กลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว พอจะมีเวลาอัพบล็อกเหมือนเดิม จึงขอประเดิมด้วยสรุปเรื่องที่บรรยายให้โรงเรียนค้อวังวิทยาคมแล้วกันนะครับ โดยต้องขอเกริ่นสักนิดนะครับว่าเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ต้องเดินทางไปบรรยายในต่างจังหวัดด้วยตัวเอง (ห้องสมุดหรือหน่วยงานในต่างจังหวัดไหนอยากให้ผมไปบรรยายก็ติดต่อมาทางเมล์แล้วกันนะครับ อิอิ)
รายละเอียดเบื้องต้นของการบรรยาย
ชื่อหัวข้อการบรรยายภาษาไทย : นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน
ชื่อหัวข้อการบรรยายภาษาอังกฤษ : Innovation and Technology for School libraries
วิทยากร : นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักพัฒนาระบบห้องสมุด โครงการศูนย์ความรู้กินได้
วันและเวลา : วันที่ 19 กันยายน 2554 เวลา 9.00 – 16.30 น.
สถานที่ในการบรรยาย : ห้องโสตทัศนศึกษา โรงเรียนค้อวังวิทยาคม อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร
หน่วยงานที่จัดงาน : โรงเรียนค้อวังวิทยาคม
การบรรยายในครั้งนี้จะเน้นในเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยีแบบง่ายๆ เพื่อให้ห้องสมุดโรงเรียนต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวที่เราสามารถนำมาใช้ในห้องสมุดมีมากมาย แค่คิดให้ได้และจับกระแสให้ดีเท่านี้ห้องสมุดของเราก็จะมีชีวิตขึ้นทันที
สไลด์ประกอบการบรรยาย “นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน”
สรุปการบรรยาย “นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน”
การบรรยายแบ่งออกเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ
1. ช่วงเช้า เรื่อง นวัตกรรม-ห้องสมุดโรงเรียน
– ความหมายของคำว่า “นวัตกรรม” โดยสรุปผมให้นิยามคำนี้ว่า “อะไรก็ตามที่เป็นของใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ บริการใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน คำว่าใหม่ในที่นี้วัดจากการเป็นสิ่งใหม่ในองค์กรหรือใหม่ในความคิดของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น”
– ห้องสมุดเปลี่ยนไปเยอะแค่ไหน…นับจากอดีตที่คนเข้ามาห้องสมุดเพื่ออ่านอย่างเดียว ก็เริ่มเข้ามาดูหนังฟังเพลงในห้องสมุด และคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ก็เข้ามาในห้องสมุด….จนบัดนี้เราเห็นอะไรในห้องสมุดบ้างหล่ะ
– กรณีศึกษา การทำงานบรรณารักษ์ครั้งแรกของผม ที่ ห้องสมุดวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม จากห้องโล่งๆ ไม่มีอะไรเลยจนกลายมาเป็นห้องสมุด ต้องผ่านอะไรมาเยอะมาก การจัดทำกฤตภาคออนไลน์ด้วยตนเอง การสร้างเว็บไซต์ห้องสมุดไม่ง่ายและไม่ยาก ทำงานห้องสมุดต้องมีความคิดสร้างสรรค์ด้วย (โจทย์ทำอย่างไรให้เด็กช่างกลเข้าห้องสมุดเยอะๆ)
– กรณีศึกษา การทำงานเป็นนักพัฒนาระบบห้องสมุด ที่ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี มองภาพรวมของการทำงานให้ได้ การสร้างแนวทางในการทำงานบรรณารักษ์ในรูปแบบใหม่ๆ สิ่งง่ายๆ ที่สามารถนำมาใช้และก่อให้เกิดบริการใหม่ๆ มีเยอะแยะเลย เช่น กล่องความรู้กินได้ ชั้นหนังสือในแบบโครงการศูนย์ความรู้กินได้ กิจกรรมการวิจารณ์หนังสือในห้องสมุด แนวทางในการคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด การใช้ Pathfinder ฯลฯ
– อะไรคือนวัตกรรมในวงการห้องสมุดได้บ้าง เช่น การนับจำนวนผู้เข้าใช้ห้องสมุดจากคนเป็นเครื่องมือ , การสืบค้นหาหนังสือในห้องสมุดจากบัตรรายการเป็น OPAC , บริการใหม่ๆ จากเดิมที่ห้องสมุดต้องรอให้ผู้ใช้บริการเข้ามาเป็นห้องสมุดต้องออกไปบริการผู้ใช้บริการข้างนอกเอง , กิจกรรมแก้กรรมจาก ม.ศิลปากร ฯลฯ
2. ช่วงบ่าย เรื่อง เทคโนโลยี-ห้องสมุดโรงเรียน
– บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Cybrarian) ต้องมีความรู้และทักษะอะไรบ้าง (เรื่องนี้บรรยายบ่อยมากลองหาอ่านย้อนหลังได้ เช่น http://www.libraryhub.in.th/2011/08/12/e-medical-librarian-and-social-network/)
– ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน…สร้างเองได้ มองเรื่องทั่วๆ ไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพ ยิ่งเราได้เห็น อ่าน ฟังมากเท่าไหร่เราก็ยิ่งมีไอเดียมากขึ้นเท่านั้น การ Copy คนอื่นจะดีมากถ้า copy แล้วต่อยอด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้เช่นกัน
– บรรณารักษ์ กับ โปรแกรมเมอร์ ต่างกันตรงที่ บรรณารักษ์เราอยู่ในฐานะผู้ใช้ไอทีรวมถึงแนะนำการใช้ไอทีให้ผู้ใช้บริการ ส่วนโปรแกรมเมอร์รับคำสั่งให้สร้างและออกแบบโปรแกรมหรือไอทีเพื่อใช้งาน
– ทักษะและความรู้ด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ มี 8 ด้าน ได้แก่
1. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
2. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
3. ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
4. ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
5. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
6. ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. ความรู้และทักษะการใช้งานระบบห้องสมุด
8. ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0
– เครื่องมือออนไลน์ที่สามารถนำมาใช้พัฒนาห้องสมุด (แบบฟรีๆ) เช่น Blog, E-mail, MSN, Twitter, Facebook, Youtube, Flickr, Slideshare
แถมให้อีกสไลด์นึงแล้วกันนะครับ เป็นตัวอย่างการนำ Web 2.0 มาประยุกต์ใช้กับงานห้องสมุด
– กรณีศึกษาเรื่องการใช้บล็อก บล็อกทำอะไรได้บ้าง และ องค์กรต่างๆ ใช้บล็อกเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างการใช้งานบล็อก Projectlib และ Libraryhub ตัวอย่างหัวข้อที่ใช้เขียนบล็อก นวัตกรรมที่หลายคนไม่เคยคิดเกี่ยวกับบล็อก คือ การสร้างแม่แบบไว้เผื่อเวลาไม่รู้จะเขียนอะไรก็นำแม่แบบมาประยุกต์ได้
– Facebook กับการใช้งานในห้องสมุด ตัวอย่างการใช้งาน facebook เช่น แนะนำหนังสือที่น่าสนใจในห้องสมุด, ตอบคำถามและรับฟังความคิดเห็น, ทักทายพูดคุยแบบเป็นกันเองกับผู้ใช้บริการออนไลน์, โปรโมทบล็อกหรือเว็บไซต์ของห้องสมุด, เชิญเพื่อนๆ เข้าร่วมกิจกรรม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมห้องสมุด, ให้บริการออนไลน์, โพสรูปกิจกรรมต่างๆ ในห้องสมุด
– กรณีศึกษาการใช้ facebook ที่น่าสนใจ ดูได้ที่
1. http://www.facebook.com/thlibrary (กลุ่มเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย)
2. http://www.facebook.com/groups/133106983412927/ (กลุ่ม Librarian in Thailand)
– การดูแลสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ห้องสมุด
6. นำภาพกิจกรรมมาลงใน facebook ทุกครั้ง
– ทิศทางสำหรับห้องสมุดในอนาคต (อ่านต่อได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/2010/12/24/social-media-and-library-trends-for-2011/)
ดีมาก
มีประโยชย์มากๆเลยคะ ขอบคุณมากๆคะ