ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รับสมัครบรรณารักษ์

วันนี้นายห้องสมุดขอลงข่าวรับสมัครบรรณารักษ์สักหน่อยนะครับ ตำแหน่งงานนี้จริงๆ ผมก็อยากสมัครอยู่เหมือนกัน แต่ช่วงนี้ผมกำลังรอการตอบรับตำแหน่งงานของผมอยู่จึงต้องขอสละสิทธิ์จากตำแหน่งที่ลงในวันนี้ งานบรรณารักษ์ที่ผมลงในวันนี้ เป็นงานบรรณารักษ์ของห้องสมุดมารวย นั่นเอง

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงาน
ชื่อตำแหน่งงาน : บรรณารักษ์ (Librarian)
สถานที่ : ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
จำนวน : 1 อัตรา

แค่คำว่า “ห้องสมุดมารวย” บางคนอาจจะงงๆ แต่ถ้าบอกว่าเป็นห้องสมุดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทุกคนก็คงร้องอ๋อนะครับ ห้องสมุดแห่งนี้ผมการันตีได้เลยว่าถ้าใครได้ทำงานที่นี่ได้ละก็เยี่ยมสุดๆ ไปเลย [โอกาสที่จะเปิดรับสมัครน้อยมาก]

หน้าที่หลักของงานในตำแหน่งนี้
– จัดเตรียมข้อมูล – นำเสนอข้อมูล – บริการข้อมูลให้กับผู้ใช้บริการ
– จัดการฐานข้อมูลสื่อสารสนเทศในห้องสมุด
– ค้นหาข้อมูลใหม่ๆ ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
– งานบริหารจัดการ วางแผน และควบคุมงบประมาณต่างๆ ในงานห้องสมุด
– จัดทำรายงานและสถิติที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด

แค่หน้าที่ก็พอจะบอกได้ว่างานที่ต้องทำครอบคลุมหลายส่วน เช่น งานบริการ งานบริหาร งานฐานข้อมูล เอาเป็นว่าก็ต้องมีความสามารถเยอะหน่อยนะ

ทีนี้มาดูคุณสมบัติเบื้องต้นกันก่อน
– วุฒิปริญญาตรีขึ้นไปสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
– มีประสบการณ์ในด้านการจัดการระบบห้องสมุดอัตโนมัติหรือฐานข้อมูลห้องสมุด
– ทักษะด้านการสื่อสารดี ทำงานเป็นทีมได้ มองโลกในแง่ดี
– สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในระดับดี

คุณสมบัติที่กล่าวมาไม่ยากเกินไปใช่มั้ยหล่ะครับ ที่สำคัญถ้ามีประสบการณ์ในการเป็นบรรณารักษ์ และใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้ดี จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

ผู้สนใจสามารถส่งประวัติส่วนตัวได้ที่ HumanResourceDepartment@set.or.th

ยังไงก็ขอให้ทุกท่านโชคดีนะครับ
[เสียดายแทนตัวเองมากๆ เพราะกำลังรอประกาศผลจากที่ทำงานใหม่อยู่ อิอิ]

7 องค์ประกอบสำคัญในการทำเว็บไซต์ห้องสมุดชั้นเยี่ยม

วันนี้ผมก็มีเวลานั่งไล่อ่านบล็อกของเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ในต่างประเทศ แล้วพอดีไปสะดุดกับการบล็อกของ David Lee King เรื่อง “Seven Essential Elements to an Awesome Library Website” เลย ตามไปดูสไลด์และเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจดี ก็เลยอยากแชร์เรื่องนี้ให้เพื่อนๆ ได้อ่าน โดยขอแปลเป็นชื่อเรื่องได้ว่า “7 องค์ประกอบสำคัญในการทำเว็บไซต์ห้องสมุดชั้นเยี่ยม

ไปชมสไลด์ที่มาของข้อมูลนี้กันก่อนนะครับ

มาดู “7 องค์ประกอบสำคัญในการทำเว็บไซต์ห้องสมุดชั้นเยี่ยม” ตามที่ผมถอดความและอธิบายเพิ่มเติมกัน

1. Customers want something to read, watch, & listen to when they visit the library
(ผู้ใช้บริการต้องการบางสิ่งบางอย่างเพื่ออ่าน ดู ฟัง เหมือนตอนมาที่ห้องสมุด)

การที่เว็บไซต์ห้องสมุดมีสื่อบางประเภทให้บริการบนเว็บไซต์เป็นสิ่งที่ทำให้เว็บไซต์ห้องสมุดมีสีสันมาก ไม่ว่าจะเป็นการดูหรือชมวีดีโอผ่านทางออนไลน์ ดาวน์โหลดไฟล์เพลง เสียงไว้ฟัง หรือจะเป็นการดาวน์โหลด E-Book ไว้อ่าน (กรณ๊ใน Slide ยกกรณีศึกษา Ebook ว่าเป็นเคสที่ประสบความสำเร็จมากๆ)

2. Customers have questions & ask at the library (ผู้ใช้บริการมีคำถามและต้องการถามที่เว็บไซต์ห้องสมุด)
เว็บไซต์ห้องสมุดควรมีบริการตอบคำถามออนไลน์เนื่องจาก เว็บไซต์ถือเป็นช่องทางที่ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อมาที่ห้องสมุดได้ง่าย

3. Customers need to know the normal stuff too (ผู้ใช้บริการต้องการข้อมูลทั่วๆ ไปของห้องสมุดด้วย)
ข้อมูลปกติของห้องสมุดสำคัญมากเพราะบางทีผู้ใช้บริการก็ต้องการรู้เช่นกัน เช่น เบอร์โทรศัพท์ของห้องสมุด เวลาเปิดปิดของห้องสมุด นโยบายต่างๆ เช่น นโยบายการยืมคืน การสมัครสมาชิก ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต้องมีบนเว็บไซต์ห้องสมุด

4. Websites need actual staff! (เว็บไซต์ต้องการผู้ให้บริการเช่นกัน)
บางห้องสมุดอาจจะมองว่าการทำเว็บไซต์เป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ แต่เรื่องของการดูแลเขาก็ปล่อยปะละเลย ไม่อัพเดทเว็บไซต์เลย ดังนั้นเว็บไซต์ของห้องสมุดจำเป็นที่จะต้องมีคนดูแลและให้บริการเช่นกัน จงคิดซะว่าเว็บไซต์ของห้องสมุดก็เสมือนสาขาย่อยของห้องสมุดจริงๆ ด้วย

5. Have Goals! (มีเป้าหมาย)
การมีเว็บไซต์ห้องสมุดต้องมีเป้าหมายและกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน ไม่ใช่แค่สักแต่ว่ามีเว็บไซต์และก็ปล่อยเว็บไซต์ให้เป็นไปตามยถากรรม การกำหนดตัวชี้วัดจะทำให้เกิดการพัฒนาและการตื่นตัวในการบริการต่างๆ เครื่องมือที่แนะนำ คือ การจัดเก็บสถิติคนเข้าออกของเว็บไซต์ห้องสมุด

6. Reach beyond your webbish boundaries (เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงเว็บไซต์ห้องสมุดของคุณให้มากขึ้น)
การมีเว็บไซต์ห้องสมุดแล้วไม่ประชาสัมพันธ์หรือไม่ทำให้คนนอกรู้จัก มันช่างน่าเสียดายนัก ปัจจุบันโลกของ Social Media เข้ามามีผลต่อการเข้าถึงเว็บไซต์มากมาย ดังนั้นคุณก็สามารถใช้ช่องทางเหล่านั้นได้ด้วย เช่น Facebook Twitter และที่กำลังมาแรงก็คือ Pinterst ด้วย

7. Mobile-Friendly (เป็นมิตรกับอุปกรณ์สื่อสาร)
อันนี้แปลไทยแล้วอาจจะงงเล็กน้อย ขออธิบายแล้วกันนะครับ องค์ประกอบที่ 7 พูดถึงเรื่องการแสดงผลเว็บไซต์ห้องสมุดบนอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet ก็ตาม เพราะปัจจุบันอุปกรณ์เหล่านี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากๆ และเร็วๆ นี้อาจจะมีจำนวนที่แซงคอมพิวเตอร์แบบพกพาก็ได้

นับว่าเป็นสไลด์ที่คอนข้างมีประโยชน์เลยทีเดียวใช่มั้ยครับ
เอาเป็นว่าก็ลองทำความรู้จักและเอาไปใช้กันดูนะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอปิดบล็อกไว้แต่เพียงเท่านี้ อิอิ

ที่มาของความรู้นี้จาก http://www.slideshare.net/davidleeking/seven-essential-elements-to-an-awesome-library-website
ติดตามอ่านบล็อกของ David Lee King ได้ที่ www.davidleeking.com

Workshop “เทคโนโลยี Cloud Computing กับงานสารสนเทศ”

กิจกรรมที่แนะนำวันนี้เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากสำหรับคนที่ติดตามทั้งวงการห้องสมุดและวงการไอที กิจกรรมนี้เป็นงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า workshop นั่นเอง ซึ่งหัวข้อหลักของงาน คือ “เทคโนโลยี Cloud Computing กับงานสารสนเทศ

รายละเอียดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : เทคโนโลยี Cloud Computing กับงานสารสนเทศ
สถานที่จัดงาน : อาคาร 10 ห้อง 10303 มหาวิทยาลัยหอการค้า
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 3 – 4 พฤษภาคม 2555
จัดโดย : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ STKS

การจัดงานครั้งนี้ผมชื่นชอบมากๆ เพราะเป็นการนำเสนอเรื่องราวใหม่ๆ ให้วงการบรรณารักษ์ของเราได้ตามเทคโนโลยีให้ทันกระแส ถ้ามีโอกาสก็อยากให้เพื่อนๆ เข้าร่วมมากๆ เช่นกัน

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– Cloud Computing : สาระและสำคัญ
– องค์กรกับการก้าวสู่ยุค Cloud Computing
– การประยุกต์ใช้ Cloud Computing ในองค์กร
– โอกาสและความเป็นไปได้ในการใช้ Cloud Computing ในวิชาชีพสารสนเทศในประเทศไทย
– ปัญหาและอุปสรรคในการใช้ Cloud Computing
– การใช้ Cloud Computing ในการเรียนการสอน
– Workshop แนะนำวิธีการใช้ Cloud Computing

วิทยากรแต่ละท่านมาจากองค์กรที่สุดยอดทั้งนั้นเลย เช่น STKS, Microsoft, CRM Charity

เห็นหัวข้อแล้วผมเองก็อยากเข้าร่วมเหมือนกันนะครับ แต่เสียดายที่ติดธุระ
หัวข้อที่เน้นเรื่อง Technology Cloud ซึ่งเข้ากับโลกยุคปัจจุบันมากๆ

สัมมนาเชิงปฏิบัติการมีค่าลงทะเบียนด้วยนะครับ
ใครลงทะเบียนก่อนวันที่ 20 เมษายน 2555 ค่าลงทะเบียน 1,000 บาท
ใครลงทะเบียนหลังวันที่ 20 เมษายน 2555 ค่าลงทะเบียน 2,000 บาท

หากเพื่อนๆ สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม เข้าไปดูต่อที่ http://humanities.utcc.ac.th/iscon2012/
หรือต้องการลงทะเบียนเข้าร่วมงาน http://humanities.utcc.ac.th/iscon2012/index.php/registration.html

ในวันดังกล่าวผมติดงานบรรยายดังนั้นใครไปงานนี้เอาความรู้มาฝากผมด้วยนะ
ขอบคุณมากๆ ครับ

สัมมนาวิชาการ “บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย”

วันนี้มีกิจกรรมดีๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาแนะนำอีกแล้วนะครับ วันนี้มาแบบวิชาการนิดนึง คือ งานสัมมนาวิชาการที่จัดโดยนักศึกษาบรรณารักษ์ระดับบัณฑิตศึกษา ม.รามคำแหง เอาเป็นว่าไปอ่านรายละเอียดกันเลยครับ

รายละเอียดการสัมมนาวิชาการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมพวงแสด ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วันและเวลาที่จัด : วันอังคารที่ 24 เมษายน 2555 เวลา 8.00-16.30 น.
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม : ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

เท่าที่อ่านรายละเอียดของโครงการฯ คาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
ดังนั้นจากหัวข้องานสัมมนาและหน่วยงานที่จัดงานย่อมเต็มไปด้วยวิชาการล้วนๆ แน่นอนครับ

กำหนดการแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงเช้าจะเป็นหัวข้อ : บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย
ช่วงบ่ายจะเป็นการนำเสนอวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา


วิทยากรที่มาบรรยาในช่วงเช้า คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร พุทธาพิทักษ์ผล และรองศาสตราจารย์ ดร. พิมลพรรณ ประเสริฐวงษ์ เรพเพอร์

เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจในแวดวงงานวิจัย หรือสนใจที่จะเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ก็ควรเข้าฟังนะครับ เพราะคงได้หลักการ และสาระความรู้ที่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้ดีทีเดียว

รีบหน่อยนะครับ เพราะว่าต้องสมัครก่อนวันที่ 20 เมษายน 2555 นะครับ
(ในแบบฟอร์มที่ส่งบอกว่าให้ส่งก่อนวันอบรม 3 วันทำการ)

สุดท้ายนี้ใครที่สนใจงานสัมมนาวิชาการครั้งนี้ กรุณาอ่านรายละเอียดที่ http://www.webblog.rmutt.ac.th/yaowaluk/2012/04/07/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87/

หรือจะติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่คุณเสาวณีย์ ไตรวิทยาศิลป์
โทร. 081-453-3394 ,  Mail: lisru-ram@hotmail.com

เอาเป็นว่าหัวข้อก็น่าสนใจ วิทยากรก็น่าสนใจ ไปกันเยอะๆ นะครับ

เก็บตกบรรยากาศในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2555

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (วันที่ 6 เมษายน) ผมได้มีโอกาสไปเดินงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติมา เดินชมนิทรรศการ เดินชมหนังสือลดราคา และแนวโน้มที่เกี่ยวกับหนังสือ วันนี้ผมจึงขอสรุปและลงภาพบรรยากาศในงานสัปดาห์หนังสือให้เพื่อนๆ ได้อ่านและชมกันครับ

เอาเป็นว่าภาพรวมที่เห็น คือ คนยังคงเยอะเช่นเดิม และร้านหนังสือมาออกบูธมากขึ้นด้วย (หรือปล่าว)
เพราะมีการเปิดโซนขายหนังสือด้านหน้าของศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ด้วย (บริเวณที่ขึ้นมาจากรถไฟฟ้า)

เป้าหมายหลักๆ ของงานนี้ของผมอย่างแรก คือ บูธนิทรรศการกรุงเทพเมืองหนังสือโลก (World Book Capital)
เอาเป็นว่าช่วงที่ผมอยู่บูธก็มีการสัมภาษณ์คุณทราย เจริญปุระกันอยู่

เนื้อหาที่อยู่ในบูธก็น่าสนใจดี คือ เรื่องที่เกี่ยวกับการอ่านในแบบต่างๆ
นอกเหนือจากห้องสมุดแล้ว การอ่านเกิดขึ้นได้ทุกที่จริงๆ เช่น ป้ายรถเมล์ สวนสาธารณะ บนรถเมล์ ห้องน้ำ ……

ข้อมูลที่น่าสนใจอีกหนึ่งเรื่อง คือ roadmap การพัฒนาให้กรุงเทพเป็นเมืองหนังสือโลก

เมื่อออกจากบูธนี้แล้วด้านข้างๆ ของบูธนี้ คือ บูธนิทรรศการหนังสือดีเด่น ประจำปี 2555
เป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่น่าสนใจมากๆ เลยทีเดียว

อีกนิทรรศการที่น่าสนใจ คือ “นิทรรศการห้องสมุดหนังสือใหม่”
เป็นนิทรรศการที่รวบรวม แนะนำ และแยกหนังสือใหม่ออกเป็นหมวดๆ เพื่อง่ายต่อการหา
ที่ประทับใจในบูธนี้ คือ คนให้ความสนใจเยอะมาก “หยิบหนังสือมานั่งอ่านได้ตามอัธยาศัย” จริงๆ

นิทรรศการที่ตามกระแสอีกเรื่อง คือ “นิทรรศการหนังสืออัญมณีแห่งอาเซียน”
รวบรวมหนังสือซีไรท์ของประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน
แถมให้ความรู้เกี่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซียนต่างๆ ไว้ด้วย

ตรงข้ามกันเป็น “นิทรรศการหนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”

หลังจากชมนิทรรศการในส่วนต่างๆ แล้ว ผมก็ได้เดินชมภาพรวมของงานหนังสือ
ทุกบูธคึกคักมาก อาจเพราะเป็นวันหยุดคนเลยเยอมากกว่าเดิมอีก

ส่วนไอเดียและหัวข้อที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ “Ebook”
ต้องบอกว่าถ้าใครได้สังเกตจะพบว่ามีการโปรโมทเรื่อง Ebook มากขึ้น

มีบูธนึงที่นำเสนอเรื่องนี้ “Ebook Showcase @ Thailand”
ในบูธนี้จะมีการแนะนำ app ที่ใช้ในการอ่านและโหลด Ebook ซึ่งมีอยู่หลาย App เลยทีเดียว
ซึ่งที่เห็นเดี๋ยวนี้ร้านหนังสือใหญ่ๆ ก็เปิดตัว App กันเองเพียบเลย เช่น Se-ed, naiin, asia book

ที่เห็นๆ อีกอย่าง คือ การจำหน่ายเครื่อง Kindle ในงาน
แถมราคาก็ไม่แพงมากด้วย เห็นแล้วอยากได้สักเครื่อง แต่ไม่เอาดีกว่า อิอิ

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นภาพและบทสรุปที่ผมได้จากการเดินในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาตินะครับ
เพื่อนๆ ที่ไปงานนี้เอาเรื่องมาแชร์กันบ้างนะครับ ใครได้หนังสืออ่านบ้างก็เข้ามาเล่าได้

ก่อนจากกันของรวมภาพบรรยากาศทั้งหมดไว้ให้ชมนะครับ
ภาพบรรยากาศทั้งหมดในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

[nggallery id=55]