บรรณารักษ์ขอบอก : การเดินทางของหนังสือ 1 เล่มในห้องสมุด

นานๆ ทีจะเอาเรื่องราวการทำงานส่วนตัวมาเขียนให้เพื่อนๆ อ่าน วันนี้เลยขอเอาเรื่องราวแบบเบาๆ ที่อ่านได้ทั้งคนที่ทำงานบรรณารักษ์ คนทำงานห้องสมุด คนที่สนใจด้านห้องสมุด และคนทั่วๆ ไปในฐานะคนใช้บริการห้องสมุด สรุปง่ายๆ ว่าอ่านได้ทุกคน

กว่าหนังสือ 1 เล่มจะเข้ามาที่ห้องสมุด ขึ้นไปอยู่บนชั้นหนังสือ และถูกนำออกจากห้องสมุด เพื่อนๆ รู้หรือเปล่าว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง

ผู้บริหารบางคน ผู้ใช้บริการบางคน คิดง่ายๆ ว่า การทำห้องสมุดเป็นเรื่องง่าย แค่ซื้อหนังสือแล้วเอาไปวางไว้บนชั้นก็เป็นห้องสมุดได้แล้ว วันนี้เรามาลองคิดกันใหม่นะครับ

ก่อนอื่นผมต้องบอกก่อนว่าผมขอแยกหนังสือออกเป็น
1. หนังสือที่ห้องสมุดจัดซื้อมาใหม่
2. หนังสือที่ห้องสมุดจัดพิมพ์ในโอกาสต่างๆ
3. หนังสือที่ห้องสมุดขออภินันทนาการจากหน่วยงานอื่นๆ
4. หนังสือที่ได้รับบริจาคจากคน/หน่วยงานอื่นๆ

หนังสือทั้ง 4 แบบมีเส้นทางการเดินทางต่างกัน เดี๋ยวเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ
(ผมขอเล่าเป็นภาพแล้วกันนะครับ)

1. หนังสือที่ห้องสมุดจัดซื้อมาใหม่


1.1 กระบวนการจัดซื้อจัดหา
– กำหนดกรอบเนื้อหาของหนังสือที่ห้องสมุดต้องการ (อาจทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ)
– รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ต้องการจัดซื้อ + ตรวจสอบรายชื่อหนังสือซ้ำกับห้องสมุด
– ดำเนินการสั่งซื้อ กระบวนการส่งของ กระบวนการตรวจรับ
1.2 กระบวนการลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด
– คีย์ข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
– กำหนดเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ให้หัวเรื่อง
– เพิ่มรายการตัวเล่ม (Add item)
1.3 กระบวนการเตรียมตัวเล่มเพื่อให้บริการ
– ประทับตรา ติดสัน ติดบาร์โค้ต ติดแถบแม่เหล็ก ห่อปก
– สแกนปกหน้า ปกหลัง ข้อมูลตัวเล่ม สารบัญ
– นำขึ้นชั้นหนังสือเพื่อให้บริการ
1.4 กระบวนการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
1.5 กระบวนการคัดออก (กรณีที่หนังสือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือ เนื้อหาไม่ทันสมัย)

2. หนังสือที่ห้องสมุดจัดพิมพ์ในโอกาสต่างๆ


2.1 กระบวนการจัดทำเนื้อหาและจัดพิมพ์
– กำหนดกรอบเนื้อหาของหนังสือ ตั้งโครงร่างของเนื้อหา (อาจทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ)
– เขียนเนื้อหา เรียบเรียงข้อมูล ใส่ภาพประกอบ
– ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
– ออกแบบและจัดหน้า วาง lay out ออกแบบกราฟิค
– พิสูจน์อักษร ตรวจเรื่องสี
– จัดพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ
2.2 กระบวนการลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด
– คีย์ข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
– กำหนดเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ให้หัวเรื่อง
– เพิ่มรายการตัวเล่ม (Add item)
2.3 กระบวนการเตรียมตัวเล่มเพื่อให้บริการ
– ประทับตรา ติดสัน ติดบาร์โค้ต ติดแถบแม่เหล็ก ห่อปก
– นำเข้าภาพหน้าปกจากไฟล์อิเล็คทรอนิคส์
– นำขึ้นชั้นหนังสือเพื่อให้บริการ
2.4 กระบวนการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
– นำเล่มที่สมบูรณ์มาเปลี่ยน (หนังสือที่ห้องสมุดจัดพิมพ์สามารถเก็บในชั้นปิดได้กรณีมีจำนวนมาก)
– ซ่อมแซม (กรณีที่หนังสือมีจำนวนจำกัด)
2.5 กระบวนการคัดออก (กรณีที่หนังสือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือ เนื้อหาไม่ทันสมัย)

3. หนังสือที่ห้องสมุดขออภินันทนาการจากหน่วยงานอื่นๆ


3.1 กระบวนการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่ต้องการขอรับหนังสืออภินันทนาการ
– รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ต้องการขอรับอภินันทนาการ
– ทำหนังสือเพื่อขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานเจ้าของหนังสือ
– เมื่อได้รับหนังสืออภินันทนาการแล้วต้องทำหนังสือขอบคุณตอบกลับ
3.2 กระบวนการลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด
– คีย์ข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
– กำหนดเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ให้หัวเรื่อง
– เพิ่มรายการตัวเล่ม (Add item)
3.3 กระบวนการเตรียมตัวเล่มเพื่อให้บริการ
– ประทับตรา ติดสัน ติดบาร์โค้ต ติดแถบแม่เหล็ก ห่อปก
– สแกนปกหน้า ปกหลัง ข้อมูลตัวเล่ม สารบัญ
– นำขึ้นชั้นหนังสือเพื่อให้บริการ
3.4 กระบวนการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
3.5 กระบวนการคัดออก (กรณีที่หนังสือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือ เนื้อหาไม่ทันสมัย)

4. หนังสือที่ได้รับบริจาคจากคน/หน่วยงานอื่นๆ


4.1 กระบวนการลงทะเบียนหนังสือรับบริจาค
– กรอกข้อมูลผู้บริจาคหนังสือพร้อมรายชื่อหนังสือที่ได้รับบริจาค
4.2 กระบวนการคัดสรรหนังสือ
– คัดเลือกหนังสือที่เหมาะสมกับห้องสมุดเพื่อดำเนินการต่อไป หนังสือที่ไม่เหมาะสมก็เก็บไว้เพื่อรอจำหน่ายออกภายหลัง
– คัดเลือกหนังสือที่ต้องซ่อมแซมเพื่อดำเนินการซ่อมแซมต่อไป
4.3 กระบวนการลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด
– คีย์ข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
– กำหนดเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ให้หัวเรื่อง
– เพิ่มรายการตัวเล่ม (Add item)
4.4 กระบวนการเตรียมตัวเล่มเพื่อให้บริการ
– ประทับตรา ติดสัน ติดบาร์โค้ต ติดแถบแม่เหล็ก ห่อปก
– สแกนปกหน้า ปกหลัง ข้อมูลตัวเล่ม สารบัญ
– นำขึ้นชั้นหนังสือเพื่อให้บริการ
4.5 กระบวนการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
4.6 กระบวนการคัดออก (กรณีที่หนังสือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือ เนื้อหาไม่ทันสมัย)

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นภาพแบบกว้างๆ นะครับ ผมเชื่อว่าห้องสมุดบางแห่งก็อาจจะไม่ได้เป็นแบบนี้ หรือบางห้องสมุดอาจจะมีวิธีการจัดการที่ดีกว่านี้ เอาเป็นว่าก็เอามาแชร์กันอ่านบ้างนะครับ และพร้อมรับฟังความเห็นและวิธีการของทุกท่านเช่นกัน ร่วมกันแชร์แนวทางเพื่อการพัฒนาห้องสมุดที่ยั่งยืนนะครับ

นายห้องสมุดพาเที่ยวหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ม.ศิลปากร

ไม่ค่อยได้พาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดนานแล้ว วันนี้จัดให้สักทริปแล้วกันครับ สำหรับวันนี้เราจะเข้าไปชมห้องสมุดในมหาวิทยาลัยกันบ้าง ที่นั่นคือ “หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาศิลปากร” ตามมาดูกันเลยดีกว่าครับ

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหอสมุดแห่งนี้
ชื่อห้องสมุด : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาศิลปากร
ที่อยู่ : เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000
โทรศัพท์ : 034-255092 / โทรสาร : 034-255092
เว็บไซต์ของห้องสมุด : http://www.snc.lib.su.ac.th/snclib/
บล็อกของห้องสมุด : http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog
Facebook ห้องสมุด : http://www.facebook.com/suslib.sanamchandra

หมายเหตุ ภาพห้องสมุดผมถ่ายเอาไว้นานแล้ว ปัจจุบันไม่แน่ใจว่าเปลี่ยนไปบ้างหรือปล่าว

วันที่ไปเยี่ยมชมห้องสมุดแห่งนี้ ผมได้เดินทางไปพร้อมกับคณะเยี่ยมชมจากชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (ชบอ.) ซึ่งวันเดินทางไปตรงกับวันเสาร์ แต่ด้วยการนัดหมายที่ดีจึงได้เจอรุ่นพี่ มอ. บรรณารักษ์ (พี่ปอง) มาให้คำอธิบายและนำชมห้องสมุด แบบว่าแอบดีใจที่ได้เจอรุ่นพี่คนนี้มากๆ ด้วย

กระบวนการแรกก่อนเดินชมห้องสมุด พี่ปองได้พูดถึงภาพรวมของห้องสมุด รวมถึงกิจกรรมที่หอสมุดแห่งนี้ได้จัด ผมเองก็ได้เปิดมุมมองในเรื่องกิจกรรมแบบสร้างสรรค์ของที่นี่ด้วย

ตัวอย่างกิจกรรมสร้างสรรค์จากหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
– กิจกรรมยืมไม่อั้น (ช่วงปิดเทอม)
– การเดินแบบแฟชั่นหนังสือ
– การตกแต่งรถสามล้อด้วยหนังสือ
– กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในงานองค์พระ (งานประจำปีของจังหวัดนครปฐม)

ภายในอาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ จริงๆ แล้วจะแบ่งออกเป็น 2 อาคารนะครับ
โดยอาคารแรกที่พวกเราเยี่ยมชมจะเป็นอาคาร 4 ชั้น โดยแบ่งการให้บริการดังนี้

อาคารชั้น 1 ประกอบด้วย
– รับฝากของ
– งานบริการยืม คืน (เครื่องยืมคืนด้วยตนเอง)
– งานธุรการ
– หนังสืออ้างอิง
– โถงนิทรรศการ (ช่วงที่ไปมีการแสดงงานศิลปะด้วย)
– ร้านกาแฟ

อาคารชั้น 2 ประกอบด้วย
– หนังสือสาขาวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี
– วิทยานิพนธ์
– บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า
– บริการฐานข้อมูล
– ถ่ายเอกสาร
– ห้องน้ำ
– ทางเชื่อมไปอาคาร มล.ปิ่น มาลากุล

อาคารชั้น 3 ประกอบด้วย
– หนังสือสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษา
– หนังสือเยาวชน
– ปริญญานิพนธ์
– ห้องน้ำ

อาคารชั้น 4
– หนังสือสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษา
– หนังสือภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส
– นวนิยาย
– ศูนย์ข้อมูลวิจัยฝรั่งเศส-ไทยศึกษา
– ฝ่ายวิเคราะห์และทรัพยากรห้องสมุด

ส่วนอีกอาคารนึงก็คือ อาคาร มล.ปิ่นมาลากุล นั่นเอง (อันนี้ไม่ได้เยี่ยมชมทั้งตึก) ได้ชมแค่ชั้น 1 เอง เพราะเวลามีจำกัด แต่ก็ต้องบอกว่าแค่ชั้น 1 ก็สุดยอดแล้ว

ส่วนอื่นๆ ที่เดินดูแล้วชอบก็คงไม่พ้นป้ายประชาสัมพันธ์ต่างๆ ในห้องสมุด เพราะอ่านแล้วโดนใจมาก เช่น แก้กรรมด้วยการออกสื่อ …..

เอาเป็นว่าถ้ามีโอกาสจะไปอีกครั้งเพื่อเก็บข้อมูลมาให้เพื่อนๆ อ่านอีก หวังว่าจะได้พบกันอีกเร็วๆ นี้นะครับพี่ปอง อิอิ
สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ และชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาด้วยนะครับที่เปิดโอกาสให้ผมไปเปิดหูเปิดตาบ้าง อิอิ

ภาพบรรยากาศหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ในกล้องผม

[nggallery id=61]

นายห้องสมุดชวนอ่าน : มาตรฐานและตัวชี้วัดสำหรับห้องสมุดมีชีวิต

เพิ่งจะผ่านพ้นการประกวดห้องสมุดมีชีวิตของ TK park มาไม่นาน วันนี้ผมจึงขอแนะนำหนังสือและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดมีชีวิตสักหน่อยนะครับ

หนังสือที่ผมจะแนะนำในวันนี้ คือ “คู่มือการใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตรูปแบบอุทยานการเรียนรู้” ซึ่งเป็นคู่มือที่ออกมาเพื่อใช้เป็นหลักในการประเมินห้องสมุดมีชีวิต

ห้องสมุดไหนอยากรู้ว่าห้องสมุดตัวเองจะเข้าข่ายการเป็นห้องสมุดมีชีวิตหรือไม่ ก็สามารถนำความรู้จากหนังสือเล่มนี้มาเทียบดูได้

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้

ชื่อเรื่องภาษาไทย : คู่มือการใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตรูปแบบอุทยานการเรียนรู้
ผู้จัดทำ : ศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สัจจานันท์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.บุญศรี พรหมมาพันธุ์
จัดพิมพ์โดย : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้
ปีพิมพ์ : 2554
จำนวนหน้า : 48 หน้า

มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตในรูปแบบอุทยานการเรียนรู้ มี 5 มาตรฐาน 21 ประเด็นย่อย 100 ตัวชี้วัด ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

มาตรฐานที่ 1 ด้านกายภาพ – เน้นเรื่องสภาพทางกายภาพและบรรยากาศของห้องสมุด
มาตรฐานที่ 2 ด้านสาระและกิจกรรม – เน้นเรื่องสื่อที่มีในห้องสมุด และการจัดกิจกรรมต่างๆ
มาตรฐานที่ 3 ด้านการบริการ – เน้นเรื่องการบริการเชิงรุกและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
มาตรฐานที่ 4 ด้านบุคลากร – เน้นเรื่องของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด
มาตรฐานที่ 5 ด้านการบริหารจัดการ – เน้นข้อมูลบริหารและการจัดการห้องสมุด เช่น เครือข่ายห้องสมุด

(สำหรับประเด็นและตัวชี้วัดสามารถอ่านได้ในหนังสือครับ หรืออ่านออนไลน์ได้จาก link ด้านล่าง)

มาตรฐานและตัวชี้วัดทั้งหมดอาจจะมองว่ามีจำนวนมาก ห้องสมุดบางแห่งอาจจะมองว่าไม่สามารถทำได้ทั้งหมด ซึ่งจริงๆ แล้วห้องสมุดสามารถหยิบตัวชี้วัด  หรือ มาตรฐานมาใช้ขึ้นอยู่กับบริบท หรือเรื่องที่จะเน้นก็ได้ ซึ่งแนวทางการวัดผลมีอยู่ในหนังสือคู่มือเรียบร้อยแล้ว โดยรวมค่าเฉลี่ยที่ถือว่าผ่านจะอยู่ที่คะแนน 3.50

ห้องสมุดสามารถนำมาตรฐานและตัวชี้วัดนี้ไปประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น ตัวชี้วัดต่างๆ สามารถใช้เป็นตัวตั้งต้นในการประเมินห้องสมุดของเพื่อนๆ ได้ หรืออาจจะนำมาเป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตต่อไป

เพื่อนๆ ที่อยากอ่านตัวเล่มก็สามารถมายืมได้ที่ TK park นะครับ
แต่ใครไม่สะดวกก็สามารถอ่านออนไลน์ได้ที่นี่ “มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตในรูปแบบอุทยานการเรียนรู้

เอาเป็นว่าก็ฝากไว้เท่านี้นะครับ

สั้นๆ ง่ายๆ บรรณารักษ์ยุคใหม่ในสายตาผม

คำถาม : บรรณารักษ์ยุคใหม่คืออะไร บรรณารักษ์ยุคใหม่หมายถึงบรรณารักษ์อายุน้อยๆ หรือไม่ บรรณารักษ์ที่อายุมากแล้วมีโอกาสเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่หรือไม่

คำถามข้างต้นนี้ผมได้รับฟังมากจน ผมรู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว
เอาเป็นว่าวันนี้เลยขอนำเสนอภาพการ์ตูนสักนิดนึง แล้วคำอธิบายสักหน่อยแล้วกัน

ชมภาพกันก่อนเลยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับกับภาพดังกล่าว
จริงๆ แล้วข้อความผมว่าก็อธิบายด้วยตัวของมันแล้วนะครับ

บรรณารักษ์ยุคใหม่ =?
แน่นอนครับว่าบรรณารักษ์ยุคใหม่ไม่ได้หมายความถึงความหนุ่มสาวและไม่ได้ยึดติดที่อายุ
แต่บรรณารักษ์ยุคใหม่ในสายตาของผม คือ
– บรรณารักษ์ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการทำงานได้ตามยุคตามสมัย
– บรรณารักษ์ที่สามารถแสดงให้ผู้ใช้บริการเห็นได้ว่าห้องสมุดเป็นสถานที่ที่มากกว่าห้องเก็บหนังสือ
– บรรณารักษ์ที่ไม่ต้องเก่งไอทีเหมือนโปรแกรมเมอร์แต่สามารถประยุกต์ใช้ไอทีกับงานห้องสมุดได้
– บรรณารักษ์ที่มีความคิดสร้างสรรค์คิดกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ
– บรรณารักษ์ที่สามารถทำให้ห้องสมุดธรรมดาๆ เป็นห้องสมุดที่มีชีวิตชีวาได้

ฯลฯ

เอาเป็นว่าสั้นๆ ง่ายๆ คือ บรรณารักษ์ที่เป็นมากกว่าคนเฝ้าหนังสือในห้องสมุดแล้วกัน ซึ่งผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ทุกคนมีความเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่อยู่ในตัวอยู่แล้ว ดังนั้นดึงศักยภาพของตัวเองออกมาใช้กันมากๆ นะครับ

สุดท้ายนี้ ชวนคิดต่อ เพื่อนๆ หล่ะคิดว่าบรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องเป็นอย่างไร
ส่งมาให้ผมอ่านบ้างแล้วกัน สู้ๆ ครับคุณบรรณารักษ์ยุคใหม่

สรุปผลการประกวดห้องสมุดมีชีวิต ครั้งที่ 4

สวัสดีครับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ วันนี้ผมขอสรุปผลการประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 ที่สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) ได้จัดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมและเพิ่งจะประกาศผลเมื่อวันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2555

อ่านข้อมูลโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 ย้อนหลังได้ที่
http://www.libraryhub.in.th/2012/06/28/living-library-award-2012/

ผมขอสรุปผลการประกวดเลยแล้วกันนะครับ

รางวัลชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ได้แก่……
ห้องสมุดประชาชนอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ (เยเย้ ยินดีด้วยนะครับ)

รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ลำดับ 1 (อันดับสอง) ได้แก่
ห้องสมุดประชาชนอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี

รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ลำดับ 2 (อันดับสาม) ได้แก่
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสงขลา

รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ลำดับ 3 (อันดับสี่)
ได้แก่
ห้องสมุดประชาชนอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต TK park ลำดับ 4 (อันดับห้า)
ได้แก่
ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

รางวัลชมเชย ห้องสมุดมีชีวิต TK park (อันดับที่ 6 – 10) ได้แก่
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ลาดกระบัง กทม.
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
ห้องสมุดกองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้มีนบุรี กทม.
ห้องสมุดโรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา

รางวัลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้าย ห้องสมุดมีชีวิต TK park (อันดับที่ 11 – 20) ได้แก่
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี กทม.
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดตราด
ห้องสมุดเพชรรัตน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง จังหวัดลำปาง
ห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย
ห้องสมุดโรงเรียนวัดพุทธบูชา กทม.
ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
ห้องสมุดประชาชนอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี
ห้องสมุดประชาชนอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุโขทัย

ขอแสดงความยินดีกับห้องสมุดทั้ง 20 แห่งด้วยนะครับ คุณเป็นสุดยอดห้องสมุดมีชีวิตจริงๆ

สำหรับรางวัลที่ห้องสมุดมีชีวิตจะได้รับผมแนะนำว่าให้เพื่อนๆ กับไปอ่านในบล็อก
โครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 ดีกว่าครับ
http://www.libraryhub.in.th/2012/06/28/living-library-award-2012/

ปล. ขอบคุณข้อมูลและภาพจากกล้องพี่นุ้ย TK park ด้วยนะครับ