อ่านอะไรดี : พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R

ช่วงนี้เห็นหลายๆ คน พูดถึงเรื่องความสำคัญของการอ่านมากขึ้นเรื่อยๆ
วันนี้ผมจึงขอแนะนำหนังสืออีกสักเล่มที่เกี่ยวกับการอ่านมาฝาก
ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มนี้ คือ “พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R
สำนักพิมพ์ : สุวีริยาสาส์น
ISBN : 9789741329526
จำนวนหน้า : 152 หน้า
ปีพิมพ์ : 2551

หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับการอ่าน และ ตัวอย่างแบบฝึก (แผนการสอนเรื่องการอ่าน)
บทที่ 1 และ 2 เป็นเรื่องทฤษฎีล้วนๆ พูดถึงความสำคัญของการอ่าน และเทคนิดการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
และตั้งแต่บทที่ 3 ไปจนถึงบทสุดท้ายจะเป็นเนื้อเรื่องตัวอย่างที่มีไว้ให้อ่าน ลองอ่านและทำแบบทดสอบดู

หลักๆ ที่ผมหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่านก็เพราะคำว่า “SQ3R” นั่นแหละครับ
พอได้อ่านและเข้าใจถึงแนวทางในการอ่านแล้ว ผมจึงรู้สึกว่าการอ่านอย่างมีวิจารณญาณมีความสำคัญมากๆ

เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่าการวัดผลสำเร็จของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณมีอะไรบ้าง
หนังสือเล่มนี้รวบรวมจากนักวิชาการมาหลายคน เช่น อาจารย์เปลื้อง ณ นคร, อาจารย์อรษา บุญปัญญา ฯลฯ

ตัวอย่างการวัดว่าผู้อ่านมีทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณมากน้อยเพียงใด จะต้องดูจากสิ่งดังต่อไปนี้
– ความสามารถในการจำแนกประเภทของงานเขียน
– ความสามารถแยกแยะส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็น
– ความสามารถอธิบายความหมายของคำศัพท์ สำนวน อุปมา
– การตัดสินสิ่งที่ถูกและสิ่งที่ผิด
– การบอกจุดประสงค์ของผู้เขียน
– การจับแนวความคิดหลัก
– การจับน้ำเสียงหรือความรู้สึกของผู้เขียน
– การบอกโครงเรื่องหรือสรุปเรื่อง
– การประเมินคุณค่าของเรื่องที่อ่าน

เอาหล่ะครับ เมื่อเรารู้แบบนี้แล้ว ผมจะได้อธิบายถึง หลัก SQ3R กันต่อเลย ว่ามันคืออะไรและย่อมาจากอะไร

การอ่านแบบ SQ3R ผู้ริเริ่ม คือ นายฟรานซิส พี โรบินสัน (ผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ) เขาได้แนะนำเทคนิคนี้กับนักศึกษา ซึ่งการอ่านแบบนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก

SQ3R = S Q R R R = Survey, Question, Read, Recite, Review
มาดูฉบับแปลไทยโดยอาจารย์ฉวีลักษณ์กันสักหน่อย

Survey = การสำรวจ = สำรวจ ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สารบัญ คำนำ รวมถึงแนวคิดและจุดมุ่งหมายในการเขียน
Question = การตั้งคำถาม = การพิจารณาให้แน่ชัดว่าเราต้องการคำตอบอะไรจากการอ่าน
Read = การอ่าน = อ่านเพื่อให้ได้คำตอบตามที่ตั้งคำถามโดยมุ่งหารายละเอียดเพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจนในคำถาม
Recite = การจดจำ = เมื่อได้รับคำตอบแล้วควรมีการจดบันทึกไว้เพื่อเตือนความจำ
Review = การทบทวน = ต้องหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงบทสรุปที่ผมอยากให้อ่านก็เท่านั้นนะครับ ถ้าอยากอ่านแบบเต็มๆ ก็หาอ่านได้ที่ร้านหนังสือซีเอ็ด หรือไม่ก็ห้องสมุดต่างๆ ก็น่าจะต้องมีหนังสือเล่มนี้นะครับ

เอาเป็นว่าผมก็ขอแนะนำหนังสือเล่มนี้ไว้ให้เพื่อนๆ อีกสักเล่มหนึ่งแล้วกันนะครับ
อ่านอย่างเดียวไม่พอ ต้องอ่านและคิดวิเคราะห์ได้ด้วยถึงจะทำให้เรารู้จริง

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*