“คนขายจำเป็นต้องรู้จักสินค้าของตนเอง”
“คนขายต้องเข้าใจสินค้าของตนเอง”
“คนขายต้องรู้ว่าสินค้าของตนเองเป็นอย่างไร”
ประโยคข้างต้นเป็นประโยคที่ผมคิดขึ้นมาหลังจากที่ผมไปซื้อของมาชิ้นนึง
เหตุการณ์มันเริ่มจากการที่ผมเดินเข้าไปในร้านขายของที่หนึ่งที่ขายของเฉพาะทาง
ผมตัดสินใจที่จะซื้อของชิ้นหนึ่ง จึงอยากให้คนขายแนะนำสิ่งของที่ผมต้องการซื้อ
ปรากฎว่าเขาแนะนำอะไรไม่ได้เลย จนต้องส่งคำถามเหล่านี้ไปให้คนขายอีกคนจึงอธิบายได้
ผมรู้สึกหงุดหงิดมากที่เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้
จนผมต้องอุทานว่า “ไม่รู้จักสินค้าของตนเองแล้วจะมาขายทำไม”
ประโยคที่ผมอุทานขึ้นมานี้ เป็นที่มาของเรื่องที่ผมจะถามในวันนี้นั่นเอง
ลองนึกดูเล่นๆ นะครับว่า ถ้าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในห้องสมุด ผู้ใช้บริการจะรู้สึกเช่นใด
แน่นอนครับว่าเราไม่ใช่องค์กรเชิงธุรกิจ แต่องค์กรของเราเป็นองค์กรที่เน้นบริการ
ยิ่งคำขวัญของเรา “บริการด้วยใจ (Service mind)” เรายิ่งต้องให้ความสำคัญมากๆ
พื่อนๆ ว่า ตกลงเราควรจะต้องรู้จักหนังสือหรือสื่อความรู้ในห้องสมุดของเราหรือไม่
บรรณารักษ์อย่างพวกเราจำเป็นต้องอ่านหนังสือบ้างหรือไม่
[poll id=”25″]
เอาเป็นว่าช่วยๆ กันตอบดูนะครับ
แล้วเดี๋ยวผมจะเอามาเขียนเล่าให้ฟังแบบเต็มๆ อีกสักตอนนึง
จะเหมารวมอย่างนั้นก็ไม่ถูกเสียทีเีดียว ก็ต้องดูและพิจารณาว่าคนขายนั้นเป็นลักษณะใด อยู่ในตำแหน่งใด
ถ้าเป็นระดับผู้จัดการ ถึง เจ้าของกิจการ ก็สมควรโดนอย่างน้อยซักดอก
แต่ถ้าเป็นระดับลูกกะจ๊อก ก็ปล่อยเขาไปเถิด เพราะสินค้าประเภทเฉพาะทาง ในร้านค้าอาจมีคนที่ให้คำแนะนำส่วนหนุ่ง อาจจะไม่กี่คน(แต่ต้องมีอย่างน้อยสักคน) แน่นอนเงินเดือนก็สูงกว่า
ส่วนลูกจ้างเงินเดือนต่ำำกว่า อาจจะด้อยประสบการณ์ อาจจะขี้เกียจ หรืออะไรก็แล้วแต่ ร้านค้าก็ต้องมีไว้ใช้งานทั่วๆไป
นั่นก็คือเหตุผลที่ว่า ทำไมคนๆนั้น แนะนำอะไรไม่ได้เลย
(แต่อย่างน้อยพนักงานคนนั้นควรรู้วิธีที่จะนำคำถามไปส่งต่อให้พนักงานอีกคน เพื่อลูกค้าจะได้ไม่ต้องเสียเวลาถามหลายรอบ)