ตุ๊กตาโมเดล Nancy Pearl บรรณารักษ์หญิงคนดังจากอเมริกา

วันนี้ผมขอแนะนำตุ๊กตาโมเดลหรือของสะสมสักอย่างนึงนะครับ ตุ๊กตาโมเดลที่ว่านี้ย่อมต้องเกี่ยวกับวงการบรรณารักษ์แน่นอนครับ ตุ๊กตาโมเดลนี้ คือ ตุ๊กตาโมเดลของ Nancy Pearl บรรณารักษ์คนดังคนหนึ่งในอเมริกานั่นเอง

หลายคนอาจจะแปลกใจว่า Nancy Pearl คือใคร ผมขอเล่าประวัติย่อๆ แล้วกันนะครับ
เธอคือบรรณารักษ์ที่มีชื่อเสียงมากคนนึงในอเมริกา เธอเป็นคนชอบอ่านหนังสือและขยันหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา คนอเมริกาจะได้ยินเสียงของเธอในวิทยุค่อนข้างบ่อยในรายการวิจารณ์หนังสือ (BOOK REVIEW) เธอเคยเป็นผู้บริหารในห้องสมุดซีแอตเติล เธอได้รับรางวัลมากมายจากวงการหนังสือ วงการห้องสมุด และวงการบรรณารักษ์

รางวัลที่เคยได้รับ
– 1997 Open Book Award from the Pacific Northwest Writers Conference
– 1998 Totem Business and Professional Women’s “Woman of Achievement Award”
– 1998 Library Journal’s Fiction Reviewer of the Year
– 2001 Allie Beth Martin Award from the American Library Association
– 2003 Washington (State) Humanities Award
– 2004 Brava Award from Women’s University Club in Seattle, recognizing “women of exceptional ability in the greater Seattle area”;
– 2004 Louis Shores–Greenwood Publishing Group Award
– 2004-2005 Annual award from the Women’s National Book Association
– 2004 Ontario Library Association Media and Communications Award
– 2011 Library Journal Librarian of the Year (ผลงานล่าสุด)

ประวัติและผลงานฉบับเต็มอ่านได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Nancy_Pearl
http://www.nancypearl.com/?page_id=2

เอาหล่ะครับเข้าเรื่องตุ๊กตาโมเดลบ้างดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=WJdEXb8bRQ0[/youtube]

บรรณารักษ์ผู้หญิงในชุดสีน้ำเงิน ราคา  $8.95
http://www.mcphee.com/shop/products/Librarian-Action-Figure.html

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ น่าสนใจดีมั้ยครับ ผมเองเห็นแล้วก็ยังอยากจะซื้อมาเก็บไว้สักตัวเลย
เอาเป็นว่าใครซื้อมาเล่นแล้วถ่ายภาพส่งมาให้ผมดูกันบ้างนะครับ

Infographic กราฟฟิกดีไซเนอร์กับพฤติกรรมการอ่านหนังสือ

Inforgraphic ที่นำเสนอวันนี้ เป็น Infographic ที่นำเสนอเรื่องพฤติกรรมการอ่านหนังสือของนักเรียนออกแบบกราฟิก MHCC (ว่าที่ graphic designer) (อาชีพที่ค่อนข้างยุ่งแต่มีเวลาอ่านหนังสือด้วยหรอ)

ภาพๆ นี้จัดทำโดยนักเรียนออกแบบกราฟิก MHCC คนนึง ที่รวบรวมข้อมูลการอ่านหนังสือของเพื่อนๆ ในชั้นเรียนด้วยกัน (Graphic Designer เช่นกัน)

ไปดูภาพกันเลยครับ

Graphic Designer and Reading Habits Infographic

เป็นยังไงบ้าง ว่าที่ Graphic designer ทำ Infographic จากข้อมูลใกล้ตัว (ผมว่ามันเยี่ยมมากจริงๆ นะ)

บทสรุปง่ายของภาพนี้ มีดังนี้

– Graphic Designer อ่านหนังสือเฉลี่ย 4.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยผู้หญิงใช้เวลาในการอ่านมากกว่าผู้ชาย
– หนังสือในกลุ่มเรื่องแฟนตาซีถือว่าเป็นหนังสือที่ Graphic Designer ชอบอ่านมากที่สุด
– ช่วงเวลาที่ Graphic Designer อ่านหนังสือมากที่สุด คือ ช่วงกลางคืน
– Graphic Designer อ่านหนังสือจากตัวเล่มมากกว่าอ่านในสื่อดิจิตอล
– 44% ของ Graphic Designer ในชั้นเรียนนี้อ่านหนังสือมากกว่าดูทีวี
– สถานที่ที่ชอบอ่านที่สุด คือ ที่บ้าน โดยเฉพาะบนเตียงนอน

เห็นข้อมูลแล้วก็ตกใจจริงๆ นะครับว่า Graphic Designer ยังคงชอบอ่านหนังสืออยู่
เรื่องที่ไม่แปลกใจคือเรื่องสื่อที่อ่านครับ แน่นอน Graphic Designer คงทำงานคอมมาเยอะแล้วจึงขออ่านจากตัวเล่มหนังสือดีกว่าอ่านบนหน้าจอ

ไว้ว่างๆ ผมจะลองทำแบบสอบถามคล้ายๆ แบบนี้แล้วส่งให้เพื่อนๆ ทำดีกว่า
ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่าบรรณารักษ์จะมีกี่เปอร์เซ็นต์ที่เป็นหนอนหนังสือ

ที่มาของภาพ Infographic จาก http://elisabethwdesign.blogspot.com/2011/05/infographic.html

ก้าวใหม่ของห้องสมุด (Libraries on the Move) วันที่ 28-30 มีนาคม 2555

ใกล้สิ้นปีแบบนี้เพื่อนๆ หลายคนคงกำลังรอฟังข่าวเรื่อง “การประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย” กันอยู่ วันนี้ผมจึงขอนำมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ทุกคนทราบแล้วกันครับ เอาเป็นว่าคร่าวๆ ก่อน คือ ปกติจะจัดในเดือนธันวาคมแต่ปีนี้ขอเลื่อนไปจัดในเดือนมีนาคมนะครับ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการครั้งนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : ก้าวใหม่ของห้องสมุด
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : Libraries on the Move
วันและเวลา : 28-30 มีนาคม 2555
สถานที่จัดการอบรม : โรงแรมอะเดรียติกพาเลซ
ผู้จัดการประชุม : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

หัวข้อในการประชุมครั้งนี้นับว่าน่าสนใจมาก (เป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่าสมาคมห้องสมุดน่าจะมาถูกทางแล้ว)
หัวข้อก้าวใหม่ของห้องสมุดเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC นั่นเอง
ถ้าห้องสมุดของเพื่อนๆ เตรียมพร้อมมากกว่าคนอื่นก็ย่อมได้เปรียบนะครับ

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจของการประชุมครั้งนี้
– บทบาทของบรรณารักษ์และห้องสมุดในการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
– กรุงเทพมหานคร “เมืองหนังสือโลก ปี 2556” (World Book Capital 2013)
– แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดกิจกรรมและส่งเสริมการอ่านเชิงรุก
– การเตรียมบรรณารักษ์และห้องสมุดเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
– การใช้งานลิขสิทธิ์สำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุด
– การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสงวนรักษาทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุด
– ห้องสมุดกับการให้บริการนวนิยายไทยอิเล็กทรอนิกส์ (e-novel)

เป็นไงกันบ้างครับกับหัวข้อที่จะพบในงานประชุมนี้ ตื่นตัวและเตรียมพร้อมกันมากๆ เลยว่ามั้ย
เอาเป็นว่าถ้ามีเวลาผมก็อาจจะเข้าร่วมกับการประชุมครั้งนี้เช่นกัน

การเข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้ไม่ฟรีนะครับ มีค่าใช้จ่ายพอสมควรเอาเป็นว่าใครสนใจก็เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมตาม link ที่อยู่ด้านล่างนี้นะครับ
ดาวน์โหลดเอกสารและอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2011/11/Conference54.pdf (รอการอัพเดทจากสมาคมห้องสมุดฯ อีกทีนะครับ)

อ่านอะไรดี : ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต

หนังสือน่าอ่านวันนี้ที่ผมอยากแนะนำ คือ หนังสือ “ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต” จากชุด TK ชวนอ่าน นั่นเอง หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ให้ข้อคิดและประสบการณ์ในการส่งเสริมการอ่านจากประเทศอังกฤษ เขียนโดย เกรซ เคมสเตอร์

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต
ชื่อผู้แต่ง : คุณเกรซ เคมสเตอร์
สำนักพิมพ์ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้
ISBN : 9789748284262
จำนวนหน้า : 92 หน้า
ราคา : 80 บาท

หลายๆ คนคงอาจจะสงสัยว่า คุณเกรซ เคมสเตอร์ คือใคร
คุณเกรซ เคมสเตอร์ อดีตผู้อำนวยการด้านงานบริการข้อมูล ของบริติชเคาน์ซิล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบัน Read On Write Away (สถาบันเพื่อบริการชุมชนด้านการอ่านออกเขียนได้และทักษะขั้นพื้นฐาน)

หนังสือเล่มนี้ที่เจาะเรื่องของประเทศอังกฤษเพราะว่า ประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการเรียนรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านมากมายด้วย

ในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 บท ดังนี้
บทที่ 1 – เหตุใดการอ่านจึงสำคัญกับชีวิต
บทที่ 2 – 11 ข้อคิดเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการอ่าน
บทที่ 3 – ปรับนิดเปลี่ยนหน่อย
บทที่ 4 – ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต

สรุปใจความสำคัญของหนังสือเล่มนี้
11 ข้อคิดเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการอ่าน มีดังนี้
1. พลังของการแนะนำหนังสือแบบปากต่อปาก (ดูตัวอย่างได้จาก www.whichbook.net)
2. อ่านเพราะคุณอยากอ่าน ไม่ใช่เพราะคุณจำต้องอ่าน (เห็นด้วยครับอ่านด้วยใจดีกว่าถูกบังคับให้อ่าน)
3. ลองสังเกตว่าผู้อ่านคิดอย่างไรเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ (แต่ละคนมีเหตุผลในการอ่านไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่าน บางคนก็ไม่ชอบอ่าน)
4. ดูความต้องการของผู้อ่านว่าต้องการหนังสือหรือคอมพิวเตอร์ (การอ่านมีหลายวิธีไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นหนังสือแบบเดียวก็ได้)
5. ให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือเด็ก (การปลูกฝังการอ่านตั้งแต่เด็กจะได้ผลที่ดีที่สุด)
6. มันเป็นแค่เทคโนโลยี (อย่าไปกลัวเรื่องการให้เด็กเรียนรู้เรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ เช่น vdo conference เด็กๆ อาจจะใช้เครื่องมือเหล่านี้เรียนรู้ก็ได้)
7. เยี่ยมๆ มองๆ กับการอ่านออกเขียนได้
8. คนเราตายได้แต่จากความรู้ไม่ได้
9. ทางเลือกอันมากล้น (การเรียนรู้ การอ่าน มีหลายหลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าผู้อ่านต้องการอะไรมากกว่ากันก็เท่านั้น)
10. การเลือกอย่างรอบคอบ
11. การอ่านโดยการจัดเวลาไว้โดยเฉพาะและเหมาะสม

ปรับนิดเปลี่ยนหน่อย – กิจกรรมที่สามารถนำมาใช้กับห้องสมุด ได้แก่
– การจัดกำแพงนักอ่าน (ใช้เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นเรื่องการอ่านหนังสือ)
– การเขียนวิจารณ์หนังสือแล้วปะไว้บนหน้าปกหนังสือ
– จัดวาดภาพที่ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือสักเล่มที่อ่าน หรือเรื่องราวที่สนใจ
– การนำหนังสือออกมาแสดงบนเคาน์เตอร์
– การนำคำพูดของผู้ใช้บริการมาเผยแพร่
– เปลี่ยนเสียงรอสายโทรศัพท์จากเสียงเพลงเป็นเสียงเล่าเรื่องราวต่างๆ จากหนังสือ
– การแลกเปลี่ยนหนังสือ
– การจัดกิจกรรมสำหรับคนวัยต่างๆ
– การตั้งกลุ่มนักอ่าน
– การทำเว็บไซต์เพื่อแนะนำการอ่าน เช่น www.4ureaders.net, www.whatareyouuptotonight.com
– การจัดกิจกรรมโครงการที่กระตุ้นความสนใจแก่นักอ่าน


ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต – หัวข้อที่น่าสนใจในบทนี้ (เนื้อหาไปอ่านต่อกันเองนะครับ)

– การวางแผนงานห้องสมุด
– การตลาดกับห้องสมุด
– การใส่ใจผู้ใช้บริการว่าต้องการอะไร
– สร้างมุมมองใหม่ในนิยามของบรรณารักษ์
– อย่าลืมบอกคนอื่นในสิ่งที่เราทำ
– การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและการสร้างพันธมิตร
– การปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี
– บทบาทที่เปลี่ยนไปของบุคลากร
– การหาผู้ร่วมสนับสนุน

ประโยคเด็ดที่ผมชอบเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
– หนังสือทำให้เราหัวเราะ ร้องไห้ สุข ทุกข์ ทำให้เราตั้งคำถามถึงชีวิต และประสบการณ์ของเราเอง
– ถ้าเราไม่เคยดื่มด่ำกับการอ่าน จนรู้สึกว่าเราได้เข้าไปมีชีวิตอยู่ในเรื่องที่เรากำลังอ่านเหมือนกับเป็นตัวละครนั้น เราจะเข้าใจและเห็นอกเห็นใจคนอื่นได้อย่างไร
– บางสถานที่เรารักด้วยหัวใจ บางสถานที่เรารักด้วยสมอง ที่ๆ เรารักด้วยสิ่งทั้งสอง เรียกว่า “ห้องสมุด”
– หนังสือเป็นโลกที่เคลื่อนที่อย่างแรกที่ครอบครองได้
– แม้แต่เด็กที่เกเรที่สุด หากแม้นมีโอกาสได้สัมผัสกับความล้ำค่าแห่งห้องสมุดแล้ว ยังสามารถกุมปัญญาแห่งปฐพี และไขกุญแจสู่โลกทั้งมวล

เอาเป็นว่าผมใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 ชั่วโมงกว่าๆ ในการอ่านหนังสือเล่มนี้
คอนเฟิมครับอ่านไม่ยากเลย และได้เทคนิคดีๆ ไปปรับใช้กับการให้บริการในห้องสมุดได้
ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับผมนะครับ ลองอ่านดู ขอแนะนำ

อ๋อ ลืมบอก หนังสือเล่มนี้หาซื้อได้ในร้านซีเอ็ด หรือไม่ก็มายืมอ่านได้ที่ทีเคพาร์คนะครับ

ข่าวฝาก : มรภ.สุราษฎร์ธานี รับอาจารย์บรรณารักษ์ 1 อัตรา

วันนี้คุณ Jib Wanlaporn มาฝากประกาศรับสมัครอาจารย์บรรณารักษ์ในหน้า เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย
ในฐานะแอดมินของหน้า ผมจึงขอใช้ Libraryhub เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ต่ออีกที

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงาน
ชื่อตำแหน่งงาน : อาจารย์ประจำตามสัญญา สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
สถานที่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
จำนวน : 1 อัตรา
เงินเดือน : วุฒิ ป.เอก 14,380 บาท ค่าตอบแทนพิเศษ เดือนละ 5,000 บาท หรือ วุฒิปริญญาโท 10,700 บาท
สวัสดิการ : ค่ารักษาพยาบาลสำหรับสามี ภรรยา บิดา มารดา และบุตร
เงื่อนไข : สัญญาจ้าง 3 ปีการศึกษา (มีสิทธิที่จะถูกพิจารณาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย)
รับสมัครถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554
รายงานเข้าปฏิบัติงาน 6 ธันวาคม 2554

มองดูสวัสดิการแล้วก็คิดว่าน่าสนใจดีนะ คล้ายๆ ราชการเลยคือเบิกค่ารักษาพยาบาลให้ครอบครัวได้ด้วย
แต่มามองเรื่องเงินเดือนแล้วต้องคิดหนักอ่ะครับ ไหนบอกว่าปริญญาตรีได้ 15,000 ไงอ่า (แอบเศร้า)

ดูคุณสมบัติเบื้องต้นกันก่อนนะครับ (เฉพาะตำแหน่งนี้นะ)
– จบการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป แผน ก. หรือมีผลงานทางวิชาการ
– ต้องสอบคัดเลือกและสอบสัมภาษณ์เหมือนที่อื่นๆ ด้วยนะครับ

ขั้นตอนการคัดเลือก
1. คัดเลือกจากใบสมัคร
2. สอบข้อเขียน
3. สอบสัมภาษณ์
4. สอบภาษาอังกฤษ

สำหรับคนที่สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.sru.ac.th/index.php/job-news/item/download/318.html

ขอให้เพื่อนๆ ที่ไปสมัครโชคดีได้งานกันถ้วนหน้านะครับ (จริงๆ ยังมีตำแหน่งอาจารย์ในภาควิชาอื่นๆ อีกด้วยนะ)

ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข รับบรรณารักษ์ 1 ตำแหน่ง

วันนี้ขอแถมข่าวการรับสมัครบรรณารักษ์ให้อีกเรื่องแล้วกันนะครับ ซึ่งเป็นข่าวการรับสมัครบรรณารักษ์ของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นั่นเอง

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานตำแหน่งนี้
ชื่อตำแหน่งงาน : บรรณารักษ์
สถานที่ : ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
จำนวน : 1 อัตรา
เงินเดือน : 11,000 บาท
ปิดรับสมัครวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554
สอบปฏิบัติและสัมภาษณ์วันที่ 1 ธันวาคม 2554

ตำแหน่งนี้หน้าที่แบบคร่าวๆ คือ ให้บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า บริการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ และวารสารฉบับพิมพ์ รวมถึงงานเทคนิคและบริการวารสารฉบับพิมพ์ และวารสารอิเล็กทรอนิกส์

เอาหล่ะมาถึงตอนนี้แล้วเรามาดูคุณสมบัติเบื้องต้นกัน
– จบปริญญาตรี สาขาบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ สารนิเทศศาสตร์ หรือสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
– เพศชาย/หญิง อายุไม่เกิน 35 ปี

ทักษะและความรู้ที่ต้องใช้ในการทำงานในตำแหน่งนี้
– มีความรู้ในวิชาชีพบรรณารักษ์
– มีความรู้ความสามารถและทักษะในการสืบค้นสารสนเทศจากวารสาร ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อินเทอร์เน็ต และระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
– มีทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป Microsoft Office (Word, Excel) เป็นอย่างดี
– ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านภาษาอังกฤษ (ฟัง พูด อ่าน เขียน)

หากเพื่อนๆ คิดว่าสนใจและผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นดังกล่าวก็สามารถสมัครด้วยตนเองที่
งานบริหารและธุรการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือทางอีเมล์ scccc@mahidol.ac.th
download ใบสมัครได้ที่ http://www.sc.mahidol.ac.th/tha/pdf/job.pdf

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่
โทร. 0-2201-5716 (คุณอภิชัย) หรือ e-mail: teaar@mahidol.ac.th

ผมก็ขออวยพรให้เพื่อนๆ สมหวังกันทุกคนนะครับ

ห้องสมุดลอยน้ำ ทางเลือกใหม่ในการป้องกันน้ำท่วมในอนาคต

ช่วงนี้กระแสน้ำท่วมกำลังมาแรง ห้องสมุดหลายแห่งคงประสบปัญหาน้ำท่วมเช่นกัน
ตัวอย่างห้องสมุดที่ประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วม เช่น ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครสวรรค์

แนวคิดเรื่องของการออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่กำลังมาแรง คือ บ้านลอยน้ำ (Floating House)
ลองอ่านเรื่อง “แบบบ้านลอยน้ำ แบบแปลนแนวคิดจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

เอาหล่ะครับ แนวคิดแบบนี้ผมก็ขอเอามาต่อยอดกับเรื่องของห้องสมุดบ้างดีกว่า
นอกจาก trend ในเรื่องของห้องสมุดสีเขียว (Green library) หรือห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกำลังมาแล้ว

หากนำความคิดของสิ่งปลูกสร้างลอยน้ำมารวมกับห้องสมุดสีเขียว (Floating House + Green Library)
มันจะได้ห้องสมุดลอยน้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Floating Library)

หน้าตาแบบคร่าวๆ จะเป็นอย่างไร

(ภาพนี้ที่มาจาก http://the-queen-of-spades.deviantart.com/art/Floating-Library-163839594 แต่ผมไม่ทราบว่าที่นี่คือที่ไหนนะครับ ใครรู้ช่วยบอกด้วยครับ)

ภายในห้องสมุดลอยน้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมควรจะมีลักษณะอย่างไร

การลอยน้ำ
– มีจุดศูนย์ถ่วงดีเมื่อลอยน้ำแล้วต้องไม่เอียงไปทางใดทางหนึ่ง (ในภาพด้านบนคงไม่ได้มั้ง)
– มีจุดยึดไม่ให้อาคารลอยไปไหนได้แม้มีกระแสน้ำไหลรุนแรง (ปกติจะต้องมีเสาหลักยึดไว้เพื่อไม่ให้บ้านโคลงเคลง)
– สามารถรองรับจำนวนหนังสือที่เก็บได้จำนวนหนึ่ง (หนังสือหนักมากคงไม่สามารถจุดได้ถึงหมื่นเล่มหรอก)

การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
– การติดตั้งแผงกระจกในทิศทางที่เหมาะสมเพื่อใช้แสงอาทิตย์ในการให้ความสว่างในอาคารอย่างทั่วถึง
– การติดตั้งหน้าต่างเมื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก และเพียงพอต่อสถานที่
– การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคารห้องสมุด เพื่อให้ผู้เข้าใจรู้สึกผ่อนคลายไปกับธรรมชาติ
– การประหยัดพลังงานโดยอาศัยพลังงานบริสุทธิ์ต่างๆ เช่น แสงอาทิตย์ ลม ฯลฯ

เพิ่มเติมนิดนึง งบประมาณเรื่องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์
การติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 400 W. (ราคา 144,450 บาท) อุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้คือ
– หลอด 4 หลอด การทำงาน 4 ชั่วโมง/วัน
– เครื่องเล่น VCD ขนาด 25W 1 ชุด การทำงาน 6 ชั่วโมง/วัน
-โทรทัศน์ 21 inch ขนาด 70W 1 ชุด การทำงาน 6 ชั่วโมง/วัน
– วิทยุ ขนาด 3W 1 ชุด การทำงาน 6 ชั่วโมง/วัน
– พัดลม ขนาด40W 1 ชุด การทำงาน 4 ชั่วโมง/วัน
– ปั๊มน้ำ ขนาด 80W 1 ชุด การทำงาน 1 ชั่วโมง/วัน

ที่มาจาก http://www.tarad.in.th/index.php/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3-A/flypage.tpl.html

ความเป็นไปได้ของห้องสมุดลอยน้ำคงต้องได้รับการพัฒนาอีกมากนะครับ เนื่องจากความเป็นจริงแล้วถ้าเป็นบ้านลอยน้ำผมเชื่อว่าคงมีปัจจัยเรื่องน้ำหนักของสิ่งของภายในสิ่งปลูกสร้างเป็นตัวกำหนดด้วยเช่นกัน ห้องสมุดเองจัดเก็บหนังสือมากๆ ก็คงไม่ได้เนื่องจากจะทำให้มีน้ำหนักมากเกินกว่าจะลอยน้ำได้ ยังไงก็คงต้องหาวิธีจัดการกันอีกที

ปล. หลักการดังกล่าวนี้คงเหมาะสำหรับห้องสมุดที่มีสถานที่เป็นเอกเทศ ไม่ได้อยู่ติดกับอาคารใดๆ

ถึงที่สุดแล้วถ้าไม่สามารถสร้างตึกหรืออาคารลอยน้ำได้ ก็จัดห้องสมุดบนเรือซะเลยก็ได้นะครับ (วิธีนี้ก็โอเค) แต่อาจจะได้ห้องสมุดขนาดย่อมๆ หน่อย

เอาหล่ะครับ สิ่งที่อยากจะบอกจริงๆ จากเรื่องนี้ คือ หากหน่วยงานหรือใครอยากจะสร้างห้องสมุดใหม่ในอนาคต ผมอยากให้คำนึงถึงเรื่องภัยพิบัติต่างๆ ไว้ด้วย ไม่ต้องออกแบบมากมายหรอกครับแค่อย่างน้อยขอให้มีแผนสำหรับรับมือกับภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ติดไว้ในห้องสมุดสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานก็จะดีมากๆ ครับ

หมายเหตุ ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงความคิดส่วนตัวของผมนะครับ

อ่านอะไรดี : Social Innovation, Inc.

ช่วงนี้หลายๆ คนคงกำลังติดตามข่าวสารเรื่องน้ำท่วมกันอยู่ ผมก็เช่นกันครับ แต่ยิ่งติดตามข่าวก็ยิ่งเครียด
ดังนั้นผมจึงหากิจกรรมอื่นๆ มาทำแก้เครียดครับ กิจกรรมที่ว่านี้ ก็ง่ายๆ คือ “อ่านหนังสือ” นั่นเอง

ช่วงก่อนที่จะมีปัญหาเรื่องน้ำท่วมผมเองก็ไปยืมหนังสือที่ TK park มา
กำลังจะเอาไปคืนพอดีแต่ TK park ก็ผ่อนผันให้คืนหนังสือได้จนถึงวันที่ 13 พฤศจิกายนครับ
ดังนั้นในระหว่างที่ติดตามข่าว และไม่ได้ออกไปไหน ก็เลยหยิบหนังสือมาอ่านซ้ำไปซ้ำมา
เล่มหนึ่งที่หยิบมาอ่านแล้วรู้สึกว่าให้ข้อคิดดีๆ เยอะมากคือ “Social Innovation, Inc.”

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : Social Innovation, Inc.
ชื่อผู้แต่ง : Jason Saul
สำนักพิมพ์ : Jossey-Bass
ISBN : 9780470614501

ตอนแรกที่หยิบหนังสือเล่มนี้เพราะสนใจที่ชื่อเรื่องเป็นหลัก “Social Innovation, Inc.”
อ่านจากชื่อเรื่องแล้วทำให้ผมนึกถึงคำว่า “social enterprise” หรือ กิจการเพื่อสังคม
อีกเรื่องที่ผมนึกถึงเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ก็คือการทำ “CSR” ของเหล่าบริษัทต่างๆ

ในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสามส่วนหลักๆ ดังนี้
1. The new economics of social change (เศรษฐศาสตร์แบบใหม่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง)
2. Five strategies for corporate social innovation (5 กลยุทธ์เพื่อการจัดการกิจการเพื่อสังคม)
3. The Roadmap to social innovation (เส้นทางในการพัฒนาไปสู่กิจการเพื่อสังคม)

ซึ่งแยกเป็นบทต่างๆ ดังนี้

Part 1 The new economics of social change

– The Rise of the Social Capital Market
– Responsibility is not a strategy
– Corporate Social Innovation

Part 2 Five strategies for corporate social innovation

– Create revenues through submarketproducts and services
– Enter new markets through backdoorchannels
– Build emotional bonds with customers
– Develop new pipelines for talent
– Influence policy through reverse lobbying

Part 3 The Roadmap to social innovation

– Creating a Culture of Social Innovation
– The Formula for Social Innovation
– Implications of the Social Capital Market

วันนี้ก็ขอฝากเล่มนี้ไว้ให้เพื่อนๆ ตามอ่านก็แล้วกันนะครับ

ปล. หนังสือเล่มนี้สามารถยืมอ่านได้ที่ห้องสมุดทีเคพาร์ค (TK Park)
หรือถ้าอยากซื้อก็ติดต่อที่ Kinokuniya หรือไม่ก็ Asia books ได้เลยครับ

อ่าน Review จากเว็บไซต์อื่นๆ ได้ที่
http://www.amazon.com/Social-Innovation-Inc-Strategies-Business/dp/0470614501
http://beyondprofit.com/book-review-social-innovation-inc/
http://young-leaders-academy.com/blog/sparks/social-innovation-inc/

ตัวแทนคนในยุคดิจิทัล อยากบอกสิ่งที่ต้องการจากห้องสมุด

ภาวะน้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ทำให้หลายๆ คนเครียดและหลายๆ คนก็ประสบปัญหา
ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมที่ห้องสมุดที่ทำงานหรือท่วมที่พักอาศัย หรือไม่ได้ท่วมแต่หาของกินลำบาก

เอาเป็นว่าผมก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ ท่านผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้นะครับ

วันนี้ผมเองก็ได้รับอีเมล์จากเพื่อนชาวต่างชาติคนนึง เขาถามถึงปัญหาน้ำท่วมในไทย
ซึ่งรวมถึงถามเกี่ยวกับห้องสมุดที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมด้วย

เพื่อนผมเลยส่งคลิปวีดีโอนี้มาให้ดูแบบขำขำคลายเครียด
ซึ่งเป็นคลิปวีดีโอที่พูดถึง “ในยุคดิจิทัลแบบนี้คนต้องการอะไรจากห้องสมุด”

ไปดูคลิปวีดีโอกันได้เลยครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=7_zzPBbXjWs[/youtube]

คลิปวีดีโอนี้เป็นคลิปที่ถูกเปิดในงาน VALA 2010 ภายในคลิปวีดีโอนี้เพื่อนๆ จะพบกับสาวน้อย Abbey (เด็กอายุ 3 ขวบ) ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของเด็กที่เกิดในยุคดิจิทัล เธอจะมาพูดให้ฟังว่าเธอต้องการอะไรจากห้องสมุดของเธอ

สรุปสิ่งที่คนในยุคดิจิทัลอยากได้จากห้องสมุด
– ห้องสมุดออนไลน์
– สื่อมัลติมีเดียมากๆ
– บริการที่รวดเร็วและง่าย
– อยากแชร์สิ่งที่ต้องการให้คนอื่นได้รู้ด้วย (อยากบอกต่อ)
– บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ (iphone)
– อ่านหนังสือผ่าน Ebook reader
– Mash up content
– Sematic search
– ข้อมูลแบบ real time
– เทคโนโลยี AR (Augmented Reality)
– ระบบ tagging
– ระบบโต้ตอบด้วย Touch screen

เอาหล่ะครับ ได้ดูแล้วรู้สึกยังไงบ้าง
สำหรับผมต้องขอบอกก่อนว่าแอบอึ้งมากๆ ที่เด็ก 3 ขวบสามารถพูดได้ขนาดนี้
จริงๆ แล้วผมก็คิดว่าคงมีคนเขียนบทให้เด็กอ่านแน่ๆ เพราะไม่งั้นน้องเขาคงพูดแบบนี้ไม่ได้แน่ๆ
แต่ก็เอาเถอะครับ อย่างน้อยที่น้องเขาพูดก็เป็นสิ่งที่คนในยุคดิจิทัลต้องการจริงๆ

เอาเป็นว่าก็ขอฝากให้ดูแล้วกันครับ

Infographic พฤติกรรมการอ่านของคนอเมริกาเปลี่ยนไปแค่ไหน

วันนี้เจอภาพ Infographic ที่น่าสนใจภาพนึง เกี่ยวกับวงการหนังสือด้วย ผมเลยขอนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ ดูสักนิดนึง ภาพๆ นี้ คือ “ภาพที่แสดงให้เห็นถึงความนิยมและจำนวนที่เพิ่มขึ้นของคนอเมริกันที่อ่านหนังสือด้วย E-Reader”

เราไปดูภาพนี้พร้อมๆ กันเลยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับภาพนี้

คำอธิบายเพิ่มเติมในภาพนี้
– E-Reader = อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Kindle, Ipad, Nook
– ชาวอเมริกา 1 ใน 6 คนใช้ E-Reader และมีแผนจะซื้อในอีก 6 เดือนข้างหน้า (ปัจจุบันใช้แต่ยังไม่ได้ซื้อ)
– อัตราการใช้ E-Reader ในปี 2011 มีจำนวน 15% ซึ่งมากกว่าปี 2010  ในปี 2010 มีจำนวน 8%
– จำนวนการซื้อในปี 2011 มีจำนวน 15% ซึ่งมากกว่าปี 2010  ในปี 2010 มีจำนวน 12%
– จำนวนการอ่านหนังสือจาก E-Reader มีมากกว่าการอ่านหนังสือที่เป็นตัวเล่ม
– จำนวนการซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) มีมากกว่าการซื้อหนังสือที่เป็นตัวเล่ม
– หนังสือนวนิยายเป็นหนังสือที่คนอ่านเยอะมาก ซึ่งหนังสือในกลุ่มนิยายลึกลับ สอบสวน ปริศนา เป็นหนังสือที่มีคนให้ความสนใจเยอะที่สุด
– หนังสือในกลุ่มสารคดี ผู้อ่านนิยมเรื่องชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ ศาสนา มากทื่สุด

ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นของอเมริกานะครับ ไม่ใช่ประเทศไทย
จริงๆ ผมก็อยากรู้เหมือนกันนะครับว่า ในเมืองไทยจะมีอัตราการอ่านเป็นอย่างไร
จะให้ดีถ้ามีคนนำภาพการอ่านของไทยมาเปลี่ยนเป็น Infographic ก็คงดีไม่น้อย

ที่มาของภาพนี้ http://www.livescience.com/16535-readers-kindle-popularity-infographic.html