx4-20&linkCode=ur2&camp=1789&creative=390957

บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Cybrarian) ต้องมีบุคลิกภาพแบบนี้…

บทความที่เกี่ยวกับ Cybrarian ผมเคยเขียนไปแล้วหลายครั้ง (ลองค้นคำว่า Cybrarian ดู)
วันนี้ผมขอเติมมติในเรื่องของบุคลิกภาพของบรรณารักษ์ยุคใหม่ที่ควรเป็นบ้างดีกว่า
เอาเป็นว่าลองอ่านแล้วลองคิดดุแล้วกันว่า “เราเป็นแบบนั้นแล้วหรือยัง

บุคลิกภาพของบรรณารักษ์ยุคใหม่ (Cybrarian) ควรมีดังนี้

1. รักในงานบริการ – อันนี้แน่นอนครับสำหรับงานด้านบรรณารักษ์หรือสารสนเทศ ซึ่งเป็นงานที่เราจะต้องเจอผู้คนมากมายที่เขามาขอความช่วยเหลือด้านข้อมูลกันอยู่แล้ว ตั้งแต่ตอนเรียนพวกเราทุกคนจะต้องถูกปลูกฝังเรื่องจิตบริการ (service mind) อยู่แล้ว ดังนั้นเรื่องนี้คงไม่ยากมาก

2. รักการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ประเด็นนี้จะกล่าวถึงข่าวสารในชีวิตประจำวัน และสาระความรู้ทั่วๆ ไป บรรณารักษ์ยุคใหม่จะรู้เพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้ ควรจะมีความรู้รอบตัวสามารถเข้าใจพื้นฐานของทุกวิชาได้ เช่น หากเราทำงานเป็นบรรณารักษ์ในศูนย์การแพทย์ เราก็ควรจะต้องรู้และเข้าใจเนื้อหาแบบพื้นฐานของวิชานี้บ้างก็ดีครับ

3. ชอบการเปลี่ยนแปลงและมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา
ในสังคมปัจจุบัน ผมคงไม่ต้องบอกเพื่อนๆ หรอกนะครับว่า ทุกวันโลกเราเปลี่ยนแปลงเร็วขนาดไหน ยิ่งเรื่องของเทคโนโลยีที่ค่อนข้างไปเร็ว จนบางครั้งผู้ใช้บริการไปเร็วกว่าเราอีก บรรณารักษ์ยุคใหม่ควรจะเป็นคนที่อัพเดทข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ เช่น เรียนรู้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการอัพเดทเวอร์ชั่นตลอดเพื่อปรับปรุงงานด้านต่างๆ ในศูนย์สารสนเทศ

4. มีความสามารถในการถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้ ความสามารถในด้านนี้จะกล่าวได้ว่าบรรณารักษ์ยุคใหม่ก็เปรียบเสมือนกับครู อาจารย์กันเลยทีเดียว เพราะหากเรามีองค์ความรู้ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการเราเราก็คอยถ่ายทอดสิ่งที่รู้ออกมาได้เพื่อให้เป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการต่อไป

5. มีบุคลิกว่องไว กระตือรือร้นในการทำงานการบริการด้วยความว่องไว และรวดเร็วย่อมเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

6. ยอมรับฟังความคิดเห็น และมีจิตใจกว้างขวาง
สำคัญนะครับประเด็นนี้เนื่องจากหากเรายึดติดความคิดของตัวเองเป็นที่ตั้งโดยไม่ยอมรับฟังความคิดของผู้อื่นเลยจะทำให้เราไม่รู้จักโลกกว้างๆ ใบนี้เลย

จริงๆ แล้วยังบรรณารักษ์ยุคใหม่ยังต้องมีบุคลิกภาพและความสามารถอีกมากนะครับ
ที่สำคัญอย่างที่ผมเกริ่นไว้ว่าต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา และการเปิดใจรับฟังคนอื่น
เพียงเท่านี้เราก็จะมีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาให้เป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่ได้ตลอดเวลา

มาจะกล่าวบทไป…ผลงานสำคัญของหอสมุดแห่งชาติ ปี 2553

บทความที่นำมาลงในวันนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการวิจารณ์การทำงานของหอสมุดแห่งชาตินะครับ
ข้อมูลที่นำมาลงนี้ ผมนำมาจากรายงานประจำปีของกรมศิลปากร ชื่อหนังสือว่า “100 ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร”
จุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลผลงานต่างๆ ของหอสมุดแห่งชาติเท่านั้นนะ

ผมเฝ้าตามหารายงานประจำปีของหอสมุดแห่งชาติมาโดยตลอด
ซึ่งต้องบอกตรงๆ เลยว่าหายากมาก ในหอสมุดแห่งชาติเองก็จัดเก็บไว้ที่ชั้นหนังสือเช่นกันแต่เป็นรายงานฉบับเก่าๆ
การตามหาก็ยังคงดำเนินต่อไป…..

จนกระทั่งวันหนึ่งผมไปเจอหนังสือรายงานประจำปีของกรมศิลปากร
ผมค้นพบว่ามีข้อมูลผลงานของหอสมุดแห่งชาติในแต่ละปีอยู่ในนั้น
ผมจึงเริ่มแสวงหาหนังสือเล่มนี้อีกครั้ง จนล่าสุดผมได้พบกับหนังสือเล่มนี้ “100 ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร”

เล่มนี้เป็นเล่มที่ใหม่ที่สุด ฉบับปี 2554 นั่นเอง

ปล. ผมขอเขียนเป็นเรื่องของหอสมุดแห่งชาตินะครับ เพราะกรมศิลปากรจริงๆ แล้วยังมีหน่วยงานในสังกัดอีกหลายหน่วยงาน

เนื้อหาที่เกี่ยวกับหอสมุดแห่งชาติในเล่มนี้ได้พูดถึงประเด็นดังต่อไปนี้

– ความเป็นมา (เกือบทุกปีก็มีส่วนนี้ ในเว็บไซต์ก็มี เพื่อนๆ ลองเข้าไปหาอ่านกันดูเองนะ)

– ภารกิจหน้าที่ของหอสมุดแห่งชาติ (ขอเกริ่นแบบย่อๆ นะ) มีดังนี้

*** การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด
*** การอนุรักษ์/สงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด
*** การจัดกิจกรรมและนิทรรศการต่างๆ
*** การบริการ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้
*** การดำเนินงานด้านโสตทัศนวัสดุ
*** การดำเนินงานศูนย์สารนิเทศห้องสมุด
*** การเป็นแหล่งให้ความรู้และฝึกอบรมปฏิบัติการแก่สถาบันการศึกษาและให้ความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานต่างๆ
*** การดำเนินงานด้านเอกสารโบราณ

– โครงสร้างสำนักงานหอสมุดแห่งชาติ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม 1 ศูนย์ 1 ฝ่าย และ 1 สาขา ดังนี้

*** ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
***กลุ่มพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด
***กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก
***ศูนย์สารนิเทศห้องสมุด
***กลุ่มบริการค้นคว้าอ้างอิง
***กลุ่มโสตทัศนวัสดุและกิจกรรมห้องสมุด
***กลุ่มมาตรฐานและวิจัยห้องสมุด
***หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบังเฉลิมพระเกียรติ

– ผลงานสำคัญปีงบประมาณ 2553 (ประเด็นหลักที่อยากให้อ่าน) มีดังนี้

1. โครงการพัฒนาหอสมุดแห่งชาติ – งานที่กำลังดำเนินการพัฒนาอาคารหอสมุดแห่งชาติหลังใหม่ (งบประมาณ 438,000,000 บาท) ตามกำหนดการจะต้องแล้วเสร็จในวันที่ 18 พฤษภาคม 2554

2. โครงการเผยแพร่พระเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 กิจกรรมทวีปัญญา จัดไป 2 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 เรื่อง “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” จัดวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 มีผู้เข้าร่วม 151 คน
ครั้งที่ 2 เรื่อง “ศิลปะการละคร ในรัชกาลที่ 6” จัดวันที่ 8 มิถุนายน 2553 มีผู้เข้าร่วม 216 คน

3. โครงการนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง “เจ้าฟ้าหญิงผู้เป็นที่รักของปวงชนชาวไทย” จัดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม – 23 พฤษภาคม 2553

4. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การอนุรักษ์หนังสือและเอกสารโบราณในหอสมุดแห่งชาติ วันที่ 9-10 มิถุนายน 2553

5. โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการบริการ จัดวันที่ 1-2 มิถุนายน 2553

6. โครงการจัดการองค์ความรู้ 2 โครงการ คือ
6.1 โครงการความรู้ด้านการอ่านถ่ายถอดอักษรโบราณ : อักษรขอม –> ได้หนังสือคู่มือ
6.2 โครงการจัดทำคู่มือการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุดแห่งชาติ –> ได้หนังสือคู่มือ

7. การถ่ายโอนภารกิจหอสมุดแห่งชาติสาขา จำนวน 5 แห่ง ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

นี่ก็เป้นเพียงบทสรุปที่ผมนำมาจากหนังสือก็เท่านั้นนะครับ
วันนี้ผมไม่ขอวิจารณ์ใดๆ ก็แล้วกัน เอาไว้วันหลังจะมาวิจารณ์ให้อ่านนะ
สำหรับเพื่อนๆ ที่แสดงความคิดเห็น ผมก็ไม่ขอปิดกั้นนะครับ แต่ช่วยแสดงความคิดเห็นแบบสร้างสรรค์ด้วยน้า….

The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

ไม่ได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับวงการศึกษาและบล็อกในต่างประเทศซะนานเลย
วันนี้ผมขอนำผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010 มาลงนะครับ
(ปีที่แล้วผมเขียนเรื่องการประกาศผลรางวัล The edublogaward 2009 ไปแล้ว)

ปีนี้ผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010 ดูน่าสนใจมากขึ้น
บล็อกเดิมที่เคยได้รับรางวัลบางบล็อกหลุดไปอย่างน่าเสียดาย และมีบล็อกใหม่ๆ ที่เข้ามาด้วย

ขอเกริ่นนำถึงรางวัลนี้สักหน่อยนะครับ
The edublogaward เป็นรางวัลที่แจกให้แก่บล็อกในวงการศึกษาดีเด่นซึ่งมีหลายสาขานะครับ
เช่น บล็อกส่วนตัว บล็อกแบบกลุ่ม บล็อกของอาจารย์ บล็อกของนักเรียน บล็อกของชั้นเรียน บล็อกนักวิจัย ฯลฯ
แน่นอนครับ ถถ้าพูดเรื่องวงการศึกษาคงต้องมีรางวัลที่เกี่ยวกับ “ห้องสมุดและบรรณารักษ์” ด้วย

ผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010
ผู้ที่ชนะเลิศในปี 2010 คือ บล็อก Castilleja School Library
ส่วนอันดับที่สอง คือ บล็อก A Media Specialist’s Guide to the Internet
ส่วนอันดับที่สาม คือ Bright Ideas ซึ่งเป็นของ School Library Association of Victoria (ปีที่แล้วได้ที่ 2)

การประกวด The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์ มีผู้เสนอชื่อบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์อีกมาก ซึ่งแต่ละบล็อกผมว่าน่าสนใจเช่นกัน เลยขอนำมาลงเพื่อเป็นตัวเลือกให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านต่อ โดยมีรายชื่อดังนี้

  1. Aberfoyle Park Campus Resource Centre Blog
  2. A Media Specialist’s Guide to the Internet
  3. Bloggit
  4. Booked Inn
  5. Blue Skunk
  6. Bright Ideas
  7. Castilleja School Library
  8. Cathy Nelson’s Professional Blog
  9. Gryphon LRC
  10. Heart of School
  11. Informania
  12. Library Grits
  13. Librarian By Day
  14. Lucacept – intercepting the web
  15. Never Ending Search
  16. Skerricks
  17. Springston School Library Blog
  18. Tales from a Loud Librarian
  19. The Daring Librarian
  20. The Unquiet Librarian
  21. The WebFooted Booklady
  22. Van Meter Library Voice
  23. VCS Skyway Library

ผลการโหวต The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

เป็นยังไงบ้างครับ คิดยังไงกับเรื่องการประกวดบล็อกในวงการศึกษา
ผมว่ามันก็เป็นการพัฒนางานอย่างหนึ่งนะครับ นอกจากนี้ยังถือว่าช่วยในเรื่องการจัดการความรู้ได้อย่างดีทีเดียว
บ้านเราก็ควรจะทำบ้างนะ (อยากให้ทำเชิงคุณภาพนะครับ ไม่ใช่ประกวดแล้วเล่นพรรคเล่นพวก)

เว็บไซต์ทางการของงาน The edublogaward 2010http://edublogawards.com/2010/
ถ้าหากเพื่อนๆ อยากรู้เกี่ยวกับบล็อกการศึกษาที่ประกวดในปีก่อนหน้านี้ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ – http://edublogawards.com/

ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาฯ รับสมัครเจ้าหน้าที่บริการสารสนเทศ

บรรณารักษ์ช่วยหางานมาอีกแล้วนะครับ วันนี้ผมขอแนะนำงานในมหาวิทยาลัยดีกว่า
งานที่ว่านี้คือตำแหน่ง “เจ้าหน้าที่บริการสารสนเทศ” ของศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงาน
ชื่อตำแหน่งงาน : เจ้าหน้าที่บริการสารสนเทศ P7
สถาบันที่รับสมัคร :  ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จำนวนที่รับสมัคร : 2 อัตรา

คนที่จะสมัครในตำแหน่งนี้ถ้าวุฒิปริญญาตรี อัตราเงินเดือนจะได้ 8,800 บาท นะครับ
ส่วนคนที่สมัครมีวุฒิปริญญาโทจะได้ 10,900 บาทครับ


เจ้าหน้าที่บริการสารสนเทศต้องทำอะไรบ้าง

– งานบริการสารสนเทศ
– งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
– งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

สำหรับคนที่สนใจต้องมีคุณสมบัติดังนี้
– จบปริญญาตรีหรือโท ด้านบรรณารักษ์ (ดูจากงานที่ต้องทำผมว่าจำเป็นเลยแหละ)
– มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และการใช้งานอินเทอร์เน็ตในระดับดี
– ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษได้ในระดับดี

คนที่สนใจในตำแหน่งนี้ต้องรีบหน่อยแล้วแหละ เพราะว่าจะหมดรับสมัครวันที่ 23 กันยายน 2554 แล้ว (ผมนำข่าวมาลงช้าไปหน่อย)

ผู้ที่สมัครแล้วต้งสอบแข่งขันกับคนอื่นๆ นะครับ วิชาที่สอบ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิชาเฉพาะทาง คอมพิวเตอร์ …. รวมไปถึงการสอบสัมภาษณ์ด้วยนะ

ผู้ที่สนใจต้องดำเนินการดังนี้
1. กรอกแบบฟอร์มสมัครออนไลน์ (http://www.car.chula.ac.th/apply/apply4.php)
2. สแกนภาพหน้าตรง + วุฒิการศึกษาและปริญญาบัตรมาด้วย


เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองดูกันได้นะครับ ขอให้ได้งานสมใจอยากนะ อิอิ

DDC23 กำลังจะมา ห้องสมุดของคุณเตรียมพร้อมแล้วหรือยัง

จั่วหัวว่า DDC23 แบบนี้กลัวเพื่อนๆ บางส่วนจะไม่เข้าใจ เอาเป็นว่าขออธิบายสักนิดแล้วกัน
DDC = Dewey Decimal Classification คือ การจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้
ส่วนตัวเลข 23 หมายถึงครั้งที่ปรับปรุง (เรียกง่ายๆ ว่าการอัพเดทข้อมูลต่างๆ ในระบบทศนิยมดิวอี้)

ช่วงนี้ในวงการบรรณารักษ์ต่างประเทศมีการพูดถึงเรื่อง DDC23 มากขึ้น
สังเกตได้จาก WebDewey 2.0 ที่ OCLC ให้บริการอยู่มีการเพิ่มเมนูใหม่ DDC23!

หน้าจอของ WebDewey

คงอีกไม่นานแล้วสินะที่เราจะได้ใช้หนังสือคู่มือการให้เลขหมู่ฉบับใหม่กันสักที

มีอะไรใหม่ใน DDC23 บ้าง
– มีการปรับปรุงข้อมูลในหมวด 004-006 หมวดคอมพิวเตอร์ซึ่งหมวดหมู่ในกลุ่มนี้จำเป็นต้องปรับบ่อยมากเนื่องจากเทคโนโลยีไปค่อนข้างเร็ว
– อัพเดทข้อมูลหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับนิกายออร์ธอด็อกซ์ และศาสนาอิสลาม
– ปรับปรุงข้อมูลในหมวด 340 ให้เข้ากับการดำเนินชีวิตของพลเมืองมากขึ้น
– ปรับปรุงข้อมูลในหมวด 370 และลงรายละเอียดเกี่ยวกับระดับการศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
– อัพเดทข้อมูลหมวดหมู่อาหารและเครื่องแต่งกาย
– อัพเดทข้อมูลในหมวด 740 เรื่องของงานกราฟฟิคและงานประดิษฐ์
– เพิ่มและขยายเลขหมู่ในกลุ่มภาพยนตร์และวีดีโอที่หมวด 777
– ขยายเลขหมู่ที่เกี่ยวกับกีฬา outdoor
– เพิ่มและขยายเลขในตาราง 2 เพื่อให้รองรับกับเลขหมู่ทางประวัติศาสตร์ได้ (930-990)
– ปรับปรุงช่วงเวลาในหมวดหมู่ประวัติศาสตร์ (930-990)


เป็นยังไงกันบ้างครับ กับสิ่งใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ผลที่จะต้องตามมาแน่นอนคือ

1. สายการศึกษา ต้องเปลี่ยนตำราเรียนกันใหม่หรือปล่าว หรือถ้าไม่เปลี่ยนมีวิธีการอธิบายและสอนนิสิตในเรื่องนี้อย่างไร
2. สายการปฏิบัติ ต้องโละคู่มือเล่มเก่าทิ้งหรือปล่าว หรือว่าจะคงใช้ DDC22 ตลอดไป แล้วถ้าเปลี่ยนมาใช้ DDC23 หนังสือเดิมที่ Catalog บางกลุ่มจะต้องเปลี่ยนด้วยหรือไม่

ห้องสมุดหลายๆ แห่งเริ่มจะโล๊ะกันแล้ว DDC22

ในเมืองไทยเอง ผมว่าถ้าให้ห้องสมุดตอบแบบตรงๆ ผมคงต้องช็อคกับคำตอบแบบนี้แน่ๆ “ไม่เห็นจะเดือดร้อนเลย เรายังมี หนังสือดีดีซี22 ที่อาจารย์พวาแปลอยู่ เอาไว้ถ้าอาจารย์แบบเป็น ดีดีซี23 เราก็ค่อยเปลี่ยนแล้วกันเนอะ”

เอาเป็นว่าก็ฝากคำถามและแง่คิดนี้เอาไว้แล้วกันครับ เหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่ว่าเพิ่งเกิดเป็นครั้งแรกสักหน่อย สมัยที่ DDC21 ไป DDC22 ทำอย่างไรกันไว้ ก็ลองเอามาปรับตัวกันในสถานการณ์แบบนี้ดูแล้วกันนะครับ

รายละเอียดจริงๆ แล้ว DDC23 ยังมีการเปลี่ยนอะไรอีกเยอะมากเลย ซึ่งเพื่อนๆ สามารถติดตมได้จาก http://ddc.typepad.com นะครับ

15 ห้องสมุดที่น่าทึ่งและอลังการระดับโลก

ไม่ได้โพสเรื่องที่เกี่ยวกับภาพห้องสมุดสวยๆ มานานแล้วนะครับ วันนี้ขอแบบสบายๆ สักวันแล้วกัน
ชื่อเรื่องนี่ก็ไม่ได้ตั้งเว่อร์ไปหรอกครับ เพราะแต่ละแห่งเห็นแล้วต้อง อู้ฮู่ววววววววว์ กันเลยทีเดียว
ห้องสมุดทั้ง 15 แห่งนี้มีอยู่จริงๆ ไม่ใช่แค่จินตนาการ (บางแห่งผมก็เดาได้อยู่แล้ว…)

ที่มาของเรื่องนี้ คือ ผมเข้าไปอ่านบล็อกที่เกี่ยวกับการออกแบบห้องสมุดมา แล้วดันไปเจอ link นี้เข้า
ชื่อเรื่องต้นฉบับ คือ “Amazing libraries around the world

เราไปดูกันดีกว่าว่า 15 ห้องสมุดที่ว่านี้ คือที่ไหนบ้าง

1. Salt Lake City Public Library

อยู่ที่อเมริกานะครับ ห้องสมุดแห่งนี้จะมีการเปิดเพลงคลอให้ผู้ใช้บริการเพลิดเพลินไปกับการอ่านหนังสือ พร้อมด้วยการฟังเพลงแบบชิวๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นี่ไม่มีการบล็อคเว็บอะไรทั้งสิ้น ที่นี่ “no censorship”

credit ภาพโดย Pedro Szekely

2. Strahov Theological Hall

ยู่ที่สาธารณรัฐเชก เป็นห้องสมุดที่มีหนังสือเกี่ยวกับศาสนา 18,000 เล่ม และมีหนังสือไบเบิลหลายภาษามากๆ

credit ภาพโดย Rafael Ferreira

3. Biblioteca España

อยู่ที่โคลัมเบีย ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมือง (เมือง Santo Domingo เป็นย่านที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นบ่อย รวมถึงเรื่องของปัญหายาเสพติดที่ค่อนข้างสูง)

credit ภาพโดย danjeffayelles

4. Beinecke Rare Book and Manuscript Library

ยู่ที่อเมริกา เป็นห้องสมุดที่ไม่มีหน้าต่างเลย และกำแพงทำจากหินอ่อนโปล่งแสง ที่นี่ถูกออกแบบมาเพื่อเก็บหนังสือหายากและหนังสือทรงคุณค่า

credit ภาพโดย KAALpurush

5. Belarus National Library

อยู่ที่เปราลุส เป็นหอสมุดแห่งชาติที่ถูกออกแบบใหม่แทนหอสมุดแห่งชาติเดิม สามารถเก็บหนังสือได้ 8 ล้านเล่ม

credit ภาพโดย Giancarlo Rosso

6. Thomas Fisher Rare Book Library

อยู่ที่แคนาดา เป็นห้องสมุดที่จัดเก็บหนังสือหายากที่มากที่สุดในประเทศแคนาดา รวมถึง clolletion ของ Lewis Carroll ทั้งงานเขียน รูปภาพ

credit ภาพโดย Andrew Louis

7. Seattle Public Library

อยู่ที่อเมริกา อันนี้คงไม่ต้องบรรยายอะไรมากเพราะมันเป็นห้องสมุดประชาชนที่ออกแบบได้อลังการงานสร้างมากๆ จุดเด่นที่น่าสนใจของที่นี่ คือ Book spiral รูปแบบการจัดหนังสือที่รองรับในอนาคต

credit ภาพโดย Stephen J. Friedman, MD

8. Black Diamond

อยู่ที่เดนมาร์ค ชื่อจริงๆ ของห้องสมุดแห่งนี้ คือ Danish Royal Library มีพื้นที่เป็นลานคอนเสิร์ด ลานจัดนิทรรศการ และส่วนของห้องสมุดด้วย

credit ภาพโดย G. Jörgenshaus

9. TU Delft Library

อยู่ที่เนเธอร์แลนด์ ออกแบบได้สวยงามและจุดเด่นของที่นี่คือบันไดวน

credit ภาพโดย Stephanie Braconnier

10. Halmstad Library

อยู่ที่สวีเดน การออกแบบห้องสมุดของที่นี่มีแรงบันดาลใจมาจากต้นไม้ที่อยู่รอบๆ ห้องสมุด (เขาไม่ตัดต้นไม้เพื่อสร้างสร้างห้องสมุด) รอบๆ อาคารเป็นกระจกสามารถมองออกมาชมวิวข้างนอกได้ด้วย

credit ภาพโดย ET Photo

11. Jose Vasconcelos Library

ยู่ที่แม็คซิโก ห้องสมุดแห่งนี้ใช้เวลาในการสร้าง 2 ปี โดยเมื่อเปิดห้องสมุดแล้วจัดเก็บหนังสือได้มากขึ้น แถมด้วยห้องประชุมที่รองรับคนจำนวน 500 คน

credit ภาพโดย Omar

12. Vancouver Library Square

ยู่ที่แคนาดา ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดกลางของ vancover มีพื้นที่เพื่อการทำกิจกรรมสังคมมากมาย ตกแต่งด้วยกระจกเป็นหลัก

credit ภาพโดย Darren Stone

13. Real Gabinete Portugues de Leitura

อยู่ที่บราซิล ห้องสมุดที่แค่ห้องเดียวก็สามารถเก็บหนังสือได้ 350,000 เล่ม การตกแต่งภายในจะเป็นเรื่องราวต่างๆ 4 เรื่อง และพื้นที่ต่างๆ เต็มไปด้วยชั้นหนังสือ

credit ภาพโดย Os Rúpias

14. Admont Library

อยู่ที่ออสเตรีย ห้องสมุดที่มีสถาปัตยกรรมตกแต่งสวยงาม งานปูนปั้นศิลปะเพียบ และเป็นห้องสมุดที่รวบรวมหนังสือหายากและต้นฉบับลายมือที่เยอะที่สุดในโลกด้วย

credit ภาพโดย Christine McIntosh

15. British Library

อยู่ที่อังกฤษ เป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกแห่งหนึ่ง (รองจาก library of congress) มีหนังสือมากถึง 150 ล้านเล่มจากทั่วโลก และอีก 100 ล้านเล่มที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล

credit ภาพโดย Steve Cadman

เป็นยังไงกันบ้างครับกับห้องสมุดสุดอลังการวันนี้
เท่าที่สังเกตจะพบว่าเป็นห้องสมุดที่อยู่ในฝั่งอเมริกา ยุโรป เป็นหลักเลย ไม่เห็นเอเซียเลย

เอาเป็นว่าไว้งวดหน้าผมจะหาห้องสมุดในเอเซียแบบแจ่มๆ มาให้เพื่อนๆ ชมกันบ้างแล้วกันนะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอตัวก่อนแล้วกัน