ศูนย์สร้างสุข บ้านหลังใหม่ของ สสส. รับบรรณารักษ์ 1 อัตรา

ข่าวฝากประชาสัมพันธ์ เรื่อง การรับสมัครบรรณารักษ์ประจำศูนย์ข้อมูลข่าวสาร (Resource Center) จำนวน 1 อัตรา ของศูนย์สร้างสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

ศูนย์สร้างสุข = บ้านหลังใหม่ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ตั้งอยู่ที่ซอยงามดูพลี เขตสาทร

คุณสมบัติทั่วไป
1. จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาวิชาเอกบรรณารักษ์ศาสตร์หรือสารสนเทศศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
2. มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งบรรณารักษ์ไม่ต่ำกว่า 1 ปี
3. มีความสามารถในการลงรายการบรรณานุกรม และวิเคราะห์หมวดหมู่ (cataloging)
4. มีสามารถใช้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติได้ (หากมีประสบการณ์ในการใช้โปรแกรม KOHA จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ)
5. สามารถปฏิบัติงานเป็นกะ และทำงานในวันเสาร์-อาทิตย์ได้ (ปฏิบัติงานวันละั 8 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 5-6 วัน)
6. มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้ดี
7. มีความละเอียด รอบคอบ และมีใจรักงานบริการ

ข้อกำหนดอื่นๆ
เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 15 พฤษภาคม 2555
สถานที่ปฏิบัติงาน ศูนย์สร้างสุข ซอยงามดูพลี ถนนพระราม 4 เขตสาทร กรุงเทพฯ
สัญญาการทำงาน 1 ปี ต่อสัญญาพร้อมพิจารณาขึ้นเงินเดือนทุกปี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ jomkwan@thaihealth.or.th

หากสนใจในตำแหน่งนี้ กรุณาส่งประวัติของคุณมาได้ที่
พี่จ้อม e-mail : jomkwan@thaihealth.or.th

ขอให้โชคดีนะครับทุกท่าน

สรุปการบรรยาย สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด

เมื่อวันอาทิตย์ที่มา (วันที่ 25 มีนาคม 2555) ผมได้รับเกียรติให้ไปเป็นวิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด” ซึ่งจัดโดยห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสุมดแห่งประเทศไทยฯ ตามธรรมเนียมครับที่ผมจะต้องมาสรุปงานให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

รายละเอียดเกี่ยวกับการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่
http://www.libraryhub.in.th/2012/02/28/workshop-facebook-for-library-service/

การบรรยาย แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
– ช่วงเช้า เน้นทฤษฎี ความรู้ที่เกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และแนะนำการใช้งาน Facebook เบื้องต้น
– ช่วงบ่าย เน้นการปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่การสมัครใช้งาน Facebook การปรับแต่งหน้าตา และเครื่องมือที่ไม่ควรพลาด

ปล. สื่อสังคมออนไลน์มีมากมาย แต่หลักๆ วันนั้นผมลงรายละเอียดที่ Facebook Fanpage เป็นหลัก

Slide ที่ผมใช้บรรยายมีจำนวน 3 Slide ประกอบด้วย
1. เปิดมุมมองห้องสมุดในต่างประเทศ
2. พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด “ระดับนักศึกษา” 2005-2010 (ไม่สามารถเผยแพร่ได้เนื่องจากยังไม่สมบูรณ์)
3. Facebook Fanpage สำหรับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

ผมขอสรุปไปทีละ Slide เลยแล้วกันนะครับ เพื่อที่ว่าเพื่อนๆ จะได้เปิด  Slide และดูตามไป

1. เปิดมุมมองห้องสมุดในต่างประเทศ

Slide ชุดนี้ผมอยากให้ผู้ที่เข้าฟังการบรรยายได้รู้จักคำศัพท์และเครื่องมือต่างๆ กันสักหน่อย ซึ่งได้แก่ Blog, Wiki, IM, Tag, Widget, Library Search, RSS, Flickr, Ning, Facebook, Slideshare, Youtube, Scribd, Spokeo, Zoomii, Zotero, Yahoo Pipe, Bibme

2. พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด “ระดับนักศึกษา” 2005-2010 (ไม่สามารถเผยแพร่ได้เนื่องจากยังไม่สมบูรณ์)

3. Facebook Fanpage สำหรับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

Slide ชุดนี้เป็นเนื้อหาหลักของการบรรยายในวันนั้นเลย (จริงๆ เป็นสไลด์ชุดเดียวกับที่ผมบรรยายที่โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก http://www.libraryhub.in.th/2012/02/16/facebook-fanpage-for-thai-junior-encyclopedia-project/) แต่ผมขอเอามาสรุปอีกครั้งก็แล้วกัน

เรื่องของความหมายของ Facebook คงไม่ต้องอธิบายกันแล้วเนื่องจากผู้ที่เข้าอบรมทุกคนใช้ Facebook กันอยู่แล้ว

รูปแบบการใช้ Facebook ในปัจจุบัน เราสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบใหญ่ๆ คือ
1. Profile
2. Group
3. Page

แต่ละแบบใช้งานและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

ในวงการห้องสมุดเมืองไทยก็มีความเข้าใจในเรื่องการใช้ Facebook กันผิดประเภทหลายแห่ง
ส่วนใหญ่มักจะสมัครใช้ Facebook ในแบบ Profile จำนวนมากเนื่องจากสมัครง่าย
แต่หลายๆ คนลืมคิดถึงข้อจำกัดด้านต่างๆ เช่น ความเป็นส่วนตัว จำนวนสมาชิก การวัดผลการใช้งาน…

ดังนั้นข้อสรุปแล้ว ผมจึงนำเสนอให้ ห้องสมุดใช้แบบ Page จะดีกว่า เพราะ
ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (แม้ว่าผู้ใช้จะไม่ได้เล่น Facebook) จำนวนสมาชิกที่ไม่จำกัด และการวัดผลที่ชัดเจน

ตัวอย่าง Facebook Fanpage ในวงการห้องสมุดที่น่าสนใจ
– Tkpark อุทยานการเรียนรู้ (http://www.facebook.com/tkparkclub)
– Thailand Creative & Design Center (TCDC) (http://www.facebook.com/tcdc.thailand)
– ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์ความรู้กินได้ (http://www.facebook.com/Ubonpubliclibrary)
– เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย (http://www.facebook.com/THLibrary)
– Thammasat University Libraries (http://www.facebook.com/pages/Thammasat-University-Libraries/100107346702609)

ข้อแนะนำสำหรับการใช้ Facebook Fanpage
1. คอยอัพเดทข่าวสารและกิจกรรมของห้องสมุดใหม่ให้ผู้ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ อยากปล่อยให้ข่าวไม่อัพเดทเกิน 1 เดือน
2. หากผู้ใช้บริการขอความช่วยเหลือผ่านเว็บไซต์ห้องสมุดหรือสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ขอต่ออายุการยืมหนังสือ ห้องสมุดไม่ควรปฏิเสธ
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการด้วย อย่าเงียบหายหรือละเลย พยายามตอบและให้บริการด้วยความเร็ว
4. ไม่นำเรื่องราวพฤติกรรมที่แย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลงในเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ของห้องสมุด
5. พยายามพูดคุยหรือถามความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการในห้องสมุดเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์บ้าง
6. การจัดกิจกรรมในห้องสมุดทุกครั้งควรนำมาลงในเว็บไซต์ห้องสมุดและสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการติดตามข่าวสารของห้องสมุด

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงบทสรุปแบบคร่าวๆ ในวันนั้นนะครับ
ก่อนปิดบล็อกวันนี้ ผมขอขอบคุณ บริษัท Mercuri Data ด้วยนะครับที่สนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้

ภาพการอบรมในวันนั้นผมลงให้แล้วใน Facebook เพื่อนๆ สามารถเข้าไปชมภาพบรรยากาศได้เลยที่
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.352474518127142.74790.196587720382490&type=1

แล้วอย่าลืมมากด Like เป็น Fanpage ของเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย ด้วยนะครับ http://www.facebook.com/THLibrary

ภาพบรรยากาศการอบรมในวันนั้นทั้งหมด

[nggallery id=54]

บรรณารักษ์ต้องไม่พลาดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2555

มาแล้วคร้าบ!!!! งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ งานหนังสือที่หลายๆ คนรอคอย งานที่เพื่อนๆ จะได้พบกับหนังสือและกิจกรรมการอ่านที่น่าสนใจมากมาย วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนเพื่อนๆ มางานนี้ก็แล้วกันนะครับ
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2555
ชื่องานภาษาไทย : งานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 10 และงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 40
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Bangkok International Book Fair 2012 and National Book Fair 2012
วันที่ในการจัดงาน : 29 มีนาคม – 8 เมษายน 2555 เวลา 10.00-21.00 น.
สถานที่จัดงาน : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ผู้จัดงาน : สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

ธีมงานของปีนี้ : การอ่านคือการพัฒนาชีวิต (Read for Life)
อาทิตย์หน้านี้แล้วนะครับเพื่อนๆ ชาวบรรณารักษ์ ทำไมผมถึงอยากให้เพื่อนๆ มางานนี้ นะหรอ!!!! อืม เอางี้ดีกว่า ขอแบบสั้นๆ เลย คือ “Show Share Shop” แล้วกัน
Show – มาดูงานหนังสือ กิจกรรมในงาน นิทรรศการในงาน
Share – มาดูว่าวงการสำนักพิมพ์กันสิว่าเขาไปถึงไหนกันแล้ว แล้วเอามาต่อยอดกับวงการห้องสมุดของเรา
Shop – แน่นอนครับว่ามาซื้อหนังสือ
กิจกรรมและนิทรรศการที่น่าสนใจในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เช่น
– นิทรรศการห้องสมุดหนังสือใหม่
– กิจกรรม “นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ” โดยมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
– นิทรรศการกรุงเทพเมืองหนังสือโลก (World Book Capital)
– นิทรรศการแสดงผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2555 โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
– นิทรรศการหนังสืออัญมณีแห่งอาเซียน
– นิทรรศการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book @ Thailand
– กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน โดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
– นิทรรศการหนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นี่แค่ตัวอย่างนิทรรศการหลักๆ ในงานนี้นะครับ กิจกรรมที่เกี่ยวกับหนังสือยังมีอีกมากครับ เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.bangkokibf.com/seminar.php นะครับ
เอาเป็นว่าผมคงไม่ต้องบรรยายความยิ่งใหญ่ของงานนี้หรอนะครับ
เพราะเพื่อนๆ ก็คงได้ยินข่าวกันอยู่ทุกปี เอาเป็นว่าไปเจอกันในงานแล้วกันนะครับ

งานบรรณารักษ์ หลายที่ หลายตำแหน่ง มาเสิร์ฟแล้ว

ช่วงนี้เป็นช่วงที่ว่าที่บรรณารักษ์มือใหม่กำลังจะเรียนจบ ดังนั้นหลายๆ ห้องสมุดจึงประกาศรับสมัครงานบรรณารักษ์และงานห้องสมุดออกมามากมาย เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอรวบรวมแล้วนำมาเขียนไว้ เพื่อให้เพื่อนๆ เลือกงานที่อยากจะทำกันดูนะครับ

ปล. รายละเอียดเกี่ยวกับงานเพื่อนๆ ต้องติดต่อไปถามที่ต้นสังกัดเองนะครับ


งานมีเยอะมาก ผมขอแยกเป็นประเด็นๆ จากแหล่งที่ผมค้นมาก็แล้วกัน

1. ข่าวฝากประชาสัมพันธ์งานบรรณารักษ์ในกลุ่ม Librarian in Thailand
– สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รับบรรณารักษ์
http://www.npru.ac.th/webdev/u_news/news_files.php?news_id=5516&&type_name
– ห้องสมุดวิทยาการสุขภาพ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รับบรรณารักษ์ชั่วคราว ติดต่อสมัครได้ที่  E-mail : jkhanitt@wu.ac.th ทางโทรศัพท์ 075- 673373
– เปิดรับสมัครตำแหน่ง บรรณารักษ์เพื่อปฏิบัติงานในศูนย์การเรียนรูู้ด้วยตนเอง สถาบันภาษา จุฬาฯ ใครสนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://www.culi.chula.ac.th/personnel/Flie%20Data/A1.pdf
– สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ สำนักบริหารบุคคล
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งบรรณารักษ์ปฏิบัติการ http://www.mfa.go.th/internet/news/42346.pdf
– มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยรับสมัครสอบคัดเลือกพนักงานตำแหน่งบรรณารักษ์ สังกัดสำนักหอสมุดกลาง http://department.utcc.ac.th/hr/recruitment/staff/456-recruit-of-staff-of-librelian-in-librely.html

2. ข่าวที่คนอื่นฝากมาผ่าน Social Media อื่นๆ เช่น Twitter
– รับสมัครบรรณารักษ์ประจำศูนย์ข้อมูล บริษัท อินโฟเควสท์ จำกัด สนใจรายละเอียด โทรสอบถาม คุณกมลวรรณ 081-9392425 via @Blossom_0210
– ห้องสมุดสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช รับบรรณารักษ์ 1 ตำแหน่ง ถ้าสนใจโทรได้ที่เบอร์ 085-2555304

3. ข่าวงานบรรณารักษ์จากเว็บชุมชนคนหางานบรรณารักษ์
– วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา รับสมัครบรรณารักษ์ http://libjobs.ob.tc/-View.php?N=55
– หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ รับ นักจดหมายเหตุ บรรณารักษ์ หลายตำแหน่ง  http://libjobs.ob.tc/-View.php?N=46
– วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา รับสมัครบรรณารักษ์ 2 อัตรา http://libjobs.ob.tc/-View.php?N=43
– สำนักหอสมุด วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก รับสมัครบรรณารักษ์ (ประจำวิทยาเขตบางพลี) 1 อัตรา http://libjobs.ob.tc/-View.php?N=42

4. ข่าวงานบรรณารักษ์จากที่ผมค้นหาในเว็บหางานอื่นๆ
– สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น รับหัวหน้างานห้องสมุด 1 อัตรา http://tinyurl.com/7o72yjm
– นิทรรศน์รัตนโกสินทร์รับเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ 1 อัตรา http://tinyurl.com/76oq5om
– บริษัท A I System จำกัด รับ Koha library Expert Consultant 1 อัตรา http://tinyurl.com/8xw6uqc

เอาเป็นว่างานบรรณารักษ์ยังมีอีกเยอะ แต่หวังว่าเพื่อนๆ จะเห็นวิธีการรวบรวมตำแหน่งงานบรรณารักษ์ของผมแล้วใช่มั้ยครับ

จริงๆ ประเด็นที่จะเขียนบล็อกวันนี้ไม่ได้อยากจะเอางานมาป้อนให้ถึงปากหรอกนะครับ แต่อยากให้เห็นวิธีคร่าวๆ และตัวอย่างที่ผมดึงข้อมูลมาก็เท่านั้น (ผมไม่ถนัดให้ปลาเป็นตัวๆ หรอก แต่อยากสอนให้จับปลาเป็นมากกว่า)

อ๋อ ส่วนตำแหน่งงานที่เหลือผมจะเข้ามาอัพเดทเรื่อยๆ แล้วกันนะครับ
หรือห้องสมุดไหนที่ต้องการฝากข่าวรับสมัครบรรณารักษ์ก็ส่งมาได้ที่ dcy_4430323@hotmail.com นะครับ

อ่านอะไรดี : ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน

ช่วงนี้มีคนพูดเรื่องห้องสมุดกับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เยอะมาก และคำถามนึงที่เพื่อนๆ ถามมาเยอะ คือ “บรรณารักษ์ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง” ผมก็แนะนำไปหลายๆ อย่างแต่สิ่งหนึ่งที่ผมต้องย้ำ คือ ภาษาอังกฤษ และวันนี้ผมขอแนะนำหนังสือที่เกี่ยวกับ “ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์”


ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย : ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : English for Public Librarians
จัดพิมพ์โดย : โครงการวิจัยการพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปีพิมพ์ : 2552
จำนวนหน้า : 406 หน้า
ISBN : 9786115050086

โจทย์การพัฒนาบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนให้มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นโจทย์ที่ท้าทายผมมาก
ดังนั้นผมจึงต้องค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือสอนภาษาอังกฤษ การฝึกอบรมด้านภาษา ฯลฯ
ซึ่งการค้นพบหนังสือเล่มนี้ทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นมากๆ ครับ จึงต้องเอามาเขียนลงบล็อกให้ได้

หนังสือเล่มนี้อย่างที่ข้อมูลเบื้องต้นบอกว่าเป็นของ มสธ. นั่นแหละครับ
ผมจึงตามไปที่ มสธ. และถามหาหนังสือเล่มนี้ ซึ่งรู้มาว่า มีหนังสือเล่มนี้อยู่จริง แต่ไม่มีจำหน่าย
ดังนั้นผมจึงต้องเสาะหามาให้ได้เพื่อนำมาศึกษา ซึ่งต้องขอขอบคุณอาจารย์น้ำทิพย์มากๆ ที่กรุณาให้ผมนำมาศึกษา

ภายในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
หน่วยที่ 1 Welcoming Visitors
หน่วยที่ 2 Reading for Professional Development
หน่วยที่ 3 Writing for Professional Development

ในแต่ละส่วนเน้นทักษะที่ไม่เหมือนกัน เช่น

หน่วยที่ 1 ที่เกี่ยวกับการต้อนรับผู้ใช้บริการ จะเป็นบทที่เน้นการสนทนา (พูด) เป็นหลัก ซึ่งในบทนี้ที่ผมชอบมากๆ คือ มีสคริปส์ให้อ่านด้วย ประมาณว่าถ้ามีผู้ใช้บริการเข้ามาที่ห้องสมุด สามารถอ่านบทสคริปส์ตามนี้ได้เลยทีเดียว ในหน่วยนี้จะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีก เช่น
1.1 การกล่าวต้อนรับผู้ใช้บริการ
1.2 การนำชมห้องสมุดในส่วนต่างๆ
1.3 คำถามจำพวก FAQ และการกล่าวขอบคุณและอำลาผู้เยี่ยมชม

หน่วยที่ 2 เน้นทักษะการอ่านเป็นหลัก ซึ่งบรรณารักษ์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น การอ่านเพื่อเพิ่มความรู้ หรือการอ่านข้อมูลที่เกี่ยวกับห้องสมุด ในหน่วยนี้จะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีก เช่น
2.1 การอ่านข้อมูลสารสนเทศ เช่น ข่าว เว็บไซต์ห้องสมุด
2.2 การอ่านที่เกี่ยวกับงานห้องสมุด เช่น catalog
2.3 การอ่านที่เกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ

หน่วยที่ 3 เน้นทักษะการเขียนเป็นหลัก ซึ่งการเขียนเป็นเรื่องหนึ่งที่เราจะใช้สื่อสารกับผู้ใช้บริการหรือการติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายห้องสมุดอื่นๆ ในต่างประเทศด้วย ในหน่วยนี้จะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีก เช่น
3.1 การติดต่อสื่อสารอย่างเป็นทางการ เช่น จดหมาย เอกสารต่างๆ
3.2 การติดต่อผ่าน E-mail
3.3 การเขียนแบบฟอร์มต่างๆ

เอาเป็นว่าน่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ เอาเป็นว่าก็ลองหามาอ่านกันบ้างแล้วกัน

หนังสือเล่มนี้หายากมากครับ เพราะทำออกมาจำกัด แต่ในช่วงนั้นได้ยินว่ามีหลายห้องสมุดได้รับและเข้าอบรมเรื่องนี้กันไปแล้ว คำแนะนำของผมง่ายๆ คือ หยิบออกมาทบทวนกันบ้างนะครับ ส่วนใครที่ยังไม่มีหนังสือเล่มนี้ ขอให้รอสักครู่ ผมจะนำมาเล่าให้อ่านในบล็อกเรื่อยๆ แล้วกันครับ

ปล. หนังสือเล่มนี้ต้องขอขอบคุณ อาจารย์น้ำทิพย์ วิภาวิน ที่กรุณาให้ผมยืมอ่านและนำมาถ่ายเอกสารครับ

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องการบรรณารักษ์ ด่วน!!!

งานบรรณารักษ์มาอีกแล้วครับ คราวนี้เป็นตำแหน่งงานบรรณารักษ์ที่ต้องการด่วนมากๆ ซึ่งหน่วยงานที่ต้องการรับ คือ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ใครสนใจก็อ่านดูนะ

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงาน
ชื่อตำแหน่งงาน : บรรณารักษ์
สถานที่ : วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
จำนวน : 1 อัตรา

านนี้ต้องการด่วนมากจริงๆ นะ ส่วเรื่องของเนื้องานว่าต้องไปทำอะไรบ้าง ก็ลองอ่านจากด้านล่างนี้เลยแล้วกันครับ

รายละเอียดของงานในตำแหน่งนี้
– จัดทำสื่อการเรียนรู้ทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ โดยใช้โปรแกรมด้าน IT
– กำหนดเลขหมู่และแยกประเภทหัวเรื่องได้ตามระบบ Library of  Congress (LC)
– ให้บริการสืบค้นข้อมูลทั้งในรูปสิ่งพิมพ์ และออนไลน์
– ช่วยค้นหาแหล่งข้อมูลเพื่องานวิจัยของอาจารย์ และนักศึกษา
– ให้ความรู้และอบรมการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลประเภทต่างๆ

สำหรับคนที่สนใจก็ลองมาเช็คดูคุณสมบัติกันก่อนแล้วกันนะ
– เพศชาย (ตัด choice ไปได้เยอะพอควรเลยนะ)
– วุฒิปริญญาตรี สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ หรือที่เกี่ยวข้อง
– มีความรู้เกี่ยวกับการลงรายการตามหลัก AACR2 และการวิเคราะห์หมวดหมู่ตาม LC นะ การให้หัวเรื่องก็ยึดหลักตาม LCSH เลยจ้า
– มีทักษะการสืบค้นข้อมูลงานวิจัย
– ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เหล่านี้ :- MS Office, Web Design, Photoshop Dreamweaver, Flash

เห็นคุณสมบัติแล้วอาจจะทำให้หลายๆ คนปาดเหงื่อกันได้เลยทีเดียว
แต่ถ้าผ่านทั้งหมดตามที่ว่ามาแล้วก็ถือว่ามีโอกาสดีที่จะได้ทำงานที่นี่เลยนะครับ

อ๋อ ถ้าสามารถเริ่มงานได้ทันทีจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษด้วยนะครับ

เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจและผ่านคุณสมบัติทั้งหมด
ก็ขอให้ส่งประวัติการศึกษา ทรานสคริปส์ และรูปถ่ายมาที่
E-mail: cmthanyaporn@mahidol.ac.th
โทร: 02-206-2000 ต่อ 2361/2365-6

ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนโชคดีครับ

ผู้ใช้บริการต้องการอะไรจาก App. ของห้องสมุด (Library Mobile App.)

วันนี้ผลขอนำเสนอข้อมูลจาก Library Journal เกี่ยวกับผลการศึกษาวิจัยพฤติกรรมผู้ใช้บริการที่เกี่ยวกับโปรแกรมของห้องสมุดบนอุปกรณ์สื่อสารไร้สายไม่ว่าจะเป็น Smartphone หรือ Tablet

บทความนี้จริงๆ แล้ว เป็นบทความที่พูดถึงเรื่องสถานะและทิศทางของอปุกรณ์สื่อสารไร้สายต่างๆ กับห้องสมุด
ซึ่งจริงๆ เป็นบทความที่ยาวมาก แต่ผมขอคัดออกมาเป็นบางตอนเท่านั้น (อ่านเรื่องเต็มจากที่มาด้านล่างบทความนี้ครับ)

ผลสำรวจสิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการจาก โปรแกรมห้องสมุดบนอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย (Library Mobile App.)

ผลสำรวจจากภาพเราสรุปได้ง่ายๆ เลยว่า สิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการจาก Mobile App. คือ

– ฟังค์ชั่นการค้นหาหนังสือออนไลน์ (Library Catalog)
– ฟังค์ชั่นการขยายเวลาการยืม หรือ การต่ออายุเวลาการยืมหนังสือ
– ฟังค์ชั่นการจองหนังสือหรือสื่อที่ต้องการ
– ฟังค์ชั่นแนะนำหนังสือใหม่หรือสิ่งพิมพ์ใหม่ๆ
– ข้อมูลที่เกี่ยวกับห้องสมุดหรือค้นหาห้องสมุดที่อยู่ใกล้ๆ
– ฟังค์ชั่นการวิจารณ์หนังสือ (Review book)
– ฟังค์ชั่นการจัดการข้อมูลส่วนตัว (ประวัติการยืมคืน)
– ฟังค์ชั่นการยืมหนังสือด้วยตัวเอง (ยิงบาร์โค้ตเองได้)
– ฟังค์ชั่นการค้นหาคนอื่นๆ ที่ชอบอ่านหนังสือแนวๆ เดียวกัน
– ฟังค์ชั่นการค้นหาบทความและการเข้าถึงฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับ
– ฟังค์ชั่นการดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)
– ฟังค์ชั่นการดาวน์โหลดหนังสือเสียง (Audio-Book)

เป็นยังไงกันบ้างครับตรงกับสิ่งที่เพื่อนๆ ต้องการด้วยหรือปล่าว

จากบทความนี้เราคงเห็นแล้วว่าความคาดหวังของผู้ใช้เริ่มมีมากขึ้น ดังนั้นการทำงานของบรรณารักษ์ในยุคปัจจุบันอาจจะต้องมีการปรับตัวอย่างเร็ว พอๆ กับความต้องการของผู้ใช้ที่มีความเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน

เอาเป็นว่าก็เอาใจช่วยนะครับ พี่น้องชาวบรรณารักษ์

ที่มาของบทความนี้ http://www.thedigitalshift.com/2012/02/mobile/the-state-of-mobile-in-libraries-2012/

ไอเดียห้องสมุดเคลื่อนที่สไตล์ “รถถังหนังสือ”

เพื่อนๆ คงเคยเห็นห้องสมุดเคลื่อนที่ในเมืองไทยในรูปแบบที่เป็นรถบัสมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น กศน หรือ กทม ก็มีห้องสมุดเคลื่อนที่ที่ใช้รถบัสมาทำ วันนี้ผมมีแบบแปลกๆ มาให้ดูอีกแบบ นั่นคือ “รถถังหนังสือ”
จริงๆ แล้วมันก็ไม่ใช่รถถังที่ทหารเข้าใช้กันหรอกนะครับ แต่เป็นเพียงรถที่ตกแต่งคล้ายๆ รถถังต่างหาก
รถถังหนังสือที่เพื่อนๆ ได้เห็นนี้ มีอยู่จริง ที่ประเทศอาร์เจนติน่า นะครับ

เจ้าของรถคันนี้คือ คุณ Raul Lemesoff ได้นำรถ Ford Falcon ปี 1979 มาตกแต่งให้เหมือนรถถัง
โดยถ้าสังเกตที่ตัวของรถจะพบว่าเกราะที่ใช้ตกแต่งพื้นผิวของรถถังเป็นหนังสือ ซึ่งมีจำนวน 900 เล่มทีเดียว

Concept ของรถถังคันนี้ คือ “Weapon of Mass Instruction” อาวุธของการสอนแบบมวลชน
“contribution to peace through literature”  นำเสนอความสันติสุขผ่านวรรณกรรม


ลองฟังบทสัมภาษณ์ของเจ้าของรถคันนี้กันครับ
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=yFi27PQ2bxo[/youtube]
นับว่าเป็นไอเดียที่ดีเลยใช้ปล่าวครับ อิอิ ผมชอบไอเดียเขาจริงๆ เลย
แต่เพื่อนๆ หลายๆ คนคงเป็นห่วงหนังสือที่อยู่บนตัวรถแน่ๆ
เพราะว่าต้องเจอทั้งแดด ความชื้น และบางทีอาจจะเจอฝน
น่าสงสารหนังสือเหล่านั้นเหมือนกันนะครับ
แต่เอาเถอะครับ มองให้มันเป็นศิลปะ ก็คงช่วยให้หายเครียดบ้าง

ห้องสมุดจะเพิ่มการบริการให้กับผู้ใช้กลุ่ม “ซอมบี้” ในปี 2017

เพื่อนๆ รู้จัก “ซอมบี้ (Zombie)” กันมั้ยครับ ที่ผมเขียนบล็อกเรื่องนี้ขึ้นมาไม่ใช่ว่าผมอยากจะแนะนำเพลงโปรดของผมหรอกนะครับ แต่ “ซอมบี้” ที่ผมหมายถึง นั่นหมายความถึง “ศพเดินได้” นั่นเอง

ในช่วงแรกๆ เราคงจะจินตนาการถึงความน่ากลัวของ “ซอมบี้” ได้มากมาย หลังจากที่ได้ดูถาพยนตร์ เรื่อง “ผีชีวะ (Resident Evil)” หรือเกมส์ Resident Evil ที่ให้เรายิงปืนฆ่า “ซอมบี้” กัน

ในช่วงสองถึงสามปีนี้เราพบว่า “ซอมบี้” ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดแล้ว เพราะ “ซอมบี้” เองออกมาปรากฎตัวในเกมส์ ชื่อ Plants vs. Zombies ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติความน่ากลัวของ “ซอมบี้อย่างแท้จริง” เพราะจากเกมส์เราจะเห็นว่าดอกไม้หรือต้นไม้สามารถเอาชนะ “ซอมบี้” ได้ โหน่ากลัวกว่าอีก

เอาหล่ะครับมาเข้าเรื่องกันดีกว่า เรื่องที่ผมจะนำมาเล่าในวันนี้จริงๆ แล้วก็ คือ
เรื่อง “ห้องสมุดจะเพิ่มการบริการให้กับผู้ใช้กลุ่มใหม่ “ซอมบี้” ในปี 2017″
ซึ่งเป็นวีดีโอที่จัดทำขึ้นโดย Rapid City Public Library

ซึ่งในวีดีโอได้กล่าวถึงการให้บริการของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดกับผู้ใช้บริการที่เป็น “ซอมบี้”
(ซอมบี้ หมายถึง ศพเดินได้ และพูดได้แค่คำเดียว คือ Brain–)

เราไปดูวีดีโอนี้กันดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=5Md4ELD4tAA[/youtube]

จริงๆ แล้ว “ซอมบี้” มีความน่าสนใจอย่างหนึ่ง คือ brainnnnn “ซอมบี้จะกินแต่สมอง” ซึ่งในการประชุม conference ของวงการห้องสมุดครั้งหนึ่งก็มีการพูดแบบติดตลกว่า ผู้ใช้บริการที่เข้ามาห้องสมุดก็เพื่อมาหาความรู้ เหมือนการกินสมองของ “ซอมบี้” นั่นแหละ และนี่เองเป็นที่มาของเรื่องในวันนี้

สมมุติฐานของการทำคลิปวีดีโอนี้
1. อาจจะต้องการโปรโมต pathfinder หรือ SubjectGuide หัวข้อเรื่องของ “ซอมบี้” ก็ได้ เพราะมีทิ้งท้ายเรื่องนี้ให้ด้วยที่ http://zombiespathfinder.weebly.com/

2. อาจจะเป็นการสังเกตเห็นพฤติกรรมของคนบางลักษณะที่วันๆ เล่นคอมหรือนอนดึกดื่น เวลามาเข้าใช้บริการก็จะมีหน้าตาหมองๆ คล่ำๆ และบางทีอาจจะพูดไม่รู้เรื่องเหมือน “ซอมบี้” ซึ่งในฐานะที่เราเป็นผู้ให้บริการ เราก็ต้องให้บริการถึงที่สุดเช่นกัน


เอาเป็นว่าที่เขียนมานี้ก็ไม่ได้จะล้อเลียนหรอกนะครับว่าจะมีผีมาใช้ห้องสมุดจริงๆ
ที่เอามาลงให้อ่านเพราะอยากให้เห็นเทคนิคการนำเสนอของห้องสมุดในต่างประเทศ
ว่ามีไอเดียที่เฉียบขาด และนำเสนอได้น่าสนใจพอสมควร

เว็บไซต์ของ Rapid City Public Library คือ http://www.rcgov.org/Library/
และ Youtube Channel ของ Rapid City Public Library คือ http://www.youtube.com/user/rapidcitylibrary